เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 09-05-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม 2563

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่งเกิดขึ้นในระยะนี้ เนื่องจากมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือ ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงไว้ด้วย สำหรับลมตะวันออกยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณหัวเกาะสุมาตรา ซึ่งจะส่งผลทำให้คลื่นลมในทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 10-13 พฤษภาคม 2563 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อน ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศร้อน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 28-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 8 - 9 พ.ค. 63 บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น เนื่องจากลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดนำความชื้นเข้าปกคลุม ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด

ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 14 พ.ค. 63 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ทำให้บริเวณดังกล่าวจะเกิดพายุฤดูร้อนขึ้น โดยจะมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงฟ้าผ่า ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก

อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณหัวเกาะสุมาตราจะมีกำลังแรงขึ้นในช่วงวันที่ 10 - 12 พ.ค. 63 และมีแนวโน้มเคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวเบงกอลตอนบน ส่งผลทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 10 - 13 พ.ค. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระมัดระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก รวมทั้งฟ้าผ่าไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในช่วงวันที่ 10 - 12 พ.ค. 63



*********************************************************************************************************************************************************



ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 10-13 พฤษภาคม 2563)" ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 09 พฤษภาคม 2563

ในช่วงวันที่ 10-13 พฤษภาคม 2563 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อน ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยจะเริ่มแผ่เข้ามาปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกก่อน โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงฟ้าผ่า โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกจะเริ่มมีผลกระทบในคืนวันที่ 10 พฤษภาคม 2563 ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะเริ่มได้รับผลกระทบในวันถัดไป (วันที่ 11 พฤษภาคม 2563) จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณา และสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง รวมถึงระวังอันตรายจากฟ้าผ่า สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย












__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 09-05-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


ทะเลเขาหลักกลับมาสวยงาม ปะการังฟื้นตัว หลังไร้นักท่องเที่ยว

ระบบนิเวศทางทะเลฟื้นตัว ชายหาดเขาหลัก จ.พังงา แหล่งท่องเที่ยวจุดดำน้ำดูปะการังกลับมาสวยงาม มีฝูงปลาแหวกว่าย หลังปิดการท่องเที่ยว ช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยธรรมชาติไม่ถูกรบกวน เกิดความอุดมสมบูรณ์อย่างเห็นได้ชัด




https://www.thairath.co.th/video/new...hotclip/419193


*********************************************************************************************************************************************************


ไมโครพลาสติกในแกนน้ำแข็งแอนตาร์กติก


Credit : CC0 Public Domain

เมื่อปีที่แล้วมีนักวิจัยพบตัวอย่างของไมโครพลาสติกในน้ำแข็งขั้วโลกเหนือ กลายเป็นหลักฐานเพิ่มของการแพร่กระจายมลพิษในมหาสมุทรของโลก และเมื่อเร็วๆนี้ ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแทสเมเนีย ในออสเตรเลีย รายงานว่า พบหลักฐานของไมโครพลาสติกที่ถูกเก็บไว้ในแกนน้ำแข็งนอกชายฝั่งแอนตาร์กติกาเมื่อ 10 ปีก่อน

แกนน้ำแข็งที่ถูกรวบรวมไว้นี้ก็เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาทำความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับแอนตาร์กติกา ถูกนำมาจากพื้นที่ห่างประมาณ 2 กิโลเมตรจากชายฝั่งแอนตาร์กติกา และเก็บไว้ที่โรงงานในเมืองโฮบาร์ต รัฐแทสเมเนีย แกนน้ำแข็งขนาดยาว 1.1 เมตร กว้าง 14 เซนติเมตร เผยให้เห็นอนุภาค 96 ชนิดจากไมโครพลาสติก 14 ประเภท มีค่าเฉลี่ย 12 ชิ้นต่อลิตรของน้ำ อนุภาคทั้งหมดมีความยาว 5 มิลลิเมตรหรือสั้นกว่า ชนิดที่พบมากที่สุดคือพลาสติกที่ใช้ในผลิตภัณฑ์หลากหลาย

นักวิจัยตั้งข้อสังเกตว่า อนุภาคไมโครพลาสติกถูกล้อมรอบด้วยสาหร่าย ซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งชี้ว่าพวกมันอาจถูกกินโดยตัวคริลล์ (Krill) สัตว์ทะเลตัวเล็กจิ๋วในกลุ่มเดียวกับกุ้ง และวาฬจะได้รับอนุภาคไมโครพลาสติกเข้าไปเมื่อพวกมันกินตัวคริลล์อีกที.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/1838676

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 09-05-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


ดร.ธรณ์ เผยปลาที่กองหินชุมพร เกาะเต่า ลดลงมากช่วงโควิด คาดเนื่องจากไม่อยู่ในเขตอุทยานฯ

ดร.ธรณ์ โพสต์ มีนักดำน้ำเผยปลาที่กองหินชุมพร จุดดำน้ำสำคัญของเกาะเต่าลดลงจำนวนมากในช่วงโควิด ชี้อาจเพราะไม่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ แนะหากกฎหมายไม่ครอบคลุม คนในท้องถิ่นสามารถนำเสนอขึ้นมาได้ และหวังว่าคงมีการตรวจสอบจริงจัง



วันนี้ (8 พ.ค.) เฟซบุ๊ก "Thon Thamrongnawasawat" หรือ ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเล และรองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เปิดเผยถึงกรณีที่มีเพื่อนนักดำน้ำโพสต์ว่าปลาที่กองหินชุมพร จุดดำน้ำสำคัญของเกาะเต่าลดลงเป็นจำนวนมาก โดยคาดว่าอาจเกิดจากการเข้ามาจับปลาในช่วงท่องเที่ยวปิดโควิด

"ผมขอเสริมดังนี้ครับ กองหินชุมพรไม่ได้อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ กฎหมายที่เกี่ยวข้องเท่าที่ค้นเจอ คือ

1. ประกาศกรมประมง (2519) ห้ามทำการประมงรอบเกาะเต่าและเกาะหางเต่า รัศมี 3,000 เมตร แต่มีข้อยกเว้นว่า สามารถทำเบ็ดราว อวนลอย หรือลอบทะเลได้

2. ประกาศเขตรักษาพืชพันธุ์สัตว์น้ำ คุ้นๆ ว่าหินชุมพรน่าจะอยู่ แต่ไม่มั่น ต้องถามผู้เกี่ยวข้องโดยตรงหากอยู่ จะมีกฎหมายกำหนดว่าห้ามจับสัตว์น้ำ มีบทลงโทษรุนแรงตามขนาดเรือด้วย สูงสุดถึง 30 ล้านบาท (150+ ตันกรอส)

3. ประกาศเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากร (หมดอายุ 2564) น่าจะอยู่ในพื้นที่ 1 (ต้องดูรายละเอียดว่าคลุมถึงไหม) ในประกาศห้ามจับปลาสวยงานและการทำประมงบางประเภท (ลองอ่านที่แนบมาครับ)

สำหรับคำถามว่า มีการจับสัตว์น้ำในบริเวณนั้นหรือเปล่า? หน่วยงานที่เกี่ยวข้องน่าจะติดตามดูได้จากระบบติดตามเรือ VMS ประกอบกับการขอภาพถ่ายข้อมูลจากผู้แจ้ง รวมถึงการสำรวจเพิ่มเติมในพื้นที่หากจำเป็น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในที่นี้คงเป็นกรมประมงและกรมทรัพยากรทางทะเล หวังว่าคงมีการตรวจสอบต่อไป และหากกฎหมายไม่ครอบคลุมหรือใดๆ คนในท้องถิ่นสามารถนำเสนอขึ้นมาได้ เช่น เสนอให้เป็นพื้นที่คุ้มครองทางทะเล ฯลฯ โดยผ่านตัวแทน/อบต. ฯลฯ เข้ามาทางกรรมการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งประจำจังหวัดสุราษฎร์ฯ ครับ"

ทั้งนี้ มีชาวเน็ตที่รักทะเลจำนวนมากเข้ามากกดไลก์และแสดงความคิดเห็นว่าเห็นด้วย และควรประกาศพื้นที่คุ้มครอง เนื่องจากเป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติทางทะเลที่สร้างรายได้น่าจะเป็นอันดับต้นๆ ของอ่าวไทย โดยมียอดกดไลก์แล้วกว่า 300 ครั้ง


https://mgronline.com/onlinesection/.../9630000048172


*********************************************************************************************************************************************************


ปี 2020 กำลังทำลายสถิติโลกร้อนที่สุด นักวิทยาศาสตร์เตือน! ภาวะโลกร้อน คือหายนะอันดับต่อไปของมนุษยชาติ


ดินแดนอาร์กติก ในปีนี้อาจจะเห็นอุณหภูมิสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ( เครดิตภาพ: Alamy)

นักวิทยาศาสตร์ทำนายว่ามีโอกาสถึง 50-75% ว่าในปี 2020 จะทำลายสถิติเป็นปีที่ร้อนที่สุด ถึงแม้ว่าการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนาทำให้ท้องฟ้าสะอาด แทบจะปราศจากมลพิษ อันเนื่องมาจากการล็อกดาวน์ ( Lockdown) ในหลายประเทศทั่วโลก แต่นั่นยังไม่ได้ช่วยอุณหภูมิโลกลดลง

ถึงแม้ว่าก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นใหม่ หรือ New Emission จะลดลง แต่ค่าความเข้มข้นสะสมยังสูงอยู่ ซึ่งการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจำเป็นจะต้องใช้แผนการระยะยาว และต้องการนโยบายเร่งด่วนจากรัฐบาลของหลายๆ ประเทศในโลกใบนี้เช่นเดียวกับมาตรการลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา

ก่อนหน้านี้คลื่นความร้อนที่ Antarctic ขั้วโลกใต้ , Greenland ขั้วโลกเหนือ เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา สร้างความประหลาดใจให้แก่นักวิทยาศาสตร์ เพราะปีนี้เป็นปีที่ปราศจากเอลนิโน (El Ni?o) และปรากฏการณ์นี้มักเกิดด้วยกัน จึงทำให้เดือนมกราคมที่ผ่านมาเป็นเดือนมกราคมที่ร้อนที่สุด และประเทศในแถบ Arctic ขั้วโลกเหนือหลายประเทศพบกับปรากฏการณ์ไร้หิมะ ในขณะที่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ขั้วโลกใต้วัดอุณหภูมิได้สูงถึง 20 องศาเซลเซียส เป็นครั้งแรก และเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ดินแดนกรีนแลนด์ (Greenland) ที่ขั้วโลกเหนือ ก็สามารถวัดอุณหภูมิได้ถึง 6 องศาเซลเซียส


สกีรีสอร์ท ในกรานาดา ประเทศสเปน ถูกบังคับให้ใช้ปืนหิมะเทียมเนื่องจากขาดหิมะในฤดูหนาวนี้ (เครดิตภาพ: Carlos L Vives / Alamy)

องค์กร US Ntional Oceanic and Atmospheric Administration คำนวณถึงโอกาสในปี 2020 จะกลายเป็นปีที่อากาศร้อนที่สุด สูงถึง 75% และมีความน่าจะเป็น 99.9% ที่ 2020 จะเป็นหนึ่งในท็อป 5 ของปีที่ร้อนที่สุด ในขณะที่สถาบันอื่นคำนวณความน่าจะเป็นแตกต่างออกไป The Met Office คำนวณไว้ที่ 50% ,NASA คำนวณไว้ที่ 60%

ในปีนี้ เวลาผ่านไปเพียง 1 ใน 3 ของปี แต่อุณหภูมิของยุโรปและเอเชีย กลับสูงกว่าค่าเฉลี่ยถึง 3 องศาเซลเซียส และเมื่อเร็วๆ นี้ สหรัฐอเมริกาก็ประสบกับคลื่นความร้อนเช่นกัน ในตัวเมือง Los Angeles วัดได้สูงถึง 34 เซนเซียส เช่นเดียวกับที่สหราชอาณาจักร เมื่อเดือนเมษายนนี้ ก็วัดอุณหภูมิได้สูงกว่าค่าเฉลี่ยถึง 3 องศาเซลเซียส

Karsten Hausten นักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศกล่าวว่า อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นเทียบกับยุค preindustrial กำลังขยับเข้าใกล้ 1.2 องศาเซนเซียส (ระดับที่ปลอดภัยคือ 1.5 องศาเซนเซียส) โดยจากฐานข้อมูลของเขา ขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 1.14 องศาเซนเซียส

"แม้ว่าปีนี้ สถานการณ์ไวรัสโคโรนา ทำให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยเพิ่มขึ้นใหม่สู่บรรยากาศจะลดลงบ้าง แต่ค่าความเข้มข้นที่สะสมในชั้นบรรยากาศยังไม่มีแนวโน้มลดลงเลย บทเรียนจากไวรัสโคโรนาครั้งนี้ เราควรจะพิจารณาการใช้พลังงานหรือการคมนาคมขนส่งที่ sustainable และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยใช้มาตรการที่เข้มงวดผ่านทางภาษี, carbon prices เป็นต้น"

Grahame Madge จาก Met Office กล่าวว่า "รัฐบาลและประชาชนต้องหันมาเชื่อใจและรับฟังข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ผลักดันให้เกิดการเคลื่อนไหวอย่างจริงจัง เพื่อต่อสู้กับหายนะอันดับต่อไปของมนุษยชาติ คือ ภาวะโลกร้อน"


ล็อกดาวน์ที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เหตุจากไวรัสโคโรนา ทำให้สถานที่สำคัญว่างเปล่า เงียบสงบ (เครดิตภาพ : Andy Parsons)

หลายคนอาจไม่รู้ว่า โลกควรควบคุมอุณหภูมิไม่ให้เพิ่มสูงเกิน 1.5 องศาเซนเซียส (จากงานวิจัยของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ IPCC ) มิเช่นนั้นระบบนิเวศ และสภาพอากาศจะเสียหายถาวร ภายในปี 2050 และจะมีประชากรจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศแปรปรวน ภัยธรรมชาติ ภาวะแห้งแล้ง ขาดแคลนอาหาร และต้องย้ายที่อยู่จากสภาพอากาศที่ร้อนเกินไปที่จะอยู่อาศัย รวมถึงน้ำทะเลที่หนุนสูงจนอยู่ไม่ได้ (และประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศเหล่านั้น)


https://mgronline.com/greeninnovatio.../9630000048041

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 09-05-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS


สัตว์ป่าโชว์ตัวถี่ "วราวุธ" เล็งปิดอุทยานทุกแห่งปีละ 3 เดือน



"วราวุธ" เตรียมเสนอปิดอุทยานแห่งชาติทั่วประเทศทั้ง 157 แห่งอย่างน้อยปีละ 3 เดือน เพื่อฟื้นฟูธรรมชาติ หลังพบสัตว์หายากออกมาใช้พื้นที่มากขึ้นช่วง 1 เดือนหลังปิดการท่องเที่ยวช่วง COVID-19 อยู่ระหว่างศึกษาช่วงเวลาที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่

จากกรณีหลายอุทยานแห่งชาติทั่วประเทศ พบสัตว์ป่าหลากหลายชนิด ทั้งอุทยานแห่งชาติทางบกและทางทะเล โดยเฉพาะสัตว์ป่าหายากออกมาให้เห็นกัน เนื่องจากไม่ถูกรบกวนจากมนุษย์และกิจกรรมของมนุษย์ หลังประกาศปิดการท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติทั่วประเทศ จากปัญหาการแพร่ระบาดของโรค COVID-19

วันนี้ (8 พ.ค.2563) นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวว่า ภาพรวมช่วงเกือบ 2 เดือนที่ผ่านมาหลังปิดอุทยานแห่งชาติทั่วประเทศ พบเรื่องดีๆ เกิดขึ้นมีสัตว์ป่าออกมาหาอาหารและออกมารวมฝูงนอกพื้นที่มากขึ้น เพราะไม่มีมนุษย์เข้าไปรบกวนถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า

หากสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ได้กำชับให้กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เร่งทำตารางกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมในการปิดอุทยานแห่งชาติ 157 แห่ง เพื่อฟื้นฟูความสมบูรณ์ของผืนป่า ทรัพยากรธรรมชาติ และสัตว์ป่า เป็นเวลา 3 เดือนในทุกๆปี


ภาพ: กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช


ศึกษาตารางเปิด-ปิดอุทยานแต่ละแห่ง

ขณะเดียวกันขอความร่วมมือประชาชนหากจะเข้าไปท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติขอให้ศึกษาตารางการเปิด-ปิดอุทยานแต่ละแห่งก่อน เพราะแต่ละอุทยานจะปิดไม่ตรงกัน ถือเป็นอีกมาตรการหนึ่งที่ใช้เพื่อการอนุรักษ์และเกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

นายวราวุธ กล่าวว่า การเปิดอุทยานแห่งชาติในช่วงนี้ จำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบและรอบด้าน เพราะการท่องเที่ยวอาจเกิดการรวมตัวกันจำนวนมากของกลุ่มคน อาจจะเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้อีก อยากให้ปลอดภัยจริงๆก่อนแล้วเปิดท่องเที่ยว

โดยจะจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวเข้าอุทยานและระยะเวลาท่องเที่ยวในแต่ละพื้นที่ โดยกรมอุทยานฯอยู่ระหว่างศึกษามาตรการที่จะใช้ในอนาคต


ภาพ: กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช


เลียงผาโชว์ที่ผาเดียวดายเขาใหญ่

ล่าสุดเพจประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
นำภาพเลียงผาที่ออกมาหากิน ที่บริเวณผาเดียวดาย อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ โดยระบุว่า (เลียง)?ผาเดียวดาย...#เขาใหญ่ในวันที่ไม่มีนักท่องเที่ยว



โดยก่อนหน้านี้ได้มีการนำเสนอภาพหมีหมา ที่ถ่ายโดยนายปกครอง ทองเนื้อแข็ง หัวหน้าศูนย์กู้ภัยอุทยานแห่งชาติที่ 3 จ.นครราชสีมา พบว่าหมีหมาตัวใหญ่ กำลังเดินข้ามถนนในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ช่วงขึ้นเนินยาวก่อนถึงค่ายอบรมเยาวชนสุรัสวดี หลังปิดอุทยานแห่งชาติทั้งหมดทั่วประเทศ? ตามมาตรการป้องกัน? COVID?-19? โดยไม่ค่อยพบตัวได้ง่ายๆ เพราะปกติเขาใหญ่จะเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยว


https://news.thaipbs.or.th/content/292237

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 15:02


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger