เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 30-12-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,241
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 30 ธันวาคม 2566

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาว ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงรวมทั้งระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอก

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

ฝุ่นละอองในระยะนี้: ประเทศไทยตอนบนมีแนวโน้มการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันมากขึ้น เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังอ่อนลง และมีการระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 30 ธ.ค. 66 ? 1 ม.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้น กับมีหมอกในตอนเช้า โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกมีอากาศเย็น

ส่วนในช่วงวันที่ 2 ? 4 ม.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิลดลง กับมีลมแรง

ในช่วงวันที่ 30 ธ.ค. 66 ? 1 ม.ค. 67 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ แต่ยังคงทำให้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 2 ? 4 ม.ค. 67 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างเริ่มมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร


ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพที่เปลี่ยนแปลง และระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตร

ในช่วงวันที่ 29 ? 30 ธ.ค. 66 ประชาชนบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม สำหรับชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 30-12-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,241
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


นักบรรพชีวิทยาเผย ฟอสซิลกระดูกกราม 19 ล้านปีชี้วิวัฒนาการวาฬ



สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมส่วนใหญ่มีฟันอยู่ในปาก แต่วาฬบาลีนที่เป็นยักษ์แห่งมหาสมุทร มีข้อยกเว้นที่แปลกประหลาด เพราะแทนที่จะมีฟัน วาฬชนิดนี้กลับมี "บาลีน" คือชั้นเคราตินเนื้อละเอียดคล้ายขนขนาดใหญ่ ไว้ใช้กรองตัวเคยเล็กๆ ออกจากน้ำ พวกมันเป็นสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา เจ้าของสถิติคือวาฬสีน้ำเงิน หรือชื่อวิทยาศาสตร์คือ Balaenoptera musculus มีความยาวได้ถึง 30 เมตร จัดว่ายาวกว่าสนามบาสเกตบอล และตลอดประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของวาฬบาลีน นักวิจัยเผยว่าแม้วาฬบาลีนที่มีขนาดเล็กยาวราว 5 เมตร เล็กกว่าวาฬบาลีนด้วยกัน แต่ก็ยังถือว่ามีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับสัตว์อื่นๆ ส่วนใหญ่

เมื่อเร็วๆนี้ มีรายงานจากนักบรรพชีวิทยากลุ่มหนึ่งเผยแพร่ในวารสารของราชสมาคมกรุงลอนดอนฉบับบี ด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ นำเสนอการวิเคราะห์ซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลส่วนปลายของขากรรไกรล่างของวาฬบาลีนอายุ 19 ล้านปี ที่พบริมฝั่งแม่น้ำเมอร์เรย์ ในรัฐเซาท์ ออสเตรเลีย ประเทศออสเตรเลียเมื่อกว่า 100 ปีก่อน ได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจ โดยคาดว่าฟอสซิลนี้จะเป็นของวาฬบาลีนที่ขนาดยาวประมาณ 9 เมตร ทำให้มันกลายเป็นเจ้าของสถิติใหม่ในช่วงเวลา 19 ล้านปีก่อน

สิ่งสำคัญที่สุดของการพบฟอสซิลนี้จากดินแดนทางซีกโลกใต้ แสดงให้เห็นว่าอย่างน้อยทางตอนใต้ของโลก วาฬก็มีขนาดใหญ่ขึ้นเร็วกว่าที่ทฤษฎีที่นำเสนอก่อนหน้าไว้มาก เพราะสถิติเดิมนั้นระบุว่าวาฬที่วิวัฒนาการในยุคแรกๆ มีความยาวเพียง 6 เมตรเท่านั้น นอกจากนี้ การที่วาฬบาลีนมีลำตัวขนาดใหญ่ทำให้ต้องใช้พลังงานมหาศาล เมื่อตายไปวาฬเหล่านี้จะให้สารอาหารมากมายแก่ระบบนิเวศใต้ท้องทะเลลึก.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/2751285

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 30-12-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,241
Default

ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ


'ขั้วโลกเหนือ' วิกฤติ! ร้อนสุดเป็นประวัติการณ์ เจอภัยพิบัติรอบด้าน ................. โดย กฤตพล สุธีภัทรกุล



เผยข้อมูลสุดช็อก "ขั้วโลกเหนือ" เจออากาศเปลี่ยนแปลงสุดขั้ว ทั้งหน้าร้อนร้อนที่สุดตั้งแต่เคยมีมา ไฟป่าครั้งใหญ่ น้ำท่วมสูง แถมน้ำแข็งละลายเกิดพื้นที่สีเขียวที่ไม่ควรจะมีในอาร์กติก กระทบวงจรชีวิต "ปลาแซลมอน"

ฤดูร้อนในปี 2023 เป็นฤดูร้อนที่ร้อนที่สุดของขั้วโลกเหนือ และเป็นปีที่ร้อนที่สุดเป็นอันดับที่ 6 นับตั้งแต่มีการบันทึกมาตั้งแต่ปี 1900 และอาร์กติกกำลังอุ่นขึ้นเร็วกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกเกือบ 4 เท่า ทำให้เกิดภัยพิบัติรุนแรงทั่วทั้งภูมิภาค รวมถึงน้ำท่วมในรัฐอะแลสกา และไฟป่าครั้งรุนแรงที่สุดในแคนาดา

องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ หรือ โนอา (NOAA) ระบุว่า ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจาก "การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" ซึ่งมีปัจจัยหลักมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลของมนุษย์ โดยนักวิจัยของโนอากล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอาร์กติกเป็นตัวอย่างแรกที่จะเกิดขึ้น เมื่อโลกอุ่นขึ้น

รายงานของโนอาระบุว่า โดยเมื่อต้นปี 2023 ทะเลทางตอนเหนือของนอร์เวย์และรัสเซียสูงขึ้นจนแตะ 5 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีในช่วงปี 1991-2020 ขณะที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของแคนาดาก็ร้อนขึ้น 5 องศาเซลเซียสเช่นเดียวกัน

"ตอนนี้สถานการณ์ในอาร์กติกมีความเกี่ยวข้องกับเรามากขึ้นกว่าในอดีตมาก เพราะสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในขั้วโลกเหนือจะเกิดขึ้นกับพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ภายในไม่กี่ปีข้างหน้า" ริค สปินราด ผู้บริหาร NOAA กล่าว


แผ่นน้ำแข็งอาร์กติกละลายต่อเนื่อง

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในแถบอาร์กติกไม่เพียงจะบอกใบ้ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นอนาคตเท่านั้น เนื่องจากสิ่งเหล่านี้ส่งผลโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศทั่วโลก ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ไปจนถึงรูปแบบสภาพอากาศแบบใหม่ ไปจนถึงการอพยพของสัตว์ป่าที่เปลี่ยนแปลงไป ดังที่สปินราดกล่าวไว้ "สิ่งที่เกิดขึ้นในอาร์กติกจะส่งผลกระทบไปทั่วโลก"

ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ ในปี 2023 แผ่นน้ำแข็งในกรีนแลนด์ละลายไปมากกว่า 150,000 ล้านตัน แม้จะน้อยกว่าค่าเฉลี่ยล่าสุด เพราะหิมะตกมากกว่าปรกติ แต่การละลายของแผ่นน้ำแข็งที่เป็นสาเหตุสำคัญอันดับ 2 ที่ทำให้น้ำทะเลทั่วโลกสูงขึ้น (ส่วนสาเหตุอันดับ 1 คือ การขยายตัวของน้ำเมื่ออุ่นขึ้น)

นอกจากนี้ แผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์กำลังสูญเสียมวลของตัวเอง จนไม่สามารถรักษาสมดุลทำให้หิมะที่ตกใหม่ควบแน่นเป็นแผ่นน้ำแข็งที่แข็งแรงเหมือนเดิม ข้อมูลดาวเทียมชี้ให้เห็นว่าปริมาณน้ำแข็งในทะเลในปีนี้นั้นต่ำสุดเป็นอันดับ 6 นับตั้งแต่เริ่มบันทึกในปี 1979

"ถึงน้ำแข็งจะละลายน้อยกว่าหลายปีที่ผ่านมา เพราะหิมะตกหนัก ไม่ได้เป็นเพราะอากาศเย็น ปีนี้อากาศอุ่นกว่าที่เคยมาก" ริก โธแมน ผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพอากาศอาร์กติกจากมหาวิทยาลัยอะแลสกาแฟร์แบงค์ และหัวหน้าบรรณาธิการของรายงานฉบับนี้ กล่าวในรายงานประจำปี


ทุ่งหญ้าที่ไม่ควรมีอยู่ในอาร์กติก

รายงานของโนอายังเผยข้อมูลชวนช็อกว่า พบพื้นที่สีเขียวจำนวนมากในเขตอาร์กติก เป็นผลมาจากอุณหภูมิที่อุ่นขึ้น ปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้น และการละลายของชั้นดินเยือกแข็งถาวร (Permafrost) ส่งผลให้พุ่มไม้และต้นไม้เข้าปกคลุมทุ่งหญ้าและทุ่งทุนดรา

สำหรับบริเวณที่พบพื้นที่สีเขียวในอาร์กติกมากที่สุดในปีนี้ คือ ทุ่งทุนดราในอเมริกาเหนือ ส่วนแถบอาร์กติกยูเรเชียนยังคงมีน้ำแข็งปกคลุมมากกว่า นอกจากนี้ในปีนี้ยังถือว่าเป็นปีที่มีการพ้นพื้นที่สีเขียวมากที่สุดเป็นอันดับ 3 นับตั้งแต่มีการศึกษาเก็บข้อมูลมา 24 ปี

สภาพภูมิประเทศทุ่งหญ้าเขียวขจีแบบนี้ที่ไม่ควรมีอยู่ในอาร์กติก เพราะจะยิ่งเร่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมากที่สะสมอยู่ในชั้นดินเยือกแข็งถาวรออกมา ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนยิ่งขึ้น

ขณะเดียวกันในพื้นที่ทุ่งหญ้าทุนดราแห้งแล้งกลับเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดไฟป่า ในปีนี้แคนาดาเผชิญกับฤดูไฟป่าที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ในปี 2566 เกิดไฟป่านับครั้งไม่ถ้วนตั้งแต่บริเวณเขตอาร์กติกไปจนถึงชายแดนสหรัฐทั้งทางตะวันออกและตะวันตก พื้นที่ป่า 25 ล้านไร่ถูกเผาวอด ประชาชนหลายหมื่นคนต้องอพยพถิ่นฐาน และควันไฟก็สร้างมลพิษลงไปไกลจนถึงทางตอนใต้ของสหรัฐ


วิกฤติปลาแซลมอน

ปลาแซลมอนเป็นสัตว์สำคัญในระบบนิเวศ เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมหลายแห่งของภูมิภาคอาร์กติก แต่ตอนนี้แซลมอนหลายสายพันธุ์กลับกำลังสร้างปัญหาในพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ทางตะวันตกของรัฐอะแลสกาประสบปัญหาปลาแซลมอนสายพันธุ์ชินูกและชุมมีจำนวนต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ทำให้ต้องปิดเขตประมงในแม่น้ำยูคอนและแม่น้ำสาขาอื่นๆ ในทะเลแบริ่ง

แต่ขณะเดียวกันปลาแซลมอนซ็อกอายในอ่าวบริสตอลกลับมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จนทำให้ราคาตกต่ำ ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าทำไมปลาแซลมอนแต่ละสายพันธุ์ถึงได้มีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแตกต่างออกไป แต่นักวิจัยกล่าวว่า อาจเชื่อมโยงกับสภาพแวดที่เปลี่ยนแปลงในมหาสมุทรและระบบนิเวศน้ำจืด ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหลักของปลาแซลมอน

อุณหภูมิที่สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมทั่วอาร์กติก โนอาย้ำเตือนว่าถึงเวลาแล้วที่นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย รัฐบาล คนในพื้นที่และชุมชนท้องถิ่น จะต้องร่วมกันทำงานเพื่อสร้างแบบจำลองความเปลี่ยนแปลงในระยะยาวที่เกิดขึ้นบริเวณแถบขั้วโลกเหนือ

ขณะเดียวกันแต่ละประเทศและประชาคมโลกจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้ได้มากที่สุด

ที่มา: NOAA, NPR, Reuters, The New York Times


https://www.bangkokbiznews.com/environment/1105986

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 11:39


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger