เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 07-05-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม 2566

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ประเทศไทยมีอากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่บริเวณประเทศไทยตอนบน ขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพ และระวังโรคลมแดดเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด ทั้งนี้เนื่องจากความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่อาจจะเกิดขึ้นไว้ด้วย

สำหรับลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น ส่วนบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

อนึ่ง บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศจีนตอนใต้แล้ว คาดว่าจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ในช่วงวันที่ 8-10 พ.ค. 2566 ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ซึ่งจะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคอื่นๆจะได้รับผลกระทบในระยะถัดไป

ฝุ่นละอองในระยะนี้ : ประเทศไทยมีการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์น้อย เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีการระบายอากาศดี เว้นแต่บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนที่มีการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงมาก เนื่องจากมีฝนน้อยและการระบายอากาศไม่ดี


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 28-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 6 - 7 พ.ค. 66 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ประกอบกับลมใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่งเกิดขึ้นได้

ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 10 พ.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น ซึ่งมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยจะเริ่มมีผลกระทบบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคอื่นๆ จะได้รับผลกระทบในระยะถัดไป

หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 11 - 12 พ.ค. 66 ลมตะวันตกเฉียงใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้บริเวณด้านตะวันตกของประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น

ในช่วงวันที่ 6 - 8 พ.ค. 66 ลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 9 - 12 พ.ค. 66 ลมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2 ? 4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 8 ? 12 พ.ค. 66 หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่าง คาดว่าจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อน และจะเข้าปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนกลางในระยะถัดไป


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 6 ? 7 พ.ค. 66 ขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพ และระวังโรคลมแดดเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 10 พ.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ไม่ควรสวมใส่โลหะ และหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ส่วนเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง ตลอดช่วง และในช่วงวันที่ 9 ? 12 พ.ค. 66 ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง ไว้ด้วย



******************************************************************************************************



พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 1 (130/2566) (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 8-10 พฤษภาคม 2566)


ในช่วงวันที่ 8-10 พ.ค. 2566 ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ไม่ควรสวมใส่โลหะ และหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ส่วนเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย

ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ส่งผลให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้นในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด

อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลางมีแนวโน้มทวีกำลังแรงขึ้น คาดว่าจะเคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศเวียดนามตอนกลางในวันที่ 10-11 พ.ค. 66 และจะอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนฟ้าคะนองต่อเนื่อง

ในช่วงวันที่ 8-12 พ.ค. 66 หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมอ่าวเบงกอล มีแนวโน้มทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อน โดยคาดว่าจะเคลื่อนเข้าปกคลุมอ่าวเบงกอลตอนกลาง ทำให้ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้มีกำลังแรง และภาคใต้มีฝนเพิ่มมากขึ้นโดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งในช่วงเวลาดังกล่าว









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 07-05-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default

ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ


ประมงไทย คว้าคะแนนสูงสุด 98 %จาก IOTC ประเมินมาตรการอนุรักษ์และบริหารจัดการ

ประมงไทย โชว์ผลงานสุดเจ๋ง คว้าคะแนนประเมินการปฏิบัติตามมติมาตรการอนุรักษ์และบริหารจัดการของ IOTC สูงสุดถึง 98% คาด ไทยจะสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดได้อย่างสมบูรณ์ 100 % ภายในปี 2567 นี้



นางเพราลัย นุชหมอน รักษาการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการประมง เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากการที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย Indian Ocean Tuna Commission (IOTC) ประจำปี ค.ศ. 2023 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในระหว่างวันที่ 30 เมษายน ? 12 พฤษภาคม 2566 ณ สาธารณรัฐมอริเชียส

ซึ่งในที่ประชุม The Compliance Committee (CoC) ระหว่างวันที่ 30 เมษายน ถึง 2 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ได้มีการหารือร่วมกันพิจารณาเกี่ยวกับผลการปฏิบัติตามของประเทศภาคีสมาชิก IOTC ภายใต้กรอบคณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Tuna Commission ; IOTC)

โดยโอกาสนี้ ประเทศไทยได้นำเสนอผลการปฏิบัติตามมติมาตรการอนุรักษ์และบริหารจัดการของ IOTC ซึ่งมีเรือในบัญชีที่ได้รับอนุญาตให้ทำกิจกรรมประมงในพื้นที่ IOTC จำนวนทั้งสิ้น 8 ลำ และประเทศไทยสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมดได้จำนวน 65 ข้อ จากจำนวนข้อกำหนดทั้งสิ้น 66 ข้อ และได้จัดส่งรายงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดครบตามระยะเวลาที่กำหนด

โดยถือเป็นคะแนนสูงสุดถึง 98% ซึ่งสูงกว่ากลุ่มประเทศสมาชิกที่มีเรือในบัญชีที่ได้รับอนุญาตฯ และกลุ่มประเทศสมาชิกรัฐชายฝั่งของ IOTC ซึ่งประกอบด้วย 29 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย บังกลาเทศ จีน คอโมรอส เอริเทรีย สหภาพยุโรป ฝรั่งเศส (OT) อินเดีย อินโดนีเซีย อิหร่าน ญี่ปุ่น เคนยา เกาหลีใต้ มาดากัสการ์ มาเลเซีย มัลดีฟส์ มอริเชียส โมซัมบิก โอมาน ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ เซเชลส์ โซมาเลีย ศรีลังกา แอฟริกาใต้ ซูดาน แทนซาเนีย สหราชอาณาจักร และเยเมน

ส่วนข้อมติฯ ที่ประเทศไทยสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดได้บางส่วนมีจำนวนเพียง 1 ข้อ ได้แก่ ประเด็นการวัดขนาดความยาวปลาทูน่าและชนิดพันธุ์คล้ายปลาทูน่าบริเวณทะเลอันดามัน ให้ได้ตามเกณฑ์ 1 ตัว/ตัน/ชนิดสัตว์น้ำ

รักษาการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการประมง กล่าวในตอนท้ายว่า จากกรณีที่ประเทศไทยยังไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าวได้ทั้งหมด เนื่องจากยังอยู่ในระหว่างการปรับปรุงระบบการจัดเก็บข้อมูลภายในหน่วยงานกรมประมงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเชื่อมั่นว่าจะสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างสมบูรณ์ได้ภายในปี 2567 อย่างแน่นอน


https://www.bangkokbiznews.com/environment/1066393

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 07-05-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default

ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS


ปะการัง "เกาะตาชัย" เริ่มฟอกขาว 5% จับตาน้ำทะเลอุ่นขึ้น

กรมอุทยานฯ สำรวจปะการัง "เกาะตาชัย" พบเกิดการฟอกขาว 5% ส่วนอีก 20% พบซีดจาง ส่วนใหญ่เป็นปะการังโขด ปะการังเขากวาง ปะการังลายดอกไม้ แต่ยังต้องเฝ้าระวังต่อเนื่อง พบอุณหภูมิน้ำทะเล 30 องศาฯ



วันนี้ (2 พ.ค.2566) นายไพศาล บุญสวัสดิ์ หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 2 จ.ภูเก็ต กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวว่า เมื่อวันที่ 1-2 พ.ค.ที่ผ่านมา ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 2 ร่วมกับชุดปฏิบัติการดำน้ำอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน สำรวจติดตามการฟอกขาวของปะการังบริเวณพื้นที่เกาะตาชัยและเกาะบอน โดยใช้วิธีสำรวจแบบ VDO Transect

จากผลการสำรวจเบื้องต้นพบว่า ปะการังในที่ตื้น ความลึกระหว่าง 2-8 เมตร มีสีซีดจาง ประมาณ 20% เกิดขึ้นในกลุ่มปะการังโขด และปะการังเขากวาง ปะการังลายดอกไม้ และปะการังหนวดดอกไม้ทะเล ปะการังเกิดการฟอกขาวแบบสมบูรณ์เพียง 5% พบร่องรอยการตายจากการฟอกขาวเล็กน้อย

"พบการฟอกขาวของปะการังในน้ำตื้นประมาณ 5% ส่วนในที่ลึกมากกว่า 5 เมตร ยังคงมีสภาพปกติ"

นอกจากนี้ได้ติดตั้งเครื่องวัดอุณหภูมิน้ำทะเลในแนวปะการรังเพื่อติดตามสถาน การณ์ ส่วนการติดตามสถานการณ์ปะการังฟอกขาว บริเวณเกาะบอน ยังไม่พบสัญญาณของการฟอกขาว ปะการังอยู่ในสภาพปกติ อุณหภูมิน้ำทะเลในที่ตื้น 30 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ยังคงต้องมีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง โดยได้ติดตั้งเครื่องวัดอุณหภูมิน้ำทะเล (data logger) ในแนวปะการรังเพื่อติดตามสถานการณ์ต่อไป


https://www.thaipbs.or.th/news/content/327295

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 21:45


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger