เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 11-06-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน 2564

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนที่ตกสะสมและฝนตกหนักในระยะนี้ไว้ด้วย

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 12 มิ.ย. 64


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนร้อยละ 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 11 ? 12 มิ.ย. 64 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง โดยบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนบนคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร และ บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 13 ? 16 มิ.ย. 64 ร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือตอนบน ประเทศลาวตอนบน และเวียดนามตอนบนมีกำลังอ่อน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนบนคลื่นสูง 1-2 เมตร และ บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 11 ? 14 มิ.ย. 64 หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนคาดว่าจะทวีกำลังแรงขึ้นและคาดว่าเคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณอ่าวตังเกี๋ยและประเทศเวียดนามตอนบน สำหรับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวเบงกอลตอนบน มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้น ทำให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 12 มิ.ย. 64


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 11 ? 12 มิ.ย. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักไว้ด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนงดออกจากฝั่ง









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 11-06-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


ศรีลังกาเจอคราบน้ำมัน หวั่นรั่วจากเรือสินค้าไฟไหม้นอกฝั่งโคลอมโบ

ทางการศรีลังกาเริ่มการตรวจสอบ หลังพบคราบน้ำมันนอกชายฝั่งทางตะวันตกของประเทศ หวั่นเป็นน้ำมันที่รั่วจากเรือขนสินค้าซึ่งถูกไฟไหม้อย่างรุนแรงนานนับสิบวัน



สำนักข่าว แชนเนลนิวส์เอเชีย รายงานว่า นายนาลากา โกดาเฮวา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอนุรักษ์ชายฝั่งของประเทศศรีลังกา เปิดเผยในวันที่ 10 มิ.ย. 2564 ว่า ได้ขอให้ผู้เชี่ยวชาญท้องถิ่นไปตรวจสอบ คราบน้ำมันบนผิวทะเลพื้นที่ประมาณ 0.35 ตร.กม. ในจุดที่เรือขนสินค้า 'เอ็มวี เอ็กซ์-เพรส' ไฟไหม้และเกยตื้นเมื่อช่วงต้นเดือน

"เมื่อวาน (9 มิ.ย.) ผมนั่งเรือลงตรวจพื้นที่ และสิ่งที่เราสังเกตเห็นคือ คราบน้ำมันบางๆ ที่ดูเหมือนจะเป็นน้ำมันดีเซล" นายโกดาเฮวาบอกกับผู้สื่อข่าวในกรุงโคลอมโบ "มันดูไม่เหมือนน้ำมันเตา แต่เราต้องขอให้ผู้เชี่ยวชาญของเราเข้าตรวจสอบ"

ทั้งนี้ เรือขนสินค้า เอ็มวี เอ็กซ์-เพรส แจ้งเหตุกรดรั่วไหลบนเรือเมื่อเดือนพฤษภาคม ก่อนจะเกิดเหตุเพลิงไหม้อย่างรุนแรงในวันที่ 20 เดือนเดียวกัน ขณะรอเทียบท่ากรุงโคลอมโบ เจ้าหน้าที่ต้องใช้เวลาถึง 13 วันกว่าจะควบคุมเพลิงได้ แต่ท้ายเรือกลับจมลงก้นทะเลในตอนที่เรือลากจูงพยายามลากมันไปในเขตน้ำลึก



เหตุไฟไหม้ทำให้ตู้คอนเทนเนอร์กว่า 1,486 ตู้เสียหายเกือบทั้งหมด และมีตู้บรรจุเม็ดพลาสติกตกทะเลอย่างน้อย 8 ตู้ ส่งผลให้เม็ดพลาสติกจำนวนมหาศาลถูกซัดขึ้นตามแนวชายฝั่งความยาวกว่า 80 กม. ของศรีลังกา จนทางการต้องสั่งระงับการทำประมงในพื้นที่ดังกล่าว

นอกจากนั้น ทางการยังเตรียมรับมือความเป็นไปได้ที่จะมีน้ำมันเชื้อเพลิงรั่วไหลจากเรือลำนี้ ซึ่งมีน้ำมันเตารวมกว่า 300 ตัน ที่ยังอยู่ในแท็งก์เก็บ โดยนายโกดาเฮวาระบุว่า ตอนนี้เรือ 5 ลำ รวมถึงเรือของหน่วยยามฝั่งอินเดีย 2 ลำ ซึ่งมีอุปกรณ์ป้องกันน้ำมันรั่วไหล ทอดสมอประจำการรอบเรือสินค้าลำนี้แล้ว


https://www.thairath.co.th/news/fore...PANORAMA_TOPIC


*********************************************************************************************************************************************************


1 ใน 3 ของผู้เสียชีวิตจากอากาศร้อน เป็นผลจาก 'ภาวะโลกร้อน' ที่มนุษย์สร้างขึ้น

ที่ผ่านมา งานวิจัยที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงและผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์ เป็นการคาดการณ์จาก "ความเสี่ยงในอนาคต" เป็นส่วนใหญ่ (เช่น คลื่นความร้อน, ภัยแล้ง, ไฟป่า) แต่งานวิจัยล่าสุดโดยผู้เชี่ยวชาญ 70 คน ที่ศึกษาผลกระทบทางสุขภาพจากสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา บ่งบอกว่า ภาวะโลกร้อนไม่ใช่เรื่องไกลตัว แต่มันเกิดขึ้นแล้ว และเกิดขึ้นอย่าง "รุนแรง" เสียด้วย จนถึงขั้นทำให้มีผู้เสียชีวิตโดยตรง

ที่ผ่านมา งานวิจัยที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงและผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์ เป็นการคาดการณ์จาก "ความเสี่ยงในอนาคต" เป็นส่วนใหญ่ ยกตัวอย่างเช่น คลื่นความร้อน, ภัยแล้ง, ไฟป่า ที่จะค่อยๆ รุนแรงมากขึ้น อันเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน

แต่งานวิจัยล่าสุดโดยผู้เชี่ยวชาญ 70 คน ที่ศึกษาผลกระทบทางสุขภาพจากสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา บ่งบอกว่า ภาวะโลกร้อนไม่ใช่เรื่องไกลตัว แต่มันเกิดขึ้นแล้ว และเกิดขึ้นอย่าง "รุนแรง" เสียด้วย

จากจำนวนผู้เสียชีวิตใน 732 เมืองทั่วโลก ระหว่างปี 1991-2018 นักวิจัยกลุ่มนี้พบว่า 37% หรือประมาณ 1 ใน 3 ของการเสียชีวิตจากอากาศร้อน (Heat Deaths) มาจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงที่มนุษย์กระทำ (Human-made Climate Change) ซึ่งสัดส่วนของประชากรที่เสียชีวิตจากอากาศร้อนมากที่สุดมาจากอเมริกาใต้ นำโดย เมืองเซา เปาโล ประเทศบราซิล ที่มียอดเฉลี่ยถึง 239 คนต่อปี

และเมื่อลองพิจารณารายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย, ฝรั่งเศส, สหราชอาณาจักร และ สเปน จะมีสัดส่วนอยู่ที่ 35-39% โดยเฉลี่ย ขณะที่ เม็กซิโก, แอฟริกาใต้, ไทย, เวียดนาม และ ชิลี มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นสูงกว่า 40% แต่ที่น่าวิตกก็คือ บราซิล, เปรู, โคลอมเบีย และ ฟิลิปปินส์ มีอัตราผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 60% หรือมากกว่านั้น

อย่างไรก็ตาม บทความ The burden of heat-related mortality attributable to recent human-induced climate change ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Climate Change เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม ระบุว่า เนื่องด้วยข้อมูลจากภูมิภาคที่สำคัญคือ เอเชียใต้และแอฟริกา อันน่าจะเป็นพื้นที่ที่เปราะบางต่อการเสียชีวิตจากอากาศร้อน ยังมีไม่มากพอ จึงทำให้ไม่สามารถคำนวณออกมาได้ชัดเจน แต่ก็คาดว่าตัวเลขจริงน่าจะสูงกว่านี้มาก

งานวิจัยนี้ใช้ตัวเลขผู้เสียชีวิตใน 732 เมือง จาก 43 ประเทศ แล้วนำมาสร้างกราฟเปรียบเทียบกับอุณหภูมิ จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบกับข้อมูลจากแบบจำลองคอมพิวเตอร์ 10 แบบ (ในกรณีที่ภูมิอากาศโลกไม่เปลี่ยนแปลง) จากการใช้วิธีการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ โดยนักวิจัยสามารถคำนวณเพื่อเปรียบเทียบตัวเลขผู้เสียชีวิตจากความร้อนที่มนุษย์สร้างขึ้น กับตัวเลขผู้เสียชีวิตจากสาเหตุอื่น เพื่อดูว่าอัตราการตายของแต่ละเมืองเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหน และทิศทางของการเสียชีวิตจากความร้อนของแต่ละเมืองแตกต่างกันอย่างไร เช่น บางเมืองปรับตัวกับความร้อนได้ดีกว่าหลายเมือง เพราะมีเครื่องปรับอากาศ รวมถึงปัจจัยทางวัฒนธรรม และเงื่อนไขทางสิ่งแวดล้อม

นักวิจัยพบว่า ตั้งแต่ปี 1991 เป็นต้นมา คลื่นความร้อนเป็นสาเหตุสำคัญที่เป็น "ปัจจัยเร่ง" การเสียชีวิต โดยขึ้นอยู่กับว่า ความร้อนนั้นคงอยู่นานแค่ไหน, อุณหภูมิในเวลากลางคืนและระดับความชื้นเป็นอย่างไร หรือความสามารถในการปรับตัวของประชากรมีผลต่ออัตราการเสียชีวิตเพียงใด รวมถึงกรณีจำเพาะที่ตัวเลขผู้เสียชีวิตอาจลดต่ำลง เมื่อประชากร 95% มีเครื่องปรับอากาศ แต่หากไม่มี หรือมีผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้งในอุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส ก็อาจได้รับผลกระทบรุนแรง ซึ่งตัวเลขผู้เสียชีวิตนี้ยังไม่นับรวมภัยพิบัติอื่นๆ ที่เป็นผลมาจากวิกฤติโลกร้อนด้วย เช่น น้ำท่วม ไฟป่า เป็นต้น

ก่อนที่โลกจะเผชิญกับสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง โดยปกติแล้วในรอบ 100 ปี คลื่นความร้อนระดับรุนแรงมักเกิดขึ้นเพียง 1 ครั้ง แต่นับตั้งแต่กลางศตวรรษที่ผ่านมา คลื่นความร้อนกลับเกิดขึ้น "ถี่ขึ้น" องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ระหว่างปี 2000-2016 ประชากรกว่า 125 ล้านคนทั่วโลก เผชิญกับคลื่นความร้อน และระหว่างปี 1998-2017 มีผู้เสียชีวิตจากคลื่นความร้อนดังกล่าวถึง 166,000 คน ซึ่งในจำนวนนี้ยังหมายรวมถึงผู้เสียชีวิตจากคลื่นความร้อนปี 2003 ในยุโรป ราว 70,000 คน

อนา วิเซโด-คาบริรา จากมหาวิทยาลัยเบิร์น ผู้เป็นหนึ่งในคณะวิจัย กล่าวว่า ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไม่ใช่ปัญหาของอนาคต ที่เราคิดว่าเป็นเรื่องที่คนรุ่นหลังจะต้องเผชิญ แต่เรากลับได้เผชิญกับมันแล้ว ซึ่งในท่ามกลางอนาคตที่มืดมนลงกว่าเดิมนี้ จึงอาจถึงเวลาที่มนุษย์เราต้องลงมือทำอะไรสักอย่างเสียที.

อ้างอิง: France24, AP News, WHO, Nature.com, Science Daily, The New York Times, The Verge


https://www.thairath.co.th/news/fore...PANORAMA_TOPIC


*********************************************************************************************************************************************************


นักวิจัยชี้ทะเลสาบในโลกสูญออกซิเจนเร็ว เมื่อโลกร้อนขึ้น



ทะเลสาบเป็นตัวบ่งชี้การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมและภัยคุกคามต่อสิ่งแวดล้อม เพราะมันตอบสนองต่อสัญญาณจากภูมิทัศน์และบรรยากาศโดยรอบ ล่าสุด มีรายงานในวารสารเนเจอร์เผยว่าระดับออกซิเจนในทะเลสาบน้ำจืดที่มีอุณหภูมิปานกลางของโลกกำลังลดลงอย่างรวดเร็ว โดยเร็วกว่าในมหาสมุทร 2.75-9.3 เท่า

นักวิจัยจากสถาบันโพลิเทคนิคเรนส์ซเลียร์ ในนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เผยว่าระดับออกซิเจนในทะเลสาบที่สำรวจทั่วเขตอบอุ่นมาตั้งแต่ พ.ศ.2523 ได้ลดลง 5.5% ที่พื้นผิวน้ำ และ 18.6% ที่ในน้ำลึก ขณะเดียวกันในส่วนย่อยขนาดใหญ่ของทะเลสาบส่วนใหญ่ที่ปนเปื้อนสารอาหารระดับออกซิเจนบนพื้นผิวก็เพิ่มขึ้น อุณหภูมิน้ำก็อยู่ในเกณฑ์ที่เอื้อต่อการเติบโตของไซยาโนแบคทีเรียหรือสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ที่สามารถสร้างสารพิษได้เมื่อพวกมันเจริญเพิ่มจำนวนมหาศาลอย่างรวดเร็ว สิ่งต่างๆ เหล่านี้ขับเคลื่อน มาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่คุกคามความหลากหลายทางชีวภาพของ น้ำจืดและคุณภาพน้ำดื่ม ที่น่าจับตาก็คือสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อนทั้งหมดขึ้นอยู่กับออกซิเจน ซึ่งเป็นระบบสนับสนุนด้านอาหารของสัตว์น้ำ เมื่อพวกมันเริ่มสูญเสียออกซิเจน ก็มีโอกาสที่จะสูญเสียสายพันธุ์ตามมา

การวิจัยนี้ยังพิสูจน์ให้เห็นว่าปัญหาในน้ำจืดมีความรุนแรงมากขึ้น คุกคามแหล่งน้ำดื่มของมนุษย์และความสมดุลที่ละเอียดอ่อน นักวิจัยได้แต่คาดหวังว่างานวิจัยชิ้นนี้จะทำให้เกิดความเร่งด่วนมากขึ้นในการรับมือและจัดการกับผลกระทบที่เป็นอันตรายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/2111972
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 11-06-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


สวยสะดุดตา "หาดวอน" บางแสนโฉมใหม่ ปรับปรุงพร้อมเที่ยวหลังโควิด-19 คลี่คลาย


ภาพจากเฟซบุ๊กณรงค์ชัย (ตุ้ย) คุณปลื้ม

โฉมใหม่ "หาดวอน" บางแสน ชลบุรี สวยงามชวนเที่ยว หลังมีการปรับปรุงภูมิทัศน์ริมทะเล ให้มีความเป็นระเบียบ สะอาดตา พร้อมพื้นที่ทำกิจกรรมเป็นสัดส่วนมากขึ้น

เฟซบุ๊กส่วนตัวชื่อ ณรงค์ชัย (ตุ้ย) คุณปลื้ม ของนายณรงค์ชัย คุณปลื้ม นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองแสนสุข โพสต์ภาพพร้อมหาดวอนนภา บางแสน โฉมใหม่ ที่มีที่นั่งพื้นที่ใช้สอยที่สวยงามสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
/
นายณรงค์ชัย คุณปลื้ม นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองแสนสุข เผยภาพงานปรับปรุงภูมิทัศน์ ริมทะเล บางแสนล่าง (หาดวอนนภา) ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวชื่อณรงค์ชัย (ตุ้ย) คุณปลื้ม โดยพื้นที่ที่มีการปรับปรุงอยู่บริเวณชายหาดบางแสนล่าง (หาดวอนนภา) ตั้งแต่บริเวณแนวเขื่อนกันคลื่นใกล้ๆ บริเวณซอย 8 เลียบหาด บางแสนล่าง



แต่เดิมบริเวณหาดวอนนภา เป็นสถานที่ที่คนมาทำกิจกรรมกันมากมายทุกๆ วัน โดยเฉพาะช่วงกลางคืนและคืนศุกร์-เสาร์ แน่นอนว่ามีปัญหาตามมามากมายทั้งการจราจร ความแออัด ความสกปรก และเสียงดัง ทั้งจากการจุดพลุ เปิดเพลง และ การตะโกนโหวกเหวก ทำให้ ประชาชนและนักท่องเที่ยวที่ต้องการพักผ่อนและ ผู้ประกอบการโรงแรมได้รับผลกระทบมากพอควร

จึงได้มีการปรับปรุงพื้นที่ขึ้นใหม่โดยมีโจทย์ว่าจะต้องมีการออกแบบให้สวยและใช้ดีไซน์มาช่วยแก้ปัญหาต่างๆ บริเวณนั้น เช่น มีที่ทิ้งขยะที่นักท่องเที่ยวชอบทิ้งในแนวโขดหินแนวกันคลื่น, การจัดzoning ที่มีรั้วรอบขอบชิดให้มีการเปิด-ปิดพื้นที่ในบางเวลา และบางพื้นที่เปิดให้ใช้ได้ตลอด 24 ชม. รวมถึงมีการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของต้นไม้ การแบ่งพื้นที่แบบ active Zone สามารถสังสรรค์ได้ และโซนที่ต้องการความสงบ เพื่อเป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่สำหรับการออกกำลังกายด้วย เป็นต้น


https://mgronline.com/travel/detail/9640000056197

.
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 11-06-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก GREENPEACE


ไมโครพลาสติกจำนวนมหาศาลปกคลุมชายฝั่งทะเลตะวันตกของศรีลังกา ................. อันนา ริสโตวา นักวางแผนยุทธศาสตร์งานรณรงค์พลาสติก กรีนพีซสากล

ไมโครพลาสติกจำนวนมหาศาลที่ใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งปกคลุมชายฝั่งทะเลตะวันตกของศรีลังกา


ปูบนชายหาดที่ปนเปื้อนด้วยเม็ดพลาสติกที่พัดขึ้นฝั่งหลังจากเรือ MV X-Press Pearl เกิดไฟไหม้เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคมที่ผ่านมา ขณะนี้เรือจมลงใต้ทะเลนอกชายฝั่งเมืองโคลัมโบ ศรีลังกา เศษซากจากเรือที่ถูกไฟไหม้ทำให้เกิดวิกฤตมลพิษรุนแรงบนชายหาด (AP Photo/Eranga Jayawardena)


เกิดอะไรขึ้น?

ศรีลังกากำลังเผชิญกับหายนะภัยด้านสิ่งแวดล้อมครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ หลังจากเม็ดพลาสติกจำนวนมากถูกพัดขึ้นฝั่งใกล้กับเมืองหลวงที่มีชายหาดเก่าแก่ยาวหลายกิโลเมตร และคุกคามสิ่งมีชีวิตทางทะเล เม็ดพลาสติกขนาดเท่าเมล็ดถั่วเป็นชนิดที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง


เจ้าหน้าที่ของกองทัพเรือศรีลังกาเก็บเศษซากที่ถูกพัดเกยฝั่งจากเรือขนส่งสินค้า MV X-Press Pearl ที่จดทะเบียนในสิงคโปร์ ซึ่งเกิดเพลิงลุกไหม้ต่อเนื่องนาน 12 วัน นอกชายฝั่งทะเลไม่ไกลจากท่าเรือโคลัมโบของศรีลังกา เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 (Photo by Lakruwan WANNIARACHCHI / AFP) (Photo by LAKRUWAN WANNIARACHCHI/AFP via Getty Images)


ทำไมเรื่องนี้จึงสำคัญ

ทำไมไมโครพลาสติกที่ผลิตขึ้นใหม่หลายร้อยตันมีการขนส่งข้ามมหาสมุทรทั่วโลก ราวกับว่าวิกฤตมลพิษพลาสติกนั้นยังเลวร้ายไม่พอ

ในช่วงเวลากว่า 70 ปี ของการผลิตสินค้าจำนวนมาก พลาสติกได้เข้าไปอยู่ในทุกซอกทุกมุมของโลก ผลกระทบของพลาสติกที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและวิกฤตสภาพภูมิอากาศเกิดขึ้นในทุกหนทุกแห่ง

ภาพของอาสาสมัครที่ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อพยายามกำจัดไมโครพลาสติกขนาดเล็กออกจากชายหาดของศรีลังกา ทรัพยากรธรรมชาติถูกดึงออกมาเพื่อเพิ่มผลกำไรสูงสุด บริษัทเชื้อเพลิงฟอสซิลและสินค้าอุปโภคบริโภคต่างทำงานร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจแบบใช้แล้วทิ้ง ซึ่งผลกำไรจะอยู่เหนือต้นทุนของผลกระทบของชุมชน


ความคิดเห็นของกรีนพีซ

อาบิเกล อากีลา ผู้ประสานงานรณรงค์ระดับภูมิภาค กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าวว่า "บริษัทแบรนด์ใหญ่ ๆ ไม่ควรเพิ่มการผลิตพลาสติกอีกต่อไปแล้ว เพราะนั่นเป็นการทำลายสุขภาพชุมชน และความหลากหลายทางชีวภาพ ในขณะเดียวกันก็เร่งรัดให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เราเหลือเวลาไม่มากนัก บริษัทต่าง ๆ และอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลจะต้องหยุดการฟอกเขียว แล้วเปลี่ยนไปเป็นแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตนเองผลิตเสียที"


The Singapore-registered container ship MV X-Press Pearl carrying hundreds of tonnes of chemicals and plastics, sinks after burning for almost two weeks, just outside Colombo?s harbour on June 2, 2021. (Photo by ISHARA S. KODIKARA / AFP) (Photo by ISHARA S. KODIKARA/AFP via Getty Images) What needs to happen

พลาสติกไม่ได้เป็นเพียงแค่วิกฤตมลพิษในมหาสมุทรเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบทางด้านวิกฤตสภาพภูมิอากาศ สุขภาพ และความเป็นธรรมทางสังคมอีกด้วย สุขภาพของเราจะดีถ้าสุขภาพของโลกใบนี้ดีเช่นกันแบรนด์สินค้าอุปโภคบริโภคขนาดใหญ่ที่พึ่งพาพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น Coca-Cola, Nestle และ Pepsi ต้องทบทวนรูปแบบธุรกิจใหม่และยอมรับการปรับตัวสู่อนาคตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เรียกร้องให้แบรนด์ผู้ผลิตรายใหญ่อย่าง Coca-Cola หยุดสนับสนุนอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิล หยุดใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง และหันมาลงทุนในระบบเติมและนำกลับมาใช้ซ้ำอย่างยั่งยืน

ในแง่ของภัยพิบัติด้านสิ่งแวดล้อมเช่นนี้ บริษัทขนส่งควรรับผิดชอบต่อคอนเทนเนอร์ที่สูญหายทั้งหมด และผลกระทบใด ๆ ที่จะเกิดขึ้น และที่สำคัญพลาสติกควรถูกจัดประเภทเป็นวัสดุที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และควรมีการระบุรหัส IMDG (รหัสระหว่างประเทศสำหรับการขนส่งทางทะเลของสินค้าอันตรายในรูปแบบบรรจุภัณฑ์)


https://www.greenpeace.org/thailand/...ern-coastline/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 00:48


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger