เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 03-10-2023
เด็กน้อย เด็กน้อย is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: Aug 2009
ข้อความ: 263
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 3 ตุลาคม 2566

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงปกคลุมประเทศจีนตอนใต้ ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประเทศลาวตอนล่าง และประเทศกัมพูชา ลักษณะเช่นนี้ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคใต้ รวมถึงมีฝนตกหนักมากบางแห่งบริเวณภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรงไว้ด้วย สำหรับทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 3 ? 5 ต.ค. 66 ร่องมรสุมจะพาดผ่านประเทศไทยตอนบน ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลางจะเคลื่อนเข้าสู่ภาคตะวันออก อ่าวไทยตอนบน และภาคกลางตอนล่าง ตามแนวร่องมรสุม ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 6 ? 8 ต.ค. 66 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีฝนเพิ่มขึ้น
อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น ?โคอินุ? บริเวณประเทศฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มจะเคลื่อนตัวลงสู่ทะเลจีนใต้ในช่วงวันที่ 4 ? 5 ต.ค. 66 คาดว่า ในช่วงวันที่ 6 ? 7 ต.ค. 66 จะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทยโดยตรง

ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและลมกระโชกแรงบางแห่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรงไว้ด้วย ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
รูปขนาดเล็ก
คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name:	344.jpg
Views:	0
Size:	88.4 KB
ID:	22613   คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name:	forecast7days_02-10-66.jpg
Views:	0
Size:	77.8 KB
ID:	22614   คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name:	topchart_02_october_2023_18.jpg
Views:	0
Size:	113.0 KB
ID:	22615  
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 03-10-2023
เด็กน้อย เด็กน้อย is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: Aug 2009
ข้อความ: 263
Default

ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ

?น้ำทะเลเปลี่ยนสี?สัญญานอันตราย ภัยคุกคามระบบนิเวศทะเลไทย



ปรากฎการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีในปี 2566 นี้ เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งและมีความถี่และความรุนแรงขึ้น ทำให้มีสัตว์ทะเลหลายชนิดตายเกลื่อนหาดบางแสน ซึ่งน้ำทะเลที่กลายเป็นสีเขียวและส่งกลิ่นเหม็นนี้เป็นสัญญานอันตราย

เป็นจุดเริ่มต้นของการคุกคามระบบนิเวศทะเลไทยซึ่งสร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก

ศ.ดร.เชษฐพงษ์ เมฆสัมพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวในงานเสวนา ?ทะเลสีเขียว...มหันตภัยร้ายกว่าที่คิด? จัดโดย สำนักงานนวัตกรรมและพันธกิจเพื่อสังคม ร่วมกับ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ว่า ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติส่งผลต่อ ?แพลงก์ตอนบลูม? จนทำให้น้ำทะเลมีสีเขียวที่ ชายหาด?บางแสน?ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี ส่งกลิ่นเหม็นโชยไปทั่วทั้งหาด ทำให้สัตว์ทะเลตายและเกยตื้นตลอดแนวชายฝั่ง 3-4 กิโลเมตร ส่งผลต่อแหล่งทำมาหากินของประชาชนในภาคประมงอย่างมาก และส่งผลต่อนักท่องเที่ยว ซึ่งไม่มีนักท่องเที่ยวคนไหนกล้าลงเล่นน้ำเนื่องจากน้ำทะเลมีกลิ่นเหม็น

การเพิ่มของ แพลงก์ตอนบลูมนั้นเป็นปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีซึ่งในประเทศไทยจะเกิดในช่วงฤดูฝนเป็นประจำแต่จะมีการเปลี่ยนพื้นที่ไปเรื่อยๆตามฤดูกาล ยกตัวอย่าง ในฤดูหนาวจะเกิดในพื้นที่แถวจังหวัดเพชรบุรี

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุปัน ปรากฏการณ์แพลงก์ตอนบลูม สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในทะเลที่พร้อมจะโจมตีชายฝั่งทุกฤดูกาล อย่างพื้นที่ อ่าวไทย ตัว ก มีกระแสน้ำกั้นอยู่ โดยสารอาหารจากน้ำที่ลงไปในแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งมาจากการระบายน้ำจากชุมชน โรงงานอุตสาหกรรม และภาคการเกษตร มีจำนวนสูงขึ้นมากแต่แม้จะไม่มีพิษโดยตรงแต่ในปัจจุบันที่มีการขนส่งทางทะเลมากขึ้นจึงเป็นปัจจัยที่นำพาเพลงก์ตอนมาเจอในกระแสน้ำ จึงทำให้สารอาหารต่างๆลงมาอยู่ในน้ำแบบรวมกันนับเป็นเหตุผลว่าทำไมแพลงก์ตอนบลูมจึงมีจำนวนมากขึ้น



?ตอนกลางวันนั้นเพลงก์ตอนจะสร้างการออกซิเจนเป็นจำนวนมากเหมือนจะเป็นผลดีต่อสัตว์ทะเล แต่ตกกลางคืนเพลงก์ตอนก็ต้องใช้ออกซิเจนมากเช่นกัน ทำให้เกิดการแย่งออกซิเจนที่อยู่ในน้ำทำให้สัตว์ทะเลหลายๆชนิดที่อยู่ใต้น้ำขาดอากาศหายใจและตายในที่สุด ซึ่งสีของทะเลที่เปลี่ยนไปคือสีของแพลงก์ตอนที่รวมตัวกันอยู่จำนวนมากนั่นเอง?

ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า ผลกระทบจากทะเลสีเขียวนั้น ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิต สิ่งแวดล้อมและกิจกรรมของมนุษย์ การแก้ปัญหาต้องเริ่มจากต้นทาง เช่น การจัดการขยะเพราะคุณภาพแหล่งน้ำผิวดินและน้ำทะเล ขึ้นอยู่กับการระบายธาตุอาหารที่ถูกชะล้างจากแผ่นดินในช่วงฤดูฝน ซึ่งมีสารอินทรีย์ จากน้ำทิ้งชุมชน โรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม เกษตรกรรม ลงสู่แหล่งน้ำ เมื่อมารวมตัวกับสภาวะและปัจจัยที่เหมาะสมจึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้แพลงก์ตอนเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดปัญหาปรากฏการณ์สาหร่ายสะพรั่งหรือ ยูโทรฟิเคชั่น (Eutrophication)

"น้ำเสียจากชุมชน ทั้งหมด 11 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน ซึ่งมีน้ำเสียอยู่ 20% ที่ยังไม่ได้รับการบำบัด แม้ว่าจะมีระบบบำบัดน้ำเสียรวมที่เดินระบบ 98 แห่ง (จากทั้งหมด 118 แห่ง) สามารถรองรับน้ำเสียได้ 2,978 ล้าน ลบ.ม. ต่อวัน (ในปี 2565 มีน้ำเสียเข้าระบบบำบัดน้ำเสียรวม 1.67 ล้าน ลบ.ม. ต่อวัน)

?แหล่งกำเนิดน้ำเสียถูกกำหนดให้ติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสีย ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ สำหรับอาคารบางประเภทและบางขนาด ได้กำหนดให้เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ ที่ต้องถูกควบคุมการระบายน้ำทิ้งให้เป็นไปตามมาตรฐานด้วย?
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 19:58


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger