#1
|
||||
|
||||
รวมเรื่องราวเกี่ยวกับ ..... ปะการังเทียม (2)
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
วางซั้ง อนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเล สำนักราชเลขาธิการ มูลนิธิพระดาบส สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส ร่วมกับจังหวัดนราธิวาสและราษฎรบ้านทอน ตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส จัดทำโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเลตาม พระราชเสาวนีย์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ด้วยการนำซั้งปล่อยลงสู่ทะเลเพื่อเป็นแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ ทั้งนี้ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย และ พลเรือเอกชุมพล ปัจจุสานนท์ องคมนตรี รอง ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส และคณะกรรมการมูลนิธิพระดาบส ร่วมทำพิธีปล่อยขบวนเรือกอและ จำนวน 150 ลำ ออกทะเลเพื่อปล่อยซั้งที่ความลึก 5-15 เมตร ห่างจากชายฝั่งทะเล 2-3 กิโลเมตร ซั้ง หรือปะการังเทียมพื้นบ้าน เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีมาแต่อดีต เป็นเครื่องมือดึงดูดสัตว์น้ำให้มาอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก เพื่อความสะดวกในการทำการประมง โดยการนำซั้ง หรือทุ่นปะการังเทียมไปทิ้งไว้ในทะเลอ่าวไทยเพื่อใช้เป็นแหล่งอาศัยและแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำขนาดเล็ก โดยชาวบ้านสร้างขึ้นจากวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่นที่สามารถย่อยสลายในน้ำได้ กล่าวคือ นำไม้ไผ่มาตัดเป็นท่อน แล้วใช้เถาวัลย์ผูกติดกับใบหรือทางมะพร้าวทำเป็นซั้ง นอกจากนี้ประโยชน์ทางอ้อมของซั้งคือ ป้องกันเรือประมงขนาดใหญ่ เช่น เรืออวนลาก มาทำการประมงในเขตน่านน้ำหวงห้ามได้อีกทางหนึ่งด้วย ซั้ง หมายถึงอุปกรณ์ที่ทำให้ปลามา อยู่รวมกัน ซึ่งมีที่มาจากสิ่งของลอยน้ำ ต่าง ๆ โดยมีปลาเล็กปลาน้อยอาศัยร่มเงาอยู่ และจะมีปลาขนาดใหญ่กว่าติดตามหาอาหารไปด้วย การวางซั้งก็จะเลียนแบบสิ่งของลอยน้ำ โดยใช้วัสดุต่าง ๆ มาผูกมัดรวมกัน เช่น เศษอวน, เชือกเก่า, ไม้ไผ่ และทางมะพร้าว เหล่านี้เป็นต้น เพียงแต่ซั้งจะถ่วงด้วยก้อนหิน หรือผูกติดกับโขดหินใต้น้ำ ไม่ให้ลอยออกไปจากจุดที่ต้องการ การจัดทำซั้งจะเลือกใช้วัสดุที่มีราคาถูกสามารถจัดหาซื้อได้ในท้องถิ่น เช่น ลำไม้ไผ่ ใบมะพร้าว เชือก กระสอบ กิ่งไม้ เป็นต้น มาประกอบกันเป็นซั้งแล้วนำไปวางบริเวณชายฝั่งทะเลที่เป็นแหล่งทำการประมงหรือบริเวณแหล่งอาศัยของสัตว์ทะเล โดยรูปแบบของการทำซั้งจะแตกต่างกันตามภูมิปัญญาของแต่ละชุมชน ส่วนประกอบของซั้งประกอบด้วย ลำไม้ไผ่ 1 ลำ ยาว 7-10 เมตร ซึ่งสั้นกว่าลำไม้ไผ่ที่ใช้ในที่อื่น ๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5-4 นิ้ว ใช้ใบมะพร้าว เพียง 4 ใบ ขนาดยาว 1.5-2.5 เมตร กิ่งเสม็ดจำนวน 3-4 กิ่ง แทนใบมะพร้าวบริเวณตอนล่างของเชือกซึ่งอยู่ใกล้กับกระสอบทราย ใช้เชือกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 มิลลิเมตร และกระสอบ 1 ถุงต่อซั้ง 1 ชุด แหล่งจัดวางซั้งบ้านทอนอยู่ในเขต 3 กิโลเมตรจากฝั่ง ซั้งอาจจะมีส่วนของการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำได้น้อยกว่าปะการังเทียม แต่ซั้งจะเป็นประโยชน์อย่างมากกับกิจกรรมการตกปลา และอุตสาหกรรมอาหารทะเล โดยเฉพาะกับการทำปลากระป๋อง ซึ่งจะลงทุนทำซั้งเป็นจำนวนมากกลางทะเล เพื่อให้ปลาเล็กเข้าอยู่อาศัย เช่น ปลากุแร, ปลาทูแขก, ปลาสีกุน เป็นต้น แล้วจับปลาเหล่านั้นส่งโรงงานได้คราวละมาก ๆ ปลาเล็กดังกล่าวเป็นอาหารของปลาที่ใหญ่กว่า เช่น ปลาอินทรี, สาก, อีโต้มอญ, กะโทงแทง, กะโทงร่ม เป็นต้น จึงทำให้ซั้งเป็นประโยชน์ต่อวงการตกปลามากกว่าปะการังเทียม สำหรับหมู่บ้านทอน ตั้งอยู่ที่หมู่ 5 ตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส เป็นหมู่บ้านติดชายทะเล คือชายหาดบ้านทอน ซึ่งเป็นชายหาดยาวขาวสะอาด และยังคงความเป็นธรรมชาติอยู่มาก ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ทำการประมงเป็นอาชีพหลัก และใช้เวลาว่างประดิษฐ์ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านคือ เรือกอและจำลอง. จาก : เดลินิวส์ วันที่ 9 กรกฎาคม 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
เร่งสร้างปะการังเทียม ช่วยชาวประมงพื้นบ้าน"ปัตตานี-นราธิวาส" นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ เผยว่า ได้สั่งการให้กรมประมง เร่งจัดสร้างปะการังเทียมให้แก่ชาวประมงพื้นบ้านใน จ.ปัตตานี และ นราธิวาส ตามที่ได้เข้าชื่อร้องมา โดยขอความร่วมมือไปยังกระทรวงคมนาคมและกรุงเทพมหานคร เพื่อรับการสนับสนุนตู้รถไฟเก่า และรถขนขยะที่ไม่ใช้งานแล้ว เพื่อนำมาสร้างแหล่งปะการังเทียม ขณะที่ ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง เผยว่า ได้สั่งการให้ประมงจังหวัดปัตตานีและนราธิวาส พร้อมด้วยผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยตอนล่าง จ.สงขลา ลงพื้นที่พบปะหารือกับกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านดังกล่าว เพื่อหาพื้นที่ที่เหมาะสมในการจัดวางตู้รถไฟ หรือรถขนขยะเพื่อเป็นแหล่งปะการังเทียม เมื่อได้พื้นที่แล้วให้เร่งสำรวจพื้นที่จริงเพื่อดูความเหมาะสมเชิงวิชาการ ด้านระบบนิเวศ พร้อมทั้งลงจุดพิกัดให้แน่นอน โดยให้เร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 สิงหาคม ซึ่งคาดว่าผลจากการสร้างปะการังเทียม จะช่วยทำให้ชาวประมงพื้นบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 20-30% และยังช่วยจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำได้ผลอย่างยั่งยืน อธิบดีกรมประมง ยังกล่าวถึงปะการังเทียมที่จัดสร้างโดยใช้วัสดุแท่งคอนกรีตรูปลูกบาศก์ ว่า กรมประมงได้จัดสร้างมาตั้งแต่ปี 2528 จนถึงปัจจุบัน จากผลการจัดสร้างถึงปี 2551 รวมมีทั้งหมด 342 แห่ง เป็นแหล่งปะการังเทียมขนาดเล็กครอบคลุม พื้นที่ 1-2 ตารางกิโลเมตร จำนวน 310 แห่ง ใน 18 จังหวัดชายฝั่งทะเล และแหล่งปะการังเทียมขนาดใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ 20-30 ตารางกิโลเมตร 32 แห่ง ในเขต 19 จังหวัด สำหรับในปี 2552 มีการจัดสร้าง 20 แห่ง เป็นแหล่งเล็ก 19 แห่ง และแหล่งใหญ่ 1 แห่ง ซึ่งจำนวนนี้อยู่ในพื้นที่ จ.ปัตตานี 3 แห่ง นราธิวาส 3 แห่ง สงขลา 2 แห่ง และสตูล 1 แห่ง จาก : แนวหน้า วันที่ 18 สิงหาคม 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
กรมประมงเผยได้พื้นที่สร้างปะการังเทียมแล้ว กรมประมง 26 ส.ค.-กรมประมงเผยความคืบหน้าได้พื้นที่สร้างปะการังเทียมด้วยตู้รถไฟและรถขนขยะในพื้นที่ จ.นราธิวาส ตาม ที่กรมประมงโดย ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง ได้สั่งการให้ประมงจังหวัดปัตตานีและนราธิวาส พร้อมด้วยผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยตอนล่าง จ.สงขลา ลงพื้นที่พบปะพูดคุยกับชาวประมงในพื้นที่ จ.ปัตตานีและนราธิวาส เพื่อหารือเกี่ยวกับพื้นที่วางปะการังเทียม ด้วยตู้รถไฟและรถขนขยะที่ไม่ใช้งานแล้ว พร้อมทั้งสำรวจความเหมาะสมเชิงวิชาการ ตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมานั้น ผลการดำเนินการ ขณะนี้สามารถหาพื้นที่วางปะการังเทียมดังกล่าวได้แล้ว ได้แก่ พื้นที่ใน จ.นราธิวาส บริเวณชายฝั่งทะเล หมู่ที่ 4 ต.ศาลาใหม่ อ.ตากใบ ซึ่งอยู่ห่างฝั่ง 12.5 กิโลเมตร ที่ระดับน้ำลึก 23 เมตร พื้นท้องทะเลเป็นทรายในโคลน ถือเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม ส่วนพื้นที่ใน จ.ปัตตานี คาดว่า จะได้ผลก่อนสิ้นเดือนสิงหาคมนี้ สำหรับตู้รถไฟและรถขนขยะที่ไม่ใช้งานแล้วกำลังรอการพิจารณาสนับสนุน จากกระทรวงคมนาคมและกรุงเทพมหานคร จาก : ข่าว อสมท. MCOT News วันที่ 27 สิงหาคม 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
"ปะการังเทียม"ฟื้นฟูทะเลไทย สร้างรายได้ประมงพื้นบ้าน (สกู๊ปแนวหน้า) สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงห่วงใยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทรงมีพระราชเสาวนีย์ในหลายโอกาสให้สร้างแนวปะการังเทียมเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ เนื่องจากในหลายพื้นที่ที่สร้างแนวปะการังเทียม พบว่ามีปริมาณสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น ระบบนิเวศในท้องทะเลดีขึ้น ชาวประมงก็มีรายได้เพิ่มขึ้น เมื่อวันที่ 11 ส.ค.ที่ผ่านมา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชดำรัสเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 77 พรรษา โดยทรงย้ำในเรื่องนี้อีกครั้งว่า... "ปะการังเทียมนั้นใช้ได้ผลจริงๆ ควรสร้างปะการังเทียมเพิ่ม" ข้อมูลจาก โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา รายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงสนองพระราชเสาวนีย์ของพระองค์ท่าน โดยสั่งการให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจัดทำโครงการฟื้นฟูทรัพยากรชาย ฝั่งทะเลไทย และวางแนวปะการังเทียมเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 77 พรรษา และหนึ่งในพื้นที่วางปะการังเทียมครั้งนี้ คือชายฝั่งทะเลปัตตานี โดยมี นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เดินทางมาเป็นประธานเปิดโครงการด้วยตัวเอง นายวิชาญ ทวิชัย อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า เมื่อแนวปะการังตามธรรมชาติถูกทำลาย ก็เหมือนที่อยู่อาศัยและแพร่พันธุ์ของสัตว์น้ำลดลง ปริมาณสัตว์น้ำก็ลดตาม การสร้างแนวปะการังเทียมจึงถูกใช้เป็นเครื่องมือในการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ ทำหน้าที่คล้ายแนวหินหรือแนวปะการังตามธรรมชาติ ซึ่งยอมรับกันว่ามีประโยชน์อย่างยิ่งในการอนุรักษ์ทรัพยา กรทางทะเล โดยเฉพาะสัตว์น้ำขนาดเล็กไม่ให้ถูกจับถูกล่าไปก่อน และสามารถดึงดูดสัตว์น้ำนานาชนิดให้เข้ามาอยู่อาศัย หาอาหาร สืบพันธุ์ ตลอดจนสามารถพัฒนาเป็นแหล่งประมงสำหรับทำประมงขนาดเล็กและประมงในเชิงพาณิชย์ได้อีกด้วย "ประโยชน์ของปะการังเทียมมีหลายด้าน ได้แก่ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของปลาและสิ่งมีชีวิตในทะเล โดยเฉพาะสัตว์น้ำวัยอ่อน เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตพวกเกาะติด ทำให้เกิดแพลงตอนพืชในมวลน้ำเพิ่มขึ้น ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง เป็นแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำ และเป็นแหล่งตกปลา ซึ่งผลการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า บริเวณที่มีการวางปะการังเทียมจะมีปริมาณสัตว์น้ำเข้ามาอาศัยทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่เพิ่มมากขึ้น มากกว่าบริเวณที่ไม่ได้วางแนวปะการังเทียมเป็นจำนวนมาก" อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวอีกว่า สำหรับการวางแนวปะการังเทียมครั้งนี้ ได้จัดวางปะการังเทียมในพื้นที่ตามแนวพระราชดำริ โดยพื้นที่จัดวางอยู่ในทะเลห่างจากชายฝั่งบ้านตันหยงเปาว์ หมู่ 4 ต.ท่ากำชำ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ประมาณ 5-6 กิโลเมตร บริเวณน้ำลึกประมาณ 8-14 เมตร พื้นทะเลเป็นโคลนปนทราย โดยแท่งปะการังเทียมทำจากซีเมนต์รูปทรงลูกบาศก์โปร่งขนาด 1.5 คูณ 1.5 คูณ 1.5 เมตร จำนวน 2,135 แท่ง โครงการจัดวางปะการังเทียมได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2544 ในหลายอำเภอของจังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น อ.หนองจิก อ.เมือง อ.ยะหริ่ง อ.ปะนาเระ และ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ช่วยคืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับท้องทะเล สร้างรายได้และความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับประมงพื้นบ้านได้อย่างยั่งยืน จากโครงการวางแนวปะการังเทียมเมื่อปี 2545 ในพื้นที่ จ.ปัตตานี พบว่า บริเวณปะการังเทียมมีสัตว์น้ำเข้ามาอาศัยมากขึ้น ได้แก่ ปลาสลิดหิน ปลาอมไข่ ปลาดุกทะเล ปลากะรัง ปลากะพงข้างปาน ปลากะพงแดง ปลาสีกุน และปูม้า ซึ่งจากการศึกษาด้วยเครื่องมืออวนจมกุ้งในอดีต พบว่าจำนวนชนิดสัตว์น้ำที่จับได้ด้วยอวนจมกุ้งมีทั้งหมด 17 ชนิด และเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าในปีถัดมา คือสามารถจับสัตว์น้ำได้ทั้งหมด 33 ชนิด ข้อมูลเหล่านี้บ่งชี้ว่า ปะการังเทียมสามารถเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำได้จริง นายสุไลมาน ทิพย์ยอแล๊ะ รองประธานกลุ่มประมงพื้นบ้านรูสะมิแล ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี กล่าวว่า ปัจจุบันการทำมาหากินของกลุ่มชาวบ้านที่เป็นประมงพื้นบ้าน ต้องยอมรับว่าทำมาหากินได้ยากขึ้น เนื่องจากทรัพยากรทางทะเลจำพวกสัตว์ทะเลที่เคยจับไปขายเพื่อเลี้ยงชีพมีปริมาณลดน้อยลงกว่าในอดีตมาก การทำมาหากินของชาวประมงค่อนข้างฝืดเคีอง ประกอบกับรายจ่ายในการออกเรือเพื่อทำประมงแต่ละครั้งค่อนข้างสูง ซ้ำเมื่อออกเรือก็จับสัตว์น้ำได้ไม่คุ้ม ต้องออกไปไกลฝั่งมากๆ จึงจะได้ "ในอดีตกลุ่มประมงพื้นบ้านไม่ได้ออกไปจับปลาไกลมากเหมือนทุกวันนี้ เมื่อก่อน ออกไปแค่ไม่กี่ร้อยเมตรก็สามารถทอดแหหรือตกปลาเอาไปขายได้วันละ 300-500 บาทแล้ว ชาวบ้านก็อยู่ได้ เพราะต้นทุนการทำประมงน้อยมาก แต่ปัจจุปันชาวประมงต้องขับเรือออกไปกว่า 3-4 กิโลเมตร ใช้เวลากว่า 40 นาที หนำซ้ำยังจับปลาได้น้อยกว่าในอดีตมาก ไหนจะต้องมีค่าใช้จ่ายเรื่องน้ำมันที่ใช้เติมเรือที่มากขึ้น ราคาน้ำมันก็แพง แต่ราคาปลาทะเลที่จับมาได้กลับไม่ได้สูงเหมือนต้นทุน วันนี้ออกเรือไปหาปลาแต่ละครั้งใช้ต้นทุน 400-500 บาท หาปลาได้น้อยลงทำให้ชาวประมงหลายรายต้องหยุดออกเรือ แล้วไปทำงานรับจ้างอย่างอื่นแทน" รองประธานกลุ่มประมงพื้นบ้านรูสะมิแล บอก นายสุไลมานกล่าวอีกว่า หลังจากรู้ว่าจะมีโครงการวางแนวปะการังเทียมในพื้นที่ก็รู้สึกดีใจ เพราะเคยทราบจากเครือข่ายประมงในพื้นที่ อ.สายบุรี ที่เคยมีโครงการวางแนวปะการังเทียมมาก่อนว่า ให้หลัง 1 ปี สัตวน้ำมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ชาวประมงพื้นบ้านสามารถจับปลาและทำมาหากินได้ตามปกติ มีรายได้เพิ่มขึ้น จึงคิดว่าหากมีการวางแนวปะการังเทียมขึ้นในพื้นที่เขต อ.เมืองและ อ.หนองจิก จะทำให้ชาวประมงพื้นบ้านสามารถทำมาหากินได้ดีขึ้น "ชาวประมงพื้นบ้านทุกคนรู้สึกซาบซึ้งในพระมหาการุณธิคุณที่พระองค์ท่านทรงมีความห่วงใยประชาชน โดยเฉพาะชาวประมงพื้นบ้านในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผมมั่นใจว่าหลังจากนี้ชาวประมงพื้นบ้านจะทำมาหากินได้อย่างปกติสุข" นายสุไลมาน กล่าว โครงการดีๆ เช่นนี้จะช่วยอนุรักษ์ให้ทะเลปัตตานีอุดมสมบูรณ์ไปชั่วลูกชั่วหลาน... จาก : แนวหน้า วันที่ 31 สิงหาคม 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#6
|
||||
|
||||
โครงการสร้างปะการังเทียมเห็นผลสำเร็จช่วยฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ โครงการสร้างปะการังเทียมประสบผลสำเร็จหลังดำเนินการต่อเนื่องมา 24 ปี ปัจจุบันสามารถฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ได้ใน ระดับหนึ่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กองทัพเรือ กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี และกรมประมง ร่วมกันแถลงข่าวถึงความสำเร็จในระดับหนึ่งของโครงการ “ร่วมสร้างบ้านปลาด้วยปะการังเทียม” โดยทั้ง 4 หน่วยงานหลักได้เข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้องจับมือร่วมกันสร้างปะการังเทียม เพื่อให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำและฟื้นฟูความสมบูรณ์ของท้องทะเล โดยนายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่าหลังจากที่ได้มีการจัดวางปะการังเทียมในทะเลแต่ละพื้นที่ไปแล้ว ประมาณ 2-3 ปี กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้ไปประเมินทุกครั้ง พบว่าสามารถเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำได้จริง เพราะเป็นแหล่งอนุบาลของสัตว์ทะเลนานาชนิดที่สำคัญช่วยป้องกันการกัดเซาะชาย ฝั่ง ทั้งยังส่งผลให้ชาวประมงมีแหล่งประมงเพิ่มขึ้นด้วย ล่าสุดได้มีการจัดวางปะการังเทียมที่จังหวัดปัตตานีซึ่งก็ประสบความสำเร็จ เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามโครงการนี้จะทำอย่างต่อเนื่องโดยไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวด ล้อมและพื้นที่อนุรักษ์ทางทะเล ด้าน ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง กล่าวว่าโครงการดังกล่าวดำเนินการต่อเนื่องมา 24 ปีแล้ว โดยวางปะการังเทียมแล้ว 364 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งการจัดวางในแต่ละพื้นที่ทุกครั้งทำถูกต้องตามหลักวิชาการอย่างเป็นระบบ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล โดยมีการสำรวจพื้นที่ที่เหมาะสม เลือกใช้วัสดุที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษหรือมีสิ่งเจือปน ที่ผ่านมาได้มีการเลือกใช้วัสดุคือแท่งคอนกรีตและตู้รถไฟ ซึ่งมีหน่วยงานเป็นผู้มอบให้ ส่วนงบประมาณที่ดำเนินการไปแล้วปะมาณกว่า 3,100 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม มีแผนเตรียมสร้างประการังเทียมอีก 23 แห่ง คาดจะดำเนินการประมาณกลางปีหน้าในช่วงที่มีสภาพอากาศที่เหมาะสม จาก : ข่าว อสมท. วันที่ 8 ตุลาคม 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#7
|
||||
|
||||
ทช. จับมือ 3 หน่วยงาน จัดโครงการ “ร่วมสร้างบ้านปลาด้วยปะการังเทียม” ฟื้นฟูทะเลไทย กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมกับ กองทัพเรือ กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี และกรมประมง จัดโครงการ “ร่วมสร้างบ้านปลาด้วยปะการังเทียม” ฟื้นฟูทะเลไทย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวถึงการดำเนินงานตามโครงการ “ร่วมสร้างบ้านปลาด้วยปะการังเทียม” ว่า จะมุ่งเน้นการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลไทย ทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน ให้ระบบนิเวศกลับมามีความสมบูรณ์ดังเดิม โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแนวปะการังเทียม ซึ่งแต่ละหน่วยงานจะมีบทบาททางด้านทรัพยากรทางทะเลที่ล้วนเอื้อประโยชน์ต่อกัน จึงถือเป็นความร่วมมือกันอย่างบูรณาการ เพื่อสร้างแหล่งที่อยู่อาศัยให้กับสัตว์ทะเลอื่นๆได้อย่างเป็นระบบและถูกต้องตามหลักวิชาการ ทั้งนี้ การวางแนวปะการังเทียม นอกจากเป็นประโยชน์ต่อสัตว์ทะเลแล้ว ยังช่วยป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ทำให้สามารถลดความแรงของคลื่นลมจากทะเลได้ด้วย จาก : สำนักข่าวไทย วันที่ 9 ตุลาคม 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#8
|
||||
|
||||
77 ล้าน...สร้างปะการังเทียม สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ...ทรงมีพระราชเสาวนีย์ ในเรื่องการ สร้างปะการังเทียม จากนั้นก็มี หลายหน่วยงานได้สนองพระราชเสาวนีย์ เมื่อไม่กี่วันมานี้ ณ สยามโอเชี่ยนเวิลด์ สยามพารากอน มีการแถลงข่าว ร่วมระหว่าง กรมประมง กองทัพเรือ กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จึงได้รู้ว่ากิจกรรมในการสร้างปะการังเทียมนี้ กรมประมงได้ดำเนินการอย่างมีระบบและต่อเนื่องก่อนใครเพื่อน คือ ตั้งแต่ปี 2522 ได้ศึกษาเกี่ยวกับวัสดุที่เหมาะสม อย่างเช่น ไม้ไผ่ ยางรถยนต์ และ แท่งคอนกรีต รูปแบบต่างๆ ตลอดจนการจัดวางเพื่อดึงดูดให้ สัตว์น้ำเข้ามาอยู่อาศัย จนกระทั่งได้ผลสรุป ใน ปี 2528 จึงสร้าง แท่งคอนกรีตเสริมเหล็กรูปลูกบาศก์เมตร ขนาด 1.5 ๚ 1.5 ๚ 1.5 เมตร เพื่อใช้ เป็นปะการังเทียมอย่างจริงจัง จนถึงปัจจุบัน รวมแล้ว 362 แห่ง ทั้งใน อ่าวไทย และ อันดามัน ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 2,000 ตารางกิโลเมตร ผลจากการจัดวางปะการังเทียม ได้ช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำ ก่อให้เกิดเป็นแหล่งประมงสำหรับชาวประมงพื้นบ้าน และช่วยป้องกันการลักลอบเข้ามาทำการประมงใกล้ฝั่งของเรืออวน เรือลาก อวนรุน เป็นการลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวประมงด้วยกัน และ....สร้างวิถีแห่งเศรษฐกิจพอเพียง ลดค่าน้ำมันไม่น้อยกว่า 10-20% ทำให้ชาวประมงพื้นบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น 20-23% นอก นั้นยังได้ใช้ โบกี้รถไฟเก่า รถขนขยะ ที่ไม่ใช้งานแล้ว รวมถึง ท่อระบายน้ำ ให้เป็นวัสดุจัดสร้างปะการังเทียม ภายใต้ โครงการฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเลอันเนื่องจากพระราชดำริ จังหวัดปัตตานีและนราธิวาส โดย...ตั้งแต่ปี 2544 จากที่ สมเด็จฯทรงมีพระราชเสาวนีย์ เป็นต้นมาได้จัดสร้างฯ โดยใช้ตู้รถไฟ 608 ตู้ ท่อระบายน้ำ 707 ท่อ และรถขนขยะที่ไม่ใช้งานแล้ว 389 คัน ขณะนี้... กรมประมงก็ได้ตู้รถไฟเก่าจากการรถไฟแห่งประเทศไทย 59 ตู้ รถขนขยะที่ไม่ใช้แล้วจากกรุงเทพมหานคร 200 คัน คาดว่าจะนำไปวางในเดือนพฤษภาคมปีนี้ โดยได้สำรวจพื้นที่ไว้แล้วในเขต อำเภอสายบุรี ไม้แก่น และ ปะนาเระ จังหวัดปัตตานีกับ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง บอกว่า....ปีนี้ได้งบประมาณ 77 ล้านบาท สร้างแท่งปะการังเทียมได้ 12,800 แท่ง จัดวางในแหล่งเล็กๆ 1 ตารางกิโลเมตร 19 แห่ง ในจังหวัดตราด จันทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร นครศรีธรรมราช ตรัง กระบี่ ปัตตานี นราธิวาส สตูล สงขลา และ...แหล่งพื้นที่ใหญ่ ขนาด 20 ตารางกิโลเมตร 1 แห่งที่จังหวัดระยอง ต้องใช้คอนกรีต 36,781 แท่ง ซึ่ง คุณธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรฯ จะเป็นประธานในพิธี วางปะการังเทียม ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลฝั่งตะวันออก ในวันที่ 6 พฤศจิกายนนี้ จาก : ไทยรัฐ วันที่ 19 ตุลาคม 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#9
|
||||
|
||||
ก.เกษตรขยายพื้นที่สร้างปะการังเทียมปีหน้ากว่า 23 แห่ง กระทรวงเกษตรฯ ประเมินผลการสร้างแหล่งปะการังเทียมเป็นไปตามเป้า พร้อมเตรียมแผนขยายพื้นที่สร้างปะการังเทียมปี 53 กว่า 23 แห่งทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามันเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและแหล่งประมง เพิ่มมากขึ้น นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยในโอกาสเป็นประธานในพิธีเปิดการจัดวางปะการังเทียมว่า ในปีนี้ กรมประมงได้รับจัดสรรงบประมาณสำหรับจัดสร้างปะการังเทียม 20 แห่ง จำนวน 77 ล้านบาท แบ่งเป็นแหล่งการจัดสร้างในพื้นที่ขนาดเล็ก จำนวน 19 แห่งอยู่ในพื้นที่จังหวัดตราด จันทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร นครศรีธรรมราช ตรัง กระบี่ ปัตตานี นราธิวาส สงขลา และสตูล ซึ่งส่วนใหญ่ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ในขณะที่ฝั่งอ่าวไทยยังคงเหลือเพียงที่จังหวัดตราด และจันทบุรี ส่วนสตูล กระบี่ ตรัง ฝั่งทะเลอันดามัน ที่ต้องรอให้มรสุมหยุดก่อน ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการจัดวางได้แล้วเสร็จไม่เกินมกราคมปีหน้า ทั้งนี้จากผลการจัดสร้างปะการังเทียมที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2528 จนถึงปี 2552 มีการจัดสร้างปะการังเทียมทั้งหมด 362 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 2,000 ตารางกิโลเมตร ทั้งในอ่าวไทย และทะเลอันดามัน ยังผลให้บริเวณที่ไปจัดสร้างปะการังเทียมมีจำนวนทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ขึ้น สัตว์น้ำบางชนิดที่หายากก็กลับมีการพบเพิ่มมากขึ้น เช่น ปลาหมอทะเลขนาดใหญ่ ปลาช่อนทะเล ปลาผีเสื้อเทวรูป ปลาจะละเม็ดเทา ปลาดุกทะเล และปลาตะลุมพุก ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ชาวประมงไม่ว่าจะสามารถจับสัตว์น้ำได้มากขึ้น ช่วยประหยัดค่าน้ำมันได้มากขึ้น เพราะไม่ต้องออกทะเลไปไกลทำให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยในการบริหารจัดการการทำการประมงโดยช่วยป้องกันเรือที่มี ศักยภาพในการทำประมงสูงไม่ให้เข้ามาทำการประมงใกล้ฝั่ง เพื่อป้องกันการเสื่อมโทรมของทรัพยากร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ กล่าวว่า ในปีหน้า ได้มอบหมายให้กรมประมงจัดสร้างปะการังเทียมอีก 23 แห่ง เป็นปะการังเทียมขนาดเล็กทั้งหมด โดยมีแผนจัดวางใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้รวม 14 แห่ง นอกจากนี้ ยังได้เร่งให้มีการจัดสร้างปะการังเทียม แก่ชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่จังหวัดปัตตานี และนราธิวาส โดยใช้วัสดุเหลือใช้ ได้แก่ ตู้รถไฟ และรถขนขยะตามพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งกรมประมงได้เคยดำเนินการมาแล้วในปี 2544 โดยในปีนี้ได้ขอความร่วมมือไปยังกระทรวงคมนาคม และกรุงเทพมหานคร โดยได้รับการสนับสนุนตู้รถไฟเก่า 59 ตู้ และรถขนขยะที่ไม่ได้ใช้งานแล้วจำนวน 200 คัน เพื่อนำไปจัดวางในพื้นที่จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส ซึ่งพื้นที่ทั้งหมดสามารถจัดวางปะการังเทียมได้ดี รวมทั้งเป็นแหล่งประมงที่มีฝูงปลาผ่านจึงเหมาะสมในการฟื้นฟูให้เป็นแหล่ง ประมงที่ดีมากยิ่งขึ้นต่อไป จาก : ข่าว อสมท. MCOT News วันที่ 6 พฤศจิกายน 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#10
|
||||
|
||||
ตามรอยแม่ดูแลทะเลไทย ปลูก 'ปะการังเทียม' รักษ์สิ่งแวดล้อม ด้วยเพราะทะเลเป็นทรัพยากรธรรม ชาติที่มีความสำคัญ ก่อเกิดประโยชน์ในด้านต่าง ๆ มากมายทั้งการประมง การคมนาคมขนส่ง อุตสาหกรรม รวมทั้งด้านการท่องเที่ยว นอกจากนี้ในความสมบูรณ์ของท้องทะเลยังมีความหมายต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ น้อยใหญ่ สิ่งมีชีวิตใต้ผืนน้ำ อีกทั้งยังก่อเกิดภูมิปัญญาอาชีพของคนในท้องถิ่นกับธรรมชาติได้อยู่ร่วมกัน อย่างยั่งยืน การร่วมใจกันดูแลอนุรักษ์ฟื้นฟูชายฝั่งทะเล รักษาสภาพธรรมชาติให้คงอยู่จึงเป็นสิ่งที่มีความหมายความสำคัญ จากพระราชดำริสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงมีความห่วง ใยท้องทะเลไทย การอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลที่ผ่านมาหลายหน่วยงานภาครัฐ เอกชนได้ผสานความร่วมมืออย่างจริงจัง ตามรอยแม่ดูแลทะเลไทย เหล็กไทยร่วมใจรักษ์ สิ่งแวดล้อม ถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่สร้างสรรค์ประโยชน์ ให้กับธรรมชาติ โดย สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยและภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์ ได้ร่วมใจกันคืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับท้องทะเล ปลูกปะการังโดยใช้เหล็กวัสดุจากภาคอุตสาหกรรมให้เกิดประโยชน์จัดทำโครงสร้าง ปลูกปะการังศึกษาวิจัยและจัดทำที่อยู่อาศัยสัตว์ทะเล ขึ้น ณ หาดสังวาลย์ เกาะล้าน จ.ชลบุรี การปลูกปะการังเทียมด้วยโครงเหล็กเพื่อการอนุรักษ์ฟื้นฟูชายฝั่งทะเลไทยทด แทนสภาพระบบนิเวศใต้ทะเลที่ถูกทำลาย สร้างที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลและเป็นแหล่งอนุบาลปะการังเทียม ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ความรู้ว่า การปลูกปะการังครั้งนี้ปลูกบนโครงซึ่งการใช้วัสดุจากอุตสาหกรรมเหล็กจัดทำ ที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลพัฒนาแหล่งที่อยู่ของสัตว์น้ำเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ ให้กับทะเลนั้นเมื่อเวลาผ่านไปปะการังจะเติบโต ขณะที่โครงเหล็กจะผุกร่อนหักลงปะการังก็จะหลุดมารวมกันเหมือนการเกิดตาม ธรรมชาติ วัสดุเหล็กจะถูกกัดกร่อนย่อยสลายไปตามธรรมชาติโดยไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางทะเล “ประเทศเรามีแนวปะการังอยู่ไม่น้อยและมีการใช้ประโยชน์จากแนวปะการังในรูป แบบต่าง ๆ ทั้งในการท่องเที่ยว แหล่งประมง ฯลฯ อีกทั้งในประโยชน์ที่มองไม่เห็นของแนวปะการังซึ่งมีลักษณะเป็นเขื่อน ถ้าไม่มีแนวปะการังคลื่นจะซัดเข้าชนชายหาด กัดเซาะแนวชายฝั่ง แนวปะการังจึงมีประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม” การจัดการปะการังที่มีทั้งการอนุรักษ์และฟื้นฟู ในแนวคิดการอนุรักษ์นั้นมีความสำคัญเป็นอันดับต้น ขณะเดียวกันการฟื้นฟูเป็นสิ่งที่ตามมาซึ่งบางครั้งการฟื้นฟูเป็นสิ่งที่จำ เป็น เพราะสามารถช่วยเหลือแนวปะการังบางรูปแบบบางอย่างได้ แต่อย่างไรก็ตามในรูปแบบการช่วยเหลือจะต้องเรียนรู้ ทำความเข้าใจ ศึกษารูปแบบการช่วยเหลือที่เหมาะสม เพราะแนวปะการังเป็นระบบนิเวศที่เก่าแก่และมีความสำคัญ ในส่วนของกิจกรรม ครั้งนี้ เหล็กที่นำมาจัดทำที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลจัดทำโครงสร้างปลูกปะการังแบ่ง เป็น Coral Ball (ปูนซีเมนต์เสริมเหล็ก) เป็นการนำปะการัง หรือปะการังที่แตกหักโดยธรรมชาติมาปลูกเลี้ยงในกระถางดินเผา ขณะที่รูปแบบ โครงเหล็กแบบสี่เหลี่ยม กับแบบเส้นตรง เป็นการนำปะการัง หรือปะการังที่แตกหักโดยธรรมชาติ ผูกติดกับโครงสร้างเหล็กซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปปะการังจะเติบโตมีน้ำหนักมาก ขึ้น โครงเหล็กจะผุกร่อนหักลงปะการังก็จะหลุดออกมารวมตัวกันเหมือนกับการเกิดตาม ธรรมชาติ ส่วนอีกรูปแบบหนึ่ง โครงเหล็กรูปทรงลูกบาศก์ เป็นวิธีการห้อยวัสดุล่อตัวอ่อนของสัตว์น้ำ ปะการัง หอย ฯลฯ ให้มาเกาะยึดกับวัสดุสร้างเป็นแหล่งอนุบาลตัวอ่อน และช่วยดึงดูดสัตว์น้ำให้มา อยู่อาศัย ในโครงสร้างเหล็กจัดทำแปลงอนุบาลปะการังที่ด้านบนของโครงสร้างเหล็ก โดยจะทำการอนุบาลประมาณ 4-6 เดือน แล้วจึงย้ายไปทำการปลูกในโครงสร้างปูนซีเมนต์เสริมเหล็กในแบบแรกและแบบที่ สอง นอกเหนือจากการศึกษาวิจัยสร้างบ้านให้กับ ปะการังสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในท้องทะเลที่มีความหมายต่อการอนุรักษ์ฟื้นฟูทะเล ไทยแล้ว กิจกรรมดังกล่าวยังเป็นการปลูกใจ สร้างการมีส่วนร่วม แรงร่วมใจกันดูแลทะเลไทยซึ่งมีการจัดทำค่ายนำนิสิตชั้นปีที่ 1-4 นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาวิทยาศาสตร์ ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำงานร่วมกับคนในพื้นที่เกาะล้าน ปูนซีเมนต์เสริมเหล็กทรงกลมคล้ายลูกฟุตบอลตัดครึ่งน้ำหนักไม่น้อยซึ่งนิสิต ชายหลายคนกำลังช่วยกันนำลงสู่ทะเล ปิยะวัฒน์ สุจิรชาโต นิสิตปริญญาโทที่กำลังศึกษาวิจัยเรื่องดังกล่าว หนึ่งในพี่เลี้ยงเล่าถึงความสำคัญของแนวปะการังว่า ธรรมชาติ ของปะการังจริง ๆ แล้วจะสามารถฟื้นฟูได้ด้วยตัวเองแต่อาจจะช้า การที่มีโครงการอาจช่วยให้การฟื้นฟูเป็นไปได้เร็วขึ้นซึ่งถ้าเราช่วยกัน ตระหนักถึงความสำคัญของธรรมชาติไม่ทำลายปะการัง ไม่ทิ้งขยะลงทะเล ไม่เก็บปะการังกลับมา ฯลฯ เหล่านี้ล้วนมีส่วนช่วยธรรมชาติพิทักษ์ท้องทะเลให้คงความอุดมสมบูรณ์ และเมื่อเป็นอย่างนั้นการปลูกปะการังลักษณะนี้อาจไม่จำเป็นต้องมีเลยก็ได้ เพราะอย่างที่กล่าวโดยทั่วไปธรรมชาติสามารถจะฟื้นฟูตัวเองได้ อย่างในเหตุการณ์สึนามิ ธรรม ชาติก็ฟื้นฟูตัวเอง “ปะการังที่เป็นที่รู้จักกันนั้นไม่เพียงสร้างความสวยงามให้กับโลกใต้ทะเล แต่ยังสร้างความสมดุลให้กับระบบนิเวศเรียกได้ว่าไม่มีแนวปะการังก็ไม่มีปลา และเมื่อไม่มีสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลก็เหมือน กับห่วงโซ่ของระบบนิเวศขาดหายไป ในมิติของการใช้เหล็กเข้ามาช่วยสร้างบ้านให้ปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล เหล็กสามารถย่อยสลายได้ไม่กลายเป็นสิ่งแปลกปลอมในท้องทะเล เมื่อกาลเวลาผ่านไปปะการังที่ปลูกเจริญเติบโตขึ้นเหล็กก็ผุกร่อนลง พอเหล็กหักสลายไปปะการังที่อยู่บนเหล็กก็จะตกลงไปอยู่ในพื้นทรายแล้วก็จะ เติบโตต่อ กลายเป็นแนวปะการรังที่มีอยู่ในธรรมชาติ” ปูนซีเมนต์เสริมด้วยโครงเหล็ก ที่เป็นหินปูนจะค่อย ๆ กร่อนหลุดร่วงลง ซึ่งหินเหล่านี้ปะการังก็จะนำไปใช้ในการเจริญเติบโตได้ด้วย ในโครงการนี้สิ่งที่จะทิ้งจมลง ทะเลมีทั้ง ปะการังเขากวาง และปะการังพุ่ม ซึ่งปะการังทั้งสองลักษณะนี้เป็นปะการังที่พบในบริเวณนี้ อีกทั้งปะการัง เขากวางจะเจริญเติบโตได้ดี ขณะที่ปะการังพุ่มมีลักษณะเด่นคือจะมีช่องว่างให้สิ่งมีชีวิต เข้าไปอยู่อาศัย นอกจากนี้ในรูปแบบ ดังกล่าว ซึ่งมีการออกแบบ ที่เหมาะสมยังเป็นการเลียนแบบธรรมชาติเช่นเดียวกับอีกสองรูปแบบที่เหมาะสม กับธรรมชาติโครงการนี้จึงเป็นการศึกษาทดลอง ที่นอกเหนือจากมิติการอนุรักษ์ธรรมชาติแล้วยังเป็นการศึกษาเรียนรู้วิทยา ศาสตร์ทางทะเลที่มีความหมายอีกด้วย ส่วนอีกเสียงหนึ่งจากเยาวชนที่เข้าร่วมในกิจกรรม เส้นหมี่ นิสิตน้องใหม่ปี 1 บอกเล่าประสบการณ์ในการเข้าร่วมโครงการนี้ว่า การได้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ได้เรียนรู้สัมผัสของจริงเป็นการต่อเติมการ เรียนรู้เพิ่มจากในตำรา การศึกษาสาขานี้นอกจากความสนใจในทะเลไทยแล้วยังมีความห่วงใยต่อสภาพธรรมชาติ ที่เป็นอยู่ สิ่งนี้อาจมองกันว่ายังเป็นเรื่องไกลตัว การใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ขาดการระมัดระวัง ใช้อย่างเต็มที่โดยไม่มองต่อไปอีกว่าถ้าใช้อย่างเต็มที่ในเวลานี้แล้วอนาคต จะเป็นอย่างไร คงไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องนัก ในเรื่องของปะการังก็เช่นเดียวกันอยากให้ทุกคนร่วมมือร่วมใจกันดูแลรักษาไว้ เพื่อภายภาคหน้าจะได้มีแนวปะการังที่สวยงาม คงความสมดุลตามธรรมชาติ เพราะแนวปะการังนั้นเป็นระบบนิเวศ ที่สำคัญของท้องทะเล ตราบใดที่ท้องทะเลไทย ยังคงเป็นที่กล่าวขาน เป็นจุดหมายของนักท่องเที่ยวนัก ดำน้ำที่หลงใหลมนต์เสน่ห์ โลกใต้ทะเล อีกทั้งทะเลยังเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญสร้างประโยชน์มากมายให้ กับมนุษย์และสัตว์ การร่วมมือร่วมใจกันอนุรักษ์ดูแลธรรมชาติให้คงความอุดมสมบูรณ์ร่วมกันจึงนับ เป็นการสร้างความยั่งยืนให้กับท้องทะเลไทยอย่างแท้จริง จาก : เดลินิวส์ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
เรียบเรียงคำตอบ | |
|
|