เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 17-06-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 17 มิถุนายน 2563

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ประเทศไทยยังคงมีฝนตกชุก กับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำยังคงปกคลุมประเทศลาวและเวียดนามตอนบน ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนัก และฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

เมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 16 ? 17 มิ.ย. 63 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศลาวตอนบนลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกชุก และมีฝนตกหนักบางแห่ง

ส่วนในช่วงวันที่ 18 ? 22 มิ.ย. 63 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังปานกลางตลอดช่วง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 16 ? 17 มิ.ย. 63 ขอให้ประชาชนในบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสม ซึ่งอาจจะเกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือและหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนในช่วงวันที่ 18 ? 22 มิ.ย. 63 ประชาชนบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ยังคงเฝ้าระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสมต่อไปอีก







__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 17-06-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


15 รังแล้ว! เกาะสมุยฮือฮาไม่เลิก "แม่เต่าทะเล" ยังขึ้นวางไข่บนชายหาด คาดปีนี้มีลูกเต่ากว่า 800 ตัว

สุราษฎร์ธานี - ชาวเกาะสมุยยังฮือฮาไม่เลิก พบแม่เต่าทะลยังคงทยอยขึ้นมาวางไข่บนชายหาดอย่างต่อเนื่อง ปีนี้รวมแล้ว 15 รัง คาดจะมีลูกเต่ากลับทะเลไม่น้อยกว่า 800 ตัว บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ และธรรมชาติ จึงทำให้แม่เต่าทะเลต่างพาเหรดขึ้นมาวางไข่อย่างต่อเนื่อง



วานนี้ (15 มิ.ย.) เมื่อเวลา 22.00 น. น.ส.เทพสุดา ลอยจิ้ว และพนักงานของบริษัท ท้องหนัน โฮลดิ้งส์ จำกัด ที่ได้ร่วมกันเฝ้าติดตามการขึ้นมาวางไข่ของแม่เต่ากระ ที่ชายหาดอ่าวท้องหนัน หมู่ที่ 4 ต.มะเร็ต อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี พบแม่เต่ากระตัวเดิมที่เคยขึ้นมาวางไข่บริเวณชายหาดท้องหนัน ได้คลานขึ้นมาวางไข่เป็นรังที่ 5 โดยใช้เวลาในการวางไข่และฝังกลบหลุมไข่ร่วม 3 ชั่วโมง ก่อนที่จะคลานกลับลงสู่ท้องทะเลไปอย่างปลอดภัย

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนกลาง จ.ชุมพร พบแม่เต่ากระตัวนี้ขึ้นมาวางไข่บนชายหาดอ่าวท้องหนันครั้งแรก เมื่อปี 2555 โดยเจ้าหน้าที่ได้ติดไมโครชิป และแถบแม่เหล็กที่มีเลขรหัสประจำตัว 3721 ไว้ที่ขาหน้าด้านซ้ายของแม่เต่า เพื่อเฝ้าติดตามพฤติกรรม ตั้งแต่นั้นมาแม่เต่าตัวนี้ก็ได้กลับมาวางไข่ที่ชายหาดแห่งนี้ทุกๆ 2 ปี ต่อเนื่องมาตลอด

ในปีนี้มีแม่เต่ามาวางไข่แล้ว 15 รัง ฟักแล้ว 5 รัง มีลูกเต่าที่คลานกลับทะเลแล้ว 269 ตัว เจ้าหน้าที่เชื่อว่า จำนวนไข่เต่าทะเลที่แม่เต่าขึ้นมาวางไข่ที่มีไม่น้อยกว่า 1,000 ฟอง จะฟักออกเป็นลูกเต่ากลับคืนสู่ทะเลได้ไม่น้อยกว่า 700-800 ตัว ซึ่งจะเป็นการเพิ่มปริมาณประชากรเต่าทะเล และบ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ และระบบนิเวศใต้ท้องทะเลสมุยเป็นอย่างดี


https://mgronline.com/south/detail/9630000062209

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 17-06-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS


เร่งรื้อคอกหอยรุก "อ่าวบ้านดอน" คืนอิสรภาพทะเล

กองทัพเรือ-จับมือหลายหน่วยงาน เข้าสำรวจพิกัดขนำเฝ้าคอกหอยรุกอ่าวบ้านดอน จ.สุราษฎร์ธานี หลังกรมเจ้าท่า สั่งดำเนินคดีแล้วและขีดเส้นให้รื้อถอนออกภายใน 60 วัน ด้านผู้ประกอบการยังยื้อต่อขอให้กำหนดพื้นที่เหมาะสมเพาะเลี้ยงหอย ส่วนชาวบ้านหนุนรื้อคืนพื้นที่สาธารณะ



วันนี้ (16 มิ.ย.2563) ไทยพีบีเอส เกาะติดปัญหาคอกหอยในพื้นที่อ่าวบ้านดอน จ.สุราษฎร์ธานีซึ่งล่าสุดแม้จะมีคำสั่งของ จ.สุราษฎร์ธานี ออกมาให้รื้อถอนขนำเฝ้าคอกหอยอ่าวบ้านดอนใน 60 วัน แต่ผู้ประกอบการบางส่วนยังพยายามต่อสู้ บางคนอ้างถึงเอกสารขออนุญาต ที่ยื่นต่อหน่วยงานรัฐ ซึ่งระบุไว้ว่าให้เพาะเลี้ยงต่อไปจนกว่าจะมีคำสั่งไม่อนุญาต

ผู้ประกอบการเลี้ยงหอย อ.พุนพิน แสดงเอกสารใบรับคำขอใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตวน้ำในที่จับสัตว์น้ำ ซึ่งเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน ที่เคยยื่นไว้กับสำนักงานประมงอ.พุนพิน เมื่อปี 2559 รวมถึงเอกสารการประกาศของกรมประมง ที่เกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอีกหลายฉบับมาแสดงกับทีมข่าวไทยพีบีเอส


ขอให้โซนนิ่งพื้นที่เลี้ยงที่เหมาะสมถูกกฎหมาย

นายประเสริฐ ชัญจุกรณ์ ผู้ประกอบการเลี้ยงหอย อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี ระบุว่าที่ผ่านมาพยายามเข้าสู่กระบวนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกรมประมงไม่เคยชี้แจงให้ชัดเจนว่าการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยเฉพาะการเลี้ยงหอยแครง ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ และพื้นที่อ่าวบ้านดอน มีผู้ประกอบการเลี้ยงหอยยื่นคำขออนุญาตเพาะเลี้ยงหอยแครงกว่า 1,000 คน

"พื้นที่ไหนที่เหมาะกับการเลี้ยงหอยก็ควรให้เลี้ยง แต่พื้นที่ไม่เหมาะสมก็ไม่ต้องประกาศ แต่ควรทำให้ถูกต้อง ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการประมงจังหวัด รวมทั้งศึกษาผลกระทบ"


หนุนรื้อคอกหอยคืนอิสรภาพทะเล

ขณะที่วันนี้ ชาวประมงพื้นบ้าน ยังมางมหอยในพื้นที่ชายฝั่งทะเลรอยต่อระหว่าง อ.พุนพิน และอ.เมืองสุราษฎร์ธานี พร้อมแสดงความเห็นด้วยที่ผู้ว่าฯ สุราษฎร์ธานี มีคำสั่งให้รื้อถอนคอกหอย และขนำเฝ้าคอกหอยภายใน 60 วัน เนื่องจากเห็นว่าจะเป็นการคืนพื้นที่สาธารณะทางทะเลให้ทุกคนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างเท่าเทียม ไม่ตกอยู่ในการครอบครองของกลุ่มทุนและผู้มีอิทธิพล

"ภายใน 60 วันถ้ารื้อได้หมดชาวบ้านน่าจะดีใจ เพราะทะเลจะเป็นพื้นที่สาธารณะที่ชาวบ้านออกมาทำมาหากินได้ง่ายขึ้น"

ล่าสุดเรือตรวจการณ์ของกองทัพเรือ เข้ามาบริเวณชายฝั่งอ่าวบ้านดอน จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อสนับสนุนภารกิจของเจ้าหน้าที่หลายหน่วยงาน ซึ่งปฎิบัติงานร่วมกันภายใต้ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล) ซึ่งยังเข้าตรวจวัดขนาด และพิกัดที่ตั้งของขนำเฝ้าคอกหอย ที่ปลูกสร้างรุกล้ำน่านน้ำ โดยผิดกฎหมายกลางทะเลอ่าวบ้านดอน ก่อนแจ้งความดำเนินคดี เบื้องต้นเตรียมดำเนินคดีขนำเฝ้าคอกหอยผิดกฎหมายในพื้นที่อ.พุนพิน และอ.เมืองสุราษฎร์ธานี รวม 160 หลัง




กมธ.เกษตรพิจารณาปัญหาคอกหอย

มีรายงานว่าที่ประชุมคณะกรรมาธิการ การเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา ได้รับทราบผลหารือของคณะอนุกรรมาธิการเกษตรฯ กับรองอธิบดีกรมประมง และกรมประมงจังหวัดสุราษฎร์ธานี เรื่องแนวทางในการแก้ไขปัญหาการบุกพื้นที่สาธารณะ เพื่อทำประโยชน์คอกหอยแครง ที่บริเวณอ่าวบ้านดอน

เบื้องต้น พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ ประธานคณะกรรมาธิการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา ระบุว่า จะติดตามการแก้ไขปัญหาของผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่อย่างใกล้ชิด แต่ยอมรับว่าต้องรอข้อมูล และข้อเท็จจริงที่ชัดเจนกับทางจังหวัดก่อน โดยเฉพาะได้ขับเคลื่อนการแก้ปัญหาไปถึงระดับไหนแล้ว

นายวิวรรธน์ นิลวัชรมณี ส.ส.จังหวัดสุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่า ปัญหาเรื่องการจัดการคอกหอยแครงที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ยังไม่ได้นำเข้าในที่ประชุม คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ ของสภาผู้แทนราษฎร แต่ในการประชุมครั้งต่อไปจะพยายามผลักดันนำเรื่องนี้เข้าหารืออีกครั้ง

ขณะที่น.ส.อมรรัตน์ ศรีนาค ประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน อ.ไชยา จ.สุราษฏร์ธานี กล่าวว่า การแก้ปัญหาในพื้นที่มีความตื่นตัวกันมาก และไม่เห็นด้วยกับการที่มีนายทุนเข้าไปกว้านซื้อพื้นที่ เพื่อทำสิ่งปลูกสร้างในทะเล และกระทบกับการทำประมงชายฝั่ง รวมถึงสมาชิกของกองทุนหมู่บ้าน ในอำเภอไชยาด้วย

"ปัญหาคอกหอยมีนายทุนไปซื้อไปทำ และกระทบกับประมงชายฝั่ง ซึ่งสมาชิกได้รับผลกระทบ อยากให้คนที่มีอำนาจเข้ามาจัดการ แต่ต้องรับฟังทั้งสองฝ่าย "

น.ส.อมรรัตน์ เชื่อว่า ปัญหาการบุกรุกพื้นที่สาธารณะสามารถแก้ได้โดยผู้มีอำนาจในท้องถิ่น แต่ต้องมีส่วนร่วมกับชุมชน และต้องรับฟังปัญหาจากทุกชายฝั่ง ที่ทำประมง ทั้งนี้ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ อยากให้มีการจัดการปัญหาให้ได้โดยเร็ว โดยอยากเห็นการแก้ปัญหาจากจุดเล็ก ๆ ไปสู่ทั้งระบบ แม้จะต้องใช้เวลามากก็ตาม


https://news.thaipbs.or.th/content/293674

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 17-06-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก สำนักข่าวอิศรา


เปลี่ยนวิกฤตโควิด-19 ให้เป็นโอกาส: พลิกฟื้นทรัพยากร-แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ

ข้อเสนอเรื่อง เปลี่ยนวิกฤตโควิด-19 ให้เป็นโอกาส: พลิกฟื้นทรัพยากร-แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ จัดทำโดย ประมณฑ์ กาญจนพิมลกุล- ดร.กรรณิการ์ ธรรมพานิชวงค์ ทีดีอาร์ไอ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ "TDRI Policy Series on Fighting Covid-19"




โควิด-19 สร้างทั้งวิกฤตและโอกาสต่อสิ่งแวดล้อม

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจและสังคม แต่สำหรับด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งเชิงลบและ เชิงบวก โดยผลกระทบเชิงลบจากวิกฤตการณ์โควิด-19 ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะหน้ากากอนามัย ขยะติดเชื้อ รวมถึงขยะพลาสติกจากการให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่ ในขณะที่ผลกระทบเชิงบวกช่วงที่มีการล็อคดาวน์และจำกัดการเดินทางทั้งของประชาชาชนทั่วไปและนักท่องเที่ยว ได้แก่ ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า สัตว์ทะเล ปะการัง ฯลฯ ได้รับการฟื้นฟู

บทความนี้จะให้ความสำคัญกับผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ต่อทรัพยากรธรรมชาติทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว รวมถึงให้ข้อเสนอแนะแนวทางการจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในระยะยาวหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 สิ้นสุดลง


การลดลงของปริมาณนักท่องเที่ยวและมาตรการปิดพื้นที่อุทยานเปิดโอกาสให้ธรรมชาติได้ฟื้นตัว

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อจำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมาเที่ยวในประเทศไทย โดยพบว่าจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยระหว่างช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายนลดลงจาก 13.99 ล้านคนในปี 2562 เหลือ 6.69 ล้านคนในช่วงเวลาเดียวกันในปี 2563 หรือลดลงประมาณ 52.17% (กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา) โดยการลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยวมาจากหลายปัจจัย แต่ปัจจัยที่สำคัญได้แก่ มาตรการจำกัดการเดินทาง ทั้งการเดินทางข้ามประเทศและการเดินทางระหว่างจังหวัด มาตรการปิดแหล่งท่องเที่ยว ฯลฯ

สำหรับประเทศไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ประกาศปิดพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวในสังกัดของกระทรวงฯ ประกอบด้วย อุทยานแห่งชาติกว่า 148 แห่งทั่วประเทศ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 36 แห่ง และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าอีก 48 แห่ง โดยวัตถุประสงค์สำคัญคือเพื่อลดกิจกรรมการท่องเที่ยวที่คนจะมารวมตัวกันเป็นจำนวนมากซึ่งอาจเพิ่มโอกาสในการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19


ในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอินเดีย พบสัตว์ป่าและสัตว์ทะเลหายากบ่อยครั้งขึ้นในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19

เมื่อพื้นที่อุทยาน ป่า ภูเขา ทะเล หรือเกาะปราศจากนักท่องเที่ยว ธรรมชาติมีโอกาสได้รับการฟื้นฟู ตัวอย่างเช่น การปิดอุทยานแห่งชาติในประเทศสหรัฐอเมริกาส่งผลให้เจ้าหน้าที่ของอุทยานฯ มีการพบเห็นสัตว์ป่า เช่น หมีดำ กวาง แมวบอบแคต และหมาป่าไคโยตี้ บ่อยครั้งขึ้น

สำหรับประเทศอินเดีย พบว่ามีเต่าทะเลสายพันธุ์ Olive Ridley ซึ่งเป็นสัตว์ทะเลใกล้สูญพันธุ์ตามบัญชีแดงของ IUCN Red List นับแสนตัวขึ้นมาวางไข่บนหาด Gahirmatha และหาด Rushikulya ซึ่งอยู่ในรัฐโอริศา ในช่วงที่ปิดไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่ผ่านมามีเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่บริเวณดังกล่าวค่อนข้างน้อย เพราะมีเรือประมง เรือนำเที่ยวและนักท่องเที่ยวเข้าออกบริเวณดังกล่าวอย่างหนาแน่น ซึ่งรบกวนเส้นทางหากินของเต่าทะเลชนิดนี้


ในระยะสั้น ทรัพยากรทางธรรมชาติทั้งทางบกและทางทะเลของประเทศไทยมีโอกาสฟื้นตัว

หลังจากที่มีการปิดอุทยานแห่งชาติและไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวเข้าชมพื้นที่ในเขตอุทยานฯ ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 พบว่าทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศได้รับการฟื้นตัว เช่น ในอุทยาน ภูซาง จังหวัดพะเยา พบว่าพืชพันธุ์ไม้หายากกลับมาเจริญงอกงามอย่างรวดเร็ว สัตว์ป่าต่างๆ เช่น หมูป่า กระรอกบิน ผีเสื้อชนิดต่างๆ นกนานาชนิดที่ไม่ค่อยปรากฏตัวให้เห็น สามารถพบเห็นได้บ่อยครั้ง

นอกจากนี้ ทรัพยากรทางทะเลในหลายพื้นที่ชายฝั่งทะเลของประเทศไทยมีโอกาสฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัด อย่างน้อยในระยะสั้น โดยเฉพาะปะการังและหญ้าทะเล

สาเหตุหนึ่งที่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ทรัพยากรทางทะเลเหล่านี้ฟื้นตัวคือการปล่อยน้ำเสียจากแหล่งชุมชนและโรงแรมที่พักตลอดแนวชายฝั่งลดลงส่งผลให้คุณภาพน้ำทะเลดีขึ้น ทำให้ปะการังและหญ้าทะเลฟื้นตัวและเติบโตดีขึ้น

นอกจากนี้ คุณภาพน้ำทะเลที่ดีขึ้นและการลดการรบกวนจากกิจกรรมการท่องเที่ยวส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวลดลง อย่างไรก็ดี ปะการังบางชนิดอาจจะใช้ระยะเวลานานในการฟื้นตัว แต่ในช่วงที่มีการระงับการท่องเที่ยว ปะการังเหล่านี้ก็จะมีการก่อตัวและงอกใหม่ สำหรับสัตว์ทะเล เช่น เต่ามะเฟือง พะยูน ปลาโลมาอิรวดี และปลาฉลามหูดำ มีคนพบเห็นสัตว์ทะเลเหล่านี้บ่อยครั้งขึ้นโดยเฉพาะในช่วงที่มีการปิดอุทยานแห่งชาติทางทะเล 23 แห่ง สืบเนื่องจากวิกฤตการณ์โควิด-19


การเฝ้าระวังสถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติหลังจากที่เริ่มมีมาตรการคลายล็อกดาวน์

หลังจากที่มีการผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติหลายแห่งเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยวอีกครั้ง ในกรณีของประเทศเวียดนาม หลังจากที่รัฐบาลเวียดนามคลายล็อกข้อจำกัดการเดินทางภายในประเทศ มีชาวเวียดนามจำนวนมากแห่ไปเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติโดยเฉพาะสถานที่ที่มีทัศนียภาพที่งดงาม เช่น อ่าวฮาลอง เป็นต้น

สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากที่อุทยานแห่งชาติบางแห่งเริ่มเปิดทำการเช่น Everglades National Park ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของรัฐฟลอริดาและเปิดทำการในวันที่ 4 พฤษภาคม ผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความกังวลว่าการเปิดให้นักท่องเที่ยวจำนวนมากเข้าไปในอุทยานแห่งชาติ เสียงจากกลุ่มนักท่องเที่ยวอาจรบกวนสัตว์ป่า

นอกจากนี้ สัตว์ป่าที่เคยออกมาหาอาหารกินบริเวณถนนช่วงที่อุทยานฯ ปิด อาจเสี่ยงต่อการถูกรถยนต์ของนักท่องเที่ยวชนจนได้รับบาดเจ็บอีกด้วย

สำหรับผลกระทบระยะยาว ประเด็นสำคัญที่ควรเฝ้าระวัง ได้แก่ ประเด็นเรื่องการส่งเสริมและเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวโดยไม่คำนึงถึงความสามารถในการรองรับ (Carrying Capacity) ของแหล่งท่องเที่ยว (Overtourism) ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยทางธรรมชาติ (Habitat Destruction) การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Loss) ฯลฯ


การนำแนวคิด Green Tourism และ Building Back Better มาใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติหลังเหตุการณ์โควิด-19

หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 สิ่งสำคัญที่หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรเร่งดำเนินการเพื่อวางแผนระยะยาวในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมี 4 เรื่อง เรื่องที่หนึ่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมควรเดินหน้าดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ทุกภาคส่วนทั้งประชาชนทั่วไปและนักท่องเที่ยวมีความรู้ ความตระหนักและเห็นความสำคัญของการดูแลและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งป่าไม้ สัตว์ป่า สัตว์ทะเล ทรัพยากรทางทะเล ฯลฯ โดยอาจร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการในการสอดแทรกประเด็นเหล่านี้ไว้ในหลักสูตรตั้งแต่ระดับประถมศึกษา และร่วมมือกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาในการให้ข้อมูลและสร้างความตระหนักให้กับนักท่องเที่ยว

สำหรับเรื่องที่สอง การดำเนินมาตรการเพื่อแก้ปัญหา Overtourism ในระยะยาวเช่น การจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวที่สามารถเข้าไปยังแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในช่วงเวลาต่างๆ โดยในเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีการนำแอพพลิเคชันมาใช้ในการแจ้งเตือนเมื่อมีนักท่องเที่ยวหนาแน่นในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถปรับเปลี่ยนแผนเพื่อมาเยือนแหล่งท่องเที่ยวในช่วงเวลาอื่น หรือมาตรการปิดแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเพื่อให้ธรรมชาติบริเวณแหล่งท่องเที่ยวได้รับการฟื้นฟู ซึ่งแนวทางนี้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีการดำเนินการในบางพื้นที่อยู่แล้ว แต่ควรมีการพิจารณาต่อยอดหรือขยายผลไปยังแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป

สำหรับเรื่องที่สาม ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติและมีขุมทรัพย์ด้านการท่องเที่ยวจำนวนมาก เนื่องจากแต่ละภูมิภาคของประเทศมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่หลากหลาย ทั้งภูเขา ทะเล ฯลฯ ดังนั้น ประเทศไทยควรพลิกวิกฤตโควิด-19 ให้เป็นโอกาสในการปรับเปลี่ยนและยกเครื่องกลยุทธ์ในการดึงดูดนักท่องเที่ยว โดยปรับเปลี่ยนจากการท่องเที่ยวแบบที่เน้นการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวเป็นการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ (Quality Tourism) เช่น การท่องเที่ยวสีเขียว (Green Tourism) ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติและเกิดความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและกระทรวงทรัพยาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมควรบูรณาการการทำงานร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนแนวคิดดังกล่าวให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม

เรื่องสุดท้าย ควรมีการส่งเสริมการนำแนวคิด ?Building Back Better? ซึ่งเป็นแนวคิดที่ใช้ในการจัดการภัยพิบัติมาใช้ โดยหลักการภายใต้แนวคิดดังกล่าวคือการบริหารจัดการเพื่อให้สถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติหลังสถานการณ์โควิด-19 สิ้นสุดลงดีกว่าช่วงที่เกิดโควิด-19 ทั้งนี้ เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศมีความยั่งยืนและมีภูมิคุ้มกันในการรับมือกับ Shock ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต


https://www.isranews.org/article/isr...8-news-31.html

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 17-06-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก GREENPEACE


ชัยชนะด้านสิ่งแวดล้อมโลก ศาลตัดสินให้การปกป้องสิ่งแวดล้อมสำคัญกว่าผลประโยชน์ทางธุรกิจ ................ โดย Greenpeace & KASM

ข่าวดีสำหรับชนพื้นเมืองในนิวซีแลนด์ "ชาวกีวี" ซึ่งคัดค้านการทำเหมืองใต้ทะเล (KASM) และกรีนพีซ เมื่อศาลอุทธรณ์นิวซีแลนด์ยืนยันคำตัดสินไม่ต่อใบอนุญาตให้บริษัททรานส์-ทัสมัน รีซอร์เซส (TTR) เพื่อทำเหมืองในทางตอนใต้ของอ่าวทารานากิไบรท์ นับเป็นชัยชนะอีกครั้งสำหรับคนรักมหาสมุทร

ศาลอุทธรณ์ยืนยันไม่ให้โครงการเหมืองใต้ทะเล ที่ต้องการจะขุดลอกพื้นที่ก้นทะเลเป็นบริเวณกว่า 66 ตารางกิโลเมตรเพื่อนำทรายทีมีแร่ธาตุเหล็กผสมขึ้นมา ซึ่งทรายเหล่านี้จะถูกนำไปสกัดและแปรรูปเป็นชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ โดยศาลมีความเห็นว่าโครงการดังกล่าวไม่ผ่านหลักการทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อมและข้อสนธิสัญญาไวทังกิ* ทำให้บริษัทจะไม่สามารถดำเนินโครงการได้อีกต่อไปได้


ลูกเรือบนเรือเอสเพอรันซาของกรีนพีซกางแบนเนอร์ปกป้องมหาสมุทรในประเด็นการทำเหมืองใต้ทะเล ? B?rbara S?nchez Palomero / Greenpeace

คำตัดสินในครั้งนี้เป็นเหมือนข้อความที่ประกาศว่า นิวซีแลนด์ไม่อนุญาตให้โครงการเหมืองใต้ทะเลเข้ามาปล้นทรัพยากรออกไปได้อีก ซินดี แบกซ์เตอร์ ประธานชุมชนชาวกีวีต่อต้านการทำเหมืองก้นทะเล ตั้งข้อสังเกตว่า ในอนาคตคงไม่มีนักลงทุนคนไหนสนใจมาลงทุนกับอุตสาหกรรมที่เห็นได้ชัดว่าจะต้องขาดทุน

การต่อสู่กันมายาวนานตลอด 3 ปีในชั้นศาล ฝ่ายคัดค้านไม่เคยยอมแพ้หรือถอนตัวออกจากกระบวนการทางกฎหมายเพื่อเน้นย้ำว่าการทำเหมืองใต้ทะเลจะต้องไม่เกิดขึ้น และแม้ว่านี่เป็นการอุทธรณ์ครั้งที่ 3 แล้วแต่กลุ่มทุนก็ยังคงแพ้คดีต่อกลุ่มคนท้องถิ่น ชุมชนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม เธอกล่าว

นอกจากนี้ซินดีบอกอีกว่า ถึงเวลาที่เราต้องยอมรับแล้วว่า หากยังปล่อยให้มีการทำเหมืองใต้ทะเลต่อไปนั้น จะส่งผลกระทบอย่างใหญหลวงต่อทรัพยากรทางทะเล ถึงแม้ว่าเราจะยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศในมหาสมุทรที่ครบถ้วนสมบูรณ์ เพราะมหาสมุทรนั้นมีความซับซ้อนค่อนข้างมาก แต่ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่าผลกระทบจากการทำเหมืองใต้ทะเลนั้นจะเป็นไปในทางลบมากกว่าด้านบวก


แมงกะพรุน ไฮโดรโซน เป็นสัตว์ชนิดที่พบได้ในทะเลลึก ภาพนี้ถูกถ่ายได้ในบริเวณทะเลอาร์กติก ? Alexander Semenov

เจสสิกา เดสมอนด์ นักรณรงค์เพื่อมหาสมุทรของกรีนพีซ นิวซีแลนด์ กล่าวว่าเวลานี้ไม่ใช่เวลาที่ใครจะแสวงหาผลประโยชน์จากมหาสมุทร

โครงการเหมืองใต้ทะเลนี้จะทำให้โลมาเฮคเตอร์ วาฬสีน้ำเงินและนกทะเลตกอยู่ในอันตราย รวมทั้งสร้างความเสี่ยงให้กับปะการังซึ่งเปรียบเสมือนบ้านของสัตว์ทะเลอีกหลากชนิด ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่เราไม่สามารถยอมรับได้

มหาสมุทรมีความสำคัญต่อมนุษยชาติ ตั้งแต่เป็นแหล่งอาหารเลี้ยงผู้คนไปจนถึงสร้างความก้าวหน้าในวิทยาศาสตร์และวงการการแพทย์ นี่เป็นช่วงเวลาที่เราจะช่วยกันปกป้องมหาสมุทรจากกิจกรรมที่เป็นภัยทั้งหลาย


ฝูงโลมาในนิวซีแลนด์ ? Jason Blair / Greenpeace

ในช่วงที่ผ่าน กลุ่มอุตสาหกรรมหลายบริษัทแสดงความสนใจในการลงทุนทำเหมืองใต้ทะเล ซึ่งการตัดสินคดีในวันนี้จะเป็นตัวอย่างให้กับชุมชนอื่นๆทั่วโลกที่กำลังต่อสู้กับโครงการเหมืองใต้ทะเล หรือโครงการขนาดใหญ่อื่นๆ ที่จะสร้างความเสียหายให้กับมหาสมุทรว่า ความหวังในการปกป้องมหาสมุทรและทรัพยากรยังคงมีอยู่เสมอ

*ข้อสนธิสัญญาไวทังกิ เป็นเป็นเอกสารทางการที่ก่อตั้งประเทศนิวซีแลนด์ว่าเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ข้อตกลงนี้เกิดขึ้นระหว่างเผ่า Hap?และ M?oriและตัวแทนของเครือจักรภพ สนธิสัญญานี้ได้รับการตั้งชื่อตาม ? Waitangi? สถานที่ที่มีการลงนามครั้งแรกในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1840 เนื้อหาหลักของสนธิสัญญาฉบับนี้คือ ชาวเมารีจะให้สิทธิพิเศษแก่ชาวอังกฤษในการซื้อที่ดินที่พวกเขาต้องการจะขายและในทางกลับกันชาวเมารีจะได้รับสิทธิและกรรมสิทธิ์ในที่ดินการประมงป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดในนิวซีแลนด์


https://www.greenpeace.org/thailand/...ep-sea-mining/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 18:40


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger