เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 02-01-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 2 มกราคม 2563

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส บริเวณพื้นราบของภาคเหนือและ ภาคตะวันออกเฉียงเหนืออากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 16-23 องศาเซลเซียส ยอดดอยและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-12 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังรักษาสุขภาพเนื่องจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง ส่วนภาคใต้มีฝนน้อย สำหรับอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 4 ม.ค. 63

ในช่วงวันที่ 3 - 5 ม.ค. 63 จะมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้บริเวณภาคเหนือตอนบนมีฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงได้ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากสภาพอากาศที่แปรปรวนไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

เมฆบางส่วน กับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 2 ? 7 ม.ค. 63 ประเทศไทยตอนบนอุณภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส บริเวณพื้นราบของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 14-20 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดและมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 3-11 องศาเซลเซียส สำหรับภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น โดยในช่วงวันที่ 1 - 4 ม.ค. 63 บริเวณอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 5 - 7 ม.ค. 63 บริเวณอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร


ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง สำหรับชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 4 ม.ค. 63






__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 02-01-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS


"ปาเลา" ประเทศแรกแบน "ครีมกันแดด" เป็นพิษต่อแนวปะการัง

"ปาเลา" ประเทศแรกของโลกที่ออกกฎหมายแบนครีมกันแดดที่มีสารเคมีอันตราย 10 ชนิด เช่น oxybenzone และ octinoxate เนื่องจากเป็นอันตรายต่อแนวปะการังและสิ่งมีชีวิตในทะเล โดยมีผลบังคับใช้วันนี้ (1 ม.ค.2563) เป็นวันแรก



วันนี้ (1 ม.ค.2563) สำนักข่าวบีบีซี รายงานว่า "ปาเลา" ประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิกได้กลายเป็นประเทศแรกที่ยกเลิกการใช้ครีมกันแดดที่เป็นอันตรายต่อปะการังและสิ่งมีชีวิตในทะเล โดยตั้งแต่วันนี้ครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของสารเคมีอันตรายอย่างสารเคมีสำหรับป้องกันรังสียูวี "ออกซิเบนโซน" (oxybenzone) จะไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้หรือจำหน่ายในประเทศ

ทอมมี เรเมนเจเซา ประธานาธิบดีปาเลา ระบุว่า "เราต้องเคารพสิ่งแวดล้อมเพราะสิ่งแวดล้อมเป็นรากฐานของชีวิต"

การยกเลิกการใช้ครีมกันแดดในครั้งนี้ เป็นการบังคับใช้กฎหมายจากประกาศในปี 2561 ที่ห้ามมิให้นำเข้าครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของสารเคมี 10 ชนิด สำหรับผู้ค้าปลีกที่ฝ่าฝืนจะมีโทษปรับ 1,000 ดอลลาร์ หรือประมาณ 29,000 บาท ซึ่งสารเคมี 10 ชนิด ประกอบด้วย

- Oxybenzone (benzophenone-3)
- Ethyl paraben
- Octinoxate (octyl methoxycinnamate)
- Butyl paraben
- Octocrylene
- 4-methyl-benzylidene camphor
- Benzyl paraben
- Triclosan
- Methyl paraben
- Phenoxyethanol

ขณะที่มูลนิธิแนวปะการังระหว่างประเทศ ระบุว่า สารเคมีต้องห้ามเป็นมลพิษทางสิ่งแวดล้อมที่รู้จักกันดี ส่วนใหญ่เป็นพิษอย่างไม่น่าเชื่อต่อชีวิตของสัตว์ป่าหลายชนิด

ประธานาธิบดีปาเลา บอกกับสำนักข่าวเอเอฟพีว่า เมื่อวิทยาศาสตร์บอกกับเราว่า สารเคมีกำลังสร้างความเสียหายให้กับแนวปะการัง ประชากรปลา รวมถึงมหาสมุทรเอง ชาวปาเลาก็ควรจะตระหนักถึงเรื่องดังกล่าวและทำเป็นแบบอย่างเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ปฏิบัติตามเช่นกัน

"เราไม่กังวัลที่จะเป็นประเทศแรกที่ห้ามใช้สารเคมีเหล่านี้ในครีมกันแดดและเราจะทำหน้าที่ของในการประกาศเรื่องนี้ต่อสาธารณะ"

ทั้งนี้ ในปี 2561 ผู้เชี่ยวชาญ เปิดเผยว่า จำนวนครีมกันแดดที่มีสารเคมีอันตรายลดลงไปประมาณครึ่งหนึ่งของครีมและโลชั่นทั้งหมด ขณะที่รัฐฮาวายของสหรัฐอเมริกา ก็มีประกาศห้ามที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในปี 2564 เช่นเดียวหมู่เกาะแคริบเบียนของเนเธอร์แลนด์ ในโบแนร์ รวมถึงหมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐอเมริกา ที่กฎหมายแบนสารเคมีอันตรายในครีมกันแดดจะมีผลบังคับใช้ในเดือน มี.ค.นี้


https://news.thaipbs.or.th/content/287550

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 02-01-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก Greennews


มองย้อน 5 ประเด็นร้อนสิ่งแวดล้อมปีหมู การพัฒนาที่ไร้ความยั่งยืนยังเป็นปัญหาหลัก

เพียงอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้าเราก็กำลังจะก้าวข้ามสู่ศักราชใหม่กันแล้ว สำนักข่าวสิ่งแวดล้อมจึงอยากเชิญชวนผู้อ่านทุกท่านร่วมมองย้อนประเด็นความเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม 5 ด้าน ในปี พ.ศ.2562 ไปด้วยกัน เพื่อที่เราจะได้ทบทวนสถานการณ์ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ส่วนใหญ่ยังคงยืดเยื้อ และเรียนรู้ที่จะแก้ไขปัญหาไปด้วยกัน


ซากเต่าทะเลที่พบลอยเกยตื้นในจ.ชลบุรี //ขอบคุณภาพจาก: ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล กองทัพเรือ


5. สารพันปัญหาขยะ จากขยะในท้องสัตว์ทะเล สู่การนับถอยหลังแบนขยะพลาสติก

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมสำคัญของสังคมไทยคือปัญหาขยะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาขยะในทะเล ที่ไทยเคยติดอันดับ 6 ประเทศที่ก่อขยะในทะเลมากที่สุด จากการจัดอันดับเมื่อปี พ.ศ.2560 อย่างไรก็ดีในปีนี้ประเทศไทยยังคงประสบปัญหาสิ่งแวดล้อมจากขยะไม่น้อยไปกว่าเก่า โดยเฉพาะปัญหาจากขยะในทะเล ขยะพลาสติก และขยะอิเล็กทรอนิกส์นำเข้า

เริ่มกันด้วยประเด็นปัญหาขยะในทะเล และการตายของสัตว์ทะเลหายากอาทิ เต่า วาฬ และพะยูน โดยในปีนี้พบว่ามีสัตว์ทะเลหายากเข้ามาติดตื้น ป่วย และตาย จากการกินขยะพลาสติกเข้าไปเป็นจำนวนสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านๆมาอย่างเห็นได้ชัด (อ่านต่อ: เศร้า! ขยะทะเลดับชีวิตเต่า 13 ตัว ในช่วงเวลาแค่ 2 วัน "ดร.ธรณ์" ย้ำถึงเวลาลดขยะพลาสติกอย่างจริงจัง) พะยูนน้อย 'มาเรียม' ถือเป็นหนึ่งในเคสที่สร้างความสะเทือนใจให้กับคนรักษ์สิ่งแวดล้อมมากที่สุด โดยหลังจากเจ้าหน้าที่ได้ช่วยลูกพะยูนพลัดหลงแม่ที่ จ.กระบี่ และนำมาอนุบาลจนมาเรียมสามารถกลับคืนทะเลได้ กระนั้นเมื่อเดือนสิงหาคม ลูกพะยูนขวัญใจชาวไทยกลับป่วยและเสียชีวิตลงอย่างกระทันหัน ผลการชันสูตรโดยทีมสัตวแพทย์ชี้ชัดว่ามีถุงพลาสติกหลายชิ้นอุดตันลำไส้จนอักเสบ

นอกจากข่าวการตายของสัตว์ทะเลจากขยะพลาสติกแล้ว ในปีนี้เรายังพบหลักฐานเชิงประจักษ์ถึงภัยคุกคามของการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ โดยเมื่อเดือนกันยายน ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเล ที่ 3 จ.ตรัง รายงานว่าได้พบไมโครพลาสติกในปลาทูไทย ซึ่งชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าผลกระทบจากขยะในทะเลไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับผู้สคนในสังคมอีกต่อไป

อย่างไรก็ดีในช่วงปีที่ผ่านมาได้มีความพยายามในการแก้ไขปัญหาขยะอย่างต่อเนื่องจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การลงนามร่วมกันของประเทศสมาชิกอาเซียนใน ปฏิญญากรุงเทพฯ ว่าด้วยการต่อต้านขยะทะเลในภูมิภาคอาเซียน หรือการประกาศโครงการ Everyday Say No To Plastic Bags งดการแจกถุงพลาสติกใน 75 แบรนด์ค้าปลีกในไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2563 เป็นต้นไป

ถึงแม้ว่า ในปีนี้เราจะเห็นภาพการร่วมมือกันจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาขยะของประเทศ กระนั้นเรายังมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับขยะอีกหลายประเด็น เช่น ปัญหาการนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ ที่ยังรอการแก้ไขอย่างจริงจังเช่นกัน


ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายทวงคืนผืนป่า รวมตัวกันหน้าศาลจังหวัดลำปาง ก่อนหน้าการอ่านคำตัดสินคดีบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม //ขอบคุณภาพจาก: มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ


4. ปัญหาที่ดินป่าไม้ เรื่องคาราคาซังที่มีหลายมาตรฐาน?

นับตั้งแต่การประกาศนโยบายทวงคืนผืนป่า โดยรัฐบาลคสช.เมื่อปี พ.ศ.2557 ประเด็นการยึดคืนพื้นที่รุกเขตป่าสงวน และอุทยานแห่งชาติ ได้กลายเป็นประเด็นร้อนข้ามปีที่ไม่มีทีท่าว่าจะเสียอันดับไปง่ายๆ เช่นเดียวกับปี พ.ศ.2562 ประเด็นความขัดแย้งจากการยึดคืนพื้นที่บุกรุกในเขตป่าสงวน ? อุทยานแห่งชาติ ยังคงระอุ ท่ามกลางข้อโต้แย้งถึงการเลือกปราบปรามชุมชน คนตัวเล็กตัวน้อยในเขตป่า มากกว่าการบังคับใช้กฎหมายกับกลุ่มนายทุนใหญ่ที่รุกพื้นที่ป่าที่ปรากฎขึ้นอย่างชัดเจนในปีนี้

หนึ่งในเรื่องที่เป็นข้อครหามากที่สุดของปีในประเด็นปัญหาที่ดินป่าไม้ได้แก่ กรณีฟาร์มไก่ ของ เอ๋ ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส. ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ ที่นับตั้งแต่เรื่องแดงขึ้นมาเมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา จนถึงบัดนี้ยังไม่มีทีท่าว่าจะมีการดำเนินการเอาผิดกับปารีณาได้

จากประเด็นดังกล่าว ได้มีการนำกรณีที่เจ้าหน้าที่รัฐเข้าบุกยึดคืนพื้นที่ ดำเนินการเอาผิดชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในเขตทับซ้อนกับพื้นที่ป่าสงวน ? อุทยานแห่งชาติหลายคดี ที่พบว่าชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ใช่ผู้บุกรุกใหม่ แต่เป็นผู้อาศัยในเขตป่ามานานแล้ว ตั้งแต่ก่อนการประกาศเขตป่าสงวน ? อุทยานแห่งชาติ แต่การดำเนินการเอาผิดกับคนกลุ่มนี้กลับทำอย่างว่องไว ผิดกับคดีบุกรุกป่าของนักการเมือง หรือนายทุนใหญ่ โดยเฉพาะกรณีการทวงคืนผืนป่าที่บ้านซับหวาย ต.ห้วยแย้ อ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ ซึ่งศาลได้ตัดสินให้ชาวบ้าน 14 คนต้องโทษจำคุก จากคดีรวมกันทั้งสิ้น 19 คดี

ผลกระทบจากการเร่งรัดดำเนินนโยบายทวงคืนผืนป่ากับกลุ่มชาวบ้านไร้ที่ดิน ยังนำไปสู่ปัญหาสังคมมากมาย และสร้างผลกระทบรุนแรงต่อวิถีชีวิตของผู้คนที่แอบอิงอาศัยกับทรัพยากรมาเนิ่นนาน กรณีปัญหาการทวงคืนผืนป่า ตามเป้าหมายขยายพื้นที่ป่าของประเทศให้ได้ถึง 40% ตามนโยบายของรัฐบาล จึงยังคงเป็นปัญหาคาราคาซังที่ยังคงแก้ไม่ตกจนถึงบัดนี้


หมอกควันมลพิษหนาทึบปกคลุมกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 29 กันยายน // สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม / ปรัชญ์ รุจิวนารมย์


3. ภัยเงียบฝุ่น PM2.5 ยอดภูเขาน้ำแข็งของปัญหาสิ่งแวดล้อมไทย

นับตั้งแต่ต้นปี ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่คนไทยสังเกตได้ชัดเจนที่สุดน่าจะเป็นหมอกควันหนาทึบที่ห่มทับหลายหัวเมืองใหญ่ อาทิ เชียงใหม่ เชียงราย ขอนแก่น ตลอดจนถึง กรุงเทพมหานคร โดยสถานการณ์ฝุ่นควันมีความสาหัสที่สุดในช่วงระหว่างฤดูแล้งตั้งแต่ ปลายเดือนธันวาคมของปีก่อนหน้า เรื่อยมาจนถึงต้นเดือนพฤษภาคม เมื่อฤดูฝนมาถึง จะสังเกตได้ว่าช่วงเวลาประสบปัญหาจากฝุ่น PM2.5 ในช่วงต้นปีของปีนี้มีความยาวนานขึ้นอย่างชัดเจน

กระนั้น สภาพปัญหามลพิษจากฝุ่นควัน PM2.5 ก็ยังไม่จางหายไปจากสังคมไทยเสียทีเดียว ย่างเข้าเดือนกันยายน ปัญหาหมอกควันย้อนกลับมาอีกครั้ง คราวนี้ที่ภาคใต้ และหลังจากนั้นเพียงไม่กี่สัปดาห์ ฝุ่นควัน PM2.5 ก็กลับมาปกคลุมกรุงเทพมหานครเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆอีกครั้ง

ล่วงไปจนถึงย่างเข้าฤดูแล้งช่วงปลายปี สถานการณ์ฝุ่นควันสาหัสก็กลับมาเยือนกรุงเทพมหานคร และหลายพื้นที่ในภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคเหนือตามคาดหมาย ชี้ให้เห็นว่ามาตรการต่างๆของภาครัฐที่เร่งทยอยออกมาเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ยังคงไม่ประสบความสำเร็จ ดังจะเห็นได้จาก ความล่าช้าในออกมาตรการรับมือฝุนควันของแต่ละท้องที่ จนทำให้ประชาชนตกอยู่ในความเสี่ยง หรือแม้กระทั่งมาตรการที่ออกมายังเน้นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ โดยยังไม่ได้เอาจริงเอาจังกับการจัดการปัญหาที่ต้นเหตุนัก นอกจากนี้มาตรการแจ้งเตือนสภาพอากาศของทางภาครัฐก็ยังไม่เหมาะสมกับการเตือนภัยในสภาพความเป็นจริงนัก จนทำให้ประชาชนยังต้องพึ่งพาแอปพลิเคชันตรวจเช็คคุณภาพอากาศเอกชนในการป้องกันตนเองจากสถานการณ์ฝุ่นควันพิษ

จากสถานการณ์ที่กล่าวมา จึงพอสรุปได้ว่าสถานการณ์หมอกควัน PM2.5 ยังคงเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ควรจับตาอย่างใกล้ชิดต่อไป


(มีต่อ)

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 02-01-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก Greennews


มองย้อน 5 ประเด็นร้อนสิ่งแวดล้อมปีหมู การพัฒนาที่ไร้ความยั่งยืนยังเป็นปัญหาหลัก ........ (ต่อ)


ภาพถ่ายดาวเทียมพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นฮากิบิส จากเว็บไซต์ https://www.windy.com


2. ท่วมแล้งรุนแรงพร้อมๆกัน สภาพอากาศแปรปรวนป่วนทั่วทุกภูมิภาค

เป็นที่ชัดเจนจากสถานการณ์สภาพอากาศที่แปรปรวนผิดปกติไปทั่วโลกว่าปีนี้เป็นปีเราประสบกับผลพวงจากสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรุนแรงที่สุดเท่าที่เคยประสบมา ทั้งจากเหตุการณ์ไฟป่าครั้งใหญ่ในป่าอเมซอน ไฟป่าครั้งใหญ่ในออสเตรเลียที่คุกคามถิ่นอาศัยของโคอาล่า จนสัตว์สัญลักษณ์ของออสเตรเลียชนิดนี้ตกในสภาวะเสี่ยงสูญพันธุ์ยิ่งขึ้น ไปจนถึงพายุรุนแรงหลายลูกที่พัดเข้าถล่มญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่องช่วงกลางปีที่ผ่านมา

เหตุการณ์ความแปรปรวนของภูมิอากาศโลกกระทบถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยเช่นกัน โดยตั้งแต่ต้นปี ไทยก็ต้องพบกับพายุโซนร้อน ?ปาบึก? พัดถล่มชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกในเดือนมกราคม นับเป็นพายุลูกแรกที่พัดถล่มพื้นที่นี้นับตั้งแต่มีการบันทึกประวัติการเกิดพายุในไทย

ความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศยังไม่หยุดอยู่เท่านั้น เมื่อย่างเข้าสู่ฤดูฝนแต่กลับกลายเป็นว่าปีนี้ปริมาณน้ำฝนกลับตกน้อยผิดปกติเป็นประวัติการณ์เช่นกัน สภาวะภัยแล้วรุนแรงยังส่งผลกระทบไปทั่วภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ทำให้ประเทศไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ต้องประสบกับสภาวะขาดแคลนน้ำอย่างหนักตั้งแต่ยังไม่หมดฤดูมรสุม

จากสถานการณ์ความผิดปกติของสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก ปฏิเสธไม่ได้ว่าเหตุการณ์ทั้งหมดเป็นผลพวงมาจากสภาวะโลกร้อน และเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในแวดวงวิชาการนานาชาติว่าสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังเลวร้ายลงเรื่อยๆ และเวลาในการแก้ไขสถานการณ์กำลังหมดไปทุกที

อย่างไรก็ดี เรายังไม่เห็นท่าทีที่กระตือรือร้นนักจากภาครัฐในการเร่งผลักดันแผนลดก๊าซเรือนกระจกให้เป็นไปตามเป้าหมายข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ที่ตั้งเป้าควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไม่ให้พุ่งสูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส หรือแม้แต่ภาครัฐไทยเองก็ยังไม่มีการปรับเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Nationally Determined Contributions หรือ NDCs) ของตน ให้มีความท้าทายยิ่งขึ้น เพื่อเติมช่องโหว่ของความพยายามลดก๊าซเรือนกระจก (emission gap) ที่ยังถ่างกว้าง ซ้ำร้ายยังมีความพยายามจากภาคอุตสาหกรรมที่ยังผลักดันให้เกิดโครงการที่ส่งผลเสียต่อเป้าหมายการลดโลกร้อน

วิกฤตสภาวะโลกร้อนจึงเป็นเรื่องร้อนที่ชาวโลกยังต้องจับตา และเร่งหาทางแก้ไขสถานการณ์ให้เร็วที่สุดก่อนที่อนาคตของเราจะตกอยู่กับความไม่แน่นอนเช่นเดียวกับสภาพภูมิอากาศโลก


สภาพแม่น้ำโขงลดต่ำผิดฤดูกาลเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม เผยให้เห็นป่าไคร้กลางแม่น้ำโขงแหังตายเพราะผลจากการขึ้นลงอย่างผิดปกติของแม่น้ำโขงในปีที่ผ่านมา //ขอบคุณภาพจาก: Chainarong Setthachua


1. เขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าและการพัฒนาขนานใหญ่ ต้นตอแม่น้ำโขงวิบัติ

ปี พ.ศ.2562 นับได้ว่าเป็นปีที่เราได้เห็นความเคลื่อนไหวของกลุ่มทุนนานาชาติที่เข้าไปลงทุนสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าบนแม่น้ำโขงสายประธาน ทั้งจากการทดลองเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเขื่อนไชยะบุรีในเดือนเมษายน และเริ่มดำเนินการผลิตไฟฟ้าส่งขายไทยอย่างเป็นทางการในเดือนตุลาคม ความคืบหน้าโครงการเขื่อนดอนสะโฮงที่มีแผนจ่ายไฟไปยังกัมพูชาในเดือนมกราคมนี้ หรือการประกาศเตรียมสร้างเขื่อนหลวงพระบาง อันจะเป็นเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าโครงการล่าสุดบนลำน้ำโขงเมื่อเดือนตุลาคม

ความเคลื่อนไหวในวงการก่อสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงในปีที่ผ่านมา สอดรับกับสภาพความเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็วของระบบนิเวศแม่น้ำโขงที่ปรากฎให้เห็นอย่างชัดเจนตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา โดยพบว่าการขึ้นลงของระดับน้ำในแม่น้ำโขงมีความผันผวนรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาที่ระดับน้ำโขงลดลงต่ำสุดในรอบ 50 ปี ทั้งๆที่อยู่ในช่วงฤดูฝน และแม่น้ำยังคงมีความผันผวนรุนแรงไปจนตลอดทั้งปี

จากสภาพการณ์ความผันผวนรุนแรงของกระแสน้ำในแม่น้ำโขง ทำให้ระบบนิเวศของแม่น้ำเกิดความเสียหายอย่างหนัก ปลาจำนวนมากติดตื้นแห้งตาย ไม่สามารถว่ายน้ำขึ้นไปวางไข่ในฤดูน้ำหลากได้ จนสร้างความเสี่ยงต่อความมั่นคงทางอาหารในอนาคต

ยิ่งไปกว่านั้น ช่วงปีที่ผ่านมาเรายังได้เห็นปรากฎการณ์ที่แม่น้ำโขงเปลี่ยนสี จากสีปูนขุ่น กลายเป็นสีฟ้าคราม ซึ่งชี้ให้เห็นผลกระทบต่อการไหลของตะกอนจากการสร้างเขื่อนอย่างชัดเจน เนื่องจากน้ำใสปราศจากตะกอนดังกล่าวจะกัดเซาะพาเอาตะกอนออกจากตลิ่งและท้องน้ำเพื่อคืนสมดุลตะกอน นำไปส่การพังทลายของตลิ่งในที่สุด

จากสถานการณ์ดังกล่าว จึงแสดงให้เห็นว่า ผลกระทบต่อเนื่องจากการสร้างและดำเนินการเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าในแม่น้ำโขง กำลังทำให้ระบบนิเวศแม่น้ำโขง อันเป็นฐานทรัพยากรสำคัญที่อุ้มชูผู้คนหลายสิบล้านคน ตลอดสองฝั่งแม่น้ำใน 5 ประเทศ ใกล้ถึงจุดแตกหักเข้าไปทุกที จนอาจสร้างภัยร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมในอนาคต หากแต่ยังไม่มีทีท่าว่าผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาคจะทบทวนแผนการลงทุนเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าในแม่น้ำโขง และลงมือแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมแต่อย่างใด

ด้วยเหตุนี้ สำนักข่าวสิ่งแวดล้อมจึงเลือกให้กรณีแม่น้ำโขงวิบัติให้เป็นประเด็นสิ่งแวดล้อมที่สาหัสที่สุดในปี พ.ศ. 2562 ที่กำลังจะผ่านพ้นไปนี้


https://greennews.agency/?p=19958

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 12:10


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger