#1
|
||||
|
||||
สถานการณ์ปะการังฟอกขาว ปี 2553-2554
"ทส." เล็งปิด "อุทยานฯ หมู่เกาะสุรินทร์-สิมิลัน-พีพี-ราชา" หลังพบปะการังฟอกขาวสาหัสที่สุดในประวัติศาสตร์ แย่กว่าเจอสึนามิถล่ม วันนี้ (16 ม.ค.) นายเกษมสันต์ จิณณวาโส อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เตรีมทำหนังสือเสนอกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เพื่อขอให้ปิดอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันและอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ต.เกาะพระทอง อ.คุระบุรี จ.พังงา บางส่วน เนื่องจากเกิดปัญหาปะการังฟอกขาวทั้งหมด ส่งผลกระทบต่อจำนวนประชากรของปะการังในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามันจนเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ทั้งปะการังเขากวาง ปะการังวงแหวน ปะการังดาวใหญ่ ปะการังโขด เป็นต้น โดยสาเหตุมาจากอุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้นถึงกว่า 30 องศาเซลเซียสตั้งแต่ช่วงกลางปี 2553 ที่ผ่านมาต่อเนื่องกันถึง 3 เดือนรวมทั้งจากของเสียที่ถูกถ่ายเทลงน้ำ โดยเฉพาะของเสียจากเรือที่จอดอยู่จำนวนมากในบริเวณนั้นๆ รวมทั้งอาจเป็นของเสียที่ไหลซึมผ่านชั้นดิน เพราะปะการังที่เสียหายในหลายพื้นที่อยู่ไม่ไกลจากที่พักนักท่องเที่ยวและอีกสาเหตุหนึ่งมาจากการท่องเที่ยวที่มีนักดำน้ำไปยืนเหยียบปะการังจนเสียหาย ทั้งนี้จากการสำรวจในหลายพื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในช่วงเดือน ก.ย.-ธ.ค. 2553 โดยเฉพาะที่หมู่เกาะสุรินทร์-สิมิลัน จ.พังงา รวมทั้งหมู่เกาะพีพี จ.กระบี่และเกาะราชา จ.ภูเก็ต พบว่าในแต่ละแห่งแนวปะการังได้รับผลกระทบเกิดความเสียหายจากการฟอกขาวมาก เช่น เกาะสุรินทร์เหนือ หน้าช่องแคบตอนใน ปะการังตายถึง 93.6 เปอร์เซ็นต์ เกาะสุรินทร์เหนือ อ่าวแม่ยายทิศเหนือ ตายถึง 99.9 เปอร์เซ็นต์ เกาะปาชุมบา ตะวันออกเฉียงเหนือ ตายถึง 95 เปอร์เซ็นต์ เกาะตาชัย ตายถึง 84 เปอร์เซ็นต์ เกาะสุรินทร์ใต้ (อ่าวเต่า) ตาย 85 เปอร์เซ็นต์ เกาะสิมิลัน หน้าประภาคาร ตาย 89.3 เปอร์เซ็นต์ เกาะตาชัย ตะวันออกเฉียงใต้ ตาย 84 เปอร์เซ็นต์ เกาะบางงู ทิศใต้ ตาย 60.8 เปอร์เซ็นต์ เป็นต้น อธิบดีกรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง กล่าวต่อว่า ขณะที่เกาะพีพีและเกาะใกล้เคียง อาทิ เกาะพีพีดอน เกาะพีพีเล เกาะไผ่ เกาะยูง เกาะบิด๊ะใน และเกาะบิด๊ะนอก พบว่า แนวปะการังส่วนใหญ่ของทุก ๆ เกาะ อยู่ในสภาพเสียหาย มีปะการังตายมากกว่าปะการังมีชีวิตประมาณ 2-3 เท่าและเสียหายมาก โดยเฉพาะจุดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น อ่าวมาหยา อ่าวต้นไทร หาดยาว อ่าวรันตี แหลมตง มีปะการังเขากวางเป็นชนิดเด่น อยู่ในแนวปะการังน้ำตื้นพบว่าปะการังเขากวางกว่าร้อยละ 90 ได้ตายลงเช่นเดียวกับที่เกาะราชาใหญ่อ่าวทิศเหนือ ปะการังตายมากถึง 96.7 เปอร์เซ็นต์และในหลายพื้นที่ไม่พบปะการังวัยอ่อนเลย ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าความเสียหายของแนวปะการังจากการฟอกขาวในครั้งนี้ ก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงมากกว่าความเสียหายจากสึนามิเมื่อเดือน ธ.ค. 2547 นายเกษมสันต์ กล่าวอีกว่า ควรมีการลดผลกระทบโดยเฉพาะจากกิจกรมการท่องเที่ยวที่ส่งผลกระทบต่อแนวปะการัง เพราะพบว่าแนวปะการังหลายบริเวณยังมีนักท่องเที่ยวมาท่องเที่ยวดำน้ำเป็นจำนวนมาก แต่นักท่องเที่ยวยังขาดความรู้ความเข้าใจ มีการเหยียบปะการังของไกด์นำเที่ยวและนักท่องเที่ยว การทิ้งสมอเรือในแนวปะการัง รวมทั้งพบอวนและลอบที่อยู่ในสภาพใหม่และเก่าจำนวนมากในแนวปะการัง ผู้ประกอบการส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวให้อาหารปลาในแนวปะการัง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้มีสาหร่ายขึ้นคลุมปะการังจำนวนมากในหลายบริเวณ เช่น เกาะไผ่ หินกลาง เนื่องจากปลาเปลี่ยนพฤติกรรมไปกินอาหารจากนักท่องเที่ยวแทนที่จะกินสาหร่ายที่ขึ้นคลุมปะการัง รวมทั้งผลักดันให้เรือท่องเที่ยวปรับปรุงเรือ โดยให้มีถังกักเก็บของเสียในเรือ ไมให้มีการปล่อยของเสียลงในแนวปะการังและให้มีการปิดพื้นที่ไม่ให้มีการใช้ประโยชน์ใด ๆ ในพื้นที่แนวปะการังที่จำเป็นต้องได้รับการคุ้มครองอย่างเข้มงวด เช่น บางบริเวณในเขตอุทยานแห่งชาติฯ ที่มีความเสี่ยงว่าจะได้รับผลกระทบเพิ่มจาการท่องเที่ยว เช่น จุดที่น้ำตื้น จนเหยียบพื้นได้ เป็นต้น หากไม่มีการจัดการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน โอกาสที่แนวปะการังในทะเลอันดามันจะกลับมีความสวยงามสมบูรณ์ดังเดิมคงเป็นไปได้ยาก ด้านนายสุนันท์ อรุณนพรัตน์ อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวว่า ความเสียหายที่เกิดของปะการง ต้องไปสำรวจก่อน ถ้าเสียหายมากก็จำเป็นต้องปิดอุทยานฯ เลย ทั้งหมู่เกาะสิมินลันและสุรินทร์ รวมทั้งพีพี อาจจะเป็นบางจุดแม้จะเป็นจุดท่องเที่ยวสำคัญและขณะนี้อยู่ในช่วงเทศกาลท่องเที่ยวทางทะเลก็ตาม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียมาก ที่สำคัญท้องทะเลอันดามัน ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญและเป็นแหล่งที่จะประกาศเป็นพื้นที่มรดกโลกในอนาคต เพราะฉะนั้นจะเสียหายไม่ได้ โดยในวันที่ 20 ม.ค.นี้จะพื้นที่สำรวจที่ จ.ภูเก็ต และในวันเดียวกันนายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ จะเรียกประชุมหัวหน้าอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทางทะเลทั้ง 26 แห่งเข้าประชุมเพื่อรายงานสถานการณ์ด้วย. ขอบคุณข่าวจาก .... http://www.dailynews.co.th/newstartp...ntentId=115733
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 19-07-2012 เมื่อ 19:34 |
#2
|
||||
|
||||
นับเป็นข่าวดี ที่ทางการเริ่มจะเอาจริงกับการออกมาตรการเพื่อฟื้นฟูแนวปะการังที่ได้รับความเสียหายจากการฟอกขาว หลังจากนิ่งเงียบไม่ยอมทำอะไรมาเกือบปี นับจากเกิดปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาว ตั้งแต่เดือนมีนาคม ปี 2553....
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 16-01-2011 เมื่อ 16:02 |
#3
|
||||
|
||||
จะปิดช่วงไหน อย่างไร หลังสำรวจก็น่าจะทำให้ชัดเจนนะคะ
อย่างไรก็คิดแบบผู้ประกอบการด้วยว่า ปีนี้ หน้า ไฮ ก็แย่แล้ว หากปิดทั้งปี แล้วมีประมงมาลักลอบ ก็ไม่ยุติธรรมเช่นกัน
__________________
Superb_Sri_Nuan.Ray ณ SOS |
#4
|
||||
|
||||
น้องติ่ง....อย่าเพิ่งวิตกกังวลไปเลยค่ะ คงจะมีการศึกษาให้รอบคอบอีกครั้งว่าจะปิดอุทยานฯ บริเวณใด...เมื่อไร...ยาวนานเพียงใดนะคะ และหากมีการปิดจริง....ก็ต้องมีมาตรการดูแลอย่างดี ไม่อย่างนั้นก็ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะทำค่ะ
__________________
Saaychol |
#5
|
||||
|
||||
อาจารย์บอย (ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง) ได้เขียนบทความลงใน Face Book ได้น่าสนใจมากค่ะ เชิญอ่านดูนะคะ
อ้างอิง:
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 20-01-2011 เมื่อ 20:09 |
#6
|
||||
|
||||
ขอบคุณสำหรับบทความครับพี่น้อย อาจารย์ศักดิ์อนันต์เขียนหลายๆประเด็นไว้โดนใจมากเลยครับ
__________________
If we see the hearts of others, peace will follow You may say I'm a dreamer .. but I'm not the only one: John Lennon |
#7
|
||||
|
||||
มันเหมือนๆกับเรื่องของ "ไก่ได้พลอย" หรือ "สุนัขในรางหญ้า" อย่างไงก็ไม่รู้นะคะ
แต่ไม่ใช่ "ช้าๆได้พร้าเล่มงาม" แน่ๆ......
__________________
Saaychol |
#8
|
|||
|
|||
ขอบคุณบทความดีๆ จากพี่น้อยค่ะ (ตั้งใจอ่านมากกว่า textbook ตรงหน้าอีก ฮาาา)
หากมีการดำเนินการอย่างจริงจังและเข้มแข็ง เชื่อว่า ซักวันปะการังสวยๆ จะกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งในทะเลไทยค่ะ แต่ก็ยังกลัว ความไร้วินัยของคนบางกลุ่ม เช่นกันค่ะ |
#9
|
||||
|
||||
อาจารย์บอยผู้เขียนบทความนี้ และนักวิชาการอีกหลายๆท่านจากหลายสถาบัน ทำการสำรวจและทำรายงานเรื่องปะการังฟอกขาวกันอย่างเอาจริงเอาจัง ด้วยความห่วงใยและหวังจะให้ปะการัง ได้รับความบอบช้ำน้อยที่สุด และกลับมาฟื้นคืนตัวอย่างรวดเร็ว แต่ด้วยระบบการทำงานแบบไทยๆของทางการบ้านเรา ทำให้นักวิชาการเหล่านี้เหนื่อยใจ หนักใจ และเกือบจะถอดใจกันเป็นแถวๆ การเขียนบทความนี้ของอาจารย์บอยจึงเหมือนกลั่นออกมาจากก้นบึ้งของหัวใจจริงๆ จึงน่าสนใจและน่าติดตามมากค่ะ พวกเราก็ต้องมาช่วยกันลุ้นว่าจะมีการดำเนินการอย่างไรต่อไป หรือ จะไม่มีอะไรในกอไผ่....
__________________
Saaychol |
#10
|
|||
|
|||
ดูเหมือนนักวิชาการทุกคนทำงานกันหนักมากๆ แต่ข้างบนเอาตัวรอดไปวันๆ
ดูคำตอบของท่านอธิบดีกรมอุทยานซิครับ ผมว่า....ด้านแท้ๆ รู้ปัญหาอยู่เต็มอกตั้งแต่ปีมะโว้ ผมจะลองนะครับ(แต่จริงๆไอเดียยังเป็น 0 แค่รู้ว่าถ้ามันเกิดแล้วจะดีมาก) ผลักดันให้เกิดคณะอนุกรรมการสิ่งแวดล้อมที่ดูและเรื่องปะการังฟอกขาวโดยตรง หวังว่าผู้ที่มีความรู้อย่างท่านๆจะได้เข้าไปนั่งกำกับดูแล |
|
|