#11
|
||||
|
||||
เตือนปากแม่น้ำเจ้าพระยาเสี่ยงจม สามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิระวดี ผลศึกษาชี้ พื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำ 2 ใน 3 ของโลก เสี่ยงจมอยู่ใต้น้ำ รวมถึง ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ทรุดลงทุกปี เพราะการใช้น้ำบาดาล วารสารจีโอไซแอนซ์ เผยแพร่ผลการศึกษาใหม่สุดว่า พื้นที่ปากแม่น้ำขนาดใหญ่ราว 2 ใน 3 ของโลก ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของประชากรเกือบ 1,000 ล้านคน กำลังตกอยู่ในภาวะหนีเสือปะจระเข้ กล่าวคือเจอทั้งดินทรุด และระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น การค้นพบดังกล่าว ที่มีพื้นฐานการจากศึกษาภาพถ่ายดาวเทียม แสดงให้เห็นว่า 85% ของพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำขนาด ใหญ่สุด 33 แห่ง ประสบกับภาวะน้ำท่วมหนักในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา กินพื้นที่ราว 260,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งคาดว่าภายในศตวรรษนี้ พื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำ ที่มีความเสี่ยงเผชิญกับน้ำท่วมใหญ่ จะเพิ่มขึ้นมากถึง 50% หากระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก เจมส์ ซิฟอิทสกี้ นักวิจัยจากสถาบันวิจัยขั้วโลก และเทือกเขาแอลป์ มหาวิทยาลัยโคโลราโด แกนนำจัดทำการศึกษาครั้งนี้ ระบุว่า แม้พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหนักสุดจะเป็นเอเชีย แต่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำ ที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น และทำการเกษตรอย่างมาก ในทุกๆ ทวีป ยกเว้นออสเตรเลีย กับขั้วโลกใต้ ก็ล้วนแต่ตกอยู่ในภาวะอันตราย ในการวัดระดับความรุนแรงที่แบ่งออกเป็น 5 ระดับนั้น พื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่มีความเสี่ยงสูงสุดที่จะจมอยู่ใต้น้ำล้วนอยู่ในจีน คือ สามเหลี่ยมปากแม่น้ำเหลืองทางตอนเหนือของประเทศ สามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี ใกล้กับนครเซี่ยงไฮ้ และสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเพิร์ล ใกล้กับกวางโจว ขณะสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไน ล์ ของอียิปต์ แม่น้ำเจ้าพระยาของไทย และแม่น้ำโรนของฝรั่งเศส ล้วนแต่ติดอยู่ในกลุ่มความเสี่ยงสูงเช่นกัน โดยปากแม่น้ำที่มีความเสี่ยงรองลงมา 7 แห่ง รวมถึง แม่น้ำคงคา ในบังกลาเทศ แม่น้ำอิระวดีของพม่า แม่น้ำโขง ในเวียดนาม และแม่น้ำมิสซิสซิปปี ของสหรัฐ ผลการศึกษาระบุว่า สามเหลี่ยมปากแม่น้ำจะมีตะกอนมาสะสมตามธรรมชาติเมื่อน้ำในแม่น้ำเอ่อล้นแล้วท่วมกินพื้นที่กว้าง แต่มนุษย์มีส่วนทำให้สามเหลี่ยมปากแม่น้ำหลายแห่งจมจากการทำเขื่อนกั้นต้นน้ำแ ละเปลี่ยนเส้นทางไหลของน้ำ ทำให้ตะกอนไม่ไหลลงมาสะสม นอกจากนี้การทำเหมืองใต้ดินและการสูบน้ำบาดาลก็มีส่วนทำให้สามเหลี่ยมปากแม่น้ำจมด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ที่มีอัตราการทรุดตัวถึงปีละ 2-6 นิ้ว ผลจากการสูบน้ำบาดาลไปใช้ จาก : กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 22 กันยายน 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#12
|
||||
|
||||
กองทุนโลกเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ 'ทำ 'กทม.'ยิ่งเสี่ยงจมน้ำ WWF ชี้กรุงธากา มะนิลา และจาการ์ตา เป็น3 เมืองใหญ่ในเอเชียที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิ อากาศ ขณะที่กรุงเทพฯ ถือเป็นเมืองที่มีความเสี่ยงสูงต่อภัยคุกคามจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นและ ปัญหาน้ำท่วม เมื่อวันพฤหัสบดี (12) กองทุนโลกเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (World Wide Fund for Nature : WWF) องค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมที่มีฐานอยู่ที่เมืองแกลนด์ ในสวิตเซอร์แลนด์ เปิดเผยรายงานล่าสุดที่ชื่อว่า “Mega-Stress for Mega-Cities” ซึ่งศึกษาถึงภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศต่อ 11 เมืองใหญ่ในเอเชีย ที่ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลหรือดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ คือ กรุงธากาของบังกลาเทศ, เมืองกัลกัตตาของอินเดีย , กรุงเทพมหานคร, กรุงพนมเปญของกัมพูชา, นครโฮจิมินห์ในเวียดนาม,สิงคโปร์, กรุงกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย,ฮ่องกง, กรุงมะนิลาของฟิลิปปินส์, กรุงจาการ์ตาของอินโดนีเซีย,และนครเซี่ยงไฮ้ของจีน รายงานฉบับนี้ระบุว่า ธากา , มะนิลา, และจาการ์ตา ป็น 3 เมืองที่มีความเปราะบางมากที่สุด ต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และเป็นเมืองที่จะได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล และพายุ โดยในทั้ง 3 เมืองนี้ ธากาเป็นเมืองที่ตกอยู่ในอันตรายมากที่สุดโดยได้คะแนนความเสี่ยงระดับ 9 จากทั้งหมด 10 ระดับ เนื่องจากมีประชากรแออัดกันอยู่มากกว่า 13 ล้านคนบนเนื้อที่เพียง304 ตารางกิโลเมตรและยังอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลปัจจุบันเพียงไม่กี่เมตรเท่า นั้น นอกจากนั้น ยังมักได้รับผลกระทบจากพายุไซโคลนจนเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่เป็นประจำ ขณะที่ขีดความสามารถของเมืองในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศกลับ อยู่ในระดับต่ำมาก จาก : ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#13
|
|||
|
|||
ตอนนี้แถวๆ บ้าน (สมุทรปราการ) ช่วงกลางวันของบางวัน น้ำขึ้นสูงค่ะ เกือบๆ เมตร เล่นเอารถเกือบจะดับไปเลยเหมือนกัน เฮ้อ นี่ขนาดฝนไม่ตกนะคะ ที่บ้านเลยวางแผน หาที่ในจังหวัดอื่นไว้ เผื่อว่าบ้านน้ำท่วมอย่างแรง จะได้มีที่ซุกหัวนอนค่ะ...
คิดถึงเนเธอร์แลนด์อยู่เหมือนกัน เพราะจริงๆ ประเทศนี้ อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล แต่ก็ไม่จมน้ำซักกะที (จนถึงตอนนี้) ต้องซูฮกเค้าจริงๆ ค่ะ เรื่องวิศวกรรมทางน้ำ มีคนไทยไปเรียนด้านนี้กันเยอะนะคะ แต่อย่างว่าแหล่ะ โครงการใหญ่ยักษ์แบบนี้ ต้องมาพร้อมเงินทุนหนาๆ เรื่องความรู้ เรื่องบุคลากร เราน่าจะพร้อมอยู่แล้ว... แต่เรื่องเงินเนี่ย.. หากลดเรื่องโกงกินกันไปได้.. เชื่อว่า เราคงมีเงินทุนพอที่จะมาสร้างอะไรดีๆ กันได้.. บ่นๆๆๆ |
#14
|
||||
|
||||
นักวิชาการหวั่นอนาคตน้ำท่วม กทม. แนะย้ายเมืองหลวง นักวิชาการหวั่นอนาคต กทม.และจังหวัดใกล้เคียงน้ำจะท่วม อีก 10 ปี จะเริ่มเห็นผล แนะรัฐบาลต้องให้ความสำคัญและเร่งศึกษา รวมถึงแนะให้ย้ายเมืองหลวงจาก กทม.ไปตั้งในพื้นที่อีสานใต้เนื่องจากเป็นพื้นที่ปลอดภัย เพราะสูงจากระดับน้ำทะเลเกินกว่า 100 ม. จากการที่องค์การกองทุน สัตว์ป่าสากล (World Wild Life Fund for Nature-WWF) เปิดเผยผลการศึกษาสภาพภูมิอากาศของเมืองใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย ที่ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลและสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ โดยให้คะแนน 1-10 ซึ่งกรุงเทพฯ ติดโผเมืองใหญ่ที่มีความเสี่ยงสูงระดับ 5 ที่จะเกิดภัยธรรมชาติเนื่องจากภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับนครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม และนครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งนักวิชาการออกมาสนับสนุนผลการศึกษาและวิตกกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น ดร. อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา นักวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า สิ่งที่เคยคาดการณ์ไว้ว่า ประเทศไทยจะมีหิมะตก โดยเฉพาะบนภูเขาทางภาคเหนือไม่ใช่เรื่องที่เหนือความคาดหมาย ขณะนี้ขาดเพียงความชื้นเท่านั้น ขณะที่พื้นที่ กทม.ถือเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยธรรมชาติ เนื่องจากระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนในอนาคต กทม.จะอยู่ใต้น้ำทะเล รวมถึงจังหวัดอื่น ๆ ด้วย อาทิ สมุทรสาคร สมุทรปราการ เป็นต้น ไม่เกิน 10 ปี ต่อจากนี้จะเริ่มเห็นผลอย่างชัดเจน ดังนั้น เห็นว่าทางรัฐบาลควรเตรียมความพร้อมในการย้ายเมืองหลวงจาก กทม.ไปตั้งที่อื่น ซึ่งสถานที่ที่ปลอดภัยและมีความเหมาะสมที่สุด คือ อีสานใต้ เพราะสูงจากระดับน้ำทะเลเกินกว่า 100 เมตร และไม่มีรอยร้าวในแผ่นดิน ขณะที่จังหวัดทางภาคเหนือมีรอยร้าวของเปลือกโลกที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่ หากไม่ย้าย ควรวางแผนสร้างเขื่อนในอ่าวไทย ความสูง 30 เมตร ตั้งแต่ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ยาวไปถึง จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อสูบน้ำออกไปข้างนอก จึงจะสามารถป้องกันไม่ให้น้ำทะเลทะลักเข้ามา ทั้งนี้ เป็นเรื่องที่รัฐบาลจะต้องให้ความสำคัญและเร่งศึกษาโดยเร็ว หากไม่ดำเนินการน้ำเค็มจะเริ่มเข้ามาในพื้นที่ กทม. และเมื่อน้ำเค็มเข้าสู่ระบบประปาประชาชนจำนวนมากจะได้รับความเดือดร้อน รวมถึงจังหวัดในภาคกลาง ทั้งกรุงเทพฯ และโบราณสถานสำคัญใน จ.พระนครศรีอยุธยา จะจมอยู่ใต้น้ำทะเลทั้งหมด ด้านนายพิจิตต รัตตกุล ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (Asian Disaster Preparedness Center-ADPC) กล่าวว่า ภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ กทม.นั้น ตามรายงานการติดตามของศูนย์ฯ พบว่าจะมี 2 อย่างที่จะเกิดขึ้นได้คือ ปริมาณน้ำทะเล น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นดินได้นานกว่าปกติ และกระแสลมที่มีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งพื้นที่ กทม.นั้นถือว่าเป็นพื้นที่ต่ำ และขณะนี้พบว่าระดับความสูงของพื้นดินนั้นสูงเพียง 40 เซนติเมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งจะทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลหนุนสูง น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาหรือคลองเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ได้มากยิ่งขึ้น แม้ว่า กทม.จะมีระบบระบายน้ำ แต่ก็จะไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่ผ่านมามีสัญญาณเตือนแล้ว คือ แผ่นดินในเขตบางขุนเทียนถูกกระแสลมและคลื่นซัดแผ่นดินหายไป ซึ่งตามรายงานพบว่าระยะเวลา 1 ปี พื้นดินเขตบางขุนเทียนถูกกระแสลมและถูกคลื่นกัดเซาะหายไปประมาณ 6-7 เมตรแล้ว ซึ่งวิธีที่เคยเสนอ คือ การสร้างเขื่อน สร้างคันกั้นน้ำในพื้นที่เสี่ยงของ กทม. และจังหวัดรอบข้าง ยังถือว่าเป็นวิธีแก้ไขเฉพาะหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งดำเนินงาน จาก : ข่าว อสมท. MCOT News วันที่ 13 พฤศจิกายน 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#15
|
||||
|
||||
หุๆ....ว่าแล้วไหมล่ะว่ามีทางเดียวที่จะกันน้ำได้..คือ..ต้องสร้างเขื่อนกั้นน้ำเหมือนเนเธอร์แลนด์
แต่ยังมัวทะเลาะกันอยู่อย่างนี้ (ในขณะเดียวกันก็โกงกินกันไม่เลิกลาสักที) เมื่อไรจะไปสร้างเขื่อนได้ล่ะค่ะนี่.... อืมมม....แต่ไปดูหนังเรื่อง "2012 วันสิ้นโลก" มาแล้ว ชักจะอิน....ไม่ต้องไปสร้างแล้วข่งเขื่อน น้ำล้างโลกมาโครมเดียว เรียบโร้ยยยยย......
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 15-11-2009 เมื่อ 21:56 |
#16
|
||||
|
||||
น่าจะต้องช่วยกันสร้างกระแสให้หนักกว่านี้ด้วยครับ ..
บางทีถ้าคนไทยหันมาตระหนักเรื่องนี้ให้มากกว่านี้ ความขัดแย้งในสังคมอาจลดลงกว่านี้ด้วยเหมือนกัน อย่างที่พี่สายชลว่า .. บางทีอาจไม่ต้องรอถึง 2019 กรุงเทพฯก็จมน้ำไปเรียบร้อยแล้ว
__________________
If we see the hearts of others, peace will follow You may say I'm a dreamer .. but I'm not the only one: John Lennon |
#17
|
||||
|
||||
เตือนอีก 10 ปี กรุงเทพฯจมน้ำลึก 2.5 เมตร
ผู้จัดการออนไลน์ เตือนอีก 10 ปี กรุงเทพฯจมน้ำลึก 2.5 เมตร เตือน 10 ปี กรุงเทพฯอ่วมเจอน้ำท่วมสูง 2.5 เมตร เผย หลักเขตบางขุนเทียนถูกน้ำทะเลล้ำ 1 กิโลแล้ว วอนคนกรุงเร่งรัฐบาลสร้างคันกั้นน้ำป้องกันน้ำทะเลหน ุน ระบุ รัฐมัวแก้ปัญหาการเมือง ฝั่งธนฯ คลองเตย บางแค จะจมน้ำ พระนคร จะท่วมถึงสวนหลวง ร.9 ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต จากกรณีโครงการวิจัยร่วมไทย-ยุโรป GEO2TECDI (Geodetic Earth Observation Technologies for Thailand : Environmental Change Detection and Investigation) ซึ่งเป็นโครงการวิจัยร่วมระหว่างประเทศไทยและสหภาพยุ โรปที่ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากสหภาพยุโรป ในโครงการตรวจวัดการเคลื่อนตัวของแผ่นดินและระดับน้ำ ทะเลโดยใช้เทคโนโลยี Space Geodetic ออกมาเปิดเผยผลวิจัย ว่า ประเทศไทยโดยรวมจะมีการทรุดตัวลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ระดับน้ำทะเลในอ่าวไทยกลับเพิ่มขึ้น ส่วนแผ่นดินกรุงเทพฯ จะทรุดลงปีละ 15 มม.โดยมีนักวิชาการเตือนว่าเหลือเวลาเตรียมป้องกันอี ก 25 ปีเท่านั้นก่อนกรุงเทพฯ จะจมน้ำ รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ กรรมการภูมิศาสตร์โลก และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวถึงกรณีดังกล่าว ว่า จากผลการวิจัยผลกระทบต่อการเกิดน้ำท่วมกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งได้รับทุนวิจัยมูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยา ศาสตร์ ประเทศไทย ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญหลายภาคส่วนจากบริษัท ปัญญา คอนเซาท์แตน จำกัด โดยการสนับสนุนของธนาคารโลก เมื่อปี 2551 คาดการณ์ว่า กรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งเป็นพื้นที่ชั้นหินอ่อนจะเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมภา ยใน 10 ปี ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นไป โดยสถานการณ์จะรุนแรงกว่าปี 2538 เพราะจากการคำนวณพบว่า ทุกๆ 25 ปี กรุงเทพฯ มีโอกาสจะเกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง (ภายในปี 2563) ทั้งนี้หากคำนวณจากปัจจัยแผ่นดินทรุดเพียงกรณีเดียว พบว่าจะเกิดปัญหาน้ำท่วมภายใน 25 ปี แต่ในความเป็นจริงปัจจัยที่เป็นสาเหตุให้เกิดน้ำท่วม ไม่ได้มีเพียงแค่กรณีเดียว แต่ประกอบด้วย 4 ปัจจัยดังต่อไปนี้ 1.ปริมาณฝนที่ตกลงมา ขณะนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 5-10% ต่อปี 2.การทรุดตัวของแผ่นดิน ซึ่งในอดีตแผ่นดินกรุงเทพฯ จะทรุดตัวต่ำลงประมาณปีละ 100 มม.แต่ในปัจจุบันหลังมีมาตรการห้ามขุดเจาะน้ำบาดาล อัตราการทรุดตัวเฉลี่ยอยู่ที่ปีละ10-20 มม. 3.ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน มีอัตราน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉลี่ยปีละประมาณ 3 มม.4.ผังเมืองและความแออัดของชุมชนเมือง ทำให้พื้นที่สีเขียวหรือพื้นที่ชุ่มน้ำของกรุงเทพฯ ลดลงกว่า 50% เมื่อมีน้ำเหนือไหลมาหรือมีปริมาณฝนมากขึ้นจึงไม่มีพ ื้นที่รองรับน้ำ รศ.ดร.เสรี กล่าวต่อไปว่า กรุงเทพฯ มีแผ่นดินที่ติดน้ำทะเลเพียงแห่งเดียว คือ เขตบางขุนเทียน ซึ่งขณะนี้หลักเขตกรุงเทพมหานครในเขตบางขุนเทียน ถูกน้ำทะเลล้ำเขตเข้ามาประมาณ 1 กิโลเมตร แสดงให้เห็นว่า แผ่นดินจมหายไป 1 กิโลเมตร ทั้งนี้รัฐบาลต้องเร่งแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยวิธีสร้าง คันกั้นน้ำ เพื่อป้องกันน้ำทะเลหนุน โดยสามารถเลือกสร้างได้ทั้งคันดินสีเขียวเพื่อปลูกต้ นไม้ หรือสร้างคันเป็นถนนสำหรับรถวิ่งลักษณะเดียวกับประเท ศเวียดนามที่ก่อสร้างไปแล้วเป็นระยะทาง 30 กิโลเมตร ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่ลงมือแก้ปัญหาเพราะติดปัญหาท างการเมือง ปัจจุบันนี้การแก้ปัญหาน้ำท่วมดำเนินการโดยวิธีสูบน้ ำเหนือที่ไหลทะลักให้แยกออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งขวาให้ไหลลงแม่น้ำบางปะกง ส่วนฝั่งซ้ายให้ไหลลงแม่น้ำท่าจีน แต่ในอนาคตสิ่งสำคัญที่สุด คือ ต้องป้องกันน้ำทะเลหนุนให้ได้ ธนาคารโลกเคยนำเสนอปัญหาดังกล่าวต่อรัฐบาลไทยแ ล้ว เพราะที่ประชุมคณะกรรมการภูมิศาสตร์โลกมองว่ามีความเ สี่ยงสูง แต่สิ่งที่ได้กลับมา คือ ความนิ่งเฉยของรัฐบาลไทย ทั้งนี้ เราไม่สามารถรู้ได้ว่าน้ำจะท่วมเมื่อใด แต่หากเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริงคาดว่าระดับน้ำท ี่ท่วมจะสูงถึง 1-2.5 เมตร สูงต่ำตามระดับพื้นดิน โดยจะรุนแรงมากในพื้นที่ฝั่งตะวันตก ฝั่งธนบุรี เขตคลองเตยจนถึงบางแค สำหรับฝั่งพระนครจะท่วมถึงบริเวณสวนหลวง ร.9 เพราะฉะนั้นประชาชนชาวกรุงเทพฯ ควรเรียกร้องให้รัฐบาลและเขตการปกครองท้องถิ่นตระหนั กถึงปัญหาตรงจุดนี้ เพื่อเร่งสร้างคันกั้นน้ำให้เร็วที่สุดเพราะการก่อสร ้างต้องใช้เวลานานถึง 5 ปี หากเราลงมือทำกันจริงๆ วันนี้ก็ยังแก้ปัญหาทันอยู่ เพียงแต่เรายังไม่เริ่มเท่านั้น ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าว
__________________
Saaychol |
#18
|
||||
|
||||
Science Film: “ฟิล์มไทย" ชวนรักษ์ "ขุนสมุทรจีน" กันน้ำท่วมกรุง แม้จะมีความพยายามหลายทางเพื่อป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ แต่ก็ยังความกังวลว่าน้ำอาจท่วมเมืองหลวงของไทยอย่างถาวรได้ และความกังวลนั้นได้สะท้อนผ่าน "ฟิล์มไทย" ในเทศกาล "ไซน์ฟิล์ม" “น้ำท่วมกรุงเทพฯ" (The Inundation of Bangkok) เป็นภาพยนตร์ไทยท่ามกลางท่ามกลางภาพยนตร์นานาชาติที่จัดฉายใน "เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 6” (Science Film Festival 2010) ระหว่าง 16-30 พ.ย.53 สะท้อนความกังวลดังกล่าวออกมาอย่างชัดเจน ข้อมูลเบื้องต้นระบุว่ากรุงเทพฯเคยเกิดน้ำท่วมใหญ่เมื่อ พ.ศ. 2460 เนื่องจากน้ำเหนือไหลบ่า และเกิดน้ำท่วมหลังจากนั้นอีกหลายครั้ง แต่ไม่หนักและไม่นานระดับน้ำก็ลดลง แต่มีข้อสันนิษฐานที่เป็นได้ว่าอาจเกิดน้ำท่วมกรุงเทพฯได้อย่างถาวร ข้อสันนิษฐานหนึ่งคือเขื่อนวชิรากรณ์และเขื่อนศรีนครินทร์ใน จ.กาญจนบุรี ที่กักเก็บน้ำปริมาณมาก และหากเขื่อนเหล่านี้เกิดแตกขึ้นมาเนื่องจากแผ่นดินไหว ย่อมทำให้กรุงเทพฯจมน้ำได้ ที่สำคัญเขื่อนทั้ง 2 แห่งอยู่ใกล้กับแนวรอยเลื่อนถึง 13 รอย และมีถึง 2 รอยที่เป็นรอยเลื่อนสำคัญ คือ รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์และรอยเลื่อนเจดีย์ด่าน 3 องค์ อีกข้อสันนิษฐานคือภาวะโลกร้อนและปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเป็รปัจจัยที่อาจทำให้กรุงเทพฯจมน้ำได้ ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ยกกรณี "บ้านขุนสมุทรจีน" ใน จ.สมุทรปราการ ที่ถูกน้ำกัดเซาะชายฝั่งจนพื้นที่ถูกน้ำทะเลกลืนหายไป 4-5 กิโลเมตร แม้กระทั่งวัดขุนสมุทราวาสที่เคยอยู่ท้ายหมู่บ้านยังจมอยู่ในกระแสน้ำ สิ่งที่ชาวบ้านต้องการและสะท้อนผ่านภาพยนตร์เรื่องนี้คือการแก้ปัญหาที่ถูกจุด และทำให้ชาวบ้านได้อาชีพกลับมา เพราะแม้จะมีความช่วยเหลือที่หลากหลาย และความพยายามแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่ทดลองมาหลายอย่างนั้น บ้างได้ผลชั่วครั้งชั่วคราว บ้างไม่ได้ผลเลยและยังเป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพประมงของชาวบ้าน “เขื่อนสลายกำลังคลื่น" ซึ่งเป็นแท่งคอนกรีตทรงกระบอกที่ปักอยู่บริเวณน้ำตื้นเป็นสิ่งที่ชาวบ้านต้องการ เพราะเขื่อนสลายกำลังดังกล่าวจะช่วยลดความรุนแรงของกำลังคลื่นได้ และยังซัดตะกอนกลับมาตกที่ชายฝั่ง ซึ่งจะทำให้ชาวบ้านได้พื้นที่กลับมาและได้อาชีพกลับมาด้วย “ถ้าปล่อยไว้ไม่ทำอะไร สุดท้ายกรุงเทพฯ ก็จะได้รับผลกระทบ" เป็นข้อความทิ้งท้ายจากภาพยนตร์ให้เราร่วมดูแลขุนสมุทรจีน จาก : ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#19
|
||||
|
||||
แนะสร้างเขื่อนอ่าวไทยป้องกท.จม สมิทธชี้เสี่ยงท่วมหนัก กูรูภัยพิบัติธรรมชาติ "ดร.สมิทธ" เตือนรัฐบาลเร่งทุกฝ่ายทำงานร่วมกันป้องกันเหตุสึนามิ เชื่อไทยยังอยู่ในพื้นที่เสี่ยงเกิดขึ้นอีกครั้ง ย้ำภาวะโลกร้อนทำภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดถี่และรุนแรงขึ้น ระบุกรุงเทพฯเสี่ยงโดนน้ำท่วมหนัก แนะสร้างเขื่อนปากอ่าวไทย ขณะที่ “ดร.ก้องภพ” ชี้ระบบสุริยจักรวาลมีส่วนทำให้เกิดภาวะโลกร้อนด้วย ชี้หากพลังงานสุริยะเกิดการเสียดสีกันจะเกิดภัยพิบัติตามมาได้ เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวถึงสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติในปัจจุบันว่า ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับโลกถี่มากขึ้น ทั้งน้ำท่วม แผ่นดินไหว พายุรุนแรง เป็นต้น มีปัจจัยหลักมาจากภาวะโลกร้อน แม้ปกติจะเกิดขึ้นได้ตามกลไกของธรรมชาติ แต่การกระทำของมนุษย์ เช่น ตัดไม้ ใช้สารเคมี ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้โลกมีการเปลี่ยนแปลงจนเข้าสู่ภาวะโลกร้อนที่รุนแรงและรวดเร็วขึ้น การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลกมีผลต่อระบบนิเวศ เช่น น้ำแข็งขั้วโลกละลายเพิ่มขึ้น สภาพอากาศแปรปรวน ร้อนจัด และอากาศที่หนาวจัด ทำให้มีหิมะปกคลุมมาก เหมือนที่กำลังเกิดขึ้นในทวีปยุโรป หรือเมื่อเกิดฝนตกในปริมาณมากเป็นเวลานานส่งผลให้เกิดน้ำท่วมหนักและแผ่นดินถล่มได้ ดร.สมิทธ กล่าวต่อว่า ปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติทั้งหมด สามารถคำนวณเวลาเกิดได้เกือบทั้งสิ้น มีเพียงเหตุการณ์แผ่นดินไหวอย่างเดียวเท่านั้นที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดเมื่อไร ที่ไหน แต่เมื่อเกิดขึ้นในระดับรุนแรงแล้ว เราสามารถคาดการณ์ได้ว่ามีโอกาสจะเกิดสึนามิตามมาหรือไม่ จากการศึกษาข้อมูลและนำมาวิเคราะห์คิดว่าภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มีโอกาสเกิดขึ้นกับประเทศไทยได้มากที่สุด คือ น้ำท่วมกรุงเทพฯ โดยมีสาเหตุจากภาวะโลกร้อน ที่ทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลายเร็วจนทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น เกิดการกัดเซาะชายฝั่ง ขณะที่ดินในกรุงเทพฯเป็นดินอ่อนมีการทรุดตัวลงทุกปี “โดยส่วนตัวยังเชื่อว่าไทยจะประสบภัยสึนามิได้อีก หากเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงแถบภูมิภาคนี้ โดยเกิดขึ้นได้ทั้งฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย หากเกิดขึ้นฝั่งอ่าวไทยจะมีความรุนแรงน้อยกว่าฝั่งทะเลอันดามัน อย่างไรก็ตามต้องดูการเกิดแผ่นดินไหวเป็นองค์ประกอบ จึงจะคาดการณ์ได้ว่าสึนามิอาจจะเกิดขึ้นในพื้นที่ใด ที่ผ่านมาภาครัฐไม่ให้ความสำคัญกับการป้องกันและเตือนภัยเท่าที่ควร หน่วยงานต่างๆที่มีหน้าที่รับผิดชอบยังขาดการประสานงานที่ดี และรัฐบาลต้องจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ ทั้งเรื่องอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ การป้องกัน และการซ้อมเตือนภัย” ดร. สมิทธกล่าว ประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวอีกว่า เรื่องน้ำท่วมกรุงเทพฯ ที่มีผลงานวิจัยระบุว่ามีโอกาสเกิดขึ้น เราสามารถป้องกันได้ ด้วยการก่อสร้างเขื่อนหรือคันคอนกรีตป้องกันน้ำสูง 10 เมตร รอบบริเวณปากอ่าวไทย แม้ใช้งบประมาณมากก็จำเป็นต้องทำ ไม่เช่นนั้นจะไม่ทันเวลา เพราะขณะนี้ประเทศเวียดนาม ที่ประสบปัญหาเหมือนกันได้ลงมือก่อสร้างไปแล้ว ด้าน ดร.ก้องภพ อยู่เย็น วิศวกรคนไทย จากองค์การนาซา สหรัฐอเมริกา ที่สนใจและศึกษาเกี่ยวกับระบบสุริยจักรวาล กล่าวว่า ภาวะโลกร้อนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน หลายคนรู้ว่าสาเหตุหลักมาจากการกระทำของฝีมือมนุษย์ แต่ในความเป็นจริงปรากฏการณ์ที่ทำให้โลกร้อนนั้น อาจจะเกิดขึ้นจากระบบสุริยจักรวาล โดยที่ดวงอาทิตย์ส่งพลังงานสุริยะมายังโลกและการเกิดภัยพิบัติน้ำท่วมหนักในไทยช่วงที่ผ่านมาก็ไม่ใช่เพราะภาวะโลกร้อนเพียงอย่างเดียว “โลกของเรานั้นอยู่ในระบบสุริยจักรวาล ในกาแล็กซีทางช้างเผือกหรือที่เรียกว่ามิลกี้เวย์ ซึ่งจะโคจรรอบดวงอาทิตย์และหมุนรอบตัวเอง กาแล็กซีทางช้างเผือกนั้นมีรูปแบบเป็นระนาบเห็นเป็นแถบเส้นตรงใน 33 ล้านปี จะเกิดการตัดผ่านของระบบสุริยจักรวาล สิ่งที่เราจะพบในช่วงของการตัดผ่านนั่นก็คือการเสียดสีของพลังงานสุริยะและจะเกิดภัยพิบัติตามมา สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการเสียดสี มาจากดวงอาทิตย์จะผลักฝุ่นละอองบางอย่างออกมาตลอดเวลา มีลักษณะเป็นพลาสมาเรียกว่าลมสุริยะ โดยทุก ๆ 11 ปีจะมีการเปลี่ยนแปลงของลมสุริยะ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นครั้งล่าสุดนั้น จะตรงกับการตัดผ่านของระบบสุริยจักรวาลพอดี (33 ล้านปีเกิดครั้งหนึ่ง) จึงเป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโลก” ดร.ก้องภพ กล่าว ดร.ก้องภพ กล่าวต่อว่า โลกจะเกิดการเปลี่ยนแปลงมากพอสมควร ถ้าดูจากการเกิดปรากฏการณ์ครั้งที่ผ่านๆมา แต่ในครั้งนี้พิเศษมากกว่า ผลกระทบของลมสุริยะทำให้เกิดพายุมากขึ้นใหญ่ขึ้น และอาจเชื่อมโยงถึงแผ่นดินไหว และเกิดการกระเพื่อมของระบบไฟฟ้าทั่วโลก จนทำให้เกิดไฟดับได้ นอกจากนั้นยังส่งผลต่อสภาพอากาศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือโลกจะร้อนขึ้น น้ำจะท่วมเพราะเกิดการระเหยของมหาสมุทร อากาศจะร้อนจัด ป่าไม้ที่เคยอุดมสมบูรณ์อาจกลับกลายเป็นทะเลทรายที่แห้งแล้ง ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากการตัดผ่านของระบบสุริยจักรวาลและพลังงานสุริยทั้งสิ้น สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานสัมมนาเชิงวิชาการ “เจาะลึกภัยพิบัติพลิกวิกฤติให้เป็นทางรอด” ลงทะเบียนสำรองที่นั่งผ่าน เว็บไซต์พลังจิตดอทคอม www.palungjit. com/seminar/และอีเมล seminar@ palungjit.org หรือโทร. 08-6534-1112 ถึงวันที่ 16 ธ.ค. จำนวน 1,200 ที่นั่ง เท่านั้น โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ งานจะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 19 ธ.ค. เวลา 08.30-17.00 น. ที่ห้องบัวหลวงแกรนด์รูม ชั้น 6 อาคาร ดร.สุข พุคยาภรณ์ มหาวิทยาลัย ศรีปทุม วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพฯ. จาก .................. เดลินิวส์ วันที่ 14 ธันวาคม 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#20
|
||||
|
||||
น้ำท่วมกรุงเทพฯ ปีหน้าและปีต่อๆไป พ้นเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ก็จะมีการพูดคุยออกข่าวหาวิธีป้องกันน้ำท่วมหรืออุทกภัยกัน พอปลายเดือนธันวาคมข่าวเรื่องการป้องกันน้ำท่วมก็จะเลือนหายไป เพื่อป้องกันปัญหาที่จะมาอีกในปีหน้าและปัญหาที่จะมาถึงในอีก 10 ปีข้างหน้า เรื่องนี้ นายเสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมฯ กล่าวว่าให้ศึกษาแบบจำลองผลกระทบภาวะน้ำท่วม และน้ำทะเลขึ้นสูงในเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) ชั้นในและปริมณฑล ในเมื่อกทม. เป็น 1 ใน 9 เมืองในทวีปเอเชียมีความเสี่ยงสูงที่น้ำทะเลจะเอ่อทะลักเข้าท่วมในเมือง พบว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้น้ำท่วม กทม. ชั้นในมี 4 ปัจจัย คือ 1.ปริมาณน้ำฝนที่ตกเพิ่มขึ้นถึง 15 % ในปัจจุบัน 2.แผ่นดินในกทม. ทรุดตัวปีละ 4 มิลลิเมตร 3.ระดับน้ำทะเลฝั่งอ่าวไทยสูงขึ้น 1.3 เซนติเมตรต่อปี และ 4. เกิดจากภาพรวมของระบบผังเมืองใน กทม. ที่พบว่า ปัจจุบันพื้นที่ชุ่มน้ำและพื้นที่สีเขียว ลดลงไปกว่า 50 % ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะมีประชากรในกทม. ประมาณ 680,000 คน ได้รับผลกระทบน้ำจะเอ่อเข้ามาท่วมอาคารที่ 1.16 ล้านหลัง ในจำนวนนี้จะเป็นบ้านพักอาคาร 9 แสนหลังคาเรือน โดย 1 ใน 3 จะอยู่ในพื้นที่บางขุนเทียน บางบอน บางแค และพระสมุทรเจดีย์ จ. สมุทรปราการ อาคาร-ที่พักอาศัยเขตดอนเมืองรวม 89,000 อาคารจะได้รับผลกระทบ รวมความเสียหายราว 1.5 แสนล้านบาท ผลวิจัยได้เสนอวิธีป้องกันและแก้ปัญหาเอาไว้ 3 ทาง คือ 1.เร่งหาพื้นที่แก้มลิงเหนือ กทม. ตั้งแต่สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา เพื่อเป็นที่ระบายน้ำ 2. เร่งขุดขยายคลองระบายน้ำที่มีอยู่เวลานี้โดยเรือ และ 3.ต้องสร้างคันกั้นน้ำในพื้นที่ชายฝั่งทะเล เพื่อป้องกันน้ำเอ่อทะลักเข้ามาในพื้นที่ กทม. โดยสร้างเป็นคันดินในพื้นที่ริมฝั่งทั้งหมด ระยะทาง 80 กิโลเมตร ด้าน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กทม.กำลังดำเนินการสร้างระบบอุโมงค์ยักษ์ ซึ่งเป็นแผนครั้งใหญ่เพื่อบูรณาการการป้องกันปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ ให้เกิดผลอย่างยั่งยืน ประกอบด้วยอุโมงค์ใต้ดินขนาดยักษ์ 4 แห่ง ซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของกรุงเทพฯ มากกว่า 2 เท่าภายใน 5 ปี หลังจากงบส่วนใหญ่ใช้ตามแก้น้ำท่วมเฉพาะหน้า ใช้งบประมาณไปกับการซื้อกระสอบทราย ซื้อปั๊มน้ำเพิ่มกันทุกปี โดย 3 ปีที่ผ่านมา กทม.ใช้งบประมาณไปกับมาตรการต่างๆเพื่อป้องกันน้ำท่วมกว่า 11,000 ล้านบาท แต่สุดท้ายพอฝนตกหนัก น้ำก็ยังท่วมกรุงเทพฯ อุโมงค์ยักษ์แห่งแรกจะก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนมกราคม 2554 แห่งที่สองจะเริ่มก่อสร้างในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 และแห่งที่สามและสี่จะสร้างในปี 2555 โดยจะเสร็จสิ้นทั้งระบบภายใน 5 ปี พื้นที่ที่จะได้รับประโยชน์จากระบบอุโมงค์ยักษ์ ได้แก่ ย่านลาดพร้าว วังทองหลาง บางกะปิ ห้วยขวาง บึงกุ่ม สะพานสูง ดินแดง จตุจักร พญาไท ดุสิต บางซื่อ ดอนเมือง หลักสี่ บางเขน บางส่วนของเขตสายไหม ประเวศ พระโขนง บางนา และสวนหลวง ข้อสังเกตในที่นี้ก็คือ แนวความคิดในการมองปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ ที่แตกต่างกัน ผู้อำนวยการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมมองปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯว่ามี 4 ปัจจัย แต่ผู้ว่าฯ กทม. มองปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ ว่ามาจากน้ำหลากและน้ำทะเลหนุนทะลัก คนกรุงเทพฯจะเชื่อใคร ว่าน้ำท่วมกรุงเพราะอะไร และจะเชื่อวิธีแก้ปัญหาของใคร หากความเห็นของผอ.ศูนย์พลังงานเป็นจริง อาคาร 1.16 ล้านหลัง จะแก้ไขอย่างไร ใครเป็นเจ้าของอาคารใน 1.16 ล้านหลัง จะทำอย่างไร เตือนไว้ก่อน 10 ปี ก็รีบหาทางแก้ไขป้องกันตัวเองเอาแล้วกัน จาก ...................... ข่าวสด คอลัมน์ เลาะรั้ว วันที่ 25 ธันวาคม 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
เรียบเรียงคำตอบ | |
|
|