เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #11  
เก่า 09-03-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,241
Default

ขอบคุณข่าวจาก SpringNews


ฟิลิปปินส์เจ็บหนัก! มัดรวม 4 วิกฤตสิ่งแวดล้อม ที่ซัดน่วมแบบไม่ให้พักยก



เครดิตภาพ: REUTERS


SHORT CUT

- ฟิลิปปินส์เผชิญปัญหาสิ่งแวดล้อม 4 ด้าน : อากาศย่ำแย่, ขยะพลาสติก, ทะเลปนเปื้อน, ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น

- ฟิลิปปินส์สร้างขยะพลาสติกลงทะเลกว่า 3 แสนเมตริกตันต่อปี ภายในปี 2593 อาจเจอพลาสติกในทะเลมากกว่าปลา

- ภายในปี 2100 กรุงมะนิลาอาจกลายเป็นอาณาจักรแอตแลนติส หรือนครใต้บาดาล เพราะน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น


ฟิลิปปินส์คือประเทศที่สร้างขยะลงทะเลราว 3.6 แสนล้านตัน มากที่สุดในภูมิภาคอาเซียน นี่คือ 1 ปัญหาที่ดินแดนพันเกาะยังแก้ไม่ตก แต่ยังมีอีก 3 วิกฤตที่ฟิลิปปินส์ต้องแบกรับ จะมีอะไรบ้างติดตามได้ที่บทความนี้

มูฟออนจาก สุขุมวิท 11 ล่องฟ้าไปเยือนที่ฟิลิปปินส์กันดีกว่า ต้องบอกว่า "ไทย" กับ"ฟิลิปปินส์" นอกจากจะมีการแข่งขันกันบนเวทีการประกวดนางงามที่เด็ด เผ็ด มันส์ อยู่ทุกปีแล้ว ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ต้องเผชิญก็คล้ายคลึงสมกับเป็นบ้านพี่เมืองน้องกันจริง ๆ

Spring News ถือโอกาสนี้สรุป 4 วิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมของฟิลิปปินส์มาให้ 4 ข้อ แล้วชาวไทย ซึ่งเป็นพันธมิตรที่รักกัน? จะได้เห็นว่าดินแดนพันเกาะก็ถูกธรรมชาติซัดจนน่วมแบบไม่ให้ได้ตั้งการ์ดด้วยซ้ำไป


สภาพอากาศย่ำแย่

ปัญหาอันดับแรกของฟิลิปปินส์คือ ?มลพิษทางอากาศ? ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) เผยว่า คุณภาพอากาศเฉลี่ยรายปีอยู่ที่ 24 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยมาตรฐานถึง 4 เท่า

ซึ่งต้นเหตุอากาศแย่ของฟิลิปปินส์มาจาก 3 สาเหตุหลักได้แก่ การเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล การปล่อยมลพิษจากยานพาหนะ และการจุดปะทะในวันเทศกาลซึ่งก่อให้เกิดฝุ่น PM 2.5 รวมถึงบรรจุสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน


ขยะพลาสติกอ่วมประเทศ

รู้หรือไม่ว่า แต่ละปีฟิลิปปินส์สร้างขยะพลาสติกราว 2.7 ล้านตัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว (Single-used Plastic) นอกจากนี้ กระบวนรีไซเคิลของแดนพันเกาะยังไร้ประสิทธิภาพ

ถึงขั้นเกิดการประมาณการว่ารัฐบาลฟิลิปปินส์ต้องจ่ายเงินมากถึง 890 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อจัดการขยะพลาสติกเหล่านี้ ในสถานการณ์เลวร้าย ยังมีเรื่องราวดี ๆ เมื่อปี 2022 รัฐบาลคลอดกฎหมาย Extended Producer Responsibility Act (EPRA) ออกมาเพื่อจัดการกับปัญหาขยะโดยตรง

ซึ่งหลักการก็ไม่มีอะไรซับซ้อนคือ ภาคเอกชนต้องจัดทำแผนในการนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ รวมไปถึงการรีไซเคิลพลาสติก กฎหมายเรือธงจัดการขยะตัวนี้คาดว่าจะลดปริมาณขยะพลาสติกของฟิลิปปินส์ลง 80%


ทะเลเฟื่องไปด้วยขยะพลาสติก

เป็นผลสืบเนื่องมาจากหัวข้อที่แล้ว งานวิจัยของ Science Advances ระบุว่า ฟิลิปปินส์คือประเทศที่ปล่อยขยะลงสู่ทะเลราว 3.6 แสนล้านตันมากที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ถึงขั้น เทเรซา ลาซาโร ปลัดกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ กล่าวว่า ภายในปี 2593 ฟิลิปปินส์จะมีขยะในทะเลมากกว่าปลา

แต่กระนั้นรัฐบาลก็ออกมาตรการแก้ไขปัญหาขยะรั่วไหลลงสู่ทะเลด้วยการจับมือกับ WWF เพื่อควบคุมการรั่วไหลของขยะพลาสติกให้ได้ 50% โดยเริ่มที่บริเวณท่าเรือ Cagayan de Oro ท่าเรือ Batangas และท่าเรือมะนิลาเหนือ

นอกจากนี้ รัฐบาลได้ออกยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยเรื่องการจัดการขยะทะเล โดยมีจุดประสงค์คือน่านน้ำของฟิลิปปินส์จะต้องมีขยะเป็นศูนย์ภายในปี 2583 หรืออีกราว ๆ 16 ปี การแก้ไขอีกทางหนึ่งคือ เดินหน้าให้ความรู้แก่ภาคประชาชน ธุรกิจ ถึงวิธีการกำจัดขยะที่ถูกต้องและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งก็คงต้องมารอดูกันว่าไทยกับฟิลิปปินส์ใครจะจัดการขยะได้ก่อนกัน


ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น

ปี 2024 มีการคาดการณ์ว่าระดับน้ำทะเลในฟิลิปปินส์จะเพิ่มสูงขึ้นอีก ซึ่งจะส่งผลกระทบกับเมืองชายฝั่งอย่างมะนิลา ถึงขั้นมีการระบุว่า ภายในปี 2100 กรุงมะนิลาจะกลายเป็นนครแอตแลนติสเลยทีเดียว

ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงวางแผนที่จะลงทุนกับโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อมาจัดการกับปัญหาน้ำท่วมในระยะยาว อาทิ ประตูระบายน้ำ สถานีสูบน้ำ ท่อระบายน้ำ โดยจะเน้นที่เมืองริมชายฝั่งเป็นกรณีพิเศษ

ที่มา: Earth.ORG


https://www.springnews.co.th/keep-th...ronment/848420

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #12  
เก่า 09-03-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,241
Default

ขอบคุณข่าวจาก SpringNews


พายุฤดูร้อน คืออะไร? กับสาเหตุที่ทำให้ประเทศไทยเจอเกือบทุกปี


SHORT CUT

- ประเทศไทยเจอพายุฤดูร้อน สาเหตุจากความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมเกิดการปะทะกันระหว่างอากาศที่ร้อนชื้นและเย็น ในช่วงเดือน มี.ค. เม.ย. พ.ค. ของทุกปี

- ภาคเหนือ ภาคอีสาน ของประเทศไทย เป็นพื้นที่ที่เสี่ยงเกิดพายุฤดูร้อนมากที่สุด

- พายุฤดูร้อนถล่มไทย ช่วงวันที่ 8-10 มี.ค. จังหวัด ภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง




พายุฤดูร้อน คืออะไร? และสาเหตุที่ทำให้ประเทศไทยเจอกันเกือบทุกปี ล่าสุด กรมอุตุนิยมวิทยา เตือน จังหวัดภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง รับมือพายุฝนฟ้าคะนองลมกระโชกแรง ช่วง 8-10 มี.ค. นี้

พายุฤดูร้อนเชื่อว่าหลายคนคุ้นกับคำนี้ แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ความหมายของมันว่าเหตุใดจึงเรียกพายุฤดูร้อน วันนี้ SPRiNG จะพาไปรู้จักพายุฤดูร้อนคืออะไร

พายุฤดูร้อน (Thunderstorms) เป็นพายุฝนฟ้าคะนองที่เกิดในช่วงการเปลี่ยนฤดูจากฤดูร้อนไปสู่ฤดูฝน ช่วงประมาณเดือนเมษายน พายุฤดูร้อนนี้ เป็นพายุประจำถิ่น ที่มักเกิดขึ้นในบริเวณประเทศไทยตอนบน เมื่ออากาศในช่วงเปลี่ยนฤดู มีความชื้นสูงและร้อน ในขณะที่ความกดอากาศสูงก็ยังคงแผ่ลงมาเป็นครั้งคราว นำอากาศที่แห้งและเย็นกว่ามาผสมผสาน ทำให้เกิดมวลอากาศ ที่อเสถียรภาพ มีการแลกเปลี่ยนมวลกันในแนวดิ่ง เกิดการยกตัวของมวลอากาศอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดเมฆฝนฟ้าคะนองขนาดใหญ่กว่าปกติ และมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้น ในบางครั้งทำให้เกิดลูกเห็บตก ทำความเสียหายให้แก่บ้านเรือนและ พืชผลทางการเกษตรเสียหายได้


สาเหตุการเกิดพายุฤดูร้อน

ประเทศไทย แผ่นดินได้รับรังสีดวงอาทิตย์มากกว่าในช่วงอื่นๆ ของปี ทำให้อากาศที่อยู่เหนือพื้นผิวโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น พายุฤดูร้อนเกิดจากการที่ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทย จึงทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างอากาศที่ร้อนชื้นของประเทศไทยและอากาศที่แห้งและเย็นจากประเทศจีน อากาศเย็นจะผลักให้อากาศร้อนชื้นลอยตัวขึ้นสู่ข้างบนอย่างรวดเร็ว จนเมื่อไอความชื้นขึ้นไปถึงชั้นบรรยากาศก็จะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ จนก่อตัวเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ มีลักษณะเป็นก้อนสีเทาเข้มทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ฟ้าแลบและฟ้าผ่าตามมา บางโอกาสจะมีลมพัดแรงเป็นเวลา 10 - 15 นาที หรืออาจนานกว่านั้นก็ได้ และมีลมกระโชกเป็นครั้งคราว โดยอาจมีกำลังแรงถึง 40 นอต หรือ 75 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ายุฤดูร้อนเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ ตั้งแต่ประมาณ 30 - 40 นาที ถึง 2-3 ชั่วโมง.


สัญญาณเตือนก่อนเกิดพายุฤดูร้อน

- อากาศร้อนอบอ้าว ติดต่อกันหลายวัน
- ลมสงบ แม้ใบไม้ก็ไม่สั่นไหว
- ความชื้นในอากาศสูง จนรู้สึกเหนียวตามร่างกาย
- ท้องฟ้ามัว ทัศนวิสัยการมองเห็นระยะไกลไม่ชัดเจน
- เมฆมากขึ้น ท้องฟ้ามืดครึ้ม อากาศร้อนอบอ้าว


พื้นที่เสี่ยงเกิดพายุฤดูร้อน

พื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยซึ่งอยู่ใกล้ประเทศจีน เสี่ยงต่อการเกิดพายุฤดูร้อนเนื่องจากการปะทะกันของมวลอากาศร้อนและมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาปกคลุม หรือแม่แต่ระแสลมซึ่งมีมวลอากาศที่มีคุณสมบัติต่างกัน อย่าง กระแสลมใต้ หรือตะวันออกเฉียงใต้ เป็นอากาศร้อนและชื้นพัดผ่านทะเลมา และกระแสลมเหนือเป็นอากาศแห้งและเย็นพัดผ่านพื้นทวีปมา ก็อาจทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองรุนแรงได้ ทั้งนี้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย มีโอกาสเกิดพายุฤดูร้อนได้ แต่ก็น้อยกว่าภาคเหนือ-อีสาน


ขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเตือนภัยล่าสุด ฉบับที่ 4 เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน มีผลกระทบบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 8-10 มีนาคม 2567

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออกจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรงสำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย

โดยจะมีผลกระทบดังนี้


วันที่ 9 มีนาคม 2567

- ภาคเหนือ: จังหวัดอุตรดิตถ์ พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์
- ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และจันทบุรี
- ภาคกลาง: จังหวัดลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

วันที่ 10 มีนาคม 2567

- ภาคเหนือ: จังหวัดพิษณุโลก และเพชรบูรณ์
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย ชัยภูมิ หนองบัวลำภู ขอนแก่น นครราชสีมา และบุรีรัมย์
- ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา และชลบุรี
- ภาคกลาง: จังหวัดลพบุรี และสระบุรี


ข้อมูลจาก : มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทย , กรมอุตุนิยมวิทยา


https://www.springnews.co.th/keep-the-world/848457

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 21:10


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger