เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 24-01-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,359
Default

ขอบคุณข่าวจาก แนวหน้า


สื่อนอกตีข่าว 'เปลี่ยนขยะประมงเป็นของใช้ยุคโควิด' โครงการดีๆลดมลพิษทางทะเลที่เมืองไทย



วันที่ 23 มกราคม 2564 เว็บไซต์ นสพ.Times of Malta ประเทศมอลตา เสนอรายงานพิเศษ Deadliest catch: Thailand?s 'ghost' fishing nets help COVID fight ว่าด้วยโครงการเปลี่ยนขยะจากกิจการประมงให้เป็นวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้งานในสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งเกิดขึ้นในประเทศไทย โดย Ingpat Pakchairatchakul หญิงไทยที่ทำงานให้กับองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม Environmental Justice Foundation ที่มีสำนักงานใหญ่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ กล่าวว่า ซากอวนที่ถูกทิ้งในท้องทะเล เป็นอันตรายต่อเต่าทะเลและปะการัง และมันสามารถอยู่ได้นานนับสิบปี

Ingpat ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว AFP ของฝรั่งเศส เมื่อเร็วๆ นี้ในช่วงที่เดินเรือออกทะเลในพื้นที่ จ.ชลบุรี พร้อมด้วยนักประดาน้ำกว่า 30 คน เข้าจัดการกับขยะประมงที่ปกคลุมแนวปะการังลึกลงไป 27 เมตร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Net Free Seas ที่มีเป้าหมายเปลี่ยนขยะประมงให้เป็นอุปกรณ์ที่ใช้กันในโลกยุคโควิด-19 เช่น แผ่นใสสำหรับสวมใส่กั้นใบหน้า (Face Shield) และต้องการให้เป็นตัวอย่างว่า การปกป้องท้องทะเลสามารถไปกันได้กับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ โดยไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ก่อขยะในท้องทะเลมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก
รายงานข่าวกล่าวต่อไปว่า กระแสความตื่นตัวของสังคมไทยเกี่ยวกับปัญหาขยะในท้องทะเล เกิดขึ้นเมื่อ 2 ปีก่อน กรณีลูกพะยูน ?มาเรียม (Mariam)? ได้ตายลงและเมื่อมีการผ่าพิสูจน์ซากก็พบเศษพลาสติกอยู่ภายในท้องของลูกพะยูนเคราะห์ร้ายตัวนี้ ความโศกเศร้าเกิดขึ้นทั่วประเทศเพราะก่อนหน้านั้นผู้คนได้รับชมชีวิตของมันภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่ ผ่านช่องทางออนไลน์นานหลายเดือน

จตุรเทพ โควินทวงศ์ (Chaturathep Khowinthawong) ผู้อำนวยการส่วนจัดการอุทยานแห่งชาติทางทะเล กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวว่า พะยูนมาเรียมเป็นเพียงหนึ่งในสัตว์ทะเลนับสิบตัวในแต่ละปีที่มาเกยตื้นตามชายฝั่งของประเทศไทย ในจำนวนนี้กว่าร้อยละ 70 พบบาดแผลตามร่างกายจากซากอวนที่ถูกทิ้งในทะเล และหากพวกมันติดอยู่ภายในอวนเหล่านั้น โอกาสรอดชีวิตจะมีไม่ถึงร้อยละ 10

ทั้งนี้ ในปีแรกของโครงการ Net Free Seas พบว่าสามารถเก็บขยะในทะเลได้ถึง 15 ตัน แต่นั่นยังเป็นส่วนน้อยเมื่อเทียบกับข้อมูลจาก องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ที่ระบุว่า มีซากเครื่องมือประมงถึง 6.4 แสนตัน ถูกทิ้งลงสู่ท้องทะเลและมหาสมุทรทุกปี ถึงกระนั้น โครงการดังกล่าวได้รับความร่วมมืออย่างดีจากชาวประมงพื้นบ้านในประเทศไทย

Somporn Pantumas ชายวัย 59 ปี ชาวประมงในพื้นที่ จ.ระยอง กล่าวว่า โครงการนี้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ (Win-Win) ชาวประมงมีรายได้เสริมเอีกทางหนึ่งในขณะที่ชายหาดและท้องทะเลก็สะอาดสวยงาม อีกทั้งการทำกิจกรรมร่วมกันยังทำให้ชุมชนชาวประมงเกิดความสมัครสมานสามัคคีแน่นแฟ้นด้วย โดยตนเป็น 1 ในชาวประมง 700 คนทั่วประเทศไทย ที่นำอวนซึ่งชำรุดแล้วมาขายให้กับโครงการ และอีกสาเหตุที่เข้าร่วมโครงการ เพราะที่ผ่านมาเมื่อออกทะเลไปหาปลา สิ่งที่ได้กลับมามักจะเป็นขยะพลาสติกเสียมากกว่า นั่นทำให้ตระหนักถึงปัญหามลพิษอย่างจริงจัง

รายงานข่าวยังกล่าวอีกว่า ซากอวนจะนำไปล้างและย่อยสลายรวมกับขยะพลาสติกจากแหล่งอื่นๆ เพื่อหลอมขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตามต้องการ โดย Qualy Design ธุรกิจเล็กๆ ที่รับผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ในบ้านจากวัสดุรีไซเคิล ที่ผ่านมาผลิตสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับโลกยุคโควิด-19 ไปแล้วทั้ง Face Shield , ขวดบรรจุแอลกอฮอล์ล้างมือ ไปจนถึงฉากกั้นใสตามร้านรวงต่างๆ ในกรุงเทพฯ ตั้งแต่เมื่อครั้งที่ประเทศไทยเริ่มเผชิญสถานการณ์โรคระบาดครั้งใหญ่นี้ และยังผลิตแท่งพลาสติกสำหรับกดลิฟท์หรือตู้ ATM เพื่อเลี่ยงการสัมผัสอันสุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อด้วย

Thosphol Suppametheekulwat ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดของ Qualy Design ให้สัมภาษณ์กับ AFP ยอมรับว่า อวนเป็นวัสดุที่ใช้การยากและต้นทุนสูงที่สุดในการนำมาแปรรูปเป็นสิ่งของต่างๆ แต่ทางบริษัทก็ยินดีที่จะทำ เพราะต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยดูแลมหาสมุทร


https://www.naewna.com/inter/547595

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 24-01-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,359
Default

ขอบคุณข่าวจาก BBCThai


นักวิจัยจับภาพปลาไหลไฟฟ้าในแถบแอมะซอนล่าเหยื่อร่วมกันเป็นฝูง



กว่า 200 ปี หลังจากที่ปลาไหลไฟฟ้าเป็นแรงบันดาลใจทำให้เกิดการออกแบบแบตเตอรีขึ้นชิ้นแรกในโลก มีการค้นพบว่า มันรวมตัวกันเป็นฝูงปล่อยกระแสไฟฟ้าจู่โจมเหยื่อ

นักวิจัยที่ทำงานในแถบแอมะซอนเก็บภาพขณะที่ปลาไหลรวมตัวกันเป็นฝูงต้อนเหยื่อ จากนั้นก็ปลอ่ยกระแสไฟฟ้าใส่เหยื่อพร้อมกัน

จากเดิมที่เคยเชื่อกันว่า ปลาไหลไฟฟ้ารักสันโดษ ออกหาเหยื่อเพียงลำพัง จนกระทั่งเมื่อไม่นานนี้ นักวิทยาศาสตร์จับภาพขณะที่พวกมันร่วมกันล่าเป็นฝูงใหญ่ได้

ฝูงปลาไหล "ต้อน" ปลาเตตร้าที่มีขนาดเล็ก ไปบริเวณน้ำตื้น จากนั้นร่วมกันจู่โจมด้วยกระแสไฟฟ้าทำให้เหยื่อกระโดดขึ้นมาจากน้ำ

"20 ปีที่ทำงานในแอมะซอน ผมไม่เคยได้ยินว่ามีพฤติกรรมแบบนี้มาก่อน ผมไม่เคยเห็นปลาไหลโตเต็มวัยรวมตัวกันมากขนาดนี้มาก่อน" เคนเนธ วาน กล่าว

เหตุการณ์นี้รู้จักกันในชื่อว่า "การจับกลุ่มล่าเหยื่อ" ดูเหมือนว่าปลาไหลร่วมมือกันในช่วงที่มีเหยื่อมากพอที่จะแบ่งปันกัน

ดร.การ์ลอส เดวิด เด ซานตานา พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติสมิธโซเนียน กล่าวว่า "กรณีนี้ค่อนข้างพิเศษเพราะพวกมันใช้การปล่อยไฟฟ้าแรงสูง ในช่วงที่เกิดเหตุการณ์นี้"

ขณะที่แอมะซอนเผชิญภัยคุกคามจากการตัดไม้ทำลายป่า เหตุการณ์นี้ชี้ให้เห็นว่ามีเรื่องมากมายเกี่ยวกับสัตว์ในภูมิภาคนี้ ที่เราต้องเรียนรู้


https://www.bbc.com/thai/international-55773013

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 09:45


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger