#1
|
||||
|
||||
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ.......การประมง
กระดานข่าวที่แล้ว เราได้รวบรวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการประมงไทยไว้ เพื่อให้ผู้สนใจเข้ามารับรู้และเรียนรู้ เมื่อมาเปิดกระดานข่าวใหม่ สายชลก็คิดว่าเราน่าจะรวบรวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการประมงจากทั่วโลกมาไว้ในกระดานข่าวใหม่ เพื่อประโยชน์แก่สาธารณชนทั่วไป เริ่มเลยนะคะ....
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 07-07-2009 เมื่อ 12:48 |
#2
|
||||
|
||||
กรุงเทพธุรกิจ การขจัดการทำการประมงที่ผิดกฎหมาย (IUU fishing) โดย สกล หาญสุทธิวารินทร์ การทำประมงที่ผิดกฎหมาย Illegal Unreported and Unregulated fishing (IUU Fishing) ถือเป็นภัยคุกคามต่อปริมาณปลาและสัตว์น้ำที่เป็นแหล่ งอาหารที่สำคัญของมนุษย์ และความหลากหลายของพันธุ์สัตว์น้ำ เป็นอันตรายต่อระบบนิเวศวิทยาทางทะเล และเป็นการเอาเปรียบชาวประมงที่ทำการประมงโดยถูกต้อง ทั้ง FAO และประเทศต่างๆ หลายประเทศก็ได้พยายามร่วมกันในการหามาตรการขจัดและต ่อต้าน สหภาพยุโรปเป็นกลุ่มประเทศแรกที่ได้กำหนดมาตรการเพื่ อป้องกันและขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมายดังกล่าว โดยออกเป็นกฎระเบียบที่ 1005/2008 ลงวันที่ 29 กันยายน 2551 จะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 กฎระเบียบของสหภาพยุโรปดังกล่าวให้ความหมายของการทำป ระมงที่ผิดกฎหมายไว้คือ - Illegal fishing เป็นกรณีทำการประมงในเขตน่านน้ำของประเทศใดๆ โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือโดยฝ่าฝืนต่อระเบียบและกฎหมาย หรือเป็นกรณีทำการประมงโดยเรือที่ชักธงของประเทศที่เ ป็นสมาชิกองค์กรในภูมิภาคที่รับผิดชอบบริหารจัดการกา รทำประมง โดยฝ่าฝืนต่อมาตรการที่กำหนดขึ้นเพื่อการอนุรักษ์ปลา ที่ประเทศนั้นได้ผูกพันไว้ หรือเป็นกรณีที่ทำการประมงโดยเรือประมง ด้วยการฝืนกฎหมาย หรือฝ่าฝืนพันธกรณีระหว่างประเทศด้านการประมง รวมทั้งพันธกรณีตามความตกลงร่วมมือทางประมงในภูมิภาค ด้วย - Unreported fishing เป็นกรณีทำการประมงแล้วไม่ได้รายงาน หรือรายงานอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ที่กำ หนดไว้ ต่อหน่วยงานกำกับดูแลการประมงแห่งชาติ หรือองค์กรบริหารจัดการการประมงในภูมิภาคแล้วแต่กรณี - Unregulated fishing เป็นกรณีทำการประมงในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์กรบร ิหารจัดการการประมงในภูมิภาค โดยเรือไม่ปรากฏสัญชาติ หรือโดยเรือที่ติดธงของประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก หรือโดยองค์กรประมงอื่นๆ ในประการที่ไม่สอดคล้องหรือฝ่าฝืนต่อมาตรการที่กำหนด ขึ้น เพื่อการอนุรักษ์ปลา รวมถึงการทำประมงในบริเวณสงวนเพื่อการเพิ่มจำนวนปลาท ี่ยังไม่เป็นบริเวณที่มีการกำหนดมาตรการอนุรักษ์ไว้ ในประการที่ไม่สอดคล้องกับความรับผิดชอบของรัฐ เพื่อการสงวนอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำภายใต้กฎหมายระ หว่างประเทศ ผลของกฎระเบียบที่มีต่อการส่งออกสินค้าประมง กฎระเบียบของสหภาพยุโรปส่วนที่มีผลต่อการส่งออกสินค้ าประมงที่สำคัญ คือ ส่วนที่บัญญัติว่าสินค้าประมงที่ผลิตหรือกำเนิดมาจาก การจับปลาที่ผิดกฎหมายเป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเ ข้าสหภาพยุโรป และกำหนดให้สินค้าประมงที่จะนำเข้าสหภาพยุโรป จะต้องมีหนังสือรับรองการจับปลา (catch certificate) ออกโดยหน่วยงานของรัฐของเรือประมงที่จับปลา หรือที่ได้ปลามา รับรองว่าไม่ได้เป็นหรือผลิตจากปลาที่จับโดยผิดกฎหมา ย ประกอบการนำเข้าสหภาพยุโรปด้วย กฎระเบียบดังกล่าวครอบคลุมถึงสินค้าประมงทุกประเภท ไม่ว่าจะมีชีวิต สด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูป แต่ไม่รวมถึงปลาและสัตว์น้ำจืด ปลาและสัตว์น้ำที่ได้จากการเพาะเลี้ยง และสัตว์น้ำประเภทหอยบางชนิด ผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าประมงของไทย สินค้าประมงเป็นสินค้าส่งออกที่ทำรายได้ให้ประเทศไทย ที่สำคัญในลำดับต้นๆ กฎระเบียบของสหภาพยุโรปดังกล่าว ย่อมมีผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าประมงของไทยอย่างไม่ อาจหลีกเลี่ยงได้ ปัญหาคือไทยมีความพร้อมในการปฏิบัติตามกฎระเบียบดังก ล่าวแล้วหรือไม่ เบื้องแรกคือผู้อยู่ในวงจรการค้าสินค้าประมง ตั้งแต่ผู้จับปลา ผู้ค้า ผู้แปรรูป ผู้ส่งออกสินค้าประมง เข้าใจต่อกฎระเบียบดังกล่าว และพร้อมที่จะปฏิบัติให้ถูกต้องแล้วหรือไม่ หน่วยงานของไทยที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลการค้าการส่ งออกสินค้าประมงของไทยมีหน่วยงานหลักอย่างน้อยสองหน่ วย คือ กรมประมงที่มีหน้าที่รับผิดชอบกำกับดูแลการประมงของไ ทย และกระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าต่างประเทศที่มีหน้าที่บริหารการส่งออก และเป็นผู้ให้บริการการออกหนังสือรับรองการส่งออกต่า งๆ มีความพร้อมที่จะให้บริการในการออกหนังสือรับรองการจ ับปลา ตลอดจนหนังสือรับรองอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า และมีความพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นแล้วหรือไม่ ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาและอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้าปร ะมงหรือให้เกิดให้น้อยที่สุด ทั้งกรมประมงและกรมการค้าต่างประเทศ จะต้องประสานร่วมมือกันในการดำเนินการต่างๆ และหากมีปัญหาและอุปสรรคที่ต้องแก้ไขหรือเจรจาแก้ไข ก็ควรต้องประสานร่วมมือกันดำเนินการให้เป็นไปในทิศทา งเดียวกัน ดังเช่นในอดีตที่เคยมีปัญหาการส่งออกปลาโบนิโตกระป๋อ งไปสหภาพยุโรป ทั้งกรมประมงและกรมการค้าต่างประเทศประสานและให้ความ ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาอย่างดียิ่ง จนปัญหาดังกล่าวลุล่วงไปในทางที่ดี ไม่มีประเด็นปัญหาว่าปลาและสัตว์น้ำเป็นของฉันท่านอย ่ามายุ่ง การออกหนังสือรับรองและการเจรจาการค้าสินค้าเป็นของก รมฉันในส่วนนี้ฉันขอดำเนินการเอง เพราะมิฉะนั้นแล้ว การดำเนินการของทางราชการจะกลับกลายเป็นการเพิ่มอุปส รรคให้การส่งออกสินค้าประมงเข้าไปอีก ถ้าหากเกิดเหตุเช่นที่กล่าวขึ้น จนทำให้เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้าประมงมากขึ้นไป อีก ก็คงต้องมีการนำมาบอกกล่าวให้สังคมได้รับทราบกันบ้าง ละครับว่า หน่วยงานใดเป็นผู้ก่อปัญหา อนึ่ง มีเสียงสะท้อนมาจากผู้ส่งออกสินค้าประมงรายใหญ่บางรา ย ว่า หากไทยยังมีความพร้อมไม่สมบูรณ์ในการปฏิบัติตามกฎระเ บียบดังกล่าว ก็ควรร้องขอต่อสหภาพยุโรปโดยหากร้องในนามอาเซียนได้ก ็เป็นการดี ขอขยายเวลาการบังคับใช้หรือการต้องปฏิบัติตามกฎดังกล ่าวออกไปอีกระยะหนึ่ง โดยแสดงให้เห็นว่าไทยเห็นด้วยกับการต่อต้านและขจัดกา รทำประมงที่ผิดกฎหมาย เรื่องใดที่ไทยพร้อมแล้ว และเรื่องใดที่ต้องใช้เวลาเตรียมตัวเตรียมความพร้อมอีกระยะหนึ่ง 8 มิถุนายน 2552
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 10-06-2009 เมื่อ 10:59 |
#3
|
||||
|
||||
ข่าวสด
ชี้ปัญหาประมงพื้นที่แก้ยาก ตราด - นายวิระชาญ ประทีปาระยะกุล นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลคลองใหญ่ จ.ตราด เปิดเผยว่า จากการที่กลุ่มประมงพื้นบ้านของ ต.คลองใหญ่ และกลุ่มประมงอวนลากมีปัญหาความขัดแย้งในเรื่องพื้นท ี่ทำกินในทะเลของ อ.คลองใหญ่ จนมีการปะทะและการชุมนุมประท้วงกันบ่อยครั้ง ทำให้ทางอำเภอคลองใหญ่ต้องแก้ไขปัญหาเรื่องนี้บ่อยคร ั้งแต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้จนเกิดความขัดแย้ง อยู่บ่อยครั้ง เรื่องนี้ทางอำเภอและท้องถิ่นใน อ.คลองใหญ่ ได้เคยคิดที่จะแก้ไขปัญหาโดยการออกกฎหมายของท้องถิ่น 4 องค์กร เพื่อป้องกันมิให้เรือประมงอวนลากเข้ามาทำประมงในพื้ นที่ทำกินของประมงพื้นบ้าน แต่จากการศึกษาปัญหาเรื่องนี้อย่างจริงจังปรากฏว่ายั งไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ "กฎหมายท้องถิ่นยังไม่สามารถออกมาให้ครอบคลุมหรือป้อ งกันไม่ให้เรือประมงอวนลากเข้ามาในพื้นที่ 3,000 เมตรได้เนื่องจากกฎหมายท้องถิ่นครอบคลุมไปไม่ถึง จึงไม่สามารถแก้ไขได้ จำเป็นต้องสร้างจิตสำนึกให้กับชาวประมงทั้ง 2 ฝ่าย และขอให้ทั้ง 2 ฝ่ายเคารพกติกาที่ทางราชการได้กำหนดไว้ กฎหมายประมงก็ได้มีการออกมาเพื่อป้องกันไว้แล้วแต่ต้ องมีการใช้อย่างเข็มงวด" มติชน ชาวประมง"ภูเก็ต"ต่อต้านสร้างมารีน่าลงในทะเล นายจุรุณ ราชพล ตัวแทนกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรป่าคลอก อ.ถลาง จ.ภูเก็ต พร้อมตัวแทนกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านยามู กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านผักฉีดและบางลา ร่วมยื่นหนังสือต่อนายสุนันท์ ศิริมากุล ประมงจังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.เพื่อผ่านไปถึงอธิบดีกรมประมง เกี่ยวกับการคัดค้านการอนุญาตสร้างท่าเทียบเรือมารีน ่าแหลมยามู เพราะทะเลและชายฝั่งเป็นสาธารณสมบัติที่ประชาชนสามาร ถใช้ประโยชน์ร่วมกัน "พื้นที่ ต.ป่าคลอก ยังได้รับงบประมาณจากจังหวัด 1.6 ล้านบาท ทำโครงการฟื้นฟูทรัพยากรประมงทั้งตำบล เป็นโครงการตามพระราชดำริ โดยมีสำนักงานประมงจังหวัดภูเก็ต ร่วมกับหลายหน่วยงาน หากอนุญาตให้สร้างมารีน่าลงในทะเล จะกระทบต่อการฟื้นฟูทรัพยากรประมง แหล่งหญ้าทะเล ปะการัง และสัตว์ทะเลหายาก เช่น พะยูน เต่า ซึ่งการสร้างมารีน่าเป็นการใช้ประโยชน์เกินความจำเป็ น และเพิ่มมูลค่าให้สิ่งปลูกสร้างบนฝั่ง อีกทั้ง จ.ภูเก็ต ยังมีโครงการสร้างมารีน่าไว้บริการนักท่องเที่ยวตามโ ครงการพัฒนาอ่าวภูเก็ต จึงไม่สมควรที่จะส่งเสริมท่าเทียบเรือมารีน่าโดยไม่ม ีการควบคุม เพราะมีผลกระทบต่อฐานการผลิตทรัพยากรประมง และทำลายวิถีชีวิตชุมชน รวมถึงความมั่นคงของห่วงโซ่อาหารในอนาคต หากอนุญาตให้เอกชนก่อสร้าง ชาวบ้านพร้อมใจกันเดินหน้าคัดค้านให้ถึงที่สุด" นายจุรุณ กล่าว 10 มิถุนายน 2552
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 10-06-2009 เมื่อ 11:00 |
#4
|
||||
|
||||
เดลินิวส์
ประมงเตรียมเดินสาย สร้างความเข้าใจ กฏเหล็กอียูต่อต้านการทำประมงผิดกฏหมาย ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมประมงได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมเพื่อจัดท ำระบบ รองรับการออกใบรับรองการจับสัตว์น้ำ โดย กรมประมงได้แต่งตั้งคณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการ ดำเนินงานเพื่อรองรับกฎระเบียบสหภาพยุโรปในการต่อต้า นการทำประมงผิด กฎหมาย ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอ กชน ในการจัดทำแนวทางการตรวจรับรองสินค้าประมงที่ได้จากก ารจับสัตว์น้ำ ส่งออกไปสหภาพยุโรป นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2552 ที่ผ่านมา ได้นำคณะเจ้าหน้าที่กรมประมงเข้าพบและหารือกับเจ้าหน ้าที่ระดับ สูงของกระทรวงประมงและกิจการทางทะเล ของสหภาพยุโรป เกี่ยวกับความชัดเจนของกฎระเบียบดังกล่าว เพื่อให้ประเทศไทยสามารถปฏิบัติตามได้และไม่เป็นอุปส รรคทางการค้า และได้เน้นย้ำให้สหภาพยุโรปเข้าใจถึงความซับซ้อนในทา งปฏิบัติตามกฎระเบียบดังกล่าว ทั้งในด้านวัตถุดิบที่มาจากเรือไทยและที่นำเข้าจากปร ะเทศอื่น ซึ่งประกอบด้วยชนิดพันธุ์ที่มีความหลากหลาย ทั้งนี้ ประเทศไทยเห็นว่าหากสหภาพยุโรปปรับแนวทางการดำเนินกา รตามกฎระเบียบให้ง่ายต่อการปฏิบัติจะเป็นประโยชน์อย่ างยิ่ง แก่ทั้งสองฝ่าย โดยสามารถควบคุมและบริหารจัดการทรัพยากรประมง และต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมายได้โดยไม่เป็นอุปสรรคท างการค้าสำหรับผู้ที่ทำการประมงโดยสุจริต นอกจากนั้นได้มีการหารือเกี่ยวกับการขยายระยะเวลาการ บังคับใช้กฎระเบียบดังกล่าวออกไป ซึ่งในขั้น ต้นเจ้าหน้าที่สหภาพยุโรปให้ความเห็นว่า กฎระเบียบนี้เป็นกฎหมายที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมา ธิการแห่งสหภาพยุโรป ซึ่งมาจากผู้แทนของประเทศสมาชิก ยากที่จะเลื่อนออกไปได้ อย่างไรก็ตาม กรมประมงจะได้หารือในเรื่องดังกล่าวในเวทีของคณะทำงา นประมงอาเซียนที่จะมีการประชุมในต้นเดือนมิถุนายน 2552 ที่ประเทศเวียดนามต่อไป พร้อมกันนี้จะมีการจัดสัมมนาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั ้งภาครัฐและภาคเอกชนตลอดสายการผลิต ทั้งในภาคกลาง จ.สมุทรสาคร ภาคตะวันออก จ.ระยอง ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย จ.สงขลา และภาคใต้ฝั่งอันดามัน จ.ภูเก็ต เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่การทำประมงทะเลของประเทศไทย และได้ดำเนินการในเรื่องนี้อย่างเป็นระบบร่วมกับผู้ม ีส่วนได้เสียที่จะได้รับผลกระทบ ซึ่งเชื่อมั่นว่าด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี ่ยวข้องจะสามารถดำเนินการออกใบรับรองการจับสัตว์น้ำไ ด้ทันตามกำหนดเวลาในเดือนมกราคม 2553 ทั้งนี้เนื่องจากที่สหภาพยุโรปได้ออกกฎระเบียบ EC No 1005/2008 ลงวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 2008 ว่าด้วยการป้องกัน ต่อต้าน และขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป โดยประกาศดังกล่าว บังคับให้สินค้าประมงที่ส่งขายไปยังประชาคมยุโรปต้อง แนบใบรับรองการ จับสัตว์น้ำ เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของสินค้าปร ะมงเหล่านั้นได้. วันที่ 5 มิถุนายน 2552
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 10-06-2009 เมื่อ 11:33 |
#5
|
||||
|
||||
แนวหน้า
กลุ่มชาวประมงเมืองดาบได้เฮ มาตราการปิดอ่าวช่วยเพิ่มสัตว์น้ำ กระบี่:นายมานิต ดำกุล นายกสมาคมชาวประมงจังหวดกระบี่ กล่าวว่า ภายหลังจากที่ทางกลุ่มจังหวัดอันดามัน ได้แก่ จ.กระบี่ พังงา และภูเก็ต ได้ประกาศปิดอ่าวในช่วงฤดูปลาวางไข่ ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2552 เป็นต้นไป โดยมีระยะเวลา 3 เดือน ขณะนี้พบว่าจำนวนสัตว์น้ำมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อาชีพทำประมงทุกชนิด ทั้งกลุ่มประมงพื้นบ้าน กลุ่มประมงชายฝั่ง และเรือพาณิชย์ต่างรับทรัพย์ไปตามๆ กัน เนื่องจากมีผลผลิตที่เพิ่มขึ้น บวกกับราคาสัตว์น้ำในระยะหลังมานี้มีราคาสูงขึ้น สำหรับมูลเหตุที่ทำให้สัตว์น้ำมีจำนวนเพิ่มขึ้น นอกเหนือจากการประกาศปิดอ่าว 3 เดือนในช่วงที่ปลาวางไข่และถือปฏิบัติมาร่วม 5 ปี ติดต่อกันแล้ว สิ่งที่สำคัญอีกประการ คือ การทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยเฉพาะศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมประมงทะเลฝั่งอันดามั น ที่ได้มีการนำเรือออกปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อเนื่อง ทั้งยังมีกลุ่มอาสาสมัครแจ้งเหตุไม่น้อยกว่า 600 คน เข้าร่วมคอยตรวจตรากลุ่มประมงที่กระทำผิดกฎหมายและสา มารถจับกุมได้ทุกครั้ง วันที่ 2 มิถุนายน 2552
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 10-06-2009 เมื่อ 11:00 |
#6
|
||||
|
||||
แนวหน้า กรมประมงประกาศให้รางวัล พบปลาลัง-ปลาทู-ปลาทูแขก ติดเครื่องหมาย-จ่ายตัวละ 200 ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่าปลาลัง ปลาทู ปลาทูแขก นับเป็นทรัพยากรปลาผิวน้ำ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทยและภูมิภาคเอเ ชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นอย่างมาก แต่เนื่องจากสัตว์น้ำกลุ่มนี้มีพฤติกรรมการเคลื่อนย้ ายของประชากร และการอพยพย้ายถิ่นเพื่อวางไข่และเลี้ยงตัวในวัยอ่อน ข้อมูลดังกล่าวจึงมีความสำคัญเพื่อใช้กำหนดมาตรการจั ดการทรัพยากรสัตว์น้ำเหล่านี้ให้มีความยั่งยืนได้ตลอ ดไป โดยกรมประมง ประเทศไทย และประเทศสมาชิกอาเซียนอีก 7 ประเทศ คือ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม จึงร่วมกันจัดทำโครงการติดเครื่องหมายปลาผิวน้ำชนิดท ี่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจในบริเวณทะเลจีนใต้และทะเลอ ันดามันขึ้น จำนวน 17 จุด เพื่อเป็นฐานข้อมูลวิเคราะห์ประชากรและอนุประชากรของ ทรัพยากรสัตว์น้ำ โดยกำหนดพื้นที่ดำเนินงาน จำนวน 4 จุด คือ บริเวณน่านน้ำในจังหวัดตราด สงขลา ระนอง และสตูล เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวสามารถบ่งชี้ถึงการเคลื่อนย ้ายของปลาผิวน้ำได้อย่างชัดเจน เพราะมีอาณาเขตติดต่อกับน่านน้ำของประเทศเพื่อนบ้าน อธิบดีกรมประมงกล่าวว่า หากชาวประมงพบหรือจับปลาที่ติดเครื่องหมายปลาผิวน้ำอ ันได้แก่ ปลาลัง ปลาทู และปลาทูแขกได้ สามารถนำมาแลกเปลี่ยนเป็นเงินตัวละ 200 บาท โดยปลาที่นำมาแลกจะต้องทำการแช่แข็ง และบันทึก วัน เดือน ปี รวมถึงบริเวณที่ทำการประมง หรือสถานที่พบปลาติดเครื่องหมาย หรือชื่อเรือประมงที่จับปลาติดเครื่องหมายด้วย โดยติดต่อขอแลกเปลี่ยนจากเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของ กรมประมงทุกแห่งใกล้บ้าน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยฝั่งตะวันออก จังหวัดระยอง สำนักวิจัยและพัฒนาประมงทะเล กรมประมงโทรศัพท์ 0-3865-1764 วันที่ 28 พฤษภาคม 2552
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 10-06-2009 เมื่อ 11:01 |
#7
|
||||
|
||||
เนชั่น
ประมงไทย100ลำถอนสมออินโดฯเล็งเข้าพม่า 4 มิย. 2552 12:44 น. นายทวี บุญยิ่ง ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารสมาคมประมงแห่งประเทศไทยและนายกสมาคมประมงจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า จากปัญหาที่กองเรือประมงของไทยได้ทยอยกลับจากน่ายน้ำประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งถือเป็นเขตพื้นที่จับปลาสำคัญของไทยสำคัญ 2 แหล่งที่อยู่บริเวณประเทศอินโดนีเซีย คือย่านทะเลจีนใต้ และเขตน่านน้ำอาราปูล่า ที่มีกองเรือประมงจากประเทศไทย เข้าไปทำการประมงประมาณ 1,000 ลำ แต่จากการที่ทางประเทศอินโดนีเซีย ได้มีการเปลี่ยนแปลงกฏระเบียบการทำประมงใหม่ด้วยการยกเลิกระบบสัมปทาน เปลี่ยนเป็นการร่วมทุนกับผู้ประกอบการในท้องถิ่นแทน ( JOINCE VENTURE ) พร้อมทั้งกำหนดให้ต้องนำปลาที่จับได้ขึ้นที่ท่าเรือประมงของอินโดนีเซีย ไม่อนุญาตให้ขนกลับมายังประเทศไทยเช่นที่ผ่านมา ทำให้ผู้ประกอบการประมงไทยเล็งเห็นว่าไม่คุ้มกับการลงทุนเพราะราคาซื้อขายปลาที่อินโดนีเซียถูกมาก อีกทั้งหากจะนำย้อนกลับมายังประเทศไทยก็เท่ากับเป็นการซื้อขาย 2 ต่อส่งผลให้ราคาสูงจนไม่สามารับได้จึงทำให้ผู้ประกอบการประมงเริ่มทยอยเดินทางกลับมาแล้วจำนวนมาก การทยอยเดินทางกลับมาของกองเรือประมงจากประเทศอินโดนีเซีย เท่ากับมาเพิ่มจำนวนเรือในเขตน่านน้ำไทย รวมถึงเรือประมงส่วนหนึ่งที่เดินทางกลับจากอินโดนีเซียขณะนี้ทราบว่า กำลังมองหาลู่ทางขยายเข้าไปทำประมงในน่านน้ำพม่าจำนวนประมาณ 100 ลำ ส่วนหนึ่งทำให้ผู้ประกอบการประมงในเขตพื้นที่ระนองซึ่งมีกองเรือประมง 3,000 ลำ จับปลาในเขตน่านน้ำพม่าประมาณกว่า 200 ลำ กำลังหวาดวิตกว่ากองเรือประมงจากอินโดนีเซีย ที่ทยอยกลับนั้นทราบว่า ส่วนหนึ่งประมาณ 100 ลำ ได้เดินทางมายังจังหวัดระนองเพื่อหาช่องทางการเข้าไปทำประมงในน่านน้ำพม่า ปัจจุบันยอมรับว่าปริมาณสัตว์น้ำที่เรือประมงไทยจับได้มีจำนวนมากพอสมควร และแต่หากมีกองเรือประมงเข้าไปเพิ่มเติมอาจจะเป็นการแย่งทรัพยากรกันเอง เพราะเขตพื้นที่หรือโซนที่ได้รับสัมปทานมีจำนวนจำกัด ดังนั้นตนจึงอยากจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาถึงความสมดุลจำนวนเรือกับปริมาณสัตว์น้ำ นายสุรินทร์ โหลสงค์ เจ้าของเรือประมงที่ได้รับตั๋วสัมปทานเข้าไปทำประมงในเขตน่านน้ำพม่ากล่าวว่า ปัจจุบันมีเรือประมงพม่าออกทำการประมงในน่านน้ำพม่าไม่ต่ำกว่า 4,000 ลำ หากรวมกับกองเรือประมงไทยและของชาติอื่นๆทั้งหมดที่อยู่ในน่านน้ำพม่าไม่น่าจะต่ำกว่า 5,000 ลำ ซึ่งถือเป็นจำนวนที่มากพอสมควร ดังนั้นหากจะมีจำนวนเรือประมงที่จะเข้าไปจับปลาในน่านน้ำพม่าเพิ่มขึ้นอีกนั้น ตนมองว่าควรจะศึกษาข้อมูลในละเอียดถึงจำนวน และความเหมาะสม รวมถึงการเจรจากับรัฐบาลพม่าถึงความเป็นไปได้ในการขยายเขตพื้นที่สัมปทาน เพราะหากมีเขตพื้นที่จำกัด แต่มีเรือประมงมากอีกไม่นานปลาก็จะหมด ซึ่งจะส่งผลเสียตามมาในอนาคต ส่วนน่านน้ำในประเทศอื่นๆที่น่าสนใจและทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องน่าจะเข้ามาช่วยเพื่อหาช่องทางที่จะขยายเข้าไปคือเขตน่านน้ำของอินเดีย ซึ่งขณะนี้มีเรือประมงจากระนองเข้าไปทำประมงประมาณ 20 ลำ ทราบว่าผลตอบรับดีมาก แต่ติดขัดเรื่องกฎระเบียบต่างๆ ที่ต้องใช้วิธีการหลบเลี่ยงจึงจะทำประมงได้ แต่หากสามารถเข้าไปได้อย่างถูกต้อง เปิดเผยตนมองว่าจะเป็นโอกาสที่ดีมากๆ http://breakingnews.nationchannel.co...?newsid=384685
__________________
Saaychol |
#8
|
||||
|
||||
ล้วงลึกขบวนการค้าแรงงานประมง เรื่องโดย : นายเอกลักษณ์ หลุ่มชมแข หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการค้ามนุษย์มูลนิธิกระจกเงา www.notforsale.in.th จำนวนตัวเลขผู้เสียหายกว่า60 กรณีที่แจ้งเข้ามาขอความช่วยเหลือยังศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการค้ามนุษย์ มูลนิธิกระจกเงา ทำให้พอมองเห็นภาพได้ว่า ปัญหาการล่อลวงและบังคับใช้แรงงานในภาคประมงนอกน่านน้ำ ยังเป็นปัญหาอาชญากรรมที่แก้ไม่ตก ถึงแม้ว่า วาระแห่งชาติเรื่องการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ จะถูกกล่าวอ้างจากหน่วยงานภาครัฐเสมอมา แต่ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในกรณีนี้กลับสวนทางกันอย่างสิ้นเชิง เมื่อเกิดสภาวะวิกฤติการขาดแคลนแรงงานภาคประมงคู่ขนานมากับปัญหาคนในชนบท ตกงานและต้องเคลื่อนย้ายถิ่นฐานเข้ามาหางานทำในเมืองหลวง ขบวนการค้ามนุษย์ที่แอบแฝงอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ จึงอาศัยจังหวะนี้ ลงมือ ล่อลวงพา เหยื่อ ไปขายให้กับเรือประมงอีกทอดหนึ่ง ขบวนการค้ามนุษย์เหล่านี้มีโครงสร้างอย่างไร และเหตุใดการค้าคนในลักษณะนี้ จึงยังดำรงอยู่ ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการค้ามนุษย์มูลนิธิกระจกเงามีคำตอบในเรื่องนี้ ใบสั่งจากเรือประมง ถึงแม้ว่าปัจจุบันปัญหาพิษทางเศรษฐกิจจะรุมเร้าภาคอุตสาหกรรมทำให้เกิดภาวะการว่างงานจำนวนมาก แต่ในขณะเดียวกันสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้ประกาศเมื่อปลายปีที่แล้วว่า อุตสาหกรรมประมงทะเลและอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากประมงทะเลยังคงขาดแคลนแรงงานเป็นจำนวนมาก ดังนั้น เรือประมงที่กำลังออกจากท่าเรือไปหาปลาในน่านน้ำต่างประเทศ ยังต้องการแรงงานเพื่อให้ครบตามตำแหน่งงานก่อนออกเรือ ซึ่งเรือประมงส่วนใหญ่จะใช้แรงงานประมาณ 10-40 คน ขึ้นอยู่กับขนาดของเรือ ปัญหาเรื่องการค้าแรงงานประมง จะอยู่ตรงที่ ผู้ประกอบการบางราย ได้จ้างเหมาให้ ผู้ควบคุมเรือประมง (ไต๋ก๋ง) เป็นผู้บริหารจัดการแรงงานและส่วนแบ่งจากการจับปลา เป็นผลให้ ผู้ควบคุมเรือประมงต้องทำทุกวิถีทางให้มีแรงงานประมงครบตามจำนวนก่อนเรือออกเดินทาง ใบสั่งแรงงาน จึงเกิดขึ้นและส่งไปถึง นายหน้าค้าแรงงานประมง เพื่อบอกจำนวนแรงงานที่ต้องการและวันที่เรือต้องออกเดินทาง วิธีการสั่งแรงงานจะอยู่ในรูปของการโทรศัพท์ติดต่อระหว่างผู้ควบคุมเรือกับนายหน้าค้าแรงงาน ซึ่งนายหน้าค้าแรงงานจะมีขบวนการหลายทอดหลายต่อเริ่มตั้งแต่ นายหน้านกต่อ นายหน้าพักแรงงาน และนายหน้าท่าเรือ นายหน้านกต่อ นายหน้านกต่อ เป็นนายหน้าค้าคนลำดับแรก ที่จะหลอกล่อเหยื่อให้ติดกับ โดยนายหน้าเหล่านี้จะแฝงตัวอยู่ตามสถานที่ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 5 พื้นที่เสี่ยงในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ บริเวณสถานีขนส่งหมอชิต สถานีรถไฟหัวลำโพง บริเวณสนามหลวง บริเวณวงเวียนใหญ่ และสวนสาธารณะรมณีนาถ นายหน้าเหล่านี้เป็นมิจฉาชีพที่แฝงตัวอยู่ตามสถานที่ดังกล่าวมานานจนคนในย่านนั้นต่างคุ้นหน้าเป็นอย่างดีว่า หากินแถวนี้ แต่ก็เป็นที่น่าแปลกใจอย่างยิ่งที่กลุ่มนายหน้าค้าคนเหล่านี้ กลับไม่อยู่ในบัญชีประวัติอาชญากร หรือ บุคคลเฝ้าระวัง ของตำรวจในพื้นที่นั้นๆ แต่อย่างใด นายหน้ากลุ่มนี้มีทั้งเพศชายและเพศหญิง อายุตั้งแต่คนวัยทำงานยันคนแก่ มีวาทศิลป์และจิตวิทยาเป็นเลิศ มีความอดทนใช้เวลาในการหว่านล้อมและมีเทคนิคแพรวพราว ทั้งพูดจาภาษาถิ่นเดียวกัน เสนอเงื่อนไขและลักษณะงานที่น่าสนใจ บางกรณีอาจจะมีการเลี้ยงอาหารหรือสุราแก่เหยื่อด้วย ซึ่งกลุ่มนายหน้าเหล่านี้ดูภายนอกท่าทางภูมิฐานและน่าเชื่อถือ นายหน้าเหล่านี้มีทั้งแบบ FULL TIME และ PART TIME คือแบบพวกหาเหยื่ออย่างเดียว และแบบมีอาชีพประจำเพื่อบังหน้า เช่น จักรยานยนต์รับจ้าง และคนขับแท็กซี่ โดยปกตินายหน้ากลุ่มหนึ่งจะมีหลายคนกระจายตัวกันไป เวลาหาเหยื่อจะลงมือทำงานเพียงคนเดียวต่อเหยื่อหนึ่งราย จะไม่ใช้กำลังบังคับหรือประทุษร้าย แต่จะใช้คำโฆษณาชวนเชื่อจนเหยื่อติดกับแล้วเดินตามไปเอง ซึ่งกลุ่มคนพวกนี้มักจะอ้างตอนถูกจับกุม ว่าเป็นความสมัครใจของผู้เสียหายเอง จึงทำให้หลายครั้งที่มีการแจ้งเบาะแสไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ไปตรวจสอบกลุ่มนายหน้าที่เดินเร่หาเหยื่อ พวกนี้จึงถูกดำเนินคดีแค่ฐานสร้างความเดือดร้อนรำคาญในที่สาธารณะ โทษปรับแค่ 500 บาท !!!! นายหน้าพักแรงงาน นายหน้าพักแรงงาน จะเป็นนายหน้าลำดับที่สอง ที่รับช่วงต่อจาก นายหน้านกต่อ โดยเมื่อล่อลวงแรงงานมาจากสถานที่ต่างๆ ได้แล้ว นายหน้านกต่อจะนำเหยื่อมา ขาย ให้กับนายหน้าพักแรงงานในราคา 1,000-3,000 บาทต่อราย จากนั้นภารกิจของนายหน้านกต่อเป็นอันเสร็จสิ้น นายหน้าพักแรงงาน จะมีบ้านพักเหยื่อ เพื่อรอให้ได้แรงงานตาม ออเดอร์ ก่อนส่งไปตามท่าเรือประมงต่างๆ โดยในพื้นที่กรงุเทพฯและใกล้เคียงมีพิกัดบ้านพักแรงงาน ดังนี้ ชุมชนหลังวัดดงมูลเหล็ก , ชุมชนกิโลเมตรที่ 11 (หลังสวนรถไฟ) , ชุมชนท้ายบ้าน ปากน้ำ , และในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร กรณีตัวอย่างของนายหน้าพักแรงงาน ที่จังหวัดสมุทรสาคร มีขาใหญ่ อยู่ 2 ราย อักษรย่อ ป๋า พ. และ เจ๊ ต. กลุ่มนายหน้าเหล่านี้จะเช่าบ้านไว้พักเหยื่อตามจุดต่างๆ ในสมุทรสาคร มีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนบ้านไปเรื่อยๆ ภายในบ้านจะมีลูกน้องเป็นชายฉกรรจ์พร้อมอาวุธคอยควบคุมเหยื่ออยู่อีกชั้นหนึ่ง บ้านพักแรงงานของ เจ๊ ต. เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจมาก เนื่องจากอยู่ไม่ไกลจากสถานีตำรวจเมืองสมุทรสาคร และภูธรจังหวัดสมุทรสาคร โดยบ้านพักแรงงานของเจ๊ ต เป็นบ้านเดี่ยวขนาดใหญ่ มีรั้วล้อมขอบชิด และเดินลวดหนามไว้รอบบ้าน ภายในมีชายฉกรรจ์อยู่หลายคน บ้านหลังนี้มีทางเข้าออกทะลุได้หลายช่องทาง และมีลูกน้องของเจ๊ ต. ซึ่งเป็น วินมอเตอร์ไซค์รับจ้างดักอยู่ทุกทางเข้าออก ทำให้เจ๊ ต. จะทราบความเคลื่อนไหวของคนนอกหรือเจ้าหน้าที่ ซึ่งแปลกปลอมเข้าไปในพื้นที่!!! ซึ่งจากสายข่าวของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการค้ามนุษย์ มูลนิธิกระจกเงา ทราบว่า จะมี รถแท็กซี่ขาประจำ นำเหยื่อมาส่งที่บ้านหลังนี้เกือบทุกวันในช่วงเวลา ตี 3 ถึง 6 โมงเช้า โดยมีเหยื่อโดนหลอกมาครั้งละ 1-3 ราย เมื่อได้รับออเดอร์จากนายหน้าท่าเรือประมง นายหน้ากลุ่มนี้จะนำเหยื่อขึ้นรถกระบะ หรือรถสาธารณะ ไปส่งในพื้นที่สมุทรปราการ สมุทรสาคร และสงขลา อีกทอดหนึ่ง พฤติกรรมอันอุจอาจของนายหน้ากลุ่มนี้ที่ยังลอยนวลอยู่ได้ ถึงแม้จะมีผู้เสียหายถูกกักขังอยู่ในบ้านก็ตาม เพราะเมื่อเจ้าหน้าที่เข้าทำการตรวจค้น เหยื่อหลายรายซึ่งต้องเป็นพยานก็ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองถูกหลอก เพราะนึกแต่เพียงว่ากำลังรอไปทำงาน ประกอบกับในทางกฏหมายมองว่ายังไม่ได้นำผู้เสียหายไปทำงาน จึงยังไม่มีการแสวงหาผลประโยชน์ ดังนั้น จึงยังไม่ครบองค์ประกอบของการ ค้ามนุษย์ !!! นายหน้าท่าเรือ นายหน้าท่าเรือจะเป็นนายหน้าลำดับสุดท้าย ที่รับเหยื่อต่อมาจากนายหน้าพักแรงงาน โดยนายหน้าท่าเรือจะจ่ายเงิน ค่าหัว แรงงานในอัตรา 5,000-20,000 บาทต่อราย ให้กับนายหน้าพักแรงงาน จากนั้น นายหน้าท่าเรือ อาจจะนำเหยื่อขึ้นเรือประมงทันที หรือถ้าเรือยังไม่ออก ก็จะพาเหยื่อไปพักยังห้องเช่า ซึ่งอยู่ใกล้กับบริเวณท่าเรือประมง ซึ่งเมื่อนายหน้าท่าเรือนำเหยื่อไปขายให้กับผู้ควบคุมเรือแล้ว จะได้ ค่าหัว ตั้งแต่ 10,000-30,000 บาทต่อคนเลยทีเดียว ดังนั้น เมื่อผู้ควบคุมเรือได้จ่ายเงินเป็นค่าหัวของแรงงานเหล่านั้นให้กับนายหน้าแล้ว ย่อมหมายความว่า แรงงานประมงเหล่า ต้องทำงานฟรี หรือได้รับเงินที่ต่ำกว่าความเป็นจริงมากๆ นายหน้าท่าเรือประมง จะอยู่ตามพื้นที่ท่าเรือประมงต่างๆ ในจังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร และสงขลา คอยรับใบสั่งจากผู้ควบคุมเรือว่าต้องการแรงงานจำนวนเท่าใด และกำหนดวันที่เรือต้องออกเดินทางเพื่อมาส่งแรงงานให้ทันตามกำหนด ซึ่งในวงการจะทราบกันเป็นอย่างดีว่าใครเป็นคนทำธุรกิจมืดนี้บ้าง นายหน้าประเภทนี้ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่เคยเป็นผู้ควบคุมเรือหรือเคยทำงานบนเรือประมงมาก่อน แล้วผันตัวเองเข้าสู่ธุรกิจมืดนี้ จึงทำให้รู้จักกับผู้ควบคุมเรือประมงลำต่างๆ เป็นอย่างดี นายหน้าท่าเรือที่รัฐควรจับตามอง มีอยู่ 2 คนที่น่าสนใจ ได้แก่ นาย ต. เป็นนายหน้าอยู่ที่สมุทรปราการ และ นาย ช. เป็นนายหน้าอยู่ที่จังหวัดสงขลา ทั้งสองคนนี้มีพฤติกรรมในการเป็นนายหน้ามาเป็นเวลานาน เคยถูกจับกุมดำเนินคดี แต่ก็รอดไปได้ เนื่องจากขั้นตอนกระบวนการยุติธรรมของไทยใช้เวลาค่อนข้างนานกว่าจะถึงการพิจารณาในชั้นศาล ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่สามารถติดตามผู้เสียหายมาขึ้นศาลได้ เนื่องจากผู้เสียหายมักประกอบอาชีพรับจ้างไม่เป็นหลักแหล่ง ประกอบกับพนักงานอัยการไม่ได้ร้องขอให้สืบพยานล่วงหน้าไว้ก่อน ดังนั้น คดีค้ามนุษย์แรงงานประมงส่วนใหญ่จึงมักลงเอยด้วยการ ยกฟ้อง!!! นี่คงเป็นเพียงเศษเสี้ยวของปัญหาการค้ามนุษย์ในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้ามนุษย์ในรูปแบบค้าแรงงานประมงนั้น ยังคงเป็นเรื่องที่อยู่ในมุมมืด เนื่องจากมีกลุ่มอิทธิพลและเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง การทำมาหากินบนชีวิตของเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเป็นเรื่องที่โหดร้ายทารุณ หน่วยงานรัฐจึงอย่าปิดหูปิดตาต่อปัญหาที่เกิดขึ้น หากมีกลุ่มอิทธิพลและการเมืองเข้าไปเกี่ยวข้องก็จำเป็นต้องแก้ด้วยการเมืองเช่นเดียวกัน คงถึงเวลาแล้วที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ต้องขยับทำงานมากกว่าการแจกเงินสงเคราะห์และถุงยังชีพเสียที... ข้อมูลจาก................http://www.thaihealth.or.th/node/7733
__________________
Saaychol |
#9
|
||||
|
||||
แนวหน้า
เกษตรเร่งสร้างความเข้าใจกฎเหล็ก"อียู" ตีกรอบนำเข้าสินค้า-สกัดทำประมงผิดกม. นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เตรียมความพร้อมในการปฏิบัติตามกฎระเบียบฉบับใหม่ของสหภาพยุโรปว่าด้วยการป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม หรือ iuu ซึ่งกำหนดให้การค้าสินค้าสัตว์น้ำที่จะส่งไปขายยังสหภาพยุโรปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ต้องมีใบรับรองการจับสัตว์น้ำกำกับด้วยทุกครั้ง เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ประมงเหล่านั้นว่า ได้ปฏิบัติตามระเบียบการต่อต้านการทำประมงแบบ iuu หรือไม่ ดังนั้น กระทรวงเกษตรฯ จึงเร่งประชาสัมพันธ์รายละเอียดและข้อปฏิบัติของกฎระเบียบ iuu ให้ทุกภาคส่วนทราบผ่านการสัมมนาใน 5 พื้นที่ ซึ่งครอบคลุมเขตการทำประมงทะเลของประเทศไทย ได้แก่ สงขลา สมุทรสาคร สุราษฎร์ธานี กระบี่ และระยอง ซึ่งเชื่อมั่นว่า หากร่วมมือกันศึกษาและปฏิบัติอย่างจริงจัง ทันต่อเวลาที่สหภาพยุโรปกำหนดที่กำลังจะมาถึงในอีก 6 เดือนข้างหน้า การส่งออกสินค้าประมงไทยไปยังสหภาพยุโรปภายใต้กฎระเบียบดังกล่าวจะเป็นโอกาสดีมากกว่าวิกฤติอย่างแน่นอน นอกจากนี้ ยังจะร่วมมือกับผู้ประกอบการธุรกิจประมง ชาวประมงพื้นบ้าน ชาวประมงพาณิชย์ แพปลา และผู้ประกอบการโรงงาน ทดสอบระบบปฏิบัติการตามขั้นตอนของกฎระเบียบ iuu โดยทดลองดำเนินการให้มีความใกล้เคียงกับสถานการณ์ที่ต้องปฏิบัติจริงตั้งแต่ขั้นตอนแรก จนถึงขั้นตอนสุดท้าย เพื่อให้ทราบปัญหาอุปสรรคและเร่งนำมาปรับปรุงแก้ไขให้ไม่มีข้อผิดพลาด และสร้างความคุ้นเคย อันจะส่งผลให้เกิดความคล่องตัว รวดเร็ว เมื่อถึงเวลาที่ต้องปฏิบัติจริงอีกด้วย
__________________
Saaychol |
#10
|
||||
|
||||
คม ชัด ลึก
ประมงเผยฉลามวาฬโดนใบพัดเรือนักท่องเที่ยว นายปราโมทย์ ชุ่มเชื้อ ประธานกลุ่มประมงบ้านอ่าวยาง กล่าวว่า ภายหลังข่าวการพบฉลามวาฬ 2 ตัว เผยแพร่ออกไป ทำให้เกิดเรือรับจ้างเพื่อให้บริการพากลุ่มชาวบ้านและนักท่องเที่ยวเข้าไปดูฉลามวาฬอย่างใกล้ชิด โดยเก็บครั้งละ 10 บาท หรือ 20 บาทต่อคน ขณะนี้พบว่ามีฉลามตัวใหญ่ได้รับบาดเจ็บจากการถูกใบพัดเรือแล้ว อาจส่งผลให้ฉลามวาฬไม่กลับมาที่นี่อีกก็เป็นได้ อย่างไรก็ดี ข้อควรระวังในการเข้าไปดูฉลามวาฬคือไม่ควรจับ ขี่ ไล่กวด หรือเข้าไปใกล้มากๆ โดยจะต้องเว้นระยะห่างจากตัวปลาไม่น้อยกว่า 4 เมตร สำหรับการตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังและช่วยเหลือสัตว์ทะเลหายากนั้น เป็นเรื่องที่ควรทำอย่างเร่งด่วน และเห็นด้วยที่ภาคเอกชนเสนอเข้ามาเป็นคนกลาง ซึ่งจะป็นการรักษาพันธุ์สัตว์ทะเลหายากเพื่อดูแลให้อยู่คู่ทะเล ด้านสมาชิกเครือข่ายฯ ในเบื้องต้นจะเป็นกลุ่มประมงหมู่ 3 บ้านอ่าวยางก่อน และวางแผนเชิญชวนทั้งพี่น้องชาวประมงบวกกับพี่น้องทั่วไป ที่อยากเป็นอาสามัครมาช่วยกันทำงานด้านนี้ นายลิขิต บุญสิทธิ์ หัวหน้าฝ่ายบริหารจัดการด้านการประมง สำนักงานโครงการจัดการประมงโดยชุมชนอ่าวบางสะพาน กล่าวว่า กลุ่มอาสาสมัครอนุรักษ์สัตว์น้ำบางสะพานซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของชาวประมง 9 กลุ่ม ตั้งแต่อ่าวบางสะพาน เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ยินดีให้ความร่วมมือจัดตั้งเครือข่ายฯ เพราะในพื้นที่จะพบสัตว์ทะเลหายากหลายชนิด ได้แก่ ฉลามวาฬ ปลาโลมา เต่าตนุ ซึ่งนับวันจะยิ่งหาดูได้ยากและใกล้สูญพันธุ์ หากมีการดูแลและร่วมมือกันโดยเฉพาะการนำกลุ่มประมงทุกกลุ่มรวมทั้งกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติในพื้นที่อำเภอบางสะพานเข้าร่วมเป็นพันธมิตร จะช่วยปกป้องและรักษาสัตว์ทะเลเหล่านี้ให้อยู่คู่ทะเลไทยและทะเลบางสะพานไปอีกนาน ส่วนภายหลังการพบฉลามวาฬในพื้นที่นั้น ทางกรมประมงได้ส่งเรือเข้าไปดูแลและเฝ้าตลอดเวลาตั้งแต่วันที่ 25 มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งจากการเฝ้าระวังจะเห็นนักท่องเที่ยวเข้ามาดูจำนวนมากแต่ยังไม่พบรายงานว่ามีเรือลำใดเข้าไปทำร้ายฉลามวาฬหรือไม่ จะมีเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาซึ่งพบนักท่องเที่ยววัยรุ่นเข้าไปดูด้วยคึกคะนอง ซึ่งได้ว่ากล่าวตักเตือนไป อย่างไรก็ตามช่วงนี้จะพบว่าภายหลังมีนักท่องเที่ยวเข้าไปดูจำนวนมากจึงทำให้ปลาฉลามวาฬไม่ค่อยได้ขึ้นมาให้เห็นเท่าไร จึงมีข้อสันนิษฐานได้หลายประการ เช่น การมีคนมาดูตลอดทั้งวัน เรือเข้าไปรบกวน ซึ่งกระทบวิถีชีวิต หรือข้อสันนิษฐานที่ว่าอาจโดนใบพัดเรือที่เข้ามาดูก็เป็นไปได้ นายสมศักดิ์ ศิวะไพบูลย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ท่าเรือประจวบ จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนี้ศูนย์บริหารจัดการและส่งเสริมสิ่งแวดล้อม เครือสหวิริยา ได้เข้าไปหารือเบื้องต้นกับสำนักงานโครงการจัดการประมง โดยชุมชนอ่าวบางสะพานและตัวแทนกลุ่มผู้ประกอบอาชีพประมงในพื้นที่ เรื่องการจัดตั้ง “เครือข่ายเฝ้าระวังและช่วยเหลือสัตว์ทะเลหายาก” หลังพบฉลามวาฬหลายครั้งทั้งในพื้นที่อำเภอบางสะพาน อำเภอทับสะแก และอำเภอหัวหิน โดยรูปแบบของการตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังฯ นั้น ศูนย์สิ่งแวดล้อมฯ เครือสหวิริยา จะทำหน้าที่เป็นส่วนกลางในการประสานงานให้กับส่วนราชการและกลุ่มประมงในพื้นที่ซึ่งจะตั้งเป็นหน่วยรับแจ้งเรื่องสัตว์ทะเลหายาก ทั้งวาฬ เต่า หรือโลมา โดยมีหน่วยงานจากศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนกลาง จังหวัดชุมพร เป็นหน่วยงานหลัก ในการเข้ามาดูแลร่วมกันและร่วมกันศึกษา เพื่อให้เฝ้าระวังและดูแลสัตว์ทะเลทุกชนิด
__________________
Saaychol |
|
|