เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 04-04-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 4 เมษายน 2563

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ใกล้สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 4 - 5 และ 8-9 เม. ย. 63 ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองและมีลมกระโชกแรง รวมทั้งอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ในบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง สำหรับภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น

ส่วนในช่วงวันที่ 6 - 9 เม. ย. 63 บริเวณประเทศไทยจะมีอากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในภาคเหนือและภาคกลาง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกยังคงมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงเกิดขึ้น สำหรับภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 4 - 5 และ 8 - 9 เม.ย. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระมัดระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง รวมถึงลูกเห็บตก โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 04-04-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยโพสต์


เรือประมงเคราะห์ร้ายเพิ่งขอใบอนุญาตได้เพียง 2 วันถูกเรือสินค้าชนอับปางอ่าวสัตหีบ ลูกเรือ 8 ชีวิตรอดตาย สูญ 20 ล.



3 เม.ย.63 - นายปรีชา เกษมธีระสมบูรณ์ ผู้ประกอบการเรือประมงศรีนพรัตน์ 11 เรืออวนลากแผ่นตะเฆ่ ขนาด 83 ตันกรอส ทะเบียน 3109-02396 เปิดเผยว่า ช่วงเวลาประมาณ 06.00 น. วันนี้ขณะเรือกำลังลอยลำอยู่ในทะเล พิกัดละติจูด 12.11.73 ลองติจูด 100.54.579 ได้ประสบเหตุถูกเรือสินค้าชื่อ sun flura ตัวลำสีส้มที่กำลังมุ่งเข้าฝั่ง ชนกลางลำอย่างจังขาดสองท่อน จมลงในทะเลทันที ก่อนหลบหนี ส่วนลูกเรือ 8 ชีวิต มีเรือประมงใกล้เคียงเข้าช่วยเหลือไว้ได้อย่างปลอดภัย นำขึ้นฝั่งท่าโชครัตนปรีดา ต.แสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี รวมมูลค่าความเสียหายไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาท

เบื้องต้น นายพิชัย แซ่ซิ้ม นายกสมาคมประมงจังหวัดสมุทรปราการ ได้เข้าช่วยเหลือโดยประสานไปยัง ศรชล.เขต 1 เพื่ออำนวยความสะดวกด้านฝ่ายกฎหมาย เข้าแจ้งความร้องทุกข์ที่ สภ.สัตหีบ ซึ่งทางตำรวจได้เตรียมประสานกรมเจ้าท่า เพื่อระงับเรือสินค้าที่ได้ถูกกล่าวอ้าง ตรวจสอบหาข้อเท็จจริง

ทั้งนี้ เรือประมงศรีนพรัตน์ 11 ได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้อง เมื่อวันที่ 1 เม.ย.63 ที่ผ่านมาก ผ่านไปเพียง 2 วัน ก็ต้องมาประสบเคราะห์ร้าย ท่ามกลางวิกฤตเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งขอแสดงความเสียใจกับผู้ประกอบการ อย่างไรก็ตาม จะเร่งติดตามการดำเนินการทางกฎหมาย ซึ่งหากเรือสินค้าผิดจริงก็จะต้องให้มารับผิดชอบอย่างแน่นอน


https://www.thaipost.net/main/detail/61935

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 04-04-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก GREENPEACE


ไฟป่าอนุรักษ์ : ผลพวงของนโยบายที่ผิดพลาดและสัญญานเตือนของของภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศ ................. โดย ธารา บัวคำศรี


ไฟเผาผลาญพื้นที่ป่าอนุรักษ์

ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2563 เป็นต้นมา เกิดปรากฏการณ์ไฟรุนแรงในพื้นที่ป่าหลายแห่ง เริ่มจาก อุทยานแห่งชาติภูกระดึง จ.เลย ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ส่งผลให้เกิดความเสียหายในพื้นที่ป่าสนเขาเป็นวงกว้าง การวิเคราะห์จากภาพถ่ายดาวเทียมพบว่า พื้นที่ป่าสนเขาถูกเผาไหม้ประมาณ 3,700 ไร่ กระจายทั้งทางด้านทิศตะวันตก ทิศเหนือและทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอุทยานฯ (ทางตอนใต้ของผาเมษาและผาหมากดูก) ซึ่งเป็นรอยต่อกับพื้นที่การเกษตร ต่อมาในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ไฟป่าบนเทือกเขาบรรทัดซึ่งเผาผลาญพื้นที่ราว 5,600 ไร่ตามแนวตะเข็บชายแดนไทย-กัมพูชาส่งผลให้หลายพื้นที่ในจังหวัดตราดและพื้นที่ใกล้เคียง ถูกปกคลุมด้วยมลพิษทางอากาศจากไฟป่า รวมถึงจากการวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียม ในเขตกันชนรอบอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทับลาน และอุทยานแห่งชาติปางสีดา มีพื้นที่ที่ได้ผลกระทบจากการเผาไหม้วันที่ 21?26 กุมภาพันธ์ 2563 รวมทั้งสิ้น 102,600 ไร่

ล่าสุด เกิดไฟป่ารุกหนักในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย การวิเคราะห์ภาพจากดาวเทียม Sentinel-2 ในวันที่ 25-30 มีนาคม ชี้ให้เห็นพื้นที่เสียหายจากไฟป่าเป็นบริเวณรวมกันมากกว่า 8,600 ไร่ ส่งผลให้หลายพื้นที่ในจังหวัดเชียงใหม่และใกล้เคียงถูกปกคลุมไปด้วยกลุ่มควันไฟที่เกิดขึ้นจากไฟป่า และเชียงใหม่ขึ้นแท่นเป็นเมืองที่มลพิษทางอากาศสูงที่สุดในโลกในช่วงเวลาดังกล่าว


ภาพถ่ายไฟป่าบริเวณดอยสุเทพของคืนวันที่ 29 มีนาคม ? โดรนอาสา

การรายงานสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันจากปี พ.ศ.2528-2562 พบว่า พื้นที่ป่าอนุรักษ์ในเขตภาคเหนือตอนบนมีพื้นที่เผาไหม้ (burnt scar) ที่เป็นผลพวงจากไฟป่าเป็นจำนวนหลายล้านไร่ทุก ๆ ปี




อุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ? พื้นที่เสี่ยงต่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศ

ผืนป่าเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสรรพชีวิต ป่าให้ความชื้น ความร่มเย็นและถ่ายเทออกซิเจน รวมถึงรักษาสมดุล วัฏจักรคาร์บอน ต้นไม้ช่วยกันลมและกันแดด ต้นไม้หยั่งรากลงบนผืนดิน ดูดซับและชะลอการไหลของน้ำ ป่าไม้เป็นแหล่งอาหาร ยารักษาโรค เชื้อเพลิงและวัสดุก่อสร้างที่มนุษย์นำมาใช้เพื่อดำรงชีวิต

พื้นที่เสี่ยงต่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศ (Climate Change Hotspot) หมายถึงบริเวณที่จะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วอันเป็นมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากเป็นบริเวณที่อุณหภูมิและปริมาณน้ำฝนเปลี่ยนแปลงอย่างมาก จนอาจทำให้ระบบนิเวศของผืนป่าในบริเวณนั้นเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

ในทางนิเวศวิทยา ไฟป่าเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศที่สมดุลในตัวเอง ป่าแห้ง ป่าไหม้ ป่ากลับฟื้นตัว เป็นวงจรปกติเช่นนี้เรื่อยไป อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่ พ.ศ.2423 มาจนถึงปัจจุบัน อุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกเพิ่มขึ้น 1.09 องศาเซลเซียส(เทียบกับยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม) โดยมีปีที่ร้อนที่สุดเท่าที่มีการบันทึกเกิดขึ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และฤดูกาลไฟป่ายาวนานขึ้นทั่วทั้ง 1 ใน 4 ของพื้นผิวโลกที่มีพืชพรรณปกคลุม การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศไม่ว่าจะเป็น อุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน ระยะเวลาที่ได้รับฝนและความแห้งแล้งต่างส่งผลกระทบต่อการพัฒนา เติบโตและขยายพันธุ์ของพืช การศึกษาพบว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะทำให้ระบบนิเวศป่าไม้ เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรในบางพื้นที่รวมถึงป่าเขตร้อน

การใช้แบบจำลองสภาพภูมิอากาศ(Climate Model)ศึกษาการแพร่กระจายของระบบนิเวศป่าไม้เป็น ครั้งแรกในประเทศไทยภายใต้การจำลองสภาพภูมิอากาศที่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มเป็นสองเท่า ในชั้นบรรยากาศในปี พ.ศ.2539 และการศึกษาเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือในปี พ.ศ.2551 พบว่าป่าในประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปสู่สภาพป่าที่แห้งแล้งขึ้นในแทบทุกพื้นที่ ป่าไม้ในพื้นที่เหล่านี้อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงชนิดเนื่องจากสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่เคยอยู่อาศัยในพื้นที่นั้นมาก่อนไม่สามารถปรับตัวให้อยู่รอดในสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้และระบุว่า อุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าประมาณ 32 แห่งในประเทศไทยจะตกอยู่ในความเสี่ยงจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ


ที่มา: รายงาน "การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและประเทศไทย : วิกฤตหรือโอกาส"





ท้องถิ่นจัดการตนเอง : ทางออกจากวิกฤต

การปะทุอย่างรุนแรงของไฟป่าในพื้นที่อนุรักษ์นั้นแยกไม่ออกจากการดำเนินงานตามนโยบายป่าไม้แห่งชาติ และความลักลั่นของแผนปฏิบัติการต่างๆ เช่น แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง เป็นต้น ที่มีลักษณะสั่งการจากบนลงล่างและละเลยองค์ความรู้และศักยภาพในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่น

ป่าไม้เป็นระบบนิเวศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดบนผืนแผ่นดิน ทั่วโลก ประมาณว่ามีผู้คนกว่า 1.6 พันล้านคน รวมถึงกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 2,000 กลุ่มวัฒนธรรมทั่วโลกนั้นมีวิถีชีวิตที่พึ่งพาป่าไม้โดยตรง ในประเทศไทย มีชุมชนที่พึ่งพาผืนป่าในรูปแบบป่าชุมชนอันเป็นวิถีปฏิบัติ การจัดการทรัพยากร และแนวทางในการรักษาพื้นที่ป่าและระบบนิเวศป่าไม้โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมอยู่ราว 2 ล้านครัวเรือน รวมเนื้อที่ป่าชุมชนทั้งในเขตป่าอนุรักษ์และป่าสงวนแห่งชาติราว 3 ล้านไร่

การที่มลพิษทางอากาศโดยเฉพาะอย่างยิ่ง PM2.5 จากไฟป่ากลายเป็นส่วนหนึ่ง ของวิกฤตด้านสาธารณสุขที่ซ้อนทับลงไปบนความขัดแย้งที่ลงลึกในทุกมิติและทุกระดับของสังคม จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีกลไกจัดการความขัดแย้งและปฏิบัติการบนพื้นฐานของความร่วมมือ มองผลประโยชน์สาธารณะเป็นที่ตั้ง และที่สำคัญคือการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นจัดการตนเอง

การที่ผืนป่าหลายแห่งของประเทศไทยมีความเสี่ยงสูงต่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกเพื่อสร้างความมั่นคงและเข้มแข็ง(Resilience)ของ ชุมชน แทนการกีดกันโดยใช้อำนาจรัฐ เช่น การปิดป่า 100% เพื่อดับไฟป่า เป็นต้น นโยบายป่าไม้แห่งชาติต้องเปิดกว้างต่อศักยภาพของชุมชนท้องถิ่นในการรับมือและปรับตัวต่อความสุดขั้วของสภาพภูมิอากาศในอนาคตบนรากฐานของความเป็นธรรมและเคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์


https://www.greenpeace.org/thailand/...e-in-thailand/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 19:25


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger