เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 12-07-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,241
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 12 กรกฎาคม 2566

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 12 - 13 ก.ค. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทสเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 14 - 15 ก.ค. 66 ร่องมรสุมจะพาดผ่านประเทศเมียนมา ตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน และอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 16 - 17 ก.ค. 66 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย เข้าสู่หย่อมความกดกาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และ อ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันออก โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก

ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยบริเวณห่างฝั่งจะมีกำลังค่อนข้างแรง โดยบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยตอนบน ทะเลมีคลื่นสูง 2 ? 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 14 - 17 ก.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 16 ? 17 ก.ค. นี้ไว้ด้วย









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 12-07-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,241
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


ความต่าง "ลานีญา" กับ "เอลนีโญ" เตือนไทยวางแผนบริหารจัดการน้ำ

สรุปความต่างปรากฏการณ์ "เอลนีโญ" กับ "ลานีญา" หลังจากนี้ประเทศไทยเตรียมรับมือ "เอลนีโญ" แนะบริหารจัดการน้ำ



"ลานีญา" ถือเป็นปรากฏการณ์สภาพอากาศแปรปรวน ซึ่งเป็นสภาวะตรงข้าม "เอลนีโญ" (El Ni?o) สามารถเกิดขึ้นได้ทุก 2-3 ปี โดยปกติจะเกิดขึ้นนานประมาณ 9-12 เดือน แต่บางครั้งอาจปรากฏอยู่ได้นานถึง 2 ปี


การเกิด "ลานีญา"

โดยปกติลมค้าตะวันออกเฉียงใต้ในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อน หรือแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรจะพัดพาน้ำอุ่นจากทางตะวันออกของมหาสมุทรไปสะสมอยู่ทางตะวันตก ซึ่งทำให้มีการก่อตัวของเมฆและฝนบริเวณด้านตะวันตกของแปซิฟิกเขตร้อน ส่วนแปซิฟิกตะวันออกหรือบริเวณชายฝั่งประเทศเอกวาดอร์ และเปรู มีการไหลขึ้นของน้ำเย็นระดับล่างขึ้นไปยังผิวน้ำซึ่งทำให้บริเวณดังกล่าวแห้งแล้ง สถานการณ์เช่นนี้เป็นลักษณะปกติจึงเรียกว่า "สภาวะปกติ" หรือ "สภาวะที่ไม่ใช่เอลนีโญ"

แต่มีบ่อยครั้งที่สถานการณ์ดังกล่าวถูกมองว่าเป็นได้ทั้ง "สภาวะปกติ" และ "ลานีญา" จะมีความแตกต่างตรงที่ "ลานีญา" ลมค้าตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมเหนือมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนมีกำลังแรงมากกว่าปกติ และพัดพาผิวน้ำทะเลที่อุ่นจากตะวันออกไปสะสมอยู่ทางตะวันตกมากยิ่งขึ้น

ทำให้บริเวณแปซิฟิกตะวันตก รวมทั้งบริเวณตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ของเอเชีย ซึ่งเดิมมีอุณหภูมิผิวน้ำทะเลสูงกว่าทางตะวันออกอยู่แล้วยิ่งมีอุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้นไปอีก อุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่สูงขึ้นส่งผลให้อากาศเหนือบริเวณดังกล่าวมีการลอยตัวขึ้นและกลั่นตัวเป็นเมฆและฝน ส่วนแปซิฟิกตะวันออกนอกฝั่งประเทศเปรูและเอกวาดอร์นั้นขบวนการไหลขึ้นของน้ำเย็นระดับล่างไปสู่ผิวน้ำ (upwelling) จะเป็นไปอย่างต่อเนื่องและรุนแรง อุณหภูมิที่ผิวน้ำทะเลจึงลดลงต่ำกว่าปกติ

โดยผลจากการที่อากาศลอยขึ้นและกลั่นตัวเป็นเมฆและฝนบริเวณแปซิฟิกตะวันตกเขตร้อนในช่วงปรากฏการณ์ลานีญา ทำให้ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มที่จะมีฝนมากและมีน้ำท่วม ขณะที่บริเวณแปซิฟิกเขตร้อนตะวันออกมีฝนน้อยและแห้งแล้ง


ความต่าง "เอลนีโญ" กับ "ลานีญา" และผลกระทบต่อไทย

หรือกล่าวได้ว่า "เอลนีโญ" จะส่งผลให้เกิดฝนตกหนัก ในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ และเกิดความแห้งแล้ง อากาศร้อน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย ส่วน "ลานีญา" จะเป็นปรากฏการณ์ขั้วตรงข้าม คือส่งผลให้เกิดความแห้งแล้ง ในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ และเกิดฝนตกหนักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย


เตรียมพร้อมรับมือเอลนีโญ

เป็นที่รู้กันว่า ขณะนี้ประเทศไทยบอกลาสภาวะ "ลานีญา" และได้เข้าสู่ "เอลนีโญ" แล้ว โดยคาดว่า เอลนีโญกำลังอ่อนในปัจจุบันจะมีกำลังแรงขึ้นเป็นขนาดปานกลางในช่วงเดือน ตุลาคม-ธันวาคม ปีนี้

จากการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา สภาวะเอลนีโญ จะอยู่ต่อเนื่องจนถึง ช่วงกลางปี 2567 และค่อนข้างมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องวางแผนบริหารจัดการน้ำในระยะยาวเพื่อสำรองน้ำล่วงหน้าไว้ใช้ในกิจกรรมต่างๆ ด้วย


https://www.thairath.co.th/news/sustainable/2708436

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 12-07-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,241
Default

ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ


จับตากองทัพทั่วโลก ตัวการ'ถ่วง'แผนการลดโลกร้อน



จับตากองทัพทั่วโลก ตัวการ'ถ่วง'แผนการลดโลกร้อน โดยช่วง 12 เดือนแรกของสงครามยูเครน อาจเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจก 120 ล้านตัน เทียบเท่ากับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายปีของสิงคโปร์ สวิตเซอร์แลนด์ และซีเรียรวมกัน
หากพูดถึงการปล่อยมลพิษทั่วโลก ยังมีต้นตอใหญ่ของปัญหาปล่อยมลพิษที่หลายคนมองข้ามนั่นก็คือ กองทัพทั่วโลก

เมื่ออุณหภูมิโลกสูงขึ้นแตะระดับสูงสุด นักวิทยาศาสตร์และกลุ่มรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมเร่งสร้างความกดดันต่อสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เพื่อบังคับให้กองทัพทั้งหลาย เปิดเผยปริมาณการปล่อยมลพิษ และยกเลิกข้อละเว้นเปิดเผยการปล่อยมลพิษของกองทัพ ที่ทำให้ปริมาณมลพิษทางอากาศจากกองทัพไม่ได้ถูกบันทึก

จากคาดการณ์ของผู้เชี่ยวชาญนานาชาติปี 2565 ระบุว่า เหล่ากองทัพ หนึ่งในผู้ใช้พลังงานมากที่สุดในโลก มีสัดส่วนปล่อยก๊าซเรือนกระจกคิดเป็น 5.5% ของโลก

นักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการหลายคนบอกว่า กองกำลังป้องกันหลายหน่วยงาน ไม่มีข้อผูกมัดในการทำข้อตกลงสภาพอากาศนานาชาติ ที่กำหนดให้รายงานหรือลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน และข้อมูลที่เผยแพร่โดยกองทัพบางแห่งไม่มีความน่าเชื่อถือ หรือข้อมูลไม่มีความสมบูรณ์

นั่นเป็นเพราะ การเปิดเผยการปล่อยมลพิษทางทหารนอกประเทศ ตั้งแต่การใช้เครื่องบินรบไปจนถึงการปล่อยเรือเพื่อฝึกซ้อมทางทหาร ได้รับการยกเว้นในพิธีสารเกียวโต ปี 1997 ที่กำหนดให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และได้รับการยกเว้นอีกครั้งในข้อตกลงปารีส 2015 โดยให้เหตุผลว่า การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการใช้พลังงานของกองทัพ อาจบั่นทอนความมั่นคงของประเทศ

ขณะนี้กลุ่มสิ่งแวดล้อม Tipping Point North South และ The Conflict and Environment Observatory พร้อมด้วยนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยอังกฤษ ทั้งอ็อกฟอร์ดและควีนแมรี ซึ่งอยู่ในกลุ่มที่ผลักดันให้ปริมาณการปล่อยมลพิษทางทหาร เผยแพร่อย่างครอบคลุมและโปร่งใสมากขึ้น ออกมาเรียกร้องเรื่องนี้ ด้วยการเผยแพร่รายงานวิจัย การรณรงค์ และเข้าร่วมงานประชุมต่าง ๆ เพื่อล็อบบี้ให้หลายฝ่ายตระหนักถึงเรื่องนี้

นักรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมคนหนึ่ง ที่คอยติดตามรายงานวิจัยการปล่อยมลพิษ เผยว่า ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2566 เอกสารรณรงค์ที่ได้รับการตรวจสอบจากกลุ่มสิ่งแวดล้อมเผยแพร่ออกมาแล้ว 17 ฉบับ เพิ่มขึ้น 3 เท่า ของจำนวนเอกสารในปี 2565 และเมื่อกับเอกสารช่วง 9 ปีที่ผ่านมารวมกัน

กลุ่มเรียกร้องหลายกลุ่ม ได้เขียนถึงอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ยูเอ็นเอฟซีซีซี) เมื่อเดือน ก.พ. ระบุว่า ให้หน่วยงานสภาพอากาศของยูเอ็น นำตัวเลขการปล่อยมลพิษทางทหารทั้งหมดรวมไว้ในอนุสัญญาดังกล่าวด้วย เพื่อให้ข้อมูลการปล่อยคาร์บอนทั่วโลก มีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

"ภาวะฉุกเฉินทางสภาพอากาศของเรา ไม่สามารถอนุญาตให้ละเว้นการเผยข้อมูลมลพิษที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการทางทหารและความขัดแย้ง ภายในการดำเนินงานของยูเอ็นเอฟซีซีซี" กลุ่มดังกล่าวระบุ

ยูเอ็นเอฟซีซีซี ตอบกลับกลุ่มสิ่งแวดล้อมผ่านอีเมลว่า หน่วยงานยังไม่มีแผนเกี่ยวกับการเปิดเผยมลพิษทางทหารที่เป็นรูปธรรม แต่ปัญหานี้อาจถูกหยิบยกขึ้นมาหารือผ่านการประชุมสุดยอดในอนาคต รวมทั้งการประชุม COP28 ในดูไบ

ทั้งนี้ บัญชีรวมการปล่อยมลพิษ จะมีความสำคัญต่อการคำนวณปริมาณการปล่อยมลพิษทั่วโลกครั้งแรก ซึ่งสามารถช่วยประเมินได้ว่าแต่ละประเทศปรับปรุงการปล่อยมลพิษตามเป้าหมายข้อตกลงปารีสมากน้อยเพียงใด และจะมีการพูดถึงบัญชีการปล่อยมลพิษในประชุมสุดยอดสภาพอากาศ COP28 ในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) วันที่ 30 พ.ย. นี้

ด้าน "แอ็กเซล มิคาเอลโลวา" ผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม Perspectives Climate เตือนว่า การปล่อยคาร์บอนหลายร้อยล้านตัน อาจยังไม่ได้นับรวมไว้ในบัญชีปล่อยมลพิษ

เมื่อถามว่าที่ประชุมยูเอ็นจะหารือเรื่องการปล่อยมลพิษทางทหารหรือไม่ ประธานาธิบดียูเออี บอกแต่เพียงว่า หนึ่งในวันสำคัญของการประชุมสุดยอดจะเป็นการบรรเทาทุกข์ ช่วยฟื้นฟูและสร้างสันติภาพ แต่ไม่บอกรายละเอียดใดๆเพิ่มเติม

นอกจากนี้ กลุ่มสิ่งแวดล้อมล็อบบี้ยูเอ็น ให้ยกเลิกข้อละเว้นเผยปริมาณการปล่อยมลพิษทางทหาร ที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งในยูเครนด้วย

รายงานจาก "เลนนาร์ด เดอ เคลิร์ก" ผู้เชี่ยวชาญด้านบัญชีคาร์บอนชาวดัตช์ คาดว่า 12 เดือนแรกของการทำสงครามยูเครน อาจเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกมากถึง 120 ล้านตัน เทียบเท่ากับรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายปีของสิงคโปร์ สวิตเซอร์แลนด์ และซีเรียรวมกัน

ขณะที่สงครามในยูเครน กลายเป็นจุดสนใจของนักเคลื่อนไหวด้านสภาพอากาศเกี่ยวกับการปล่อยมลพิษทางทหาร แต่ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า การเผยแพร่ปริมาณมลพิษทางทหารเป็นสิ่งที่ทำให้รัฐบาลไขว้เขวไปจากความสำคัญในการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ และอาจชะลอการหารือเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวในระยะเวลาอันใกล้ได้

กองทัพบางแห่ง บอกว่า การเปิดเผยข้อมูลการใช้น้ำมัน อาจสะท้อนการปฏิบัติการทางทหารในต่างประเทศได้

"มาร์คัส รูลเก" จากหน่วยงานปกป้องสิ่งแวดล้อมของกระทรวงกลาโหมเยอรมัน บอกว่า "เราไม่อยากให้ทุกคนทราบว่าเราใช้เชื้อเพลิงปฏิบัติการทางทหารมากเพียงใด เราบินหรือใช้ยานยนต์ขับเคลื่อนไกลแค่ไหน รวมทั้งไม่อยากให้รับรู้รูปแบบการซ้อมทางทหารว่าเป็นอย่างไรด้วย"


https://www.bangkokbiznews.com/world/1078066

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 19:19


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger