เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 21-03-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม 2563

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไป และมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกัน และระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 21 - 23 มี.ค. 63 ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง สำหรับภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น

ส่วนในช่วงวันที่ 24? 26 มี.ค. 63 บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไปและมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก สำหรับภาคใต้มีฝนน้อย


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 21-23 มี.ค. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้นไว้ด้วย



*********************************************************************************************************************************************************



ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 มีนาคม 2563)" ฉบับที่ 7 ลงวันที่ 21 มีนาคม 2563

ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้

วันที่ 21 มีนาคม 2563

ภาคเหนือ: จังหวัดอุตรดิตถ์ พิษณุโลก สุโขทัย พิจิตร กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ และตาก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา จันทบุรี และตราด

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา


ในช่วงวันที่ 22-23 มีนาคม 2563

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคตะวันออก: จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ทั้งนี้เนื่องจากหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อน ในขณะที่มีคลื่นอากาศในกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนผ่านภาคเหนือเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคกลาง ส่งผลทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 21-03-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก GREENPEACE


เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล แผนการเพื่อปกป้องมหาสมุทรตลอดไป ................ โดย Malachi Chadwick

จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัญหามลพิษพลาสติก ไปจนถึงการทำเหมืองแร่ และการทำประมงเกิดขนาด สิ่งเหล่านี้คือภัยคุกคามที่มหาสมุทรต้องเผชิญเพิ่มมากขึ้นทุกวัน

แต่ตอนนี้ เรามีโอกาสช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับมหาสมุทรแล้ว นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำจากทั่วโลกร่วมกับกรีนพีซ ได้จัดทำแผนการปกป้องมหาสมุทรของเราขึ้น และดำเนินการผลักดันเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล ที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ทั่วทุกมุมโลก โดยจะมีการวางอาณาเขตหลายล้านตารางกิโลเมตร เพื่อจำกัดการทำประมงแบบทำลายล้าง การทำเหมืองแร่ในทะเลและอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่ทำลายระบบนิเวศในมหาสมุทร

หากแผนการที่เราตั้งใจทำขึ้นนี้นับเป็นความพยายามครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้งของประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ที่จะช่วยปกป้องโลกใบนี้ และแม้ว่าเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลนี้อาจจะไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลกที่กำลังป่วยหนักขณะนี้ แต่การสร้างความเปลี่ยนแปลงในทางบวกเพียงเล็กน้อย ก็สามารถช่วยประสานความเจ็บปวดของโลกและลดการสูญเสียทรัพยากรที่มีค่าได้อย่างประเมินมูลค่าไม่ได้


เนื้อหาโดยสรุป

- มหาสมุทรนั้นเต็มไปด้วยความพิเศษ ที่เชื่อมโยงสรรพชีวิต เพราะมหาสมุทรนั้นเปรียบเสมือนบ้านหลังใหญ่ของสิ่งมีชีวิตหลากสายพันธุ์ ที่มีความหลากหลายมากกว่าสัตว์ป่าในป่าฝนเขตร้อนเสียอีก

- ออกซิเจนกว่าครึ่งบนโลกนั้นมาจากมหาสมุทร และเป็นแหล่งอาหารให้กับผู้คนอีกกว่าพันล้านคน เพราะมหาสมุทรสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมาก จึงทำให้มหาสมุทรเป็นหนึ่งในตัวช่วยที่ดีที่สุดในการชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

- แผนการช่วยเหลือมหาสมุทรจะช่วยสร้างโครงข่ายพื้นที่คุ้มครอง หรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์น้ำในมหาสมุทรขนาดใหญ่ ซึ่งในบริเวณนี้มนุษย์จะไม่อนุญาตให้ทำการประมง ทำเหมืองแร่ใต้ทะเล และการทำอุตสาหกรรมอื่นๆ

- ร่วมแสดงพลังในการผลักดัน เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในมหาสมุทรโลก เพื่อฟื้นฟูมหาสมุทรให้อุดมสมบูรณ์


แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าแผนการนี้จะได้ผลจริง? และเพราะอะไรมันจึงสำคัญ?


Brown meagre เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ปลาที่สวยที่สุดในบริเวณปหล่งปะการังในทะเลเมดิเตอเรเนียน ? Egidio Trainito / Greenpeace

อย่างแรกเลยทำไมเราต้องปกป้องมหาสมุทร? ไกลออกไปจากชายฝั่งหลายร้อยกิโลเมตร มหาสมุทรที่กว้างใหญ่นี้หากดูเผิน ๆ แล้วอาจดูห่างไกลจากวิถีชีวิตประจำวันของมนุษย์เรา

แต่ความจริงแล้ว มหาสมุทรนั้นเต็มไปด้วยความพิเศษ ที่เชื่อมโยงสรรพชีวิต เพราะมหาสมุทรนั้นเปรียบเสมือนบ้านหลังใหญ่ของสิ่งมีชีวิตหลากสายพันธุ์ ที่มีความหลากหลายมากกว่าสัตว์ป่าในป่าฝนเขตร้อนเสียอีก นอกจากนี้ ลึกลงไปใต้มหาสมุทรยังมีภูเขาใต้ทะเลที่สูงที่สุดและยาวที่สุดในโลก ภูเขาเหล่านี้มีร่องลึกคล้ายเหวที่ลึกพอ ๆ กับความสูงของเทือกเขาเอเวอร์เรส ที่นี่เองที่เปรียบเสมือนเส้นทางสำหรับการอพยพย้ายถิ่นฐานของฝูงวาฬและเต่าทะเล

การปกป้องสิ่งมีชีวิตที่น่าอัศจรรย์เหล่านี้คือสิ่งที่เราควรทำ ซึ่งไม่ใช่การปกป้องที่เพียงคำกล่าวอ้างแต่คือการปกป้องทุกชีวิต

ออกซิเจนกว่าครึ่งบนโลกนั้นมาจากมหาสมุทร และเป็นแหล่งอาหารให้กับผู้คนอีกกว่าพันล้านคน เพราะมหาสมุทรสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมาก จึงทำให้มหาสมุทรเป็นหนึ่งในตัวช่วยที่ดีที่สุดในการชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


แผนการนี้มีรายละเอียดอย่างไร

แผนการช่วยเหลือมหาสมุทรจะช่วยสร้างโครงข่ายพื้นที่คุ้มครอง หรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์น้ำในมหาสมุทรขนาดใหญ่ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่อย่างน้อย 30% ของมหาสมุทรทั้งโลกภายในปี พ.ศ. 2573 ซึ่งในบริเวณนี้มนุษย์จะไม่อนุญาตให้ทำการประมง ทำเหมืองแร่ใต้ทะเล และการทำอุตสาหกรรมอื่นๆ หากฝ่าฝืนจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย


แผ่นพับข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรและสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทร ตั้งแต่ขั้วโลกเหนือไปจนถึงขั้วโลกใต้ ที่เรือเอสเพอรันซาของกรีนพีซออกสำรวจ ? Anastasia Yates / Greenpeace

เมื่อเราเห็นภาพรวมการเปลี่ยนแปลงดังที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ก็จะช่วยให้เราเห็นภาพและเข้าใจว่าเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลนี้จะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นได้อย่างไร หากเราดำเนินการตามสิ่งที่เราวางแผนเอาไว้อย่างเต็มรูปแบบแล้ว ก็จะทำให้ทรัพยากรในมหาสมุทรอุดมสมบูรณ์ขึ้น และสามารถรับมือกับภัยคุกคามระดับโลกอย่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ ปัญหามลพิษพลาสติกได้


มีวิธีคัดเลือกพื้นที่อย่างไร ?

ด้วยเหตุนี้ ทีมนักวิทยาศาสตร์จึงใช้ข้อมูลประกอบ อาทิ แหล่งที่อยู่อาศัย ชนิดพันธุ์สิ่งมีชีวิต รูปแบบการทำประมง และรายละเอียดอื่น ๆ เช่น มีภูเขาใต้ทะเลและร่องน้ำลึกใต้ทะเลหรือไม่ เพื่อสร้างทางเลือกหลากหลายรูปแบบ สำหรับเป็นแนวทางในการกำหนดเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล พวกเขายังนำข้อมูลผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและข้อมูลการวิเคราะห์วิธีการปกป้องมาใช้ประกอบการวิเคราะห์อีกด้วย


เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลแตกต่างกับเขตคุ้มครองทั่วไปอย่างไร?

หลายคนอาจเคยได้ยินเกี่ยวกับเขตคุ้มครองระบบนิเวศมหาสมุทรที่มีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเขตคุ้มครองในน่านน้ำของประเทศต่าง ๆ หรือในพื้นที่อนุรักษ์พิเศษ เช่น ในทวีปแอนตาร์กติก

ทว่า เป็นเรื่องน่าเศร้าที่เขตคุ้มครองเหล่านั้นส่วนใหญ่มักเป็นเพียง "นโยบายบนกระดาษ" เพราะกฎเกณฑ์ที่ร่างขึ้นไม่สามารถปกป้องคุ้มครองมหาสมุทรบริเวณได้ในทางปฏิบัติ เพราะขาดระเบียบข้อบังคับและบทลงโทษที่จริงจัง มีเขตคุ้มครองไม่กี่ที่ซึ่งได้รับการออกแบบมาอย่างเป็นระบบ และสามารถปกป้องมหาสมุทรได้จริง


ภาพโลมาดัสกี้ (Dusky dolphins ) ในทะเล Argentie ที่ถูกถ่ายได้ระหว่างการสำรวจมหาสมุทรในการรณรงค์ปกป้องมหาสมุทรโลก ? Martin Katz / Greenpeace

ทั้งนี้ เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลที่เราเสนอนั้นมีข้อแตกต่างจากเขตคุ้มครองแบบเดิมอยู่ 2 ข้อ ข้อแรกคือเรามั่นใจว่า แผนของเราจะสามารถคุ้มครองสรรพชีวิตได้อย่างเป็นรูปธรรมจริงๆ เมื่อได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างเต็มที่ทั้งในด้านการใช้กฎหมายและในด้านเงินทุน ข้อที่ 2 คือ เรามีแผนที่จะดูแลและปกป้องสิ่งมีชีวิตทางทะเลอย่างเป็นระบบและชัดเจน


แล้วเราต้องทำอย่างไรเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลแบบนี้จึงจะเกิดขึ้น?

ในตอนนี้ เรายังไม่สามารถประกาศเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในน่านน้ำสากลได้ นอกเสียจากว่าผู้นำจากหลายประเทศจะร่วมลงนามยินยอมในสนธิสัญญาทะเลหลวง หากเป็นเช่นนั้น เราจะสามารถผลักดันให้เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลที่ใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นได้จริง

ปัจจุบันมีการเจรจาในประเด็นสนธิสัญญาทะเลหลวงซึ่งจัดขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติ (Unnited Nation หากเหล่าผู้นำโลกลงนามในสนธิสัญญาทะเลหลวงร่วมกัน ก็จะเป็นใบเบิกทางให้เราผลักดันเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลทั่วโลกให้เกิดขึ้นจริง สนธิสัญญาทะเลหลวงฉบับนี้จะช่วยทำให้องค์การสหประชาชาติร่างแผนการสร้างเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลโดยใช้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ และจะได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างเต็มที่ที่จะจำกัดอุตสาหกรรมทุกประเภทที่ทำลายระบบนิเวศในท้องทะเลและมหาสมุทร


อะไรคือความท้าทายในการทำสนธิสัญญาทะเลหลวง ?

ความท้าทายของสนธิสัญญาทะเลหลวง หลักๆ ก็คือกลุ่มอุตสาหกรรม ที่ลงทุนในมหาสมุทร เช่น อุตสาหกรรมประมงแบบทำลายล้าง หรือมีแผนทำเหมืองแร่ในทะเล บริษัทเหล่านี้ต่างก็คงพยายามอย่างมากที่จะรักษาผลประโยชน์ทางธุรกิจของตนเองไว้ รวมทั้งรัฐบาลบางประเทศก็ได้รับผลประโยชน์จากกลุ่มดังกล่าว ซึ่งอาจปฏิเสธที่จะการลงนามในสนธิสัญญา


นักกิจกรรมกรีนพีซ ชูป้าย "Protect the Oceans" หน้าเรือขนถ่ายฝูง "เคย" จากเรือลำเล็กไปยังเรือแม่ บริเวณเกาะ South Orkney ในแอนตาร์กติก ? Andrew McConnell / Greenpeace

เราสามารถช่วยกันสะกัดอุปสรรคเหล่านั้น เหล่าผู้นำทางการเมืองจำเป็นต้องเห็นพลังการเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องมหาสมุทรของคนทั้งในประเทศและทั่วโลกที่ออกมาเรียกร้องสนับสนุนการลงนามในสนธิสัญญาทะเลหลวง

ร่วมแสดงพลังในการผลักดัน เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในมหาสมุทรโลก เพื่อฟื้นฟูมหาสมุทรให้อุดมสมบูรณ์ และจำกัดการเข้าถึงของอุตสาหกรรมที่ทำลายระบบนิเวศในทะเลและมหาสมุทรโลกร่วมกัน


https://www.greenpeace.org/thailand/...worlds-oceans/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 19:43


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger