เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 03-01-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม 2564

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนที่แผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้ดังกล่าวมีอุณภูมิสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส แต่ยังคงมีอากาศหนาวเย็นกับมีลมแรง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นนี้ไว้ด้วย

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ยังคงมีกำลังแรง ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 4-8 มกราคม 2563 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทยมีกำลังแรง ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างจะเคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศมาเลเซีย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศเย็น กับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 2 - 3 ม.ค. 64 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรง โดยบริเวณอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2-4 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 4 - 8 ม.ค. 64 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวอุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส แต่ยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวโดยทั่วไป สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ยังคงมีกำลังแรง ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำจะเคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณประเทศมาเลเซีย ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยยังคงมีกำลังแรง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 2 - 3 ม.ค. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลงด้วย ส่วนประชาชนบริเวณภาคใต้ ควรระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนัก ซึ่งอาจจะทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลากได้ และระมัดระวังคลื่นลมแรงที่ซัดเข้าหาฝั่งด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณอ่าวไทยขอให้เดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่งตลอดช่วง



*********************************************************************************************************************************************************



ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 4 - 8 มกราคม 2564)" ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 03 มกราคม 2564

มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทยมีกำลังแรง ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างจะเคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศมาเลเซีย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคใต้ตอนล่างมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

ฝนตกหนักถึงหนักมาก : บริเวณจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

ฝนตกหนัก : บริเวณจังหวัดพัทลุง และสงขลา

ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังผลกระทบจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย

สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยอ่าวไทยตอนบนตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงเวลาดังกล่าว






__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 03-01-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก BBCThai


โลกร้อน: 5 เหตุผลที่ปี 2021 อาจเป็นจุดเปลี่ยนในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ................ โดย จัสติน โรว์ลัตต์ หัวหน้าผู้สื่อข่าวสิ่งแวดล้อม


โลกเราจะมีอุณหภูมิเกิน 1.5 องศาเซลเซียสภายในเวลา 12 ปี หรือน้อยกว่านั้น และจะร้อนขึ้น 3 องศาเซลเซียสในช่วงสิ้นศตวรรษนี้ ... ที่มาของภาพ,GETTY IMAGES

ถ้าต้องการเลี่ยงผลกระทบที่เลวร้ายที่สุดของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หลายประเทศคงต้องลงมือทำอะไรสักอย่างภายในเวลาอันจำกัด นี่คือ 5 เหตุผลที่ว่า ทำไมปี 2021 อาจเป็นปีที่มีความสำคัญยิ่งในการต่อสู้กับปัญหาโลกร้อน

ไร้ข้อกังขาว่าโรคโควิด-19 เป็นปัญหาใหญ่แห่งปี 2020

แต่ผมหวังว่าภายในสิ้นปี 2021 วัคซีนจะใช้งานได้ผล แล้วผู้คนก็จะกลับมาพูดกันเรื่องสภาพภูมิอากาศโลกมากกว่าไวรัสโคโรนา

ปี 2021 จะเป็นปีที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ บอกผมว่า เขาคิดว่าปีนี้อาจเป็นช่วงเวลา "ชี้เป็นชี้ตาย" ในการต่อสู้กับปัญหานี้

ดังนั้น ในช่วงเวลาของการเฉลิมฉลองและคาดหวังว่าจะเกิดสิ่งดี ๆ ขึ้นในปีใหม่ นี่คือสาเหตุที่ทำให้ผมเชื่อว่าปี 2021 อาจเป็นปีที่ความพยายามแก้ปัญหาเรื่องสภาพภูมิอากาศโลกประสบผลสำเร็จ


1.การประชุมใหญ่ว่าด้วยเรื่องสภาพภูมิอากาศ

ในเดือน พ.ย. 2021 ผู้นำโลกจะมารวมตัวกันในเมืองกลาสโกว์ของสกอตแลนด์ เพื่อร่วมประชุมในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หลังจากที่เคยร่วมประชุมกันในกรุงปารีส ฝรั่งเศส เมื่อปี 2015

การประชุมในกรุงปารีสมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่ทุกชาติในโลกตกลงหารือกันว่าทุกประเทศจำเป็นต้องช่วยกันจัดการกับปัญหานี้

ปัญหาก็คือ คำมั่นสัญญาที่ประเทศต่าง ๆ ให้ไว้ว่าจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ยังคงห่างไกลจากเป้าหมายที่กำหนดไว้ในการประชุมครั้งนั้นมาก

ในการประชุมครั้งดังกล่าว ประชาคมโลกเห็นชอบร่วมกันว่าต้องหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เลวร้ายที่สุดจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยการพยายามควบคุมอุณหภูมิโลกให้เพิ่มขึ้นไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส จากช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรมให้ได้จนกว่าจะสิ้นศตวรรษนี้ เป้าหมายคือ 1.5 องศาเซลเซียส หากเป็นไปได้


ที่มาของภาพ,GETTY IMAGES

แต่เรายังห่างไกลจากแผนนั้นอยู่มาก เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าอุณหภูมิโลกจะทะลุเพดาน 1.5 องศาเซลเซียสภายในเวลา 12 ปี หรือเร็วกว่านั้น และจะแตะ 3 องศาเซลเซียส ภายในศตวรรษนี้

ข้อตกลงของการประชุมที่กรุงปารีส ประเทศต่าง ๆ สัญญาว่าจะกลับมาหารือกันทุก ๆ 5 ปี และเพิ่มความพยายามในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

เดิมการประชุมมีกำหนดจัดขึ้นในเมืองกลาสโกว์ เดือน พ.ย. 2020 แต่การระบาดใหญ่ของโควิด-19 ทำให้ต้องเลื่อนจัดการประชุมมาเป็นปีนี้แทน

ดังนั้น การประชุมในเมืองกลาสโกว์ในปีนี้ จะเป็นเวทีที่มีการหารือกันถึงความเป็นไปได้ในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยิ่งกว่าเดิม


2. ประเทศต่าง ๆ ได้ลงนามในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว

เกิดความคืบหน้าขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อแถลงการณ์ที่สำคัญที่สุดเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกเมื่อปีที่แล้วเกิดขึ้นโดยไม่มีใครคาดคิด

ในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในเดือน ก.ย. ปีที่แล้ว ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน ประกาศว่า จีนตั้งเป้าที่จะทำให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ภายในปี 2060

บรรดานักสิ่งแวดล้อมต่างตกตะลึงไปตาม ๆ กัน เนื่องจากการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มักถูกมองว่าเป็นเป้าหมายที่ต้องแลกมาด้วยราคาแพง แต่ประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดในโลกราว 28% ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมดอย่างจีน ได้ประกาศให้คำมั่นโดยไม่มีเงื่อนไขว่าจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์ ไม่ว่าประเทศอื่นจะทำตามหรือไม่

นั่นเป็นท่าทีที่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงจากการเจรจากันในอดีต ที่ทุกคนต่างกลัวว่าต้นทุนของตนจะสูงขึ้นหากต้องการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในขณะที่คนอื่น ๆ ได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยไม่ต้องลงทุนทำอะไรเลย


จีนปล่อยก๊าซเรือนกระจกราว 28% ของทั้งโลก ... ที่มาของภาพ,GETTY IMAGES

ไม่ใช่แค่จีนเท่านั้น

สหราชอาณาจักรเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่แห่งแรกในโลกที่ให้คำมั่นว่าจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จนเป็นศูนย์ เมื่อเดือน มิ.ย. 2019 จากนั้นสหภาพยุโรปจึงประกาศตามมาในเดือน มี.ค. 2020

นับจากนั้น ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ก็ร่วมให้คำมั่นด้วย ซึ่งสหประชาชาติประเมินว่าปัจจุบันมีมากกว่า 110 ประเทศที่ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ภายในช่วงกลางศตวรรษนี้ โดยประเทศเหล่านี้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รวมกันมากกว่า 65% ของทั้งโลก และมีขนาดเศรษฐกิจสูงกว่า 70% ของทั้งโลก

นายโจ ไบเดน ที่ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก ได้ตัดสินใจกลับเข้ามาร่วมในเส้นทางการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อีกครั้ง

ขณะนี้ประเทศต่าง ๆ เหล่านี้จำเป็นต้องให้รายละเอียดเกี่ยวกับแผนการของตัวเองว่า จะบรรลุเป้าหมายที่ท้าทายนี้ได้อย่างไร นั่นคือส่วนสำคัญของวาระการประชุมที่จะเกิดขึ้นในเมืองกลาสโกว์ แต่การที่ประเทศต่าง ๆ ออกมาบอกว่า ต้องการจะไปให้ถึงเป้าหมายนั้นก็ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอย่างยิ่งแล้ว


3.ปัจจุบันพลังงานหมุนเวียนมีราคาถูกที่สุด

มีเหตุผลที่ดีประการหนึ่งที่ทำให้หลายประเทศกำลังวางแผนที่จะทำให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ นั่นก็คือ ต้นทุนพลังงานหมุนเวียนที่ลดลงอย่างมากกำลังจะเปลี่ยนแปลงสมการของการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปอย่างสิ้นเชิง

ในเดือน ต.ค. 2020 ทบวงพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency) สรุปว่า ปัจจุบันโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ที่ดีที่สุด "เป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้าที่มีถูกที่สุดในประวัติศาสตร์"

พลังงานหมุนเวียนมักจะถูกกว่าพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลอยู่แล้วในประเทศส่วนใหญ่ เมื่อต้องมีการสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่หลายแห่ง

ถ้าประเทศต่าง ๆ ในโลกหันมาเพิ่มการลงทุนในพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ และแบตเตอรีในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ราคาอาจจะลดต่ำลงไปอีกจนถึงจุดที่ถูกมากถึงขั้นที่ทำให้มีการปิดโรงไฟฟ้าพลังงานแก๊สหรือถ่านหิน โดยนำพลังงานหมุนเวียนเหล่านั้นมาใช้ในเชิงพาณิชย์แทนได้

นั่นเป็นเพราะว่า ต้นทุนของพลังงานหมุนเวียนเป็นไปตามการผลิต ยิ่งผลิตมากก็ยิ่งมีราคาถูกลง เป็นการผลักดันให้เกิดการผลิตมากขึ้น ราคาก็จะยิ่งถูกลงไปอีก แล้วเมื่อราคายิ่งถูกลง ก็ยิ่งมีการผลิตพลังงานหมุนเวียนเหล่านี้เพิ่มขึ้น

เรื่องนี้จะส่งผลให้นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมไม่ต้องบีบบังคับนักลงทุนให้ทำในสิ่งที่ถูกต้องอีกต่อไป เพราะนักลงทุนก็ทำตามผลตอบแทนที่ได้อยู่แล้ว ส่วนรัฐบาลต่าง ๆ รู้ว่า การเพิ่มพลังงานหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของตัวเอง จะเป็นการเร่งให้มีการเปลี่ยนแปลงการใช้พลังงานของทั่วโลก โดยการทำให้พลังงานหมุนเวียนมีราคาถูกลงและสามารถแข่งขันได้ในทุกที่


ที่มาของภาพ,EPA


4.โควิดเปลี่ยนแปลงทุกสิ่ง

การระบาดของโควิด-19 สั่นคลอนความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยของเรา และย้ำเตือนเราว่าโลกของเราอาจจะเผชิญกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ไม่คาดคิดที่เราไม่สามารถควบคุมได้

การระบาดของโควิดส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ทั่วโลกในช่วงทศวรรษ 1930

รัฐบาลต่าง ๆ ได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของตัวเองหลายอย่าง

ข่าวดีก็คือ การลงทุนเหล่านี้มีต้นทุนที่ต่ำลงอย่างมาก อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกเกินศูนย์เปอร์เซ็นต์เพียงเล็กน้อย หรืออาจจะติดลบด้วยซ้ำ

ทำให้เกิดโอกาสในการพัฒนาให้ดีขึ้นอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมา

สหภาพยุโรปและรัฐบาลใหม่ของสหรัฐฯ ภายใต้การนำของโจ ไบเดน รับปากแล้วว่าจะลงทุนในโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหลายล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อทำให้ระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปเป็นตัวกระตุ้นกระบวนการให้เกิดการลดการปล่อยคาร์บอนลงจนกลายเป็นศูนย์

ทั้งสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป หวังว่า ประเทศอื่น ๆ จะเข้าร่วมกับพวกเขาด้วย เพื่อช่วยผลักดันให้ต้นทุนของพลังงานหมุนเวียนทั่วโลกลดต่ำลงไปอีก แต่พวกเขากำลังเตือนเช่นกันว่า นอกจากมาตรการนี้แล้ว ทั้งสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปมีแผนที่จะเก็บภาษีนำเข้ากับประเทศที่ปล่อยคาร์บอนมากเกินไปด้วย

การทำเช่นนี้อาจช่วยกระตุ้นให้ประเทศที่ล่าช้าในการตัดลดการปล่อยคาร์บอนอย่าง บราซิล, รัสเซีย, ออสเตรเลีย และซาอุดีอาระเบีย ให้กลับมาเร่งมือให้ทันประเทศอื่น

ข่าวร้ายก็คือ สหประชาชาติระบุว่า ประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศกำลังใช้จ่ายในภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงฟอสซิลมากกว่าพลังงานคาร์บอนต่ำราว 50%


(มีต่อ)


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 03-01-2021 เมื่อ 04:35
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 03-01-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก BBCThai


โลกร้อน: 5 เหตุผลที่ปี 2021 อาจเป็นจุดเปลี่ยนในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ...... ต่อ




5.ธุรกิจต่าง ๆ ก็ใส่ใจสิ่งแวดล้อมเช่นกัน

การลดต่ำลงของต้นทุนพลังงานหมุนเวียน และการกดดันจากประชาชนที่เพิ่มมากขึ้นให้มีการจัดการเรื่องสภาพภูมิอากาศ กำลังทำให้ภาคธุรกิจเปลี่ยนแปลงทัศนคติในเรื่องนี้

มีเหตุผลทางการเงินสนุนการทำเช่นนี้หลายประการเช่น ทำไมต้องลงทุนในบ่อขุดน้ำมันใหม่หรือโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินใหม่ที่จะกำลังจะตกยุคไปก่อนที่จะสร้างผลตอบแทนกลับคืนมาจากการใช้งานได้นาน 20-30 ปี

ทำไมต้องให้เรื่องคาร์บอนส่งผลเสียต่อการลงทุนของพวกเขา เรื่องนี้กำลังส่งผลให้เห็นในตลาดแล้ว เฉพาะปีนี้เพียงปีนี้ ราคาหุ้นที่พุ่งทะยานขึ้นของเทสลา (Tesla) ทำให้บริษัทนี้กลายเป็นบริษัทรถยนต์ที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลกไปแล้ว

ขณะที่ราคาหุ้นของเอ็กซอน (Exxon) ซึ่งเคยเป็นบริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก ลดต่ำลงอย่างมากจนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของบริษัทขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ ในดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์

ในเวลาเดียวกันนั้น ก็มีการผลักดันเพิ่มขึ้นให้ธุรกิจต่าง ๆ ต้องพิจารณาถึงความเสี่ยงด้านสภาพอากาศเมื่อต้องมีการตัดสินใจทางการเงินด้วย

เป้าหมายก็คือการสร้างข้อบังคับให้ภาคธรุกิจและนักลงทุนต้องแสดงให้เห็นว่า สิ่งที่พวกเขาทำและการลงทุนต่าง ๆ กำลังดำเนินไปในทิศทางสู่การทำให้โลกปลอดคาร์บอน

ธนาคารกลาง 70 ประเทศ กำลังร่วมมือกันในการทำให้เรื่องนี้เกิดขึ้น และการนำข้อกำหนดเหล่านี้ไปใช้กับสถาบันการเงินต่าง ๆ ในระบบ จะเป็นอีกประเด็นสำคัญในการประชุมที่กลาสโกว์ด้วย

แม้จะมีความหวัง แต่ก็ยังห่างไกลจากการทำให้ข้อตกลงนี้เกิดขึ้นส่วนโอกาสที่จะทำได้ตามเป้าหมายการควบคุมอุณหภูมิโลกไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change -- IPCC) ระบุว่า เราจำเป็นต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงให้ได้ครึ่งหนึ่งภายในปี 2030 และแม้ว่าจะมีหลายประเทศแสดงความต้องการที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงอย่างมาก แต่มีเพียงไม่กี่ประเทศที่มีออกกลยุทธ์ต่าง ๆ มาใช้เพื่อทำให้ได้ตามเป้าหมายนั้น

ความท้าทายในการประชุมที่กลาสโกว์ก็คือ การทำให้ชาติต่าง ๆ ทั่วโลกเข้าร่วมนโยบายต่าง ๆ ที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปัจจุบัน สหประชาชาติระบุว่า ต้องการให้ถ่านหินหายไปอย่างสิ้นเชิง และยุติการอุดหนุนการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล และอยากจะเห็นความร่วมมือกันของทั่วโลกในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงจนเหลือศูนย์ในปี 2050

นั่นยังคงเป็นเป้าหมายที่ท้าทายมาก แม้ว่าทั่วโลกจะรู้สึกมากขึ้นแล้วว่าจำเป็นต้องร่วมกันรับมือกับปัญหาโลกร้อนก็ตาม


https://www.bbc.com/thai/international-55507110

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 02:42


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger