#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามและประเทศลาวตอนบนแล้ว คาดว่าจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ในวันนี้ (1 ธ.ค. 66) ส่งผลให้มีลมฝ่ายตะวันออกพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนบางแห่งในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลงกับมีลมแรง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะลดลง 1?3 องศาเซลเซียส ส่วนภาคกลาง และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ประชาชนในบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย กับมีลมแรง โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 1 ? 6 ธ.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ส่งผลให้ยังคงมีลมฝ่ายตะวันออกพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนอง บางแห่งในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง กับมีลมแรง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะลดลง 1 ? 3 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ตลอดช่วง ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร อ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อนึ่ง ในช่วงวันที่ 1 ? 5 ธ.ค. 66 หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่างมีแนวโน้มจะมีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลน และคาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณด้านตะวันออกของประเทศอินเดียในช่วงวันที่ 4 ? 5 ธ.ค. 66 ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 30 พ.ย. - 1 ธ.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งระวังอันตรายจากการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอก สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย ส่วนประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
อ.ธรณ์ กังวล "ปะการังฟอกขาวในหน้าหนาว" ชี้เป็นสิ่งที่ไม่เคยเจอในทะเลไทย อ.ธรณ์ แนะจับตา "ปะการังฟอกขาวในหน้าหนาว" ชี้เป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเจอในทะเลไทย สอดคล้องกับสถานการณ์เอลนีโญที่จะรุนแรงสุดในช่วงเดือนพฤศจิกายน เดือนธันวาคม วันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 มีรายงานว่า จากกรณีอุทยานฯ หมู่เกาะช้าง ประกาศปิดการท่องเที่ยว ดำน้ำลึก "เกาะยักษ์ใหญ่" ชั่วคราว หลังพบปะการังฟอกขาวประมาณ 90% จากอุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้น และปะการังบางส่วนมีร่องรอยเกิดโรคนั้น เกี่ยวกับเรื่องนี้ ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความว่า อุทยานเกาะช้างสั่งปิดจุดดำน้ำเพราะปะการังฟอกขาว อ่านผ่านๆ เหมือนไม่มีอะไร แต่อย่าลืมว่านี่คือหน้าหนาว เท่าที่ผมจำได้ เราไม่เคยเกิดปะการังฟอกขาวในหน้าหนาว หัวหน้าอุทยานรายงานว่า น้ำทะเลร้อน 30-32 องศา ซึ่งตัวเลขนี้สูงเป็นอย่างยิ่งในหน้าหนาว ยังเน้นย้ำคำว่า "ในหน้าหนาว" เพราะในหน้าหนาวคือช่วงที่อุณหภูมิน้ำต่ำสุดในรอบปี ลองดูข้อมูลในอดีตตามจุดต่างๆ ในภาคตะวันออก อุณหภูมิน้ำในหน้าหนาวต่ำกว่า 30 องศาเป็นเรื่องปรกติ ปะการังอาจเริ่มฟอกขาวเมื่ออุณหภูมิน้ำสูงเกิน 30.5 องศา ทุกครั้งจึงเกิดในหน้าร้อน แต่เมื่อหน้าหนาวแต่น้ำร้อน เราจึงเจอสิ่งที่ไม่เคยเจอในทะเลไทย ไม่เคยเจอแม้ในปีเอลนีโญที่ผ่านๆ มา หากปะการังฟอกขาวเพราะน้ำร้อนจริง ไม่ได้เป็นเพียงแค่โรคปะการังเหมือนที่เคยบอกเพื่อนธรณ์เมื่อเดือนก่อน นี่คือผลกระทบจากเอลนีโญ+โลกร้อนแบบเห็นคาตา คำว่า "บวกโลกร้อน" เป็นข้อความสำคัญมาก จำเป็นต้องมีการศึกษาติดตามเรียนรู้ สองเบิ้ล "เป็นโรค+ฟอกขาว" ยิ่งต้องเรียนรู้ เพราะนั่นคือสิ่งที่อาจเกิดบ่อยขึ้นเรื่อยๆ เพราะโลกร้อนขึ้นเรื่อยๆ เอลนีโญจะมีอีกเรื่อยๆ การเรียนรู้ตั้งแต่เริ่มจึงสำคัญมาก ดีใจที่อุทยานติดตั้งเครื่องวัดอุณหภูมิน้ำต่อเนื่องในบริเวณนั้น เหตุการณ์นี้ยังสอดคล้องกับสถานการณ์เอลนีโญที่บอกเพื่อนธรณ์มาก่อนหน้านี้ว่า จะรุนแรงสุดในช่วงเดือนพฤศจิกายน/ธันวาคม น้ำทะเลในแถวบ้านเราจะร้อนผิดปรกติ แต่ก็ไม่เคยคิดว่าจะผิดปรกติจนถึงขั้นทำให้ปะการังฟอกขาวได้ ผมจึงตกใจและเป็นห่วงครับ เป็นห่วงว่าเอลนีโญจะลากยาวข้ามปี ขนาดในหน้าหนาวยังฟอกขาว ไม่ต้องพูดถึงหน้าร้อนในปีหน้า สถานการณ์แบบนี้ต้องเฝ้าระวังกันสุดๆ ผมเพิ่งเขียนบทความ COP28 ให้คาร์บอนคลับ มีข้อมูลที่น่าสะพรึงอยู่เยอะมาก สร้างความหดหู่ให้ผู้เขียนเป็นอย่างยิ่ง เช่น UN บอกว่าโลกกำลังจะร้อนเกือบ 3 องศา เป้าหมาย 1.5 องศาเป็นเพียงแค่ฝันอันเลื่อนลอย เมื่อข้อตกลงของมนุษย์เป็นแค่ความฝัน โลกจะยิ่งร้อนอย่างรุนแรง เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดมาไม่เคยพบเคยเห็น ก็จะได้เห็น เช่น ปะการังฟอกขาวในหน้าหนาว. https://www.thairath.co.th/news/society/2744715
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ
'ทางหลวงข้ามทะเล' แห่งใหม่ของจีน พิชิตความท้าทายระดับโลก ใกล้เสร็จสิ้น ท้องทะเลกว้างใหญ่ขนาดไหนก็ไม่อาจขวางการเชื่อมโยงดินแดนจีนเข้าด้วยกันให้ไปมาหาสู่กันโดยสะดวกรวดเร็วและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ! การก่อสร้างทางหลวงข้ามทะเลระหว่างเมืองเซินเจิ้นและเมืองจงซาน มณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) ทางตอนใต้ของจีน ขยับเข้าสู่เส้นชัยของการก่อสร้างที่สุดท้าทายระดับโลก บริษัท กลุ่มการสื่อสารมณฑลกว่างตง จำกัด รายงานว่ามีการเทคอนกรีตครั้งสุดท้ายเมื่อวันอังคาร (28 พ.ย.) ขณะงานก่อสร้างอุโมงค์ใต้น้ำแบบท่อ ซึ่งมีความยาวราว 6.8 กิโลเมตร ใกล้เสร็จสิ้นแล้ว อุโมงค์ใต้น้ำแบบท่อข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงความยาว 24 กิโลเมตร เชื่อมเมืองเซินเจิ้นและเมืองจงซานที่ตั้งอยู่บนแต่ละฝั่งของปากแม่น้ำจูเจียง ทางหลวงสายเซินเจิ้น-จงซาน เป็นโครงการศูนย์กลางการขนส่งหลักในภูมิภาคอ่าวใหญ่กว่างตง-ฮ่องกง-มาเก๊า ประกอบด้วยอุโมงค์ใต้น้ำหนึ่งแห่ง สะพานสองแห่ง และเกาะเทียมสองแห่ง ทำให้เป็นหนึ่งในโครงการเส้นทางข้ามทะเลที่มีความท้าทายมากที่สุดในโลก ที่มาข่าว สำนักข่าวซินหัว https://mgronline.com/china/detail/9660000107565
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
เรียบเรียงคำตอบ | |
|
|