เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > เรื่องเล่าชาวทะเล

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 04-08-2012
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default อวนลาก - อวนรุน

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 07-08-2012 เมื่อ 08:04
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 04-08-2012
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 04-08-2012
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 04-08-2012
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 05-08-2012
GAF GAF is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: Jul 2012
ข้อความ: 102
Default

เหมือนที่กำลังจะทำงานทีซิสเลยครับ แต่อันนี้เป็น 3D ของผมจะเป็นงาน Motion
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #6  
เก่า 05-08-2012
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default

ประเทศอื่นเขาเริ่มยกเลิกการใช้อวนลาก ที่ทำลายระบบนิเวศใต้ท้องทะเลอย่างรุนแรงกันแล้ว...เมืองไทยยังไม่ยกเลิก แต่กลับจะทำให้เรืออวนลากถูกกฎหมายอีกด้วย

น่าอายจริงๆค่ะ...





Hong Kong bans Bottom Trawling in its waters from 2012




Hong Kong has banned trawl fishing in its waters, a decision welcomed by conservationists Friday as a crucial move to save fish stocks and revive the city's depleted marine environment.


The measure, which is expected to come into effect in late 2012, comes after a long campaign by environmental groups who say the method is extremely damaging to the seabed and fish stocks.

The territory's law-making body approved the ban on Wednesday, and proposed a HK$1.7 billion ($219 million) scheme to provide payments to some 400 affected trawler owners and deckhands.

"(The ban) can strengthen the sustainable development of the fishing industry, and to maintain a good oceanic environment," Hong Kong's health chief York Chow told the Legislative Council, according to a statement.

A spokeswoman from the Food and Health Bureau, which oversees trawl fishing activities, told AFP Friday that the proposed payments to the trawler owners and deckhands will need to be approved by the law-making body.

Conservation group WWF, which has been lobbying for a trawling ban since 2005, hailed the decision as a success for ocean conservation efforts, after a dramatic decline in catch volume since the 1970s.

"We welcome and support this ban very much, as trawling is a very destructive practice," WWF Hong Kong spokeswoman Samantha Lee told AFP, adding that trawling accounts for over 40 percent of local fisheries capture.

"This would help valuable fish stocks to recover. This is an important first step, but I hope the government can tackle illegal trawling," she said.

Lee said the local fish population could increase by 20-30 percent five years after the implementation of the ban.

Trawling is a fishing method which involves nets being pulled through the water behind one or more boats, gathering up fish but also damaging the ocean floor and capturing other unwanted species.

Apart from saving fish stocks, conservationists have also said a trawling ban will give soft corals, sponges and other bottom-dwelling creatures an opportunity to recover.

WWF said that countries such as Australia, Brazil, Canada and Malaysia have established no-trawl zones in inshore waters to protect marine resources while Indonesia has banned trawling across the entire country.


ขอบคุณข่าวจาก...FinestKind.co.nzNew Zealand Fishing Industry News (Mon 30th May 2011
Kiwis Back More Ocean Marine Reserves - Survey)


http://www.finestkind.co.nz/news.aspx?id=70
__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #7  
เก่า 06-08-2012
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


เหมือนไกลตา แต่ใกล้ใจ : ปัญหาการนิรโทษกรรมเรืออวนลาก ...................... โดย ประสาท มีแต้ม


เมื่อพูดถึงการประมงรวมถึงการนิรโทษกรรมเรืออวนลากที่เป็นปัญหาของสังคมไทยอยู่ขณะนี้ หลายท่านอาจรู้สึกว่าเป็นเรื่องไกลตัว ไม่เกี่ยวกับตนและซับซ้อนเกินกว่าจะรับรู้ได้ จึงปฏิเสธการรับรู้ไปเลย แต่ถ้าเราหยุดคิดสักนิด เราจะค้นพบด้วยตนเองว่า ความรู้สึกดังกล่าวนั้นไม่เป็นความจริงเลย เรื่องเรืออวนลาก แค่ดูภาพประกอบก็สามารถเข้าใจปัญหาที่จะเกิดขึ้นแล้ว (กรุณาดูภาพเลยแล้วค่อยอ่านต่อครับ)



ผมเข้าใจว่า ประเด็นเรื่อง “เหมือนไกลตา” น่าจะเบาลงแล้ว คือไม่ซับซ้อน ไม่ไกลตัวและไม่ใช่ยาก คงเหลือแต่เรื่อง “ใกล้ใจ” ซึ่งผมเชื่อว่าหากเรามีหัวใจที่รักความเป็นธรรม คำนึงถึงความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นสาธารณะสมบัติทั้งของคนรุ่นนี้และอนาคตแล้ว เราก็จะสามารถเข้าใจเรื่องนี้ได้จนถึงขั้นที่ไม่อาจจะอยู่เฉยๆได้แล้ว

ผมตั้งชื่อบทความนี้ด้วยความรู้สึกที่เป็นด้านกลับของเพลงเพื่อชีวิต “ใกล้ตา ไกลตีน” ของสุรชัย จันทิมาธร ที่ว่าเป้าหมายของการปฏิวัตินั้นดูเหมือนอยู่ใกล้ๆ แต่เอาเข้าจริงแล้วกลับไปไม่ถึง ในเรื่องนี้ผมมองว่า การจัดการทรัพยากรทะเลให้ยั่งยืน ให้เป็นแหล่งอาหารของคนทั้งโลกนั้น ไม่ใช่เรื่องยากและซับซ้อน ขอแต่เพียงเราตอบคำถามในบรรทัดสุดท้ายของเพลงที่ว่า “ฝันและฝันให้ไกลที่สุด เจ้ามนุษย์ เจ้าหวังสิ่งใด”

เรื่องที่จะนำมาเล่านี้ ส่วนหนึ่งมาจากการประชุมเพื่อตรวจสอบของอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เรื่องปัญหาการนิรโทษกรรมเรืออวนลาก ตามคำร้องของกลุ่มประมงพื้นบ้าน อีกส่วนหนึ่งเป็นการค้นคว้าเพิ่มเติมและข้อสังเกตของผมเอง ไม่เกี่ยวกับองค์กร ลำดับเหตุการณ์ที่นำมาสู่การตรวจสอบครั้งนี้ เป็นข้อๆ คือ


หนึ่ง ..... สหภาพยุโรปหรืออียูได้ออกกฎระเบียบว่าด้วย “การป้องกัน ต่อต้านและขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ไม่รายงานและไร้การควบคุม” หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า “ระเบียบ IUU” (Illegal, Unreported and Unregulated Fishing) เมื่อปลายกันยายน 2551 โดยมีผลบังคับตั้งแต่มกราคม 2553 มาตรการที่ทางอียูนำมาใช้ก็คือ จะไม่รับซื้อสินค้าประมงที่ไม่สอดคล้องกับระเบียบนี้ เขาให้เวลาในการปรับตัว 15 เดือน

วัตถุประสงค์ของอียูในการออกกฎหมายดังกล่าวก็เพื่อ “ส่งเสริมและสนับสนุนกับการทำประมงที่เหมาะสม สร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นกับทรัพยากรสัตว์น้ำที่เป็นแหล่งอาหารของคนทั้งโลก” (คำชี้แจงของหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจและการตลาดอียู-จากศูนย์ข้อมูล&ข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง)


สอง ..... กรมประมงซึ่งได้รับเรื่องร้องเรียนจากกลุ่มผู้ประกอบการประมงเรืออวนลากที่เกรงว่าจะขายสินค้าไม่ได้ ได้ดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวตามคำชี้แจงของรองอธิบดี และนักวิชาการประมงทรงคุณวุฒิ ดังต่อไปนี้

ในปี 2546 เคยมีการศึกษาวิจัยโดยองค์กรด้านอาหารและการเกษตร สหประชาชาติ ร่วมกับกรมประมงพบว่า จำนวนเรืออวนลากของประเทศไทยเกินศักยภาพที่ทรัพยากรจะรองรับได้ไป 33% โดยที่ขณะนั้นมีเรือ 7,968 ลำ (อ่าวไทย 6,793 ลำ ทะเลอันดามัน 1,175 ลำ) จึงต้องลดจำนวนในอ่าวไทยให้เหลือ 4,551 ลำ

เมื่อรวมกับในทะเลอันดามันแล้ว ประเทศไทยควรจะมีเรืออวนลาก 5,693 ลำ แต่จากข้อมูลในปี 2552 พบว่าประเทศไทยเรามีเรืออวนลากที่ได้รับอาชญาบัตรไปแล้ว 3,619 ลำ จึงสามารถให้อาชญาบัตรได้อีก 2,074 ลำ (ตัวเลขที่ทางกรมฯ ชี้แจงคือ 2,107 ลำ ไม่ทราบว่าผมจดผิดตรงไหน แต่ไม่ใช่ประเด็นหลักนะครับ)

ผมได้เรียนถามรองอธิบดีว่า “ในการนำเสนอเรื่องนี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้นิรโทษกรรมนั้นมีเหตุผลทางวิชาการรองรับหรือไม่” อนุกรรมการท่านหนึ่งได้ตั้งข้อสังเกตและถามว่า “งานวิจัยไม่ชัดเจน ขอช่วยส่งเอกสารงานวิจัยมาให้ด้วย การให้อาชญาบัตรใหม่ เป็นการทำเรื่องผิดกฎหมายให้ถูกกฎหมาย กรมประมงตีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของอียูคือความยั่งยืนของทรัพยากรหรือไม่”

ท่านรองอธิบดีกล่าวว่า “ยืนยันว่าการนำเรืออวนลากจำนวน 2,107 ลำเข้าสู่ระบบครั้งนี้ จะเป็นการดำเนินการตามหลักวิชาการ โดยเฉพาะการศึกษาศักยภาพของทะเลไทยในการรองรับการทำประมง” และจากคำชี้แจงเพิ่มเติมสรุปได้ว่า ไม่ได้ออกอาชญาบัตรให้กับเรือใหม่ แต่เป็นการออกให้กับเรือที่ลากอยู่แล้ว แต่ต้องขาดใบอนุญาตไปจากเหตุการณ์วิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 บ้าง ขาดทุนบ้าง น้ำมันแพง ขาดแรงงานบ้าง เป็นต้น

สิ่งที่วงการวิชาการอยากจะทราบก็คือว่า หลักการและวิธีการที่นำไปสู่คำตอบในงานวิจัยเมื่อปี 2546 ว่าจำนวนเรืออวนลากไทยเกินศักยภาพของทรัพยากรไป 33% นั้นเป็นอย่างไร และเมื่อเหตุการณ์ผ่านมาแล้วเกือบ 10 ปี สถานการณ์เปลี่ยนไปอย่างไร ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ทราบกันทั่วไปในหมู่นักวิชาการและชาวประมงพื้นบ้านก็คือ แย่ลงกว่าเดิม แต่ทำไมกรมประมงจึงยึดผล “วิจัย” เดิมโดยไม่มีการตรวจสอบกับงานวิจัยอื่นๆ เลย

ผลงานวิจัยที่ทำโดยกรมประมงเองเรื่อง “ทรัพยากรประมงบริเวณอ่าวไทยตอนบนจากเรือสำรวจปี 2549” (ตีพิมพ์ในวารสารเทคโนโลยีการประมง ก.ค.-ธ.ค.2552) พบว่า ผลการจับต่อการลงแรงประมงในปี 2549 ลดลงเหลือ 14 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ในขณะที่ในปี 2506 อยู่ที่ 256 กก./ชม. หรือลดลงเกือบ 20 เท่าในช่วงเวลา 43 ปี

ทุกครั้งที่มีการสำรวจก็พบว่ามีการลดลงตลอด เช่น 66 กก./ชม. (ปี 2514) 39 กก./ชม. (2524) และ 22 กก./ชม. (2547) งานวิจัยสำรวจแต่ละชิ้นได้ใช้งบประมาณของประชาชนและแรงกายของข้าราชการไปจำนวนมาก แต่ทำไมผู้บริหารระดับสูงของกรมจึงไม่นำไปใช้ประโยชน์ ที่น่าแปลกกว่านั้น ทำไมนักวิชาการของกรมประมงที่ทำวิจัยเรื่องนี้จึงวางเฉยต่อเรื่องที่เกิดขึ้น


สาม ..... อีกประเด็นหนึ่งซึ่งกรมประมงไม่ได้ชี้แจงก็คือ องค์ประกอบของสัตว์น้ำที่ติดมากับอวน (ไม่นับรวมฟองน้ำทะเลและปะการัง) จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร่วมกับกรมประมงเอง (เอกสารการประชุมวิชาการครั้งที่ 39) พบว่าเรืออวนลาก (แผ่นตะเฆ่ ขนาดเรือยาวไม่เกิน 14 เมตร) ทำให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการนำสัตว์น้ำวัยอ่อนมาใช้ก่อนวัยอันควร (ดูภาพ-ที่เรียกว่าปลาเป็ด) ปีละ 2.06 ล้านบาทต่อลำ โดยมีต้นทุนที่ 1.97 ล้านบาท แต่ได้ผลตอบแทนเพียง 0.38 ล้านบาท เอกสารของกรีนพีชระบุว่าในปี 2004 เรืออวนลากจะฆ่าสัตว์น้ำอื่นๆ 16 กิโลกรัมเพื่อให้ได้สินค้าที่ตลาดต้องการเพียง 1 กิโลกรัม ส่วนใหญ่ที่ไม่ต้องการก็ทิ้งลงทะเลข้างเรือนั่นเอง


สี่ ..... กรมประมงย้ำว่า การออกใบอนุญาตครั้งนี้จะตามมาด้วยการออกมาตรการควบคุม เช่น ไม่ให้เข้ามาลากในเขต 3 พันเมตรจากชายฝั่ง แต่ชาวประมงพื้นบ้านซึ่งหากินตามชายฝั่งแย้งว่า ที่ผ่านมาเรืออวนลากเข้ามาแค่ประมาณหนึ่งพันเมตรเท่านั้น เรื่องนี้ถ้ากรมประมงมีความจริงใจก็ต้องบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายเสียก่อน เรืออวนลากนอกจากจะทำลายหน้าดินซึ่งเป็นที่อยู่ของปลาแล้ว ยังทำลายอวนของชาวประมงพื้นบ้านด้วย บางคนซื้ออวนใหม่มาเพียงคืนเดียวด้วยราคานับหมื่นบาทก็ถูกทำลายไปแล้ว เป็นการซ้ำเติมให้เกิดหนี้สินเพิ่ม


ห้า ..... กรมประมงอ้างว่า เจ้าหน้าที่มีน้อย ดูแลเรืออวนลากที่เกเรได้ไม่ทั่วถึง ชาวประมงพื้นบ้านแย้งว่า หลายครั้งพวกเขาลงมือจับกุมเอง แต่เจ้าหน้าที่ไม่ให้ความร่วมมือ บางครั้งชาวบ้านตกเป็นผู้ต้องหาเสียเอง ที่น่าเสียใจมากกว่านั้นก็คือ มีการยิงกันตายระหว่างชาวประมงอวนลากกับชาวประมงพื้นบ้านเมื่อสองคืนที่ผ่านมา อนุกรรมการสิทธิ์เสนอว่า กรมประมงควรจะมีการกระจายอำนาจสู่ชุมชนท้องถิ่นโดยใช้หลักการมีส่วนร่วม


หก ..... นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในฐานะพยานผู้เชี่ยวชาญ เรียนว่า ในคำแถลงนโยบายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ข้อ 5.2 บอกว่าจะฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่ง จำกัดและยกเลิกเครื่องมือทำลายล้าง กรมประมงเองก็ได้ทำปะการังเทียมด้วยงบหลายหมื่นล้านบาท จึงไม่น่าที่จะออกใบอนุญาตเรืออวนลากซึ่งเป็นต้นเหตุของการทำลายปะการังเทียม ในขณะเดียวกัน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็ออกวิดีโอเรื่อง “มหันตภัยเรืออวนลาก” น่าขันจริงประเทศไทยเรา!


เจ็ด ..... ผมเคยพยากรณ์เมื่อปี 2540 ว่า ถ้าการจัดการทะเลไทยยังคงเป็นเช่นเดิม ในอนาคตคนไทยจะได้กิน “ต้มยำแพลงก์ตอน” ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์เกือบ 1,500 คนจาก 69 ประเทศ กำลังเรียกร้องให้ปกป้องระบบนิเวศน์ทะเลจากเรืออวนลาก (bottom trawling) ซึ่งถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่มีการทำลายล้างมากที่สุด

นักวิทยาศาสตร์คาดหมายว่า “ถ้าไม่มีการทำอะไรอย่างเร่งด่วน แหล่งประมงทั้งหมดของโลกในปัจจุบันอาจจะล่มสลายภายในปี 2048” ศาสตราจารย์ Daniel Pauly จากศูนย์ประมงของมหาวิทยาลัยบริติช โคลัมเบีย เน้นว่า สิ่งเดียวที่เป็นอาหารทะเลที่จะเหลืออยู่ให้เรารับประทานน่าจะเป็น “สตูแพลงก์ตอน” (ด้วยความเคารพ ผมเขียนไว้โดยไม่ได้เลียนแบบใคร)


แปด ..... ศาสตราจารย์ Jeremy Jackson อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปกินส์ กล่าวไว้ในการบรรยายเรื่อง “เราทำลายมหาสมุทรอย่างไร” ว่า “มันไม่ใช่เรื่องของปลา ไม่ใช่เรื่องของมลพิษ ไม่ใช่เรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่มันเป็นเรื่องเรา ความโลภของเราและความต้องการตอบสนองการเติบโต และเป็นเรื่องของการที่ไม่มีความสามารถที่จะจินตนาการถึงโลกที่แตกต่างไปจากโลกที่เห็นแก่ตัวที่เราเป็นอยู่เช่นทุกวันนี้”


เก้า ..... กรมประมงได้ถามที่ประชุมว่า “ถ้าไม่ออกใบอนุญาตให้เรืออวนลาก แล้วจะให้ทำอย่างไร?” ผมเห็นว่า “เราจินตนาการถึงโลกที่มีความแตกต่าง…” ไม่ได้จริงๆ แต่ เอ๊ะ การนำปูไข่ที่จับได้ของชาวประมงพื้นบ้านมาเพาะฟักแล้วปล่อยไข่กลับลงทะเล ก่อนจะนำแม่ปูมาต้มกิน น่าจะเป็นความแตกต่างจากเรืออวนลากนะ


สิบ ..... สังคมโลกต้องร่วมกันตอบคำถามละครับว่า “ฝันและฝันให้ไกลที่สุด เจ้ามนุษย์ เจ้าหวังสิ่งใด”




จาก ........................ ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 5 สิงหาคม 2555


__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 06-08-2012 เมื่อ 08:37
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #8  
เก่า 06-08-2012
ดอกปีบ's Avatar
ดอกปีบ ดอกปีบ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ข้อความ: 703
Default

หลายๆอย่างในเรื่องนี้ยังไม่มีความชัดเจน .. นโยบายก็ดูเหมือนจะขัดๆกันอยู่ คงต้องรอผลสรุปกันต่อไป

แต่ที่ชัดเจนมากๆแล้วก็คือ ..ทะเลไทยของเรา ทรัพยากรของเรา ถ้าเราไม่คิดรักษา ไม่คิดจะอนุรักษ์ไว้ใช้อย่างยั่งยืน ก็ ..

..
..
..
__________________
If we see the hearts of others, peace will follow

You may say I'm a dreamer .. but I'm not the only one: John Lennon
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #9  
เก่า 06-08-2012
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default



สะท้อนสะท้านใจ...กับเหตุผลในการนิรโทษกรรม เรืออวนลากของกรมประมงจริงๆค่ะ


การคำนวณจำนวนเรือที่ควรให้อาชญาบัตรในปี 2546 กับเรือที่จะให้อาชญาบัตรเพิ่มในปัจจุบันนั่น เล่นเอานักบัญชีงงมากๆ ว่าตัวเลขได้มาอย่างนั้นได้อย่างไรกัน


ที่สงสัยมากๆก็คือ ในขณะที่จะดึงเรือ 2,107 ลำ ที่ว่าตกค้างจากการลงทะเบียน จับมาลงทะเบียนใหม่ แต่ทำไมไม่เห็นพูดถึงเรือส่วนเกินอีก 33 % (คำนวนจากยอดในปี 2546 ซึ่งมีเรือ 7,968 ลำ ก็จะได้ตัวเลข 2,630 ลำ หรือที่ทางกรมประมงคิดได้ 2,275 ลำ) นั้น ได้ดำเนินการขจัดออกไปจากทะเลไทยแล้วหรือไม่ อย่างไร หรือว่ายังคงปล่อยให้เรือเหล่านั้น ล้างผลาญทรัพยากรในทะเลไทยของเราต่อไป ได้อย่างอิสระเสรี...



ประเทศอื่นเขาพยายามจะยกเลิกการใช้อวนลาก ในน่านน้ำข องเขา แต่ประเทศไทยกลับส่งเสริมให้ทำอวนลากได้ต่อไปอย่างถู กกฎหมาย นับเป็นเวรกรรมของลูกหลานไทยในอนาคตจริงๆค่ะ..


__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 06-08-2012 เมื่อ 12:28
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #10  
เก่า 07-08-2012
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


ทะเลไทยไม่สามารถรองรับอวนลาก อวนรุน ได้อีกแล้ว ............... โดย ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง



มีศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับชีววิทยาประมงที่สำคัญเรื่องหนึ่ง คือ การหาขีดความสามารถในการรองรับการทำการประมงของสัตว์น้ำเป้าหมาย ซึ่งเป็นที่มาของตัวเลขต่างๆ ที่มักกล่าวว่า ทะเลไทยสามารถรองรับการทำประมงได้กี่ตันต่อปี

การใช้โมเดลต่างๆนั้น โดยหลักการพื้นฐานจะใช้กับการทำการประมงสัตว์น้ำชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยเครื่องมือประมงที่ค่อนข้างจำเพาะกับสัตว์น้ำชนิดนั้น หรือกลุ่มนั้น เช่น การล้อมปลากระตักกลางวันที่จะได้ปลากระตักเป็นส่วนใหญ่ การประมงปลาหมึก ปลาทูน่า ปลาทู เป็นต้น

หลักการพื้นฐานของการคำนวณค่าขีดความสามารถในการรองรับ หรือความสามารถในการทำประมง คือ พื้นฐานที่ว่า สัตว์น้ำที่รอดจากการจับนั้น จะสามารถอยู่รอดไปสืบพันธุ์เพิ่มจำนวนประชากรขึ้นมาทดแทนสัตว์น้ำที่ถูกจับไปได้อย่างสมดุลกับการถูกจับไป

อย่างไรก็ตาม หลายปีที่ผ่านมานักวิชาการด้านประมง มักนำเอาหลักการพื้นฐานนี้ไปใช้อย่างผิดหลักการ โดยเฉพาะการนำโมเดลเหล่านั้น ไปใช้คำนวณหาศักยภาพการรองรับการทำประมง ด้วยเรืออวนลาก อวนรุน

สาเหตุที่ผิดหลักการ ก็เพราะเครื่องมือประมงประเภทอื่นๆนั้น เน้นการจับสัตว์น้ำเป้าหมายเป็นหลัก และถ้าได้สัตว์น้ำชนิดรองที่ไม่ใช่เป้าหมาย ก็เป็นการทำลายเฉพาะตัวสัตว์น้ำ เช่น การทำประมงปลากระตักด้วยการปั่นไฟ ที่มีลูกสัตว์น้ำเศรษฐกิจปะปนไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งถือเป็นวิธีการทำประมงที่ทำลายอีกประเภทหนึ่ง

อวนปั่นไฟปลากระตักที่ทราบกันว่า สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจกับสัตว์น้ำสำคัญ ที่ไม่มีโอกาสเติบโต แต่ประสิทธิภาพการทำลายล้างของอวนปั่นไฟปลากระตัก ก็ยังไม่ร้ายแรงเท่ากับอวนรุน อวนลาก

สาเหตุเพราะอวนรุน อวนลาก ไม่เพียงแต่จับสัตว์น้ำเป้าหมาย และทำลายสัตว์น้ำวัยอ่อน สัตว์น้ำมีไข่ สัตว์น้ำหายากเท่านั้น แต่อวนลาก ทำลายถิ่นที่เกิด ที่วางไข่ หลบภัยของสัตว์น้ำ ดังนั้น โมเดลทางการประมง จึงไม่ควรนำมาใช้กับการทำการประมงอวนลาก เนื่องจากการทำประมงอวนลาก ส่งผลให้สัตว์น้ำที่หลุดรอดไป ไม่มีโอกาสแพร่ขยายพันธุ์ได้อีก


อาจกล่าวได้ว่าพื้นที่ทุกตารางนิ้วในอ่าวไทยผ่านการถูกอวนลากกวาดมาแล้วจนสัตว์น้ำไม่มีแหล่งที่เกิดที่อาศัย เพิ่มประชากรทดแทนประชากรสัตว์น้ำดั้งเดิมได้เลย

โขดหิน โขดหอย ฟองน้ำ กัลปังหา ปะการังน้ำลึก ถูกอวนลากกวาดล้างจนราบเรียบกลายเป็นพื้นโคลนโล่งๆ จนสัตว์น้ำไม่มีแหล่งวางไข่ หาอาหาร หลบภัย ดังนั้น หลักการพื้นฐานของความยั่งยืนจึงขาดหายไป เนื่องจากสัตว์น้ำที่เหลือรอด ไม่มีโอกาสแพร่ขยายพันธุ์ ซึ่งผิดหลักการของการประเมินค่าศักยภาพการรองรับการทำประมง

เมื่อจะต้องนิรโทษกรรมเรืออวนลากในปี 2555 คำถามที่สำคัญ คือ จะนิรโทษกรรมเรือกี่ลำ กรมประมงอ้างผลการศึกษาวิจัยดั้งเดิมว่า ในปี 2546 เคยมีการศึกษาวิจัยโดยองค์กรด้านอาหารและการเกษตร สหประชาชาติ ร่วมกับกรมประมงพบว่า “ปริมาณการจับสัตว์น้ำของไทยเกินศักยภาพที่รองรับได้ไป 33% แต่กรมประมงกลับตีความว่า “จำนวนเรืออวนลากของประเทศไทยเกินศักยภาพที่ทรัพยากรจะรองรับได้ไป 33%”

เมื่อได้ตัวเลขนี้ กรมประมง จึงนำตัวเลขเรือประมงที่มีอยู่ในขณะนั้น คือ ขณะนั้นมีเรือ 7,968 ลำ (อ่าวไทย 6,793 ลำ ทะเลอันดามัน 1,175 ลำ) มาเป็นตัวตั้ง และใช้บัญญัติไตรยางค์ง่ายๆ คำนวณออกมาว่า เรือประมงในอ่าวไทยควรมี 4,551 ลำ เมื่อรวมกับในทะเลอันดามันแล้ว ประเทศไทยควรจะมีเรืออวนลาก 5,693 ลำ และจากข้อมูลในปี 2552 พบว่าประเทศไทยเรามีเรืออวนลากที่ได้รับอาชญาบัตรไปแล้ว 3,619 ลำ จึงสามารถให้อาชญาบัตรได้อีก 2,107 ลำ

ประเด็นที่สำคัญ คือ ศักยภาพการผลิตสัตว์น้ำตามธรรมชาติ ควรคิดจากปริมาณการจับสัตว์น้ำ (น้ำหนัก) หรือปริมาณการลงแรงเป็นชั่วโมง ต่อผลผลิตที่จับได้ (Catch per unit effort) หรือจำนวนรวมของเวลาทั้งหมดที่ใช้ในการทำประมงอวนลาก ไม่ใช่คิดจากจำนวนเรือ ดังที่กรมประมงนำมาอ้าง เนื่องจากเรือแต่ละลำมีประสิทธิภาพการจับไม่เท่ากับ และจำนวนเรือไม่ได้สะท้อนปริมาณการลงแรง หรือระยะเวลาที่ใช้ในการลากอวน

เรือน้อยลำอาจจะลากนานขึ้น และที่ผ่านมาก็เป็นเช่นนั้น ปริมาณการลงแรง หรือการใช้เวลาในการจับเพิ่มมากขึ้นมาตลอด เช่น FAO ประเมินศักย์การจับสัตว์น้ำหน้าดินอยู่ที่ประมาณ 750,000 ตัน ซึ่งต้องการการลงแรงประมงอวนลาก (fishing effort) อยู่ที่ 8.6 ล้านชั่วโมง ในขณะที่ปี พ.ศ. 2529 ผลผลิตของเรือประมงอวนลากลดลงเหลือ 648,560 ตัน แต่ต้องลงแรงทำการประมงถึง 11.9 ล้านชั่วโมง

ในขณะที่หลักการพื้นฐานของการคำนวณศักยภาพการรองรับการประมง และปริมาณการจับที่เหมาะสม จะเน้นการควบคุมปริมาณสัตว์น้ำไม่ให้เกินค่าศักยภาพการรองรับ หรือการควบคุมปริมาณการลงแรง (ระยะเวลาที่ลากอวน) หรือการควบคุมไม่ให้มีการทำลายแหล่งกำเนิดเพื่อให้สัตว์น้ำได้แพร่ขยายพันธุ์ แต่กรมประมงกลับคิดแต่เรื่องจำนวนเรือที่จะออกใบอนุญาต ทั้งๆที่ประเทศไทยมีเป้าหมายจะลดและเลิกเครื่องมือประมงอวนลากอวนรุนให้ได้ โดยออกเป็นมาตรการระยะยาวมาตั้งแต่ปี 2523 แต่วันนี้กลับจะมานิรโทษกรรมเรืออวนลากให้เพิ่มขึ้นไปอีก ท่านคิดอะไรกันอยู่ครับ.




จาก ........................ ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 6 สิงหาคม 2555
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 05:27


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger