เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 22-06-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,241
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 22 มิถุนายน 2566

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออก

สำหรับทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 22 - 23 มิ.ย. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน และอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้

ส่วนในช่วงวันที่ 24 - 25 มิ.ย. 66 ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน และอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย และ

ในช่วงวันที่ 26 ? 27 มิ.ย. 66 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และภาคใต้ เริ่มมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบน ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 24 ? 27 มิ.ย. 66 ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง






__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 22-06-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,241
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ


ฮือฮา! ชาวประมงไต้หวันลากอวนเจอ "ฉลามก็อบลิน" ฉลามน้ำลึกยุคดึกดำบรรพ์



เป็นที่ฮือฮา หลังชาวประมงไต้หวันลากอวนเจอ "ฉลามก็อบลิน" ติดมาด้วย ซึ่งในท้องของมันมีลูก 6 ตัว ด้านพิพิธภัณฑ์ศิลปะทางทะเลไต้หวันขอซื้อเพื่อมาจัดแสดงให้ได้ชมกัน

เฟซบุ๊กเพจ World Forum ข่าวสารต่างประเทศ โพสต์ภาพและเรื่องราวที่ชาวประมงไต้หวันลากอวนติดฉลามก็อบลินขึ้นมาได้ ซึ่งเขาเตรียมขายให้ร้านอาหาร แต่ทางพิพิธภัณฑ์ศิลปะทางทะเลไต้หวันได้ขอซื้อมาเพื่อจัดแสดงให้ชมกัน โดยเพจดังกล่าวโพสต์ข้อความว่า

ฉลามก็อบลินมีขนาดใหญ่ได้ ผิวหนังโปร่งแสง และมีน้ำหนักมากถึง 800 กิโลกรัม ความยาว 4.7 เมตร ผ่าท้องพบลูกฉลาม 6 ตัว ก็อบลินมักเคลื่อนที่อาศัยเฉพาะในทะเลลึกเท่านั้น เป็นฉลามดึกดำบรรพ์ที่มีชีวิตและมีประวัติยาวนานกว่า 125 ล้านปี ฉลามจะถูกขายให้กับร้านอาหารเพื่อเป็นวัตถุดิบ แต่สุดท้ายถูกซื้อโดยพิพิธภัณฑ์ศิลปะทางทะเลไต้หวัน จะจัดแสดงเป็นสื่อการสอนในอนาคต

**ซึ่งจากการเผยแพร่บทความ 13/06 ชาวเน็ตไต้หวันสงสัย ด้วยความหงุดหงิด การลากอวนแบบไหนถึงจับมันได้ เพราะเป็นสัตว์น้ำลึก และยังมีลูกอีก 6 ตัวในท้อง รวมทั้งจะขายให้ร้านอาหาร เป็นการคุกคามระบบนิเวศหรือไม่ มีการแอบลากอวนหรือไม่ ในกฏหมายมีข้อกำหนดห้ามลากอวน ขนาดเรือและขนาดอวน


https://mgronline.com/travel/detail/9660000056429


******************************************************************************************************


ระบาดอีกแล้วปลาหมอสีคางดำ ตัวทำลายสัตว์น้ำเศรษฐกิจในพื้นที่ อ.อัมพวา



สมุทรสงคราม - ชาวบ้านอัมพวาร้องปลาหมอสีคางดำระบาดหนัก ทำลายสัตว์น้ำท้องถิ่นไม่เหลือ จังหวัดสั่งระดมกำลังลงคลองจับปลาหมอสีคางดำ พร้อมให้นำไปขายโรงงานทำอาหารสัตว์ พร้อมประกันราคาให้กิโลกรัมละ 5 บาท

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่คลองสัมมะงา คลองสาธารณะในพื้นที่หมู่ 4 ตำบลแพรกหนามแดง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม นายสมนึก พรหมเขียว ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม และนายบัณฑิต กุลละวณิชย์ ประมงจังหวัดสมุทรสงคราม พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานประมงจังหวัด และชาวบ้านได้ร่วมกันลงแขกลงคลองจับปลาหมอสีคางดำ

หลังชาวบ้านร้องเรียนว่า ปลาดังกล่าวไม่ใช่สายพันธุ์ดั้งเดิมในพื้นถิ่น ซึ่งมีบริษัทยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่งนำเข้ามาเพื่อขยายพันธุ์เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจตัวใหม่เมื่อ 6-7 ปีที่ผ่านมา เมื่อไม่ประสบความสำเร็จ โดยทางบริษัทแจ้งว่าปลาตาย และได้ทำลายไปหมดหมดแล้ว ทั้งนี้ ปลาชนิดดังกล่าวเป็นปลาเนื้อแข็ง ก้างเยอะ และไม่อร่อย ไม่นิยมนำมารับประทาน หากเข้ามาอยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติ จะสร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศ แหล่งน้ำของจังหวัดสมุทรสงคราม และอาจรวมไปถึงระดับประเทศในอนาคตอีกด้วย

โดยใช้วิธีวางอวนล้อมจับในคลองสัมมะงา ซึ่งเป็นคลองสาธารณะ กว้างประมาณ 5 เมตร น้ำลึกระดับเอว ระยะทางประมาณ 80 เมตร ปรากฏว่าได้ปลาหมอคางดำทั้งตัวเล็กตัวใหญ่เกือบ 100 กิโลกรัม และพบปลานิลซึ่งเป็นปลาพื้นถิ่นขนาดตัวเท่ากับปลาหมอสีคางดำเพียงแค่ 2 ตัวเท่านั้น

นายบัณฑิต กุลละวณิชย์ ประมงจังหวัดสมุทรสงคราม กล่าวว่า การลงแขกลงคลองจับปลาหมอสีคางดำ เนื่องจากสำนักงานประมงจังหวัดได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านว่า ปลาหมอสีคางดำ แพร่ระบาดเข้าไปในบ่อเลี้ยงกุ้งเลี้ยงปลากัดกินสัตว์น้ำชนิดอื่นที่ตัวเล็กกว่า เช่น ลูกปลาและกุ้ง รวมทั้งสัตว์น้ำเศรษฐกิจอื่นๆ เป็นอาหารคล้ายเอเลียนสปีชีส์ ทำลายสัตว์น้ำประจำถิ่น มีนิสัยดุร้าย ปากใหญ่ เนื้อบาง ก้างเยอะ จึงไม่เป็นที่นิยมนำไปรับประทาน ส่วนที่มาของการแพร่ระบาดนั้นคาดว่าน่าจะมาตั้งแต่ก่อนปี 2559 ปลาหมอสีคางดำได้หลุดลงสู่เเหล่งน้ำธรรมชาติ เนื่องจากมีผู้นำมาทดลองปรับปรุงสายพันธุ์ โดยในจังหวัดสมุทรสงคราม พบการแพร่ระบาดมากที่สุดในตำบลแพรกหนามแดง ตำบลยี่สาร และตำบลคลองโคน

โดยที่ผ่านมา สำนักงานประมงจังหวัดสมุทรสงครามได้มอบพันธุ์ปลากะพงให้เกษตรกรนำไปปล่อยในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อให้กัดกินทำลายลูกปลาหมอสีคางดำ แต่ช่วยได้ระดับหนึ่ง เนื่องจากปลาหมอสีคางดำสามารถขยายพันธุ์ได้รวดเร็วมาก โดยขยายพันธุ์ได้ตั้งแต่อายุเพียงแค่ 2 เดือน ตัวเมียที่ตั้งท้องจะตกลูกได้ท้องละ 300-500 ตัว ขณะที่ตัวผู้จะทำหน้าที่เลี้ยงลูก ส่วนตัวเมียทำหน้าที่ตั้งท้องเท่านั้น อย่างไรก็ตาม สิ่งที่จะทำควบคู่กันไปในการกำจัดปลาหมอสีคางดำขณะนี้คือ การสนับสนุนชาวบ้านจับปลาหมอคางดำ ขายให้โรงงานปลาป่นนำไปทำอาหารสัตว์

นายสมนึก พรหมเขียว ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม กล่าวว่า ช่วงนี้มีโรงงานปลาป่นรับซื้อปลาหมอสีคางดำ กิโลกรัมละ 6-7 บาท เพื่อนำไปทำอาหารสัตว์ ชาวบ้านเริ่มจับปลาหมอคางดำไปขาย นอกจากจะมีรายได้แล้ว ยังทำให้การแพร่ระบาดของปลาหมอสีคางดำน่าจะเบาบางลง

อย่างไรก็ตาม จังหวัดมีกองทุนประกันราคารับซื้อปลาหมอสีคางดำจากเกษตรกร กรณีขายโรงงานได้ราคาต่ำกว่ากิโลกรัมละ 5 บาทจะชดเชยส่วนที่ต่ำกว่า 5 บาทให้

ปลาหมอสีคางดำ ถือว่าเป็นสัตว์น้ำต่างถิ่นครอบครัวเดียวกับปลาหมอสี และปลาหมอเทศ จัดเป็นปลาที่กินอาหารเก่ง โดยสามารถกินได้ทั้งแพลงก์ตอนพืช และลูกกุ้ง ลูกปลาที่มีขนาดเล็กๆ รวมทั้งมีความสามารถแพร่ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว อัตราการรอดตายสูง ดังนั้นเมื่อมีการแพร่ระบาดจึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อสัตว์น้ำพื้นถิ่น รวมถึงบ่อเลี้ยงของเกษตรกร เป็นสัตว์น้ำตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ห้ามมิให้บุคคลใดนำเข้า ส่งออก นำผ่าน หรือเพาะเลี้ยง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมประมง หรือเป็นผู้ซึ่งอธิบดีกรมประมงมอบหมาย


https://mgronline.com/local/detail/9660000056295
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 22-06-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,241
Default

ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ


คนจับปลากับมาตรการด้านประมงของอ่าวไทย



กรมประมงประกาศใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน ในพื้นที่ทะเลอ่าวไทย ประจำปี 2566 เพื่อคุ้มครองพ่อแม่พันธุ์ปลาทู และสัตว์น้ำมีไข่ให้แพร่ขยายพันธุ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำได้อย่างยั่งยืน


ครอบคลุมพื้นที่บริเวณอ่าวไทยทั้งหมด

แบ่งเป็น บริเวณพื้นที่อ่าวไทยตอนกลาง 2 ช่วงระยะเวลา ได้แก่ ระหว่างวันที่ 15 ก.พ. ? 15 พ.ค. 2566 ตั้งแต่ปลายแหลมเขาม่องไล่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ถึงอำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี และระหว่างวันที่16 พ.ค. ? 14 มิ.ย. 2566 ในบริเวณอาณาเขตตามแผนที่แนบท้ายของประกาศปิดอ่าวไทยตอนกลาง และเขตต่อเนื่องตั้งแต่ปลายแหลมเขาม่องไล่ ถึงอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และบริเวณพื้นที่อ่าวไทยรูปตัว ก 2 ช่วงระยะเวลา ได้แก่ ระหว่างวันที่ 15 มิ.ย. ? 15 ส.ค. 2566 ในพื้นที่อ่าวไทยตอนในฝั่งตะวันตกของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร และระหว่างวันที่ 1 ส.ค. ? 30 ก.ย. ในพื้นที่อ่าวไทยตอนในด้านเหนือของจังหวัดสมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา และชลบุรี

สำหรับมาตรการปิดอ่าวไทยในปีที่ผ่านมา จากข้อมูลทางวิชาการ พบว่า การประกาศใช้มาตรการปิดอ่าวไทย ทำให้พ่อแม่พันธุ์ปลาทูมีความสมบูรณ์เพศ และมีการแพร่กระจายของลูกปลาทู และสัตว์น้ำเศรษฐกิจชนิดอื่นในพื้นที่ ที่ประกาศใช้มาตรการอย่างชัดเจน


https://www.bangkokbiznews.com/environment/1074519

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 22-06-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,241
Default

ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS


นักฆ่าล่องหน มหานครฝุ่นและคลื่นความร้อน ............ โดย เพชร มโนปวิตร



สิ่งที่เหมือนกันอย่างหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและมลพิษทางอากาศคือเป็นสาเหตุที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมหาศาลในแต่ละปีไม่ว่าจะเป็นฝุ่นละอองขนาดจิ๋ว PM2.5 หรือคลื่นความร้อนที่จู่โจมหนักหนาขึ้นทุกที แต่เรากลับมองเห็นตัวการได้ไม่ชัดเจนนัก จนกล่าวได้ว่าทั้งสองปัญหาเป็นนักฆ่าล่องหนที่กำลังจับมือกันเข่นฆ่ามนุษย์อย่างไร้ความปราณี ลองมาดูกันว่าวิกฤตทั้งสองด้านเกี่ยวข้องกันอย่างไร และมีวิธีไหนบ้างที่ช่วยแก้ปัญหาทั้งคู่ได้ในคราวเดียวกัน


ปัญหามลพิษทางอากาศวิกฤตขนาดไหน

มลพิษทางอากาศเป็นสาเหตุหลักของโรคร้ายและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของคนทั่วโลก ฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือ PM2.5 ที่เราคุ้นเคยกันดีเป็นต้นเหตุของการเสียชีวิตของคนประมาณ 6.4 ล้านคนต่อปีจากโรคร้ายต่าง ๆ เช่น มะเร็งปอด โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคปอดบวม โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคในทารกแรกเกิด

การเสียชีวิตกว่า 95% เกิดขึ้นในประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งมีคนหลายพันล้านคนต้องเผชิญกับฝุ่นละออง PM2.5 ทั้งภายนอกและภายในอาคารที่มีความเข้มข้นสูงกว่าค่าแนะนำที่ถูกกำหนดโดยองค์การอนามัยโลก รายงานจากธนาคารโลกประเมินว่าแต่ละปีมีค่าเสียหายทางสุขภาพที่เกิดจากมลพิษทางอากาศเป็นจำนวนกว่า 8.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเทียบเท่ากับ 6.1% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมโลก (GDP)

คนจน ผู้สูงอายุ และเด็กที่มาจากครอบครัวที่มีรายได้ต่ำเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดและมีความสามารถน้อยที่สุดในการรับมือกับผลกระทบทางสุขภาพที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ ในแง่นี้ก็ไม่ต่างจากปัญหาสภาวะโลกร้อนที่ประชากรในกลุ่มเปราะบางมีความเสี่ยงสูงที่สุดจากผลกระทบต่าง ๆ ซึ่งยิ่งตอกย้ำความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ที่เป็นอยู่

วิกฤตสุขภาพระดับโลก เช่นการระบาดของโรค COVID-19 ทำให้สังคมยิ่งสูญเสียความสามารถในการปรับตัว (resilience) การที่ผู้ป่วยเผชิญกับมลพิษทางอากาศจะเพิ่มความรุนแรงของโรคและโอกาสในการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 นอกจากสุขภาพแล้ว มลพิษทางอากาศยังเกี่ยวข้องกับการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ และมีผลกระทบโดยตรงต่อทรัพยากรมนุษย์ ในทางกลับกันการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศไม่เพียงแต่ช่วยปรับปรุงสุขภาพแต่ยังช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจ ลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพโดยตรง

การศึกษาล่าสุดจากธนาคารโลกพบว่าการลดค่าความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5 ลงได้ 20% จะช่วยให้อัตราการเติบโตของการจ้างงานเพิ่มขึ้น 16% และเพิ่มอัตราการเติบโตผลผลิตในแรงงานถึง 33% พูดง่าย ๆ การแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 จะทำให้คนเจ็บป่วยน้อยลงและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ


มลพิษกับโลกร้อนเกี่ยวข้องกันอย่างไร

มลพิษทางอากาศและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นสองด้านของเหรียญเดียวกัน แต่โดยทั่วไปมักถูกมองว่าไม่มีความเกี่ยวข้องและมีแนวทางจัดการแยกจากกัน ความจริงเราจำเป็นต้องจัดการทั้งสองปัญหาไปพร้อม ๆ กัน การแก้ปัญหาวิกฤตทั้งสองด้านไม่เพียงช่วยแก้วิกฤตด้านสิ่งแวดล้อม แต่ยังช่วยเสริมสร้างทรัพยากรมนุษย์และลดความเหลื่อมล้ำได้อย่างเป็นรูปธรรม

ความจริงสารปนเปื้อนทางอากาศและก๊าซเรือนกระจกมักเกิดจากแหล่งที่มาเดียวกัน เช่น โรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงและรถยนต์เครื่องดีเซล สารปนเปื้อนทางอากาศบางอย่างอยู่ในสภาพแวดล้อมได้ไม่นาน โดยเฉพาะคาร์บอนสีดำ ? ส่วนหนึ่งของฝุ่นละออง PM2.5 ที่เปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว ส่วนก๊าซเรือนกระจกที่มีอายุค่อนข้างสั้นในชั้นบรรยากาศ ประกอบด้วย มีเทน ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน และโอโซนในชั้นโทรโพสเฟียร์หรือชั้นล่างสุด ก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้ดักจับความร้อนได้มากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์มากมายหลายเท่า

ก๊าซมีเทนมีคุณสมบัติทำให้โลกร้อนขึ้นกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 80 เท่าในช่วงเวลา 20 ปี มีเทนยังเป็นหนึ่งในตัวการสำคัญของโอโซนภาคพื้นดิน (Ground level ozone) ซึ่งถือเป็นหนึ่งในมลพิษทางอากาศที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพมากที่สุดและทำให้มีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรราว 5 แสนถึง 1 ล้านคนต่อปี การมุ่งแก้ปัญหาสารปนเปื้อนทางอากาศเหล่านี้จึงเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการปรับปรุงคุณภาพอากาศให้ดีขึ้น และบรรเทาความรุนแรงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ?

งานวิจัยหลายชิ้นยังพบว่าฝุ่น PM2.5 จากการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่นการเผาถ่านหินหรือการปล่อยสารปนเปื้อนจากรถยนต์ดีเซลเป็นส่วนหนึ่งของฝุ่น PM2.5 ที่เป็นพิษมากที่สุด อนุภาคจากแหล่งเหล่านี้มีผลกระทบต่อสุขภาพมากกว่าอนุภาคจากแหล่งมลพิษทางอากาศแหล่งอื่น ๆ การแก้ปัญหาโรงไฟฟ้าถ่านหินและการจราจร นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาสภาวะโลกร้อนแล้วยังเป็นการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศที่เป็นพิษที่สุด


วิธีการจัดการกับมลพิษทางอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ

- การวัดและตรวจสอบ: เรื่องนี้เป็นปัญหาที่ร้ายแรงเพราะเราไม่สามารถจัดการปัญหาได้อย่างถูกต้องหากไม่ได้วัดคุณภาพอากาศอย่างถูกต้อง ถ้าเราไม่รู้ว่าปัญหาเลวร้ายเพียงใดเราก็จะไม่รู้ว่ามาตรการต่าง ๆ ที่ใช้แก้ไขปัญหานั้นมีประสิทธิภาพหรือไม่ ทุก ๆ ประเทศจึงต้องพัฒนาระบบเครือข่ายการตรวจวัดอากาศระดับพื้นดิน ดำเนินการและบำรุงรักษาอย่างถูกต้องเพื่อให้ได้ข้อมูลคุณภาพอากาศที่เชื่อถือได้

- ทราบแหล่งที่มาของมลพิษทางอากาศและสาเหตุที่ทำให้คุณภาพอากาศเลวร้าย: เช่นในเมืองที่มีการจราจรหนาแน่น การขนส่งอาจเป็นปัจจัยที่มีส่วนสำคัญ แต่ในเมืองที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่เพาะปลูก การเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอาจมีความสำคัญมากกว่า ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้เราสามารถกำหนดมาตรการให้เหมาะสมเพื่อลดมลพิษทางอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ แน่นอนว่ามาตรการบางอย่างเป็นเรื่องที่ดีอย่างไม่ต้องสงสัยและลงมือทำได้เลย เช่นการปรับเปลี่ยนขนส่งสาธารณะเป็นพลังงานไฟฟ้า หรือส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน

- เผยแพร่ข้อมูลคุณภาพอากาศให้แก่ประชาชน: ประชาชนมีสิทธิ์ที่จะทราบถึงคุณภาพของอากาศที่พวกเขาหายใจ การเผยแพร่ข้อมูลคุณภาพอากาศในรูปแบบที่เข้าถึงได้ง่ายประชาชนลดความเสี่ยงในการสัมผัสกับมลพิษทางอากาศและปกป้องกลุ่มคนที่อ่อนแอ เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีปัญหาสุขภาพซึ่งอาจเลวร้ายลงจากคุณภาพอากาศที่ย่ำแย่


หนึ่งในวิธีการที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศและสภาวะโลกร้อนได้ในคราวเดียวกันก็คือการหยุดเผา และหยุดใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งจะช่วยปรับปรุงคุณภาพอากาศและแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ต้นตอ การหยุดเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรนอกจากจะช่วยปรับปรุงคุณภาพอากาศอย่างมหาศาลยังเป็นการหมุนเวียนแร่ธาตุและปรับปรุงคุณภาพดิน หรือในชุมชนที่ยังคงมีการใช้ไม้ฟืนเพื่อการหุงหาอาหารและให้ความอบอุ่น การเปลี่ยนไปใช้เตาแก๊สไร้ควันจะช่วยปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในบ้านอย่างมาก มาตรการเหล่านี้ล้วนส่งผลดีต่อการแก้ปัญหาสภาวะโลกร้อนในระยะยาว

นอกจากนี้ ยังมีมาตรการอื่น ๆ ที่เราสามารถนำมาใช้เพื่อลดมลพิษทางอากาศได้ เช่น:

- เปลี่ยนแหล่งพลังงานโดยส่งเสริมการใช้พลังงานที่สะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และลดเงินอุดหนุนที่ยังส่งเสริมให้มีการใช้เชื้อเพลิงที่สร้างมลพิษ

- ในอุตสาหกรรม ใช้เชื้อเพลิงจากพลังงานหมุนเวียน และนำเอามาตรการการผลิตที่สะอาดกว่ามาใช้ รวมทั้งติดตั้งระบบล้างฝุ่นและอุปกรณ์ไฟฟ้าสถิตย์ในโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อกรองอนุภาคขนาดเล็กก่อนที่จะปล่อยออกสู่อากาศภายนอก

- ในการขนส่ง เปลี่ยนจากการใช้รถยนต์ดีเซลเป็นรถไฟฟ้า ติดตั้งอุปกรณ์เครื่องฟอกไอเสียเร่งปฏิกิริยา (Catalytic converter) ในยานพาหนะเพื่อลดความอันตรายของสารปนเปื้อน มีระบบตรวจสอบและบำรุงรักษารถยนต์

- ในการเกษตร หลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจน และปรับปรุงประสิทธิภาพของดินในการเกษตรด้วยการใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรแทนการเผา ปุ๋ยที่มีส่วนประกอบไนโตรเจนจะปลดปล่อยแอมโมเนียซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดฝุ่น PM2.5 ชนิดรอง และยังทำปฏิกิริยากับออกซิเจนกลายเป็นไนตรัสออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่อยู่ในชั้นบรรยากาศ นอกจากนี้ควรมีระบบจัดการมูลสัตว์และปุ๋ยเพื่อป้องกันให้เกิดก๊าซมีเทน

- การทำอาหาร ควรใช้วิธีการที่สะอาด เช่นเตาแก๊สและหม้อต้มไร้ควัน


การแก้ปัญหามลพิษทางอากาศและสภาวะโลกร้อนควรทำไปพร้อมกันเพราะเป็นนโยบายที่ส่งเสริมซึ่งกันและกัน เราสามารถปรับปรุงคุณภาพอากาศได้ค่อนข้างรวดเร็วเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดคือสภาพเมืองไร้ฝุ่นในช่วงล็อกดาวน์ระหว่างการแพร่ระบาดของโควิด เมืองที่เคยเต็มไปด้วยฝุ่นควันอย่างนิวเดลี กวางโจว หรือกรุงไคโรเกิดปรากฏการณ์ฟ้าใสอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ในขณะที่การตอบสนองของระบบสภาพภูมิอากาศจะใช้เวลานานกว่า แต่มาตรการที่แก้ปัญหามลพิษทางอากาศย่อมส่งผลดีในระยะยาวแน่นอน

ปัญหามลพิษทางอากาศเกิดขึ้นในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ ส่วนสภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาที่ส่งผลในระดับโลกที่ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกประเทศ การแก้ปัญหามลพิษทางอากาศจึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เราไม่ต้องมานั่งเถียงกันว่าประเทศไหนควรจะลงมือแก้ปัญหาโลกร้อนก่อน เพราะใครลงมือแก้ปัญหาก่อนประเทศนั้นก็จะมีคุณภาพอากาศที่ดีขึ้น และส่งผลดีโดยรวมต่อโลกในที่สุด

มีงานศึกษาเมื่อปี 2021 แสดงให้เห็นว่าหากประเทศสหรัฐอเมริกาสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ตามเป้าหมายของข้อตกลงปารีส เฉพาะผลประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจจากอากาศที่สะอาดขึ้นนั้นก็สูงกว่าต้นทุนในการเปลี่ยนผ่านระบบต่าง ๆ ภายใน 10 ปีแรกเท่านั้น นอกจากนี้การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อไม่ให้อุณหภูมิสูงขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส ยังจะช่วยป้องกันไม่ให้มีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรถึง 4.5 ล้านคน ป้องกันคน 1.4 ล้านคนจากการรักษาตัวในโรงพยาบาล และลดอาการสมองเสื่อมในคนราว ๆ 1.7 ล้านคน

การเห็นความเชื่อมโยงระหว่างสุขภาพที่ดีขึ้นจากคุณภาพอากาศที่ดีนั้นจึงเป็นแรงจูงใจสำคัญให้แต่ละประเทศลงมือแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มักถูกมองว่าเป็นปัญหาในระยะยาว การลงมือแก้ปัญหาสภาวะโลกร้อนวันนี้จะส่งผลดีทันทีต่อความเป็นอยู่ของประชาชนและนโยบายด้านสาธารณสุข และยังช่วยบรรเทาผลกระทบจากภัยพิบัติที่หลายคนยังไม่ตระหนัก เข้าทำนอง มิเห็นโลงศพ มิหลั่งน้ำตา ถึงเวลาจัดการกับนักฆ่าล่องหนทั้งสองนี้พร้อม ๆ กันแล้ว


https://decode.plus/20230612-air-pol...air-pollution#

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 10:31


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger