เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 25-06-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,204
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน 2565

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย เริ่มมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศลาวตอนบนและประเทศเวียดนามตอนบน ในขณะที่มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง และฝนตกหนักที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย

ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 25 - 28 มิ.ย. 65 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนอง กับมีฝนตกหนักบางแห่งใน ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ส่วนในช่วงวันที่ 29-30 มิ.ย. 65 ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนประเทศเมียนมา ประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล


ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตราย ฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 25-06-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,204
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


ธารน้ำแข็งกำลังบอกเราว่าโลกร้อนแค่ไหน แม้แต่หิมาลัยยังละลายเร็ว เนปาลต้องย้ายที่ตั้ง 'เอเวอเรสต์เบสแคมป์'


- ภาวะโลกร้อนออกฤทธิ์หนักขึ้นๆ เห็นได้จากข่าวธารน้ำแข็งละลายเร็วขึ้นในหลายๆ พื้นที่ของโลก เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ที่ผ่านมา มีข่าวผลการศึกษาที่พบว่า ธารน้ำแข็งที่อยู่สูงที่สุด-ใกล้ยอดเขาเอเวอเรสต์ที่สุดละลายเร็วจนความหนาของน้ำแข็งลดลงไปถึง 54 เมตร ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา

- และล่าสุดมีข่าวว่า ประเทศเนปาลกำลังเตรียมย้ายที่ตั้งเอเวอเรสต์เบสแคมป์ (EBC) เหตุเพราะโลกร้อนทำให้น้ำแข็งละลายเร็ว จนผู้เกี่ยวข้องหวั่นว่าจะเป็นอันตรายต่อนักปีนเขา และสร้างความเสียหายต่อธุรกิจท่องเที่ยวและปีนเขา

- กรมการท่องเที่ยวของเนปาลเปิดเผยว่า ที่ตั้งแคมป์แห่งใหม่อาจจะอยู่ต่ำลงไปจากที่ตั้งเดิมประมาณ 200-400 เมตร การย้ายแคมป์จะส่งผลให้ระยะทางที่นักปีนเขาต้องเดินทางในการพิชิตจุดสูงสุดของโลกไกลขึ้น




ภาวะโลกร้อนแสดงฤทธิ์เดชให้เราเห็นหนักขึ้นๆ เห็นได้จากข่าวธารน้ำแข็งละลายเร็วขึ้นในหลายๆ พื้นที่ของโลก

รายงานการประเมินสภาพอากาศ ฉบับที่ 6 ของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ที่เผยแพร่เมื่อปี 2021 เปิดเผยข้อมูลว่า ทศวรรษที่ผ่านมา (2010-2019) ถือเป็นช่วงที่อากาศร้อนที่สุดในรอบ 125,000 ปี เป็นผลมาจากการบริโภคและการดำเนินชีวิตของมนุษย์ที่ทำให้ชั้นบรรยากาศ มหาสมุทร และพื้นผิวดินมีอุณหภูมิสูงขึ้น

ในช่วง ค.ศ. 2010-2019 ธารน้ำแข็งทั่วโลกละลายไปมากกว่า 1,200,000 ล้านตันต่อปี ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากช่วง 10 ปีก่อนหน้า (ค.ศ. 1990-1999) ที่มีอัตราการละลาย 760,000 ล้านตันต่อปี

ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ที่ผ่านมา BBC รายงานข่าวผลการศึกษาโดยมหาวิทยาลัยเมน (University of Maine) ที่พบว่า ธารน้ำแข็งเซาท์โคล (South Col Glacier) ซึ่งเป็นธารน้ำแข็งที่อยู่สูงที่สุด-ใกล้ยอดเขาเอเวอเรสต์ที่สุด ละลายเร็วจนความหนาของน้ำแข็งลดลงไปถึง 54 เมตร ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา หัวหน้าคณะนักวิจัยตั้งข้อสังเกตว่า การที่น้ำแข็งละลายอย่างรวดเร็วอาจมีนัยสำคัญหลายอย่างในระดับภูมิภาคถึงระดับโลก

ล่าสุดมีข่าวว่า ประเทศเนปาลกำลังเตรียมย้ายที่ตั้งเอเวอเรสต์เบสแคมป์ เหตุเพราะโลกร้อนทำให้น้ำแข็งละลายเร็ว จนผู้เกี่ยวข้องหวั่นว่าจะเป็นอันตรายต่อนักปีนเขา และสร้างความเสียหายต่อธุรกิจท่องเที่ยวและปีนเขา

เอเวอเรสต์เบสแคมป์ หรือชื่อที่คุ้นหูกันในหมู่นักปีนเขาว่า EBC (Everest base camp) มีสองแคมป์ ซึ่งแคมป์ที่เราพูดถึงนี้เป็นแคมป์ทางทิศใต้ที่ตั้งอยู่บริเวณธารน้ำแข็งคุมบู (Khumbu Glacier) ที่ระดับความสูง 5,364 เมตรจากระดับน้ำทะเล บนเทือกเขาหิมาลัย ในเขตประเทศเนปาล

เอเวอเรสต์เบสแคมป์ทางทิศใต้นี้เป็นจุดพักเตรียมตัวของนักปีนเขาก่อนออกสตาร์ตปีนป่ายขึ้นไปพิชิตจุดสูงสุดของโลก ซึ่งได้รับความนิยมมากกว่าเอเวอเรสต์เบสแคมป์ทางทิศเหนือที่อยู่ในเขตประเทศจีน แต่ละปีเอเวอเรสต์เบสแคมป์ (ทิศใต้) รองรับนักปีนเขาที่จะขึ้นไปพิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์ปีละ 1,500 คน

แคมป์บนเทือกเขาสูงแห่งนี้กำลังเผชิญปัญหากับภาวะโลกร้อนเช่นกันกับพื้นที่อื่นๆ ทั่วโลก ธารน้ำแข็งคุมบูบริเวณที่ตั้งแคมป์และใกล้เคียงกำลังละลายและบางลงอย่างรวดเร็ว และพบรอยแตกของธารน้ำแข็งมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเหตุนี้หน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบด้านการท่องเที่ยวของประเทศเนปาลจึงวางแผนย้ายที่ตั้งแคมป์ไปที่อื่น เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

นอกจากปัจจัยหลักของการละลายที่มาจากภาวะโลกร้อนแล้ว ปัสสาวะ-ของเสียที่นักท่องเที่ยวขับถ่ายออกมาถึงวันละ 4,000 ลิตร และความร้อนจากเชื้อเพลิงการทำอาหารของนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการ ก็เป็นหนึ่งในตัวเร่งที่ทำให้น้ำแข็งละลายเร็วขึ้นด้วย

การศึกษาวิจัยโดยนักวิจัยมหาวิทยาลัยลีดส์ (Leeds University) เมื่อ ค.ศ. 2018 พบว่า ธารน้ำแข็งคุมบูซึ่งเป็นที่ตั้งของเอเวอเวรสต์เบสแคมป์ ธารน้ำแข็งในบริเวณนี้ละลายและบางลงปีละ 1 เมตร อัตราการละลายดังกล่าวส่งผลให้ธารน้ำแข็งไม่เสถียร มีรอยแตกร้าวปรากฏขึ้นเรื่อยๆ และธารน้ำแข็งละลายสูญเสียปริมาตรน้ำไปถึง 9.5 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี

ลักษณะของธารน้ำแข็งส่วนใหญ่ถูกปกคลุมด้วยเศษหินและน้ำแข็งทับถมกัน เมื่อพื้นผิวที่เป็นน้ำแข็งละลายลง หินและน้ำแข็งที่อยู่ด้านบนจะตกลงลงมาในน้ำ แล้วละลายในที่สุด

นอกจากนักปีนเขาและเจ้าหน้าที่ที่ดูแลแคมป์จะสังเกตเห็นว่าลำธารมีขนาดใหญ่ขึ้นแล้ว หลายครั้งพวกเขาก็ได้ยินเสียงแตกหักจากการละลายของน้ำแข็ง เสียงการตกลงของหิน และเสียงการเคลื่อนตัวของน้ำแข็ง

นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้เกี่ยวข้องเตรียมแผนย้ายที่ตั้งแคมป์ เพราะไม่รู้ว่าวันไหนที่มวลน้ำและมวลน้ำแข็งปริมาณมากมายมหาศาลจะถล่มลงมา ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อคนในแคมป์ และจะส่งผลกระทบโดยตรงกับการท่องเที่ยว

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2021 เกิดเหตุการณ์การถล่มของธารน้ำแข็งนันฑาเทวี (Nanda Devi Glacier) ที่ตั้งอยู่ในอีกด้านหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัย ในรัฐอุตตราขัณฑ์ (Uttarakhand) ประเทศอินเดีย มวลน้ำคร่าชีวิตผู้คนที่อาศัยในบริเวณนั้นไปกว่า 50 ศพ สูญหายอีกนับร้อย นี่คือตัวอย่างความสูญเสียที่อาจจะเกิดที่เอเวอเรสต์เบสแคมป์หากไม่รีบป้องกัน

ทารนาถ อธิการี (Taranath Adhikari) อธิบดีกรมการท่องเที่ยวของเนปาล เปิดเผยว่า กรมและผู้เกี่ยวข้องกำลังวางแผนที่จะย้ายเอเวอเรสต์เบสแคมป์ออกจากจุดเสี่ยงนี้ไปยังบริเวณที่ปลอดภัยกว่า ซึ่งคาดว่าอาจจะอยู่ต่ำลงไปจากที่ตั้งเดิมประมาณ 200-400 เมตร

การย้ายแคมป์จะส่งผลให้ระยะทางที่นักปีนเขาต้องเดินทางในการพิชิตจุดสูงสุดของโลกไกลขึ้น แต่ก็คุ้มที่จะแลกเพื่อความปลอดภัย

แม้ว่า เชอริง เชอร์ปา (Tshering Sherpa) ผู้จัดการเอเวอเรสต์เบสแคมป์ ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการควบคุมมลภาวะซาการ์มาธา (Sagarmatha Pollution Control Committee: SPCC) บอกว่า แคมป์ปัจจุบันนี้ ยังสามารถให้บริการต่อไปได้อีก 3-4 ปี แต่ทางการเนปาลบอกว่าจะย้ายภายในปี 2024 หรือภายใน 2 ปีนี้

ทารนาถ อธิการี อธิบดีกรมการท่องเที่ยวเนปาล บอกกับ BBC ว่า ขณะนี้กำลังเตรียมการย้ายที่ตั้งเบสแคมป์ ซึ่งได้ประเมินด้านเทคนิคและสิ่งแวดล้อมของเบสแคมป์แล้ว แต่ก่อนที่จะย้ายจะต้องหารือกับชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด เพื่อพิจารณาในด้านอื่นๆ เช่น วัฒนธรรมของชุมชน โดยจะเริ่มปรึกษาหารือในเร็วๆ นี้


https://plus.thairath.co.th/topic/naturematter/101707

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 11:12


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger