![]() |
#1
|
||||
|
||||
![]()
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนในตอนกลางวันและมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 27-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. คาดหมาย ในวันที่ 21 เม.ย. ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 22-26 เม.ย. ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มมากขึ้นกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 22-24 เม.ย. ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระมัดระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย .
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
![]()
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
เขตบางขุนเทียนจัดวันที่ 4 ถึง 8 พ.ค. ล่องเรือกินปู-ดูทะเลบางขุนเทียน ![]() นายประเสริฐ ฉวีอินทร์ ผอ.เขตบางขุนเทียน แจ้งว่า เขตกำหนดจัดกิจกรรม ล่องเรือกินปู ดูวิถีชาวทะเลบางขุนเทียน ระหว่างวันที่4-8 พ.ค. เวลา 09.00-18.00 น. ที่โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์ ภายในงานประกอบด้วยกิจกรรม ล่องเรือชมหลักเขตทะเลบางขุนเทียน ปั่นจักรยานเที่ยวชมอุโมงค์ต้นไม้ สะพานทางเดินศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน ทะเลบางขุนเทียน ร่วมปลูกป่าตามโครงการปลูกป่าชายเลน ชมการประกวดผลผลิตทางการเกษตร การประมง ประกวดปลากะพงใหญ่ ประกวดหอยแครงใหญ่ ประกวดกุ้งใหญ่ ชมการแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน อาทิ แข่งขันมัดปู แข่งขันวิ่งปู แข่งขันกินหอย การออกร้านขายอาหารทะเลสด ผู้ที่สนใจเข้าร่วมการประกวดแข่งขันกิจกรรมต่างๆ สามารถสมัครได้ตั้งแต่บัดนี้จน ถึงวันที่มีการจัดประกวด สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม โทร. 0-2416- 5406. http://www.thairath.co.th/content/918805
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
![]()
ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์
รื้อ'กม.อีไอเอ'ปกป้องคนไทย จากผลกระทบสิ่งแวดล้อม ........................... คอลัมน์พุ่มไม้ใบบัง โดย นริศ ขำนุรักษ์ EIA และ EHIA เป็นเครื่องมือของรัฐในการคุ้มครองประชาชนที่เกิดผลกระทบทั้งทางด้านสุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต อันเกิดจากปัญหาสิ่งแวดล้อมมีใช้กันทั่วโลก ที่ไทยต้องทบทวนใช้!! ![]() เรื่องราวเกี่ยวกับ อีไอเอ (EIA) หรือการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และ อีเอชไอเอ (EHIA) หรือกระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ทั้ง 2 คำนี้จะผุดขึ้นมาเสมอเมื่อมีการจัดทำโครงการใหญ่ๆ ขึ้นในประเทศ จึงอยากให้มาทำความเข้าใจกับ 2 คำนี้ไปด้วยกันครับ ทั้ง EIA และ EHIA ถือเป็นเครื่องมือของรัฐในการคุ้มครองประชาชนที่เกิดผลกระทบทั้งทางด้านสุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต และอีกหลากหลายด้าน อันเกิดจากปัญหาสิ่งแวดล้อมมีใช้กันทั่วโลก ซึ่งแต่ละประเทศออกแบบมาให้เหมือนหรือต่างกันขึ้นอยู่กับพื้นฐานและปัญหาของแต่ละประเทศ เข้มบ้างจางบ้างแตกต่างกันออกไป ที่สำคัญจะขึ้นอยู่กับท่าทีและความคิดความเห็นของผู้นำ หรือผู้บริหารของแต่ละประเทศนั้นด้วย ยกตัวอย่างในประเทศไทย อดีตนายกทักษิณ ชินวัตร เคยมองว่า EIA เป็นปัญหาและขัดขวางการพัฒนาประเทศ จึงใช้อำนาจสั่งทำโครงการแหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรีโดยไม่ต้องทำ EIA หรือ อดีตนายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช ได้อภิปรายในสภาว่า EIA เป็นอุปสรรคที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ และอีกหนึ่งตัวอย่าง คือ ครม.สมัยอดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ฯ ได้อนุมัติให้สร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ก่อน EIA อนุมัติ เหล่านี้เป็นต้น ท่าทีแบบนี้ถือว่าได้สร้างความเสียหายให้แก่ประเทศไว้ไม่ใช่น้อย เพราะเป็นการปฏิเสธ EIA และ EHIA ![]() แต่อย่างไรก็ตาม EIA ก็ยังคงอยู่มาได้อย่างยาวนาน และทำหน้าที่คุ้มครองปกป้องประชาชนและประเทศชาติเรื่อยมา เห็นได้จากกฏหมายรัฐธรรมนูญ ปี 2540 และปี 2550 บัญญัติไว้ใน มาตรา 67 เกี่ยวกับการให้สิทธิประชาชนในการดูแลรักษา การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคุ้มครองให้ประชาชนดำรงชีพอยู่ดีโดยไม่มีอันตรายต่อสุขภาพอนามัย หรือคุณภาพชีวิต โดยกำหนดให้การดำเนินโครงการ หรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางคุณภาพสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพจะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก่อน รวมทั้งให้มีองค์การอิสระ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพ ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการดังกล่าว และให้สิทธิชุมชนที่จะฟ้องหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคล เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัตินี้ ถือว่าเป็นบทบัญญัติในการดูแลและคุ้มครองประชาชนที่ก้าวหน้ากว่าทุกฉบับ แต่รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวกลับถูกฉีกลง พร้อมการควบคุมอำนาจของ คสช. ความในบทบัญญัติดังกล่าว นอกจากไม่ไปปรากฏในรัฐธรรมนูญชั่วคราว หรือคำสั่ง คสช.ใดๆ แล้ว กลับมีคำสั่ง คสช.ที่ 9/2559 แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติว่า... ![]() ในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อประโยชน์ในการดำเนินโครงการหรือกิจการด้านการคมนาคมขนส่ง การชลประทาน การป้องกันสาธารณภัย โรงพยาบาล หรือที่อยู่อาศัย ในระหว่างที่รอผลการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการหรือกิจการนั้น อาจเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้พิจารณาอนุมัติดำเนินการเพื่อให้ได้มา ซึ่งเอกชนผู้รับดำเนินการตามโครงการหรือกิจการไปพลางก่อนได้ แต่จะลงนามผูกพันในสัญญาหรือให้สิทธิกับเอกชนผู้รับดำเนินการตามโครงการหรือกิจการไม่ได้ การออกคำสั่งดังกล่าว ไม่ใช่เป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากความล้าช้าของ EIA เพราะหากเกิดจากสาเหตุของ EIA ก็ควรพัฒนาให้มีความรวดเร็ว และมีมาตฐานที่ดีขึ้นกว่าเดิม สามารถทำได้และทำกันมาแล้วในหลายๆ ประเทศ คำสั่งนี้ถูกมองว่าออกมาเพื่อแก้ปัญหาให้เอกชนผู้รับเหมาเท่านั้น จึงสร้างความหวั่นวิตกให้กับกลุ่มนักวิชาการ หรือนักอนุรักษ์ที่กังวลใจว่าโครงการต่างๆ ที่สร้างขึ้นนั้นจะกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชนจะได้รับความเดือดร้อนแล้ว ยังมีคนสงสัยว่าจะไปเอื้อใครอีกหรือเปล่าโดยเฉพาะการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ ด้านการคมนาคม ด้านชลประทาน และโรงไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งมักจะเป็นปัญหาการทำลายสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของชุมชนท้องถิ่นตลอดมา คำสั่งดังกล่าวถึงเวลาแล้วที่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ที่เป็นเจ้าภาพหลัก ต้องหยิบยกขึ้นมาทบทวนได้แล้ว เพราะเงียบมานานกว่า 1 ปี หากปล่อยเช่นนี้ต่อไปจะมีคนพูดได้ว่า... รัฐบาลนี้ทำในสิ่งดีๆ ที่แตกต่างจากรัฐบาลของทักษิณ สมัคร ยิ่งลักษณ์ ได้มากมายหลายเรื่อง แต่ในเรื่อง EIA ที่ใช้ดูแลประชาชน รัฐบาลชุดนี้กลับไม่มีอะไรที่แตกต่างแต่อย่างใด หากไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลง อาจจะทำให้รัฐบาลได้รับความเสียหายได้ เพราะเป็นส่วนหนึ่งของ ภาพลักษณ์ ที่ทั่วโลกเฝ้าจับตามองอยู่ในขณะนี้ https://www.dailynews.co.th/article/568780
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
![]()
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
นักชีววิทยาติง EHIA โรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ข้อมูลผิดเพียบ ภาค ปชช.ใต้เตรียมเปิดเวทีจี้ปฏิรูปกฎหมายสิ่งแวดล้อมทั้งระบบ ![]() แบบจำลองโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา อ.เทพา จ.สงขลา ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เผยอ่าน EHIA โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา อ.เทพา จ.สงขลา พบข้อมูลด้านชีววิทยาไม่ตรงต่อความเป็นจริงหลายประเด็น ติง กฟผ.อย่ามาบอกว่าตัดสินใจบนหลักวิชาการที่ถูกต้อง ขณะที่นักวิชาการ และภาคประชาชนใต้เตรียมเปิดเวทีชำแหละกระบวนการจัดทำ EIA-EHIA เพื่อยื่นข้อเสนอกระบวนการปฏิรูปกฎหมายการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพทั้งระบบ วันนี้ (20 เม.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายศักดิ์อนันต์ ปลาทอง อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก Sakanan Plathong ระบุว่า โที่ผ่านมาผมไม่เคยสนใจเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินที่จะมาตั้งที่ อ.เทพา เพราะไม่เคยไปศึกษาในพื้นที่นี้ แต่เจ้าหน้าที่ของ กฟผ. เข้ามาชวน ม.อ. ทำโครงการวิจัยระบบนิเวศชายฝั่งทะเล บริเวณที่จะสร้างท่าเรือ และโรงไฟฟ้าถ่านหิน ผมเลยเพิ่งไปนั่งอ่านรายงาน EHIA ตรงส่วนนิเวศวิทยาทางทะเล เพื่อดูว่าบริษัทที่ปรึกษาเขารายงานว่าอย่างไร เห็นจุดอ่อนมากมายของการศึกษาระบบนิเวศชายฝั่งทะเล ทั้งสัตว์หน้าดิน (Benthos) แพลงก์ตอนสัตว์ และสัตว์น้ำวัยอ่อน 1.สัตว์หน้าดินน้อยกว่าความเป็นจริง 10-20 เท่า 2.แพลงก์ตอนสัตว์ พบสัตว์กลุ่ม crustacean แค่กลุ่ม Copepod ทั้งๆ ที่ปกติจะมีความหลากหลายมากกว่านี้ ![]() นายศักดิ์อนันต์ ปลาทอง อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ระบุว่า อ่านตารางแพลงก์ตอนสัตว์ ตรง Phylum Arthropoda Class crustacea สิครับ...เป็นไปได้อย่างไร?? มีแค่นี้ นอกจากนี้ ในรายงานไม่ปรากฏ Mysid หรือกุ้งเคย ซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจ ซึ่งควรจะสำรวจพบได้เป็นปกติในบริเวณนี้ 3.หัวข้อการศึกษาระบุให้ศึกษาสัตว์น้ำวัยอ่อน แต่การศึกษารายงานเฉพาะลูกปลา ไม่ปรากฏข้อมูลสัตว์น้ำวัยอ่อนประเภทอื่นๆ เช่น ลูกกุ้ง ลูกปลา ลูกหมึก ซึ่งพบได้เป็นปกติทั่วไป ดั้งนั้น ที่บอกว่าจะใช้การตัดสินใจบนฐานวิชาการนั้นมันจะถูกต้องได้อย่างไร ในเมื่อข้อมูลวิทยาศาสตร์ มันผิดมาตั้งแต่ต้น จะสร้างหรือไม่สร้างคงเป็นเรื่องของมวลชน และนโยบายของรัฐไปเคลียร์กันเอาเอง แต่อย่ามาบอกว่า โตัดสินใจบนหลักวิชาการที่ถูกต้องโ รายละเอียดอยู่ใน Comment ตามอ่านกันนะครับ ทั้งนี้ ใน Comment มีการระบุว่าสามารถอ่านรายงาน EHIA โรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ฉบับเต็มได้จากลิงก์ https://www.egat.co.th/index.php?opt...351&Itemid=218 นอกจากนี้ นายศักดิ์อนันต์ ปลาทอง อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ยังได้ตั้งข้อสังเกตไว้ในช่องแสดงความคิดเห็นว่า ประท้วงกันมาตั้งนาน ไม่มีใครเห็นความผิดปกติ และยกประเด็นนี้ขึ้นมาพูดกันเลย ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจ เห็นรายงาน 1,643 หน้าแล้ว ก็ไม่มีใครอยากเปิดอ่านแล้ว รายงานแบบนี้เป็นแค่กระบวนการทางพิธีกรรม..ทำเพื่อให้ดูขลัง ให้เป็นผักชีโรยไว้ เพื่อบอกว่าศึกษาแล้ว.. ![]() จำนวนชนิดและความชุกชุมของสัตว์หน้าดินก็น้อย ผมสรุปได้ว่า การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ดูเหมือนจะเป็นเพียงแค่การทำไปอย่างนั้น เพราะไม่มีใครสนใจว่าถูกผิดอย่างไร จะเอามาใช้ในการตัดสินใจอย่างไร เพราะกระบวนการตัดสินใจไม่ได้อยู่ที่ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม แต่ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐ และความต้องการหรือไม่ต้องการของประชาชน โผมไม่ได้อ่านส่วนอื่นๆ ตัวโรงไฟฟ้าจะปล่อยอะไรบ้าง ดูดน้ำไปเท่าไร ผมไม่ได้ตามอ่านครับ ถ้ามีการดูดน้ำไปใช้ การดูดน้ำทะเลไปใช้จะส่งผลเท่าไร ก็ขึ้นกับตัวเลข และบัญชีสัตว์ทะเล ที่เขานำไปใช้คำนวณครับ แต่ถ้าตัวเลขความหลากหลายไม่ถูกต้อง ก็แสดงว่าการประเมินผลกระทบ ทางสิ่งแวดล้อมต่ำกว่าความเป็นจริงครับโ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เกี่ยวกับประเด็นความไม่โปร่งใสในการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมในโครงการต่างๆ ทางภาคประชาชนเตรียมจัดกิจกรรมสัมมนาข้อเสนอกระบวนการปฏิรูปกฎหมายการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EIA) (EHIA) จากเครือข่ายประชาชนและวิชาการพื้นที่ภาคใต้ โดยระบุหลักการ และเหตุผลว่า ตลอดหลายปีที่ผ่านมายิ่งทำให้มีบทสรุปร่วมกันว่ากระบวนการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรือที่เรียกว่าการทำ EIA และ EHIA ของประเทศมีปัญหาเรื่องมาตรฐาน และการยอมรับของประชาชนในสังคม รวมถึงกลุ่มนักสิ่งแวดล้อมและสุขภาพทั้งหลายว่า กระบวนการดังกล่าวเป็นเพียงตราประทับเพื่อรับรองให้โครงการต่างๆ เดินหน้าก่อสร้าง หรือจัดให้มีโครงการต่างๆ อย่างไม่สนใจข้อเท็จจริงที่ควรจะเป็น ![]() ภาพนี้ ความประหลาด คือ..บอกว่าศึกษาสัตว์น้ำวัยอ่อน แต่ผลการศึกษา มีแต่ลูกปลาวัยอ่อน ลูกกุ้ง ลูกปู ลูกกั้ง ลูกหอย และสารพัดสัตว์น้ำอื่นๆ ทำไมไม่ศึกษา และรวมถึงกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของชุมชน หรือประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย หรือผู้ที่จะได้รับผลกระทบจากโครงการต่างๆ เหล่านั้น ด้วยความพิกลพิการ และการออกแบบในระเบียบกฎหมายที่เป็นอยู่ ถือเป็นข้อจำกัดอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัด และได้กลายเป็นขั้นตอนที่จะต้องทำเพียงเพราะกฎหมายบังคับให้ทำเท่านั้น ผลปรากฏว่า ความขัดแย้ง ความเห็นต่างที่เกิดขึ้นจากการจะต้องมีโครงการใดๆ เกิดขึ้นในพื้นที่ชุมชนต่างๆ กลับกลายเป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการไม่ยอมรับในเครื่องมือดังกล่าวนี้ และแทนที่เครื่องมือที่เรียกว่ากระบวนการศึกษาผลกระทบด้านต่างๆ จะกลายเป็นช่องทางให้เกิดกระบวนการคิด การออกแบบ และการตัดสินใจที่ยอมรับกันได้ ก็กลับใช้ไม่ได้ตามเจตนารมณ์ จนหลายปีที่ผ่านมานี้เช่นกัน ที่ภาคประชาชน หรือภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพต่างพร้อมใจกันที่จะให้มีการแก้ไข ปรับปรุงให้กระบวนการดังกล่าวให้เป็นที่ยอมรับร่วมกันมากขึ้น และให้เป็นเครื่องมือที่สามารถนำไปสู่ทางออกของสังคมได้จริง และในโอกาสนี้ก็เป็นอีกความพยายามหนึ่งของภาคประชาชน นักวิชาการ และนักสิ่งแวดล้อมในภาคได้จับมือกันเพื่อรวบรวมความคิด ความเห็น และข้อเสนอที่ควรจะให้มีการปรับปรุงให้กระบวนการดังกล่าวนั้นเป็นไปในทางที่ดียิ่งขึ้น โดยกิจกรรมนี้มีเป้าหมายเพื่อให้กระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเป็นไปตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม ปี 2535 ในการสร้างทางเลือกการพัฒนาที่เหมาะสม ซึ่งตลอดระยะเวลา 20 กว่าปีที่ผ่านมา กระบวนการขั้นตอนของการประเมินผลก่อปัญหาตลอดมาและกลายเป็นเป็นเครื่องมือของความขัดแย้งระหว่างประชาชนในพื้นที่กับเจ้าของโครงการทั้งนี้เพราะว่าในโครงสร้างกฎหมายฉบับนี้มีปัญหาทุกกระบวนการ ตั้งแต่ผู้จัดทำ กระบวนการจัดทำ กระบวนการประเมินผล และกระบวนการอนุมัติรายงาน เพื่อให้กฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายที่มีความเที่ยงธรรมเพื่อการพัฒนาอย่างแท้จริงจึงควรแก้ไขโดยด่วน จึงมีการจัดกิจกรรมสัมมนาเพื่อรับฟังความเห็นข้อเสนอการแก้ไขประกาศกระทรวงว่าด้วยกระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และกระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) โดยมีการจัดกิจกรรมสัมมนาเดียวกันนี้ให้ครบทั้งภาคใต้ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ให้เป็นข้อเสนอร่วมของวงสัมมนาทั้งประเทศ โดยข้อเสนอที่ได้จะนำเสนอสู่รัฐบาล โดยเฉพาะรัฐมนตรีว่าการกระรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นกระทรวงที่รับผิดชอบโดยตรงต่อกฎหมายการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ทั้งนี้ ข้อเสนอร่วมที่ได้นั้นประชาชนจะร่วมกันผลักดันให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ที่ได้รับฟังมาร่วมกันต่อไป โดยกระบวนการจะมีการศึกษาข้อมูล และข้อเสนอขององค์กรต่างๆ ที่ได้ศึกษาเรื่องการปฏิรูป อีไอเอ มาแล้วก่อนหน้านี้ และจะมีเวทีการรับฟังข้อเสนอเพื่อการแก้ไขกฎหมายการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โดยมีเป้าหมายในการพูดคุย ถกเถียง รับฟังให้ทั่วทุกภาค ทั้งนี้มีสถาบันวิจัยสังคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นฝ่ายวิชาการเพื่อการประมวลสรุปข้อเสนอ องค์กรร่วมจัด 1.สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่ 2.คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ 3.คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ (กป.อพช.ใต้) 4.เครือข่ายประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากกระบวนการ EIA EHIA เอกสารหลักประกอบการสัมมนา 1.กฎหมายเดิม EIA EHIA 2.ร่างกฎหมาย EIA EHIA ที่ประมวลผลจาก 4 หน่วยสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ กรรมการปฏิรูปกฎหมาย สภาปฏิรูปแห่งชาติสภาขับเคลื่อนประเทศ กำหนดการกิจกรรมสัมมนา ข้อเสนอกระบวนการปฏิรูปกฎหมายการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EIA) (EHIA) จากเครือข่ายประชาชนและวิชาการพื้นที่ภาคใต้ วันที่ 24 เมษายน 2560 ณ พญาบังสาโฮมสเตย์ ต.ควนโพธิ์ อ.เมือง จ.สตูล http://www.manager.co.th/South/ViewN...=9600000039848
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
![]()
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
จีนดัน คลองไทย แทนที่ แลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล แล้วคนไทยจะเอาไงกันดี?! ........................... โดย สมบูรณ์ คำแหง นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ![]() แนวแลนด์บริดจ์ในภาคใต้ของไทย ซึ่งแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูลคือเล้นล่างสุด ยุทธศาสตร์การเชื่อมโครงข่ายการคมนาคมระหว่างฝั่งทะเลอันดามัน ที่จังหวัดสตูล คือ โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา และฝั่งทะเลอ่าวไทย ที่จังหวัดสงขลา คือ โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกสงขลา 2 และจะมีโครงการอื่นๆ อีกหลายโครงการเกิดขึ้นตามมา เพื่อให้ครบองค์ประกอบตามแนวคิดดังกล่าว ดังที่ปรากฏในรายงานการศึกษาและออกแบบโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา (ฉบับสมบูรณ์) พ.ศ.2552 ของกรมเจ้าท่าฯ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อการเปิดพื้นที่การลงทุนด้านการขนส่ง ลอจิสติกส์ และอุตสาหกรรมอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมหาศาลไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท แค่เฉพาะโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกทั้ง 2 แห่ง และโครงการก่อสร้างรถไฟรางคู่เชื่อมระหว่าง 2 ท่าเรือ ซึ่งงบประมาณในการลงทุนโครงการเหล่านี้ต้องเป็นเงินกู้ก้อนใหญ่ หรือต้องเป็นงบเพื่อการลงทุนจากต่างประเทศร้อยเปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ ขึ้นกับว่าผลลัพธ์ของโครงการดังกล่าวว่า จะมีแรงดึงดูดให้ประเทศผู้ลงทุนมีความสนใจมากน้อยแค่ไหน ในช่วงปี พ.ศ.2552 สมัยที่รัฐบาลทักษิณ ยังทำหน้าที่บริหารประเทศ พบว่า ดูไบ เคยให้ความสนใจ จนถึงขั้นร่วมสมทบงบประมาณการศึกษาและออกแบบโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราด้วยจำนวนหนึ่ง เพราะหวังว่าจะเป็นหุ้นส่วนสำคัญต่อการดำเนินโครงการนี้ แต่เมื่อรัฐบาลนี้หมดอำนาจไป ประกอบกับการประสบปัญหาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลดูไบเอง จึงได้หยุดความคิดนี้ไป รัฐบาลหลังจากนั้นจึงพยายามหาประเทศผู้ร่วมทุนใหม่ ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นก็เคยให้ความสนใจ และได้เคยส่งตัวแทนเข้ามาลงดูพื้นที่ก่อสร้างโครงการด้วยเช่นกัน แต่ด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นเริ่มย่ำแย่ในระยะหลัง จึงไม่มีความเคลื่อนไหวใดๆ อีกหลังจากนั้น จนเมื่อประเทศจีนเริ่มผงาดในโลกเศรษฐกิจ หลังการเปิดประเทศด้านการลงทุนเต็มรูปแบบ จีนจึงมีความสนใจต่อการพัฒนาเส้นทางการคมนาคมในโลกนี้เกือบทุกทวีป โดยถึงขั้นได้ตั้งกองทุนก้อนใหญ่ที่พร้อมหยิบยื่นให้แก่ประเทศต่างๆ ที่ต้องการพัฒนาโครงข่ายการคมนาคม เพื่อการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอย่างเต็มที่ เสมือนเป็นการทบทวน เส้นทางสายไหม ที่จีนเคยทำการค้าในยุคโบราณ ในภูมิภาคนี้จีนได้เล็งมาที่ประเทศไทยด้วยเช่นกัน หลังจากนั้นจีนได้แปรความสนใจไปสู่การลงมือทำ โดยได้จัดทีมมาศึกษาเบื้องต้น และวิเคราะห์ถึงรูปแบบการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ดังกล่าว นั่นหมายถึงจีนเคยสนใจโครงการที่เรียกว่า แลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล ที่ใช้วิธีการก่อสร้างท่าเรือขนาดใหญ่ทั้ง 2 ฝั่งทะเล นั่นคือ ท่าเรือน้ำลึกปากบารา ที่อันดามัน และ ท่าเรือน้ำลึกสงขลา 2 หรือ ท่าเรือน้ำลึกสวนกง ที่ฝั่งอ่าวไทย ![]() การศึกษาเพื่อขุดคลองไทย ดูเหมือนจะลงตัวที่เส้นทางสาย 9A ตามแนวนี้ แต่เมื่อจีนได้ทำการวิเคราะห์แนวคิดนี้ใหม่ กลับได้บทสรุปที่ต่างไปจากแนวคิดเดิมที่มีอยู่ ด้วยเห็นว่าวิธีการเชื่อม 2 ฝั่งทะเล แบบขนส่งสินค้าผ่านทางรางรถไฟ หรือทางบกนั้น ไม่ตอบโจทย์นักธุรกิจด้านลอจิสติกส์ ซึ่งสอดคล้องต่อนักธุรกิจเดินเรือมหาสมุทรของไทย ที่ต่างมีความคิดเห็นไปในทางเดียวกันว่า แนวคิดที่จะเป็นประโยชน์ และคุ้มค่าต่อการลงทุนมากที่สุดต่อการเชื่อมระหว่างสองมหาสมุทรนี้ จะต้อง ขุดคลอง เท่านั้น เมื่อได้ข้อสรุปเช่นนั้น จีนจึงเริ่มเดินหน้าใช้เงินกองทุนของตนเอง ผ่านมายังมหาวิทยาลัยชื่อดังของประเทศจีน และร่วมกับสมาคมนักธุรกิจไทย-จีนของประเทศไทย ให้ทำการศึกษาออกแบบโครงการขุดคลองเชื่อม 2 ฝั่งทะเลครั้งใหม่ และได้เริ่มต้นการศึกษาเพื่อให้ความคิดดังกล่าวเป็นรูปธรรมมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 เป็นต้นมา ทั้งนี้ ได้ใช้ฐานข้อมูลเก่าเรื่องการขุด คลองกระ หรือเส้นทางสายต่างๆ ที่ได้เคยทำไว้บ้างแล้วในในยุคต่างๆ จนในที่สุดกลุ่มศึกษานี้ก็ได้บทสรุปเรื่องเส้นทางที่เหมาะสมที่จะเป็นเส้นทางขุดคลองแล้ว ตามที่กำหนดเส้นทางไว้อย่างชัดเจนในแผนที่การศึกษาคือ เส้นทางสาย 9A กล่าวคือ ช่วงเส้นทางจากตอนใต้ของจังหวัดกระบี่ ตอนบนจังหวัดตรัง ตัดผ่านจังหวัดนครศรีธรรมราชตอนใต้ และตอนเหนือของจังหวัดพัทลุง มีความยาวทั้งหมดเกือบ 140 กิโลเมตร และเรียกสายคลองเส้นนี้ว่า คลองไทย ล่าสุด เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2560 ผู้ศึกษาโครงการ และกลุ่มที่พยายามผลักดันโครงการนี้ รวมถึงมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.หาดใหญ่) ได้จัดเวทีนำเสนอผลการศึกษาเบื้องต้นโครงการขุดคลองไทย โดยได้เชิญผู้เข้าร่วมหลายภาคส่วน เสมือนเป็นการยืนยันถึงแนวคิด และความสนใจจริงของรัฐบาลจีนต่อเรื่องนี้ และจีนยังเสนอตัวอย่างชัดเจนถึงความพร้อมที่จะลงทุนต่อโครงการในอนาคต ถ้าหากรัฐบาลอนุมัติให้มีการเดินหน้าโครงดังกล่าวต่อไป ทั้งหมดนี้ก็เพื่อจะชวนคิดวิเคราะห์กันว่า ยุทธศาสตร์ตามแนวคิดเดิมของรัฐบาลไทย หรือแนวคิดเรื่อง แลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล ถือเป็นชุดความคิดแบบเก่าที่รัฐบาลจีนเองไม่ได้สนใจอีกต่อไปแล้ว จึงเป็นข้อสังเกตว่า หากยุทธศาสตร์การเชื่อม 2 ฝั่งทะเล เพื่อการเปิดเส้นทางการคมนาคมเข้าหากันในรูปแบบเก่าคือ การสร้างท่าเรือน้ำลึก 2 ฝั่ง กับแนวคิดแบบจีนใหม่ที่เชื่อว่าจะต้องขุดคลองเท่านั้น ถึงจะต้องสนองความต้องการของตน และของนักธุรกิจเดินเรือมหาสมุทรได้ โจทย์ใหญ่ต่อเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งที่รัฐบาลไทย หรือคนไทยทั้งประเทศจะต้องค้นหาคำตอบอย่างพินิจพิเคราะห์ถึงเหตุและผล และความเป็นไปได้ของเรื่องทั้งหมด เราจะเดินหน้าไปทางไหนกันแน่ต่อเรื่องนี้ และถึงที่สุดแม้จะมีการก่อสร้างเพื่อตอบสนองการลงทุนในรูปแบบใดก็ตาม แต่ผลประโยชน์ต่อเรื่องนี้ทั้งหมดจะตกอยู่กับคนกลุ่มใด? แค่ไหน? และอย่างไรแน่? แล้วคนไทยทั้งประเทศจะได้รับผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจริงหรือไม่? อย่างไร? หรือสุดท้ายแล้วเราจะต้องเสียสละครั้งใหญ่ในฐานะประชาชน เพียงเพื่อให้ประเทศชาติ หรือให้ใครได้อยู่รอด?! http://www.manager.co.th/South/ViewN...=9600000039979
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#6
|
||||
|
||||
![]()
ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS
เตรียมปิด อ่าวมาหยา 5 เดือนฟื้นฟูปะการัง เตรียมเสนอกรมอุทยานฯประกาศ ปิดอ่าวมาหยา หมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ ห้ามนักท่องเที่ยวเข้าพื้นที่อ่าวมาหยา มิ.ย.-ต.คนี้เพื่อให้ฟื้นฟูธรรมชาติทั้งบนฝั่งและใต้ทะเล ![]() วานนี้(19 เม.ย.2560)ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพีจังหวัดกระบี่ ลงสำรวจทะเล บริเวณอ่าวหยาหมู่เกาะพีพี ต.อ่าวนาง อ.เมืองกระบี่ พบแนวปะการังที่เคยเกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว เริ่มฟื้นตัว มีปะการังขนาดเล็กขึ้นเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกัน ได้เก็บตัวอย่างน้ำมาตรวจวิเคราะห์ ก่อนจะประกาศห้ามนักท่องเที่ยวเข้าพื้นที่ ระหว่างเดือนมิ.ย.- ต.ค.นี้ เพื่อให้ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมบนฝั่ง และใต้ทะเลฟื้นตัว หลังได้รับผลกระทบจากเรือทิ้งสมอ ทำลายปะการัง นายศรายุทธ ตันเถียร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี กล่าวว่า ว่า ที่ผ่านมาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บริเวณอ่าวมาหยา ได้รับผลกระทบจากนักท่องเที่ยวที่เข้ามาจำนวนมาก ทำให้น้ำเป็นตะกอนปกคลุมแนวปะการัง จึงเตรียมเสนอนายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ประกาศปิดช่วงหน้าโลซีซั่น โดยจะแจ้งประกอบการนำเที่ยวให้รับทราบ ก่อนประกาศปิด http://news.thaipbs.or.th/content/261765
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#7
|
||||
|
||||
![]()
ขอบคุณข่าวจาก PPTV
นักวิทยาศาสตร์ติดกล้องไขปริศนาชีวิตวาฬแอนตาร์กติกา นักวิทยาศาสตร์ใช้วิธีติดกล้องกับวาฬในมหาสมุทรแอนตาร์ติกาเพื่อไขปริศนาวิถีการดำรงชีวิตใต้ท้องทะเลของพวกมัน ![]() ทีมนักวิทยาศาตร์ของกองทุนสัตว์ป่าโลกนำกล้องบันทึกภาพใต้และแผ่นเซนเซอร์แบบดิจิตอลไปติดที่ตัวของวาฬในมหาสมุทรแอนตาร์ติกาเพื่อติดตามเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการหาอาหาร การดำรงชีวิตร่วมกันเป็นฝูง ความถี่การหายใจ รวมถึงผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนที่ทำให้น้ำแข็งละลายอย่างรวดเร็ว ซึ่งวาฬที่นักวิทยาศาสตร์นำกล้องไปติดไว้กับตัวมีทั้งวาฬหลังค่อมและวาฬมิงค์ โดยกล้องจะอยู่ติดตัวกับวาฬแต่ละตัวประมาณ 24-48 ชั่วโมง ก่อนจะถูกถอดออกและนำกลับมาใช้ใหม่ ![]() สำหรับข้อมูลที่ได้จากโครงการดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ในการอนุรักษ์พื้นที่แหล่งอาหารของวาฬเหล่านี้ รวมทั้งกำหนดพิกัดที่สมควรได้รับการประกาศเป็นพื้นที่อนุรักษ์ทางทะเล https://www.pptvthailand.com/news/%E...E0%B8%99/52346
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
![]() |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
เรียบเรียงคำตอบ | |
|
|