#1
|
||||
|
||||
ปลิงทะเล (Sea Cucumber)
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
เร่งฟื้นฟู ปลิงทะเล พันธุ์หายาก! ปล่อยลงธนาคารปลิงฯ พบถูกไล่ล่าหนักเหตุราคาสูง สตูล - เร่งฟื้นฟูปลิงทะเลสายพันธุ์หายาก! นำปล่อยลงธนาคารปลิงทะเลเพื่อการอนุรักษ์ขยายพันธุ์ หลังพบถูกไล่ล่าเพราะมีราคาสูงถึงกิโลละ 5,000 บาท วันนี้ (18 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางพัชรา แมเร๊าะ นักวิชาการประมงชำนาญการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสตูล ได้นำพันธุ์ปลิงน้ำตาล และปลิงขาวที่หายากที่สุดในพื้นที่ฝั่งอันดามันในขณะนี้ ประกอบด้วย ปลิงขาวตัวลายเหมือนลายเสือ 34 ตัว และปลิงน้ำตาล มีลายจุดดำ 173 ตัว รวมทั้งหมด 207 ตัว มอบให้ นายอดุลย์ ชนะบัณฑิต หนึ่งในผู้อนุรักษ์ธรรมชาติทางทะเลที่ได้จัดทำสถานที่เลี้ยงเพาะพันธุ์ปลิงทะเลกลางทะเล โดยบริเวณแถวนั้นถือว่าเป็นหมู่บ้านชุมชนคนมลายู หมู่บ้านแห่งการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ หมู่บ้านแห่งการอนุรักษ์ธรรมชาติ ที่บ้านบากันใหญ่ หมู่ที่ 2 ต.เกาะสาหร่าย อ.เมือง จ.สตูล สำหรับสถานที่เลี้ยงฟื้นฟูเพาะพันธุ์ปลิงทะเลเหล่านี้ ทำจากเสาท่อพีวีวี และอวนล้อมเป็นวงกลม เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของปลิงทะเลเหล่านี้ไม่ให้หลุดลอดไป และถูกลักลอบจับนำไปขายได้ และพบว่า มีการจับนำไปขายเป็นอาหารของมนุษย์ และส่งขายให้ชาวจีนที่เชื่อว่า เป็นยารักษาโรคต่างๆ ได้ดี นางพัชรา แมเร๊าะ นักวิชาการประมงชำนาญการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสตูล กล่าวว่า ขณะนี้ทราบว่า ตลาดการค้าอาหารแปลกเริ่มสนใจปลิงทะเลเหล่านี้เป็นจำนวนมาก และมีราคาดีถึงขั้นแพงเลยก็ว่าได้ ปลิงทะเลกลายเป็นอาหารของนักชิมโดยเฉพาะชาวจีนที่หารับซื้อกัน เพราะปลิงทะเลชาวจีนเชื่อว่ากินแล้วแข็งแรง ไร้โรคภัย ส่วนชาวไทยกินแล้วรักษาโรคริดสีดวง โรคแผลเรื้อรังได้หาย จึงมีมูลค่าสูง หากชาวประมงพบปลิงทะเลที่ใดก็วิ่งไล่แย่งจับกัน ซึ่งปลิงทะเลเหล่านี้ไม่มีพิษภัย ไม่สามารถป้องกันตัวเองจากคน หรือสัตว์ใหญ่ได้ จึงมักถูกจับเอาไปได้อย่างง่ายดาย ส่วนราคาที่ตนเองสืบทราบมาว่า อยู่ในราคาที่แพงสูงทีเดียวสำหรับเจ้าปลิง 2 ชนิดนี้ โดยเฉพาะปลิงขาว เพราะถือว่าฝั่งอันดามันนี้เป็นถิ่นกำเนิดของมัน และในช่วงนี้ปริมาณลดลงไปและหายากมาก เราจึงมีแนวคิดที่จึงได้ทำโครงการฟื้นฟูกลับมาให้มีเยอะเหมือนเดิม รวมทั้งพื้นที่แห่งนี้ก็เคยมีปลิงขาวอยู่ด้วย จึงเลือกพื้นที่แห่งนี้ในการฟื้นฟูปลิงเหล่านี้กลับคืนมา ส่วนเหตุผลที่ปริมาณปลิงลดลง และหายากขึ้นนั้นมองว่า เป็นเพราะมีราคาสูงขึ้นจึงก็มีคนจับ และล่ามันไปขาย ทำให้มันขยายพันธุ์ไม่ทัน และใกล้จะสูญพันธุ์ไป บวกกับความเชื่อว่าปลิงทะเลคือ สรรพคุณทางยาที่ดีเยี่ยมจึงมีการล่าปลิงทะเลเหล่านี้ เราจึงทำการอนุรักษ์ และฟื้นฟูมาใหม่อีกครั้ง นางพัชรา แมเร๊าะ นักวิชาการประมงชำนาญการฯ กล่าวอีกว่า ส่วนปลิงขาวนั้นมีราคาค่อนข้างสูง ถ้าเป็นปลิงสดๆ จับได้ และขายทันทีอยู่ที่กิโลกรัมละ 500 บาท ถ้าทำแห้งก็จะขึ้นอยู่กับเกรดของปลิงขาวถ้าเกรดดีหน่อยก็จะขึ้นสูงถึง 3,000-5,000 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนปลิงสีน้ำตาล ราคาคล้ายๆ กัน และอาจจะถูกลงหน่อย เพราะเนื้อจะบางกว่า ปลิงน้ำตาลเนื้อสดอยู่ที่กิโลกรัมละ 140-200 บาท ด้าน นายอดุลย์ ชนะบัณฑิต หนึ่งในผู้อนุรักษ์ธรรมชาติทางทะเลบ้านบากันใหญ่ กล่าวว่า สำหรับปลิงทะเลนั้นที่นี่มีหลายสายพันธุ์ที่พบเจอ และสร้างรายได้ให้ชุมชนมีอยู่ 3 ชนิด มีปลิงขาว ปลิงดำ ปลิงกาหมาก ซึ่งในอดีตที่นี่จะเยอะมาก และเมื่อมีราคาแพงก็มีการล่ามากขึ้น จนลดจำนวนลง และในปี 2553 ทางชุมชนเราเห็นความสำคัญจึงได้ริเริ่มโครงการธนาคารปลิงทะเลเพื่อการอนุรักษ์ โดยการนำพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่มีอยู่ในพื้นที่มาขังไว้ในคอก เพื่อขยายพันธุ์ แต่ถ้าปล่อยปลิงไว้ตามธรรมชาติมันจะโดนจับจนหมด ส่วนการที่เราดำเนินการอนุรักษ์ปลิงไว้นี้ ทางผู้ใหญ่เห็นคุณค่าว่าเราทำเพื่อรักษาสิ่งมีชีวิตซึ่งใกล้จะสูญพันธุ์ไป ทางประมงจึงให้พันธุ์มาเพิ่มเพื่อขยายพันธุ์ต่อไป โอกาสนี้ จึงจัดเป็นสถานที่เพื่อการเรียนรู้ และเพื่อการท่องเที่ยวแบบชุมชน ถึงจะไม่ดีเยี่ยมมากนักแต่ก็ถือว่าเป็นหมู่บ้านที่มีประชาชนเดินทางมาเที่ยว มาชมมาเรียนรู้กันอย่างต่อเนื่อง สิ่งมีชีวิตในท้องทะเลแม้จะมีจำนวนมาก หากมนุษย์เรายังไล่ลาจับมันไปกินไปขายอย่างต่อเนื่องไม่ปล่อยให้มันได้เพาะขยายพันธุ์ ปลิงทะเลเหล่านี้แม้กระทั่งสัตว์น้ำอื่นๆ ก็จะหมดไปตามกาลเวลา จงหันกลับมามองด้วยว่า หากไม่มีสัตว์น้ำเหล่านี้ในทะเลช่วยสร้างความสมดุล จะเกิดอะไรขึ้นบ้างต่อโลกใบนี้ http://manager.co.th/South/ViewNews....=9580000127903
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก บ้านเมือง
สตูลเร่งฟื้นฟูปลิงทะเลยักษ์ 2 สายพันธุ์ที่หายากหลังพบถูกไล่ล่า สตูล/ เมื่อเร็วๆ นี้ นางพัชรา แมเร๊าะ นักวิชาการประมงชำนาญการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสตูล ได้นำพันธุ์ปลิงน้ำตาลและปลิงขาวที่หายากที่สุดในขณะนี้ ในพื้นที่ฝั่งอันดามัน หลังพบว่ามีการจับนำไปขายเป็นอาหารของมนุษย์และส่งขายให้ชาวจีนที่เชื่อว่า เป็นยารักษาโรคต่างๆ ได้ดี ซึ่งในวันนี้ต่างนำปลิงทะเลทั้งสองสายพันธุ์นี้ มีปลิงขาวตัวลายเหมือนลายเสือจำนวน 34 ตัวและปลิงน้ำตาล มีลายจุดดำจำนวน 173 ตัว เพื่อนำไปให้ นายอดุลย์ ชนะบัณพิต หนึ่งในผู้อนุรักษ์ธรรมชาติทางทะเลที่ได้จัดทำสถานที่เลี้ยงเพราะพันธุ์ปลิงทะเลกลางทะเล โดยบริเวณแถวนั้น ถือว่าเป็นหมู่บ้านชุมชนคนมลายู หมู่บ้านแห่งการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ หมู่บ้านแห่งการอนุรักษ์ธรรมชาติ ที่บ้านบากันใหญ่ หมู่ที่ 2 ต.เกาะสาหร่าย อ.เมือง จ.สตูล โดยนายนายอดุลย์ ชนะบัณพิต ได้ทำสถานที่เลี้ยงฟื้นฟู เพาะพันธุ์ปลิงทะเลเหล่านี้ไว้ ที่ทำจากเสาท่อแป๊บ และอวนล้อมเป็นวงกลมเพื่อเป็นที่อาศัยเจ้าปลิงทะเลเหล่านี้ไม่ได้หลุดรอดไปและถูกลักลอบจับนำไปขายได้ นางพัชรา แมเร๊าะ นักวิชาการประมงชำนาญการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสตูล กล่าวว่า ขณะนี้ทราบว่าตลาดการค้าอาหารแปลก เริ่มสนใจเจ้าปลิงทะเลเหล่านี้เป็นจำนวนมาก และมีราคาดีถึงขั้นแพงเลยว่าได้ ปลิงทะเลกลายเป็นอาหารของนักชิมโดยเฉพาะชาวจีนที่หารับซื้อกัน เพราะปลิงทะเลชาวจีนเชื่อว่าทางแล้วแข็งแรงไร้โรคภัย ส่วนชาวไทยทานแล้วรักษาโรคริดสีดวง โรคแผลเรื้อรังได้หาย จึงมีมูลค่าสูง หากชาวประมงพบปลิงทะเลที่ใด ก็วิ่งไล่แย่งจับกัน ซึ่งปลิงทะเลเหล่านี้ไม่มีพิษมีภัย ไม่มีอาวุธหรือพิษในตัวป้องกันตัว จึงถูกจับเอาไปได้ง่าย ส่วนราคาที่ตนเองสืบทราบมาว่าอยู่ในราคาที่แพงสูงทีเดียวสำหรับเจ้าปลิง 2 ตัวนี้ โดยเฉพาะปลิงขาวและถือว่าฝั่งอันดามันนี้เป็นถิ่นกำเนิดของมัน และในช่วงนี้ลดลงไปและหายากมาก เราจึงมีแนวคิดที่จึงได้ทำโครงการฟื้นฟูกลับมามีเยอะเหมือนเดิม รวมทั้งพื้นที่แห่งนี้ก็เคยมีปลิงขาวอยู่ด้วย จึงเลือกพื้นที่แห่งนี้ในการฟื้นฟูปลิงเหล่านี้กลับคืนมา และที่ได้สูญหายไปนั้น เพราะพบว่าราคาปลิงทะเลสูงขึ้นก็มีคนจับและล่ามันไปขาย จนสู่การจับกันมากจึงทำให้มันขยายพันธุ์ไม่ทัน และใกล้จะสูญพันธุ์ไป เราจึงทำการอนุรักษ์และฟื้นฟูมาใหม่อีกครั้ง นางพัชรา แมเร๊าะ นักวิชาการประมงชำนาญกาฯ กล่าวอีกว่า ส่วนปลิงขาวนั้นมีราคาค่อนข้างสูง ถ้าเป็นปลิงสดๆ จับได้และขายทันทีอยู่ที่กิโลกรัมละ 500 บาท ถ้าทำแห้งก็จะขึ้นอยู่กับเกรดของปลิงขาวถ้าเกรดดีหน่อยก็จะขึ้นสูงถึง 3,000-5,000 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนปลิงสีน้ำตาลราคาคล้ายๆ กันและอาจจะถูกลงหน่อย เพราะเนื้อเขาจะบางกว่า หากปลิงน้ำตาลเป็นเนื้อสดอยู่ที่กิโลกรัมละ 140-200 บาท และความเชื่อว่าการทานปลิงทะเลคือสรรพคุณทางยาที่ดีเยี่ยมจึงเป็นการล่าปลิงทะเลเหล่านี้จนใกล้สูญพันธุ์ไป ด้านอดุลย์ ชนะบัณพิต หนึ่งในผู้อนุรักษ์ธรรมชาติทางทะเลบ้านบากันใหญ่ กล่าวว่า สำหรับปลิงทะเลนั้นที่นี่มีหลายสายพันธุ์ที่พบเจอ และเป็นรายได้ของชุมชนมีอยู่ 3 ชนิดมีปลิงขาว ปลิงดำ ปลิงกาหมาก ซึ่งในอดีตที่นี่จะเยอะและชุกชุมมีเยอะมาก และเมื่อมีราคาแพงก็มีการล่ามากขึ้น จนลดจำนวนลง และในปี 2553 ทางชุมชนเราเห็นความสำคัญจึงได้ริเริ่มโครงการธนาคารปลิงทะเลเพื่อการอนุรักษ์ โดยการนำพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่มีอยู่ในพื้นที่และมาขังไว้ในคอก เพื่อได้เป็นปลิงขยายพันธุ์ แต่ถ้าปล่อยปลิงไว้ในพื้นที่สาธารณะทางทะเลจะโดนจับจนหมดเกลี้ยง และเมื่อเราทำเป็นที่อนุรักษ์จนระดับผู้ใหญ่เห็นค่าว่าเราทำเพื่อรักษาสิ่งมีชีวิตที่กำลังสูญพันธุ์ไปทางประมงจึงให้พันธุ์มาเพิ่มเพื่อขยายพันธุ์ต่อไป และที่นี่เราจึงจัดเป็นสถานที่การเรียนรู้และเรื่องท่องเที่ยวแบบชุมชน ถึงจะไม่ดีเยี่ยมมากนักแต่ก็ถือว่าเป็นหมู่บ้านที่มีประชาชนเดินทางมาเที่ยวมาชมมาเรียนรู้กันมากที่สุดในสตูลแห่งนี้ สำหรับสิ่งมีชีวิตทางธรรมชาติในทะเล แม้จะมีจำนวนมากก็ตาม หากมนุษย์เรายังไล่ล่าจับมันไปกินไปขายอย่างต่อเนื่องไม่ปล่อยให้มันได้เพาะพันธุ์ปลิงทะเลเหล่านี้แม้กระทั่งสัตว์น้ำอื่นๆ ก็จะหมดไปตามกาลเวลาที่คุณไล่ล่ามัน จงหันกลับมามองด้วยว่าหากไม่มีสัตว์น้ำเหล่านี้ในทะเลช่วยสร้างความสมดุลในทะเล จะเกิดอะไรขึ้นบ้างกับโลกใบนี้ http://www.banmuang.co.th/news/region/31957
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
เรียบเรียงคำตอบ | |
|
|