เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 08-02-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,074
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2564

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกได้เคลื่อนผ่านประเทศเมียนมาเข้าปกคลุมบริเวณภาคเหนือตอนบน และประเทศลาวลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเนือตอนบนมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ยังคงมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ขอให้ประชาชนในบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนองที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมถึงระวังอันตรายจากฟ้าผ่า เกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 8 - 9 กุมภาพันธ์ 2564 บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฝนฟ้าคะนองและมีลมกระโชกแรง โดยจะมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคกลาง และภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

เมฆบางส่วน กับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 8 ? 9 ก.พ. 64 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคกลางตอนบน ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อน ลักษณะเช่นนี้จะทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 10-13 ก.พ. 64 ประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศเย็นถึงหนาว โดยอุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียสในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อนลง ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังอ่อน


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 8 ? 9 ก.พ. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนองที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง รวมถึงระวังอันตรายจากฟ้าผ่า สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 10 ? 11 ก.พ. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลงไว้ด้วย



*********************************************************************************************************************************************************



ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564)" ฉบับที่ 9 ลงวันที่ 08 กุมภาพันธ์ 2564

ในช่วงวันที่ 8- 9 กุมภาพันธ์ 2564 บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ในบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนองที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมถึงระวังอันตรายจากฟ้าผ่า

สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส

ทั้งนี้เนื่องจากจะมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ในขณะที่มีลมใต้ และลมตะวันออกเฉียงใต้ พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้


วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2564

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเพชร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดชัยภูมิ เลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู และอุดรธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี และพระนครศรีอยุธยา



วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564

ภาคเหนือ: จังหวัดแพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 08-02-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,074
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


ระทึก!ธารน้ำแข็งถล่มชนเขื่อนแตกในอินเดีย ไหลบ่ากวาดทุกอย่างที่ขวางหน้า



มีประชาชนชาว 125 คนสูญหาย ทางเหนือของอินเดีย หลังธารน้ำแข็งหิมาลัยแตกและซัดถล่มเขื่อนไฟฟ้าพลังงานน้ำขนาดเล็กแห่งหนึ่งจนพังเมื่อวันอาทิตย์(7ก.พ.) ก่อกระแสน้ำเชี่ยวกรากขนาดมหึมาไหลตามทางน้ำ ส่งผลให้ประชาชนตามหมู่บ้านต่างๆที่อยู่ปลายน้ำต้องอพยพหนีตาย

ผู้เห็นเหตุการณ์รายหนึ่งเปิดเผยผว่ากระแสคลื่นน้ำ หินและดิน ไหลบ่าซัดถล่มเชื่อนไฟฟ้าพลังงานน้ำ หลังจากธารน้ำแข็งหิมาลัยเกิดแตกออกและไหลทะลักลงไปตามแถบหุบเขาริชิกังกา ในแถบเทือกเขาของรัฐอุตตราขัณฑ์

"มันมาเร็วมาก ไม่มีเวลาแจ้งเตือนทุกคน" ซันเจย์ ซิงห์ รานา ซึ่งพักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านไรนี บริเวณต้นแม่น้ำ ให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์สทางโทรศัพท์ "ผมรู้สึกถึงขั้นว่าเราอาจถูกน้ำซัดไปด้วย"

ตรีเวนดรา ซิงห์ ราวัต มุขมนตรีรัฐอุตตราขัณฑ์ เผยว่ามีประชาชน 125 คนสูญหาย แต่จำนวนอาจเพิ่มกว่านี้ และจนถึงตอนนี้เก็บกู้ร่างไร้วิญญาณได้แล้ว 7 ศพ

ภัยพิบัติครั้งนี้เกิดขึ้นห่างจากกรุงนิวเดลี ไปทางเหนือราว 500 กิโลเมตร

ก่อนหน้านี้ โอม ประกาส เลขานุการมุขมนตรีรัฐ แสดงความกังวลว่าอาจมีชาวบ้านเสียชีวิตราว 100 ถึง 150 คน โดยในบรรดาผู้สูญเสียนั้น ส่วนใหญ่เป็นคนงานของโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ 13.2 MW ริชิกังกา ซึ่งถูกธารน้ำแข็งที่แตกออกมาซัดถล่มจนพัง

ภาพที่แชร์บนสื่อสังคมออนไลน์โดยชาวบ้านท้องถิ่น พบเห็นกระแสน้ำเชี่ยวกรากซัดถล่มเขื่อนริชิกังกาจนแตก และกวาดทุกสิ่งทุกอย่างที่ขวางทาง และมีแกะอย่างน้อยๆ 180 ตัวถูกซัดหายไปกับกระแสน้ำ

นอกจากนี้แล้ววิดโอที่โพสต์บนสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งทางรอยเตอร์สยังไม่ยืนยันว่าเป็นของจริงหรือไม่ พบเห็นกระแสน้ำกำลังถาโถมผ่านที่ตั้งของเขื่อนขนาดเล็ก ซัดอุปกรณ์ก่อสร้างลอยหายไป

กระทรวงเพื่อมาตุภูมิแห่งรัฐบาลกลางอินเดีย เปิดเผยหลังจากประชุมคณะกรรมการวิกฤตแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วยบรรดาเจ้าหน้าที่ระดัยสูง ว่ามีประชาชน 12 คนติดอยู่ในอุโมงค์แห่งหนึ่ง แต่ได้รับความช่วยเหลือออกมาแล้ว และยังคงเดินหน้าพยายามช่วยเหลือคนอื่นๆที่ติดในอุโมงค์อีกแห่ง

"อินเดียยืนหยัดอยู่ข้างอุตตราขัณฑ์ และประชาชนทั้งประเทศภาวนาให้ทุกคนที่นั่นปลอดภัย" นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี เขียนบนทวิตเตอร์



NTPC รัฐวิสาหกิจสาธารณูปโภค บอกว่าเหตุธารน้ำแข็งถล่มก่อความเสียหายบางส่วนแก่โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ Tapovan Vishnugad ของพวกเขา ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างและด้านล่างของแม่น้ำ ทั้งนี้ NTPC ไม่ได้ให้รายละเอียดใดๆ โดยเพียงแต่บอกว่าจะคอยจับตาสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป

เฮลิคอปเตอร์ของกองทัพหลายลำบินวนอยู่เหนือพื้นที่เกิดเหตุ และทหารถูกส่งเข้าประจำการเพื่อช่วยเหลือภารกิจบรรเทาภัยและกู้ภัย ในขณะที่รัฐอุตตรประเทศ ซึ่งอยู่ติดกันและเป็นรัฐที่มีประชากรมากที่สุดของอินเดีย ประกาศเตือนภัยขั้นสูงตามพื้นที่ต่างๆริมแม่น้ำ

ไม่เป็นที่ชัดเจนว่าอะไรเป็นตัวจุดชนวนธารน้ำแข็งถล่ม เนื่องจากมันเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ไม่ใช่ฤดูอุทกภัย หลังจากก่อนหน้านี้เมื่อเดือนมิถุนายน 2013 ฝนตกหนักเป็นสถิติในรัฐอุตตราขัณฑ์ เคยก่ออุทกภัยเลวร้าย คร่าชีวิตชาวบ้านเกือบ 6,000 คน

หายนะครั้งนั้นได้รับสมญานามว่า "สึนามิหิมาลัย" เพราะว่ามันปลดปล่อยกระแสน้ำเชี่ยวกรากในพื้นที่ภูเขา ซัดพาเอาโคลนและกินบดขยี้สิ่งต่างๆที่อยู่ตามเส้นทางเบื้องล่าง ฝังบ้านเรือนหลายหลังจมอยู่ใต้โคลน ซัดถนนและสะพานขาด อาคารหลายแห่งลอยไปตามกระแสน้ำ

อุมา ภารตี อดีตรัฐมนตรีทรัพยากรน้ำของอินเดียและแกนนำระดับสูงในพรรคของโมดี วิพากษ์วิจารณ์การก่อสร้างโครงการพลังงานน้ำในพื้นที่ "ตอนที่ฉันเป็นรัฐมนตรี ฉันเคยร้องขอว่าหิมาลัยเป็นพื้นที่อ่อนไหว ดังนั้นโครงการพลังงานต่างๆไม่ควรสร้างบนแม่น้ำคงคมและแม่น้ำสาขาอื่นๆ" เธอเขียนบนทวิตเตอร์


https://mgronline.com/around/detail/9640000012353

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 14:15


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger