เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 20-09-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันจันทร์ที่ 20 กันยายน 2564

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในระยะนี้ไว้ด้วย

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร และอ่าวไทยมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 20 - 24 ก.ย. 64 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง มีแนวโน้มจะเคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศเวียดนามตอนลางและลาวตอนกลาง ในช่วงวันที่ 19 - 20 ก.ย. 64 ส่งผลให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 20- 25 ก.ย. 64 ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง โดยหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 20-09-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


UN เตือน แผนลดโลกร้อนกำลังไปผิดทาง จี้นานาชาติรีบหั่นก๊าซเรือนกระจก



องค์การสหประชาชาติออกโรงเตือนว่า แม้ตอนนี้นับร้อยประเทศมีแผนรับมือกับปัญหาความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ แต่โลกยังคงกำลังร้อนขึ้นไปสู่ระดับที่อันตราย

สำนักข่าว บีบีซี รายงานว่า ผู้เชี่ยวชาญของสหประชาชาติหลายคนได้วิเคราะห์แผนรับมือปัญหาความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ของรัฐบาลมากกว่า 100 ประเทศ และได้ข้อสรุปว่า พวกเขากำลังไปผิดทาง

เมื่อไม่นานมานี้ นักวิทยาศาสตร์เพิ่งออกมายืนยันว่า เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เลวร้ายที่สุดของภาวะโลกร้อน ทั่วโลกจำเป็นต้องตัดลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 45% ของระดับปัจจุบัน ภายในปี 2573 แต่ผลการวิเคราะห์ใหม่กลับพบว่า ระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในช่วงเวลาดังกล่าวกลับเพิ่มขึ้นถึง 16%

เรื่องนี้หมายความว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มขึ้นจากยุคก่อนอุตสาหกรรมถึง 2.7 องศาเซลเซียส ไกลกว่าขีดจำกัดที่ทั่วโลกขีดเอาไว้ที่ 1.5 องศาฯมาก ?การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นถึง 16% นั่นเป็นสิ่งที่น่ากังวลมาก? นางแพทริเซีย เอสปิโนซา หัวหน้าผู้แทนเจรจาด้านสภาพอากาศขององค์การสหประชาชาติกล่าว

ทั้งนี้ การเปิดเผยล่าสุดสะท้อนให้เห็นขนาดของความท้าทายที่นานาชาติต้องเผชิญที่การประชุมสุดยอดด้านภูมิอากาศครั้งที่ 26 (COP26) ที่เมืองกลาสโกว์ในอีก 6 สัปดาห์ข้างหน้า โดยภายใต้ความตกลงปารีส ชาติที่เข้าร่วมต้องอัปเดตแผนลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนของประเทศทุกๆ 5 ปี

แต่สหประชาชาติพบว่า จากชาติสมาชิกทั้งหมด 191 ประเทศ มีเพียง 113 ประเทศที่มีแผนที่ได้รับการอนุมัติ โดยนายอาลอค ชามาร์ รัฐมนตรีอังกฤษ ซึ่งจะร่วมการประชุม COP26 ด้วย กล่าวว่า ประเทศที่มีแผนสภาพอากาศสามารถเปลี่ยนเส้นกราฟการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับต่ำลงมาได้แล้ว แต่หากไม่มีความร่วมมือจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะชาติเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุด ความพยายามเหล่านี้จะสูญเปล่า

ขณะที่ผลการศึกษาโดยองค์กรอิสระด้านแผนสภาพอากาศ 'Climate Action Tracker' พบว่า มีไม่กี่ประเทศเท่านั้นในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ทั้ง 20 (G20) รวมทั้งสหราชอาณาจักรและสหรัฐฯ ที่เพิ่มเป้าหมายการตัดลดก๊าซเรือนกระจก ขณะที่จีน, อินเดีย, ซาอุดีอาระเบีย และตุรกี ซึ่งมีอัตราปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมถึง 33% ของปริมาณทั้งหมด ยังไม่ได้ยื่นแผนอัปเดตเลย ส่วน บราซิล, เม็กซิโก และรัสเซีย ยังมีแนวโน้มการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มสูงขึ้น

นายโซยนัม พี. วังดี ประธานกลุ่มประเทศด้อยพัฒนาที่สุด (Least Developed Countries group) ซึ่งเสี่ยงต่อปัญหาระดับน้ำทะเลเพิ่มสูง และคลื่นความร้อนกับความแห้งแล้งสุดขั้ว อันเป็นผลการที่อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น ออกมาเรียกร้องใหชาติ G20 รีบลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยเร็ว "ประเทศเหล่านี้มีศักยภาพและมีส่วนรับผิดชอบใหญ่หลวงที่สุด และมันเลยเวลาที่พวกเขาควรยกระดับมาตรการ และแก้วิกฤตินี้ให้เหมือนกับว่ามันเป็นวิกฤติจริงๆ มานานแล้ว".


https://www.thairath.co.th/news/foreign/2197241

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 20-09-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


สภาพอากาศสุดขั้ว! WMO ส่งสัญญาณหายนะ "เกิดถี่และรุนแรงขึ้น"



องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ออกเป็นรายงานฉบับแรก เปิดเผยความเชื่อมโยงระหว่าง คุณภาพอากาศ ภาวะโลกร้อน และโรคระบาดจากไวรัสโควิด-19

WMO ตรวจสอบความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดระหว่าง 3 ปัจจัย คือ คุณภาพอากาศกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และมาตรการล็อคดาวน์จากการควบคุมการระบาดไวรัสโควิด-19 แม้ว่าได้รับข่าวดีในช่วงแรกๆ ว่าการระบาดของโรคเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การปล่อยมลพิษลดลง แต่สิ่งที่ตามมาอีกนั้นยังไม่จบ
ผลลัพธ์จากมาตรการล็อกดาวน์ที่รัฐบาลกำหนดและข้อจำกัดการเดินทางเพื่อควบคุมการแพร่กระจายของโควิด-19 ส่งผลให้คุณภาพอากาศดีขึ้นในหลายส่วนของโลก ตัวอย่าง เช่น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย) มีปัญหาอนุภาคในอากาศลดลง 40% ในปี 2563

นี่เป็นข่าวดี แต่เป็นข่าวดีแค่ช่วงสั้นๆ เพราะทันทีที่โรคระบาดคลายตัวลง การล็อคดาวน์ก็ไม่จำเป็นอีก การปล่อยมลภาวะก็จะเพิ่มขึ้นอีก แต่มันไม่ได้จบลงแค่นั้น เพราะ WMO ยังพบด้วยว่า ในช่วงเวลาเดียวกันเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมกลับทำให้เกิดพายุทรายและฝุ่นรวมถึงไฟป่าที่ยังส่งผลต่อคุณภาพอากาศอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

WMO กล่าวถึงปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้น ว่า ระหว่างปีที่แล้วและในปีนี้ที่มีการล็อคดาวน์ ถึงแม้ว่ามนุษย์จะปล่อยมลภาวะลดลง (ซึ่งก็ไม่ได้ลดอย่างยั่งยืนอีก) ธรรมชาติยังทำหน้าที่แทนมนุษย์ในการทำให้ภาวะโลกร้อนติดลมบนจนกระทั่งไม่ต้องมีมนุษย์ ธรรมชาติก็ยังขับเคลื่อนกระบวนการทำลายคุณภาพอากาศด้วยตัวมันเอง

มีเหตุการณ์ที่รุนแรงมากหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2563 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเผาไหม้ของมวลชีวภาพ โดยเฉพาะไฟป่าหลายพื้นที่ เช่น ในไซบีเรียและสหรัฐอเมริกา ซึ่งเกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อน ไฟป่าเหล่านี้ก่อให้เกิดมลพิษจนเกิดผลกระทบต่อคุณภาพอากาศในพื้นที่ และไม่ใช่แค่ในพื้นที่นั้น ๆ พวกเขายังพบว่า เหตุการณ์ไฟป่าในออสเตรเลียยังทำให้คุณภาพอากาศลดลงอย่างมากในส่วนต่าง ๆ ของโลก

WMO ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศสามารถส่งผลต่อระดับมลพิษโดยตรง พวกเขาบอกว่า ความถี่และความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นของคลื่นความร้อนอาจนำไปสู่การสะสมของสารมลพิษใกล้พื้นผิวของโลกมากขึ้น รายงานระบุว่าไฟป่าที่รุนแรงได้ปะทุขึ้นในหลายส่วนของโลก ฝุ่นและพายุทรายขนาดมหึมายังทำให้มลพิษทางอากาศแย่ลงอีกด้วย

นี่คือความน่ากลัวของ "climate change" ถึงแม้ว่า น้ำมือมนุษย์จะมีส่วนอย่างมากที่ทำให้เกิดเรื่องพวกนี้ แต่เมื่อมันติดลมบนแล้ว เราจะพบว่า ธรรมชาติเริ่มที่จะขับเคลื่อนการทำลายตัวเองโดยไม่ต้องยืมมือมนุษย์อีก ธรรมชาติแปรปรวนจนสร้างไฟป่าที่เลวร้ายที่สุดในช่วงเวลาแค่ 2 ปีมานี้ ทั้ง ๆ ที่เป็นช่วงที่มนุษย์กักตัวเองและลดการสร้างมลพิษ

ถึงแม้มนุษย์จะกักตัวเองด้วยมาตรการล็อคดาวน์ และได้ชื่นชมกับท้องฟ้าสีครามไร้มลพิษและฝุ่นพีเอ็มช่วงสั้นๆ แต่เรายังไม่รอดจากผลกระทบระยะยาว ลองดูตัวอย่างที่นิวซีแลนด์ที่เป็นเกาะห่างไกลและเหมือนจะล็อคดาวน์ตัวเองจากโลกภายนอก ตอนนี้นิวซีแลนด์กำลังเจอกับผลของภาวะโลกร้อนที่คาดไม่ถึง

เมื่อไม่นานนี้สถาบันวิจัยน้ำและบรรยากาศแห่งชาติ (NIWA) ของนิวซีแลนด์ระบุว่า อุณหภูมิในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม สูงกว่าค่าเฉลี่ย 1.32 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงกว่าสถิติเดิมที่เคยตั้งไว้ในปีที่แล้ว ทำให้ช่วงนี้เป็นฤดูหนาวที่อุ่นที่สุดเป็นประวัติการณ์ (นิวซีแลนด์มีฤดูหนาวอยู่ช่วงกลางปี เนื่องจากอยู่ในซีกโลกใต้)

นิวซีแลนด์ที่ดูเหมือนจะห่างไกลจากหายนะ หรือในออสเตรเลียที่เกิดไฟป่าที่เลวร้ายที่สุดในโลก ตอนนี้พวกเขาพบว่า สถานีตรวจวัดแห่งหนึ่งใกล้เมืองเวลลิงตันที่เคยบันทึกความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ที่ 320 ส่วนต่อล้านในช่วงต้นทศวรรษ 1970 แต่ตอนนี้ระดับอยู่ที่ 412 ส่วนต่อล้านส่วนหรือเพิ่มขึ้นเกือบ 30%

WMO เตือนว่า มลพิษทางอากาศมีผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพของมนุษย์ การประมาณการจากการประเมินภาระโรคทั่วโลกล่าสุด (Global Burden of Disease) แสดงให้เห็นว่า การเสียชีวิตจากมลพิษทั่วโลกเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าจาก 2.3 ล้านคนในปี 2535 เป็น 4.5 ล้านคนในปี 2562 ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากฝุ่นละออง


https://mgronline.com/greeninnovatio.../9640000092821
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 20-09-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


ปัญหาน้ำเสียจากชุมชน แหล่งกำเนิดใหญ่ที่รอการแก้ไขให้เป็นรูปธรรม ............. โดย ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย



น้ำเป็นปัจจัยหนึ่งในการดำรงชีวิตของคนและสิ่งมีชีวิต สมัยก่อนหลายคนคงเคยเห็นแม่น้ำลำคลองใสสะอาดสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการบริโภคและอุปโภคได้ แต่ในปัจจุบันคุณภาพน้ำเสื่อมลง ก่อให้เกิด น้ำเน่าเสีย มีสีดำ ส่งกลิ่นเหม็น จนไม่สามารถนำน้ำมาใช้ได้ และยังมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโรคต่างๆ ที่มากับน้ำ รวมทั้งปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ประเทศไทยกำลังประสบอยู่ขณะนี้

ในวันหนึ่งๆ เราจะใช้น้ำประมาณ 150 -200 ลิตรต่อคนต่อวัน จากกิจกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่ตื่นนอน น้ำดีจึงกลายเป็นน้ำเสีย เพราะฉะนั้นปัญหาของน้ำเสียส่วนใหญ่จึงมาจากแหล่งชุมชน ประกอบด้วย บ้านพักอาศัย อาคารพาณิชย์ คอนโดมิเนียม โรงแรม โรงพยาบาล ตลาด ศูนย์การค้า หรือหมู่บ้านจัดสรร ซึ่งส่วนมากจะไม่มีระบบบำบัดน้ำเสีย หรือมีแต่ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง

น้ำเสียส่วนใหญ่จึงถูกปล่อยทิ้งลงสู่แหล่งน้ำ คู คลอง แม่น้ำ และทะเล ส่วนแหล่งในพื้นที่ท่องเที่ยวในขณธปกติหลายพื้นที่มีคุณภาพน้ำที่เสื่อมโทรม แต่ในช่วงการระบาดของโควิด-19 คุณภาพน้ำทะเลโดยทั่วไปจะดีขึ้น เพราะนักท่องเที่ยวลดลง และพื้นที่ชายฝั่งทะเลฟื้นตัว จะเห็นได้จากการกลับมาของสัตว์ทะเลในพื้นที่ต่าง ๆ


ความท้าทายของการจัดการน้ำเสียให้เป็นรูปธรรม

ปัญหาน้ำเน่าเสียของประเทศไทยก็เป็นประเด็นความท้าทายที่หลายหน่วยงานพยายามหาทางแก้ไขโดยมีเป้าหมายฟื้นฟูแหล่งน้ำสำคัญๆในแม่น้ำสายหลักและชายฝั่งทะเล

ต้นเหตุหลักมาจากแหล่งชุมชนโดยเฉพาะชุมชนเมืองที่อยู่ริมน้ำดังกล่าวแล้ว ที่ประเมินสัดส่วนน้ำเสียกว่าร้อยละ 70 รองลงมาคือ น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม และการเกษตร ทั้ง การเพาะปลูก การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการปศุสัตว์

ดังนั้นการฟื้นฟูคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำทั้งน้ำจืดและน้ำทะเล ระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนจึงเป็นสิ่งจำเป็น หลายแห่งก็ยังไม่มีระบบการจัดการน้ำเสีย โดยเฉพาะเขตกรุงเทพมหานครมีการบำบัดน้ำเสียได้ประมาณร้อยละ 40 ส่วนที่เหลือมากว่าร้อยละ 60 ถูกปล่อยลงสู่แม่น้ำ คูคลอง

ในเมืองใหญ่ๆทั่วประเทศไทย มีระบบบำบัดน้ำเสียกว่า 100 ระบบ แต่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงครึ่งหนึ่ง ส่วนที่เหลือยังบำบัดน้ำเสียไม่ได้มาตรฐาน และหลายพื้นที่ก็ยังไม่สามารถดำเนินการหรือไม่มีโครงการที่จะดำเนินการแม้เป็นแหล่งกำเนิดสำคัญที่ทำให้น้ำในแหล่งน้ำเน่าเสีย แหล่งกำเนิดประเภทอุตสาหกรรม และเกษตรกรรม จะต้องดำเนินการระบบบำบัดน้ำเสียให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้และการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวด เพื่อลดของเสียลงสู่ คูคลอง แม่น้ำ และทะเล

ผลกระทบที่เห็นชัดแล้ว ได้แก่ น้ำทะเลเป็นสีเขียวๆ ที่เรียกว่า สาหร่อยบูม หรือ แพงค์ตอนบลูม ทำให้น้ำขาดออกซิเจนในบางเวลา กระทบต่อวงจรชีวิตสัตว์น้ำ หรือกรณีน้ำเน่าเสียในหลายพื้นที่โดยเฉพาะเมืองท่องเที่ยว เช่น เกาะสมุย หาดป่าตอง เกาะพีพี เป็นต้น ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ระดับนานาชาติรองรับนักท่องเที่ยวจำนวนมากและสร้างรายได้ให้ประเทศ แต่เรายังไม่ได้ให้ความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้บริการนักท่องเที่ยว ขณะเดียวกันในพื้นที่ที่มีการบำบัดน้ำเสียก็ยังมีข้อจำกัด น้ำส่วนหนึ่งที่ไม่ผ่านระบบบำบัด หรือบำบัดไม่ได้ตามมาตรฐานได้ไหลลงสู่แหล่งน้ำ

เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อน และหลังโควิด -19 พบว่าแหล่งน้ำในเมืองท่องเที่ยวภาพรวมมีคุณภาพน้ำดีขึ้น ทั้งนี้เพราะนักท่องเที่ยวลดลง และก็น่าจะดีขึ้นในระยะสั้นเท่านั้น แต่น้ำเสียจากแหล่งชุมชนทั่วประเทศยังคงมีคุณภาพไม่ดี จะเห็นได้จากคูคลองต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ยังพบน้ำเน่าเสียโดยทั่วไป

จากรายงานของกรมควบคุมมลพิษตั้งแต่ต้นปี 2564 ถึงเดือนมิถุนายน 2564 แหล่งน้ำเสื่อมโทรมก็ยังมี จากการตรวจสอบคุณภาพน้ำประมาณแหล่งน้ำ 375 พื้นที่ มีประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์มีคุณภาพน้ำต่ำ อยู่ในระดับเสื่อมโทรม อย่างแม่น้ำท่าจีนตอนล่าง แม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง แม่น้ำระยองตอนล่าง

ส่วนใหญ่มาจากกิจกรรมชุมชนต่างๆ โดยเฉพาะชุมชนที่อยู่ริมน้ำ ปล่อยของเสียลงสู่แม่น้ำ ลำคลองและชายฝั่งทะเลโดยตรง รวมทั้งการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และการนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วมาใช้ประโยชน์ที่เหมาะสมต่อไป


ปัญหาน้ำเน่าเสีย อีกสาเหตุสำคัญจากการ "ปล่อยสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอยลงสู่แหล่งน้ำ"

นอกจากการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำแล้ว ยังมีการทิ้งขยะมูลฝอยลงคูคลอง สิ่งนี้เป็นปัญหาที่ต้องมองในอนาคต อย่างทีเห็นมีการทิ้งขยะชิ้นใหญ่ ได้แก่ ชุดรับแขก ที่นอนใช้แล้ว ลอยอยู่ตามแม่น้ำ ลำคลอง ซึ่งตรงนี้ยังขาดระบบการจัดการ แต่เมื่อมองกลับกันก็น่าเห็นใจคนที่นำมาทิ้งเพราะไม่รู้จะทิ้งที่ไหน นำไปทิ้งหน้าบ้านคนเก็บขยะก็ไม่เก็บให้ จึงต้องผลักดันลงแหล่งน้ำ ในหลายเขตพยายามรวบรวมขยะชิ้นใหญ่ ซึ่งตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมาจัดการโดยใช้ระบบให้เช่าแทนการขาย ระบบเช่าที่นอนบางส่วนสามารถนำกลับไปซ่อมแซมได้ เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า และลดของเสียที่จะเกิดขึ้น
หลายคนมองว่า..ทำไมไม่ใช้กฎหมายเข้ามาบังคับใช้

หากมองว่าทำไมไม่มีกฎหมายบังคับใช้ ความเป็นจริงแล้วกฎหมายในเรื่องนี้เรามีอยู่หลายฉบับ แต่ก็ยังมีปัญหาการบังคับใช้อยู่ และที่สำคัญ คือจิตสำนึกของคน เพราะต้นเหตุของน้ำเสียคือ มนุษย์ ดังนั้นจึงต้องสร้างความรู้ความเข้าใข ให้เกิดความตระหนักและเปลี่ยนแปลพฤติกรรม ควบคู่ไปกับการสร้างและดำเนินการระบบการจัดการให้ชัดเจนและเป็นรูปธรรม องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ลุ่มน้ำวิกฤตก็จะต้องให้ความสำคัญของดำเนินโครงการระบบบำบัดน้ำเสีย โดยรัฐบาลให้การสนับสนุนเนื่องจากเป็นโครงการที่จะต้องลงทุนสูง

จังหวะนี้น่าจะเป็นการถือโอกาสในการฟื้นฟูระบบจัดการของเสีย ทั้งน้ำเสียและขยะมูลฝอย เพื่อเตรียมการรับฤดูท่องเที่ยวหลังโควิด-19 และสร้างระบบบริหารจัดการตามศักยภาพการรองรับของพื้นที่ (Carrying Capacity) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

เรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องใกล้ตัว ปัญหาน้ำเสียก็เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ เพราะทุกคนใช้น้ำ น้ำดีจึงกลายเป็นน้ำเสีย เราสามารถจะช่วยแก้ปัญหาได้แก่ การช่วยกันลดการใช้น้ำ ประหยัดการใช้น้ำ น้ำเสียก็จะน้อยลง ซึ่งตรงนี้ก็จะช่วยลดของเสียอื่นๆ ด้วย

ขณะเดียวกัน สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ร่วมกับ รัฐบาลเยอรมัน ผ่าน GIZ กำลังศึกษาระบบธรรมชาติที่จะช่วยฟื้นฟูธรรมชาติ เช่น ถ้าเราจะสร้างฝาย หรือ เขื่อนกักน้ำ ต้องดูว่าควรจะมีโครงสร้างลักษณะเช่นไรถึงจะเอื้อต่อสภาพแวดล้อมหรือพื้นที่ที่เป็นธรรมชาติ โดยเฉพาะระบบที่การรองรับและปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


https://mgronline.com/greeninnovatio.../9640000092795

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 12:43


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger