#1
|
||||
|
||||
พายุหมุนเขตร้อน
พายุหมุนเขตร้อน พายุหมุนเขตร้อน เป็นพายุหมุนที่เกิดขึ้นในเขตร้อน บริเวณเส้นศูนย์สูตรระหว่าง 8-12 องศาเหนือและใต้ โดยมากมักเกิดบริเวณพื้นทะเลและมหาสมุทรที่มีอุณหภูมิของน้ำสูงกว่า 27 องศาเซลเซียส จัดว่าเป็นพายุที่มีความรุนแรงมาก ซึ่งเกิดจากศูนย์กลางความกดอากาศต่ำมากที่สุด ที่มีลมพัดเข้าหาศูนย์กลางในซีกโลกเหนือ ทิศทางการหมุนของลม มีทิศทางทวนเข็มนาฬิกา ส่วนซีกโลกใต้มีทิศทางตามเข็มนาฬิกา (ดังรูปที่ 1) รูปที่ 1 ภาพแสดงลักษณะของพายุหมุนเขตร้อน รูปที่ 2 ภาพแสดงโครงสร้างของพายุหมุนเขตร้อน สำหรับ โครงสร้างของพายุหมุนเขตร้อน (รูปที่ 2) ประกอบด้วย 1) บริเวณตาพายุ (EYE STORM) คือ เป็นศูนย์กลางกลางพายุเป็นบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำมากที่สุด มีลักษณะเป็นทรงกลม และกลมรี ซึ่งบริเวณตาพายุจะเงียบสงบ ท้องฟ้าโปร่ง ไม่มีฝนตก ลมสงบนิ่ง หรือไม่มีลมพัด แต่อากาศจะร้อนอบอ้าว เนื่องจากความกดอากาศต่ำในบริเวณตาพายุนั่นเอง 2) บริเวณกำแพงตาพายุ (EYEWALL) คือ บริเวณรอบๆตาพายุ รัศมีรอบตาพายุประมาณ10-25 กิโลเมตร เป็นจุดที่มีพายุลมแรงจัด และฝนตกหนักสูงที่สุดโดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของพายุ เนื่องจากบริเวณกำแพงพายุประกอบไปด้วย เมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) ที่เกิดจากการก่อตัวในแนวดิ่งอย่างรุนแรง พร้อมทั้งยกเอาอากาศร้อนและอากาศชื้นขึ้นไปสู่เบื้องบนของชั้นบรรยากาศอย่างรวดเร็วกลายเป็นเมฆฝนฟ้าคะนอง 3) บริเวณพายุฝนฟ้าคะนองจากเมฆคิวมูโลนิมบัส (RAINBANDS) เป็นบริเวณที่อยู่รอบนอกกำแพงพายุ ซึ่ง RAINBANDS ประกอบไปด้วยเมฆคิวมูโลนิมบัสเช่นเดียวกับบริเวณกำแพงพายุ โดยก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง แต่บริเวณ RAINBANDS และ บริเวณ EYEWALL มีความต่างกันตรงที่ บริเวณ RAINBANDSนี้ จะทำให้เกิดลมพายุจัด และเกิดฝนตกหนักได้ และในขณะเดียวกัน ฝนก็อาจตกๆ หยุดๆ กระแสลมก็จะมีลักษณะกระโชกแรงสลับกับลมอ่อนๆ เป็นช่วงๆ ส่วนบริเวณ EYEWALL จะมีทั้งกระแสลมและฝนจะรุนแรงมากกว่าหลายเท่า กระแสลมและฝนจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องกว่าและไม่มีทีท่าว่าจะหยุด สำหรับประเภทของพายุนั้น องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ได้แบ่งประเภทของพายุตามความเร็วใกล้ศูนย์กลางพายุ โดยแบ่งตามความรุนแรง ได้ดังนี้ 1. พายุดีเปรสชั่น (Depression) เป็นพายุที่มีความเร็วใกล้ศูนย์กลางพายุไม่เกิน 33 นอต (63 กิโลเมตร/ชั่วโมง) ใช้สัญลักษณ์ “D“ เป็นพายุอ่อนๆ มีฝนตกบาง ถึงหนัก 2. พายุโซนร้อน (Tropical Storm) เป็นพายุที่มีความเร็วใกล้ศูนย์กลางพายุ 34-63 นอต (64-115 กิโลเมตร/ชั่วโมง) มีกำลังปานกลาง มีฝนตกหนัก ใช้สัญลักษณ์ “S” 3. พายุหมุนเขตร้อน หรือพายุไซโคลนเขตร้อน (Tropical Cyclone) มีความเร็วใกล้ศูนย์กลางพายุ 64-129 นอต (118-239 กิโลเมตร/ชั่วโมง) เป็นพายุที่มีกำลังแรงสูงสุด มีฝนตกหนักมาก บางครั้งจะมีพายุฝนฟ้าคะนองด้วย ในส่วนของชื่อเรียกของพายุนั้น ได้ตั้งขึ้นตามแหล่งกำเนิด ดังนี้ 1. พายุเฮอร์ริเคน (Hurricane) เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดบริเวณทิศตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก เช่น บริเวณฟลอริดา สหรัฐอเมริกา อ่าวเม็กซิโก ทะเลแคริบเบียน เป็นต้น รวมทั้งมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณชายฝั่งประเทศเม็กซิโก 2. พายุไต้ฝุ่น (Typhoon) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดทางทิศตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ เช่น บริเวณทะเลจีนใต้ อ่าวไทย อ่าวตังเกี๋ย ประเทศญี่ปุ่น 3. พายุไซโคลน (Cyclone) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดในมหาสมุทรอินเดีย เหนือ เช่น บริเวณอ่าวเบงกอล ทะเลอาหรับ เป็นต้น 4. พายุวิลลี-วิลลี (willy-willy) เป็นชื่อพายุที่เกิดบริเวณทะเลติมอร์และด้านตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย 5. พายุบาเกียว (Baguio) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดในบริเวณหมู่เกาะฟิลิปปินส์ 6. พายุทอร์นาโด (Tornado) เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดในทวีปอเมริกา มีขนาดเนื้อที่เล็กหรือเส้นผ่าศูนย์กลางน้อย แต่หมุนด้วยความเร็วสูง หรือความเร็วที่จุดศูนย์กลางสูงมากกว่าพายุหมุนอื่นๆ ก่อให้เกิดความเสียหายได้รุนแรงในบริเวณที่พัดผ่าน ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งบนบก และในทะเล หากเกิดในทะเล จะเรียกว่า นาคเล่นน้ำ (water spout) บางครั้งอาจเกิดจากกลุ่มเมฆบนท้องฟ้า แต่หมุนตัวยื่นลงมาจากท้องฟ้าไม่ถึงพื้นดิน มีรูปร่างเหมือนงวงช้าง จึงเรียกกันว่า ลมงวง การเรียกชื่อพายุนั้น ในเขตภาคพื้นมหาสมุทรแปซิฟิคเหนือ ด้านตะวันตก และทะเลจีนใต้ นักอุตุนิยมวิทยาได้ตั้งชื่อพายุไว้ 5 ชุด แต่ละชุดประกอบด้วยชื่อพายุหมุน 28 ชื่อ โดยความร่วมมือในการเสนอชื่อของ 14 ประเทศในแถบภูมิภาคดังกล่าว นำมาใช้เป็นชื่อพายุหมุนเขตร้อน การใช้จะใช้หมุนเวียนกันไปตามแถว โดยเริ่มตั้งแต่แถวแรกของสดมภ์ที่ 1 ไปจนถึงชื่อสุดท้ายของสดมภ์ แล้วจึงขึ้นไปใช้ชื่อของแถวแรกของสดมภ์ที่ 2 รายละเอียดดังตารางที่ 1 จาก ....... เว็บบอร์ดของ เว็บไซท์ของกรมอุตุนิยมวิทยา วันที่ 30 กรกฎาคม 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
เรียบเรียงคำตอบ | |
|
|