เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 18-04-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 18 เมษายน 2563

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีอากาศร้อนจัดในบริเวณภาคเหนือและภาคกลาง โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สำหรับภาคใต้ยังคงมีฝนตกหลายพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบน ระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่เกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศร้อน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 17 ? 18 เม.ย. 63 ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือและภาคกลางตอนบน แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก สำหรับภาคใต้จะมีฝนเพิ่มมากขึ้นกับมีลมกระโชกแรงและมีฝนตกหนักบางพื้นที่

ส่วนในช่วงวันที่ 19 - 23 เม.ย. 63 ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด และภาคใต้จะมีฝนลดลง


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 17-18 เม.ย. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระมัดระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงที่เกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย












__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 18-04-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


เปลี่ยนผลพลอยได้จากน้ำเสียเป็นเชื้อเพลิง



ขยะอินทรีย์จำนวนมากที่มาจากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นขยะถูกทิ้ง หรือขยะถูกเผา ได้เพิ่มการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น รวมถึงเพิ่มมลพิษในดิน และมลพิษในน้ำ การแก้ไขปัญหาเหล่านี้ สิ่งสำคัญก็คือการพัฒนาและดำเนินการตามแผนวิธีจัดการขยะที่เหมาะสม

สหภาพยุโรปได้ให้ทุนสนับสนุนโครงการ TO-SYN-FUEL มุ่งหวังให้เกิดความก้าวหน้าอย่างมากในการเปลี่ยนชีวมวลหรือมวลชีวภาพหลายประเภท ให้กลายเป็นเชื้อเพลิงเหลวที่มีคาร์บอนเป็นกลาง เมื่อเร็วๆนี้ นักวิจัยจากสถาบัน Fraunhofer Institute for Environmental, Safety, and Energy Technology (UMSICHT) เผยว่า ได้พัฒนาเทคโนโลยีใหม่นำร่องที่ชื่อว่า Thermo-Catalytic Reforming (TCR) สำหรับแปลงกากตะกอนน้ำเสียให้เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพขั้นสูงและเป็นพลังงานที่ยั่งยืนหรือเป็นพลังงานสีเขียว

โครงการนี้นักวิจัยต้องการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพขั้นสูงจากตะกอนน้ำเสีย โดยเริ่มต้นจากการทดสอบในห้องทดลองในห้องปฏิบัติการ ไปจนถึงการผลิตเชื้อเพลิงจริงโดยปรับขนาดในการแปลงกากตะกอนน้ำเสียในอัตราอุตสาหกรรม และในอนาคตเทคโนโลยีนี้อาจเปลี่ยนขยะอินทรีย์ได้ถึง 32 ล้านตันต่อปี


https://www.thairath.co.th/news/foreign/1822608

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 18-04-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก GREENPEACE


เหตุเกิดที่ท่าเรือไต้หวัน และ ตัวเลขปริศนา GP04CD5 .................... โดย Elizabeth Monaghan

เนื้อหาโดยสรุป

- รายงานของกรีนพีซ เอเชียตะวันออกพบ บริษัทผู้จัดหาปลาทูน่ารายใหญ่ของไต้หวันเกี่ยวข้องกับการทำประมงผิดกฎหมาย เช่น การล่าฉลามเพื่อนำครีบมาขาย และขบวนการค้ามนุษย์บนเรือประมง

- ปลาทูน่าที่ถูกจับได้จะถูกกระจายขายต่อให้บริษัทอาหารทะเลแปรรูปหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งอาจเป็นทูน่ากระป๋องที่คุณเพิ่งซื้อมาก็ได้

- กรีนพีซยื่นข้อเสนอให้ บริษัท FCF ก้าวขึ้นมาเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิตและห่วงโซ่อุปทานที่เอื้อให้เกิดการใช้แรงงานบังคับ และการทำลายสิ่งแวดล้อม และรณรงค์ให้ผู้บริโภคหันมาสนับสนุนอาหารทะเลที่จับโดยชาวประมงขนาดเล็กหรือประมงพื้นบ้าน แทนการบริโภคอาหารทะเลที่เอาเปรียบเพื่อนมนุษย์


FCF คือใคร?

บริษัท FCF เป็น บริษัทผู้จัดหาปลาทูน่าที่ใหญ่ที่สุดของไต้หวัน ซึ่งพัวพันกับการประมงผิดกฎหมาย และการใช้แรงงานบังคับบนเรือประมง

รายงานฉบับใหม่ของกรีนพีซ เอเชียตะวันออก เปิดเผยข้อมูลที่ระบุชัดถึงการเชื่อมโยงระหว่างบริษัทค้าอาหารทะเลของไต้หวัน และกรณีการละเมิดสิทธิลูกเรือประมงที่มาจากประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงการทำประมงที่เข้าข่ายผิดกฎหมายสากล

ลูกเรือจากเรือประมง A สะท้อนถึงความยากลำบากในการทำงานว่า "ถ้าเราจับปลาได้ เราก็อาจได้รับอนุญาตให้นอนได้ประมาณห้าชั่วโมง แต่ถ้าจับปลาไม่ได้เลย ก็แปลว่าเราต้องทำงานต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ มากกว่า 34 ชั่วโมงเลยทีเดียว"

บริษัท ฟุงชุนฟอร์โมซ่า หรือชื่อย่อ FCF มีรายได้ต่อปีประมาณ 45 พันล้านเหรียญสหรัฐ และมีบริษัทคู่ค้าที่เป็นผู้ผลิตอาหารทะเลแปรรูปเป็นจำนวนมาก ในหลายประเทศ ทั้งยังเป็นเจ้าของเรือประมงมากกว่า 500 ลำ


แผนที่แสดงตลาด ผู้ซื้อ คู่ค้า และโรงงานของ FCF ทั่วโลก

แม้ว่า บริษัท FCF จะมีมาตรการเรื่องความยั่งยืนและระบบการตรวจสอบย้อนกลับของสินค้าที่เป็นรูปธรรมและชัดเจน แต่หลักฐานหนึ่งที่ชี้ให้เห็น ?จุดบอด? ที่สำคัญในของบริษัท FCF ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเรือประมง ว่าอาจมีความเชื่อมโยงกับการล่าฉลาม เพื่อนำครีบมาขายและการค้ามนุษย์


ฉลาม สัตว์น้ำผลพลอยได้และโศกนาฏกรรมกับลูกฉลาม ? Copyright Reserved

จากการสัมภาษณ์ลูกเรือประมงต่างชาติ บนเรือประมงอย่างน้อยสองลำ พบว่าเข้าข่ายการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU Fishing) ซึ่งเป็นหลักการสากลที่บริษัทเรือประมงทุกบริษัทต้องยึดถือ โดยปลาที่จับได้ด้วยวิธีที่ผิดกฎหมาย ถูกส่งให้แก่บริษัท FCF ก่อนจะกระจายขายต่อให้บริษัทอื่นๆ ไปแปรรูปทั่วโลก ซึ่งตอนนี้อาจเป็นทูน่ากระป๋องที่คุณเพิ่งซื้อมาก็ได้

คำสัมภาษณ์ลูกเรือประมง ยังเผยให้เห็นถึงวิธีการล่าฉลามที่โหดร้าย

"เราเก็บแค่หู (ครีบ) ฉลามเท่านั้นและทิ้งส่วนที่เหลือทั้งหมด เดือนก่อน ผมยังตากแห้งหูฉลามอยู่เลย แต่หลังจากนั้นไม่กี่วัน เราเห็นเรือลาดตระเวนของอเมริกันอยู่ใกล้ๆ กัปตันเรือกลัวมากและบอกให้ผมเอาหูฉลามทั้งหมดไปซ่อน เพื่อไม่ให้คนอเมริกันเห็น"

รายงานของกรีนพีซ เอเชียตะวันออก ยังฉายภาพให้เห็นถึงการขนถ่ายสัตว์น้ำกลางทะเล (Transshipment) จากเรือบางลำ ที่คาดว่าจะเป็นหนึ่งในเรือของบริษัท FCF ที่มีเครือข่ายให้บริการเรือขนถ่ายสินค้ากว่า 30 ราย ทั้งนี้ มีข้อมูลที่ยืนยันได้ว่าการขนถ่ายสัตว์น้ำกลางทะเล เชื่อมโยงกับการทำประมงมากเกินไปและเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนและสิทธิแรงงานกลางทะเล

การขนถ่ายสัตว์น้ำกลางทะเล เป็นกิจกรรมที่เปิดช่องให้เรือประมงลอยลำเพื่อทำประมงกลางทะเลและอยู่ห่างไกลจากการตรวจตราของเจ้าหน้าที่ได้นานมากขึ้น โดยดำเนินการนอกกรอบกฎหมาย เรือแม่จะทำหน้าที่ส่งเสบียงอาหาร น้ำมัน และบางครั้งยังมีการส่งแรงงานบังคับที่มาจากการค้ามนุษย์อีกด้วย


ปลาทูน่าที่กำลังถูกขนถ่ายกลางทะเล ? Copyright Reserved

ถึงตรงนี้ หลายคนอาจสงสัยว่ากิจกรรมที่ผิดกฎหมายนี้ยังคงดำเนินอยู่ได้ โดยไม่ถูก ?เจ้าหน้าที่? ตรวจสอบได้อย่างไร ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่า พื้นที่ทะเลหลวง นั้นก็เปรียบเสมือนกับดินแดนที่ห่างไกล จึงหลุดรอดสายตาของเจ้าหน้าที่ไปได้ง่าย ประกอบกับความคลุมเครือของกฎหมายระหว่างประเทศ ทำให้เป็นหลายบริษัทใช้โอกาสจากช่องว่างทางกฎหมายเหล่านี้

ข้อเท็จจริงหนึ่งที่สำคัญ ก็คือนโยบายด้านแรงงานประมงของประเทศไต้หวัน ยังมี "ช่องโหว่" อยู่หลายด้าน โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับ การคุ้มครองสวัสดิภาพแรงงานต่างชาติที่ทำงานเขตประมงนอกน่านน้ำ (Deep Water Fleet) ทั้งนี้ มีลูกเรือประมงต่างชาติทำงานอยู่บนเรือประมงสัญชาติไต้หวันในเขตทะเลนอกน่านน้ำมากถึง 20,000 คน ซึ่งปัจจุบัน ชีวิตของลูกเรือเหล่านี้ตกอยู่ในความเสี่ยง จากระบบกฎหมายประมงของไต้หวัน ที่เป็นแบบ โครงสร้างกฎหมายสองชั้น (Two-tiered system) กล่าวคือ กฎหมายแรงงานของไต้หวันจะคุ้มครองเฉพาะแรงงานในประเทศ แต่จะไม่ครอบคลุมถึงแรงงานต่างชาติที่ทำงานอยู่บนเรือประมงที่ชักธงไต้หวัน และลอยลำอยู่นอกน่านน้ำ นำมาสู่ความเสี่ยงที่จะผลักให้แรงงานต่างชาติตกอยู่ในสภาวะการเป็นทาสสมัยใหม่ และการเลือกปฏิบัติกับแรงงาน

"ถ้าเป็นไปได้ผมก็อยากมีเวลาทำงานและเวลาพักที่สมดุลมากกว่านี้ ที่เหมาะสมกับขีดความสามารถของร่างกายแบบเดียวกับที่คนทำงานบนบกเขาทำกัน"

ถึงเวลาอย่างยิ่งแล้ว ที่รัฐบาลไต้หวันจะต้องก้าวขึ้นมาปกป้องสิทธิมนุษยชนและสิทธิแรงงานประมงต่างชาติที่ทำงานให้กับอุตสาหกรรมของไต้หวัน โดยเริ่มจากการยกเลิกระบบโครงสร้างกฎหมายสองชั้น และหันมาบังคับใช้

อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) อย่างจริงจัง โดยเฉพาะเรื่องการคุ้มครองสิทธิแรงงาน รวมถึงเพิ่มมาตรการตรวจสอบ และกลไกการร้องเรียนที่มีประสิทธิภาพและทันท่วงที ให้สมกับที่ไต้หวันประกาศตนเป็น ผู้นำด้านสิทธิมนุษยชนในเอเชียแปซิฟิก

บริษัทหนึ่งจะสามารถช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมประมงได้อย่างไร หากเราพิจารณาจากเครือข่ายและสถานะทางการเงินของบริษัท FCF ซึ่งล่าสุดเพิ่งเข้าไปซื้อกิจการของบริษัท Bumble bee บริษัทผลิตทูน่ากระป๋องยอดนิยมของสหรัฐอเมริกา ด้วยมูลค่ากว่า 930 ล้านเหรียญสหรัฐ ก็ตอกย้ำให้เห็นว่า บริษัทแห่งนี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อการกำหนดทิศทางของอุตสาหกรรมอาหารทะเลนับตั้งแต่การจับปลาไปจนถึงชั้นวางขายสินค้า


ลูกเรือประมงไต้หวันกำลังวางเบ็ดราว ? Greenpeace / Paul Hilton


4 สิ่งที่ FCF สามารถทำได้ เพื่อหยุดอาหารทะเลผิดกฎหมายมาถึงผู้บริโภค :

1) เปิดเผยบัญชีรายชื่อเรือที่เป็นซัพพลายเออร์สินค้าทั้งหมด พร้อมข้อมูลแผนงานเพื่อสนับสนุนงานด้านสิทธิมนุษยชนภายในองค์กร

2) ประกาศนโยบายเพื่อยุติการขนถ่ายสัตว์น้ำกลางทะเลที่โปร่งใสต่อสาธารณะ สามารถวัดผลได้ มีขอบเขตเวลาที่ชัดเจน และหันมารับซื้อสินค้าจากเรือที่มีไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขนถ่ายในทะเล

3) จัดซื้อสินค้าจากเรือประมงที่ผ่านการตรวจสอบแล้วว่า มีการจัดจ้างแรงงานที่เป็นธรรม 100% หรือมีการติดตั้งระบบอิเลกทรอนิกส์ ที่ช่วยให้สามารถตรวจสอบจุดจอดเรือได้อย่างแม่นยำ

4) ยกระดับนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนในเรือประมงทูน่า ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนและแรงงาน รวมถึงกำหนดนโยบายเกี่ยวกับที่ชัดเจนถึงกรอบระยะเวลาที่เรือประมงควรอยู่ในทะเล และรับซื้อสินค้าที่ผ่านการตรวจสอบโดยรัฐเจ้าของท่าเรือเท่านั้น

เราสามารถช่วยผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ผ่านการแสดงออกที่สะท้อนว่า หากภาคธุรกิจยังไม่ปรับตัวคุณก็จะไม่มีวันได้เงินจากเรา ด้วยการสนับสนุนอาหารทะเลที่จับโดยชาวประมงขนาดเล็ก หรือประมงพื้นบ้าน อาหารทะเลของเราต้องไม่มาจากการเอารัดเอาเปรียบเพื่อนมนุษย์คนอื่นๆ

ภาคอุตสาหกรรมประมงจะต้องตัดสินใจได้แล้วว่า จะยังคงเลือกทำประมงแบบเก่า ที่เน้นกวาดล้างมหาสมุทร และเอาเปรียบเพื่อนมนุษย์ต่อ หรือเลือกที่จะฟังเสียงลูกค้าและหันหัวเรือไปสู่อนาคตที่ยุติธรรมและยั่งยืนสำหรับการประมง


https://www.greenpeace.org/thailand/...legal-fishing/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 01:35


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger