เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 09-08-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 9 สิงหาคม 2565

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ประเทศไทยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันออก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มในระยะนี้ไว้ด้วย

ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร และอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งต่อไปอีก 1 วัน ทั้งนี้เนื่องจากร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย เข้าสู่พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย

อนึ่ง พายุดีเปรสชันที่ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศจีนตอนใต้ ในช่วงวันที่ 10-11 สิงหาคม 2565 นี้


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 8 ? 9 ส.ค. 65 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เข้าสู่หย่อมหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกระจายเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้

ส่วนในช่วงวันที่ 10 ? 14 ส.ค. 65 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศจีนตอนใต้และเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลงทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 8 ? 9 ส.ค. 65 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 10 ? 14 ส.ค. 65 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่างคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 8 ? 9 ส.ค. 65 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนจะทวีกำลังแรงขึ้น และคาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศจีนตอนใต้ ในช่วงวันที่ 10 - 11 ส.ค. 65


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 8 ? 12 ส.ค. 65 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรเพิ่มความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่ง จนถึงวันที่ 9 สิงหาคม 2565




*********************************************************************************************************************************************************



ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามัน" ฉบับที่ 8 ลงวันที่ 09 สิงหาคม 2565

ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย เข้าสู่พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันออก ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้


9 สิงหาคม 2565

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี ลพบุรี และสระบุรี

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์


สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนบนคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งต่อไปอีก 1 วัน

อนึ่ง พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 15.5 องศาเหนือ ลองจิจูด 112.0 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 30 นอต หรือ 55 กม./ชม. กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันออกค่อนทางเหนือเล็กน้อย ด้วยความเร็วประมาณ 15 กม./ชม. คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศจีนตอนใต้ ในช่วงวันที่ 10-11 สิงหาคม 2565












__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 09-08-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


เจ้าหน้าที่พบฝูงวาฬบลูด้า 4-5 ตัวกระโดดน้ำโชว์พื้นที่เกาะไข่-เกาะหลีเป๊ะ

สตูล - หน่วยปราบปรามทางทะเลสตูล ออกตรวจเรือประมง พบฝูงวาฬบลูด้า 4-5 ตัวกระโดดน้ำโชว์ บ่งบอกถึงความสมบูรณ์ท้องทะเล



วันนี้ (8 ส.ค.) เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา นายโชคชัย เมืองสง หัวหน้าหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเล จ.สตูล พร้อมเจ้าหน้าที่ ได้นำเรือตรวจประมงออกปฏิบัติงาน ตรวจสอบการทำประมงพื้นที่บริเวณทิศใต้ห่างเกาะไข่ห่างประมาณ 4 ไมล์ทะเล ต.เกาะสาหร่าย อ.เมืองสตูล จ.สตูล

ขณะแล่นเรือตรวจการณ์กลางทะเลนั้นได้พบฝูงวาฬบลูด้า จำนวน 4-5 ตัว ออกเล่นน้ำ ไล่กินอาหารพวกกุ้งและสัตว์น้ำขนาดเล็ก ในบริเวณพื้นที่เกาะไข่ เกาะกลาง และเกาะหลีเป๊ะ และเมื่อเห็นเรือ โผล่เหนือน้ำขึ้นมา แม้ว่าจะอยู่ไกลๆ เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก

สำหรับวาฬบลูด้า เป็นสัตว์สงวนตามบัญชีรายชื่อ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ.2562 ขนาดโตเต็มวัย 14-15 เมตร น้ำหนัก 12-20 ตัน ตัวเมียจะใหญ่กว่าตัวผู้เล็กน้อย เมื่อแรกเกิดลูกจะยาวถึง 4 เมตร เป็นวาฬที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2


https://mgronline.com/south/detail/9650000075619

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 09-08-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก มติชน


Science Insights : เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ 'คลื่นความร้อน' ........................ โดย ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ



ปีนี้ ค.ศ. 2022 เกิดคลื่นความร้อนในพื้นที่ต่างๆ ของโลกตลอดทุกเดือนตั้งแต่ต้นปี คือ มกราคม เรื่อยมาจนถึงเดือนเขียนต้นฉบับอยู่นี้ คือ กรกฎาคม ที่น่าสังเกตคือ มีการทำลายสถิติเดิมกันเป็นว่าเล่น ผมขอประมวลสถานที่และข้อมูลสำคัญๆ บางส่วนไว้เพื่อใช้อ้างอิงดังนี้ครับ

เริ่มจากเดือนมกราคม ซึ่งซีกโลกใต้อยู่ในช่วงฤดูร้อนกันก่อน

10-16 มกราคม: เกิดคลื่นความร้อนรุนแรงในแถบอเมริกาใต้ โดยเฉพาะที่ประเทศอาร์เจนตินา อย่างเมืองหลวงคือ บัวโนสไอเรส มีอุณหภูมิสูงถึง 41.1 องศาเซลเซียส และมีบางพื้นที่มีอุณหภูมิสูงถึง 45 องศาเซลเซียส ส่วนประเทศอื่นใกล้ๆ กัน ได้แก่ อุรุกวัย ปารากวัย และบางส่วนส่วนของบราซิล

18-23 มกราคม: เมืองเพิร์ธในออสเตรเลีย เจออุณหภูมิสูงถึง 40 องศาเซลเซียสติดต่อกันนาน 6 วัน และที่น่ารู้ก็คือตลอดช่วงฤดูร้อนข่วงปลายปี 2021 ถึงต้นปี 2022 เมืองเพิร์ธมีอุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียสรวมทั้งสิ้น 11 วัน ทำลายสถิติเดิม 7 วัน

8-13 กุมภาพันธ์: ซึ่งยังถือว่าเป็นฤดูหนาวของซีกโลกเหนือ ปรากฏว่าเมืองซานฟรานซิสโก ในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา มีอูณหภูมิสูงถึง 26 องศาเซลเซียส ทำลายสถิติเดิมเช่นกัน ส่วนที่ปาล์มซิตี้ มีอุณหภูมิสูงถึง 34 องศาเซลเซียส

เดือนมีนาคมก็ไม่เบา เพราะช่วงต้นเดือนเกิดคลื่นความร้อนทางแถบตอนเหนือของออสเตรเลีย ส่วนช่วงปลายเดือนมีนาคมต่อเนื่องมาเดือนเมษายนคลื่นความร้อนก็โจมตีอินเดียและปากีสถานทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนหนึ่ง (อินเดีย 25 ราย ปากีสถาน 65)

พอถึงเดือนพฤษภาคม ก็เกิดคลื่นความร้อนรุนแรงในสหรัฐอเมริกาตลอดทั้งเดือน มีผู้เสียชีวิตเช่นกัน โดยเฉพาะวันที่ 21 พฤษภาคม อุณหภูมิของเมืองต่างๆ เป็นดังนี้ บัลติมอร์กับฟิลาเดลเฟีย มีอุณหภูมิสูงสุด 35 องศาเซลเซียส ส่วนวอชิงตัน ดีซี และนิวยอร์คซิตี้มีอุณหภูมิสูงสุด 32 องศาเซลเซียส

เดือนมิถุนายนต้องถือว่าเป็นคลื่นความร้อนครั้งประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา โดยในสัปดาห์ที่สองอุณหภูมิของเมืองฟีนิกส์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐแอริโซนามีอุณหภูมิสูงสุดถึง 45.6 องศาเซลเซียส และที่หุบเขามรณะ (Death Valley) ซึ่งเป็นทะเลทรายอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา บริเวณเขตแดนระหว่างรัฐแคลิฟอร์เนียกับรัฐเนวาดา มีอุณหภูมิสูงถึง 51 องศาเซลเซียส

ในเดือนมิถุนายนนี้เอง ยังเกิดคลื่นความร้อนที่สเปน โดยเริ่มต้นชึ้นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน และพอถึงปลายเดือนก็เกิดคลื่นความร้อนครั้งรุนแรงที่สุดในรอบ 150 ปีที่ญี่ปุ่นอีกด้วย!

พอถึงวันที่ 8 กรกฎาคม คลื่นความร้อนก็บุกไปถึงสหราชอาณาจักร และวันที่ 15 กรกฎาคม ทางการของสหราชอาณาจักรก็ประกาศการเตือนภัยความร้อนสุดขีดระดับ ?สีแดง? นับเป็นครั้งแรกของประเทศ และในวันอังคารที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 2022 นับเป็นครั้งแรกที่อังกฤษพบกับความร้อนระดับ 40 องศาเซลเซียส


= = = = = = = = = = =

นิยามของคลื่นความร้อน

= = = = = = = = = ==

เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับคลื่นความร้อน (heat wave หรือบางครั้งสะกดติดกันเป็น heatwave) มีนิยามที่หลากหลาย

ลองมาดูนิยามกลางๆ ขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก หรือ WMO (World Meteorological Society) กันก่อน WMO ระบุว่า คลื่นความร้อนคือ การที่อุณหภูมิสูงสุดในช่วงเวลากลางวันมีค่าสูงกว่าอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย (ในบริเวณหนึ่งๆ) อย่างน้อย 5 องศาเซลเซียสนานติดต่อกัน 5 วัน หรือนานกว่า

ประเทศต่างๆ มักแตกต่างออกไปบ้าง แต่พูดกว้างๆ ได้ว่า "อากาศร้อน" ต่อเนื่องกินเวลานานหลายวัน เช่น

ประเทศเดนมาร์ก ระบุว่าเกิดคลื่นความร้อนหาก 3 วันต่อเนื่องโดยที่พื้นที่ของประเทศเกินกว่าครึ่งหนึ่งมีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยสูงกว่า 28 องศาเซลเซียส

ออสเตรเลียทางใต้ เช่น เมืองแอดีเลด ระบุว่าเกิดคลื่นความร้อนหาก 5 วันติดต่อกันมีอุณหภูมิอย่างต่ำ 35 องศาเซลเซียส หรือ 3 วันติดกันซึ่งมีอุณหภูมิอย่างต่ำ 40 องศาเซลเซียส เป็นต้น

สหรัฐอเมริกามีนิยามหลากหลายขึ้นกับแต่ละพื้นที่ แต่โดยปกติมักจะนิยามว่าเกิดคลื่นความร้อนหากอุณหภูมิร้อนจัดอย่างน้อย 2 วันติดกันขึ้นไป แต่หากเป็นแถบตะวันออกเฉียงเหนือจะนิยามว่าเกิดคลื่นความร้อนหากอุณหภูมิสูงเกิน 90 องศาฟาเรนไฮต์ (32.2 องศาเซลเซียส) เป็นเวลาอย่างน้อย 3 วันติดกัน

ทั้งนี้สำหรับแคลิฟอร์เนียจะมีคำเฉพาะ คือ พายุความร้อน (heat storm) ซึ่งใช้เมื่อคลื่นความร้อนมีอุณหภูมิสูงถึง 100 องศาฟาเรนไฮต์ (37.8 องศาเซลเซียส) เป็นเวลานานต่อเนื่องกันอย่างน้อย 3 วัน และกินพื้นที่กว้างขวางหลายหมื่นตารางไมล์

ในกรณีของสหราชอาณาจักร Met Office ซึ่งเป็นองค์กรหลักด้านอุตุนิยมวิทยา นิยามเงื่อนไขของคลื่นความร้อนโดยดูว่าอุณหภูมิสูงสุดในช่วงกลางวัน และอุณหภูมิต่ำสุดในช่วงกลางคืน มีค่าสูงกว่าค่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้หรือไม่ในพื้นที่หนึ่งๆ และระยะเวลาที่อุณหภูมิดังกล่าวมีค่าสูงกว่าเกณฑ์อาจแบ่งเป็น 4 ระดับ อย่างนี้นะครับ

ระดับที่ 1: เงื่อนไขปกติสำหรับฤดูร้อน

ระดับที่ 2: มีความเสี่ยง 60% หรือมากกว่าที่อุณหภูมิจะเกินกว่าค่าเกณฑ์ที่กำหนดเป็นเวลานาน 2 วัน และ 1 คืนระหว่างสองวันนั้น

ระดับที่ 3: อุณหภูมิมีค่าสูงว่าเกณฑ์ที่กำหนดในวันและคืนก่อนหน้า และมีโอกาส 90% หรือสูงกว่าที่อุณหภูมิจะยังสูงเหนือเกณฑ์ในวันถัดไป

ระดับที่ 4: หากเงื่อนไขรุนแรงกว่า 3 ระดับแรกที่กล่าวมาแล้ว

ทั้งนี้จะมีการเตรียมพร้อมรับมือสำหรับการให้บริการทางด้านสาธารณสุขและด้านสังคมสำหรับแต่ละระดับ


= = = = = = = = = = =

สาเหตุของคลื่นความร้อน

= = = = = = = = = = =

หากพูดแบบกว้างๆ คลื่นความร้อนที่เกิดขึ้นในระยะหลังๆ และปัจจุบันมีสาเหตุลึกๆ มาจากภาวะโลกร้อน (global warming) แต่การพูดเช่นนี้ทำให้ไม่เห็นกลไกที่ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น

ในกรณีทั่วไป คลื่นความร้อนในพื้นที่หนึ่งๆ มีสาเหตุได้อย่างน้อย 2 อย่าง อย่างนี้นะครับ

สาเหตุที่ 1: ความกดอากาศสูงในระดับที่สูงเหนือพื้นผิวขึ้นไปกดทับอากาศที่อยู่ต่ำกว่าให้ร้อนขึ้น

ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า การอัดแบบแอเดียแบติก (adiabatic compression) กล่าวคือไม่มีความร้อนไหลเข้าหรือออกจากบริเวณที่กำลังพิจารณา ผลก็คือเกิดสภาพอุณหภูมิผกผันที่ระดับสูง (a high level inversion) ซึ่งทำหน้าที่คล้ายๆ ฝาภาชนะปิดกั้นไม่ให้อากาศอุ่นและชื้นที่พื้นผิวระบายออกไปโดยกลไกการพาความร้อน ในกลไกนี้ อาจมีกระแสลมกรด (jet stream) มีส่วนร่วมด้วยโดยช่วยกันไม่ให้ความร้อนถูกระบายออกไปด้านข้าง

อาจเปรียบเทียบง่ายๆ ว่าคล้ายๆ พื้นที่ดังกล่าวถูก "ผ้าห่มขนาดยักษ์" คลุมอยู่ (คุณผู้อ่านอาจลองนอนคลุมโปงนานๆ ในห้องที่ไม่ได้เปิดพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ แต่กรณีนอนคลุมโปงนี้ความร้อนมาจากร่างกายของคุณเอง)

หากสนใจประเด็นนี้ ขอแนะนำบทความอธิบายเรื่องคลื่นความร้อนที่ญี่ปุ่นเมื่อปี คศ 2018 อ่านเพิ่มเติม

และเรื่อง Omega Block คือต้นเหตุ 'คลื่นความร้อน' ที่ยุโรป อ่านเพิ่มเติม


สาเหตุที่ 2: อากาศร้อนจากพื้นที่หนึ่งไหลไปยังพื้นที่ที่เรากำลังพิจารณา

ในกรณีนี้เช่น ลมพัดอากาศร้อนจากทะเลทรายซาฮาราในทวีปแอฟริกาตอนเหนือเข้าสู่ยุโรป เป็นต้น


= = = = = = = = = = = = = = = = =

ผลกระทบของคลื่นความร้อน

= = = = = = = = = = = = = = = = =

ผลกระทบของคลื่นความร้อนเข้าใจได้ไม่ยาก เนื่องจากอากาศร้อนจัดเป็นเวลานานๆ ย่อมไม่ดีต่อสุขภาพของคนเราอย่างแน่นอน สำหรับคนอาจเป็นตะคริวชักเหตุร้อน (heat cramp) การหมดแรงเหตุร้อน (heat exhaustion) และโรคลมเหตุร้อน (heat stroke) ส่วนสัตว์ก็ย่อมได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน

คลื่นความร้อนยังอาจทำให้เกิดไฟป่าได้อีกด้วย อย่างในปี ค.ศ. 2022 นี้ สเปนถูกไฟป่าเผาทำลายไปอย่างน้อย 9,900 เอเคอร์ (ราว 25,000 ไร่) และโปรตุเกสถูกไฟป่าทำลายอย่างน้อย 7,400 เอเคอร์ (ราว 18,000 ไร่) [หมายเหตุ: 1 เอเคอร์ มีค่าประมาณ 2.53 ไร่]

ไฟป่าที่เกิดขึ้นนอกจากทำลายพืชและยังทำร้ายสัตว์ป่า รวมทั้งยังก่อให้เกิดฝุ่นควันที่ทำให้อากาศเป็นพิษอีกด้วย

จากการศึกษาพบว่า ภาวะโลกร้อนจะทำให้เกิดคลื่นความร้อนถี่ขึ้น แต่ละครั้งอาจยาวนานขึ้น และอาจรุนแรงมากขึ้น จึงเป็นเรื่องที่คนเราต้องตระหนักและร่วมมือกันลดเงื่อนไขที่จะทำให้โลกร้อนเร็วขึ้นกว่าที่เป็นอยู่


https://www.matichon.co.th/mic/news_3483862

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 19:15


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger