เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 24-01-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม 2564

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบน มีอุณหภูมิสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส แต่ยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ สำหรับยอดดอยและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนาไว้ด้วย ส่วนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อน


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 23 - 24 ม.ค. 64 ลมฝ่ายตะวันตกพัดปกคลุมภาคเหนือตอนบน ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อน ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังอ่อน

ส่วนในช่วงวันที่ 25 - 29 ม.ค. 64 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 23 - 24 ม.ค. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนาไว้ด้วย






__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 24-01-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


เหิมหนัก! กลุ่มเรือประมงผิดกฎหมาย?ขับเรือพุ่งชนเรือ จนท. กลางปากอ่าวแม่น้ำบางปะกง

ศูนย์ข่าว?ศรี?ราชา?- เหิมหนัก! กลุ่มเรือประมง?ผิดกฎหมาย?หลายสิบลำขัดขืนการปฏิบัติ?งาน จนท.กองตรวจประมงขณะเข้าตรวจสอบเหตุลักลอบทำประมง?กลางอ่าวบางปะกง ทั้งล้อมเรือ ขับพุ่งชนจนเรือ จนท.เสียหายบาดเจ็บ 3 นาย สุดท้ายศรชล.ภาค 1ต้องส่งกำลังเข้าระงับเหตุ



วันนี้ ( 23 ม.ค.) ศูนย์ป้องกันและปราบปราม กองตรวจประมง จ.ชลบุรี และสมุทรปราการ ได้สนธิกำลังเจ้าหน้าที่นำเรือตรวจประมงจำนวน 3 ลำ พร้อมเรือยางตรวจการณ์ เข้าตรวจสอบพื้นที่บริเวณร่องน้ำบางปะกง? หลังเจ้าหน้าที่กรมประมง ได้รับการร้องเรียนว่ามีเรือประมงจำนวนมากลักลอบทำการประมงผิดกฎหมาย

โดยพบเรือประมงคาดลูกหอยแคลง ประมาณ 20 ลำ กำลังทำการประมงบริเวณเขตทะเลชายฝั่ง เจ้าหน้าที่จึงแจ้งให้เรือหยุดทำการประมง แต่กลับปรากฏว่าเรือประมง ไม่ยอมหยุดดำเนินการพร้อมพยายามขับเรือพุ่งชนเรือเจ้าหน้าที่

จนทำให้เรือตรวจประมง หมายเลข 106 ได้รับความเสียหายและมีเจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บ 3 ราย จึงจำเป็นต้องล่าถอยออกจากพื้นที่ก่อนเจ้าแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองชลบุรี เพื่อให้ดำเนินคดี?กับกลุ่มเรือประมงดังกล่าว

หลังเกิดเหตุ ศูนย์ประสานการปฎิบัติการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ภาค 1(ศรชล.ภาค 1) อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ได้ส่งเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง หมายเลข 268 พร้อมเจ้าหน้าที่ ศรชล.จว.ชลบุรี และฉะเชิงเทรา เข้าปฎิบัติงานร่วมกับกองตรวจการประมง เรือป้องกัน และปราบปรามประมง จ. สมุทรปราการ และระยอง ลงพื้นที่ตรวจสอบอีกครั้ง



กระทั่งพบกลุ่มเรือประมงอีกประมาณ 40-50 ลำ ที่พยายามขับไลและล้อมเรือของเจ้าหน้าที่ โดยกลุ่มเรือประมงได้ขอเจรจาเพื่อที่จะทำการประมงต่อ แต่เจ้าหน้าที่ยืนยันที่จะให้หยุดทำการประมงในลักษณะผิดกฎหมาย

นอกจากนั้นยังได้นัดหมายให้ตัวแทนกลุ่มผู้ทำการประมงผิดกฎหมายเข้าทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่สำนักงานประมง จ.ชลบุรี ในวันจันทร์ที่ 25 ม.ค.ที่จะถึงนี้

ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า กลุ่มเรือประมงที่ลักลอบเข้ามาทำการประมง?ผิดกฎหมาย?บริเวณร่องน้ำบางปะกง เดินทางมาจากหลายพื้นที่โดยส่วนใหญ่มาจาก อ. ปากน้ำ จ.สมุทรปราการ, อ. มหาชัย จ.สมุทรสาคร , ต.คลองตำหรุ จ.ชลบุรี, บ้านแสมขาว อ.บางปะกง? จ.ฉะเชิงเทรา, และ ต.คลองโคลน จ.สมุทรสงคราม

โดยเรือทั้งหมดทำการประมงด้วยเครื่องมือผิดกฎหมาย ทั้งใช้เครื่องมือคราดลูกหอยแครง , อวนรุน, ลอบพับ และยังมีพฤติกรรมย้ายพื้นที่ทำการประมงบริเวณปากแม่น้ำอ่าวไทยตอนบน ครอบคลุมพื้นที่ จ.ชลบุรี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม จนสร้างความเดือดร้อนให้กับกลุ่มประมงพื้นบ้าน และประมงชายฝั่งเป็นอย่างมาก


https://mgronline.com/local/detail/9640000007069


*********************************************************************************************************************************************************


ฮือฮา! พบ ?จระเข้น้ำจืด? สายพันธุ์ไทย สัตว์สุดหายากที่ป่าแก่งกระจาน


ภาพจระเข้น้ำจืดสายพันธุ์ไทยดั้งเดิมตัวใหม่ที่พบที่ป่าแก่งกระจาน (ภาพ : เฟซบุ๊ก มานะ เพิ่มพูล)

พบจระเข้น้ำจืดสายพันธุ์ไทยดั้งเดิม สัตว์ป่าสุดหายากตัวใหม่มีขนาดใหญ่มากที่ต้นแม่น้ำเพชร แห่งผืนป่าแก่งกระจาน ถือเป็นสัญญานดีในการอนุรักษ์ธรรมชาติและการผลักดันผืนป่าแก่งกระจานสู่มรดกโลกแห่งใหม่ของไทย

นายมานะ เพิ่มพูล หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช โพสต์ภาพ ?จระเข้น้ำจืด? สายพันธุ์ไทยดั้งเดิม สัตว์ป่าหายากมาก ที่ถ่ายได้จากกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่า หัวหน้า อช.แก่งกระจานระบุ เป็นจระเขน้ำจืดตัวใหม่ที่พบเพิ่มเติมอีก 1 ตัวจากผืนป่าแห่งนี้

ทั้งนี้ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ได้โพสต์ข้อความและภาพการพบจระเข้น้ำจืดตัวใหม่ ผ่านเฟซบุ๊ก บัญชีรายชื่อ มานะ เพิ่มพูน ดังนี้

ความสุขของคนทำงาน

ในวินาที่ที่เปิดกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่า เจอสัตว์ป่าที่หายยากมากในธรรมชาติและกำลังจะสูญพันธ์ุไปจากธรรมชาติ คือ จระเข้สายพันธ์ไทยดั้งเดิม ในต้นน้ำของแม่น้ำเพชรบุรี เหนือบ้านโป่งลึกและบ้านบางกลอย ยืนยันสถานะภาพ ยังคงอยู่ได้ ไม่ได้พบภาพใหม่มานานและยืนยันได้มากกว่าหนึ่งตัว ที่บันทึกภาพได้ จากที่เฝ้าติดตามมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา

ความพยายามในการอนุรักษ์พื้นป่าให้เป็นผืนป่าขนาดใหญ่เพื่อให้สัตว์ป่าสามารถดำรงอยู่ได้เป็นส่วนหนึ่งที่เราต้องดำเนินการอยู่ต่อไป เสือโคร่งพวกเพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้นอีก 1 จระเข้น้ำจืด เจอเพิ่มขึ้นอีก 1 ส่งสัญญาญดีขึ้นในการอนุรักษ์ในพื้นอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน

สำหรับจระเข้น้ำจืดสายพันธุ์ไทย เป็นสัตว์ป่าที่มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากประชากรในธรรมชาติของจระเข้น้ำจืดพันธุ์ไทยมีจำนวนน้อยมาก

ปัจจุบันพบจระเข้น้ำจืดพันธุ์ไทยอาศัยอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์เพียง 6 แห่ง ได้แก่ อุทยานแห่งชาติปางสีดา อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด

อย่างไรก็ดีจากการศึกษาและการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ในปี พ.ศ. 2548 และ พ.ศ. 2549 ได้มีการดำเนินโครงการนำร่องการปล่อยจระเข้น้ำจืดพันธุ์ไทยคืนสู่ธรรมชาติที่อุทยานแห่งชาติปางสีดาโดยจระเข้น้ำจืดพันธุ์ไทยที่ปล่อยสามารถอาศัยอยู่รอด และแพร่ขยายพันธุ์ได้ในแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ ถือเป็นความสำเร็จในการปล่อยจระเข้คืนถิ่น

โครงการนี้ทำให้ทราบข้อมูลพื้นฐานทางนิเวศที่เหมาะสมของจระเข้น้ำจืดพันธุ์ไทย จึงนำไปสู่การดำเนินโครงการอนุรักษ์จระเข้พันธุ์ไทยในประเทศไทย เพื่อกำหนดทิศทางและแนวทางการอนุรักษ์จระเข้น้ำจืดพันธุ์ไทย และสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนการอนุรักษ์จระเข้น้ำจืดพันธุ์ไทยได้อย่างแท้จริง

สำหรับผืนป่าแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี และผืนป่าเชื่อมโยง เป็นหนึ่งในพื้นที่ประเทศไทยได้ผลักดันให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ ซึ่งการค้นพบจระเข้น้ำจืดสายพันธุ์ไทยดั้งเดิมตัวใหม่ ถือเป็นสัญญานดีในการอนุรักษ์ธรรมชาติและการผลักดันผืนป่าแก่งกระจานสู่มรดกโลกแห่งใหม่ของไทย


https://mgronline.com/travel/detail/9640000006945

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 24-01-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด


หรรษา - ตื่นตาเกาะลิบง ?เต่าตนุ?วางไข่



แจ้งข่าวดีต่อเนื่องสำหรับการอนุรักษ์เต่าตนุ ที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง

โดย นายชัยพฤกษ์ วีระวงศ์ หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง แจ้งว่าช่วงเวลา 02.30 น. วันที่ 20 ม.ค. เจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ ฝ่ายเฝ้าระวังไข่เต่าตนุ จำนวน 81 ฟอง ที่พบเมื่อวันที่ 7 ม.ค.ปีนี้ บริเวณอ่าวหมาดำ หมู่ 5 บ้านหลังเขา ต.เกาะลิบง พบแม่เต่าตนุกลับมาทำรัง และวางไข่ครั้งหนึ่ง

เจ้าหน้าที่มีโอกาสสัมผัสนาทีที่แม่เต่ากำลังวางไข่อย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งถ่ายภาพเหตุการณ์ขณะที่แม่เต่ากำลังขุดทราย และวางไข่สำเร็จ โดยไม่มีทีท่าหรืออาการตื่นตกใจแต่อย่างใด

นายอเนก เจะเหลา เจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ ที่เห็นเหตุการณ์ เล่าว่าเวลาประมาณเที่ยงคืนขณะที่ออกลาดตระเวนกับผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เดินอยู่ริมหาดเรื่อยๆ ก่อนจะมาพบรอยเต่า จึงเดินตามรอย และพบกับแม่เต่าที่กำลังขุดหลุมทรายเพื่อทำรังวางไข่ ใช้เวลาขุดหลุมทราย 1 ชั่วโมงกว่า และเดินมาขุดอีกหลุมหนึ่ง ห่างจากหลุมแรก 20 เมตร ใช้เวลาในการขุด 30 นาที จากนั้นหยุดพักสักพักหนึ่งก่อนจะวางไข่

"แม่เต่าใช้เวลาวางไข่ประมาณ 30 นาที เมื่อวางไข่สำเร็จ ขุดหลุมกลบไข่ และพักบนฝั่ง 30 นาที ก่อนจะลงน้ำทะเลไป ตอนนั้นพวกผมเฝ้าดูอยู่ เต่าไม่มีทีท่าที่จะตกใจกลัว หรือหลบหนีไป เพราะโดยสัญชาตญาณแล้วหากแม่เต่าขึ้นมาบนฝั่งเพื่อที่จะฟักไข่นั้น จะไม่มีทางกลับลงไปในน้ำจนกว่าจะวางไข่ได้สำเร็จ ไม่ว่าจะเกิดอะไรรอบตัวก็ตาม เปรียบเหมือนคนที่กำลังจะคลอดลูก ต้องคลอดลูกทันที ผมเป็นคนที่นี่ ตั้งแต่เกิดมาไม่เคยเจอเต่ามาวางไข่แบบนี้ ดีใจมาก ถือเป็นบุญตา" นายอเนกกล่าว

ขณะที่ นายสุชาติ เจะเหลา ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 ร่วมเล่าว่าแม่เต่าใช้เวลากว่า 3 ชั่วโมง ขุดทรายวางไข่อยู่ตลอดเวลาโดยไม่สนใจสิ่งแวดล้อมรอบข้าง ไม่ว่าจะมีคนหรืออะไรเคลื่อนไหวก็ตาม เพราะแม่เต่าต้องการที่จะวางไข่อย่างเดียว โดยขุดหลุมลึกประมาณ 1 เมตร ก่อนจะปล่อยน้ำเชื้อออกมาพร้อมกับไข่ ทีละชั้นๆ เรื่อยๆ ครั้งละ 2-3 ฟอง รวมมากกว่า 100 ฟอง คิดว่าตัวนี้เป็นตัวเดียวกับที่มาวางไข่ในรอบแรก มาวางไข่ห่างจากที่เดิม 120 เมตร

สำหรับการพบไข่เต่าตนุ 81 ฟอง (แตกเสียหาย 1 ฟอง) เมื่อวันที่ 7 ม.ค.2564 เจ้าหน้าที่จัดเวรยามเฝ้า 24 ช.ม. พร้อมติดตั้งกล้องวงจรปิด เพื่อป้องกันภัยคุกคาม หลังจากช่วงเดือนธ.ค.2563 มีบทเรียนที่พบไข่มาแล้ว แต่ตะกวดแอบมากินไปก่อนไข่ฟักเป็นตัว

"ผู้อำนวยการสำนักที่ 5 นครศรีธรรมราช ให้แนวทางว่าจะต้องดูแลไข่เต่าให้เป็นอย่างดี ต้องจัดเวรยามตลอด 24 ชั่วโมง ช่วง 60 วันเป็นอย่างน้อย ติดตั้งกล้องเพื่อดูความเคลื่อนไหว เพื่อป้องกันภัยคุกคาม เช่น ตะกวด หรืองู มดแมลงต่างๆ ที่จะมาเขี่ยไข่เต่า เราจะพยายามดูแลอย่างดีที่สุด วันนี้เรื่องการดูแลทรัพยากรธรรมชาติของเราค่อนข้างจะดีมาก เหมือนกับเป็นหัวใจเดียวกัน ทุกคนมีใจเดียวกันในการที่จะดูแลทรัพยากรที่สำคัญของเราไว้ โดยเฉพาะเรื่องของเก่าพะยูน ป่าไม้ หญ้าทะเล" นายชัยพฤกษ์กล่าว

หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง กล่าวด้วยว่าดีใจแทนพี่น้องในพื้นที่ หลังจากร่วมกันดูแลทรัพยากรเป็นอย่างดี บ่งบอกถึงความร่วมมือของประชาชนกับส่วนราชการ จะเห็นได้ว่าในทะเลตอนนี้พบเต่าเยอะมาก พะยูนก็เพิ่มขึ้น ทะเลมีความอุดมสมบูรณ์ ทรัพยากรฟื้นฟูเพิ่มขึ้น ตอกย้ำว่าเมื่อพื้นที่ตรงไหนมีความอุดมสมบูรณ์ มีความสงบ สัตว์ป่าสัตว์ทะเลก็อยากมาออกลูกออกหลานให้สืบทอดไปให้มากที่สุด

"เต่าตนุ" มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chelonia mydas เป็นเต่าทะเลที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ และมีน้ำหนักมากเมื่อโตเต็มที่ ตั้งแต่หัวจรดหางยาวเฉลี่ยประมาณ 1 เมตร น้ำหนักราว 130 กิโลกรัม หัวป้อมสั้น ปากสั้น เกล็ดเรียงต่อกันโดยไม่ซ้อนกัน กระดองหลังโค้งนูนเล็กน้อย บริเวณกลางหลังเป็นแนวนูนเกือบเป็นสัน ท้องแบนราบขาทั้งสี่แบนเป็นใบพาย ขาคู่หลังมีขนาดเล็กกว่าขาคู่หน้ามาก ขาคู่หน้ามีเล็บแหลมเพียงข้างละชิ้น

สีของกระดองมีสีน้ำตาลแดง หรือน้ำตาลอมเขียว ขอบเกล็ดมีสีอ่อนๆ เป็นรอยด่างและมีลายเป็นเส้นกระจายออกจากจุดสีแดงปนน้ำตาล คล้ายกับแสงของพระอาทิตย์ที่ลอดออกจากเมฆ จึงมีชื่อเรียกเต่าชนิดนี้อีกชื่อหนึ่งว่า ?เต่าแสงอาทิตย์? ส่วนชาวตะวันตกเรียกว่า "เต่าเขียว" จากกระดองเหลือบสีเขียว

พวกมันกินทั้งพืชและสัตว์ แต่จะกินพืชเป็นหลัก จำพวกหญ้าทะเล หรือสาหร่ายทะเล โตเต็มที่ตอนอายุ 4-7 ปี เชื่อกันว่าอายุยืนถึง 80 ปี อาศัยอยู่ในเขตน้ำตื้นใกล้ชายฝั่ง หรือตามเกาะต่างๆ กระจายพันธุ์ทั้งในมหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิก ในน่านน้ำไทยพบทั้งที่อ่าวไทย และทะเลอันดามัน

เมื่อเต่าโตเต็มที่แล้วจะว่ายน้ำหากินไปเรื่อยๆ แต่จะกลับมาวางไข่บนชายหาดที่ถือกำเนิด ฤดูวางไข่ตกอยู่ในราวเดือนมิ.ย.-ก.ย.ในบริเวณอ่าวไทย และอยู่ในราวเดือนก.ย.ถึงก.พ.ในฝั่งทะเลอันดามัน จำนวนไข่ ต่อครั้ง 70-150 ฟอง


https://www.khaosod.co.th/lifestyle/news_5800118

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 24-01-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก แนวหน้า


สื่อนอกตีข่าว 'เปลี่ยนขยะประมงเป็นของใช้ยุคโควิด' โครงการดีๆลดมลพิษทางทะเลที่เมืองไทย



วันที่ 23 มกราคม 2564 เว็บไซต์ นสพ.Times of Malta ประเทศมอลตา เสนอรายงานพิเศษ Deadliest catch: Thailand?s 'ghost' fishing nets help COVID fight ว่าด้วยโครงการเปลี่ยนขยะจากกิจการประมงให้เป็นวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้งานในสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งเกิดขึ้นในประเทศไทย โดย Ingpat Pakchairatchakul หญิงไทยที่ทำงานให้กับองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม Environmental Justice Foundation ที่มีสำนักงานใหญ่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ กล่าวว่า ซากอวนที่ถูกทิ้งในท้องทะเล เป็นอันตรายต่อเต่าทะเลและปะการัง และมันสามารถอยู่ได้นานนับสิบปี

Ingpat ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว AFP ของฝรั่งเศส เมื่อเร็วๆ นี้ในช่วงที่เดินเรือออกทะเลในพื้นที่ จ.ชลบุรี พร้อมด้วยนักประดาน้ำกว่า 30 คน เข้าจัดการกับขยะประมงที่ปกคลุมแนวปะการังลึกลงไป 27 เมตร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Net Free Seas ที่มีเป้าหมายเปลี่ยนขยะประมงให้เป็นอุปกรณ์ที่ใช้กันในโลกยุคโควิด-19 เช่น แผ่นใสสำหรับสวมใส่กั้นใบหน้า (Face Shield) และต้องการให้เป็นตัวอย่างว่า การปกป้องท้องทะเลสามารถไปกันได้กับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ โดยไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ก่อขยะในท้องทะเลมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก
รายงานข่าวกล่าวต่อไปว่า กระแสความตื่นตัวของสังคมไทยเกี่ยวกับปัญหาขยะในท้องทะเล เกิดขึ้นเมื่อ 2 ปีก่อน กรณีลูกพะยูน ?มาเรียม (Mariam)? ได้ตายลงและเมื่อมีการผ่าพิสูจน์ซากก็พบเศษพลาสติกอยู่ภายในท้องของลูกพะยูนเคราะห์ร้ายตัวนี้ ความโศกเศร้าเกิดขึ้นทั่วประเทศเพราะก่อนหน้านั้นผู้คนได้รับชมชีวิตของมันภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่ ผ่านช่องทางออนไลน์นานหลายเดือน

จตุรเทพ โควินทวงศ์ (Chaturathep Khowinthawong) ผู้อำนวยการส่วนจัดการอุทยานแห่งชาติทางทะเล กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวว่า พะยูนมาเรียมเป็นเพียงหนึ่งในสัตว์ทะเลนับสิบตัวในแต่ละปีที่มาเกยตื้นตามชายฝั่งของประเทศไทย ในจำนวนนี้กว่าร้อยละ 70 พบบาดแผลตามร่างกายจากซากอวนที่ถูกทิ้งในทะเล และหากพวกมันติดอยู่ภายในอวนเหล่านั้น โอกาสรอดชีวิตจะมีไม่ถึงร้อยละ 10

ทั้งนี้ ในปีแรกของโครงการ Net Free Seas พบว่าสามารถเก็บขยะในทะเลได้ถึง 15 ตัน แต่นั่นยังเป็นส่วนน้อยเมื่อเทียบกับข้อมูลจาก องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ที่ระบุว่า มีซากเครื่องมือประมงถึง 6.4 แสนตัน ถูกทิ้งลงสู่ท้องทะเลและมหาสมุทรทุกปี ถึงกระนั้น โครงการดังกล่าวได้รับความร่วมมืออย่างดีจากชาวประมงพื้นบ้านในประเทศไทย

Somporn Pantumas ชายวัย 59 ปี ชาวประมงในพื้นที่ จ.ระยอง กล่าวว่า โครงการนี้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ (Win-Win) ชาวประมงมีรายได้เสริมเอีกทางหนึ่งในขณะที่ชายหาดและท้องทะเลก็สะอาดสวยงาม อีกทั้งการทำกิจกรรมร่วมกันยังทำให้ชุมชนชาวประมงเกิดความสมัครสมานสามัคคีแน่นแฟ้นด้วย โดยตนเป็น 1 ในชาวประมง 700 คนทั่วประเทศไทย ที่นำอวนซึ่งชำรุดแล้วมาขายให้กับโครงการ และอีกสาเหตุที่เข้าร่วมโครงการ เพราะที่ผ่านมาเมื่อออกทะเลไปหาปลา สิ่งที่ได้กลับมามักจะเป็นขยะพลาสติกเสียมากกว่า นั่นทำให้ตระหนักถึงปัญหามลพิษอย่างจริงจัง

รายงานข่าวยังกล่าวอีกว่า ซากอวนจะนำไปล้างและย่อยสลายรวมกับขยะพลาสติกจากแหล่งอื่นๆ เพื่อหลอมขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตามต้องการ โดย Qualy Design ธุรกิจเล็กๆ ที่รับผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ในบ้านจากวัสดุรีไซเคิล ที่ผ่านมาผลิตสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับโลกยุคโควิด-19 ไปแล้วทั้ง Face Shield , ขวดบรรจุแอลกอฮอล์ล้างมือ ไปจนถึงฉากกั้นใสตามร้านรวงต่างๆ ในกรุงเทพฯ ตั้งแต่เมื่อครั้งที่ประเทศไทยเริ่มเผชิญสถานการณ์โรคระบาดครั้งใหญ่นี้ และยังผลิตแท่งพลาสติกสำหรับกดลิฟท์หรือตู้ ATM เพื่อเลี่ยงการสัมผัสอันสุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อด้วย

Thosphol Suppametheekulwat ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดของ Qualy Design ให้สัมภาษณ์กับ AFP ยอมรับว่า อวนเป็นวัสดุที่ใช้การยากและต้นทุนสูงที่สุดในการนำมาแปรรูปเป็นสิ่งของต่างๆ แต่ทางบริษัทก็ยินดีที่จะทำ เพราะต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยดูแลมหาสมุทร


https://www.naewna.com/inter/547595

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 24-01-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก BBCThai


นักวิจัยจับภาพปลาไหลไฟฟ้าในแถบแอมะซอนล่าเหยื่อร่วมกันเป็นฝูง



กว่า 200 ปี หลังจากที่ปลาไหลไฟฟ้าเป็นแรงบันดาลใจทำให้เกิดการออกแบบแบตเตอรีขึ้นชิ้นแรกในโลก มีการค้นพบว่า มันรวมตัวกันเป็นฝูงปล่อยกระแสไฟฟ้าจู่โจมเหยื่อ

นักวิจัยที่ทำงานในแถบแอมะซอนเก็บภาพขณะที่ปลาไหลรวมตัวกันเป็นฝูงต้อนเหยื่อ จากนั้นก็ปลอ่ยกระแสไฟฟ้าใส่เหยื่อพร้อมกัน

จากเดิมที่เคยเชื่อกันว่า ปลาไหลไฟฟ้ารักสันโดษ ออกหาเหยื่อเพียงลำพัง จนกระทั่งเมื่อไม่นานนี้ นักวิทยาศาสตร์จับภาพขณะที่พวกมันร่วมกันล่าเป็นฝูงใหญ่ได้

ฝูงปลาไหล "ต้อน" ปลาเตตร้าที่มีขนาดเล็ก ไปบริเวณน้ำตื้น จากนั้นร่วมกันจู่โจมด้วยกระแสไฟฟ้าทำให้เหยื่อกระโดดขึ้นมาจากน้ำ

"20 ปีที่ทำงานในแอมะซอน ผมไม่เคยได้ยินว่ามีพฤติกรรมแบบนี้มาก่อน ผมไม่เคยเห็นปลาไหลโตเต็มวัยรวมตัวกันมากขนาดนี้มาก่อน" เคนเนธ วาน กล่าว

เหตุการณ์นี้รู้จักกันในชื่อว่า "การจับกลุ่มล่าเหยื่อ" ดูเหมือนว่าปลาไหลร่วมมือกันในช่วงที่มีเหยื่อมากพอที่จะแบ่งปันกัน

ดร.การ์ลอส เดวิด เด ซานตานา พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติสมิธโซเนียน กล่าวว่า "กรณีนี้ค่อนข้างพิเศษเพราะพวกมันใช้การปล่อยไฟฟ้าแรงสูง ในช่วงที่เกิดเหตุการณ์นี้"

ขณะที่แอมะซอนเผชิญภัยคุกคามจากการตัดไม้ทำลายป่า เหตุการณ์นี้ชี้ให้เห็นว่ามีเรื่องมากมายเกี่ยวกับสัตว์ในภูมิภาคนี้ ที่เราต้องเรียนรู้


https://www.bbc.com/thai/international-55773013

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 17:17


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger