#32
|
||||
|
||||
ไขปริศนาหายนะปี 2012 โลกาวินาศ - มนุษยชาติสูญสิ้น!? (ต่อ) เรื่องที่ 4 ’พายุสุริยะ“ เรื่องนี้มีกระแสรุนแรงเนื่องจากเพิ่งเกิดไปเมื่อช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา ซึ่งพายุสุริยะจะมีผลกระทบโดยตรงต่อโลกคือ เราจะเห็นในรูปแสงสีแปลกตาที่เราเรียกว่าแสงออโรร่าหรือแสงเหนือแสงใต้ อนุภาคบางส่วนที่ถูกปลดปล่อยออกมาอาจไปสะสมที่ผิวของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของดาวเทียมเมื่อถึงจุดหนึ่งมีการคลายประจุออกมาทำให้เกิดความเสียหายได้ บรรดารังสีต่าง ๆ ที่มาจากพายุสุริยะ เช่น รังสีเอ็กซ์ ทำให้มีการรบกวนสัญญาณวิทยุที่อยู่บนโลกได้ รังสียูวีเพิ่มขึ้นทำให้ชั้นบรรยากาศร้อนและลอยตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตามดวงอาทิตย์มีวัฏจักรในการทำงานและพักผ่อนห่างกันประมาณ 11 ปีโดยเฉลี่ย เนื่องจากครั้งล่าสุดดวงอาทิตย์ขยันมากสุดเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2000 จึงทำให้มีการคาดการณ์ว่าดวงอาทิตย์จะกลับมาขยันอีกในอีก 10-12 ปี ถัดมานั่นคือปี ค.ศ. 2012 แต่ ผลกระทบต่อโลกและมนุษย์อย่างที่ทราบกันว่ามีน้อยมาก และเรื่องสุดท้าย ’การสลับขั้วของแม่เหล็กโลก” โดยโลกของเรามีสนามแม่เหล็กและขั้วแม่เหล็กที่ทำให้เข็มทิศชี้ไปทั้งขั้วเหนือและใต้ได้ ซึ่งสนามแม่เหล็กเกิดจากการเลื่อนไหลของโลหะที่หลอมอยู่ใต้โลก ทำให้เกิดเป็นกระแสไฟฟ้า และเกิดสนามแม่เหล็กใหม่มาทดแทนสนามแม่เหล็กเดิมที่อ่อนกำลังลงไปอยู่ตลอดเวลา ทำให้มีกระแสข่าวว่าโลกอยู่ในช่วงที่สนามแม่เหล็กโลกกำลังเปลี่ยนแปลงอาจได้รับผลกระทบรุนแรง แต่นักธรณีวิทยาพบหลักฐานที่ทำให้เราทราบว่าขั้วแม่เหล็กโลกนั้นมีการพลิกกลับขั้วอยู่เป็นระยะมาโดยตลอด ช่วงระยะเวลาในการคงสภาพขั้วไว้ได้นั้นอาจยาวนานถึง 100,000-1,000,000 ล้านปี ปัจจุบันมีการยืนยันแล้วว่าการกลับขั้วเคยเกิดขึ้นแล้ว 2 ช่วง อย่างไรก็ตามระยะเวลาที่ใช้ในการเปลี่ยนขั้วแม่เหล็กโลกนั้นไม่ได้เกิดในระยะเวลาสั้นๆ ต้องใช้เวลาราว 1,000-10,000 ปี โดยขั้วเดิมจะค่อยๆอ่อนกำลังลงแล้วจะมีขั้วใหม่ผุดขึ้นมาในบริเวณต่างๆจนครบสมบูรณ์ สำหรับสิ่งที่กลัวกันว่าการสลับขั้วของแม่เหล็กโลกจะทำให้น้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือละลาย เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมโลกนั้น เราต้องลองพิจารณาดูว่าน้ำนั้นมีภาชนะใส่อยู่หรือไม่มี เช่น น้ำแข็งที่อยู่ในแก้วน้ำละลายก็จะมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นมาเล็กน้อย หรืออยู่ที่ขนาดของภาชนะถ้ามีน้ำแข็งมากแต่ภาชนะเล็กก็อาจจะล้นออกมาบ้างแต่ก็ไม่มาก กรณีน้ำแข็งขั้วโลกละลายก็เช่นกันหากมีการละลายก็คงจะไม่กระทบถึงกรุงเทพฯ และน่ากลัวเท่ากับเหตุการณ์น้ำท่วมกรุงเทพฯ เพราะการขุดเจาะน้ำบาดาลไปใช้เป็นจำนวนมากจนทำให้แผ่นดินทรุดเป็นแน่..!! หากเราเข้าใจที่มาของการคาดการณ์ กระแสข่าวการกล่าวอ้างต่างๆ และพยายามหาความรู้ในเชิงวิทยาศาสตร์จากแหล่งข้อมูลหรือนักวิชาการที่เชื่อถือได้ ก็จะสามารถใช้ข้อมูลและเหตุผลในการวิเคราะห์กรองข่าวต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถตัดสินใจได้ด้วยตัวเองว่าจะหลงเชื่อจนจิตตกไม่เป็นอันทำอะไร หรือว่าจะเลือกปฏิบัติตนตามปกติกับคำทำนายเหล่านั้น... .................................................................................................. ย้อนประวัติศาสตร์โลกถูกดาวเคราะห์พุ่งชน ในอดีตเคยเกิดเหตุการณ์ดาวเคราะห์น้อยหรือดาวหางพุ่งชนโลกครั้งใหญ่จริง มีผลทำให้ไดโนเสาร์และสิ่งมีชีวิตประมาณ 3 ใน 4 ที่อยู่บนผิวโลกสูญพันธุ์ในอายุใกล้เคียงกันเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว นักธรณีวิทยาพบหลักฐานหลุมอุกกาบาตชิคซูลูป ที่คาบสมุทรยูคาตัน หรือในปี ค.ศ. 1908 เกิดระเบิดของอุกกาบาตหรือดาวเคราะห์น้อยเหนือท้องฟ้าที่ทังกัสก้า ประเทศไซบีเรีย หรือหลุมอุกกาบาตแบริงเจอร์ อยู่ในมลรัฐแอริโซนา เป็นหลักฐานที่ชัดเจนที่สุด โดยการชนบนทะเลทรายด้วยวัตถุขนาด 50 เมตร เมื่อ 10,000 ปีที่แล้ว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.6 กิโลเมตร ถ้าไปยืนตรงกลางจะมองไม่เห็นต้องใช้กล้องส่องทางไกล ส่วนชื่อหลุมตั้งชื่อตามครอบครัวที่ซื้อหลุมนี้ เพราะนักธรณีวิทยาศึกษาแล้วพบว่าเป็นการชนจากวัตถุนอกโลก และมีเหล็กกระจายอยู่มาก ทำให้แบริ่งเชื่อว่าใต้หลุมมีอุกกาบาตก้อนใหญ่ซึ่งเป็นเหล็กบริสุทธิ์ขนาดเป็นตันอยู่ เพราะเหล็กบนโลกไม่ใช่เหล็กบริสุทธิ์เวลาจะนำมาใช้ต้องนำไปถลุง หากได้มาจะต้องร่ำรวยมากแน่ๆ ปัจจุบันพบว่าไม่มีใครเคยเจออุกกาบาตก้อนนั้นมีแต่หลุม เพราะความรุนแรงจากการปลดปล่อยพลังงานทำให้หลอมละลายไปหมดไม่เหลืออะไรเลย ปัจจุบันครอบครัวแบริงเจอร์ร่ำรวยจริง แต่ไม่ใช่เพราะขายเหล็กแต่ร่ำรวยจากการเปิดหลุมให้ประชาชนเข้าชม อย่างไรก็ตามดาวเคราะห์น้อยคือวัตถุขนาดเล็กที่หลงเหลือจากการเกิดดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ อยู่ในวงโคจรระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี มีจำนวนมากมาย ปัจจุบันเรายังค้นพบไม่หมด วัตถุขนาดเล็กพวกนี้มีองค์ประกอบแตกต่างกันออกไป บางวัตถุก็มีองค์ประกอบเป็นคาร์บอน บางวัตถุก็เป็นเหล็ก บางครั้งถ้าได้รับแรงรบกวนจากดาวเคราะห์ข้างเคียงหรือมีการเปลี่ยนแปลงวงโคจรก็ตัดเข้ามาในระบบสุริยะด้านใน และบางครั้งก็ตัดกับวงโคจรของโลก ซึ่งความถี่ของการชนพบว่าการชนแบบอุกกาบาตชิคซูลูปมีความถี่ประมาณหลายร้อยล้านปี ส่วนกรณีการชนที่ทังกัสก้ามีความถี่ก็หลายร้อยปี แต่จะมีขนาด 1-2 เมตร ไม่มีปัญหาอะไร เพราะโลกมีชั้นบรรยากาศเป็นเกราะป้องกันอยู่แล้ว ซึ่งเมื่อปีที่แล้วก็ไม่มีใครทราบว่าในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2554 มีดาวเคราะห์น้อยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 300 เมตร เฉียดโลกไปในระยะ 324,900 กิโลเมตร ชื่อดาวเคราะห์น้อย 2005 YU55 เป็นดาวเคราะห์น้อยที่ค้นพบในปี ค.ศ. 2005 โคจรรอบดวงอาทิตย์ในเวลา 1.22 ปี ต่อ 1 รอบ ซึ่งไม่มีภัยอันตรายต่อโลกอีกเช่นกัน. จาก ........................ เดลินิวส์ วันที่ 5 มีนาคม 2555
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
เรียบเรียงคำตอบ | |
|
|