เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรรพชีวิตแห่งท้องทะเล

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #11  
เก่า 07-10-2010
หอยกะทิ's Avatar
หอยกะทิ หอยกะทิ is offline
Member
 
วันที่สมัคร: Jul 2009
ข้อความ: 80
Default

หอยงวงช้างกระดาษเหมือนจะอยู่น้ำลึกนะครับ ข้อมูลผมไม่แน่นเท่าไหร่

เหมือนจะเคยเห็น paper ของที่ waikiki aquarium ฮาวาย เขาจะเพาะได้แล้วนะครับ แต่เหมือนเป็นการทดลองครับ ไม่แน่ใจ ส่วนหอยงวงช้างปกติ Nautilus pompilius รู้สึกเขาจะเพาะได้เป็นล่ำเป็นสันแต่ก็ยังพึ่งพ่อแม่พันธุ์จากธรรมชาติอยู่ครับ มีการปล่อยคืนธรรมชาติหรือไม่ อันนี้ไม่ได้ตามข่าวครับ
__________________
จงกลายเป็นวงๆๆ ปุ๋งๆๆๆๆๆ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #12  
เก่า 07-10-2010
Sukhsangchan Sukhsangchan is offline
Junior Member
 
วันที่สมัคร: Oct 2010
ข้อความ: 2
Default

ขอช่วยตอบคำถามนะครับของพี่สายชลนะครับ
1.แหล่งที่อยู่อาศัยของหอยงวงช้างกระดาษ เท่าที่พบในน่านน้ำไทย ขณะนี้พบเฉพาะฝั่งอันดามันครับ (แต่ review จากเอกสารบอกว่ามีการแพร่กระจายทั้งสองฝั่ง) ที่พบมาก ๆ ก็ในแถบจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต ครับ แถบจังหวัดกระบี่มีนิดหน่อยแต่ไม่มาก ถ้าต่ำลงไปจะเลยจังหวัดสตูลเข้าไปในเขตมาเลเซียนู่นเลยครับ และจากการรวบรวมตัวอย่างที่ได้จะติดมากับอวนล้อมครับ ถ้าเราลองพิจารณาการทำประมงอวนล้อม จะพบว่าลักษณะของเนื้ออวนของอวนล้อมจะไม่ลงไปถึงหน้าดิน นั่นแสดงว่าหอยงวงช้างกระดาษมีการว่ายน้ำหรืออาศัยอยู่ในมวลน้ำ โดยเฉพาะในเวลากลางคืนครับ (ทำประมงอวนล้อมในเวลากลางคืน) ส่วนเวลากลางวัน ก็สัณนิษฐานว่า หอยงวงช้างกระดาษน่าจะลงไปในระดับลึก ๆ เช่นเดียวกับหอยงวงช้าง (chambered nautilus) ครับ
ส่วนคุณภาพน้ำบริเวณที่อยู่อาศัยของหอยงวงช้างกระดาษจะอาศัยอยู่บริเวณที่มีน้ำใสไม่มีตะกอน เช่นเดี่ยวกับปลาหมึกกล่มอื่น ๆ ครับ โดยจากข้อมูลที่ผมมีและสอบถามจากพี่ ๆ เรืออวนล้อมพบว่า ความลึกที่พบบ่อย ๆ เป็นระดับความลึกที่ไม่ต่ำกว่า 80 เมตร แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะจับหอยงวงช้างกระดาษที่ระดับ 80 เมตร เท่านั่้นนะครับ เพราะหอยงวงช้างจะว่ายขึ้นมาบางครั้งอาจพบที่ใกล้กับผิวน้ำด้วย ทั้งนี้ต้องห่างฝั่งออกไปหน่อยครับ (ไม่ต่ำกว่า 20 ไมล์ทะเลโดยประมาณ)

2. หอยงวงช้างกระดาษเฉพาะเพศเมียเท่านั้นครับที่สร้างเปลือก ส่วนเพศผู้จะมีลักษณะรูปร่างหน้าตาคล้ายกับหมึกสายตัวเล็ก ๆ ครับ แต่ที่น่าสนใจก็คือหนวดที่ใช้สืบพันธุ์ของหอยงวงช้างกระดาษเพศผู้นี่แหละครับที่ต่างจากปลาหมึกกล่มอื่น ๆ เนื่องจากมันจะยาวกว่าหนวดเส้นอื่น ๆ แล้วเวลาผสมพันธุ์ไอ้เจ้าหนวดเส้นนี้ก็จะขาดและตกอยู่ในช่วงแมนเติลของเพศเมีย (นักวิทยาศาสตร์ในสมัยก่อนเข้าใจผิดคิดว่ามันคือ parasite เลยตั้งชื่อให้มันว่า Hectocotylus octopodis ซึ่งแปลว่า หนอนที่มีปุ่มดูดจำนวนมาก แต่ในความเป็นจริงมันคือหนวดนั่นเองครับที่อยู่ในช่องตัว ไม่ใช่ parasite)
และที่ตัวเมียสร้างเปลือกมันจะเคลื่อนที่หรือเคลื่อนไหวเชื่องช้าหรือเป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนที่ไหม จากการลองนำมาเลื้ยงในห้องปฏิบัติการพบว่าไม่มีปัญหาครับ มันยังคงเคลื่อนที่ได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว แถมยังจับปลาที่ว่ายน้ำกินเป็นอาหารได้อีกด้วย)

3. คำถามที่ถามว่าหอยงวงช้างกระดาษที่ตายแล้วไข่ของมันยังสามารถนำมาฟักได้อีกหรือเปล่า อันนี้ต้องดูด้วยว่ามันตายนานหรือยัง ซึ่งจริง ๆ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้ไข่ฟักหรือไม่ฟักด้วยครับ เพราะผมเคยเอาไข่ของหอยงวงช้างกระดาษมาฟักโดยนำแม่หอยงวงช้างที่จับได้มาแยกเอาไข่ออก (เมื่อแยกไข่กับแม่ออก ส่วนใหญ่แม่ก็จะตายครับ เพราะตัวของแม่จะปิดช่องเปิดของเปลือกเอาไว้ถ้าจะเอาไข่ก็ต้องดึงแม่ออก มา โดยปกติแม่ก็จะไม่ยอมออกมาง่าย ๆ จนตัวตายหรือบอบช้ำสุด ๆ ถึงยอมออกจากเปลือกครับ ฟังดูแล้วทารุณน่าดู)
เมื่อเอาไข่มาลองฟักดูก็สามารถฟักออกมาเป็นตัวได้ครับ แต่ต้องดูเรื่องระบบน้ำ ระบบอากาศให้ดีครับ เพราะส่วนใหญ่หากดูแลไม่ดีไข่ก็จะเน่าเสีย จนไม่สามารถฟักออกเป็นตัวได้ครับ

หากมีคำถามอื่นที่สามารถตอบได้ยินดีมากเลยครับ สุดท้ายขอบคุณพี่จินด้วยครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #13  
เก่า 07-10-2010
หอยกะทิ's Avatar
หอยกะทิ หอยกะทิ is offline
Member
 
วันที่สมัคร: Jul 2009
ข้อความ: 80
Default

ขอโทษครับอาจจะไม่เหมาะสมที่จะถามต่อ แต่ผมอยากรู้ครับ

การเลี้ยงหอยงวงช้างกระดาษนี่ มีความต้องการเช่นเดียวกับ หอยงวงช้าง มั๊ยครับ ทั้ง อาหาร คุณภาพน้ำ และสภาพแวดล้อม การฟักไข่หอยงวงช้างนั้น หากเป็นคุณภาพน้ำระดับเดียวกันกับที่เลี้ยงตัวเต็มวัยปกติได้จะสามารถฟักได้หรือไม่ หรือต้องการปัจจัยอื่นที่แตกต่างไปครับ

ผมเองเลี้ยงหอยงวงช้าง แล้วรู้สึกว่าจริงๆไม่ยากอย่างที่คิดเพียงแต่ต้องการเอาใจใส่ในเรื่องคุณภาพน้ำมากสักหน่อย แต่ยังไม่เคยเลี้ยงจนกระทั่งมีไข่หรือผสมในที่เลี้ยงได้เลย

ไม่ได้คิดจะเลี้ยงหอยงวงช้างกระดาษนะครับ แค่เท่าทุกวันนี้ก็จะแย่แล้ว อยากทราบข้อมูลไว้ประดับความรู้ครับ
__________________
จงกลายเป็นวงๆๆ ปุ๋งๆๆๆๆๆ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #14  
เก่า 07-10-2010
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,158
Default

อู้ววววว.....ดีใจมากๆต่ะ ที่มีผู้เชี่ยวชาญมาช่วยให้ความรู้....


ขอบคุณมากๆค่ะ...น้องจิน....น้องหอยกะทิ....และขอบคุณเป็นพิเศษสำหรับน้องใหม่ของเรา น้อง Sukhsangchan ซึ่งให้คำตอบที่ชัดเจนแจ่มชัดมากๆค่ะ...


ถ้ามีการแพร่พันธุ์ของหอยงวงช้างทั้งสองชนิดได้ จะเป็นเรื่องที่น่ายินดีมากๆเลยค่ะ ขอเป็นกำลังใจให้ผู้เพาะพันธุ์ทุกท่านนะคะ


ขอถามต่อด้วยเรื่องหมึกที่ค้นพบอีกนิดนะคะ....


สองสายดำน้ำที่เกาะสากมาหลายไดฟ์ในยี่สิบกว่าปีที่ผ่านมา....ยังไม่เคยเห็น Mimic Octopus เลยค่ะ อยากทราบว่า ไปพบ Mimic Octopus ที่เกาะสาก บริเวณไหนคะ เผื่อเราจะไปลองหาดูบ้างค่ะ...

__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #15  
เก่า 07-10-2010
แม่หอย's Avatar
แม่หอย แม่หอย is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Klong Wan
ข้อความ: 289
Default

รวดเร็วทันใจวัยรุ่นมากเลยค่ะ ขอบคุณมากๆ เลยนะคะ ดร.จรวย
ดีใจค่ะ ที่มีผู้เชี่ยวชาญกรุณาสละเวลามาให้ความรู้แก่พวกเรา
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #16  
เก่า 07-10-2010
Sukhsangchan Sukhsangchan is offline
Junior Member
 
วันที่สมัคร: Oct 2010
ข้อความ: 2
Default sukhsangchan

mimic octopus ตอนนี้ที่ภาควิชาฯ มีตัวอย่างแล้วครับ โชคดีที่นิสิตเขาเก็บตัวอย่างมาให้ (ที่บ้านมีเรือประมง) เลยเอามาเลี้ยงที่ภาควิชาอยู่พักนึง ก็เลยได้ทั้งภาพนิ่งและวีดีโอไว้เยอะเลย อีกสักพักคงได้พิมพ์เผยแพร่ในบทความครับ (ที่น่าเสียดายคือมันขึ้นสวรรค์ไปแล้ว)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #17  
เก่า 08-10-2010
Kungkings Kungkings is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 436
Default

บ้านเรา...ช่างดีจริงๆ มีหลายอย่างให้น่าจดจำ... ทั้งความรู้และผู้คน ขอบคุณคะพี่ๆน้องๆ sos
__________________
คิดดี ทำดี ชีวีเป็นสุข
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #18  
เก่า 08-10-2010
ลูกปูกะตอย ลูกปูกะตอย is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: Mar 2010
ข้อความ: 209
Default

อัดแน่นด้วยความรู้ ดีมาก ๆ เลยค่ะ
ขอบคุณค่ะ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #19  
เก่า 14-10-2010
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,158
Default


น่าเสียดายจริงๆค่ะที่เจ้า Mimic Octopus ตัวแรกที่ได้เห็นในไทยได้ไปเฝ้าพระอินทร์ซะแล้ว

ขอบคุณน้อง Sukhsangchan มากๆค่ะ สำหรับข้อมูลและความรู้ที่ให้กับเราค่ะ ว่างๆขอเรียนเชิญมาให้ความรู้กับเราอีกนะคะ


สองสายไปดำน้ำที่ Puerto Galera และ Anilao ประเทศ Philippines มีภาพเจ้า Mimic Octopus มาฝากไว้ในกระทู้ "เรื่องเล่าชาวทะเล" ของเราอยู่หลายภาพเหมือนกัน จึงขอนำมาลงที่นี่ไว้ให้ดูเล่นด้วยนะคะ

เขาแปลงตัวเป็นสัตว์อื่นๆได้อย่างรวดเร็ว อย่างน่ามหัศจรรย์เลยล่ะค่ะ








ทำตัวเหมือนปลาดาว....





__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 14-10-2010 เมื่อ 09:56
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #20  
เก่า 14-10-2010
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,158
Default



แปลงตัวเป็นปลาลิ้นหมา...









หรือเหมือนหมึกยักษ์ธรรมดาๆ





หรือเปลี่ยนสี จากขาวดำเป็นสีน้ำตาลอ่อนแก่ จนไม่แน่ใจว่าใช่ Mimic Octopus หรือไม่...



__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 14-10-2010 เมื่อ 09:57
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 17:37


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger