เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 08-05-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันจันทร์ที่ 8 พฤษภาคม 2566

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ไม่ควรสวมใส่โลหะ และหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ส่วนเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตร และอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย

ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและทะเลจีนใต้แล้ว คาดว่าจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในวันนี้ (8 พ.ค. 66) ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด

อนึ่ง ช่วงวันที่ 8-14 พ.ค. 66 ลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่าง ทำให้บริเวณภาคใต้จะมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น ส่วนบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 29-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 8 - 10 พ.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่

ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 13 พ.ค. 66 ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

สำหรับภาคใต้ในช่วงวันที่ 7 - 8 พ.ค. 66 ลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ส่วนในช่วงวันที่ 9 - 13 พ.ค. 66 ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2 ? 4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 8 ? 13 พ.ค. 66 หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่าง มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อน คาดว่าจะเคลื่อนผ่านอ่าวเบงกอลตอนกลาง และทะเลอันดามันตอนบน หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 11 ? 13 พ.ค. 66 จะเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศเมียนมา


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 8 - 10 พ.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ไม่ควรสวมใส่โลหะ และหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ส่วนเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง ส่วนในช่วงวันที่ 11 ? 13 พ.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 9 - 13 พ.ค. 66



******************************************************************************************************



ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 4 (133/2566) (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 8 - 10 พฤษภาคม 2566)

ในช่วงวันที่ 8 - 10 พ.ค. 2566 ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ไม่ควรสวมใส่โลหะ และหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ส่วนเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย

ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและทะเลจีนใต้แล้ว คาดว่าจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในวันนี้ (8 พ.ค. 66) ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด

โดยจังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้


วันที่ 8 พฤษภาคม 2566

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด


วันที่ 9 พฤษภาคม 2566

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด


วันที่ 10 พฤษภาคม 2566

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง ตาก และกำแพงเพชร

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดอุทัยธานี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 8 - 14 พ.ค. 66 หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่าง มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อน คาดว่าจะเคลื่อนผ่านอ่าวเบงกอลตอนกลาง และทะเลอันดามันตอนบน หลังจากนั้นจะเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศเมียนมา ส่งผลทำให้ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากทะเลอันดามันเข้ามาปกคลุมประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ในช่วงวันที่ 11 ? 14 พ.ค. 66 ประเทศไทยจะมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 08-05-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์


โคลอมเบียทลายประมงเถื่อน ยึดปลากว่า 300 ตันในรอบ 10 ปี

โคลอมเบียยึดปลาฉลาม ปลากระเบน และปลาสายพันธุ์อื่นๆ ที่ถูกจับอย่างผิดกฎหมายมากกว่า 334 ตัน ระหว่างปี 2555-2565


เครดิตภาพ : AFP.

สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากกรุงโบโกตา ประเทศโคลอมเบีย เมื่อวันที่ 7 พ.ค. ว่า กระทรวงกลาโหมโคลอมเบีย กล่าวในแถลงการณ์ว่า การยึดปลาส่วนใหญ่เกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิก บริเวณรอบเกาะมัลเปโล และเกาะกอร์โกนาอันห่างไกล ซึ่งทั้งสองแห่งเป็นอุทยานธรรมชาติที่ได้รับการคุ้มครอง เนื่องจากความหลากหลายทางชีวภาพถูกคุกคามอย่างหนัก

น.อ.จาเวียร์ ออกุสโต เบอร์มูเดซ ของกองทัพเรือโคลอมเบีย กล่าวว่า ภูมิภาคแปซิฟิกเป็นแหล่ง "อาชญากรรมสิ่งแวดล้อมหลายด้าน" ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับชาวประมงผิดกฎหมาย และผู้ลักลอบค้าท่อนไม้ อีกทั้งพืชและสัตว์นอกชายฝั่งแคริบเบียน ก็ถูกคุกคามอย่างมากเช่นกัน

อีกทั้งในแม่น้ำสายต่างๆ เช่น แม่น้ำโอริโนโก ที่พาดผ่านโคลอมเบีย กับ เวเนซุเอลา โลมาสีชมพูที่อาศัยอยู่ยังตกเป็นเหยื่อของการประมงผิดกฎหมายด้วย

ภาพถ่ายซึ่งเผยแพร่โดยกระทรวงกลาโหมโคลอมเบีย แสดงให้เห็นปลาหัวขาดหลายสิบตัวที่ทางการเก็บรวบรวมเป็นประจำ

ทั้งนี้ กฎหมายของโคลอมเบียกำหนดโทษจำคุกสูงสุด 9 ปี สำหรับผู้ที่ทำประมงอย่างผิดกฎหมาย

ข้อมูลจากสถาบันฮัมโบลต์ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงสิ่งแวดล้อมโคลอมเบีย ระบุว่า ในโคลอมเบีย ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศมีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดในโลก มีสัตว์อาศัยอยู่ในน้ำจืดมากกว่า 1,400 สายพันธุ์ และอาศัยอยู่ในทะเลอย่างน้อย 2,000 สายพันธุ์.


https://www.dailynews.co.th/news/2302174/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 08-05-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ


ฉลามวาฬยักษ์ใหญ่ใจดีโผล่ทักทายนักท่องเที่ยวในอ่าวมาหยา จ.กระบี่



กระบี่ -นักท่องเที่ยวต่างชาติสุดตื่นเต้น ฉลาวาฬยักษ์ใหญ่ใจดีโผล่หน้าอ่าวมาหยา ว่ายตามเรือหางยาวมองเห็นชัดเจนนานกว่า 10 นาที คาดทะเลอ่าวมาหยามีความอุดมสมบูรณ์หลังปิดอ่าวฟื้นฟูทรัพยากร

ขณะนี้มีการแชร์ภาพฉลามวาฬ ขนาดใหญ่ความยาวกว่า 5 เมตร กำลังว่ายตามเรือหางยาวที่พานักท่องเที่ยวมุ่งหน้าไปหน้าอ่าวมาหยา เขตอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ต.อ่าวนาง อ.เมือง จ.กระบี่ สร้างความตื่นเต้นแก่นักท่องเที่ยวที่อยู่บนเรือลำดังกล่าวเป็นอย่างมาก เนื่องจากฉลามวาฬ ตัวดังกล่าวได้ว่ายมาใกล้เรือ ทำให้มองเห็นลำตัวได้อย่างชัดเจน นักท่องเที่ยวส่งเรียงร้องด้วยความดีใจ พร้อมบันทึกภาพและคลิปไว้เป็นที่ระลึก ก่อนแชร์ในโลกออนไลน์

นายวินิจ โต๊ะหลาง อายุ 50 ปี คนขับเรือหางยาว ชื่อโลมาบิน และเป็นผู้ที่ถ่ายคลิปดังกล่าว เล่าว่า ก่อนที่จะเจอฉลามวาฬตัวดังกล่าว เมื่อช่วงประมาณบ่ายโมง วันที่ 6 พ.ค.ที่ผ่านมา ขณะที่กำลังขับเรือหางยาวพานักท่องเที่ยวต่างชาติ 2 สามีภรรยาออกจากอ่าวโล๊ะซามะ เกาะพีพี มุ่งหน้าไปอ่าวมาหยา ระหว่างที่เรือกำลังแล่นผ่านหัวแหลมห่างจากอ่าวมาหยาประมาณ 500 เมตร สังเกตเห็นฉลามวาฬโผล่ขึ้นมาพอดี ทำให้ตนและนักท่องเที่ยวที่อยู่บนเรือต่างตื่นเต้นเป็นอย่างมากเพราะไม่เคยเห็นมาก่อน

เท่านั้นยังไม่พอ ฉลามวาฬตัวดังกล่าวยังว่ายเข้ามาใกล้ๆ เรือ ห่างกันไม่ถึง 1 เมตร โดยไม่มีท่าทีดุร้ายแต่อย่างใด สามารถมองเห็นหลังและลายจุดชัดเจน และสังเกตเห็นปลาช่อนทะเลประมาณ 4-5 ตัว ว่ายตามประกบใต้ท้องฉลามวาฬตลอดเวลา

ขณะที่นักท่องเที่ยวต่างตื่นเต้นไม่แพ้กัน เพราะไม่คิดว่าจะได้เห็นสัตว์ทะเลขนาดใหญ่แบบนี้มาก่อน จึงได้รีบบันทึกภาพไว้ โดยฉลามวาฬปรากฏตัวอยู่นานประมาณ 10 นาที ก่อนที่จะดำน้ำหายไปในทะเลลึก

นายวินิจ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมายังไม่เคยเห็นฉลามวาฬตัวจริงๆ มาก่อน วันนี้นับว่าโชคดีมาก คาดว่าบริเวณทะเลอ่าวมาหยามีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น จากการที่มีการปิดอ่าวมาหยา และอยู่ในช่วงของการปิดอ่าวทะเลอันดามันในฤดูปลาวางไข่ เพื่อฟื้นฟูทรัพยากร มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ของฉลามวาฬ รวมทั้งสัตว์ทะเลอื่นๆ ที่หายาก


https://mgronline.com/south/detail/9660000041890

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 21:30


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger