เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 24-06-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,241
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน 2566

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน และอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนภาคกลาง และภาคใต้ มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

สำหรับบริเวณทะเลอันดามันทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 28-29 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ส่วนในช่วงวันที่ 24 - 25 มิ.ย. 66 ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน และอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยประกอบกับในช่วงวันที่ 26 ? 29 มิ.ย. 66 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และประเทศลาวตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และภาคใต้ มีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือด้านตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

สำหรับในช่วงวันที่ 25 ? 29 มิ.ย. 66 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยจะเริ่มมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามัน ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยห่างฝั่ง ทะเลมีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 24 ? 29 มิ.ย. 66 ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 25 ? 29 มิ.ย. 66 ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 24-06-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,241
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


เรือดำน้ำไททัน กับ Implosion ที่นำไปสู่โศกนาฏกรรม



เรือดำน้ำไททัน กับ คำอธิบาย Implosion ที่นำไปสู่เหตุโศกนาฏกรรมช็อกชาวโลก...

หลัง "เรือดำน้ำไททัน" (TITAN) ประสบอุบัติเหตุขณะกำลังดำดิ่งลงไปยังซากเรือไททานิกที่ความลึกประมาณ 3,800 เมตร ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ซึ่งล่าสุดได้รับการยืนยันจากหน่วยยามฝั่งของสหรัฐฯ แล้วว่า คนบนเรือทั้งหมดรวม 5 คน น่าจะเสียชีวิตทั้งหมด ปัจจุบัน "เรา" รู้อะไรเกี่ยวกับเหตุการณ์เศร้าสลดที่เกิดขึ้นกันแล้วบ้าง? วันนี้ "เรา" ไปร่วมฟังการบรรยายสรุป "ชุดข้อมูลที่ว่านี้ร่วมกัน"


ข้อมูลเรือดำน้ำไททัน :

น้ำหนัก 10,432 กิโลกรัม สูง 2.8 เมตร ยาว 6.7 เมตร กว้าง 2.5 เมตร ความเร็ว 3 นอต

บรรทุกผู้โดยสาร 5 คน ดำน้ำได้ลึกสูงสุด 4,000 เมตร มีออกซิเจนบนเรือดำน้ำใช้ได้ 96 ชั่วโมง (4 วัน) สำหรับ 5 คน ตัวเรือถูกสร้างขึ้นจากวัสดุคาร์บอนไฟเบอร์หนาพิเศษและหุ้มด้วยไททาเนียมถึง 2 ชั้น ส่วนภายในเรือมีลักษณะคล้ายกับรถมินิแวน และมีห้องน้ำเล็กๆ ไว้สำหรับทำธุระส่วนตัวเพียง 1 ห้อง

...


ข้อมูลล่าสุดเรื่องการเดินเรือ : เรือดำน้ำไททัน ไม่มีระบบ GPS นำทางจึงต้องอาศัยการรับเส้นทางการเดินเรือผ่านข้อความจากเรือพี่เลี้ยง คือ "เรือ Polar Prince" ที่ลอยอยู่เหนือผิวน้ำ

เจ้าของ : บริษัท OceanGate Expeditions


สาเหตุที่นำไปสู่โศกนาฏกรรม :

Implosion :


หน่วยยามฝั่งของสหรัฐฯ ระบุว่า เรือ Remotely Operated Vehicle หรือ ROV ของแคนาดาที่เข้ามาร่วมในภารกิจกู้ภัย ได้พบเศษชิ้นส่วนเรือดำน้ำไททัน 5 ชิ้น ตกอยู่ห่างจากซากหัวเรือไททานิกไปประมาณ 1,600 ฟุต ที่ความลึก 3,800 เมตร

ทำให้เบื้องต้นเจ้าหน้าที่สันนิษฐานว่า "เรือดำน้ำไททันน่าจะประสบเหตุระเบิดอย่างรุนแรงที่เรียกว่า "Implosion" หรือ "การระเบิดจากภายในซึ่งเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงความดันอย่างรวดเร็วภายในเรือดำน้ำขณะกำลังดำดิ่งลงสู่มหาสมุทรได้เพียงประมาณ 1 ชั่วโมง 45 นาที"

โดยข้อมูลดังกล่าวยังสอดคล้องกับที่ กองทัพเรือสหรัฐฯ ได้ออกมาเปิดเผยว่า สามารถตรวจพบสัญญาณเสียงที่สอดคล้องการระเบิดดังกล่าว ในวันเดียวกับที่เรือดำน้ำขาดการติดต่อกับเรือพี่เลี้ยงเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 23 และได้มีการส่งข้อมูลดังกล่าวไปให้กับเจ้าหน้าที่ยามฝั่งของสหรัฐฯ เพื่อใช้จำกัดพื้นที่การค้นหาเรือดำน้ำไททัน ที่ ณ เวลานั้น เชื่อว่า "ยังเป็นเพียงเรือที่สูญหาย"

เนื่องจากโซนาร์มีการตรวจพบ "สัญญาณแห่งความหวัง" คือ "เสียงเคาะใต้น้ำ" (Banging Noises) ในพื้นที่การค้นหาเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. และ 21 มิ.ย. ถึงแม้ว่าเสียงแห่งความหวังดังกล่าวจะไม่ชัดเจนมากนัก ทีมกู้ภัยจึงยังคงพยายามเดินหน้าค้นหาเรือดำน้ำไททันต่อไป จนกระทั่งมาพบกับหลักฐานที่สามารถยืนยันถึงการสูญเสียในที่สุด


...


แรงดันน้ำที่ความลึก 3,800 เมตร :

ข้อมูลควรรู้! ระดับชั้นความลึกและแรงดันน้ำในมหาสมุทร

1. Epipelagic Zone : ระดับผิวน้ำที่แสงสว่างส่องถึง ซึ่งมีความลึกไม่เกิน 200 เมตร โดยมีอุณหภูมิผิวทะเลตั้งแต่ สูงสุด 36 องศาเซลเซียส (ในอ่าวเปอร์เซีย) ถึง ต่ำสุด -2 องศาเซลเซียส (ใกล้ขั้วโลกเหนือ)

2. Mesopelagic Zone : ความลึกเกิน 200-1,000 เมตร เป็นชั้นความลึกที่แสงสว่างส่องถึงน้อยมากและมีออกซิเจนน้อย โดยชั้นความลึกนี้เป็นบริเวณที่อุณหภูมิของน้ำจะลดลงอย่างรวดเร็วตามความลึกที่เพิ่มขึ้น (ตั้งแต่ระดับ 8-4 องศาเซลเซียส) โดยมีแรงดันน้ำที่ระดับ 300-1500 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว!

3. Bathypelagic Zone : ลึกเกิน 1,000-4,000 เมตร เป็นเขตมืดที่มีแรงดันน้ำสูง โดยชั้นความลึกนี้จะแตกต่างจาก Mesopelagic Zone เนื่องจากอุณหภูมิน้ำจะคงที่ ที่ประมาณ 4 องศาเซลเซียส และมีแรงดันน้ำมากกว่า 5,850 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว!

4. Abyssopelagic Zone : ลึกเกิน 4,000-6,000 เมตร มีพื้นที่ถึง 3 ใน 4 ของมหาสมุทรที่มีระดับความลึกนี้ ขณะที่อุณหภูมิน้ำเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 2-4 องศาลเซลเซียส หรือ ?ใกล้จุดเยือกแข็ง? ส่วนแรงดันน้ำอยู่ที่ระดับมากกว่า 11,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว!

5. Hadopelagic Zone : ลึกเกิน 6,000-11,000 เมตร เป็นร่องลึกใต้ Abyssopelagic Zone โดยจุดที่ลึกที่สุดอยู่ที่ร่องลึกบาดาลมาเรียนา (Mariana Trench) นอกชายฝั่งของญี่ปุ่น โดยมีความลึกถึง 10,911 เมตร และมีอุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส (จุดเยือกแข็ง) ส่วนแรงดันน้ำอยู่ที่ระดับ 8 ตันต่อตารางนิ้ว!

ในเมื่อซากเรือไททานิก จมอยู่ที่ความลึก 3,800 เมตร จึงอยู่ที่ระดับ Bathypelagic Zone ซึ่งมีอุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส และมีแรงดันน้ำที่กระหน่ำเข้าใส่เรือดำน้ำไททัน มากกว่า 5,850 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว! (Pounds per square inch หรือ PSI)


แล้วแรงดันน้ำ 5,850 PSI มีความหนักหน่วงรุนแรงแค่ไหน?

คำตอบ : นิตยสารวิทยาศาสตร์ชื่อดังของสหรัฐฯ Scientific American หรือ SciAm เคยทำการทดลองด้วยการวัดแรงกัดของฉลามขาวขนาดยักษ์เอาไว้ว่าอยู่ที่ประมาณ 4,000 PSI นั่นจึงแปลว่า แรงดันน้ำที่อัดเข้าใส่เรือดำน้ำไททันขณะดำดิ่งลงสู่ความลึก 3,800 เมตร นั้น มีความหนักหน่วงรุนแรงมากกว่า ?แรงกัดของฉลามขาวขนาดยักษ์เสียอีก?

ด้วยเหตุนี้ หากเรือดำน้ำไททัน เกิดมี "รอยรั่วเล็กน้อยแม้เพียงปลายเส้นผม" ขณะลงสู่ความลึกที่มีแรงดันน้ำมหาศาลขนาดนั้น มันจะนำไปสู่การที่เรือดำน้ำเกิดการยุบตัวภายใน "เสี้ยววินาที (Milliseconds)" และถูกบดอัดด้วยแรงดันน้ำมหาศาล จนเกิด "Implosion" หรือ การระเบิดจากภายในซึ่งเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงความดันอย่างรวดเร็วภายในเรือดำน้ำนั่นเอง


https://www.thairath.co.th/scoop/world/2704158

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 24-06-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,241
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


ข่าวกรอง UK อ้าง รัสเซียกำลังฝึกโลมาต่อสู้ที่ไครเมีย



หน่วยข่าวกรองสหราชอาณาจักรกล่าวหารัสเซียว่า กำลังฝึกโลมาเพื่อใช้ในการต่อสู้ ที่แคว้นไครเมีย ทางตอนใต้ของยูเครน

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 2566 ว่า หน่วยข่าวกรองของกระทรวงกลาโหมแห่งสหราชอาณาจักร ระบุในรายงานความคืบหน้าล่าสุดของสงครามยูเครนว่า ตั้งแต่ปีก่อน กองทัพเรือของรัสเซียลงทุนงบประมาณมหาศาลให้แก่ฐานทัพหลักของกองเรือทะเลดำ ที่เมืองเซวาสโตโปล ในแคว้นไครเมีย

การลงทุนดังกล่าวรวมถึงการวางแนวตาข่าย 4 ชั้นและทุ่นลอยจำนวหนึ่งตลอดทางเข้าอ่าว และในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา การป้องกันเหล่านี้มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นด้วยการเพิ่มขึ้นของจำนวนสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมที่ผ่านมาการฝึกฝน "ภาพแสดงให้เห็นว่าจำนวนคอกสัตว์ลอยน้ำในอ่าวเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า ซึ่งมีโอกาสสูงที่พวกมันจะมีไว้ใส่โลมาปากขวด"

รายงานระบุอีกว่า สัตว์เหล่านี้น่าจะถูกฝึกมาเพื่อใช้ตอบโต้นักประดาน้ำของฝ่ายศัตรู โดยกองทัพรัสเซียเคยใช้วาฬเบลูกา และแมวน้ำในการทำภารกิจหลายอย่างในมหาสมุทรอาร์กติกมาแล้ว นอกจากนั้น วาฬติดบังเหียนพิเศษ ซึ่งเคยปรากฏตัวที่นอร์เวย์เมื่อปี 2562 จนทำให้เกิดการคาดเดาไปต่างๆ นานา ว่ามันถูกใช้เพื่อสอดแนมให้รัสเซียหรือไม่ ปรากฎตัวอีกครั้งที่นอกฝั่งสวีเดนเมื่อเดือนก่อน

อนึ่งเมื่อปี 2559 กระทรวงกลาโหมรัสเซียซื้อโลมา 5 ตัวเพื่อรื้อฟื้นการใช้สัตว์น้ำเลี้ยงลูกด้วยนมสติปัญญาสูงเพื่อการทหารแบบเดียวกับในยุคโซเวียต โดยทั้งโซเวียตและสหรัฐฯ ต่างเคยใช้โลมาในช่วงสงครามเย็น ฝึกพวกมันให้สามารถตรวจจับเรือดำน้ำ, ทุ่นระเบิด และ วัตถุหรือบุคคลต้องสงสัยใกล้ชายฝั่งและเรือ

อดีตพันเอกของโซเวียตนายหนึ่งเคยบอกกับสำนักข่าว เอเอฟพี ว่า ในยุคนั้น มอสโกถึงขั้นเคนฝึกโลมาให้วางระเบิดที่เรือของศัตรูมาแล้ว


https://www.thairath.co.th/news/foreign/2704268


******************************************************************************************************


รู้จักปรากฏการณ์ลานีญา ลมธรรมชาติสลับขั้วกับเอลนีโญ ส่งผลกระทบอย่างไรต่อโลก



ทำความรู้จักปรากฏการณ์ลานีญา ต้นเหตุภัยธรรมชาติจากลมค้าพัดเปลี่ยนฝั่งของโลก จนเกิดสภาพอากาศที่แปรปรวน สาเหตุจากภาวะโลกร้อน ที่ส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องไปทั่วโลก

สภาพอากาศที่แปรปรวน และยากเกินจะคาดเดาได้ของโลก ณ เวลานี้ สาเหตุมาจากมลภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก และภาวะโลกร้อนที่ส่งผลกระทบมากที่สุด จนเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติขึ้นมากมายกับโลกของเราในขณะนี้


ปรากฏการณ์ลานีญา คืออะไร

ลานีญา เกิดจาก ลมค้า (Trade Wind) พัดพาน้ำอุ่นจากทางฝั่งตะวันออกในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อน หรือแปซิฟิกเขตศูนย์สูตร ไปสะสมรวมกันที่ทางตะวันตก มีอุณหภูมิที่เย็นลง โดยกระแสลมที่มีความรุนแรงมากกว่าปกติ ทำให้กระแสน้ำที่ไหลมายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมากขึ้น ส่งผลให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลียมีระดับน้ำทะเลสูงขึ้น มีฝนตกหนักมากกว่าปกติ ส่วนในภูมิภาคฝั่งตรงข้ามก็จะเกิดภาวะแห้งแล้งตามแนวชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้


เอลนีโญ กับ ลานีญา ต่างกันอย่างไร

เอลนีโญ เกิดจากกระแสลมค้าพัดที่สลับฝั่งแกนโลกไปอีกทิศ เป็นกรณีเดียวกันกับ ลานีญา ซึ่งกระแสลมมีกำลังอ่อน และเปลี่ยนทิศทางลม จากด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปฟิซิกไปด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปฟิซิก ทำให้เกิดกระแสน้ำอุ่นไหลไปยังฝั่งทวีปอเมริกาใต้แทน ซึ่งทำให้ฝนตกหนัก และน้ำท่วม ซึ่งย้อนกลับมาทำให้ฝั่งทวีปเอเชีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลียไม่เกิดฝน และแห้งแล้ง


ลานีญา ส่งผลอย่างไรต่อโลก

น้ำทะเลที่เคลื่อนตัวจากฝั่งตะวันออกนั้น ทำให้มีการก่อตัว สะสมของเมฆฝนในระหว่างทางจำนวนมาก จึงเป็นที่มาของปรากฏการณ์นี้ที่ทำให้เกิดฟ้าฝนคะนอง โดย ออสเตรเลีย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ และประเทศทางฝั่งโซนเอเชียจะมีแนวโน้มที่จะมีฝนตกหนักติดต่อกัน และน้ำท่วม
...


ส่วนทางฝั่งแปซิฟิกตะวันออก บริเวณชายฝั่งประเทศเอกวาดอร์ เปรู ที่เป็นจุดสำคัญ มีการไหลขึ้นของน้ำเย็นระดับล่างขึ้นไปยังผิวน้ำซึ่งทำให้บริเวณดังกล่าวแห้งแล้งเกิดการความผันผวนของอากาศในฝั่งอเมริกา และอเมริกาใต้

สถานการณ์จากลานีญา ที่เห็นได้ชัดในปัจจุบันที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นที่เกิดน้ำท่วมที่ปรากฏการณ์ลานีญาจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน-ฤดูใบไม้ร่วง และเกาหลีใต้ซึ่งมีน้ำท่วมหนักสุดในรอบ 80 ปี จากการเกิดฝนที่ตกหนักแช่จนถึงขั้นวิกฤติ รวมถึงประเทศไทยก็พบเจอปัญหาน้ำท่วมจากสภาพอากาศฝนตกหนักจากสภาวะลานีญานี้อยู่บ่อยครั้ง

ปัจจุบันการที่สภาพอากาศแปรปรวนอย่างรุนแรง ในปีที่ผ่านมา ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่า สภาวะอากาศแปรปรวนเหล่านี้จะกลายเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกปี (New Normal) แต่ก็จะทวีความรุนแรงขึ้นในทุกๆ ปี เช่นเดียวกัน


https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2704142

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 24-06-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,241
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


ส่องความเสี่ยงจากปรากฏการณ์เอลนีโญ .......... โดย ธนันธร มหาพรประจักษ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย



ความแปรปรวนของสภาพอากาศที่เกิดขึ้นทั่วโลก นับวันยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นอย่างชัดเจน ขณะที่ซีกโลกหนึ่งเผชิญกับภัยแล้ง แต่อีกซีกโลกกลับเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมรุนแรง ปรากฏการณ์นี้หลายคนคงคุ้นกันอยู่บ้างว่าคือปรากฏการณ์เอลนีโญและลานีญา หรือปรากฏการณ์ธรรมชาติคนละขั้ว โดยนักวิทยาศาสตร์ต่างคาดการณ์ว่าในปีนี้ปรากฏการณ์เอลนีโญได้วนกลับมาถึงรอบและเริ่มต้นอย่างเป็นทางการแล้ว ซึ่งคาดว่ารอบนี้จะรุนแรงขึ้นเป็นประวัติการณ์ บางขุนพรหมชวนคิดจึงขอนำประเด็นนี้มาเล่าสู่กันฟังค่ะ

ปรากฏการณ์เอลนีโญและลานีญาเกิดจากความผกผันของกระแสอากาศโลกบริเวณเส้นศูนย์สูตรเหนือมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดได้ โดยทั้งสองปรากฏการณ์นี้จะทำให้สภาพอากาศโลกแปรปรวนและมักจะเกิดสลับกัน กล่าวคือ เมื่อเกิดเอลนีโญแล้วมักจะเกิดลานีญาตามมา โดยนักวิทยาศาสตร์ได้เผยแพร่ข้อมูลว่า ปรากฏการณ์ลานีญารอบล่าสุดที่เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายไตรมาส 3 ของปี 2563 ที่ทำให้เกิดความแห้งแล้งทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ ขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดฝนตกหนักและอากาศหนาวเย็นลงในพื้นที่แถบมหาสมุทรแปซิฟิกติดต่อกันนานผิดปกติกว่า 3 ปีได้สิ้นสุดลงแล้ว

โดย ในปี 2566 นี้ สัญญาณของปรากฏการณ์เอลนีโญได้กลับมาและจะส่งผลให้ทั่วโลกต้องเผชิญกับสภาพอากาศสุดขั้ว ตั้งแต่พายุหมุนเขตร้อนที่อาจพัดถล่มหมู่เกาะแปซิฟิก ภูมิภาคเอเชียบางส่วนและออสเตรเลียที่อาจต้องเผชิญกับการขาดฝนและสภาพความแห้งแล้ง ขณะที่ภูมิภาค อเมริกาใต้อาจต้องเผชิญกับฝนที่ตกหนักและรุนแรง เป็นต้น ทั้งนี้ ปรากฏการณ์เอลนีโญก่อตัวขึ้นครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2559 ซึ่งทำสถิติเป็นปีที่ร้อนที่สุดที่คนไทยต้องเผชิญ ทำให้คาดว่าในปี 2566 หรือ 2567 อุณหภูมิอาจพุ่งทำลายสถิติเดิม และจะร้อนสุดเป็นประวัติการณ์

แม้ว่าปรากฏการณ์เอลนีโญในรอบนี้จะเพิ่งเริ่มต้นขึ้น แต่ก็ทำให้หลายประเทศทั่วโลกต้องเผชิญกับวิกฤติภัยแล้งที่กำลังขยายวงกว้างและส่งผลกระทบไปสู่เรื่องอื่นๆ ทั้งวิกฤติน้ำ ที่ต้องใช้ในภาคครัวเรือน ใช้ในภาคการผลิต หรือใช้เพาะปลูกก็เริ่มได้รับผลกระทบ ทางการออสเตรเลียคาดการณ์ว่า ผลิตผลทางการเกษตรในช่วงฤดูหนาวของออสเตรเลียมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากสภาพอากาศมีแนวโน้มจะแห้งแล้งมากขึ้น หลังจากที่ออสเตรเลียเคยมีปริมาณน้ำฝนสูงสุดติดต่อกัน 3 ปีจากปรากฏการณ์ลานีญา โดยในปีนี้ทั้งข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์และคาโนลามีโอกาสจะต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในรอบ 10 ปี ด้านทางการเวียดนามคาดการณ์ว่าบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงอาจเผชิญภัยแล้งหรือการรุกล้ำของน้ำเค็มที่อาจส่งผลกระทบต่อพืชผลทางการเกษตรได้ ซึ่งบริเวณดังกล่าวมีสัดส่วนการผลิตข้าวและผลไม้มากกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งประเทศ นอกจากนี้ ภาคการผลิตในหลายประเทศยังเสี่ยงขาดแคลนน้ำ ทำให้ผู้ผลิตในหลายอุตสาหกรรมจำเป็นต้องหากลยุทธ์ในการบริหารจัดการน้ำให้ใช้น้อยลงให้มากที่สุด

สำหรับไทยผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญคาดว่าจะทำให้อุณหภูมิในไทยอาจเพิ่มสูงกว่าระดับปกติ และอาจเกิดสภาพอากาศแปรปรวนในบางพื้นที่ เช่น พื้นที่ที่เคยมีฝนตกชุกอาจต้องเผชิญกับความแห้งแล้งฉับพลัน หรือพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำฝนอาจต้องเผชิญกับพายุฝนรุนแรง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรในหลายพื้นที่ โดยคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน ประเมินว่า หากไม่มีการเตรียมการรับมือกับความเสี่ยงขาดแคลนน้ำในปีนี้ จะกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมและภาคการเกษตร และอาจสร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจถึง 3.6 หมื่นล้านบาท

สภาพอากาศโลกที่แปรปรวนรุนแรงขึ้นทุกวันนี้ เชื่อว่าเราทุกคนคงไม่สามารถนิ่งนอนใจได้ ดังนั้น เพียงแค่เราช่วยกันใส่ใจการใช้ชีวิตประจำวันให้รบกวนและทำร้ายโลกให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ด้วยการลดพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดการปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศ เราจะมีส่วนช่วยลดความรุนแรงของปรากฏการณ์เอลนีโญและลานีญาได้ค่ะ.


https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2704106


******************************************************************************************************


ปลาตายเกลื่อนหาดทุ่งวัวแล่น ตรวจแล้วเกิดจากแพลงก์ตอน ทำให้ขาดออกซิเจน



เหตุปลาตายเกลื่อนบนหาดทุ่งวัวแล่นจำนวนมาก ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งฯ ตรวจสอบพบน้ำทะเลมีสีน้ำตาลอ่อน มีกลิ่นเหม็น เพราะแพลงก์ตอนกลุ่มไดอะตอมตายลงทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจน ขณะที่ ผู้ว่าฯ ชุมพร นำทีมฝ่ายปกครอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและจิตอาสาเร่งทำความสะอาด หวั่นกระทบแหล่งท่องเที่ยว

จากสถานการณ์ปลาตายเป็นจำนวนมากบริเวณหาดทุ่งวัวแล่น (หน้ารูปปั้นวัวกระทิง) ตำบลสะพลี อำเภอปะทิว ตั้งแต่เวลา 01.00 น. ของวันที่ 22 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมานั้น เจ้าหน้าที่จากสำนักงานประมงจังหวัดจังหวัดชุมพร ร่วมด้วยเจ้าหน้าที่จากศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งชุมพร ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลชุมพรได้ลงพื้นที่และดำเนินการตรวจสอบหาสาเหตุการตาย รวมทั้งเก็บตัวอย่างน้ำ จำนวน 3 จุด เพื่อตรวจสอบคุณภาพน้ำ ชนิดและปริมาณแพลงค์ตอน

ล่าสุด เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 66 ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนกลาง (ศวทก.) ดำเนินการตรวจสอบกรณีปลาตาย บริเวณหาดทุ่งวัวแล่น ต.สะพลี อ.ปะทิว จ.ชุมพร ผลการตรวจสอบพบว่า น้ำทะเลมีสีน้ำตาลอ่อน มีกลิ่นเหม็น ตรวจวัดคุณภาพน้ำทะเลเบื้องต้น พบว่าปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ 2.21-3.46 mg/l ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานน้ำทะเล ที่มีค่า 4 mg/l ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้สัตว์น้ำตายเป็นจำนวนมาก

การตรวจสอบเบื้องต้นด้วยกล้องจุลทรรศน์ พบแพลงก์ตอนกลุ่มไดอะตอม ชนิด Chaetoceros sp. Coscinodiscus sp. Bacteriastrum sp. ซึ่งแพลงก์ตอนกลุ่มนี้ไม่สร้างสารพิษ แต่เมื่อตายลงทำให้เกิดกลิ่นเหม็น และเกิดสภาวะขาดออกซิเจน จากการสัมภาษณ์ชาวบ้านในพื้นที่ พบว่าปลาทะเลตายขึ้นมาเกยหาดบริเวณนี้มีเกือบทุกปี ปริมาณมากน้อยต่างกัน โดยปีนี้มีปริมาณค่อนข้างเยอะ ชาวบ้านเรียกว่า "ปลาตายน้ำแดง" ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงต้นฤดูฝน

โดยปลาตายที่พบส่วนใหญ่เป็นกลุ่มปลาแป้น ปลาดอกหมาก และปลาอมไข่ โดย ศวทก. ได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างน้ำทะเล เพื่อวิเคราะห์หาปริมาณสารอาหาร ในห้องปฏิบัติการต่อไป

ด้าน นายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าฯ ชุมพร พร้อมด้วย ประมงจังหวัดชุมพร นายอำเภอปะทิว ผอ.ทสจ.ชุมพร และนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสะพลี ลงพื้นที่บริเวณชายหาดทุ่งวัวแล่น ซึ่งอาจจะส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยวได้ จึงระดมส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และจิตอาสาในพื้นที่ เร่งเก็บปลาที่ขึ้นมาตายบริเวณหน้าหาดให้มากที่สุด ป้องกันการส่งกลิ่นเหม็นกระทบต่อภูมิทัศน์ และได้สั่งการให้หน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ ใช้เครื่องจักรเครื่องมือ เก็บปลาที่ตายอยู่กลางทะเลเมื่อสภาพน้ำอำนวย เพื่อป้องกันปัญหาน้ำเน่าเสียและปลาขึ้นมาเกยหาดอีก.


https://www.thairath.co.th/news/local/central/2704085

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 24-06-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,241
Default

ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์


'อ.ธรณ์' ไขสงสัยความลับ 'ทะเลลึก' หลังเกิดเหตุ 'เรือดำน้ำไททัน' แท้จริงแล้วเป็นอย่างไร?

"อ.ธรณ์" เปิดข้อมูล ไขสงสัยถึงเรื่องราวของ "ท้องทะเลลึก "แท้จริงแล้วเป็นอย่างไร หลังเกิดเหตุเรือดำน้ำไททัน ดำดิ่งสู่ซากเรือไททานิก!



จากกรณีการค้นหาเรือดำน้ำนำเที่ยว ?ไททัน? ของบริษัท โอเชียนเกต เอ็กซ์เพดิชันส์ ซึ่งนำกลุ่มมหาเศรษฐี 5 คน ดำดิ่งไปชมซากเรือไททานิก ในเขตทางเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก แล้วขาดการติดต่อกับศูนย์ปฏิบัติการ ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ผ่านมา โดยภายหลังได้พบชิ้นส่วนเรือดำน้ำไททัน ใกล้กับซากเรือไททานิก ที่จมอยู่ทางเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก โดยลักษณะของชิ้นส่วนบ่งชี้ว่า เรือดำน้ำระเบิด "จากแรงกดดันมหาศาลภายนอกบีบอัดเข้ากับตัวยาน" คาดว่าเป็นสาเหตุให้ผู้โดยสารภายในเรือดำน้ำเสียชีวิตทั้งหมด โดยเรื่องดังกล่าวนี้เอง ทำให้เกิดกระแสพูดถึงระดับความลึกของท้องทะเลในโลกนี้ไปทั่วทั้งสังคมออนไลน์


โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat โดยระบุว่า "คนทั้งโลกกำลังสนใจ "ทะเลลึก" จึงอยากเล่าให้เพื่อนธรณ์ทราบ" ขอบเขตของทะเลลึก เริ่มจากความลึก 200 เมตร เมื่อแสงจากดวงอาทิตย์เริ่มหมดไป แสงที่ความลึกนั้นเหลือไม่ถึง 1% เนื่องจากน้ำดูดกลืนแสง เมื่อลงไปถึง 1000 เมตร จะไม่มีแสงใดเหลืออยู่เลย

ทะเลลึกคือพื้นที่ใหญ่ที่สุดในโลก ขนาดใหญ่กว่าแผ่นดินทั้งหมดที่มนุษย์อยู่ ผิวโลกแบ่งง่ายๆ เป็นทะเล (70.8%) แผ่นดิน (29.2%) มากกว่าครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทะเล ลึกเกิน 4,000 เมตร จุดลึกสุดของมหาสมุทร ลึกกว่าซากเรือไททานิกมาก จุดลึกสุดของแอตแลนติก 8,480 เมตร จุดลึกสุดของโลก (แปซิฟิก) ประมาณ 11 กิโลเมตร

ความลึกเฉลี่ยของแอตแลนติก 3,600 เมตร น้อยกว่าไททานิกเล็กน้อย จุดที่ไททานิกจมอยู่ จึงไม่ใช่จุดที่ลึกมากมายเมื่อเทียบกับความลึกเฉลี่ย ความลึกเฉลี่ยของแปซิฟิกคือ 4,000 เมตร ลึกกว่าไททานิก ทะเลแบ่งเป็น 5 โซน ทะเลลึกแบ่งเป็น 4 โซน

ไททานิกอยู่ในเขต Abyssopelagic ที่นั่นไม่มีแสง อุณหภูมิน้ำใกล้ศูนย์องศา (แต่ไม่เป็นศูนย์) ความเค็ม 35 ppt ปรกติ แต่ความดันแตกต่าง ความดันเพิ่ม 1 เท่าทุกความลึก 10 เมตร ความดันที่ไททานิกประมาณ 380 เท่าของผิวโลก แรงกดจึงมหาศาล คิดง่ายๆ คือพื้นที่เท่ากับแสตมป์ 1 ดวง รับน้ำหนักเท่ากับช้างหนึ่งตัว ช้างกับแสตมป์เป็นเพียงตัวอย่างให้เห็นภาพ แต่ความกดระดับนั้น หากโครงสร้างยานทนไม่ได้ เกิดระเบิด จะรุนแรงมหาศาล

"catastrophic implosion คือคำที่ใช้สำหรับเหตุการณ์แบบนั้น แรงกดดันจะทำลายทุกอย่างในเสี้ยววินาที ผู้จากไปแทบไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าจะเกิดระเบิดเพราะแรงดัน ขอให้ดวงวิญญานของทุกคนไปสู่สุคติครับ"

สำหรับทะเลไทยมีเขตทะเลลึกในอันดามัน ไม่มีในอ่าวไทย เพราะอ่าวไทยตื้นมาก ทะเลอันดามันในส่วนของประเทศไทย (EEZ) ลึกสุดประมาณ 2 พันเมตร แต่ส่วนใหญ่อยู่ในเขต 1,000 เมตร การสำรวจทะเลลึกของไทยมีน้อยมาก เรียกว่าแทบไม่มีเลย เพราะต้องใช้อุปกรณ์ราคามหาศาล เรือสำรวจ ฯลฯ มีการสำรวจอยู่บ้าง โดยเป็นโครงการร่วมมือระหว่างประเทศ ในอนาคต หากเริ่มมีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรพื้นทะเลอันดามัน เช่น ปิโตรเลียม เราอาจเรียนรู้เรื่องนี้มากขึ้น


https://www.dailynews.co.th/news/2467613/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #6  
เก่า 24-06-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,241
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยโพสต์


ตำรวจน้ำไล่ล่า จับเรือประมงเวียดนาม 2 ลำ



23 มิ.ย. 2566 ? ผู้สื่อข่าวจังหวัดสงขลารายงานว่า เรือตรวจการณ์ 817 ของกองบังคับการตำรวจน้ำ โดยมี พันตำรวจโทนัฐพงศ์ ตาแก้ว รองผู้กำกับการ 7 กองบังคับการตำรวจน้ำ (สงขลา) เป็นหัวหน้าชุด นำเรือออกปฏิบัติการไล่ล่าประกบเรือประมงเวียดนาม ที่พยายามเร่งเครื่องขับหนีการจับกุมอย่างเต็มที่ แต่ด้วยยุทธวิธีของตำรวจน้ำ เจ้าหน้าที่สามารถจับกุมเรือประมงเวียดนาม ที่ลักลอบเข้ามาทำการประมงคราดปลิงทะเล บริเวณเกาะโลซิน จังหวัดปัตตานี หลังจากได้รับแจ้งจากสายข่าวและเรือประมงในพื้นที่ ที่ทำการประมงอยู่บริเวณใกล้เคียงว่า มีเรือประมงสัญชาติเวียดนามลักลอบเข้ามาทำการประมงในทะเลเขตต่อเนื่องบริเวณแลตติจูด7 องศา 57 ลิปดาเหนือ ลองติจูด 101 องศา 56 ลิปดาตะวันออกซึ่งอยู่ในทะเลเขตต่อเนื่อง ห่างจากเส้นฐานตรง 19 ไมล์ทะเลและห่างจากทุ่นไฟปากร่องน้ำสงขลาไปทางทิศตะวันออกประมาณ 80 ไมล์ทะเล บริเวณเกาะโลซินจังหวัดปัตตานี

โดยเรือตำรวจน้ำวิ่งประกบไล่ล่าเรือประมงเวียดนามที่ขับหนีอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันเรือตำรวจน้ำก็ได้ประกาศให้เรือประมงเวียดนามหยุดอยู่ตลอดเวลาในที่สุดก็สามารถหยุดเรือและยอมจำนนให้ทำการจับกุม จากการตรวจสอบพบว่าเป็นเรือประมงคราดปลิงทะเลสัญชาติเวียดนาม มีลูกเรือประมงจำนวน 5 คนรวมทั้งผู้ควบคุมเรือ จึงได้ทำการจับกุมเรือประมงเวียดนามจำนวน 1 ลำพร้อมลูกเรือ 5 คน และควบคุมเรือกลับเข้าฝั่ง มาจอดที่ท่าเทียบเรือตำรวจน้ำ ถนนแหล่งพระรามเขตเทศบาลนครสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

หลังจากควบคุมเรือประมงเวียดนามและลูกเรือประมงทั้ง 5 คนกลับเข้าฝั่งแล้ว ก็ได้รับแจ้งจากสายข่าวและชาวประมงในพื้นที่ว่า มีเรือประมงเวียดนามลักลอบเข้ามาทำการประมงคราดปลิงทะเลในเขตน่านน้ำไทย บริเวณแลตติจูด 7 องศา 54 ลิปดาเหนือ ลองติจูด 100 องศา 52 ลิปดาตะวันออก ซึ่งอยู่ในทะเลเขตน่านน้ำภายใน ห่างจากปากร่องน้ำสงขลา ไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 44 ไมล์ทะเล บริเวณเกาะกระ จังหวัดนครศรีธรรมราช จึงได้นำเรือตรวจการณ์ 817 ออกไปทำการตรวจสอบ ปรากฏว่า ตรวจพบเรือประมงเวียดนามกำลังทำการประมงคราดปลิงทะเล จึงได้ทำการจับกุมพร้อมลูกเรือชาวเวียดนาม จำนวน 6 คนและได้ควบคุมเรือประมงเวียดนามจำนวน 1 ลำ พร้อมลูกเรือ 6 คน เดินทางกลับเข้าฝั่งเพื่อส่งตัวมอบให้กับพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองสงขลาเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

โดยตั้งข้อกล่าวหากับผู้ต้องหาทั้งหมด ในข้อหาร่วมกันทำการประมงพาณิชย์ในน่านน้ำไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.ก.ประมง พ.ศ.2558 พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 พ.ร.บ.ว่าด้วยสิทธิการประมงในเขตการประมงไทย พ.ศ.2482 และ พ.ร.บ.เดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456

พันตำรวจโทนัฐพงศ์ กล่าวว่า ในห้วงเวลาที่ผ่านมา ทางตำรวจน้ำก็ได้ทำการจับกุมเรือประมงสัญชาติเวียดนาม ซึ่งทางตำรวจน้ำได้รับแจ้งจากสายข่าวและเรือประมงในพื้นที่ทางตำรวจน้ำก็ได้ออกทำการลาดตระเวนและก็เจอ สุดท้ายก็ทำการจับกุมมาดำเนินคดีในพื้นที่ ซึ่งเรือประมงคราดปลิงที่เข้ามาใกล้ในพื้นที่ก็เนื่องจากปลิงทะเลมันจะอยู่บริเวณที่น้ำไม่ลึกมากจนเกินไป ในภาคใต้ตอนล่างที่เป็นเขตรับผิดชอบ เป็นพื้นที่ที่เรือคราดปลิงจะเข้ามาบ่อยครั้ง ก็จะเป็นน่านน้ำภายใน แถวเกาะโลซินหรือแนวชายทะเลของจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี แม้กระทั่งแถวเกาะกระ ซึ่งเป็นดอนลักษณะดอนทราย พื้นที่ลักษณะแบบนี้ จะมีปลิงทะเลอยู่ค่อนข้างจะเยอะ ทำให้เรือประมงสัญชาติเวียดนามลักลอบเข้ามาทำประมงอยู่บ่อย

ทั้งนี้ลำแรกที่เราจับได้ทำการประมงอยู่แถวเกาะโลซิน ลำที่ 2 ล่าสุดที่ทำการจับมาก็เป็นบริเวณเกาะกระ เรือทั้ง 2 ลำเป็นเรือคราดปลิงทั้งหมด จากการสังเกตหลายๆ ครั้งและมีสายข่าวรายงานเรามา พอมีการจับกุมเราจะต้องลากเรือกลับมาเข้าฝั่งในพื้นที่ และจะต้องใช้เวลาค่อนข้างจะนาน ทำให้กลุ่มเรือที่เหลือ ที่ยังไม่โดนจับกุม มีพฤติการณ์ที่ว่า เมื่อเจ้าหน้าที่จับแล้ว เมื่อกลับเข้าฝั่งจะต้องใช้เวลาในการเดินทาง ใช้เวลาในการทำบันทึกจับกุม ซึ่งตรงนี้จะเป็นเวลานาทีทองของเขา หลายๆ ครั้ง ที่พวกตนจะมีการวางแผนย้อนศร ซึ่งลักษณะนี้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจน้ำได้ทำสำเร็จมา 2-3 ครั้งแล้ว ก็คือ ชุดนึงจับลากเรือเข้าเพื่อเปลี่ยนความคิดให้เขาคิดว่า เราไม่มาจับเขาแล้ว ช่วงระยะเวลาหนึ่ง และเราใช้เรือตำรวจน้ำอีกชุดนึง เข้าไปในพื้นที่เดิม ก็ตรวจเจอและก็ได้ทำการจับกุมได้ต่อเนื่องจำนวนหลายครั้งแล้ว

ในส่วนสถานีตำรวจน้ำ กองกำกับการ 7 กองบังคับการตำรวจน้ำ ในจังหวัดสงขลามีพื้นที่รับผิดชอบตั้งแต่อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ไปถึงอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส รวมพื้นที่ 4 จังหวัด ซึ่งเป็นจังหวัดแนวชายทะเลทั้งหมด ในระยะเวลาที่ผ่านมา ทางหน่วยแม่ของกองกำกับการ 7 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชากองบังคับการตำรวจน้ำ ได้มีนโยบายมอบลงมา ให้ป้องกันปราบปรามการกระทำความผิด เกี่ยวกับทางทะเลเป็นปกติอยู่แล้ว

"อยากฝากถึงพี่น้องชาวประมงทุกคนว่า ช่วยเป็นหูเป็นตา ถ้าเกิดมีเรือประมงทำผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นเรือประมงสัญชาติเวียดนามหรือเรือประมงสัญชาติไทยก็ตาม ที่ลักลอบทำการประมงผิดกฎหมาย ก็ขอให้แจ้งมายังตำรวจน้ำและขอให้พี่น้องประชาชน มั่นใจว่า พวกผมพร้อมที่จะรับใช้ พร้อมที่จะปฏิบัติและจับกุมตามความสามารถที่ผมมีอย่างเต็มที่? พันตำรวจโทนัฐพงศ์ ระบุ.


https://www.thaipost.net/district-news/402012/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #7  
เก่า 24-06-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,241
Default

ขอบคุณข่าวจาก Nation TV


ธารน้ำแข็งบนเทือกเขาหิมาลัย ละลายเร็วจนน่าตกใจ หวั่นปัญหาน้ำท่วม ขาดแคลนน้ำ



เหตุจากโลกร้อน เผยรายงานล่าสุดที่น่าตกใจ ธารน้ำแข็งบนเทือกเขาหิมาลัยฮินดูกูชละลายเร็วกว่าปกติ เทือกเขาลูกนี้ทอดยาวถึง 3,500 กิโลเมตร มีการคาดการณ์ว่าหากโลกร้อนขึ้น 1.5 - 2 องศาเซลเซียส ธารน้ำแข็งจะสูญเสียมวลธารน้ำแข็งไป 30-50% ภายในปี 2100

จากการประเมินของ International Centre for Integrated Mountain Development: ICIMOD (ศูนย์พัฒนาเทือกเขาแบบบูรณาการระหว่างประเทศ) ในกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล เผยว่า ตั้งแต่ปี 2010 การละลายของธารน้ำแข็งบนเทือกเขาหิมาลัยเกิดขึ้นเร็วกว่าในช่วง 10 ปีก่อนหน้าถึง 65%

รายงานระบุว่า ธารน้ำแข็งบนเทือกเขาหิมาลัยฮินดูกูชละลายเร็วกว่าปกติ ซึ่งเทือกเขาลูกนี้ทอดยาวถึง 3,500 กิโลเมตร กินพื้นที่หลายประเทศ ทั้งบังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย เนปาล ปากีสถาน อัฟกานิสถาน จีน และเมียนมาร์ ยังมีการคาดการณ์ว่าหากโลกร้อนขึ้น 1.5 - 2 องศาเซลเซียส ธารน้ำแข็งจะสูญเสียมวลธารน้ำแข็งไป 30-50% ภายในปี 2100

และแน่นอนว่าธารน้ำแข็งที่มีอาณาบริเวณใหญ่ขนาดนี้ หากละลายเร็วกว่าที่เคยเป็นและมีทีท่าว่าจะละลายเร็วขึ้นอีก จะส่งผลกระทบรุนแรงอย่างคาดไม่ถึง ไม่ว่าจะน้ำท่วมฉับพลันหรือหิมะถล่ม ล้วนส่งผลเสียกับชุมชนที่อยู่ท้ายน้ำ โดยภูมิภาคนี้มีแม่น้ำอยู่ 12 สาย ทั้งแม่น้ำคงคา แม่น้ำสินธุ รวมถึงแม่น้ำโขงด้วย ผู้คนกว่า 1.6 พันล้านคน ที่อาศัยยู่บริเวณนี้จะได้รับกระทบเป็นอย่างมาก

ย้อนไปในปี 2021 เคยมีเหตุการณ์ที่เป็นสัญญาณเตือนของภาวะโลกร้อนคือ ธารน้ำแข็งบนเทือกเขาหิมาลัยถล่มลงมาจนกลายเป็นภัยพิบัติครั้งใหญ่ เกิดน้ำทะลักซัดเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ 2 แห่งในอินเดีย ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 20 ราย สูญหายอย่างน้อย 200 ราย และอีกสัญญาณเตือนจากโลกร้อนที่เราเคยได้ยินข่าวจามรีล้มตายเป็นจำนวนมาก เนื่องจากหิมะตกเร็วเกินไปทำให้ทุ่งหญ้าที่เป็นแหล่งอาหารของสัตว์ชนิดนี้ถูกคลุมไปด้วยหิมะ ไม่มีหญ้าให้พวกมันกินจนทำให้ต้องอดตาย


https://www.nationtv.tv/gogreen/378920767

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 09:09


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger