#1
|
||||
|
||||
ทำไมจึงไม่ควรให้อาหารปลาทะเล
นี่คือเหตุผลที่ว่า ทำไมเราไม่ควรให้อาหารปลาทะเล...
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 17-04-2021 เมื่อ 06:04 |
#2
|
||||
|
||||
โพสต์ทูเดย์
อะไรคือปัญหาของการเลี้ยงปลาในแนวปะการัง ? เฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat อะไรคือปัญหาของการเลี้ยงปลาในแนวปะการัง ? ข้อมูลนี้มิใช่ความคิดเห็น แต่เป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลหลากหลายสถาบัน ได้ศึกษาวิจัยก่อนประชุมร่วมกันมาหลายต่อหลายปี ก่อนกำหนดเป็นมาตรการที่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย 1. แนวปะการังเป็นระบบนิเวศที่อ่อนไหว มีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตสูงที่สุดในโลก เช่น ปลาในแนวปะการังมีนับพันชนิด ฯลฯ 2. ปลาเป็นสัตว์ที่มีบทบาทต่อระบบนิเวศ บางชนิดกินสาหร่าย ช่วยควบคุมให้ปริมาณสาหร่ายไม่มากเกินไป ช่วยทำให้แนวปะการังรักษาสมดุลอยู่ได้ 3. ปลาในแนวปะการังเป็นสัตว์มีที่อยู่อาศัยชัดเจน ปลาจะมีปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ โดยมีวิถีตามธรรมชาติเป็นสิ่งควบคุมจำนวนปลา 4. ปลาในแนวปะการังมีอยู่หลายกลุ่ม มีเฉพาะเพียงบางกลุ่มเท่านั้นที่กินอาหารไม่เลือก และสามารถกินอาหารที่มนุษย์ให้ได้ เช่น เราไม่เห็นปลาผีเสื้อหรือปลานกแก้วมากินขนมปัง 5. อาหารท่ีมนุษย์ให้ ถือเป็นสิ่งแปลกปลอมในแนวปะการัง ทำให้ปลาบางกลุ่มได้เปรียบปลาบางกลุ่มเพราะมีอาหาร 6. ปลาที่กินอาหารมนุษย์ จะมารวมตัวกัน และมีปริมาณเพิ่มขึ้นเพราะมีอาหารกินไม่จำกัด จากนั้นจะยึดพื้นที่ ขับไล่ปลาอื่นออกไป 7. ปลาที่ถูกขับไล่ออกไป ไม่มีที่อยู่ ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ในบริเวณอื่นได้ จึงค่อยๆ มีปริมาณลดน้อยลงจนหมดไป 8. เมื่อปลาส่วนใหญ่ที่คอยกินสาหร่ายหรือกินอาหารอื่นๆ ที่ควบคุมสมดุลในแนวปะการังหายไป เหลือแต่ปลากินขนมปัง ระบบนิเวศย่อมไม่เหมือนเดิม เช่น สาหร่ายเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ปลาที่กินอาหารหลากหลาย เดิมทีกินสาหร่ายบ้าง เมื่อมีอาหารจากมนุษย์ที่มีเยอะและหาง่ายกว่า ย่อมเปลี่ยนพฤติกรรมไปกินอะไรง่ายๆ 9. ปัจจุบันภาวะโลกร้อนส่งผลให้ทะเลเปลี่ยนแปลง เกิดสถานการณ์ต่างๆ เช่น ปะการังฟอกขาว โอกาสที่ปะการังอยู่รอดมีน้อยอยู่แล้ว หากขาดปลาที่คอยควบคุมสาหร่ายหรือสมดุลระบบนิเวศ แนวปะการังยิ่งเสื่อมโทรม 10. ข้อมูลล่าสุดจากกรมทะเลคือปะการังไทยเหลือแค่ 23% และลดลงปีละ 1% หากเป็นเช่นนี้ ในอีก 20 ปี เราอาจไม่มีปะการังเหลือ การรักษาปะการังทุกทางจึงยิ่งมีความสำคัญสูงสุด 11. กรมทะเลกำลังอยู่ระหว่างการประกาศให้แนวปะการังเป็นพื้นที่วิกฤต และมีมาตรการต่างๆ มาใช้ หนึ่งในนั้นคือห้ามให้อาหารสัตว์น้ำและการเลี้ยงปลาในแนวปะการังทุกแห่งในประเทศไทย และนั่นคือกฎหมาย ดังเช่นกฎที่อุทยานใช้อยู่ในทุกวันนี้ สุดท้าย คงไม่ต้องบอกว่า หากแนวปะการังหมดไป เราจะเดือดร้อนแค่ไหน เพราะนักท่องเที่ยวต่างชาติในปีนี้ 28.5 ล้านคน กว่า 70% ไปเที่ยวทะเล และแน่นอนว่าจำนวนมากไปเที่ยวในแนวปะการัง (ข้อมูลททท.) จึงใคร่ขอนำเสนอข้อเท็จจริงที่ไม่ใช่ความคิดเห็นให้เพื่อนธรณ์เข้าใจดังนี้เอย หมายเหตุ - กรณีนี้เฉพาะแนวปะการังอันเป็นระบบนิเวศบอบบางและปลามีบทบาทสูงมาก ไม่รวมถึงการเลี้ยงปลาในพื้นที่อื่นๆ
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
[ฟังชัดๆ] ให้อาหารปลาในแนวปะการัง ไม่ใช่แค่ดราม่าแต่ผิดกฎหมาย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
GREENPEACE
การให้อาหารปลาในแนวปะการัง อย่าคิดว่าไม่มีผลกระทบ!! เมื่อวันหยุดยาวมาถึง จุดมุ่งหมายของคนเมืองหรือมนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ น่าจะเป็นการนอนชิลริมทะเลหรือดำน้ำเพื่อคลายร้อนและชื่นชมแนวปะการังและฝูงปลาที่ทะเลสวยๆสักแห่งหนึ่ง กระแสข่าวที่มีการถกเถียงกันเรื่องการให้อาหารปลาในแนวปะการังเพื่อหลอกล่อให้เจ้าฝูงปลาสีสวยในแนวปะการังมารวมฝูงเพื่อถ่ายรูปด้วยความภาคภูมิใจถึงความสวยงามของทะเลไทย แต่เขาเหล่านั้นกลับทำร้ายทะเลและระบบนิเวศโดยไม่รู้ตัว เรามาดูกันว่าพฤติกรรมเช่นนี้ทำร้ายหรือสร้างผลกระทบอะไรบ้าง 1. สัญชาติญาณในการระวังภัยตามธรรมชาติหายไป ทำให้เสี่ยงต่อการถูกทำร้ายจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ เช่นการว่ายน้ำเข้าหาเรืออาจจะมีความเสี่ยงถูกใบพัดเรือบาดได้ 2. พฤติกรรมสัตว์น้ำเปลี่ยนไปเมื่อมีการให้อาหาร พฤติกรรมการกินของปลาจึงเปลี่ยนไป เนื่องจากเมื่อมันกินขนมปังหรืออาหารอื่นที่นักท่องเที่ยวให้จนอิ่ม มันจึงไม่กินอาหารตามธรรมชาติ ส่งผลให้เกิดการขาดสารอาหาร สุขภาพสัตว์น้ำอ่อนแอและตายในที่สุด 3. ส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ เมื่อมีการให้อาหารในบริเวณนั้นๆปลาจะมารวมฝูง โดยเฉพาะ เจ้าสลิดหินเมื่อมันรวมฝูงใหญ่จะมีนิสัยก้าวร้าวและมันจะมาไล่ปลาอื่น ๆ ออกจากบริเวณนั้น ในที่สุดปลาที่มีนิสัยสุภาพเรียบร้อย เช่น ปลาผีเสื้อ ปลาสินสมุทร ก็จะลดจำนวนลง และต้องย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่อื่น ทำให้ระบบนิเวศบริเวณนั้นเสียความสมดุล 4. แนวปะการังเสียหาย สิ่งปฏิกูลที่เกิดจากการย่อยสลายของเศษอาหารและการขับถ่ายของปลาส่งผลให้เกิดการเจริญเติบโตของสาหร่ายบางชนิดอย่างรวดเร็วและไปปกคลุมบริเวณปะการังส่งผลให้แนวปะการังเสื่อมโทรมและตายในที่สุด 5. เกิดการสะสมสารพิษในห่วงโซ่อาหาร ขนมปังที่นำมาใช้เป็นอาหารปลาโดยส่วนใหญ่จะเป็นขนมปังที่หมดอายุซึ่งอาจจะมีเชื้อราและสารอะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) ซึ่งมีความเป็นพิษสูงปนเปื้อนอยู่ เมื่อปลากินเข้าไปก็จะไปสะสมและเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารในที่สุด เช่นเดียวกับการให้อาหารปลารอบๆเรือ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีคราบน้ำมันบริเวณผิวน้ำโดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีเรือท่องเที่ยวจอดรวมกัน คราบน้ำมันเหล่านี้จะซึมเข้าสู่อาหารที่ลอยอยู่ที่ผิวน้ำ เมื่อปลาตัวเล็กกินอาหารเหล่านี้เข้าไปสารพิษในน้ำมันก็จะสะสมในตัวปลาและส่งต่อสู่สายอาหารต่อกันไปเป็นทอดๆและผู้บริโภคสูงสุดในห่วงโซ่อาหารคือมนุษย์นั่นเอง ให้อาหารปลาผิดกฎหมาย! กรมอุทยานแห่งชาติทางทะเลได้มีประกาศ ห้ามให้อาหารปลาในเขตอุทยานฯ อย่างเด็ดขาด หากฝ่าฝืนถือว่ามีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยประกาศกรมอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2555 โดยมีโทษจับและปรับ 500-10,000 บาท ส่วนการให้อาหารปลานอกเขตอุทยานฯ ขณะนี้ยังไม่ผิด แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ก็จะผิดแน่นอน ทางที่ดีก็คือไม่ควรให้อาหารปลาไม่ว่าจะกรณีใดๆทั้งสิ้น อ้างอิง: Feeding or Harassing Marine Mammals in the Wild is Illegal and Harmful to the Animalslink: http://www.nmfs.noaa.gov/pr/dontfeedorharass.htm
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
เรียบเรียงคำตอบ | |
|
|