เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 10-06-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 10 มิถุนายน 2563

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ด้านตะวันตกของประเทศไทย ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมอ่าวเบงกอลตอนบน ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยในบริเวณดังกล่าว ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่เสี่ยงภัยไว้ด้วย

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมามีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง จนถึงวันที่ 10 มิ.ย. 63


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

เมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 9 - 10 มิ.ย. 63 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ประกอบกับหย่อมความกด อากาศต่ำปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนบน ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ด้านตะวันตกของประเทศไทย ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนตกต่อเนื่องกับมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 15 มิ.ย. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกและภาคใต้ ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันจะมีกำลังอ่อนลง


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 9 - 10 มิ.ย. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสม ซึ่งอาจจะเกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่เสี่ยงภัยได้ สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือและหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 10-06-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


ยานดำน้ำไร้คนขับ ไห่โต้ว-1 ทำสถิติดำน้ำลึก 10,907 เมตรที่ร่องลึกมาเรียนา


เครดิตภาพ จาก สถาบันระบบอัตโนมัติเสิ่นหยาง ประเทศจีน

ยานดำน้ำไร้มนุษย์ ไห่โต้ว-1 ของจีนสามารถทำสถิติการดำน้ำลึกใต้ท้องทะเลครั้งใหม่ของประเทศจีน ณ ความลึก 10,907 เมตร บริเวณชาเลนเจอร์ ดีป ของร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา กลางมหาสมุทรแปซิฟิก

เมื่อวันที่ 9 มิ.ย.63 สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า ยานดำน้ำไร้มนุษย์ ไห่โต้ว-1 (Haidou-1) ของจีน สามารถสร้างสถิติการดำน้ำลึกใต้ท้องทะเลครั้งใหม่ของประเทศ ณ ความลึก 10,907 เมตร บริเวณร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา (Mariana Trench) ที่อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก

สมาชิกทีมสำรวจจากสถาบันระบบอัตโนมัติเสิ่นหยาง สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน กล่าวว่ายานสำรวจไห่โต้ว-1 ได้ดำน้ำลึกเกิน 10,000 เมตร 4 ครั้ง ณ จุดชาเลนเจอร์ ดีป (Challenger Deep) ของร่องลึกฯ



อนึ่ง ทีมสำรวจข้างต้นออกเดินทางเมื่อวันที่ 23 เม.ย.63 และกลับสู่มณฑลเหลียวหนิงทางจีนตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันจันทร์ที่ (8 มิ.ย.) ที่ผ่านมา คณะนักวิจัยได้ทดสอบการตรวจจับความลึกแบบแม่นยำสูง การทำงานของแขนกล การตรวจจับและการระบุตำแหน่งของเสียง และการส่งผ่านคลิปวิดีโอความละเอียดสูง ขณะปฏิบัติการดำน้ำลึกใต้ทะเล นอกจากนั้นไห่โต้ว-1 ยังเก็บรวบรวมตัวอย่างจากใต้ทะเลลึก และบันทึกภาพความละเอียดสูงของสภาพแวดล้อมทางธรณีวิทยาด้วย

ทั้งนี้ วิคเตอร์ เวสโคโว นักสำรวจ และนักลงทุนชาวอเมริกัน จากรัฐเทกซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ครองสถิติขับเรือดำน้ำ DSV Limiting Factor ลงไปยังจุดที่ลึกที่สุดในโลก เมื่อปี 2019 บริเวณชาเลนเจอร์ ดีป ของร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) ที่สถิติความลึก 10,925 เมตร และเป็นการดำน้ำสำรวจโดยมนุษย์ครั้งที่ 2.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/1864489

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 10-06-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


"เกาะแสมสาร" ทดลองเปิดท่องเที่ยว 13-14 มิ.ย.นี้ จองผ่านออนไลน์-ไม่เกิน 300 คน/วัน



เกาะแสมสาร สถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังใกล้กรุงฯ กำหนดทดลองเปิดให้บริการท่องเที่ยวในวันที่ 13-14 มิ.ย. นี้ ในรูปแบบ New Normal จำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวไม่เกินวันละ 300 คน และต้องจองผ่านระบบออนไลน์เท่านั้น โดยเปิดให้จองตั๋วในวันที่ 10-11 มิ.ย. เวลา 09.00 -14.00 น. ที่ https://www.facebook.com/KohSamaesarn/

วันนี้หลังรัฐบาลคลายล็อกเปิดให้ประชาชนสามารถการเดินทางท่องเที่ยวข้ามจังหวัดได้ ส่งผลให้สถานที่ท่องเที่ยวหลาย ๆ แห่งต่างทยอยเปิดตัว อย่างเช่นล่าสุดกับ ?เกาะแสมสาร? สถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังใกล้กรุงฯ ที่มีกำหนดทดลองเปิดให้บริการท่องเที่ยวในวันที่ 13-14 มิ.ย. นี้ โดยทางเพจ เกาะแสมสาร ? เกาะแห่งการเรียนรู้ ได้โพสต์ข้อมูลการเปิดให้บริการและเงื่อนไขในการไปท่องเที่ยวเกาะแสมสาร ดังนี้



???????? สิ้นสุดการรอคอย ????????

"เกาะแสมสาร" เปิดทดลองให้บริการในวันที่ 13-14 มิถุนายน 2563 โดยผ่านระบบจองตั๋วออนไลน์เท่านั้น

ตามนโยบายการป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของรัฐบาลและกองทัพเรือ เพื่อความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยว เกาะแสมสารจึงมีความจำเป็นต้องจำกัดนักท่องเที่ยวในการเยี่ยมชมเกาะแสมสาร ไม่เกินวันละ 300 คน จึงได้ทำการทดลองเปิดให้บริการในวันที่ 13-14 มิถุนายน 2563

โดยนักท่องเที่ยวที่จะเข้าเยี่ยมชมเกาะแสมสาร ต้องทำการจองตั๋วผ่านระบบออนไลน์เท่านั้น ซึ่งจะทำการทดลองเปิดให้จองตั๋วออนไลน์ในวันที่ 10-11 มิถุนายน 2563 ตั้งแต่เวลา 09.00 -14.00 น.
????????????????????????????????????
นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปจองตั๋วออนไลน์ได้ที่ https://www.facebook.com/KohSamaesarn/
????????????????????????????????????

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทรศัพท์
?? 038-432471
?? 038-432473
?? 038-432475

***หมายเหตุ***
ยังไม่รับนักท่องเที่ยว Walk in นะคะ ด้วยความห่วงใยในความปลอดภัยด้านสุขภาพ เรายังคงต้องรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing)

เตรียมตัวจองตั๋วกันให้ดีๆ นะคะ (รับจำนวนจำกัด) เกาะแสมสารรอต้อนรับนักท่องเที่ยวอยู่จ้า....คิดถึงนักท่องเที่ยวแล้ว????????



เกาะแสมสาร ตั้งอยู่ที่ ต.แสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางทะเล ที่มีโลกใต้ทะเลเต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ และสวยงาม จนได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และต่างชาติ ในการดำน้ำดูปะการังใต้ทะเล โดยมีพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย บนเกาะแสมสารเป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ทางทะเลที่น่าสนใจ

นอกจากนี้เกาะแสมสารยังเป็นชุมชนประมง ที่มีร้านอาหารทะเลไว้คอยบริการนักท่องเที่ยว รวมทั้งยังมีที่พักและรีสอร์ตตามแนวชายหาด ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ แสมสาร เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ผู้คนนิยมเดินทางมาเที่ยวกันไม่ได้ขาด


https://mgronline.com/travel/detail/9630000059725

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 10-06-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


ชื่นชม 2 นักท่องเที่ยวเดินเก็บขยะชายหาดอ่าวนาง ขณะบรรยากาศยังเงียบเหงา

กระบี่ - ชื่นชม 2 นักท่องเที่ยวต่างชาติ เดินหิ้วกระสอบเก็บขยะตามชายหาดอ่าวนาง จ.กระบี่ ขณะที่สถานประกอบการ ย่านการค้าในหาดอ่าวนางเริ่มเปิดให้บริการแล้วบางส่วน แต่ยังไม่ค่อยมีลูกค้ามาใช้บริการ บรรยากาศยังคงเป็นไปอย่างเงียบเหงา



วันนี้ (9 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้โลกออนไลน์ต่างพากันชื่นชมและแชร์ต่อกันเป็นจำนวนมาก หลังเพจ ?กระบี่ทีวีออนไลน์? ได้มีการแชร์คลิปขนะที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 2 คน กำลังเดินหิ้วกระสอบใบใหญ่ตระเวนเก็บขยะที่บริเวณชายหาดอ่าวนาง แหล่งท่องเที่ยวชื่อดัง ต.อ่าวนาง อ.เมือง จ.กระบี่ โดยมีนักท่องเที่ยวคนไทยที่มาเที่ยวบริเวณดังกล่าวต่างก็ยืนมองด้วยความชื่นชมในความมีน้ำใจของนักท่องเที่ยวทั้ง 2 คนที่ไม่นิ่งดูดายในการช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมแหล่งท่องเที่ยว แม้จะไม่ใช่เป็นบ้านของตัวเองก็ตาม

ต่อมา ผู้สื่อข่าวได้เดินทางลงพื้นที่ชายหาดอ่าวนาง และหาดนพรัตน์ธารา แต่ก็ไม่พบกับนักท่องเที่ยวทั้ง 2 คนแต่อย่างใด ทั้งนี้จากการสอบถามชาวบ้านที่มาเที่ยวพักผ่อนชายหาดอ่าวนาง ทราบว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา พบเห็นนักท่องเที่ยวทั้ง 2 คนมักจะมาตระเวนเก็บขยะตามชายหาดอ่าวนาง เป็นประจำ แต่ในช่วง 2-3 วันนี้ไม่เห็นมาอีก คาดว่าทั้ง 2 คน คงจะเดินทางไปที่อื่นแล้ว

ขณะที่บรรยากาศบริเวณย่านการค้าบริเวณชายหาดอ่าวนาง ได้มีการเปิดให้บริการแล้วบางส่วน เช่น ร้านอาหาร ร้านขายเสื้อผ้า แต่พบว่ายังมีลูกค้ามาใช้บริการน้อย ไม่มีนักท่องเที่ยวเดินพลุกพล่านตามฟตุปาธเหมือนที่ผ่านมา บรรยากาศจึงเป็นไปอย่างเงียบเหงา


https://mgronline.com/south/detail/9630000059763


*********************************************************************************************************************************************************


ช่วยได้ไหม? ถ้าส่งคนไทยไปกำจัดหอยนางรมที่นอร์เวย์


อาสาสมัครในนอร์เวย์เข้าร่วมกิจกรรมเก็บหอยนางรมแปซิฟิกเพื่อทำความสะอาดชายหาดให้ปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว

จากปรากฏการณ์ "หอยนางรมแปซิฟิก" ที่บุกชายหาดในนอร์เวย์จนต้องเปิดรับอาสาสมัครกำจัดหอย คนไทยจำนวนไม่น้อยอยากอาสาไปช่วย นอกจากเป็นเรื่องขำขันแล้ว ในมุมของนักวิชาการคิดว่าเป็นไปได้หรือไม่ว่าการกินของคนไทยนั้นจะช่วยเก็บกวาดชายหาดนอร์เวย์ได้

เพจเฟซบุ๊ก "เรื่องแปล - ข่าวนอร์เวย์" ได้เผยแพร่ข่าวการแพร่ระบาดของหอยนางรมในนอร์เวย์ โดยปริมาณการบริโภคนั้นน้อยมากจนไม่สามารถกำจัดได้ทัน และให้ข้อมูลด้วยว่าหอยนางรมแปซิฟิกนั้นมีเปลือกที่คมเหมือนใบมีดโกน และยังระบาดจนต้องประกาศรับอาสาสมัครเพื่อช่วยทำความสะอาดชายหาดทุกปี ปีนี้ตั้งแต่เดือน มี.ค.พบหอยนางรมระบาดทางตอนใต้และตะวันตกของนอร์เวย์ และกำลังระบาดขึ้นไปทางเหนือ

ทั้งนี้ นางรมแปซิฟิกเป็นสิ่งมีชีวิตท้องถิ่นตามชายฝั่งแปซิฟิกในเอเชีย ชื่อสามัญอีกชื่อเป็นที่รู้จักกันว่าหอยนางรมญี่ปุ่น แต่หอยชนิดนี้เป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (introduced species) ในออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อเมริกาเหนือ และยุโรป ช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมในการปล่อยไข่และสเปิร์มเพื่อผสมพันธุ์คือ 20 องศาเซลเซียส โดยตัวเมียสามารถปล่อยได้มากตั้งแต่ 50-200 ล้านฟอง ส่วนตัวอ่อนจะอยู่ในรูปแพลงก์ตอนที่ถูกพัดพาไปตามกระแสน้ำ

ข่าวการระบาดของหอยนางรมแปซิฟิกในนอร์เวย์กลายเป็นหนึ่งในหัวข้อที่คนไทยร่วมวิพากษ์วิจารณ์ ส่วนหนึ่งแสดงความเห็นว่าอยากอาสาไปช่วยกำจัดพร้อมกับเครื่องเคียงสำหรับรับประทานหอยนางรมสดๆ อย่างใบกระถิน น้ำพริกเผา หอมเจียว รวมถึงน้ำจิ้มซีฟู้ด ขณะที่คนไทยในนอร์เวย์บางส่วนก็แบ่งปันประสบการณ์ร่วมเก็บหอยนางรมไปบริโภค ซึ่งเป็นที่น่าสนใจว่าการบริโภคของคนไทยนั้นจะช่วยแก้วิกฤตการระบาดของหอยนางรวมได้หรือไม่?

ในมุมของ ดร.อารมณ์ มุจรินทร์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ให้ความเห็นแก่ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ว่า เป็นไปได้ที่การกินของคนไทยจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ พร้อมยกตัวอย่างว่าเมื่อก่อนพบปลิงทะเลได้ทั่วไปตามชายหาดทะเลไทย แต่เมื่อมีนักท่องเที่ยวจีนและไต้หวันเข้ามาก็ได้สั่งไปบริโภค จนกระทั่งปัจจุบันเริ่มพบได้น้อย ซึ่งการจับไปบริโภคแบบประมงเกินขนาดก็ทำให้สัตว์น้ำหมดไปได้

อย่างไรก็ตาม การอาศัยคนบริโภคเพื่อจำกัดหอยนางรมในกรณีการระบาดที่นอร์เวย์นั้น ต้องใช้คนจำนวนมากพอสมควร ซึ่งการเดินทางก็มีค่าใช้จ่ายที่แพงมากอาจจะไม่คุ้มค่า ทว่า ดร.อารมณ์ก็ให้แนวคิดอื่นเป็นทางเลือก เช่น การตั้งโรงงานผลิตซอสหอยนางรมหรือผลิตหอยนางรมอัดกระป๋อง

พร้อมกันนี้ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล อพวช.ซึ่งประสบการณ์ศึกษาระยะสั้นแถบสแกนดิเนเวีย ทั้งนอร์เวย์ สวีเดน รวมถึงกรีนแลนด์ ก็ตั้งข้อสังเกตถึง พฤติกรรมการบริโภคของชาวยุโรปว่า กินอาหารที่แปลกประหลาด เช่น เนื้อสัตว์ก็กินแค่เนื้อ ไม่กินเครื่องใน หรือต้นกุ้ยช่ายที่พบได้มาก ชาวยุโรปก็ไม่บริโภค

จากประสบการณ์ตรง ดร.อารมณ์เคยจับหอยแมลงภู่ซึ่งเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น
ในเดนมาร์กมารับประทาน หรือเมื่อครั้งออกไปสำรวจทรัพยากรทางทะเลที่นอร์เวย์ได้จับปูขึ้นมา เพื่อนๆ ในคณะเลือกกินแค่กล้ามปู ขณะที่เธอกินปูทั้งตัวอย่างเอร็ดอร่อย ซึ่งการใช้หลักการประมงเกินขนาดคือบริโภคให้มากกว่าความสามารถในการผลิตจากท้องทะเล ก็น่าจะลดจำนวนหอยนางรมลงได้ หรืออาจทำให้สูญพันธุ์ลงได้

ดร.อารมณ์ได้ตั้งข้อสังเกตว่า การระบาดของหอยนางรมแปซิฟิกในนอร์เวย์ยังเป็นสิ่งบ่งชี้ว่า มีการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ หรือภาวะโลกร้อนอย่างแน่นอน เพราะสำหรับสัตว์ทะเลนั้นอุณหภูมิที่เปลี่ยนไปเพียงเล็กน้อยก็มีผลต่อสัตว์น้ำค่อนข้างมาก หากอุณหภูมิเหมาะสม ความเค็มเหมาะสม ทำให้สามารถเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว

ดร.อารมณ์กล่าวอีกว่า หอยนางรมอาศัยการขยายพันธุ์แบบปฏิสนธิภายนอก คือ ปล่อยไข่และสเปิร์มออกมาผสมภายนอก ซึ่งไข่เหล่านี้ก็เป็นอาหารของสัตว์น้ำอื่นๆ ด้วย จึงต้องปล่อยไข่ออกมาในปริมาณมาก โดยในจำนวนไข่ 100 ฟอง อาจเจริญเป็นตัวเต็มวัยได้เพียง 2-3 ฟอง ซึ่งการที่หอยนางรมระบาดนั้นนอกจากอาหารดี อุณหภูมิเหมาะสมแล้ว ก็แสดงว่าศัตรูตามธรรมชาติของหอยนางรมอาจจะน้อยลงด้วย


เมนูหอยนางรมสด ที่หลายคนโปรดปราน (REUTERS/Antonio Bronic)

ทางด้าน รศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ รองกรรมการผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาฯ และอาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า การระบาดของหอยนางรมแปซิฟิกซึ่งควรจะอยู่ในแถบเส้นศูนย์สูตรขึ้นไปถึงเขตหนาวนั้น น่าจะมีสาเหตุจากการพาไปโดยมนุษย์จนกลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น มากกว่าจะเกิดจากการระบาดเนื่องจากการแพร่พันธุ์ตามธรรมชาติของหอยเอง และสันนิษฐานว่าการระบาดน่าจะเกิดจากตัวอ่อนที่ถูกพาไปอย่างไม่ตั้งใจโดยมนุษย์ หรืออาจเป็นหอยตัวเต็มวัยที่เกาะไปกับเรือ

รศ.ดร.สุชนา ระบุว่า การบริโภคอาจจะช่วยควบคุมได้ แต่คงไม่เป็นวิธีการที่ดีเท่าไรนัก เพราะตลอด 20 ปีที่ผ่านมาที่พบกรณีเหล่านี้ ยังไม่เคยเห็นกรณีใดที่สามารถกำจัดสิ่งมีชีวิตที่เป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นได้เลย เพราะหากสิ่งแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการระบาดของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นก็ยากที่จะกำจัดให้หมดไป ทางที่ดีเราควรป้องกันตั้งแต่ต้น ในกรณีของนอร์เวย์นั้นชาวท้องถิ่นอาจจะต้องปรับตัวแล้วหันมาบริโภคหอยนางรมกันให้มากขึ้น

สำหรับหอยนางรมแปซิฟิกในนอร์เวย์นี้ รศ.ดร.สุชนากล่าวว่า น่าจะแฝงตัวเข้าไปในท้องถิ่นนานแล้ว อาจจะอยู่ในรูปแพลงก์ตอน แล้วค่อยๆ โตจนกระทั่งเกิดการระบาดจนเห็นได้ชัด ซึ่งการที่สิ่งมีชีวิตต่างถิ่นเข้าไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เคยมีสิ่งมีชีวิตนั้น ย่อมส่งผลต่อสภาพแวดล้อมอย่างแน่นอน โดยออสเตรเลียเป็นประเทศหนึ่งที่ประสบปัญหาสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นก่อนหลายๆ ประเทศ จึงมีมาตรการห้ามนำสิ่งมีชีวิต ผัก ผลไม้ต่างๆ เข้าประเทศ

นอกจากหอยนางรมแปซิฟิกในนอร์เวย์แล้ว ยังมีปัญหาชนิดพันธุ์ต่างถิ่นอีกหลายชนิดทั่วโลก เช่น หอยแมลงภู่ของไทยไประบาดที่ฟลอริดา ปลาสิงโตซึ่งเป็นปลาเขตร้อนและหาได้ยากในไทย แต่กลับพบระบาดที่แคนาดาจากการหลุดรอดออกจากตู้ปลาสวยงาม หรือกุ้งขาวที่ไทยนำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจก็พบว่าหลุดรอดสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่ง รศ.ดร.สุชนาระบุว่า เราต้องหาทางป้องกันดีกว่าตามแก้ไขทีหลัง


https://mgronline.com/science/detail/9630000059920

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 10-06-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก GREENPEACE


การปกป้องสิ่งแวดล้อมคือการปกป้องชีวิตของพวกเรา .................. โดย Louisa Casson

สิ่งที่ช่วยให้เรามีคุณภาพชีวิตที่ดีคืออะไร? จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าที่ส่งผลกระทบต่อทุกคนบนโลกใบนี้ พวกเราได้แต่สงสัยว่า อะไรที่จะช่วยให้เราผ่านวิกฤตนี้ไปได้

สถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรน่าทำให้เกิดรูปแบบการใช้ชีวิตแบบใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เช่น คนต่อแถวยาว เว้นระยะห่างเพื่อซื้ออาหาร การใช้ช่องทางออนไลน์เพื่อติดต่อสื่อสารมากขึ้น (ทำให้ผู้สูงอายุก็ต้องหัดใช้เทคโนโลยีมากขึ้นด้วย) หรือกระทั่งการช่วยเหลือกัน แบ่งปันกันในสังคม สิ่งเหล่านี้คือความพยายามทำให้สังคมของเรากลับมาแข็งแกร่งขึ้นอีกครั้งหลังวิกฤตของโรคระบาด


การเว้นระยะห่างทางสังคม (Physical Distancing) บนรถไฟฟ้าจะกลายเป็นภาพที่เราคุ้นชิน

แม้ว่าทุกวันนี้เรากำลังพยายามพึ่งพาตัวเองให้มากขึ้น แต่ก็ในทางกลับกันเราก็ยังคงต้องการการสนับสนุนจากระบบในระดับประเทศเพื่อสามารถรับมือได้ดีขึ้น เช่น

- การเข้าถึงน้ำที่สะอาดเพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีและปกป้องเราจากไวรัสได้โดยการล้างมือให้สะอาดตาม 7 วิธีการล้างมือ

- การสนับสนุนจากภาครัฐ เช่นระบบสวัสดิการต่าง ๆ ที่เราควรได้รับ

- ความมั่นคงทางอาหารที่จะทำให้เราไม่ขาดแคลนอาหารการกิน

แม้ว่าตอนนี้จะเป็นช่วงเวลาที่เราจะได้รับข่าวสารด่วนเกือบทุกชั่วโมง แน่นอนว่ามันยากที่เราจะจับตาดูข่าวพวกนี้ตลอดเวลา อย่างไรก็ดีเราควรตระหนักถึงประเด็นสิ่งแวดล้อม เพราะสิ่งแวดล้อมที่ดีจะเป็นระบบที่เอื้อให้ชีวิตของพวกเราดีขึ้น


สิ่งแวดล้อมเกี่ยวอะไรกับ COVID-19?

สิ่งแวดล้อมที่ดีเกิดขึ้นได้จากการไม่ไปรุกล้ำระบบนิเวศต่าง ๆ เช่นการตัดไม้ทำลายป่า หรือพื้นที่ป่ารกร้าง การมีพื้นที่ป่าที่มากขึ้นเป็นเหมือนเกราะป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสที่ถูกส่งต่อของมนุษย์ได้ยากขึ้น หากลองเอาทฤษฎีสภาวะเจือจาง (dilution effect) มาอธิบายแล้วก็จะเห็นว่า ยิ่งมีความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ป่ามาก ก็จะทำให้การแพร่ระบาดของโรคเจือจางลง เพราะยิ่งมีความหนาแน่นของสัตว์พาหะน้อยลงเท่าไร ไวรัสก็จะแพร่ระบาดได้น้อยลงตามและจะช่วยลดการแพร่เชื้อโรคไปยังมนุษย์ได้

เพราะโดยพื้นฐานแล้วสุขภาพของเราเชื่อมโยงกันกับระบบนิเวศทั้งหมด ดังคำที่กล่าวไว้ว่า "เราไม่สามารถแยกสุขภาวะของสัตว์จากสุขภาวะของมนุษย์ได้ เหมือนกับเราไม่สามารถแยกสุขภาวะของคนในแต่ละประเทศออกจากกัน เช่น สุขภาวะของประชาชนชาวเกาหลีกับสุขภาวะของประชาชนชาวฝรั่งเศส"


การทำลายสิ่งแวดล้อมเกี่ยวข้องกับโรคระบาดอย่างไร?

เมื่อเราทำลายป่าและทำลายธรรมชาติเพื่อใช้พื้นที่ในการผลิตอาหารเนื้อสัตว์และสินค้าอื่น ๆ เราไม่ได้รุกล้ำเข้าไปในบ้านของสัตว์ป่าเท่านั้น แต่เรายังเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคจากสัตว์ป่าที่คล้ายกับ COVID-19 อีกด้วย

การบุกรุกของมนุษย์นั้นมีหลายรูปแบบ เช่น การตัดไม้ทำลายป่า การทำเหมืองหรือการถางป่าเพื่อเพาะปลูก กิจกรรมเหล่านี้ทำให้ให้มนุษย์ใกล้ชิดกับสัตว์ป่ามากขึ้น ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการสัมผัสกับเชื้อโรคจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคติดต่อจากสัตว์สู่มนุษย์และคุกคามสุขภาพของโลกในที่สุด



การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 นั้นไม่เหมือนกับโรคระบาดที่เราเคยเผชิญก่อนหน้านี้ แม้จะเป็นการแพร่ระบาดที่มีสาเหตุมาจากสัตว์เหมือนกันกับโรคซาร์ส ไวรัส H1N1 ไข้หวัดใหญ่หรือแม้แต่เชื้ออีโบลาก็ตาม


การทำปศุสัตว์แบบระบบอุตสาหกรรมเกี่ยวข้องกับไวรัสโคโรน่าหรือไม่?

การทำปศุสัตว์แบบระบบอุตสาหกรรมหรือการเลี้ยงสัตว์แบบปิดรวมถึงการผลิตผลิตภัณฑ์นมในฟาร์มขนาดใหญ่ ที่มีการเลี้ยงสัตว์แบบแออัดเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคระบาดและการแพร่กระจายของเชื้อโรค แต่ในขณะเดียวกันแม้ว่ายังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าการระบาดของไวรัส COVID-19 เชื่อมโยงกับการเลี้ยงสัตว์แบบปิด แต่การเลี้ยงสัตว์แบบปิดมีส่วนในการแพร่กระจายของไวรัสจากสัตว์สู่คนซึ่งเห็นได้จากตัวอย่างของการเกิดไข้หวัดนก ว่าการที่สัตว์อาศัยอยู่ในพื้นที่คับแคบ แออัด และไม่ถูกสุขลักษณะนั้น ผู้ที่ทำงานในฟาร์มนั้น ๆ มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นต่อการแพร่กระจายของเชื้อโรคอย่างเห็นได้ชัด


การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศทำให้สิ่งแวดล้อมแย่ลงไปด้วยจริงหรือ?

แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศจะไม่ปรากฏว่ามีบทบาทโดยตรงต่อการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 แต่การที่เราไม่สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศนั้นได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในรูปแบบอื่น ๆ อุตสาหกรรมที่ก่อมลพิษทำให้สุขภาพสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ขาดความสมดุล มันเป็นความเสี่ยงที่เราไม่สามารถยอมรับได้


จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราปกป้องสิ่งแวดล้อมของเรา?

ระบบนิเวศที่ดีจะทำให้โรคระบาดใหม่ ๆ เกิดขึ้นได้ยากกว่า รวมถึงการแพร่กระจายของเชื้อโรค นี่จึงเป็นเหตุผลที่เราทุกคนควรหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

นักวิทยาศาสตร์ได้เสนอเบาะแสที่สำคัญสำหรับการวิจัยทางการแพทย์เพื่อทำความเข้าใจกับไวรัสที่ดีขึ้นและแนวทางการรักษาที่มีศักยภาพ ดังนั้นการปกป้องมหาสมุทรจากมลพิษและอุตสาหกรรมใหม่ ๆ เช่นการทำเหมืองใต้ทะเลสามารถช่วยรักษาระบบนิเวศที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้เพื่อการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยเหลือพวกเราทุกคน

โดยทั่วไปแล้วสิ่งแวดล้อมที่ดีนั่นคือระบบที่ใหญ่ที่สุดในการช่วยเหลือชีวิตของคนเรา การมีพื้นที่ป่าเยอะและมหาสมุทรอันอุดมสมบูรณ์ให้อากาศที่สะอาดสำหรับการหายใจและช่วยให้เราต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศได้เป็นอย่างดี


ป่าคือแหล่งกักเก็บก๊าซคาร์บอนชั้นดีที่จะช่วยรักษาสมดุลของสภาพภูมิอากาศ


แล้วเราสามารถทำอะไรได้บ้าง?

การรับมือกับวิกฤตไวรัส COVID-19 และการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนเป็นเงื่อนไขสำคัญ ซึ่งหมายความว่าเราจำเป็นต้องปกป้องสิ่งแวดล้อมเพราะการมีสิ่งแวดล้อมที่ดี เราก็จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีและปลอดภัยตามไปด้วย

เป็นสิ่งที่สำคัญที่รัฐบาลจะต้องทำให้สภาพความเป็นอยู่ และคุณภาพชีวิตของเราดีขึ้น โลกและสังคมที่ปลอดภัย น่าอยู่ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนั้นเกิดขึ้นได้จริง หลังจากสถานการณ์โควิดนี้ เราจะต้องฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและสังคมให้ดีขึ้นกว่าเดิม ให้อยู่บนพื้นฐานของการเคารพความหลากหลายของผู้คน คำนึงถึงความเป็นธรรมในสังคม ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ และสร้างพื้นที่สีเขียว ฟื้นฟูระบบนิเวศ และสร้างสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ เอื้อต่อการใช้ชีวิตของคนทุกกลุ่ม

ภาครัฐไม่ควรนำงบประมาณลงทุนให้กับในระบบอุตสาหกรรมที่ทำให้เกิดความเสี่ยงในการทำลายสิ่งแวดล้อม หรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านสภาพภูมิอากาศ การสนับสนุนจากรัฐบาลควรเน้นไปที่ประชาชน หรือเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี การดำรงชีวิตที่ทำให้เราทุกคนปลอดภัยและเอื้อให้ผู้คนมีสุขภาพดี

บริษัทอาหาร และอุตสาหกรรมบางแห่งกำลังใช้วิกฤตนี้เพื่อลบกฎความปลอดภัย ด้วยการหาประโยชน์จากแรงงานและขีดจำกัดความปลอดภัยของโลก (planetary boundaries) ซึ่งทำให้เรามีความเสี่ยงมากขึ้น ในที่นี้รวมถึงการทำปศุสัตว์ระบบปิดที่อาจก่อให้เกิดโรคระบาดในอนาคต ดังนั้น เราควรส่งเสริมเกษตรกรรายย่อย หรือการทำเกษตรแบบยั่งยืน ร้านขายของชำในท้องถิ่นของตัวเองเพื่อโลกที่ดีกว่าเดิม

การห้ามการค้าสัตว์ป่าจะช่วยลดความเสี่ยงของการระบาดของโรคสัตว์ แต่มาตรการระยะสั้นนั้นไม่เพียงพอที่จะป้องกันวิกฤตครั้งใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต จากวิกฤตในปัจจุบันเราต้องการการดำเนินการที่มั่นคงและเป็นรูปธรรมเพื่อผลในระยะยาว เราเรียกร้องนโยบายที่แก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้จริง รวมทั้งสามารถปกป้องชีวิตของเราได้นโยบายที่เราต้องการนั้นจะต้องคำนึงไว้เสมอว่าป่าที่อุดมสมบูรณ์ มหาสมุทรที่ไร้มลพิษคือระบบที่ใหญ่ที่สุดในการช่วยเหลือชีวิตของเราทุกคน

สุขภาวะของเรา รวมทั้งคุณภาพชีวิตของสังคมเราและสุขภาวะของสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถแยกออกจากกันได้ และเป็นสิ่งที่ต้องมาก่อนผลประโยชน์ของกลุ่มทุน ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่เราจะกลับมาฟื้นฟูโลกของเราใหม่โดยมีการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมเป็นหัวใจสำคัญ


https://www.greenpeace.org/thailand/...ing-ourselves/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #6  
เก่า 10-06-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก PPTV


ยูเอ็นห่วงทั่วโลกจับปลามากเกินไป

สหประชาชาติแสดงความเป็นหว่งว่าการจับปลาทั่วโลกยังคงมีปริมาณมากเกินไปกว่า 30 เปอร์เซนต์ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาที่มาตรการควบคุมอุตสาหกรรมประมงมีความเข้มงวดน้อย



รายงานที่จัดทำขึ้นทุกๆ 2 ปี ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO ระบุว่าการแก้ปัญหาการจับปลามากเกินไปจำเป็นต้องใช้หลายมาตรการ รวมถึงความมุ่งมั่นที่เพิ่มขึ้นจากฝ่ายการเมือง และการปรับปรุงวิธีดูแลติดตาม เนื่องจากพบว่าปลามีปริมาณลดลงในพื้นที่ที่ขาดมาตรการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพ

ซึ่งแม้ว่าประเทศพัฒนาแล้วได้ปรับปรุงวิธีกำกับดูแลอุตสาหกรรรมประมง แต่ประเทศกำลังพัฒนากลับมีสถานการณ์ที่แย่ลง โดยในปี 2017 พบว่าทั่วโลกจับปลามากเกินไป 34.2 เปอร์เซนต์ นับเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นที่ต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 1974 ที่อัตราการจับปลามากเกินไปอยู่ที่ 10 เปอร์เซนต์

โดย FAO ระบุว่าประเทศกำลังพัฒนาหลายชาติมีมาตรการควบคุมการจับปลาที่ไม่เข้มข้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะข้อจำกัดในการบริหารจัดการและความสามารถของรัฐบาล โดยเฉพาะในพื้นที่ประชาชนยากจน ขาดแคนอาหารและเกิดการสู้รบ ซึ่งทำให้การจับปลาอย่างยั่งยืนเป็นเรื่องยากอย่างมาก

นอกจากนี้ในปี 2018 ปริมาณการบริโภคปลาทั่วโลกเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 20.5 กิโลกกรัมต่อคน สูงสุดเป็นสถิติใหม่ และเป็นอัตราเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 3.1 เปอร์เซนต์ ต่อปี นับตั้งแต่ปี 1691 ถือเป็นการเพิ่มขึ้นที่รวดเร็วกว่าเนื้อสัตว์ประเภทอื่นๆ


https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8...0%B8%99/126941

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #7  
เก่า 10-06-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก BBCThai


น้ำมันรั่วที่รัสเซีย ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่สร้างหายนะทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและการเมือง


น้ำมันดีเซลที่รั่วไหลออกมาทำให้แม่น้ำที่อยู่ใกล้กับที่เกิดเหตุกลายเป็นสีแดง Image copyright AFP

เหตุการณ์น้ำมันรั่วสู่แม่น้ำครั้งใหญ่ในเขตขั้วโลกเหนือส่วนที่เป็นของรัสเซีย กลายเป็นภัยพิบัติที่กำลังสร้างความหายนะด้านสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงเป็นประวัติการณ์ รวมทั้งยังสร้างความสั่นสะเทือนต่อฐานอำนาจของประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซียด้วย

ประธานาธิบดีปูติน ประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสิ่งแวดล้อม หลังจากน้ำมันดีเซลปริมาณ 20,000 ตัน รั่วไหลจากถังเก็บเชื้อเพลิงของโรงงานไฟฟ้าลงสู่แม่น้ำที่เมืองนอริลสก์ ในเขตวงกลมอาร์กติก (Arctic Circle) เมื่อปลายเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา


หายนะทางสิ่งแวดล้อม


ถังเชื้อเพลิงที่ถล่มลงมาอาจเป็นผลมาจากการที่เสารองรับโครงสร้างถังทรุดตัวลง เนื่องจากโรงงานสร้างอยู่บน "ชั้นดินเยือกแข็งคงตัว" ที่อาจจะยุบตัวลงจากน้ำแข็งที่ละลายเพราะปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Image copyright AFP

น้ำมันที่รั่วไหลออกมา ได้ไหลเข้าปนเปื้อนแม่น้ำหลายสายในท้องถิ่น รวมทั้งไหลซึมสู่พื้นดิน เจ้าหน้าที่รัสเซีย รวมทั้งบรรดาหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศต่างระบุว่า เหตุการณ์นี้จะส่งผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมยาวนานหลายสิบปี และเกรงว่าน้ำมันจะรั่วไหลไปถึงมหาสมุทรอาร์กติกในแถบขั้วโลกเหนือด้วย

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 29 พ.ค. ที่ผ่านมา โดยถังเก็บเชื้อเพลิงขนาดใหญ่ของโรงงานไฟฟ้าในเครือบริษัทนอริลสก์ นิกเกิล (Norilsk Nickel) หนึ่งในผู้ผลิตนิกเกิลและพาลาเดียมรายใหญ่ของโลก ใกล้กับเมืองนอริลสก์ ในเขตไซบีเรีย ได้ถล่มลง

ดูเหมือนว่าถังเชื้อเพลิงที่ถล่มลงมาจะเป็นผลมาจากการที่เสารองรับโครงสร้างถังได้ทรุดตัวลง เนื่องจากโรงงานสร้างอยู่บน "ชั้นดินเยือกแข็งคงตัว" ที่เรียกว่า เพอร์มาฟรอสต์ (permafrost) ที่อาจจะยุบตัวลงจากน้ำแข็งที่ละลายอันเป็นผลมาจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

รองประธานบริษัทนอริลสก์ นิกเกิล ระบุว่า เสารองรับโครงสร้างดังกล่าวใช้งานได้ดีมา 30 ปี และไม่มีสัญญาณว่าจะเสื่อมสภาพ โดยที่ผ่านมาบริษัทได้ทำการบำรุงรักษาอย่างดีที่สุด แต่ชี้ว่า "อุณหภูมิที่อุ่นขึ้นผิดปกติ" อาจเป็นสาเหตุการถล่มครั้งนี้


แม่น้ำเปลี่ยนเป็นสีแดง


กรีนพีซ ชี้ว่า น้ำมันดีเซลมีความเป็นพิษมากกว่าน้ำมันดิบ และยังมีส่วนผสมของสารเคมีที่ทุ่นลอยดักจับน้ำมันไม่สามารถดักจับได้ Image copyright EPA

สื่อทางการรัสเซียรายงานว่า น้ำมันดีเซลที่รั่วไหลออกมาลอยไปไกล 12 กม. ส่งผลให้แม่น้ำกลายเป็นสีแดงเข้ม การปนเปื้อนดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่ราว 350 ตร.กม.

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ บริษัทนอริลสก์ นิกเกิล เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลลงสู่แหล่งน้ำ เพราะเมื่อปี 2016 บริษัทยอมรับว่าเกิดเหตุการณ์ลักษณะคล้ายกันที่โรงงานแห่งหนึ่งของบริษัท ส่งผลให้แม่น้ำที่อยู่ใกล้จุดเกิดเหตุสายหนึ่งกลายเป็นสีแดงมาแล้ว


(มีต่อ)

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #8  
เก่า 10-06-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก BBCThai


น้ำมันรั่วที่รัสเซีย ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่สร้างหายนะทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและการเมือง ........ ต่อ


ภาพถ่ายจากองค์การอวกาศยุโรป เผยให้เห็นน้ำมันดีเซลสีแดงที่ไหลลงสู่แม่น้ำ Image copyright EUROPEAN SPACE AGENCY

ปัญหาน้ำมันรั่วไหลมักสร้างความเสียหายใหญ่หลวงต่อสิ่งแวดล้อม เพราะน้ำมันที่รั่วออกมานั้นจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสัตว์ที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติได้นานหลายปี อีกทั้งยังทำความสะอาดและขจัดออกไปได้ยากมากด้วย

ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า กระบวนการทำความสะอาดน้ำมันที่รั่วไหลออกมานั้นอาจสร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมได้มากพอ ๆ กับความเสียหายที่เกิดจากน้ำมันที่รั่วไหลออกมาในตอนแรก

การประกาศภาวะฉุกเฉินของผู้นำรัสเซีย จะทำให้ทางการส่งกองกำลังพิเศษเข้าไปปฏิบัติภารกิจทำความสะอาดในพื้นที่ได้


มีการใช้ทุ่นดักจับน้ำมันที่ไหลไปตามแม่น้ำ แต่องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมชี้ว่า การทำความสะอาดอาจต้องใช้เวลานานกว่า 10 ปี และระบบนิเวศอาจเสียหายจนไม่สามารถฟื้นกลับคืนสู่สภาพเดิมได้อีก Image copyright EPA

อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่เรื่องง่าย นายอเล็กเซ คนิซนิคอฟ ผู้เชี่ยวชาญจากกองทุนสัตว์ป่าโลก ชี้ว่า เหตุการณ์นี้นับเป็นเหตุน้ำมันรั่วไหลสู่ธรรมชาติครั้งใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ในประวัติศาสตร์ยุคปัจจุบันของรัสเซีย ในแง่ของปริมาณน้ำมันที่รั่วไหลออกมา

ขณะที่องค์กรด้านสิ่งแวดล้อม กรีนพีซ ในรัสเซีย ระบุว่า นี่เป็นภัยพิบัติด้านสิ่งแวดล้อมในแถบขั้วโลกเหนือครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบกว่า 30 ปี พร้อมชี้ว่า การทำความสะอาดเหตุน้ำมันรั่วครั้งนี้อาจต้องใช้เวลานานกว่า 10 ปี และระบบนิเวศอาจเสียหายจนไม่สามารถฟื้นกลับคืนสู่สภาพเดิมได้อีก

นอกจากนี้ กรีนพีซ ยังแสดงความกังขาถึงประสิทธิภาพในการใช้ทุ่นลอยดักจับน้ำมัน โดยชี้ว่า น้ำมันดีเซลมีความเป็นพิษมากกว่าน้ำมันดิบ และยังมีส่วนผสมของสารเคมีที่ทุ่นลอยดักจับน้ำมันไม่สามารถดักจับได้

"น้ำมันดีเซลบางชนิดจะละลายในน้ำ และสารเคมีจะตกค้างอยู่ได้นานอีกหลายปี" กรีนพีซระบุ พร้อมชี้ว่า "สารที่เป็นพิษเหล่านี้จะส่งผลเสียต่อแม่น้ำและทะเลสาบ เชื้อเพลิงบางส่วนจะระเหยขึ้นสู่อากาศที่คนในท้องถิ่นสูดหายใจเข้าไป"

ขณะที่บางฝ่ายแนะนำให้ใช้วิธีเผาเชื้อเพลิงที่รั่วไหลออกมา แต่นายดมิทรี โคบิลกิน รัฐมนตรีด้านสิ่งแวดล้อมของรัสเซียชี้ว่าวิธีการดังกล่าวเสี่ยงเกินไป

"มันเป็นสถานการณ์ที่ยากมาก ผมไม่อาจจินตนาการถึงการเผาเชื้อเพลิงปริมาณมหาศาลในเขตขั้วโลกเหนือ...กองไฟขนาดใหญ่ในบริเวณเช่นนี้อาจก่อให้เกิดปัญหาใหญ่ได้" เขากล่าว

นอกจากนี้กระทรวงสิ่งแวดล้อมยังคาดว่า การฟื้นฟูถิ่นที่อยู่ทางธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตในท้องถิ่นอาจต้องใช้เวลานานกว่าสิบปี


เหตุใด ปธน.ปูติน จึงไม่พอใจอย่างรุนแรง


ปธน.ปูตินแสดงความไม่พอใจอย่างรุนแรง ที่มีการรายงานเหตุน้ำมันรั่วไหลล่าช้าถึง 2 วัน ในระหว่างการประชุมของรัฐบาล Image copyright EPA

ประธานาธิบดีปูติน แสดงความไม่พอใจอย่างรุนแรง หลังตรวจสอบพบว่า โรงงานไฟฟ้าในเครือบริษัทนอริลสก์ นิกเกิล รายงานเหตุน้ำมันรั่วไหลล่าช้าไปถึง 2 วัน ส่งผลให้ผู้อำนวยการโรงงานไฟฟ้าถูกควบคุมตัว ขณะที่ทางการรัสเซียได้เปิดการสอบสวนคดีอาญาในความผิดฐานประมาทเลินเล่อ และการละเมิดกฎหมายคุ้มครองสิ่งแวดล้อม

คะแนนนิยมของประธานาธิบดีปูตินกำลังดำดิ่งสู่ระดับต่ำสุด หลังจากราคาน้ำมันโลกตกต่ำลง รวมทั้งการที่คนรัสเซียจำนวนมากมองว่ามาตรฐานชีวิตของพวกเขากำลังย่ำแย่ลงทุกขณะ

ก่อนจะถึงการลงประชามติเพื่อปฏิรูปรัฐธรรมนูญของรัสเซีย ซึ่งจะเปิดทางให้นายปูตินลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีได้อีกสมัย และจะทำให้เขาอยู่ในอำนาจต่อไปได้จนถึงปี 2036 นายปูติน จึงมีความต้องการอย่างยิ่งที่จะพิสูจน์ให้ประชาชนชาวรัสเซียได้เห็นว่าเขาเป็นผู้นำที่ทำงานมีประสิทธิภาพ และยังสามารถกุมอำนาจไว้ได้อย่างเหนียวแน่น

ด้วยเหตุนี้ ความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมจึงอาจเป็นบททดสอบที่ยากเย็นที่สุดในการจัดการสำหรับรัสเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมหาศาล ซึ่งบางคนชี้ว่าเป็นการใช้อย่างไม่รอบคอบนัก ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา


https://www.bbc.com/thai/international-52964649


__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 12:50


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger