#71
|
||||
|
||||
มันจะมากับ 'น้ำท่วม' 'ภัยสัตว์พิษ' ไม่เท่าทัน...อันตราย!! นอกจากภัย “ไฟช็อต-ไฟดูด” ที่ “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” เป็นสื่อแรกๆที่นำเสนอแจ้งเตือนแล้ว ในช่วงที่เกิด ’น้ำท่วม“ นั้น ภัยซ้อนภัยอีกรูปแบบที่ก็ต้องระวังให้จงหนักคือ ’ภัยสัตว์พิษ“ เช่น... งู, ตะขาบ, แมงป่อง หรือแม้แต่ มด บางชนิดก็มีพิษภัยไม่ธรรมดา สัตว์พิษต่างๆ มักจะมาสู่บ้านเรือนในช่วงน้ำท่วม ต้องระวังให้ดี ’ต้องป้องกัน“ และ ’ต้องรู้เท่าทันถึงอันตราย“ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ที่น้ำยังไม่ท่วมแต่ก็อยู่ใกล้กับพื้นที่น้ำท่วม พื้นที่ที่น้ำกำลังท่วมอยู่ พื้นที่ที่น้ำท่วมและน้ำลดแห้งแล้ว จะอย่างไรก็วางใจ “ภัยสัตว์พิษ” ไม่ได้ ซึ่งก็ลองมาดูคำแนะนำในเรื่องนี้ จากข้อมูลในเว็บไซต์ครูบ้านนอกดอทคอม ข้อมูลของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยสรุปนั้น มีดังนี้คือ... พื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง สัตว์มีพิษ เช่น งู มด ตะขาบ แมงป่อง ด้วงน้ำมัน ฯลฯ มักจะหนีน้ำจากที่ต่างๆ เช่น ใต้ดิน พุ่มไม้ ท่อระบายน้ำ กองหิน กองวัสดุ เข้าสู่บ้านเรือนของมนุษย์ ซึ่งการป้องกันนั้น ต้องเก็บของบริเวณที่อยู่อาศัยให้เป็นระเบียบเรียบร้อย โดยเฉพาะบริเวณใต้ตู้ รองเท้า เสื่อ ผ้าเช็ดเท้า อย่ากองวัสดุรกรุงรัง เพราะอาจจะเป็นแหล่งหลบซ่อนของสัตว์พิษเหล่านี้ และต้องอุดรูประตู หน้าต่าง ผนังบ้าน ท่อน้ำทิ้งอ่างล้างจาน อ่างล้างหน้า ท่อระบายน้ำในห้องน้ำ หรือรูตามพื้นบริเวณบ้าน ด้วยวัสดุ เช่น ปูนขาว ปูนซีเมนต์ หรือวัสดุอุดยาแนวอื่นๆ ซึ่งก็จะสามารถป้องกันสัตว์พิษไม่ให้เข้าอาคารบ้านเรือนได้ในระดับหนึ่ง ต้อง ’อุดรู“ ต่างๆ และกรณีที่น้ำยังไม่ท่วมถึงตัวบ้าน ถ้าเป็นไปได้ให้ ’โรยปูนขาว“ ล้อมรอบบ้าน จะช่วยป้องกันสัตว์มีพิษมิให้เข้ามาในบริเวณบ้าน กรณีน้ำท่วมเข้าบ้านแล้ว ให้ ’ใช้น้ำมันก๊าดราด“ รอบที่พักอาศัย จะทำให้สัตว์ไม่เข้ามาใกล้ และควร ’เตรียมยาฆ่าแมลง“ ไว้ใช้ไล่สัตว์มีพิษด้วย สำหรับนอกบ้าน... กรณีต้องลุยน้ำท่วมออกไป ควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มิดชิด หนาๆ และรัดกุม หาไม้มาใช้ตีหรือกระทุ้งน้ำให้น้ำกระจายขณะเดินลุยน้ำ จะทำให้สัตว์ตกใจและหนีไป การออกไปลุยน้ำนั้น สัตว์ที่ต้องระวังอีกชนิดคือ ปลิง ควรใช้ถุงพลาสติกหุ้มเท้าทับปลายขากางเกงแล้วรัดด้วยเชือกหรือยางเพื่อป้องกันมิให้ปลิงเข้าไปในกางเกง ซึ่งปลิงเล็กๆ ยังอาจจะหลุดเข้าร่างกายได้ทั้งทางจมูก ปาก หรือแม้แต่ทางตา ซึ่งจะเกิดอันตรายร้ายแรง จะทำลายอวัยวะภายในให้ฉีกขาดและเสียเลือดมาก และยังอาจได้รับอันตรายจากสารพิษ สารเคมี เชื้อโรค และพยาธิด้วย จุดนี้ก็ต้องระวังให้ดี และถ้าถูกปลิงดูดกัด ห้ามดึงออกทันทีเพราะจะเกิดแผลฉีกขาดและเลือดหยุดยาก ให้ใช้น้ำมะนาว หรือน้ำมะกรูด น้ำเกลือเข้มข้น น้ำแช่ยาฉุนหรือยาเส้นไส้บุหรี่ ราดที่ตัวปลิง จะทำให้หลุดออกง่าย แล้วรีบล้างทำความสะอาดแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ แอลกอฮอล์ หรือน้ำต้มสุก และควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อที่หากมีอาการแพ้ แพทย์จะได้ช่วยเหลือได้ทันท่วงที ทั้งนี้ กรณีถูกสัตว์พิษอย่างตะขาบ แมงป่อง หรือแมงมุมกัด คำแนะนำการปฐมพยาบาลแผลที่ถูกกัดคือ... ใช้ผ้าหรือเชือกรัดเหนือบาดแผลเพื่อป้องกันพิษซึมเข้ากระแสเลือด ถ้าถูกกัดที่นิ้วมือหรือนิ้วเท้าให้รัดตรงโคนนิ้ว รัดประมาณ 5 นาทีจึงคลายออก หลังบีบหรือดูดเอาพิษออก หรืออาจใช้เหล็กเผาไฟจี้แผล หรือผ่าแผลให้กว้างแล้วใช้เกล็ดด่างทับทิมใส่ ใช้น้ำแข็งวางบริเวณที่ถูกกัดหรือต่อยประมาณ 2 ชั่วโมง โดยแขนหรือขาข้างที่ถูกกัดหรือต่อยควรจะวางต่ำกว่าส่วนอื่นของร่างกาย ซึ่งแผลบริเวณที่ถูกกัดนั้นให้ล้างด้วยด่างทับทิม ถ้ามีเหล็กในของสัตว์ที่กัดติดอยู่ก็ให้คีบออก แล้วทาแผลด้วยแอมโมเนีย โซดาไบคาร์บอเนต น้ำเกลือ หรือน้ำปูนใส เพิ่มเติมกรณีสัตว์ที่กัดมีเหล็กใน เช่น ผึ้ง แตน ต่อ ให้รีบเอาเหล็กในออกจากแผล ใช้น้ำแข็งประคบบริเวณแผลเพื่อระงับอาการปวดและช่วยลดการซึมซาบของพิษ ถ้าถูกสัตว์กัดต่อยบริเวณหน้า คอ แล้วมีอาการบวมหายใจไม่ออก รีบไปโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาโดยด่วน เพราะอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้!! กรณีถูกงูพิษกัด ลักษณะรอยเขี้ยวจะเป็นแผลลึก 2 รอย บาดแผลจะเขียวช้ำ การถูกงูพิษกัดอาจมีอาการแตกต่างกันไปตามชนิดของงูพิษ ซึ่งมีอาการเกิดขึ้นได้ 3 แบบคือ พิษต่อประสาท เช่น งูเห่า งูจงอาง ทำให้เกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อ และที่สำคัญคือทำให้หยุดหายใจ, พิษต่อโลหิต เช่น งูแมวเซา งูกะปะ งูเขียวหางไหม้ ทำให้เลือดออก เช่น เลือดออกจากผิวหนัง ปัสสาวะเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด, พิษต่อกล้ามเนื้อ เช่น งูทะเล ทำอันตรายต่อเซลล์กล้ามเนื้อ ทำให้มีอาการปวดกล้ามเนื้ออย่างมาก และอาจถ่ายปัสสาวะเป็นสีดำ สำหรับคำแนะนำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับแผลที่ถูกงูกัดคือ... ให้ใช้สายยาง หรือเชือก หรือผ้า หรือวัสดุอื่น ๆ รัดบริเวณเหนือแผลให้แน่น โดยรัดระหว่างแผลกับหัวใจ และรีบไปหาแพทย์นำส่งแพทย์โดยด่วน ซึ่งถ้าสามารถบอกชนิดของงูที่กัดได้ก็จะสะดวกในการฉีดเซรุ่มแก้พิษ ทั้งนี้ ระหว่างทางไปพบแพทย์ ถ้ามีด่างทับทิมแก่ ๆ ก็ควรนำไปล้างแผลหรือใช้ปิดที่ปากแผล ต้องพยายามอย่าหลับ อย่าให้ผู้ถูกงูกัดหลับ และที่สำคัญห้ามใช้ยาที่กระตุ้นหัวใจ ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เด็ดขาด เพราะจะทำให้พิษงูเข้าสู่หัวใจเร็วขึ้น ที่ว่ามาก็เป็นคำแนะนำที่เกี่ยวกับ ’ภัยสัตว์มีพิษในช่วงน้ำท่วม“ ไม่เกี่ยวกับ ’พฤติกรรมเป็นพิษต่อการแก้ปัญหาน้ำท่วม“ นะ!!!. จาก ....................... เดลินิวส์ วันที่ 27 ตุลาคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#72
|
||||
|
||||
แนะเส้นทางหลีกเลี่ยงน้ำท่วม เดินทางออกต่างจังหวัด กรมทางหลวง เตือนประชาชนเลี่ยง 77 สายทาง ใน 15 จังหวัด ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม พร้อมแนะนำเส้นทางเลี่ยงขึ้นเหนือ-อีสาน ด้านถนนสายเอเชียช่วงนครสวรรค์-ชัยนาท กลับมาใช้เส้นทางได้เป็นปกติ และศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร แจ้งการปิดเส้นทางการจราจรในกรุงเทพฯ 7 สาย และนนทบุรี 7 สาย อีกทั้งกรมทางหลวงเปิดสายด่วน 1586 ตลอด 24 ชั่วโมง ให้ข้อมูลข่าวสารสภาพเส้นทาง การจราจร หรือต้องการความช่วยเหลือ วันชัย ภาคลักษณ์ รักษาการอธิบดีกรมทางหลวง กล่าวว่า จากสถานการณ์อุทกภัยปัจจุบันยังส่งผลให้เส้นทางการจราจรทางบกบางส่วนถูกน้ำ ทะลักเข้าท่วม จนไม่สามารถใช้สัญจรไปมาตามปกติ ทั้งนี้ เพื่อให้การเดินทางของผู้ใช้รถใช้ถนนที่จำเป็นต้องสัญจรบนถนนทางหลวงในเขต พื้นที่ประสบอุทกภัยคล่องตัว และปลอดภัยยิ่งขึ้น กรมทางหลวง ขอให้ผู้ใช้รถใช้ถนนหลีกเลี่ยงที่ประสบปัญหาอุทกภัย และเส้นทางที่เจ้าหน้าที่กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท เจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แจ้งห้ามใช้เส้นทาง แล้วใช้เส้นทางที่เจ้าหน้าที่แนะนำ เพื่อความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทาง จากสรุปรายงานการเกิดอุทกภัย กรมทางหลวง ประจำวันที่ 26 ตุลาคม 2554 มีสภาวะน้ำท่วมพื้นที่ 20 จังหวัด จำนวน 99 สายทาง ทั้งนี้ เพื่อให้การเดินทางของผู้ใช้รถใช้ถนนที่จำเป็นต้องสัญจรบนถนนทางหลวงในเขต พื้นที่ประสบอุทกภัยคล่องตัว และปลอดภัยยิ่งขึ้น กรมทางหลวง ขอให้ผู้ใช้รถใช้ถนนหลีกเลี่ยงเส้นทาง 77 สายทางที่ผ่านไม่ได้ ในพื้นที่ 15 จังหวัด เพื่อความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทางโดยประชาชนที่จะเดินทางไปยังภาค เหนือและตะวันออกเฉียงเหนือสามารถสามารถใช้ทางหลวงหมายเลข 305 รังสิต-นครนายก-สระบุรี เป็นเส้นทางเลี่ยงขึ้น/ล่อง ภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือและทางหลวงหมายเลข 9 ทางแยกต่างระดับบางปะอิน-คลองระพีพัฒน์(วงแหวนตะวันออก) ท้องที่อำเภอพยอม ที่กม. 0-4 ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 305 รังสิต-ธัญบุรี-นครนายก-ทางหลวงหมายเลข ย 3222 บ้านนา- แก่งคอย เป็นเส้นทางเลี่ยงขึ้น/ลงภาคเหนือ/ตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนประชาชนที่ไม่สามารถใช้ทางหลวงหมายเลข 9 ลาดหลุมแก้ว-ทางแยกต่างระดับบางปะอิน (วงแหวนตะวันตก) ท้องที่อำเภอลาดหลุมแก้ว ที่กม. 62-81 ได้ ให้ใช้ วงแหวนตะวันตกหมายเลข 9 บางบัวทอง-ตลิ่งชัน-ทางหลวงหมายเลข 338 ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี -ทางหลวงหมายเลข 4 นครชัยศรี-นครปฐม แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 321 นครปฐม-กำแพงแสน เป็นเส้นทางเลี่ยงขึ้น/ลงภาคเหนือแทน นอกจากนั้นหาก ทางหลวงหมายเลข 305 รังสิต-นครนายก ท้องที่อำเภอธัญบุรี ที่กม. 0-3 ใช้ไม่ได้ ให้ใช้ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 (มอเตอร์เวย์สาย 7) -บางปะกง-ใช้ทางหลวงหมายเลข 314 บางปะกง-ทางหลวงหมายเลข 304 ฉะเชิงเทรา-พนมสารคาม-กบินทร์บุรี- ปักธงชัย เป็นเส้นทางเลี่ยงขึ้น/ลงภาคตะวันออกเฉียงเหนือแทนได้ ด้านประชาชนในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี ที่ไม่สามารถใช้ทางหลวงหมายเลข 9 บางบัวทองบริเวณหน้าหมู่บ้านสมบัติบุรี-ปทุมธานี ท้องที่อำเภอบางบัวทอง ที่ กม. 45-50 เนื่องจากมีน้ำท่วมให้เลี่ยงไปใช้ถนนวงแหวนตะวันตกหมายเลข 9 บางบัวทอง-ตลิ่งชัน-ทางหลวงหมายเลข 338 ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี-ทางหลวงหมายเลข 4 นครชัยศรี-นครปฐม แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 321 นครปฐม-กำแพงแสน เพื่อเป็นเส้นทางเลี่ยงขึ้น/ลงภาคเหนือแทน และหากประชาชนที่เคยใช้เส้นทางทางหลวงหมายเลข 340 บางบัวทอง-ลาดบัวหลวง ท้องที่อำเภอบางบัวทอง ที่กม. 25-31 และขณะนี้ไม่สามารถใช้เส้นทางดังกล่าวได้เนื่องจากน้ำท่วมปริมาณมากนั้น ให้เปลี่ยนมาใช้ถนนวงแหวนตะวันตกหมายเลข 9 บางบัวทอง-ตลิ่งชัน-ทางหลวงหมายเลข 338 ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี-ทางหลวงหมายเลข 4 นครชัยศรี-นครปฐม แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 321 นครปฐม-กำแพงแสน เป็นเส้นทางเลี่ยงขึ้น/ลงภาคเหนือแทน ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทางของผู้ใช้รถใช้ถนน ที่จำเป็นต้องสัญจรบนถนนทางหลวงในเขตพื้นที่ประสบอุทกภัย ขอให้โปรดใช้ความระมัดระวังในการใช้เส้นทางเพิ่มขึ้นด้วย และให้สอบถามเส้นทางก่อนเดินทางอย่างน้อย 1 ชั่วโมง หรือทุกระยะในการเดินทาง กู้สายเอเชียกลับมาเป็นปกติช่วงนครสวรรค์-ชัยนาท สำหรับสภาพการจราจรบริเวณสี่แยกสะพานเดชาติวงศ์ ถนนสายเอเชีย หลังเปิดใช้ได้เป็นปกติแล้วทั้ง 2 ฝั่ง ปริมาณรถหนาแน่น ทำให้การจราจรติดขัดบางช่วง แต่เคลื่อนตัวได้ตามสัญญาณไฟ ขณะที่เทศบาลนครสวรรค์ เร่งเก็บกวาดขยะจากน้ำท่วม โดยเฉพาะเขตเศรษฐกิจหลักของเมือง ทำให้การค้าขายและการดำเนินธุรกิจ กลับมาเดินหน้าต่ออีกครั้ง ส่วนระดับน้ำท่วมถนนชัยนาท-ตาคลี จ.ชัยนาท ลดลงกว่า 50 เซนติเมตร ทำให้สามารถใช้เส้นทางดังกล่าวได้แล้ว แต่ยังต้องให้ทางรถที่สวนมาเป็นระยะ เนื่องจากมีเต็นท์ผู้ประสบภัยอยู่บนถนน ปิดเส้นทางการจราจรในกรุงเทพฯ และนนทบุรี ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร (บก.02) รายงานว่าในวันนี้(26ต.ค.)มีถนนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำเป็นต้องปิดการจราจรรวม 7 เส้นทาง เนื่องจากเกิดน้ำท่วมขังหลายสาย แบ่งเป็นทางด้านทิศเหนือ 5 สาย ส่วนด้านทิศตะวันตกมี 2 สาย ได้แก่ 1. ถนนวิภาวดี-รังสิต จากสุดเขตกรุงเทพมหานคร ถึงสะพานกลับรถแยกหลักสี่ 2. ถนนพหลโยธิน จากสุดเขตกรุงเทพมหานคร ถึงตลาดสะพานใหม่ 3. ถนนกำแพงเพชร 6 จากสุดเขตกรุงเทพมหานคร ถึงสถานีรถไฟดอนเมือง 4. ถนนสรงประภา จากแยกวัดสีกัน ถึงแยกประชาอุทิศ 5. ถนนเวฬุวนาราม เชื่อมต่อซอยแจ้งวัฒนะ 14 ตลอดเส้นทาง 6. ถนนจรัญสนิทวงศ์ ขาเข้า ตั้งแต่ซอยจรัญสนิทวงศ์ 84-72 ขาออกจากซอยจรัญสนิทวงศ์ 75/1-89 7. ถนนสิรินธร ขาเข้าจากต่างระดับสิรินธร ถึงซอยสิรินธร 2 ขาออกตั้งแต่ซอยสิรินธร 7 บริเวณห้างตั้งฮั่วเส็ง ถึงต่างระดับสิรินธร ด้านสำนักงานบำรุงทางนนทบุรี แจ้งว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมหนักใน อ.บางใหญ่ บางบัวทอง บางกรวย และไทรน้อย ทำให้ถนนหลายสาย รถเล็กไม่สามารถสัญจรไปมาได้ สำนักงานบำรุงทางนนทบุรี กรมทางหลวง จึงได้ปิดการจราจร 7 เส้นทาง ประกอบด้วย ถนนบางคูวัด - บางบัวทอง ตั้งแต่แยกบางคูวัด - บางบัวทอง ทางหลวงหมายเลข 346 ตอน กม. 20 + 480 - (ต่อเขตแขวงฯปทุมธานี) - ทางหลวงหมายเลข 340 ระหว่าง กม. 20 + 480 - กม. 32 + 537 ถนนปทุมธานี - บางเลน ตั้งแต่ต่างระดับลาดหลุมแก้ว - แยกนพวงศ์ ทางหลวงหมายเลข 3215 ตอน ต่อทางของอำเภอบางกรวย - ต่อเขตเทศบาลตำบลราษฎร์นิยม ระหว่าง กม.21 + 560 - กม. 28 + 000 (สะพานคลองเจ๊ก) ถนนบางกรวย - ไทรน้อย ตลอดทั้งสาย ทางหลวงหมายเลข 3901 ทางขนานฝั่งขาออก ถนนกาญจนาภิเษก ทางหลวงหมายเลข 3902 ทางขนานฝั่งขาเข้า ถนนกาญจนาภิเษก ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ตอน กม. 30 + 600 (ต่อเขตสำนักงานบำรุงทางธนบุรี)-บางบัวทอง ระหว่าง กม.30 + 600-กม. 58 + 869 ถนนกาญจนาภิเษก ตั้งแต่คลองมหาสวัสดิ์ — ต่างระดับลาดหลุมแก้ว ทางหลวงหมายเลข 340 ตอนบางบัวทอง (กม.25 + 659) - กม. 54 + 100 (ต่อเขตแขวงฯ กาญจนบุรี - สุพรรณบุรีที่ 2 ) ระหว่าง กม. 25 + 659 - กม.54 + 100 ถนนบางบัวทอง - สุพรรณบุรี ตั้งแต่บางบัวทอง - สี่แยกนพวงศ์ ทางหลวงหมายเลข 345 ตอน สะพานนนทบุรี - บรรจบทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 (บางบัวทอง) ระหว่าง กม. 0 + 000 - กม. 10 -547 เบอร์โทร. สอบถามเส้นทางการจราจร สำหรับประชาชนที่ต้องการสอบถามสภาพเส้นทาง การจราจร หรือต้องการความช่วยเหลือ สามารถโทรศัพท์ไปได้ที่สายด่วนกรมทางหลวง ตลอด 24 ชั่วโมง 1586 ตำรวจทางหลวง ตลอด 24 ชั่วโมง 1193 สำนักงานประชาสัมพันธ์ กรมทางหลวง 0-2354-6530, 0-2354-6668-76 ต่อ 2014, 2031 ศูนย์บริหารงานอุบัติภัย สำนักบริหารบำรุงทาง 0-2354-6551 ศูนย์บริการข้อมูลทางหลวงพิเศษ 0-2533-6111 หน่วยกู้ภัย มอเตอร์เวย์ กรุงเทพ - ชลบุรี (สายใหม่) 0-3857-7852 - 3 หน่วยกู้ภัยวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก (บางปะอิน - บางพลี) 0-2509-6832ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) 1111 กด 5 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) 1784 สายด่วนกรมทางหลวงชนบท 1146 สายด่วนกรมชลประทาน 1460 จาก ....................... ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 26 ตุลาคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#73
|
||||
|
||||
เปิดแผนที่จุดเสี่ยง! โมเดล 2 สำนัก เพื่อตัดสิน 'หนีหรืออยู่สู้น้ำ' เปิดแผนที่น้ำ!สองสำนักเรียนรู้ความเสี่ยงเพื่อตัดสินใจ "หนี้หรืออยู่สู้กับน้ำ"จากการประเมินของดร.เสรี และทีมกรุ๊ป ตอนนี้คนกรุง ดูเหมือนจะทำใจแล้วว่า กทม.ทุกเขตจะถูกน้ำท่วม"รับสภาพ...กทม. จมน้ำ " เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เนื่องจาก"แผนเดิม"การผันน้ำออกสู่สองฝั่งทั้งตะวันออกลงแม่น้ำบางปะกง และตะวันตกสู่แม่น้ำท่าจีน เพื่อลงทะเลนั้น ทำได้ลำบาก เพราะมีอุปสรรคมากมาย สิ่งกีดขวาง ทั้งสิ่งก่อสร้างและถนน ขณะเดียวกันพลังแรงของน้ำทำให้พนังกั้น ประตูน้ำ หลายจุดมิอาจรับได้ อย่างที่นายกรัฐมนตรียอมรับ"พลังแรงของน้ำเกินศักยภาพของระบบที่จะรับได้" ความสนใจของคนกรุง ตอนนี้จึงอยู่ที่ว่า จะรับมือ กับความเสี่ยงอย่างไร ซึ่งแน่นอน จะสู้หรืออพยพ ก็ขึ้นอยู่กับว่า ระดับความรุนแรงแต่ละพื้นที่ เป็นอย่างไร ? ขณะนี้มีการประเมิน"จุดเสี่ยง"จากหลายฝ่าย แต่ที่จะหยิบยก"โมเดล"มาเป็นข้อมูลในการประเมินในขณะนี้นั้นมีอยู่สองสำนัก ที่พูดถึงกันมาก ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้เชี่ยวชาญภัยพิบัติจากมหาวิทยาลัยรังสิต และผู้อำนวยการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม และผู้จัดการใหญ่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ยังเห็นต้องผลักน้ำให้ไปทางตะวันออก เพราะถือเป็นแนวทางที่ถูกต้อง ตามแนวทางพระราชดำริ อย่างไรก็ตาม ในวันนี้เขาเห็นคงปฎิเสธไม่ได้แล้วว่า จะต้องหาทางออกโดยการปล่อยให้น้ำไหลผ่านกทม. เนื่องจากขณะนี้มีมวลน้ำมหาศาลจ่อเข้ามาอีกมาก โดยระดับน้ำคาดว่าจะเฉลี่ยกันไปตั้งแต่ 10 เซ็นติเมตร ไปจนถึง 2 เมตร ตามระดับความสูง ต่ำของแต่ละพื่นที่ ทั้งนี้ดร.เสรี เห็นว่าสำหรับระดับน้ำที่ดอนเมือง คงไม่สูงไปกว่านี้แล้ว อย่างมาก 1 เมตร แต่ที่เป็นห่วงในเวลานี้คือย่านบางกะปิ และพระโขนง เพราะถ้าแก้สถานการณ์ไม่ได้น้ำก็สูงถึง 1.50- 2 เมตร ประเมินพื้นที่น้ำท่วมกทม.เขตต่างๆกรณีเลวร้ายที่สุด โดยดร.เสรี http://bit.ly/sVzWsG คลิปรายการตอบโจทย์...ดร.เสรี http://youtu.be/uexHyYcCAIQ ชวลิต จันทรรัตน์ กรรมการผู้จัดการ หน่วยธุรกิจแหล่งน้ำ จากกลุ่มบริษัททีมกรุ๊ป ก็มีโมเดล ของตัวเองเช่นกัน โดยเห็นว่าปริมาณน้ำในทุ่งเจ้าพระยาที่ยังมีมากกว่า 12,000 ล้านลูกบาศก์เมตร เปรียบเสมือนมีอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพลอีก 1 อ่าง อยู่ที่บางไทร และปริมาณน้ำที่ไหลเข้าสู่ทุ่งเจ้าพระยา แม้จะลดลงแต่ยังมีปริมาณมากกว่าน้ำที่สามารถระบายลงสู่ทะเลได้ มีน้ำไหลเข้าสู่ทุ่งเจ้าพระยาวันละ 419 ล้านลูกบาศก์เมตร ในขณะที่สามารถระบายน้ำลงสู่ทะเลทั้งที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน และทางทุ่งและคลองฝั่งตะวันออกรวมทั้งสิ้นได้วันละ 403 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้มีน้ำเหลือสะสมเพิ่มเติมในทุ่งเจ้าพระยาอีกวันละ 16 ล้านลูกบาศก์เมตร นอกจากนั้น ตั้งแต่วันที่ 26 ต.ค.ที่ผ่านมาน้ำทะเลจะหนุนสูงขึ้นเรื่อยๆ จนไปหนุนสูงสุดในวันที่ 31 ต.ค. ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานพุทธฯ อยู่ที่ +2.45 เมตรจากระดับน้ำทะเลกลาง ซึ่งจะมีผลเสริมทำให้ระดับน้ำในพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่อยู่ใกล้แม่น้ำและมีคลองเชื่อมโยงกับแม่น้ำเจ้าพระยาและท่าจีน หลังจากนั้นระดับน้ำจะทรงตัว และจะค่อยๆ ลดลงอย่างช้าๆ จนถึงหลังวันที่ 15 พ.ย.ไปแล้ว ระดับน้ำในพื้นที่ อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี จึงจะเริ่มลดลงอย่างรวดเร็ว ส่วนในพื้นที่ บางไทร ปทุมธานี นนทบุรี นครชัยศรี สมุทรปราการ และกรุงเทพฯ ระดับน้ำจะลดลงอย่างช้าๆ จากการวิเคราะห์สถานการณ์ของทีมกรุ๊ป ดูจากปริมาณน้ำและระดับความสูงต่ำของแต่ละพื้นที่ ในกทม. คาดว่า น้ำในคลองหกวาสายล่าง จะไหลทะลักท่วมในพื้นที่กทม.ตะวันออกมีระดับสูงเฉลี่ยประมาณ 50 เซนติเมตร ขณะที่ บริเวณตั้ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จนถึงรังสิตจะมีระดับน้ำท่วมสูง 1 เมตร ส่วนบริเวณริมคลองกทม. อาทิ คลองแสนแสบ คลองพระโขนง คลองประเวศบุรีรมย์ จะมีน้ำท่วมสูงประมาณ 1เมตรเช่นกัน ทั้งนี้ ประชาชนที่อาศัยริมคลองแสนแสบให้ขนของขึ้นที่สูง เช็คระดับสูงต่ำ ของทีมกรุ๊ป http://www.teamgroup.co.th/teamgroup-261011.jpg ระดับความเสี่ยงเขตต่างๆประเมินโดยทีมกรุ๊ป http://www.teamgroup.co.th/teamgroup-221011-2.jpg จาก ....................... กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 28 ตุลาคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#74
|
||||
|
||||
ใช้ไฟ-กั้นน้ำ..ห้ามมั่ว 'โดยประมาท' ทำคนตาย 'ติดคุก!' "เพิ่มโทษในช่วงน้ำท่วม จากเดิมข้อหาลักทรัพย์มีความผิดตามมาตรา 334 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ถ้าหากลักทรัพย์ในช่วงบ้านเมืองกำลังประสบปัญหาอุทกภัย รวมถึงทำลายคันกั้นน้ำ จะมีโทษคือจำคุกระหว่าง 1-5 ปี และปรับ 2,000-10,000 บาท แต่ถ้าหากเป็นการกระทำผิดมากกว่า 2 องค์ประกอบ มีโทษจำคุก 1-7 ปี และปรับ 20,000-24,000 บาท” ...นี่เป็นการแถลงเมื่อวันก่อนของทางฝ่ายตำรวจ พวกหัวขโมยที่ซ้ำเติมทุกข์น้ำท่วมจำใส่หัวไว้ อย่าคิดว่า น้ำท่วม...ตำรวจที่ไหนจะมาตรวจ-มาจับ เพราะตำรวจก็ถูกชาวบ้านกดดัน...ต้องเอาจริงแน่… ทั้งนี้ ว่ากันถึงกฎหมาย การลงโทษผู้กระทำความผิดในช่วงน้ำท่วม ทาง “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ก็ขอเตือนเราๆท่านๆทั้งหลายว่า ’ช่วงน้ำท่วมก็ต้องระวังจะตกเป็นผู้ต้องหาฆ่าคนตายโดยประมาท!!“ โดยมีองค์ประกอบของคดีคือ ’กระแสไฟฟ้า“ และ ’วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้สร้าง-ใช้ในการป้องกันน้ำท่วม“ สำหรับกรณีกระแสไฟฟ้า “ไฟช็อต-ไฟดูด” ในช่วงที่เกิดน้ำท่วม กับน้ำท่วมครั้งใหญ่ปีนี้ทาง “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” เป็นสื่อแรกๆที่เตือนให้ระวังกัน และก็เตือนซ้ำอีกหลายครั้ง แต่กระนั้นก็น่าสลดใจที่มีคนตายเพราะกระแสไฟฟ้าในช่วงน้ำท่วมไปแล้วหลายราย ทั้งในบ้านเรือนของตนเองและตามถนนหนทางที่เกิดน้ำท่วม ซึ่ง ณ ที่นี้ก็ขอย้ำเตือนกันอีกว่าเรื่องนี้ไม่ระวังไม่ได้ โดยเฉพาะกับน้ำท่วมในเขตเมืองและไม่ได้มีการตัดกระแสไฟฟ้า นอกจากต้องกลัวว่าตนเองจะถูกไฟช็อต-ไฟดูดแล้ว การใช้กระแสไฟฟ้าในช่วงน้ำท่วม ไม่ว่าจะเป็นการใช้ไฟตามปกติในบ้านในบริษัทในหน่วยงานตนเอง หรือใช้กับอุปกรณ์สู้น้ำท่วมต่างๆ ก็ยังต้องระวังกระแสไฟฟ้าดูด-ช็อตคนอื่นด้วย ขณะที่ การใช้วัสดุต่างๆมาสร้างป้องกันการถูกน้ำท่วม ต้องทำให้มั่นคงแข็งแรง ไม่เพียงในแง่การป้องกันน้ำท่วม แต่ต้องไม่สุ่มเสี่ยงต่อการพังทลายจนก่ออันตราย ทั้งกับตนเองและผู้อื่น กับกรณีการตกเป็นผู้ต้องหา โดยมีองค์ประกอบคดีคือกระแสไฟฟ้าหรือวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ป้องกันน้ำท่วมนั้น ว่ากันทางหลักกฎหมาย ทาง อ.วันชัย สอนศิริ เลขานุการคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค ให้ความรู้ความเข้าใจว่า... กรณีน้ำท่วมบ้านน้ำท่วมพื้นที่ ในเบื้องต้นเจ้าของบ้าน เจ้าของพื้นที่จะต้องตัดไฟฟ้า ซึ่งนอกจากจะเพื่อความปลอดภัยของตัวเองแล้ว ยังเป็นการป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดต่อชีวิตของผู้อื่นด้วย กรณีที่ประมาท ทำให้เกิดไฟฟ้าช็อตคนอื่นเสียชีวิต เจ้าของบ้าน เจ้าของพื้นที่มีความผิดตามกฎหมายอาญามาตรา 291 ที่ระบุไว้ว่า ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 20,000 บาท อีกทั้ง ญาติผู้เสียชีวิต หรือผู้เกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิต สามารถฟ้องร้องทางแพ่งต่อเจ้าของบ้าน เจ้าของพื้นที่ต้นเหตุ ได้ด้วย โดยกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ระบุไว้ว่า ผู้ใดจงใจประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย ให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ผู้นั้นทำละเมิด จำเป็นต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทน อ.วันชัย ชี้ต่อไปว่า... นอกจากระหว่างเอกชนกับเอกชนแล้ว กรณีต้นเหตุเกิดจากหน่วยงานรัฐ ซึ่งรวมถึงหน่วยงานที่ดูแลการตัดกระแสไฟฟ้า ถ้าปล่อยปละละเลยเรื่องไฟฟ้าจนเป็นเหตุให้บุคคลเสียชีวิต ก็สามารถจะถูกฟ้องร้องความผิดทางแพ่งให้รับผิด ร่วมรับผิด ตามมาตรา 420 ของกฎหมายแพ่งได้เช่นกัน กรณี วัสดุต่างๆในการป้องกันการถูกน้ำท่วม พังหรือถล่ม ทำให้คนอื่นบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ทาง อ.วันชัย แยก 2 กรณีคือ ถ้าเป็นเหตุที่เกิดจากภัยพิบัติธรรมชาติซึ่งควบคุมไม่ได้จริงๆ ให้ถือเป็นเหตุสุดวิสัย แต่ถ้าเป็นเหตุที่เกิดจากการสร้างไม่ได้มาตรฐาน มีคนเสียชีวิต เจ้าของผู้สร้างต้องรับโทษอาญา มาตรา 291 จำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 20,000 บาท และญาติหรือผู้เกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิตก็ฟ้องร้องทางแพ่งตามมาตรา 420 ให้จ่ายค่าสินไหมทดแทนได้ ซึ่งก็เช่นเดียวกับกรณีละเลยเรื่องไฟฟ้า ทั้งนี้ เลขานุการคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนฯ ยังบอกด้วยว่า... วิกฤติน้ำท่วม อย่าตื่นตระหนกจนขาดสติ อย่าตื่นตูมตามข่าวลือ ในภาวะแบบนี้ทุกคนควรแบ่งปันความทุกข์ ความลำบาก ความไม่สะดวกสบาย และควรถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน การเห็นแก่ตัว ยิ่งในภาวะไม่ปกติยิ่งไม่ควรทำ ใครเอาแต่สบายหรือเอาตัวรอดแล้วคนอื่นเดือดร้อนหมด สุดท้ายคนนั้นก็อยู่ไม่ได้ เพราะคนอื่นอยู่ไม่ได้ ซึ่งนี่ก็รวมถึงเรื่องการขโมยกระสอบทราย ทำลายคันดิน ขูดรีดค้ากำไรเกินควรซึ่งเป็นการซ้ำเติมทุกข์ประชาชนในวิกฤติน้ำท่วม ซึ่งทั้งเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำเพราะทำให้คนอื่นๆเดือดร้อนกันทั่ว และเป็นการกระทำความผิด มีโทษตามประมวลกฎหมาย ช่วง “น้ำท่วม” จะต้อง “ระวังฆ่าคนตายโดยประมาท” ด้วย และช่วยกันจับตา มีใครหาประโยชน์โดยมิชอบหรือไม่?? มีใคร ’โกงกินบนทุกข์น้ำท่วมของคนไทย“ หรือไม่?????. จาก ....................... เดลินิวส์ วันที่ 29 ตุลาคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#75
|
||||
|
||||
อุโมงค์ยักษ์ รัฐบาลกำลังจัดการกับมวลน้ำขนาดใหญ่ที่กำลังเล่นงานหลายพื้นที่ของกรุงเทพฯ ด้วยการหาทางระบายน้ำลงทะเลให้เร็วที่สุด เครื่องมือสำคัญที่ใช้อยู่ขณะนี้ คือ "อุโมงค์ยักษ์" 4 แห่ง ที่ กทม. ทุ่มงบฯ ก่อสร้างถึง 1.6 หมื่นล้านบาท หวังจะช่วยป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ ได้อย่างยั่งยืน อุโมงค์ระบายน้ำขนาดยักษ์ เปรียบเสมือนทางด่วนใต้ดินที่จะบังคับน้ำเหนือและน้ำฝนระบายออกลงสู่เจ้าพระยาและอ่าวไทยได้อย่างรวดเร็ว เท่ากับระบายน้ำออกจากสระว่ายน้ำขนาดมาตรฐาน 4 สระภายในเวลาเพียง 1 วินาที ประกอบด้วย 1. อุโมงค์พระราม 9-รามคำแหง หรือ อุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบ - ลาดพร้าวเดิม เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2544 ใช้งบประมาณกว่า 2 พันล้านบาท มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เมตร ยาว 5 กิโลเมตร จุดเริ่มต้นที่คลองลาดพร้าวเชื่อมคลองแสนแสบ และไหลลงสู่เจ้าพระยา สามารถระบายน้ำได้ 60 ลบ.ม.ต่อวินาที 2. อุโมงค์รัชดาภิเษก-สุทธิสาร มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เมตร ยาว 6 กิโลเมตร จุดเริ่มต้นจากถนนรัชดาภิเษกตัดถนนสุทธิสาร สิ้นสุดที่แม่น้ำเจ้าพระยา และช่วยระบายน้ำในพื้นที่เขตห้วยขวาง ดินแดง จตุจักร พญาไท ดุสิต และบางซื่อ 3. อุโมงค์ดอนเมือง เป็นอุโมงค์ระบายน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เส้นผ่าศูนย์กลาง 6 เมตร ยาว 13.5 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 100 ตารางกิโลเมตร ช่วยระบายน้ำในย่านจตุจักร หลักสี่ บางเขน ดอนเมือง และบางส่วนของเขตสายไหม ประสิทธิภาพในการระบายน้ำเท่ากับ 15 เท่า เมื่อเทียบกับอุโมงค์ระบายน้ำแห่งแรกของกทม.ในย่านสุขุมวิทที่สร้างขึ้นเมื่อ 25 ปีก่อน 4. อุโมงค์สวนหลวง ร.9 หรืออุโมงค์บึงหนองบอน - เจ้าพระยา ปรับเนื้องานจากเดิมที่จะเป็นโครงการบึงหนองบอน - คลองประเวศบุรีรมย์ ระยะทาง 3 กิโลเมตร งบประมาณ 995 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม กทม.ได้ขยายแนวอุโมงค์ให้ระบายน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาไปทางบางนา รวมระยะทางยาว 9.5 กิโลเมตร งบประมาณ 4.9 พันล้านบาท ประสิทธิภาพในการระบายน้ำ 60 ลบ.ม.ต่อวินาที ครอบคลุมพื้นที่ประเวศ พระโขนง บางนา และสวนหลวง สถานีของอุโมงค์ระบายน้ำอยู่ภายในโรงบำบัดน้ำเสียคลองเตย ในพื้นที่บริษัท ไม้อัดไทย เขตบางนา สำหรับโครงการอุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบ-ลาดพร้าว เริ่มขึ้นในสมัยนายสมัคร สุนทรเวช อดีตผู้ว่าฯ กทม. แต่เกิดข้อร้องเรียนการทุจริตเกิดขึ้น เมื่อเดือนก.ค.ปี 2551 โดยสำนักงานอัยการญี่ปุ่นระบุว่า บริษัท นิชิมัตสึ คอนสตรั๊คชั่น จำกัด ซึ่งเป็นผู้ชนะการประมูลในโครงการดังกล่าว ได้ติดสินบนเจ้าหน้าที่ไทยเป็นเงินจำนวน 200 ล้านเยน อย่างไรก็ตาม ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากโครงการ "ระบบอุโมงค์ยักษ์" ดังกล่าว จะทำให้คนกรุงเทพฯ ทุกคนได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน เพราะไม่เพียงจะช่วยพื้นที่ที่อุโมงค์ นี้ตั้งอยู่ให้รอดพ้นจากภาวะน้ำท่วม แต่คาดว่าจะช่วยพื้นที่ส่วนอื่นๆ ของกรุงเทพฯ ให้รอดพ้นจากภาวะน้ำท่วมเกือบทั้งหมดเช่นกัน โดยจะช่วยลดปริมาณน้ำที่ไหลผ่านระบบระบายน้ำอื่นๆ ที่ปัจจุบันต้องรับหน้าที่เกินกำลังความสามารถได้อีกทางหนึ่งด้วย จาก ................ ข่าวสด คอลัมน์ คอลัมน์ที่ 13 วันที่ 29 ตุลาคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#76
|
||||
|
||||
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#77
|
||||
|
||||
คู่มือ...น้ำสะอาด(ฉุกเฉิน)...ทำง่ายๆด้วยตัวคุณเอง จาก ................ ไทยรัฐ วันที่ 30 ตุลาคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#78
|
||||
|
||||
10 บัญญัติขจัดโรคน้ำท่วม หากแม้นคันกั้นน้ำและประตูน้ำคือด่านป้องกันเมืองจากมวลน้ำมหาศาลแล้วไซร้ ตัวท่านก็คือด่านกั้นโรคที่สำคัญที่จะป้องกันมวลเชื้อโรคจำนวนมหาศาลที่จ้องจะผ่านเข้าสู่ร่างกายไปอยู่ทุกขณะ นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ เผย 10 บัญญัติขจัดโรคในช่วงน้ำท่วม เริ่มจากบัญญัติข้อแรก 'อย่าเพิ่งตัดเล็บเท้าหรือเล็บมือช่วงน้ำท่วม' รวมถึงการตะไบเล็บด้วยในกรณีที่ต้องแช่น้ำท่วมอยู่บ่อยครั้ง เพราะจะเป็นการเปิดช่องให้เชื้อน้ำเน่าพากันแห่เข้าเท้าราวกับเป็นศูนย์อพยพชั้นดี บัญญัติข้อถัดมา 'อย่าให้มีหวัดหรือรีบรักษาภูมิแพ้คัดจมูกให้หาย' ไม่เช่นนั้นมีสิทธิ์กลายเป็นปอดบวม ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างได้ถ้าต้องเปียกติดน้ำอยู่นาน ต่อด้วยบัญญัติข้อสาม 'เริ่มเป็นหวัด ให้กินยากันไว้ก่อน' ใช้ยาสามัญอย่าง ยาแก้แพ้คลอเฟนิรามีนก็ได้ครับ ช่วยให้หลับได้แล้วหวัดที่เป็นน้อยอาจหายได้เลยครับ บัญญัติข้อสี่ 'เลี่ยงนอนทั้งหัวเปียก' และเมื่อผมเปียกแล้วต้องสระผม เพราะความเย็นจากศีรษะส่งให้โพรงจมูกเย็นเป็นที่แบ่งตัวดีของไวรัสหวัด ให้สังเกตว่าเรามักเป็นหวัดเมื่อหัวเย็นครับ ในบัญญัติข้อห้า 'ลดการนอนเปิดแอร์' บ้านเรามีเด็กติดแอร์เยอะครับ เพราะคุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่ต้องเปิดแอร์ให้ลูกนอน ตอนน้ำท่วมอากาศชื้นอยู่แล้ว การเปิดแอร์จะทำให้อุณหภูมิศีรษะต่ำลงเป็นที่อาศัยของเชื้อหวัดดีกว่าปกติ ตามด้วยข้อหก 'ให้งีบหลับพักผ่อนบ้าง' จะเป็นกลางคืนหรือกลางวันก็ได้ ให้พักกันเข้าไว้ถ้าไม่อยากพลาดข่าวด่วนอาจสลับเวรกันนอนได้ ขอให้คิดว่าจะได้ตื่นมามีแรงสู้ต่อในวันรุ่งขึ้นครับ ส่วนบัญญัติประการที่เจ็ด 'งดการกินมากสิ่ง' ยิ่งกินหลากหลายมากในตอนน้ำท่วมก็ยิ่งเพิ่มสิทธิ์ป่วยมากขึ้น เพราะความเสี่ยงในการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียอย่าง อี.โคไล จากน้ำสกปรกมีมากในช่วงนี้ครับ นอกจากนี้ บัญญัติข้อแปดให้ 'พักสมองด้วยการลองพักเสพสื่อน้ำท่วมเป็นระยะ' กำหนดเวลารับข่าวต่อวันเป็นรายชั่วโมง เพื่อลดความเครียดสะสมจากการจมอยู่กับข่าวที่น่าหดหู่ และข้อเก้า 'ล้างมือล้างเท้าเป็นประจำ' เพราะเป็นทางด่วนนำเชื้อน้ำท่วมเข้าตัวที่สำคัญ แค่ล้างมือ-เท้าอย่างเดียวยังไม่พอขอให้ซับแห้งทุกครั้ง จะได้ไม่ดูดเชื้อโรคเข้ามาเกาะง่าย บัญญัติสุดท้าย 'ล้างปากแปรงลิ้นและแปรงฟันทุกวัน' ไม่ว่าจะติดน้ำนานแค่ไหนเพราะช่องปากเป็นปราการด่านสำคัญที่รับเชื้อเข้าทางเดินอาหาร,เข้าหลอดเลือดและเข้าหัวใจได้ แต่ที่สำคัญนอกเหนือจากบัญญัติทั้งหมดที่กล่าวมา นพ.กฤษดา เน้นเพิ่มว่า 'อย่าลืมรัก' คือความเมตตาที่มีให้กัน หากมองตากันด้วยสายตาแห่งรักที่คิดว่าจะช่วยอะไรกันได้บ้าง จะเห็นสายน้ำงามได้แม้ในห้วงทุกข์สาหัส. จาก ....................... เดลินิวส์ วันที่ 31 ตุลาคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#79
|
||||
|
||||
เกาผื่นยุงกัดระวังติดเชื้อรุนแรง เตือนเกาผื่นคัน บริเวณยุงกัด ระวังติดเชื้อรุนแรง แนะใช้ผ้าสะอาดบางๆ รองก่อนเกา หวั่นช่วงน้ำท่วมมือมีเชื้อโรคมากกว่าปกติ นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองอธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.) กล่าวว่า เนื่องจากขณะนี้มีหลายพื้นที่เกิดน้ำท่วมขังประชาชนเสี่ยงต่อการถูกยุงกัดและเกิดผดผื่นคันได้ง่าย จึงฝากเตือนว่าเมื่อถุงยุงกัดบางรายอาจมีความไวต่อยุงที่กัด มีอาการคันและเกาทำให้เกิดแผลที่ผิวหนัง ขณะที่มือที่ใช้เกามีเชื้อโรคจะส่งผลให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจากแผลที่ เกิดจากการเกา จนกลายเป็นการติดเชื้อและแผลลุกลามกลายเป็นแผลที่มีขนาดใหญ่หรือเป็นหนอง ทั้งนี้ข้อแนะนำในการเกิดแผลจากการเกาผดผื่นคัน นั้นหากแผลเกิดหนังตื้นๆให้รีบรักษา เพราะหากปล่อยไว้จนติดเชื้อลงถึงชั้นลึกของผิวหนังจะเกิดผิวหนังอักเสบ ทำให้เกิดปัญหาที่ส่วนชั้นลึกของผิวหนังและมีโอกาสรุนแรงกลายเป็นการติด เชื้อในกระแสเลือดได้ นพ.สุวรรณชัย กล่าวอีกว่า หลังจากโดนยุงกัดหรือลุยน้ำ ถ้าเกิดเป็นตุ่มให้ทาคาลามายด์เพื่อลดอาการคัน โดยไม่ต้องเกา หากทนไม่ไหวจะต้องเกาควรหาผ้าสะอาดบางๆรองก่อนใช้มือเกาลดอาการคัน หรือกรณีคันมากก็รับประทานยาแก้แพ้ แต่ถ้าเกิดแผลแล้วให้ทำความสะอาดแผลก่อน ซับให้แห้งแล้วใช้ยาฆ่าเชื้อที่เหมาะสม เช่น เบตาดีนทา หรือใช้เจลแอลกอฮอลืเช็ดแผลอย่าชะล่าใจและปล่อยทิ้งไว้ เนื่องจากในช่วงน้ำท่วม มือหรือผิวหนังส่วนต่างๆของร่างกายมีโอกาสได้รับเชื้อโรคจากสิ่งแวดล้อมมากกว่าในเวลาปกติทั่วไป เมื่อเกิดอาการคันจึงไม่ควรเกา เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น จาก ....................... ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 31 ตุลาคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#80
|
||||
|
||||
ซ่อมได้...เมื่อหนังสือเปียกน้ำ น้ำท่วมกรุงเทพฯ และเมืองรอบข้างครั้งนี้ ไม่ว่าจะยากดีมีจนแค่ไหน อยู่บ้านราคาหลักแสนหรือหลักสิบล้าน ก็เดือดเนื้อร้อนใจไปทั่วๆกัน หนึ่งในการรับมือน้ำท่วมคือต้องขน "ของมีค่า" ขึ้นที่สูงให้หมด และคำว่าของ "มีค่า" ที่ไม่ได้มีความหมายเพียงมีราคาของแต่ละคนก็คงแตกต่างกันแน่ๆ และของมีค่าของคนรักการอ่าน ก็น่าจะรวมไปถึง "หนังสือ" ด้วยแน่ๆ ข้อพิสูจน์สำคัญก็มาจากคนรอบข้างนี่ล่ะ ที่เวลาถามไถ่ถึงสถานการณ์ก็มักจะมีคำตอบมาว่าขนหนังสือที่รักที่บางเล่มก็เป็นพิมพ์ครั้งแรก บางเล่มก็ไม่มีวางขายอีกแล้ว หรือบางเล่มก็เก่าแก่จนแทบจะเป็นมรดกของชาติได้เลย ไปไว้ในที่สูงๆเรียบร้อย บางคนถึงกับว่าไม่เสียดายอะไรเท่าหนังสือ... แต่ถึงวันนี้คงไม่มีความแน่นอนอะไรอีกแล้ว เพราะที่ว่าออกมาบอกกันว่าเฝ้าระวังก็แปลว่าท่วมแน่ๆ ส่วนที่ว่าท่วมแน่ๆ ก็หมายถึงท่วมสูงกว่าที่คาดการ หรือถ้าพูดว่าเอาอยู่ ก็แปลว่าขนของเลย ว่าไปแล้วก็คล้ายๆรหัสลับเหมือนกันนะเนี่ย เพราะงั้นหนังสือที่เก็บไว้สูงๆแล้ว ก็ไม่ได้แปลว่าจะรอดปลอดภัยไม่มีเปียก แต่ถ้าเกิดเหตุขึ้นจริง อย่าเพิ่งตระหนกตกใจไป เพราะยังพอมีวิธีแก้ไขอยู่บ้าง ถ้าหากว่าไม่ถึงขั้นจมน้ำจนกระดาษเปื่อย หรือลอกกระดาษหลุดเป็นแผ่นๆ แยกตามระดับการเปียก ถ้าหนังสือเปียกไม่มาก อันดับแรกให้ใช้ผ้าขนหนูนุ่มๆ ซับน้ำส่วนเกินออกก่อน ห้ามขัดถูหรือเช็ดแรงๆ หรือพยายามแกะ หรือแซะเอาโคลนออกด้วยแปรง หรือของแข็ง และก็ไม่ควรใช้สบู่ ยาขจัดคราบสกปรก ผงซักฟอก ครีมน้ำยาต่างๆเด็ดขาด เพราะจะเป็นอันตรายและเพิ่มความเสียหายแก่หนังสือมากขึ้น จากนั้นก็เอามือลูบกระดาษให้เรียบก่อนที่จะเอาไปวางแช่ในช่องแช่แข็งตู้เย็นประมาณ 1 วัน ซึ่งจะแห้งช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับระดับความเปียกและความหนาของหนังสือ โดยวางให้ส่วนที่เปียกอยู่ด้านบน ก่อนจะหาอะไรมาทับซักนิด แล้วจะได้หนังสือที่มีแผ่นกระดาษเรียบๆ เหมือนเดิม และถ้ามีหลายเล่ม ห้ามวางซ้อนกันเด็ดขาด ไม่งั้นพอแห้งแล้วปกจะติดกัน คราวนี้จะเป็นปัญหายิ่งกว่าหนังสือเปียกซะอีก อ้อ ที่สำคัญคือ อย่าเอาของกลิ่นแรงๆแช่พร้อมหนังสือนะ เพราะกระดาษมีคุณสมบัติในการดูดกลิ่น ไม่งั้นอาจจะได้หนังสือกลิ่นทุเรียนออกมา ซึ่งสาเหตุที่กระดาษเรียบได้นั้น ก็เพราะว่าเมื่อกระดาษเปียกน้ำเจอความเย็น โมเลกุลของน้ำจะขยายตัว ช่องว่างในกระดาษจะมีการเรียงตัวใหม่ กระดาษก็เลยเรียบเนียนเหมือนเดิมนั่นเอง ในกรณีที่ตู้เย็นแช่ผักกักตุนอาหารไว้เต็มจนแทบไม่เหลือที่ว่างให้หนังสือ ก็ไม่ต้องกังวล เพราะมีวิธีซักแห้งมาเสนอ โดยมีอุปกรณ์สำคัญที่นอกเหนือจากผ้านุ่มๆ สะอาดๆ ก็คือ แป้งเด็กที่ไม่มีสีและกลิ่น โดยเริ่มจากนำผ้าสะอาดมาซับน้ำจากกระดาษทีละแผ่นๆ ที่ค่อยๆคลี่ออกจากกัน จากนั้นก็โรยแป้งเด็กลงบนกระดาษทุกหน้าที่เปียก โดยเกลี่ยให้เสมอกัน ก่อนที่จะนำไปไว้ที่แห้งๆ แล้วนำของที่มีน้ำหนักมากๆ ทับลงไปให้เรียบไปกับพื้นผิวที่วาง ทิ้งไว้ประมาณ 2-7 วัน จะช้าเร็วก็ขึ้นกับว่าเปียกมากน้อย และปริมาณความชื้นในอากาศ ซึ่งทั้งหมดต้องรีบทำทันที อย่าทิ้งไว้นาน เพราะถ้าแช่น้ำนานๆ ต่อให้เทวดาเหาะลงมาก็คงช่วยอะไรไม่ได้ เพราะเชื้อราจะสามารถเติบโตได้ภายในเวลา 24 ชั่วโมง ว่าแล้วก็ชักคิดถึงอีบุ๊ก ถ้ามีการเก็บหนังสือเก่าๆหายากไว้ในอีบุ๊กก็คงจะดี แต่ถ้าถึงที่สุดแล้ว สิ่งที่น่าจะทำได้อย่างเดียวก็คือทำใจ ความรู้นอกกายไม่ตายหาใหม่ได้ อย่างน้อยก็ยังดีกว่าชีวิตหายไปละกัน สร้างกำลังใจทั้งตัวเองและคนรอบข้างให้เข้มแข็ง วันนี้ผ่านไปแล้วพร้อมกับสายน้ำที่กำลังไหลริน พรุ่งนี้ต่างหากที่สำคัญ และมีอะไรมากมายที่ต้องจัดการหลังน้ำผ่านไป จริงไหม จาก ....................... มติชน วันที่ 30 ตุลาคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|