เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 26-10-2010
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,403
Default


2553 ปีน้ำท่วม ล้นทะลักทั่วโลก!




ปี พ.ศ.2553 หรือ ค.ศ.2010 เป็นปีหนึ่งที่หลายประเทศทั่วโลกเผชิญกับฝนตกหนักและน้ำท่วมครั้งรุนแรงอย่างที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อนในอดีตที่ผ่านมา

โดยปีนี้ไม่เพียงประเทศอินเดียเท่านั้นที่มีฝนตกหนักรุนแรงและน้ำท่วม

แต่อีกในหลายประเทศ ได้แก่ อียิปต์ จีน เกาหลีเหนือ ปากีสถาน โปรตุเกส โปแลนด์ ฮังการี ออสเตรีย เยอรมัน สโลวะเกีย เซอร์เบีย ยูเครน ลัตเวีย ก็ประสบกับสภาวะอันเลวร้ายและได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมจนก่อให้เกิดการสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินเช่นกัน

สภาวะน้ำท่วมในปีนี้ได้ส่งผลกระทบหลายพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง

ประเทศปากีสถานมีผู้คนจำนวนมากที่ต้องเสียชีวิต ประชาชนหลายพันคนและพื้นที่เป็นบริเวณกว้างได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม โดยที่ Swat Valley ประชาชนกว่า 900,000 คนต้องย้ายถิ่นที่อยู่อาศัย พืชผลทางการเกษตรเช่น ข้าว ข้าวสาลี อ้อย และยาสูบเสียหาย

อีกทั้งร้านค้ารวมถึงถนนหนทางและสะพานถูกกระแสน้ำพัดพาเสียหายทั้งสิ้น

ประชาชนต้องการอาหารและที่พักชั่วคราวอย่างเร่งด่วนก่อนที่สภาพอากาศหนาวที่เลวร้ายจะมาเยือน

ส่วนเกาหลีเหนือ จากฝนที่ตกหนักอย่างรุนแรงก่อให้เกิดดินถล่มปิดถนนหนทาง บ้านเรือน โรงเรียน และพืชผลการเกษตรต้องถูกฝังกลบอยู่ภายใต้กองโคลน



นอกจากนี้ ประเทศจีนก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ประสบกับสภาวะน้ำท่วมรุนแรงในรอบทศวรรษ สร้างความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน พืชผลทางการเกษตร และโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศด้วย

สําหรับอินเดีย ซึ่งไม่เคยประสบกับปริมาณฝนที่สูงมากส่งผลกระทบต่อหลายรัฐในช่วงเวลาเดียวกันมาก่อน แต่ปีนี้ไม่ว่าจะเดินทางไปที่ไหนก็จะพบเห็นแต่ความเสียหายที่เกิดจากน้ำท่วม พืชผลการเกษตรเสียหาย บ้านเรือนถูกน้ำพัดพา

ในเมืองเดลี แม่น้ำยมนาซึ่งปกติจะค่อนข้างแห้งขอด มีน้ำน้อย

แต่ปรากฏว่าปีนี้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร ประชาชนจำเป็นต้องย้ายถิ่นฐาน รวมถึงในอีกหลายรัฐของอินเดียก็ประสบกับปัญหาน้ำท่วมหนัก มีการประกาศภาวะฉุกเฉิน ประชาชนถูกอพยพออกนอกพื้นที่เพื่อที่จะบูรณะฟื้นฟูจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจากที่หลายชีวิตต้องสูญเสีย บ้านเรือนถูกน้ำพัดพา ถนนหนทางเสียหาย

โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ไฟฟ้า โทรศัพท์ พืชผลและพื้นที่การเกษตรได้รับผลความเสียหายได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวที่ต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งอาหารและที่พักอาศัย อีกทั้งเริ่มมีการระบาดของโรค



สําหรับในทวีปยุโรปก็เช่นเดียวกัน

ปี 2010 นับเป็นปีที่หลายประเทศในยุโรปทั้งออสเตรีย เยอรมัน ฮังการี โปแลนด์ ลัตเวีย ยูเครน สโลวะเกีย ต้องเผชิญกับสภาวะน้ำท่วม

เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งเป็นช่วงจังหวะเวลาเดียวกันกับที่ทวีปยุโรปกำลังเผชิญกับปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจ ซึ่งก็เป็นสิ่งท้าทายอย่างยิ่งต่อความพยายามที่จะหลุดพ้นจากวิกฤตการณ์เหล่านี้

นอกจากนี้ ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งโดยปกติจะมีฝนน้อย แต่ปรากฏว่าปีนี้รัฐวิกตอเรียมีฝนมากกว่าปกติทำให้เกิดน้ำท่วมจนก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน ประเทศแม็กซิโก แคนาดา และสหรัฐอเมริกาก็เช่นกันที่ประสบกับฝนตกหนัก น้ำท่วม และดินถล่มในปีนี้

สําหรับประเทศไทย มีรายงานน้ำท่วมบางพื้นที่เป็นระยะๆ ตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคม

โดยในเดือนสิงหาคมทั่วทุกภาคของประเทศมีฝนตกหนาแน่นจนก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในหลายพื้นที่

ส่วนเดือนกันยายนบริเวณประเทศไทยมีฝนตกหนาแน่นเป็นช่วงๆ และยังคงมีหลายพื้นที่ทียังคงประสบอุทกภัย

ดังนั้น ถ้าจะกล่าวว่าปี 2010 เป็นปีแห่งอุทกภัยของศตวรรษนี้ก็ไม่เป็นการกล่าวเกินจริงนัก

ส่วนสาเหตุที่ก่อให้เกิดฝนตกหนักและหลายพื้นที่ต้องประสบกับสภาวะน้ำท่วมนั้น นอกจากปัจจัยหลักทางอุตุนิยมวิทยาอันได้แก่ร่องมรสุม หย่อมความกดอากาศต่ำ พายุ รวมถึงมรสุมที่พัดปกคลุมในแต่ละช่วงฤดูกาลแล้วนั้น เราคงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดฝนตกหนักน้ำท่วมรุนแรงมากขึ้น ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ

สอดคล้องกับรายงานของ ′คณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ′ (IPCC) ที่ระบุว่า

หนึ่งปรากฏการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 21 คือ การเกิดเหตุการณ์รุนแรงด้านภูมิอากาศเช่นฝนตกหนัก น้ำท่วม และดินถล่มเพิ่มมากขึ้น

ฉะนั้นปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จึงเป็นปัญหาสำคัญที่เราจะต้องร่วมมือกันป้องกันและเสริมสร้างความสามารถในการรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น



จาก .............. ข่าวสด วันที่ 26 ตุลาคม 2553


__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 02-11-2010 เมื่อ 08:16
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 31-10-2010
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,403
Default


คลื่นซัด-ภูเขาไฟซ้ำ ชาวอินโดนีเซียกระอัก




สัปดาห์นี้ อินโดนีเซีย ซึ่งไม่ได้เผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติขั้นร้ายแรงอีกครั้ง จากการที่ตั้งอยู่ตรงแนววงแหวนไฟ

นับจากวันที่ 25 ต.ค. ที่เจ้าหน้าที่ประกาศเตือนภัยภูเขาไฟเมราปี บนเกาะชวา จ่อระเบิดได้ไม่นาน วันเดียวกันนั้น เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.7 ริกเตอร์ใต้ทะเล ใกล้กับเกาะเมนตาไวในช่วงดึก ซึ่งมีประกาศจับตาสึนามิอยู่พักหนึ่ง

จากที่คิดว่าไม่มีอะไร ไม่กี่ชั่วโมงจากนั้น คลื่นสึนามิสูง 3 เมตรโถมซัดชายหาดของเกาะเมนตาไว ฝั่งตะวันตกของเกาะสุมาตรา กวาดเอารีสอร์ตและบ้านเรือนของชาวบ้านหายวับไปกับตา

ยังไม่ทันที่เจ้าหน้าที่จะประเมินยอดผู้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บ ภูเขาไฟเมราปีก็ระเบิด พ่นเอาควันและขี้เถ้าตลบไปทั่วพื้นที่อยู่อาศัย ซึ่งชาวบ้านหลายพันคนยังไม่ได้อพยพออกไป

จนถึงปลายสัปดาห์ จำนวนผู้เสียชีวิตในเหตุสึนามิสูงทะลุ 400 ราย และคาดว่าอาจเกิน 600 ราย ส่วนเหตุภูเขาไฟระเบิดอยู่ที่ราว 34 ราย บรรดาปศุสัตว์ในพื้นที่ล้มหายไปด้วยจากการสูดเอาควันพิษและขี้เถ้าเข้าไปด้วย



แม้หายนภัยทางธรรมชาติจะเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ยาก แต่ในประเทศที่เผชิญกับเหตุแผ่นดินไหวของตนเองบ่อยๆ เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน มีมาตรการและเทคโนโลยีที่ช่วยได้มาก

ในส่วนของอินโดนีเซีย หลังเกิดเหตุมหันตภัยสึนามิเมื่อปี 2547 ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 220,000 ราย โดยเป็นอินโดนีเซีย 168,000 ราย มีการติดตั้งระบบตรวจจับและเตือนภัยสึนามิ

แต่จากการเปิดเผยของนายเฟาซี หัวหน้าศูนย์ พบว่า ระบบเตือนภัยสึนามิ หรือ GITEWS ที่ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานของเยอรมนีหยุดทำงานไปตั้งแต่เมื่อเดือนก่อน เพราะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบำรุงรักษาไม่มีประสบการณ์ดูแล

ความผิดพลาดของมนุษย์ดังกล่าว จึงทำให้เมื่อถึงเวลา กลับไม่มีเครื่องมือใดๆที่จะช่วยป้องกันความเสียหายร้ายแรง

ในเหตุการณ์ภูเขาไฟเมราปีระเบิด สะท้อนถึงความผิดพลาดของมนุษย์อีกเช่นกัน



เฮรู สุปาร์โวโก ผู้เชี่ยวชาญด้านภูเขาไฟ กล่าวว่า การที่ชาวบ้านไม่ยอมอพยพจากบ้านเรือนตามประกาศหรือคำสั่งนั้นเป็นอันตรายอย่างยิ่ง

ในช่วงที่ทางการประกาศเตือน มีชาวบ้านอพยพจากบ้านเรือนชั่วคราวราว 50,000 คน แต่จำนวนมากกลับไปไร่นาอีก เพราะเป็นห่วงบ้าน ไร่นาและทรัพย์สิน โดยไม่กลัวการระเบิดที่ตามมาอีกระลอก

จึงทำให้เหตุภูเขาไฟระเบิดครั้งนี้เป็นเหตุมรณะ

ในส่วนของความช่วยเหลือ อินโดนีเซียต้องประสบปัญหาซ้ำ เมื่อสภาพอากาศฝนตกหนักขัดขวาง

แม้ว่า เมนตาไวจะเป็นเกาะสวรรค์สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่นิยมไปโต้คลื่น แต่นอกเหนือจากพื้นที่ รีสอร์ตแล้ว มีสภาพยากจนและถูกละทิ้ง

หลายหมู่บ้าน ถนนทรุดโทรมมาก บางแห่งไม่มีถนน หรือโทรศัพท์ให้ติดต่อ ต้องเดินเท้าหรือนั่งเรือเข้าไป ซึ่งเป็นปัญหาต่อปฏิบัติการบรรเทาทุกข์

ผู้ประสบภัยที่รอดชีวิตเกือบ 13,000 ราย ต้องอาศัยอยู่ตามค่ายที่พักพิงชั่วคราว เพราะไม่เหลือบ้านแล้ว

ในชุมชนหนึ่งพบว่า เด็ก 30 จาก 100 คนเสียชีวิตในเหตุคลื่นยักษ์ถาโถมครั้งนี้

เดฟ เจนกินส์ จากองค์กรเซิร์ฟเอด อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า สภาพอากาศที่เลวร้ายทำให้สถานการณ์ย่ำแย่ลงไปอีก

"เราจำเป็นต้องรักษาชีวิตคนที่รอดมาได้ให้อุ่นและมีอาหารกิน เพื่อต่อสู้กับการแพร่ระบาดของเชื้อโรค จากนั้นถึงค่อยเข้าสู่การฟื้นฟู" เจนกินส์กล่าว

ด้าน สุศีโล บัมบัง ยุดโธโยโน ผู้นำอินโดนีเซีย ซึ่งต้องเดินทางกลับประเทศ จากที่ประชุมอาเซียนในกรุงฮานอยโดยยังไม่ได้ประชุม กล่าวหลังจากเยี่ยมพื้นที่ประสบภัยว่า รัฐบาลจะทำทุกทางเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย

แต่ผู้นำอินโดนีเซียแนะ นำให้ชาวบ้านย้ายที่อยู่อาศัยจากพื้นที่ชายหาดเข้าไปอยู่ในพื้นที่ลึกขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงถูกคลื่นสึนามิซัดอีก

โดยเป็นการแก้ปัญหาในระยะยาวทางเดียวเท่านั้น



จาก .............. ข่าวสด วันที่ 31 ตุลาคม 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 02-11-2010 เมื่อ 08:16
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 02-11-2010
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,403
Default


'สึนามิ' ถล่ม 'เมนตาไว' อีก 'บทเรียน' มหันตภัยคลื่นยักษ์




มหันตภัย 'สึนามิ 2547' ซัดถล่มพื้นที่ชายฝั่งทั่วมหาสมุทรอินเดีย รวมถึงชายฝั่งทางภาคใต้ของไทย ยังคงเป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ที่ยากจะลืมเลือน เนื่องด้วยมีผู้เสียชีวิตกว่า 2 แสนราย

หลายปีผ่านมา แม้นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มจะเตือนถึงความเป็นไปได้ในการเกิดสึนามิครั้งใหม่ในเอเชีย แต่ความกระตือรือร้นสร้างและวางระบบเครือข่ายเตือนภัยสึนามิยังดูไม่มีประสิทธิภาพมากเพียงพอ ล่าสุด กลางดึกของวันที่ 25 ตุลาคม 2553 สึนามิก็หวนกลับมาคร่าชีวิต ประชาชนตามแนวชายฝั่งหมู่เกาะเมนตาไว ประเทศอินโดนีเซีย จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตร่วมๆ 500 ราย สูญหายนับร้อย

คำถามที่ดังอื้ออึง คือ เกิดอะไรขึ้นกับระบบเตือนภัยสึนามิที่ทุ่มเงินลงทุนไปเกือบ 2 พันล้านบาท

ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เกิดจาก 'เครื่องจักร' หรือ 'ความประมาท' ของมนุษย์กันแน่...

ถือเป็นบทเรียนสำคัญที่ประเทศต่างๆ ควรจะศึกษาเอาไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ต้องเผชิญความสูญเสียซ้ำรอย!



ทุ่นเตือนสึนามิพันล้าน

ระบบเตือนภัยสึนามิที่ติดตั้งนอกชายฝั่งอินโดนีเซียนั้น ออกแบบโดยทีมวิศวกรชาวเยอรมนี

ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ใช้เงินลงทุนไปราว 1.8 พันล้านบาท




เหตุแผ่นดินไหนนอกชายฝั่งตะวันตกค่อนไปทางตอนใต้ของเกาะสุมาตรา เมื่อวันที่ 25 ต.ค.นั้น วัดความแรงได้ถึง 7.7 ริกเตอร์

โดยพื้นที่ฝั่งตะวันตกของเกาะสุมาตรา จะมีหมู่เกาะเมนตาไวตั้งอยู่ข้างซ้าย แต่สภาพวิถีชีวิตบนเกาะถือว่าเป็นชนบทห่างไกลความเจริญพอสมควร

เบื้องต้น สำนักข่าวบีบีซีระบุว่า ระบบเตือนภัยสึนามิของวิศวกรเยอรมนีบางจุดกลับไม่ทำงาน ขณะที่ชาวบ้านในหมู่เกาะเมนตาไว ซึ่งเป็นจุดที่โดนสึนามิปะทะยืนยันว่าไม่มีใครได้ยินสัญญาณ 'ไซเรน' เตือนภัยแม้แต่คนเดียว

ผลลัพธ์หลังจากสึนามิซัดเข้าฝั่ง มีผู้เสียชีวิตและสูญหายร่วมพันราย บ้านเรือนวินาศ 25,000 หลัง

พื้นที่ชายฝั่งถูกแรงพิโรธของเกลียวคลื่นยักษ์ความสูง 3-8 เมตร โถมเข้าถล่มจนเหี้ยนเตียน



เตือนภัย..แต่ไม่ทันการณ์ !?

หนังสือพิมพ์ชปีเกลของเยอรมนีระบุว่า หลังเกิดเหตุ นักวิทยาศาสตร์อินโดนีเซียตั้งคำถามถึงประสิทธิภาพของระบบทุ่นเตือนภัยสึนามิของเยอรมนี ว่า ใช้งานได้จริงหรือไม่

อย่างไรก็ตาม นายยอร์น ลาตูร์ยัง นักวิจัยประจำศูนย์ธรณีศาสตร์ ประเทศเยอรมนี ยืนยันว่า จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่า

ระบบเตือนภัยสึนามิทำงานได้จริง และส่งข้อมูลไปให้สถานีเตือนภัยสึนามิในกรุงจาการ์ตา เมืองหลวงอินโดนีเซีย ออกประกาศเตือนภัยสึนามิ เมื่อเวลา 21.47 น. วันที่ 25 ต.ค. หรือ หลังตรวจจับแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหวได้ราว 5 นาที

ต่อจากนั้นอีก 39 นาที เมื่อพบว่า มีเพียง สึนามิ 'ขนาดเล็ก' ความสูง 23 เซนติเมตร พัดเข้าตอนใต้ของฝั่งสุมาตราบริเวณเมืองปาดัง จึงยกเลิกประกาศเตือนภัย

สิ่งที่ไม่มีใครรู้เลย ก็คือ หลังเกิดแผ่นดินไหวดังกล่าวเพียง 'ไม่กี่นาที' สึนามิสูงตั้งแต่ 3-8 เมตรได้โถมเข้าชายฝั่งหมู่เกาะเมนตาไวเข้าไปเรียบร้อยแล้ว

แต่ฝ่ายทางการ รวมถึงศูนย์เตือนภัยสึนามิแปซิฟิก ก็ไม่รู้เรื่อง เพราะหลายพื้นที่ บนหมู่เกาะแห่งนี้ขาดแคลนสาธารณูปโภคพื้นฐานด้านการสื่อสาร!



ขั้นตอนปฏิบัติขาดมาตรฐาน

เจ้าหน้าที่ฝ่ายเยอรมนี ผู้รับผิดชอบการวางระเบิดเตือนสึนามิ พยายามอธิบายว่า

เหตุที่ชาวบ้านเมนตาไวไม่มีโอกาสได้ยินเสียง 'ไซเรน' เตือนให้หนีขึ้นที่สูง เพราะหน้าที่การวาง 'ระบบแจ้งเตือนแนวสุดท้าย' บนชายฝั่งอยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาลอินโดนีเซีย

นอกจากนั้น ยังพบว่า การวางสายเคเบิลส่งสัญญาณต่างๆ ไม่ตรงตามมาตรฐานที่เยอรมนีกำหนดไว้ เช่น การวางเคเบิลต้องฝังดิน ไม่ใช่ไปแขวนระโยงระยางกับต้นไม้

ขณะเดียวกัน รัฐบาลอินโดนีเซียยังไม่ให้ความสำคัญกับการจัดฝึกซ้อมหนีภัยสึนามิ และให้ความรู้เอาตัวรอดเบื้องต้นด้วยการจับสัญญาณบ่งชี้ว่า อาจมีสึนามิขึ้นฝั่ง

จากการสอบสวนเบื้องต้น พบว่า ผู้เสียชีวิตในเมนตาไว ส่วนใหญ่เมื่อเห็นสึนามิลูกแรก ขนาดไม่ใหญ่มากซัดสู่ฝั่งแล้วไม่มีอะไร จึงไม่ได้อพยพขึ้นที่สูง ทำให้เมื่อสึนามิขนาดใหญ่ลูกหลังๆไล่ตามมา จึงหนีไม่ทัน

แต่ประเด็นที่ฝ่ายเยอรมนีชี้แจงก็ยังไม่ตรงกับข้อมูลของสำนักข่าวต่างประเทศ อื่นๆซึ่งรายงานว่า ทุ่นเตือนภัยสึนามิ 2 ทุ่นที่ลอยอยู่ในทะเลเสียหาย ใช้การไม่ได้อยู่แล้ว




มาแน่'สึนามิ'ระลอกใหม่

กรณีของทุ่นเตือนภัยสึนามิเยอรมนี ชปีเกลพบข้อมูลด้วยว่า มีอย่างน้อย 1 ทุ่นเสียจริง ภายหลังโดนสาหร่ายรุมเกาะจนทุ่นแตก

ส่วนอีกทุ่น เสียหายเพราะมีเรือประมงแล่นผ่าน

อย่างไรก็ตาม มีทุ่นเตือนสึนามิถึง 5 ทุ่นในมหาสมุทรอินเดีย ถูกโจรกรรมหายไป และคาดว่าเป็นฝีมือของกลุ่มโจรสลัด

สถานการณ์เหล่านี้ทำให้ต้องคิดวางมาตรการดูแลและเช็กความพร้อมของทุ่นเตือนภัยเสียใหม่

ปีเตอร์ โคลเทอร์แมน เจ้าหน้าที่แผนกเฝ้าระวังสึนามิขององค์การยูเนสโก กล่าวว่า

"ในกรณีเกิดแผ่นดินไหวเขย่ารุนแรง เราแทบไม่ต้องการคำแจ้งเตือนจากทุ่น เพราะต้องรีบหนีขึ้นที่สูงทันที ปัญหาคือทำไมชาวเมนตาไวไม่ทราบวิธีปฏิบัติตัวยามเกิดเหตุ"

ด้าน 'เคอร์รี่ เซียะ' ผู้เชี่ยวชาญแผ่นดินไหวชื่อดัง สังกัดศูนย์สังเกตการณ์โลกของสิงคโปร์ เตือนว่า ตามฐานข้อมูลแล้วพบว่า แผ่นดินไหวนอกชายฝั่งสุมาตราจะเกิดขึ้นแบบ 'โดมิโน่ เอฟเฟ็กต์' คือ เมื่อจุดใดบนรอยเลื่อนเปลือกโลกเกิดไหวตัวก็จะจุดชนวนให้จุดอื่นๆไหวตัวตามมา

คาดว่าแผ่นดินไหวระดับแรงกว่า 7.7 ริก เตอร์ เมื่อวันจันทร์ 25 ต.ค. จะเกิดขึ้นอีกในไม่ช้า

โดยจุดที่ต้องระวังมากเป็นพิเศษ อาจเกิดธรณีพิโรธถึง 8.8 ริกเตอร์ ได้แก่ พื้นที่แถบ 'เกาะซิเบรุต' ตั้งอยู่ใกล้เกาะสุมาตราเช่นกัน

หนนี้ถ้าพยากรณ์ถูกต้องคลื่น 'สึนามิ' จะใหญ่โตกว่าเดิมและสร้างความเสียหายมากกว่าหลายเท่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าแต่ละฝ่ายไม่เลิกยืนอยู่บนความประมาท!



จาก .............. ข่าวสด วันที่ 2 พฤศจิกายน 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 09-11-2010
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,403
Default


'นับจากนี้อีก 50 ปี โลกจะแตก คนไทยจะสูญพันธุ์…


จาก .............. ไทยรัฐ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2553
รูปขนาดเล็ก
คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name:	101109_Thairath_01.jpg
Views:	0
Size:	218.4 KB
ID:	9646   คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name:	101109_Thairath_02.jpg
Views:	0
Size:	246.0 KB
ID:	9647   คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name:	101109_Thairath_03.jpg
Views:	0
Size:	247.7 KB
ID:	9648  
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
เก่า 17-01-2017
prakanthai
ข้อความนี้ถูกลบโดย สายชล. เหตุผล: แฝงโฆษณา
เก่า 23-04-2020
soccer786
ข้อความนี้ถูกลบโดย สายชล.
เก่า 06-05-2020
epicenter01
ข้อความนี้ถูกลบโดย สายชล.
เก่า 28-09-2021
cafeandmeal
ข้อความนี้ถูกลบโดย สายชล.
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 23:14


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger