เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is online now
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,452
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ


กรมทะเลช่วยรักษา "เต่าตนุ" อ่าวไผ่ หลังพบมีการอักเสบของระบบทางเดินหายใจ-กล้ามเนื้อ



กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้รับแจ้งพบเต่าทะเลป่วย บริเวณอ่าวไผ่ พบเป็นเต่าตนุ มีการอักเสบของระบบทางเดินหายใจและระบบกล้ามเนื้อ สัตวแพทย์ให้ยาลดการอักเสบ ลดปวด สารน้ำ และจะทำการตรวจโดยละเอียดต่อไป

วันนี้ (19 พ.ค.) เพจ ?กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง? กรมทะเล ได้รับแจ้งพบเต่าทะเลป่วย บริเวณอ่าวไผ่ ตำบลเกาะหมาก อำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด โดยเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก (ศวทอ.) ได้รับแจ้งจากคุณนพดล สุทธิธนกูล ประธานกลุ่มอนุรักษ์ปะการังเกาะหมาก จังหวัดตราด เรื่องพบเต่าทะเลป่วย บริเวณอ่าวไผ่ ตำบลเกาะหมาก อำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด

เจ้าหน้าที่ ศวทอ.เข้าตรวจสอบพบเป็นเต่าตนุ (Green turtle, Chelonia mydas) ไม่ทราบเพศ วัดขนาดแนบกระดองกว้าง 70 เซนติเมตร ยาว 79 เซนติเมตร หนัก 41.25 กิโลกรัม ไม่พบหมายเลขไมโครชิป จากการตรวจร่างกายเบื้องต้นพบว่าเต่ามีอาการหัวและคอเอียง บิดไปทางด้านขวา แสดงอาการเจ็บปวดเมื่อมีการออกแรงกดบริเวณระหว่างคอและหัวไหล่ แต่ไม่พบอาการบวมหรือบาดแผลภายนอก จากภาพถ่ายรังสีพบปอดด้านขวาเป็นสีขาวทึบกว่าปกติ แสดงว่าเต่าทะเลมีการอักเสบของระบบทางเดินหายใจและระบบกล้ามเนื้อ สัตวแพทย์ให้ยาลดการอักเสบ ลดปวด สารน้ำ และจะทำการตรวจโดยละเอียดต่อไป


https://mgronline.com/onlinesection/.../9670000043123

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is online now
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,452
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ


อธิบดี ทช.เผยปะการังเกาะไม้ท่อน จ.ภูเก็ต เริ่มฟอกขาว สถานการณ์ยังไม่รุนแรง

ศูนย์ข่าวภูเก็ต - อธิบดี ทช.เผยปะการัง ในบริเวณเกาะไม้ท่อน จ. ภูเก็ต เริ่มมีการฟอกขาว ประมาณ 30-40% ระบุ สถานการณ์ยัง ไม่รุนแรง เชื่อว่าหากอุณหภูมิลดลงเร็วในพื้นที่ ปะการังอาจจะรอดจากกาคฟอกขาวรุนแรง



นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ( ทช.) กล่าวภายหลัง ร่วมกับผู้บริหาร และ เจ้าหน้าที่กรม ทช.ลงพื้นที่ ติดตามการดำเนินงานติดตั้งตาข่ายพราง (Shading) ในพื้นที่บริเวณแนวปะการังด้านทิศตะวันออกของเกาะไม้ท่อน อ.เมือง จ.ภูเก็ต พร้อมสำรวจสถานการณ์ปะการังฟอกขาว ว่า เรื่องนี้ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้สั่งการให้ ทช.ลงพื้นที่เพื่อติดตามสถานการณ์ปะการังฟอกขาว ร่วมทั้งแนวทางในการป้องกัน และมาตรการดูแลแก้ไขจึงได้มีการลงพื้นที่พร้อมด้วยนักวิชาการ และผู้แทนสำนักงานประมาณ เพื่อตรวจสอบสภาพปัญหา และวางแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

"จากการลงพื้นที่เกาะไม้ท่อน พบว่า ปะการังในบริเวณดังกล่าว เริ่มมีการฟอกขาวประมาณ 30-40% ซึ่งสถานการณ์ไม่รุนแรงมากนัก เชื่อว่าหากอุณหภูมิลดลงเร็วในพื้นที่นี้ปะการังอาจจะรอด เนื่องจากขณะนี้ฝนเริ่มตก ขณะเดียวกันก็พยายามช่วยเขาโดยการทดลองทำม่านกันแสงยูวี เพราะเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้ปะการังเกิดการฟอกขาว จึงได้มาติดตามด้วยว่า การดำเนินการเป็นไปได้อย่างไร และวางแผนเก็บตัวอย่างอย่างไรเพื่อให้การทำงานในอนาคตมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น"

นายปิ่นสักก์ กล่าวด้วยว่า เพื่อเป็นการป้องกันและลดความรุนแรงของสถานการณ์ฟอกขาวที่จะเกิดขึ้นนั้น ได้มีการร่วมมือกับกรมอุทยานฯ และนักวิชาการ โดยตั้งคณะกรรมการร่วมกัน จะมี 3 ส่วน คือ หลังจากประเมินสถานการณ์พบการฟอกและสถานการณ์เริ่มรุนแรง จะมี 3 มาตรการ คือ ลด งด ช่วย

โดยการลด ได้แก่ การลดภัยคุกคามที่ทำให้ปะการังเครียดและไม่สบาย เช่น น้ำเสีย ขยะ ครีมกันแดดที่เป็นพิษกับปะการัง เป็นต้น และ เมื่อพบการฟอกขาว 40- 50% จะมีการงด การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าว


https://mgronline.com/south/detail/9670000043201
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is online now
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,452
Default

ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด


เปิดภาพขยะเกลื่อนพีพี น่าชื่นชมเรือปริศนาช่วยจ้วงเก็บขยะไม่หยุด



?ปัญหาสิ่งแวดล้อม โลกร้อน ถือเป็นปัญหาสำคัญ? ที่ทุกคนต้องช่วยกันแก้ไข ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเล และรองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์? ได้ออกมาโพสต์กระทุ้งให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงผลกระทบเรื่องโลกร้อนอย่างต่อเนื่อง

โดยล่าสุด ดร.ธรณ์ ได้แชร์ภาพขยะทางทะเลและผลกระทบ โดยระบุว่า "4 ข้อธรณ์ขอไว้ หนึ่งในนั้นคือขยะทะเล ภาพนี้คงบอกได้ว่าทำไม ? ปะการังฟอกขาวอยู่ใต้น้ำ แพขยะลอยมา สังเกตตะกอนเล็กๆ เต็มน้ำ

บางส่วนเป็นเศษขยะชิ้นจิ๋วและไมโครพลาสติก เมื่อมาถึงช่วงน้ำนิ่ง จะตกลงไปเบื้องล่าง ลงสู่ปะการังที่อ่อนแออยู่แล้ว พอน้ำเริ่มไหลอีกครั้ง เศษพลาสติกจิ๋วจะบาดตัวปะการัง ทำให้เป็นโรคง่ายขยะทะเลจึงซ้ำเติมปะการังฟอกขาว เพราะฉะนั้น ช่วยกันนะครับ"

นอกจากนี้ ดร.ธรณ?์ ยังได้เขียนถึงเหตุการณ์ระหว่างเก็บขยะ ซึ่งพบเรือปริศนาลำหนึ่งเข้ามา พร้อมกับช่วยเก็บขยะไม่หยุด ทั้งที่ไม่ได้มีหน้าที่อะไร

โพสต์ระบุว่า "ระหว่างที่ผมลอยคออยู่กลางแพขยะเหนือปะการังฟอกขาว กลุ้มใจว่าจะเก็บยังไงดีสองมือถือได้แค่นี้ จู่ๆ ก็มีเรือลำหนึ่งแล่นเข้ามา จากนั้นน้องเขาก็ลงมือตักขยะขึ้นเรือ ผมลอยดูอยู่ 5 นาที น้องไม่หยุดเลย เก็บขยะไปได้ครึ่งค่อนแพ

ไม่ต้องขอ ไม่ต้องบอก ไม่ใช่หน้าที่ ก็แค่ทำตามที่ใจสั่ง ไม่มีโล่ไม่มีอะไรให้ มีแต่ความชื่นชมจากใจ สุดยอดมากครับน้อง ถามแล้ว เรือชื่อนี้เป็นของคนท้องถิ่นพีพี ของผู้ใหญ่ดำ หมู่ 8" อย่างที่บอกว่า เรื่องนี้เป็นปัญหาของทุกคน ต้องเริ่มจากหยุดทิ้ง และแยกขยะเพื่อทำลายให้ถูกต้องนั่นเอง


https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_8240850

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is online now
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,452
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยโพสต์


ปะการังฟอกขาวระดับหายนะ วิกฤตทะเลเดือด



เมื่อโลกร้อนทะเลเดือด อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อแนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลไทย ภาพแนวปะการังขาวโพลนที่เกิดขึ้นตามจุดต่างๆ ในทะเล สะท้อนวิกฤตปะการังฟอกขาวและสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง ว่าปะการังจะอยู่หรือตายหมดทะเล ขณะที่กรมอุทยานแห่งชาติฯ ทยอยประกาศปิดจุดดำน้ำท่องเที่ยวในอุทยานฯ ทางทะเล หลายแห่งแล้ว เพื่อลดผลกระทบต่อปะการัง

จากการสำรวจปะการังฟอกขาวของคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) นำโดย ผศ.ดร. ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มก. มีการบันทึกภาพและรายงานข้อมูลที่สำคัญ พบว่า เกาะบริเวณชายฝั่งแกลง เช่น เกาะมันใน หินต่อยหอย เกาะขี้ปลา มีปะการังฟอกขาวรุนแรง ในเขตน้ำตื้นการฟอกขาว 90% และพบปะการังตายแล้ว 10 % ไม่พบปะการังปกติ ขณะที่เกาะอื่นๆ เช่น เกาะทะลุ มีการฟอกขาวลักษณะเดียวกัน แล้วยังมีรายงานจากหาดเจ้าหลาวว่าฟอกขาวรุนแรงก่อนหน้านี้

ผศ.ดร.ธรณ์ กล่าวว่า ประเทศไทยเกิดปะการังฟอกขาวครั้งแรกปี 2534 แต่ฟอกขาวรุนแรงโดนหนักทั้งอ่าวไทยและอันดามัน ปี 2553 จากนั้นเกิดถี่ขึ้นๆ ปี 2558 อันดามันฟอกขาวหนัก คณะประมงติดตามสถานภาพและเห็นภาพการเปลี่ยนแปลงปะการังที่น่าเศร้ามาตลอด ปี 2562 ปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวเกิดถี่ขึ้นและภาวะโลกร้อนรุนแรงมากขึ้น ปี 2564 เกิดปะการังฟอกขาวระดับเบา ซึ่งคณะประมงจัดจุดติดตามปะการังถาวร เพื่อศึกษาวิจัยระยะยาว โดยตั้งสถานีในทะเลตะวันออก จ.ระยอง และ จ.ชลบุรี สำรวจและติดตั้งอุปกรณ์วัดอุณหภูมิน้ำ โดยมีการสำรวจ 2-3 ครั้งต่อปี สำรวจปะการังฟอกขาวแบบใช้โดรนกันน้ำติดกล้องถ่ายคลิปใต้น้ำ เก็บพิกัดพร้อมบันทึกภาพรอบด้าน บวกกับการใช้โดรนใหญ่บินสูงเพื่อถ่ายภาพ ควบคู่กับการดำน้ำบางจุด เป้าหมายให้ได้แผนที่ปะการังฟอกขาวในภาพรวม

" จากการสำรวจปะการังฟอกขาวถี่ขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ฟอกขาวเบาเกิดขึ้นปีเว้นปี ทำให้ปะการังไม่ฟื้นตัวแม้ขณะนี้อุณหภูมิน้ำทะเลเริ่มลดลงแล้ว แต่ปะการังแช่น้ำร้อนจัดต่อเนื่อง 6-7 สัปดาห์ น้ำที่เย็นลงก็ยังร้อนอยู่ดี หนนี้เป็นการฟอกขาวรุนแรงที่สุดในรอบ 14 ปี นับจากปี 53 ปะการังฟอกขาวระดับหายนะ ถามว่า ปะการังจะรอดหรือไม่ คำตอบ คือ ยังบอกไม่ได้แต่น่าเป็นห่วงมาก น้ำร้อนมากและร้อนนาน ปะการังอ่อนแอถึงขีดสุด เทียบเป็นมนุษย์ก็เข้าไอซียู จะอยู่จะไปก็ไม่รู้ ต้องเฝ้าระวัง แนวปะการังบางส่วนกลายเป็นสุสานใต้น้ำไปแล้ว ปลาในแนวปะการังลดลง จำนวนชนิดของปลาลดลง ถึงตอนนี้แม้น้ำเย็นลง แต่ยังเกินเส้นวิกฤต 31 องศาเซลเซียส หากสถานการณ์ยังลากยาวไปเรื่อยๆ อีก 2-3 สัปดาห์ โอกาสรอดมีน้อย เราไม่ได้ต้องการแค่น้ำเย็นลง แต่ยังต้องการให้อุณหภูมิน้ำต่ำกว่าเส้นวิกฤต " ดร.ธรณ์ ให้ภาพทะเลเดือด

ผู้เชี่ยวชาญทางทะเลระบุ ปี 64 เกาะมันในและหินต่อยหอย จ.ระยอง ฟอกขาวพร้อมกัน เกาะมันใน ปะการังในน้ำตื้นตายเรียบหมด จนต้องปิดสถานี เพราะไม่สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงได้ ขณะที่หินตอยหอยปะการังน้ำตื้นโทรม แต่ปีนี้รุนแรงมาก ทั้งสองจุดปะการังขาวโพลนไปหมด แม้แต่หินต่อยหอยก็ทนทะเลเดือดไม่ได้ ถ้าไม่ตายทั้งหมด ก็โทรมลง ที่เลือกหินต่อยหอยเป็นจุดสำรวจเพราะเป็นแนวกลางน้ำ มีร่องน้ำตรงกลาง มีปะการังเยอะ น้ำไหลเวียนดี น้ำลึกกว่า สำคัญมากต่อการทนฟอกขาว เจอน้ำร้อนประจำทุกปี ถือเป็นปะการังที่อึดทน แต่ปีนี้เผชิญน้ำร้อนระดับไม่เคยพบเห็น ข้อมูลช่วงต้นเมษายน น้ำร้อนเกิน 34 องศา เกือบแตะ 35 องศา

" เส้นวิกฤตปะการังฟอกขาว คือ 30.5 องศา แต่ปัจจุบันกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเพิ่มมาเป็น 31 องศา ไม่เช่นนั้นต้องประกาศฟอกขาวตลอด เพราะปะการังไทยที่รอดมาถึงยุคนี้ล้วนอึดขึ้น น้ำทะเลทะลุขีดจำกัดตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม หลังจากนั้นไม่เคยกลับไปต่ำกว่า 31 องศาอีกเลยจนทุกวันนี้ การช่วยปะการังในอนาคต เราควรทดลองเลี้ยงปะการังที่มีความทนทานต่อความร้อน ซึ่งปัจจุบันมีนักวิจัย ม.เกษตร จุฬาฯ และรามคำแหงดำเนินโครงการขยายพันธุ์ปะการังที่ทนต่ออุณหภูมิน้ำทะเลสูงได้หลายชนิด เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูปะการังในธรรมชาติ และเป็นการแก้ปัญหาปะการังฟอกขาวของประเทศไทยอีกด้วย แต่โครงการลักษณะนี้ต้องใช้งบประมาณสูงมากกว่าปลูกปะการังปกติ และต้องทำต่อเนื่องยาวนาน " ผศ.ดร.ธรณ์ กล่าว

ส่วนแนวปะการังอุทยานนพรัตน์ธารา ? หมู่เกาะพีพี นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลระบุ คณะประมงสำรวจร่วมกับหน่วยงานรัฐ พบว่า แนวปะการังเกาะใกล้ฝั่ง อย่างทะเลแหวก เกาะปอดะ โดนฟอกขาวแล้ว ซึ่งสัปดาห์นี้จะลงสำรวจแนวปะการังจุดนี้ซึ่งเป็นตัวแทนทะเลอันดามัน แนวปะการังแทบทุกแห่งในทะเลไทยล้วนแสดงอาการมากน้อยต่างกัน หนนี้เกาะใกล้ฝั่งโดนเยอะ หวังให้ฝนไม่ล่าช้ามาก จะช่วยลดอุณหภูมิน้ำ ปะการังจะรอดไปได้

นอกจากปะการังตายหมด หอยมือเสือ หอยที่ใหญ่ที่สุดในโลกในแนวปะการัง เป็นอีกสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลที่อยู่ในภาวะไอซียู ผศ.ดร.ธรณ์ บอกว่าจากการสำรวจตามจุดที่ตั้งสถานี พบหอยมิอเสือสีซีดจางเกือบขาว น้ำร้อนจัด กระทบสาหร่ายที่ช่วยสังเคราะห์แสงสร้างพลังงาน สร้างเปลือก น้ำร้อนฉ่า สาหร่ายจากไป สีสันที่เคยสวยงามกลับซืด หอยมือเสือกำลังจะอดตาย ปะการังที่เป็นบ้านบางส่วนฟอกขาวตาย ต่อให้หอยรอด ปะการังตายหมด หอยก็อยู่ต่อไม่ได้ ล่าสุดประสานกับกรมทรัพยากรทางทะเลฯ จะมีการส่งทีมไปนำหอยมือเสือมาพักฟื้นในบ่อของกรมต่อไป

อนาคตจะเผชิญหน่ากับหายนะครั้งใหญ่ ผศ.ดร.ธรณ์ กล่าวว่า นักวิทยาศาสตร์ประเมินว่า หากอุณหภูมิโลกสูงขึ้นไปเตะระดับที่ 2 องศาเซลเซียส ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2050 นี้ ปะการังกว่าร้อยละ 99 บนโลกจะตายไปหมด ถ้าสถานการณ์โลกร้อนยังดำเนินอย่างนี้ต่อไป ถ้ายังปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศโลกเช่นทุกวันนี้ จะไม่มีปะการังน้อยใหญ่เป็นแหล่งอนุบาลหรือแหล่งอาศัยของสิ่งมีชีวิต เพื่อเกิดและเติบโต สร้างระบบนิเวศทางทะเลที่สวยงามสมบูรณ์และรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งมีผลโดยตรงต่อวิถีชีวิตชาวบ้าน การท่องเที่ยว ไปจนถึงการส่งออก

สำหรับข้อเสนอแนะ ผศ.ดร.ธรณ์กล่าวควรให้ผู้บริหารและผู้กำหนดนโยบายด้านโลกร้อน ไม่เฉพาะหน่วยงานรัฐ แต่รวมถึงองค์กรภาคเอกชนต่างๆ ของประเทศไทยมาดู จะได้รู้ว่าผลกระทบหมายความว่าอย่างไร มาเผชิญหน้ากับความจริง จะได้เห็นด้วยตาตัวเอง มันตายยังไง จะรอดมั้ย เพราะเราก็มีตาเหมือนกัน แทนที่จะนั่งประชุมในห้อง จับมือเอ็มโอยู หรือจัดอีเว้นท์ Net Zero หรือทำกิจกรรมรักษ์ทะเล นอกจากนี้ รัฐควรสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาแนวทางอย่างเร่งด่วนเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลผ่านเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ ประเทศไทยขาดนวัตกรรมเพื่อสำรวจและช่วยธรรมชาติ เพื่อสู้กับภาวะโลกเดือด รวมถึงขาดนักวิจัยรุ่นใหม่ๆ ขับเคลื่อนเพื่อช่วยให้ปะการังรอดจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เราให้ความสำคัญน้อยไป เราลงทะเลน้อยไป

ประการังฟอกขาวหนัก ผู้เชี่ยวชาญทางทะเลฝากในท้าย 4 วิธีง่ายๆ ช่วยดูแลรักษาปะการังและท้องทะเลไทย เริ่มจากท่องเที่ยวอย่างระวัง ไม่เข้าใกล้ปะการังฟอกขาว เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ ช่วยกันเก็บขยะจากแนวปะการัง อย่าให้อาหารปลา เพราะเมื่อปลากินขนมปังจะไล่ปลากินสาหร่ายออกไป แล้วจะเหลือตัวอะไรกินสาหร่าย และอย่ากินปลานกแก้วและสัตว์หายาก เพราะปลานกแก้วกินสาหร่าย ทำให้ปะการังใหม่ลงเกาะบนพื้นได้

เครดิตภาพ : คณะประมง ม.เกษตรศาสตร์


https://www.thaipost.net/news-update/589161/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า สัปดาห์ที่แล้ว
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is online now
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,452
Default

ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ


'ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์' ในชั้นบรรยากาศ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว - เข้มข้นสูง
.......... โดย กฤตพล สุธีภัทรกุล


KEY POINTS

- ระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ล่าสุดสูงเกือบ 427 ส่วนต่อล้านส่วน และอัตราความเร็วของก๊าซคาร์บอนกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจเป็นสัญญาณร้ายของโลก ที่บอกว่าเรากำลังล้มเหลวในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก

- ระบบนิเวศบนบกทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้นในช่วงปรากฏการณ์เอลนีโญ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของปริมาณฝนและอุณหภูมิที่รูปแบบสภาพอากาศ อีกทั้งสภาพอากาศแห้งแล้งจะส่งให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศพุ่งสูงขึ้นกว่าปรกติ

- อาจต้องใช้เวลามากกว่า 200 ปี กว่าที่ระดับความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์จะลดลงต่ำกว่า 400 ส่วนในล้านส่วน แม้ว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะลดลงใกล้ศูนย์ภายในปี 2100 ก็ตาม




องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ หรือ NOAA พบว่า ระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเดือนมีนาคม 2024 สูงขึ้น 4.7 ส่วนต่อล้านส่วน ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด และเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่ที่มีมา อีกทั้งในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2024 ความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ในชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้นเร็วกว่าปีก่อน ๆ

เป็นเวลากว่า 60 ปีแล้ว ที่สถาบันสมุทรศาสตร์แห่งสคริปส์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในซานดิเอโก ใช้ฐานข้อมูลจากห้องปฏิบัติการในฮาวายของ NOAA เพื่อสร้างเส้นโค้งคีลิง (Keeling Curve) ซึ่งเป็นแผนภูมิที่แสดงความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศทั่วโลกในแต่ละวัน จากข้อมูลพบว่าอัตราความเร็วของก๊าซคาร์บอนกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจเป็นสัญญาณร้ายของโลก ที่บอกว่าเรากำลังล้มเหลวในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก

ราล์ฟ คีลิง ผู้อำนวยการโครงการศึกษาก๊าซคาร์บอนของสถาบันสมุทรศาสตร์แห่งสคริปส์ กล่าวว่าไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่ปริมาณและความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรชากาศเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

"เพราะว่าทุกวันนี้ เราใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ"


ระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ปรกติแล้วระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะเพิ่มขึ้นสูงสุดในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม จากนั้นจะลดลงจนสู่ระดับต่ำสุดในเดือนสิงหาคม-กันยายน โดยก๊าซคาร์บอนจะลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศเป็นเวลาหลายร้อยปี ทำหน้าที่กักเก็บและดูดกลืนความร้อน ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิด ?ภาวะเรือนกระจก? ตั้งแต่ที่มนุษย์หันมาใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ทั้งน้ำมันและถ่านหิน ก๊าซคาร์บอนก็เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยมา

นั่นหมายความว่า เส้นโค้งคีลิงจะถึงจุดสูงสุดใหมใหม่ในทุกเดือนพฤษภาคมของทุกปี ซึ่งค่าสูงสุดในแต่ละปี ทำให้เกิดความกังวลว่าแผนภูมินี้จะสูงชันขึ้นเรื่อย ๆ โดยค่าล่าสุดอยู่ที่เกือบ 427 ส่วนต่อล้าน ซึ่งสูงกว่าระดับก่อนยุคอุตสาหกรรมมากกว่า 50% และสูงสุดในรอบอย่างน้อย 4.3 ล้านปี ตามข้อมูลของ NOAA

ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศทะลุ 400 ส่วนในล้านส่วนเป็นครั้งแรกในปี 2557 นักวิทยาศาสตร์กล่าวในปี 2559 ว่าระดับดังกล่าวไม่น่าจะลดลงต่ำกว่าเกณฑ์นั้นได้อีกในอีกช่วงหนึ่งอายุคน และนับตั้งแต่ปีนั้นเป็นต้นมา การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลทั่วโลกเพิ่มขึ้น 5% ทุกปีตามข้อมูลของสถาบันสมุทรศาสตร์แห่งสคริปส์

แผนภูมินี้ตั้งชื่อตาม ชาร์ลส์ เดวิด คีลิง พ่อของราล์ฟ คีลิง ผู้ริเริ่มบันทึกความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศบนยอดภูเขาไฟภูเขาไฟเมานาโลอา ตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 1950 นับเป็นความพยายามครั้งแรกในการตรวจวัดก๊าซที่ทำให้โลกร้อน และช่วยเตือนนักวิทยาศาสตร์ให้ทราบถึงความเป็นจริงของภาวะเรือนกระจกที่ทวีความรุนแรงขึ้น และผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อโลก

ข้อมูลนี้สอดคล้องกับผลการศึกษาของทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโอเรกอนสเตท ในสหรัฐ และมหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูส์ จากสกอตแลนด์ ที่ได้ทำการวิเคราะห์ทางเคมีน้ำแข็งแอนตาร์กติกโบราณโดยอย่างละเอียด จนพบว่า อัตราการเพิ่มขึ้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศในปัจจุบันเร็วกว่า ในช่วง 50,000 ปีที่ผ่านมาถึง 10 เท่า


"เอลนีโญ" ทำให้ก๊าซคาร์บอนเพิ่มขึ้นอยู่นานขึ้น

ในแต่ละปี ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นในปริมาณที่ไม่เท่ากัน โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้ปริมาณก๊าซคาร์บอนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว คือ "ปรากฏการณ์เอลนีโญ" ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ทำให้อุณหภูมิน้ำแนวเส้นศูนย์สูตรในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกและตอนกลางอุ่นกว่าค่าเฉลี่ย ส่งผลให้รูปแบบสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดความร้อนจัด น้ำท่วม และความแห้งแล้งในหลายภูมิภาคทั่วโลก

ป่าเขตร้อนทำหน้าที่เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนชั้นดี เพราะป่าเหล่านี้จัดเป็นป่าประเภทไม่ผลัดใบ เป็นป่าที่มีสีเขียวตลอดทั้งปี แต่ความแห้งแล้งที่เกิดจากปรากฏการณ์เอลนีโญในพื้นที่เขตร้อน รวมถึงอินโดนีเซียและทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ ส่งผลให้ป่าเหล่านี้กักเก็บคาร์บอนได้น้อยลง

นอกจากนี้ คีลิงกล่าว ระบบนิเวศบนบกทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้นในช่วงปรากฏการณ์เอลนีโญ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของปริมาณฝนและอุณหภูมิที่รูปแบบสภาพอากาศ อีกทั้งสภาพอากาศแห้งแล้งจะส่งให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศพุ่งสูงขึ้นกว่าปรกติ สิ่งเหล่านี้อาจทำให้ความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงท้ายของปรากฏการณ์เอลนีโญ ซึ่งกำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ของ NOAA กล่าวว่ามีแนวโน้มที่เอลนีโญจะสิ้นสุดในเดือนพฤษภาคมนี้

ข้อมูลจาก NOAA พบว่า ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปี 2023 สูงกว่าค่าเฉลี่ยของปริมาณก๊าซคาร์บอนในช่วงทศวรรษ 1960 ถึง 5 เท่า และมากกว่าปี 2010 อยู่ 2 เท่า ขณะที่ปี 2016 ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำลายสถิติ ก็เป็นปีที่เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญรุนแรงครั้งหนึ่งของประวัติศาสตร์

อาร์ลิน แอนดรูว์ นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพอากาศของ NOAA กล่าวว่าต้องใช้เวลาประมาณ 40 ปี กว่าที่ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์จะลดลง แม้ว่าเราจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงแล้วก็ตาม เนื่องจากวัฏจักรคาร์บอนของโลกอยู่นอกสมดุลตามธรรมชาติ พืช ดิน และมหาสมุทรจึงปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ส่วนเกินออกไปเพื่อตอบสนองต่อการลดการปล่อยก๊าซของมนุษย์

แอนดรูว์คาดว่า อาจต้องใช้เวลามากกว่า 200 ปีกว่าที่ระดับความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์จะลดลงต่ำกว่า 400 ส่วนในล้านส่วน แม้ว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะลดลงใกล้ศูนย์ภายในปี 2100 ก็ตาม

ในวัฏจักรคาร์บอนตามธรรมชาติ คาร์บอนจะไหลผ่านอากาศ ดิน น้ำ พืชและสัตว์ และในที่สุดก็ไหลลงสู่ตะกอนในมหาสมุทรลึกและสะสมเป็นฟอสซิลที่อยู่ลึกลงไปใต้ดิน โดยการเคลื่อนที่ของคาร์บอนทั่วทั้งระบบ ช่วยควบคุมอุณหภูมิของโลกของเรา ต่างจากบนดาวศุกร์ตรงที่คาร์บอนไดออกไซด์เป็นส่วนประกอบในชั้นบรรยากาศส่วนใหญ่ ทำให้พื้นผิวดาวเคราะห์ดวงนั้นร้อนจัด

แต่การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของมนุษย์ทำให้ระบบนั้นไม่สมดุล แอนดรูว์กล่าวว่ามันเหมือนกับการทิ้งขยะลงในกองขยะมากขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าขยะจะน้อยลง แต่มันยังคงกองอยู่ ไม่ได้หายไปไหน

ที่มา: Independent, The Washington Post


https://www.bangkokbiznews.com/environment/1127379
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #6  
เก่า สัปดาห์ที่แล้ว
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is online now
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,452
Default

ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS


อช.หมู่เกาะพีพี ปักธงเตือน ระวัง "พะยูน" ขอลดความเร็ว-ระมัดระวังเดินเรือ

อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ วางทุ่นชะลอ?ความ?เร็วเรือ วอนขอความร่วมมือ?ระมัดระวัง?ในการเดินเรือ? เพื่อร่วมด้วยช่วยกันดูแล?พะยูน?ใน?พื้นที่?ฯ



วันนี้ (19 พ.ค.2567) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2567 เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ ได้วางแนวทุ่นชะลอความเร็วเรือ บริเวณอ่าวทึง หมู่ที่ 4 ต.อ่าวนาง และบริเวณอ่าวน้ำเมา หมู่ที่ 5 ต.ไสไทย อ.เมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ เขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติฯ

เจ้าหน้าที่ได้วางแนวทุ่นชะลอความเร็วเรือ จำนวน 25 ทุ่น ความยาวตลอดแนวทุ่น 5.8 กม.ครอบคลุมพื้นที่หญ้าทะเล 1,168 ไร่ เพื่อขอความร่วมมือจากเรือนำเที่ยวของผู้ประกอบการ เรือประมง และประชาชนที่ใช้ยานพาหนะในการสัญจรทางน้ำ เดินเรือในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ด้วยความระมัดระวัง โดยให้เดินเรือตามแนวร่องน้ำหลัก และงดการเดินเรือในบริเวณแหล่งหญ้าทะเล

หากจำเป็นต้องเดินเรือผ่านแนวเขตหญ้าทะเล และพื้นที่เสี่ยงในการอพยพเคลื่อนย้ายพะยูน ให้ใช้ความเร็วเรือไม่เกิน 3 นอต และไม่เกิน 20 นอต ในพื้นที่ชายฝั่งที่เป็นเขตการแพร่กระจายของพะยูน?? เพื่อ?ร่วม?ด้วย?ช่วยกัน? ดูแล?พะยูน?และ?สัตว์?ทะเล?หา?ยาก?ในพื้นที่?ต่อไป

ขณะที่ วานนี้ (18 พ.ค.67) อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ได้สำรวจและติดตามพฤติกรรมพะยูน บริเวณหาดนพรัตน์ธารา โดยใช้วิธีการบินสำรวจ (Aerial Survey) จากอากาศยานไร้คนขับ (UAV-drone) การสำรวจเบื้องต้น พบพะยูน จำนวน 3 ตัว เป็นพะยูน ตัวเต็มวัย จำนวน 2 ตัว และลูกพะยูน จำนวน 1 ตัว ซึ่งจากการสังเกตด้วยสายตา พบว่าพะยูนแสดงพฤติกรรมว่ายน้ำหาอาหารบริเวณที่มีแหล่งหญ้าทะเล โดยมีลูกพะยูนตัวน้อย ว่ายน้ำเคียงข้าง

ทั้งนี้อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ได้ออกประกาศอุทยานแห่งชาติว่าด้วย "มาตรการและข้อปฏิบัติในการอนุรักษ์พะยูนและแหล่งหญ้าทะเล" ฉบับลงวันที่ 11 พ.ค.67 ขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการนำเที่ยว ประชาชน และนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ยานพาหนะในการสัญจรทางน้ำให้ใช้ความระมัดระวังในการเดินเรือ และชะลอความเร็วเรือลงขณะเข้าปากร่องน้ำ หรือเข้าใกล้พื้นที่แหล่งหญ้าทะเล ซึ่งทางอุทยานแห่งชาติฯ ได้มีทุ่นติดธงสีเหลืองแสดงสัญลักษณ์แนวเขตชะลอความเร็วเรือ อยู่บริเวณขอบเขตแหล่งหญ้าทะเล สำหรับพื้นที่ที่มีแหล่งหญ้าทะเล ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 3 นอต และไม่เกิน 20 นอต ในพื้นที่ชายฝั่งที่เป็นเขตการแพร่กระจายของพะยูน

สำหรับ ลูกพะยูน นั้น ต้องอาศัยน้ำนมแม่เป็นอาหารหลัก หากแม่พะยูนตายหรือพลัดหลงกับลูก ในขณะที่ลูกพะยูนยังตัวเล็กมาก ลูกพะยูนจะไม่สามารถมีชีวิตรอดอยู่ในธรรมชาติได้


https://www.thaipbs.or.th/news/content/340140

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 02:53


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger