เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 09-05-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,116
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 9 พฤษภาคม 2566

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ไม่ควรสวมใส่โลหะ และหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ส่วนเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตร และอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย

ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้แล้ว ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 9-14 พ.ค. 66 ลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมอ่าวเบงกอลตอนล่าง ทำให้ภาคใต้จะมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น ส่วนทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 14 พ.ค. 66 นี้ไว้ด้วย

ฝุ่นละอองในระยะนี้ : ประเทศไทยมีการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์น้อย เนื่องจากมีฝนเพิ่มขึ้นและการระบายอากาศดี


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 9 - 10 พ.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่

ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 14 พ.ค. 66 ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 9 - 14 พ.ค. 66 หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่าง มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อน คาดว่าจะเคลื่อนผ่านอ่าวเบงกอลตอนบน ขณะที่ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 9 - 10 พ.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ไม่ควรสวมใส่โลหะ และหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ส่วนเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง ส่วนในช่วงวันที่ 11 ? 14 พ.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 9 - 14 พ.ค. 66



******************************************************************************************************



พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 6 (135/2566) (มีผลกระทบถึงวันที่ 10 พฤษภาคม 2566)


บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้แล้ว ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด อนึ่ง ในช่วงวันที่ 9-14 พ.ค. 66 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมอ่าวเบงกอลตอนล่าง มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อน

ในช่วงวันที่ 9-10 พ.ค. 2566 ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ไม่ควรสวมใส่โลหะ และหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ส่วนเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย

ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้แล้ว ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด

จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้


วันที่ 9 พฤษภาคม 2566

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด


วันที่ 10 พฤษภาคม 2566

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดอุทัยธานี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 9-14 พ.ค. 66 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมอ่าวเบงกอลตอนล่าง มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อน คาดว่าจะเคลื่อนผ่านอ่าวเบงกอลตอนกลางและทะเลอันดามันตอนบน หลังจากนั้นจะเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศเมียนมา ส่งผลให้ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากทะเลอันดามันเข้ามาปกคลุมประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ในช่วงวันที่ 11-14 พ.ค. 66 ประเทศไทยจะมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันและเวลาดังกล่าว






__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 09-05-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,116
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


"หาดเทียม" ดึงเที่ยว! พัทยา-นาจอมเทียน



นิสัยคนไทยคงลืมเลือนกันไปแล้ว...กับบิ๊กโปรเจกต์ซีรีส์นิคมอุตสาหกรรมจะ ?ถมทะเล? แหลมฉบัง 3,000 ไร่ ภายใต้โครงการส่วนขยายปิโตรเคมีปี 2562 ที่ทำเอาชาวบ้านแถวนั้นวี้ดว้ายจะหาเรือมารับจ้างขนหินไปทิ้งปูทาง...กะจะรวยกันแบบฉับพลันทันตาในคราวนั้น

ผ่านมาถึงวันนี้เรื่องเดินไปถึงไหนไม่รู้...รู้แต่ว่าคล้ายจิ้งจกร้องทักด้วยเสียงนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมแสดงความห่วงใยผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและวิถีประมงชายฝั่ง เนื่องจากแหล่งทำกินหดสั้นจนอาจต้องสัญจรหาที่ทำกินใหม่

อีกทั้งทำลายระบบนิเวศทางทะเลเมื่อเกิดขุ่นตะกอนลอยสูงรบกวนการหายใจของสัตว์น้ำอย่างเลือดเย็น...กรณีสถานะทางสมุทรศาสตร์เกิดปิดกั้นการเคลื่อนที่ของกระแสน้ำ ผลร้ายที่ตกตามมาคือ...ชายหาดพัทยาที่มนุษย์ลือกันให้แซ่ดสนั่นโลกว่า โค้งรีดั่งจันทร์คืนแรมจะเว้าแหว่งเพราะถูก "น้ำเซาะทราย"

พัดหายไปปีละกว่า 3 เมตรเป็นอย่างน้อย...นิทานเลียน "อีสป" เรื่อง "ลาโง่กินน้ำค้าง" จึงจางหายไปนับแต่บัดนั้น

ทว่า...มหาโปรเจกต์ขุดแล้วถมหาดพัทยา-นาจอมเทียน และหาดบางแสนของชนชั้นกรรมาชีพมิได้จบแค่นั้น...เมื่อกรมเจ้าท่าอ้างการศึกษา พบว่า นับแต่ปี 2510-2558 ชายหาดภาคตะวันออกได้สูญหายไปแล้วกว่า 60 ไร่ จากการถูกกระแสน้ำกัดเซาะและหากปล่อยทิ้งไว้อนาคตคงไม่เหลือเม็ดทรายไว้ให้เห็นอีกต่อไป

กระแสที่ว่านี้ทำเอากลุ่มนักวิชาการสมุทรศาสตร์ทางทะเลขนลุกซู่ ด้วยกลัวอุบัติการณ์จะสวนกระแสที่ว่าเมื่อมีการถมทะเลวันใดย่อมหมายถึงการฆาตกรรมหาดพัทยาวันนั้น และยังฉงนต่อการคิดบิ๊กโปรเจกต์

ขณะปัญหาหญ้าปากคอกอย่างเรือเจ็ตสกีหรือสกูตเตอร์ยังหลงทางจะเป็นเรือติดเครื่องยนต์ท้ายก็ไม่ใช่มอไซค์ลอยทะเลก็ไม่เชิง ที่สุดเหมารวมเป็น "เรือเพื่อเช่า" แทนคำว่า "เรือสำราญกีฬา" ในการจัดระเบียบแก้ปัญหาธุรกิจชนิด "แก้ผ้าเอาหน้ารอด" จนวันนี้

"พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง"...เมื่อนักวิชาการระหว่างฝ่ายไม่เห็นด้วยถมทะเล กับฝ่ายเจ้าท่ากระต่ายขาเดียวถม "หาดจริง" สร้าง "หาดเทียม" นาจอมเทียน เฟสแรกระยะทาง 3.5 กิโลเมตรกว้าง 50 เมตรแล้วเสร็จไปเมื่อปลายปีที่ผ่านมากับเฟสสอง 3 กิโลเมตรกว้าง 50 เมตร

เริ่มปีนี้กำหนดแล้วเสร็จปลายปี 2568...คุยเชิงประกาศให้รู้ด้วยว่าสุดสวยอลังการรักษาระบบนิเวศดีเยี่ยม สร้างงานปั่นรายได้แก่ชุมชนเสมอ "ซอฟต์เพาเวอร์" ฟื้นฟูท่องเที่ยวตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี...ว่าไปนั่น!

แว่วว่างานนี้ใช้งบประมาณสมัยรัฐบาลสร้างนิสัยคนไทยขยัน "เที่ยวด้วยกัน" แบบ "ขี่ช้างจับตั๊กแตน" แค่ 986 ล้านบาท...สะกิดใจอดีตนักวางแผนผู้เคยจัดทำแผนแม่บทพัฒนาเมืองท่องเที่ยวหลักภาคตะวันออกอย่างพัทยาเมื่อ 50 กว่าปีก่อน ที่ร่วมกับ "ไจก้า" หรือ?องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น? ถึงกับอดไม่ได้ที่จะลุกขึ้นมาแย้งโจทย์ข้อนี้

"แผนที่ว่าจัดทำขึ้นขณะพัทยายังเหมือนทารกเพิ่งหัดเดิน จะได้ไม่เป็นลูกปูเดินตามแม่ปู โดยคำนึงถึงธรรมชาติเป็นสำคัญเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวปราศจากสิ่งแปลกปลอม ป้องกันถนนเลียบหาดจำกัดเป็นโซนต้องห้ามรถทุกชนิดให้คนเดินลงชายหาดอย่างปลอดภัย โรงแรมริมหาดต้องสูงไม่เกินยอดมะพร้าว

รักษาภูมิทัศน์เมือง...แต่ทุกอย่างล้มเหลวหมดอย่างที่เห็น"

อดีตนักวางแผนบอก...ทัศนะอุจาดยังลามไปถึงหาดนาจอมเทียน ซึ่งแต่เดิมสวยและสงบไร้มลภาวะ ไม่นานอีหรอบเดียวกับพัทยาคือสิ่งจอมปลอมเต็มหาด

มาวันนี้...ถมทะเลขยาย "หาดธรรมชาติ" เป็น "หาดเทียม" ด้วยงบประมาณ 986 ล้านบาทอ้างถูกน้ำกัดเซาะและสร้างมุมมองใหม่ดึงดูดนักท่องเที่ยวที่เคยมีมากถึงปีละ 18 ล้านคนทำรายได้นับหมื่นล้านฯ

สถานการณ์เช่นนี้อดีตนักวางแผนรายเดิมชี้ว่า ปัจจุบันเรากำลังให้ความสำคัญ "ท่องเที่ยว" เป็นแก้วสารพัดนึกช่วยแก้ปัญหาสารพันจนเกินเลย และน่าเป็นห่วงถึงความคุ้มค่ากับการใช้ทรัพยากรแลกเปลี่ยนทั้งธรรมชาติ วัฒนธรรม วิถีชีวิต...ตัวอย่างเห็นได้ชัดช่วงวิกฤติโควิดที่ท่องเที่ยวโตแบบพองลม

ครั้น...ประสบปัญหาถึงพากันล้มระเนนระนาด

การสร้างธรรมชาติเทียมก็เช่นกันใครจะการันตีได้ว่าหาดจะไม่ถูกน้ำทะเลกัดเซาะเปลี่ยนทิศทาง ต้องไม่ลืมบ้านเรามีแนวหาดทรายทั่วประเทศ 1,630.70 กิโลเมตร มากพอใช้ขายการท่องเที่ยวโดยไม่แตะต้อง...

สิงคโปร์ยอมถมทะเลสร้างสนามบินชางงีขึ้นชั้น "ฮับ" อาเซียนแล้วสร้างหาด "ซิโลโซ่" เกาะเซนโตซ่าให้ประชาชนทดแทน เพราะไม่มีหาดทรายเหมือนไทย ฮ่องกงตัดสินใจถมทะเลเนรมิตสนามบิน "ไขตั๊ก" เมื่อเกือบร้อยปี ญี่ปุ่นมีสนามบินฮาเนดะกับนาริตะชานโตเกียวไม่พอรับเที่ยวบินพาณิชย์


...จึงถมทะเลสร้างสนามบิน "คันไซ" โอซากา

เวียดนามถมทะเลหมู่เกาะสแปรตลีย์ทางทะเลจีนใต้บนแนวหินแบบปกปิด สร้างท่าเทียบเรือเช่นฟิลิปปินส์ มาเลเซียยกเลิกความคิดถมทะเลทำ ?มะละกาเกตเวย์? ด้วยเกรงจะกระทบต่อระบบนิเวศ...

ทั้งหมดเหล่านี้ไม่เห็นประเทศใดในหล้าคิดถมทะเลทำหาดจอมปลอมเหมือนพัทยา?นาจอมเทียน แลกกับสมดุลธรรมชาติที่หายไป?

ประเด็นร้อนๆนี้ผู้ประกอบการละแวกนั้นกระซิบเบาๆ...เฟสแรก 3 กิโลครึ่งเป่าคาถาเสร็จตกอยู่ในเขตบริหารจัดการโดยเมืองพัทยา ลักษณะกายภาพจึงถอดแบบจากออริจินัลคือมีเก้าอี้ผ้าใบร่มกางขายสินค้าเกลื่อนหาด...ได้ความว่าสงวนสิทธิ์ให้เฉพาะผู้ค้าหน้าเดิมที่จ่ายภาษีเงินได้หรือ "ภ.ง.ด.90" ประจำปีเมืองพัทยา

รายละ 1 ล็อกหน้าหาดกว้างจากทางเท้าถึงหาดเทียม 7 เมตรยาว 9 เมตร...ห้ามซื้อขายถ่ายโอนกันเด็ดขาด

แต่บางรายสามารถกางได้ยาวพรึบ 18-27-36 เมตร โดยเมืองพัทยาทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นหรือไม่รู้ไม่ชี้?...ยิ่งแปลกกว่านั้นหาดเทียมอีกแปลงยาว 3 กิโลเมตรอยู่ในความรับผิดชอบเทศบาลตำบลนาจอมเทียน อ.สัตหีบ...กลับห้ามผู้ใดรุกล้ำทำการค้าทุกชนิดทั้งที่อยู่บน "หาดเทียม" เดียวกัน

เอาว่าฝ่ายหนึ่งถือกฎหมายเมืองพิเศษ อีกฝ่ายคาบคัมภีร์เทศบัญญัติคนละฉบับจึงเอวังแบบนี้?

และที่พิสดารอีกอย่าง...คือไร้การจัดระเบียบถนนเลียบหาดร่วม 10 กิโลเมตร เชื่อมเมืองพัทยากับเทศบาลตำบลนาจอมเทียน ซึ่งมีพื้นผิวจราจรกว้าง 6 เมตรไหล่ทางด้านละ 1.5 เมตร กลับปล่อยให้รถจอดนิ่งบนไหล่ทางปิดถนนเดินรถให้แคบลง ทางเดินเท้าก็ไม่ต่างอะไรกันขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อ

...มีเศษสิ่งปฏิกูลรกเป็นกาฝากประดับ "หาดเทียม" ตั้งแต่เขตเมืองพัทยาถึงนาจอมเทียน

สิ่งคาดหวังที่อยากให้เกิดและมี "หาดเทียม" ...มูลค่า 986 ล้านบาทจะเป็นนวัตกรรมใหม่พัทยา?นาจอมเทียน เพื่อเป็น "นิวโมเดล" เมืองท่องเที่ยวทางทะเลอื่นๆ...จึงเป็นได้แค่ "ฝันค้าง" กลางวันเสียมากกว่าจะเป็นจริง?


http://www.saveoursea.net/forums/new...uote=1&p=63889

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 09-05-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,116
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ


องค์การอุตุฯ โลก เผยทั่วโลกต้องเตรียมพร้อม เพราะอาจเจอเอลนีโญรุนแรง 80% ภายในเดือนกันยายนนี้



จากเหตุการณ์สภาพอากาศที่ร้อนมากในหลายประเทศ และวิกฤตภัยแล้งที่กำลังส่งผลกระทบในหลายพื้นที่ทั่วโลก ทาง องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกแห่งสหประชาชาติ WMO (World Meteorological Organization ) จึงได้มีการออกรายงานเตือนทุกๆ ประเทศ ให้มีการเตรียมตัวรับมือกับวิกฤตในปีนี้ เนื่องจากอาจเจอเอลนีโญรุนแรงเกิดขึ้น ซึ่งมีโอกาสจะเกิดขึ้น 80% ภายในเดือนกันยายนนี้

การพยากรณ์อากาศนั้นเป็นเป็นเรื่องที่ซับซ้อน แม้ข้อมูลจะยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าอนาคตจะเกิดเอลนีโญรุนแรงขึ้นจริงหรือไม่เพราะ แต่ดูเหมือนว่าในหลายๆ เหตุการณ์วิกฤตความร้อนและภัยแล้งที่ทั่วโลกเผชิญอยู่ ก็มีโอกาสที่เหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ โดยรายงานนี้ได้ระบุว่า มีโอกาส 60% ที่เอลนีโญจะเกิดขึ้นภายในเดือนกรกฎาคมนี้ และจะเพิ่มขึ้นเป็น 70% ภายในเดือนสิงหาคม และ 80% ภายในเดือนกันยายนนี้

แม้จะเป็นรายการพยากรณ์ แต่ทางองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกฯ ได้ย้ำเตือนให้ทุกประเทศทั่วโลกเตรียมพร้อมรับมือกับความร้อน ความแห้งแล้ง หรือปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นในบางส่วนของโลก เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงของอากาศเกิดขึ้นในปัจจุบัน

จากเหตุการณ์คลื่นความร้อนที่ร้อนทำลายสถิติในหลายพื้นที่ของทวีปเอเชีย ภัยแล้งในพื้นที่ทวีปยุโรป ไฟป่าที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ เช่น เกาหลีใต้ ไทย สเปน แต่ในขณะเดียวกันกลับมีฝนตกรุนแรงในประเทศรวันดา ทวีปแอฟริกา ที่ข้อมูลรายงานว่าคร่าชีวิตคนไปแล้ว 130 คน

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปีนี้อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า เอลนีโญที่จะมาถึงอาจรุนแรงผิดปกติกำลังจะเกิดขึ้นในเวลาอันใกล้นี้ แต่ปัจจัยสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ทำให้ปรากฏการณ์เหล่านี้รุนแรงและคาดเดาได้ยากขึ้น

ด้วยวิกฤตสภาพภูมิอากาศโลกที่ผันผวนรวดเร็วแบบนี้ การมีคำเตือนให้หลายๆ ประเทศได้เตรียมรับมือ จึงถือว่าเป็นการเตรียมตัวที่ดี เพราะเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็สามารถแก้ปัญหาได้ทันท่วงที


https://mgronline.com/science/detail/9660000042104

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 08:19


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger