เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 26-03-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,363
Default

ขอบคุณข่าวจาก BBCThai


ทะเลจีนใต้ จุดยุทธศาสตร์ที่หลายชาติแย่งกันครอบครอง



ทะเลจีนใต้ถือเป็นหนึ่งในอาณาบริเวณที่มีข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์มากที่สุดในโลก

หลายประเทศในภูมิภาค เช่น เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และบรูไน รวมถึงไต้หวัน ต่างอ้างความเป็นเจ้าของหมู่เกาะน้อยใหญ่ แนวปะการัง และแนวหินโสโครกในแถบนี้ แต่จีนเป็นประเทศที่อ้างกรรมสิทธิ์มากที่สุด คือราว 90% ของทะเลจีนใต้

รัฐบาลจีนมองว่าทะเลจีนใต้เป็นส่วนสำคัญในอาณาเขตทางทะเลของตน โดยไม่เพียงจะใช้เป็นปราการเพื่อยับยั้งอาวุธนิวเคลียร์ทางทะเล แต่ยังเป็นประตูสู่เส้นทางสายไหมทางทะเลในโครงการเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 ด้วย

นอกจากนี้ ทะเลจีนใต้ยังมีความสำคัญต่อความสำเร็จในอนาคตของแผนพัฒนาเศรษฐกิจโครงการอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า (Guangdong -Hongkong-Macao Geater Bay Area)

ส่วนสหรัฐฯ แม้จะไม่ใช่คู่ขัดแย้งโดยตรงเรื่องการอ้างกรรมสิทธิ์ในทะเลจีนใต้ แต่ก็ยืนกรานที่จะพิทักษ์เสรีภาพการเดินเรือในเขตน่านน้ำสากล ด้วยการส่งเรือรบเข้าไปได้ปฏิบัติภารกิจรักษาเสรีภาพการเดินเรือ (Freedom of Navigation Operation - FONOP) ในทะเลจีนใต้อย่างต่อเนื่อง เพื่อท้าทายสิ่งที่สหรัฐฯ มองว่าเป็นรูปแบบการอ้างกรรมสิทธิ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของจีนในเขตน่านน้ำสากล ส่งผลให้บริเวณนี้กลายเป็นที่แข่งขันทางอิทธิพลระหว่างสองชาติมหาอำนาจของโลก คือจีนและสหรัฐฯ ซึ่งทำให้เกิดความตึงเครียดขึ้นในบริเวณนี้อยู่เนือง ๆ


เหตุใดหลายชาติจึงแย่งกรรมสิทธิ์กัน

ทะเลจีนใต้ ครอบคลุมอาณาบริเวณ 3.5 ล้านตารางกิโลเมตร โดยตั้งอยู่ทางใต้ของจีนแผ่นดินใหญ่และเกาะไต้หวัน ทางตะวันตกของฟิลิปปินส์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของมาเลเซียและบรูไน ทางเหนือของอินโดนีเซีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสิงคโปร์ และทางตะวันออกของเวียดนาม

ทะเลจีนใต้ ถือเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญในภูมิภาคซึ่งเชื่อมมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดียเข้าด้วยกัน และเป็นเส้นทางการค้ามูลค่ากว่า 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 90 ล้านล้านบาท) ต่อปี โดยเป็นเส้นทางการขนส่งทางเรือที่มีการจราจร 1 ใน 3 ของทั้งโลก

นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่าบริเวณนี้มีแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติอยู่มหาศาล อีกทั้งยังอุดมไปด้วยปลาและสัตว์น้ำนานาชนิด จึงทำให้หลายชาติพากันอ้างกรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะและแนวปะการังเพื่อเข้าไปใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในน่านน้ำแถบนี้


ภาพถ่ายดาวเทียมเผยให้เห็นมุมสูงของเกาะวู้ดดี้ หรือเกาะหย่งซิง เกาะใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะพาราเซล ที่จีนอ้างเป็นเจ้าของและเข้าไปก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ...... ที่มาของภาพ,DIGITALGLOBE VIA GETTY IMAGES


ใครอ้างกรรมสิทธิ์อะไรบ้าง

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จีนแสดงท่าทีแข็งกร้าวขึ้นในการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือทะเลจีนใต้ อีกทั้งยังเร่งก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ และเสริมกำลังทหารเพื่อยืนยันคำกล่าวอ้างความเป็นเจ้าของอาณาเขตในแถบนี้

ครั้งหนึ่ง พลเรือเอกแฮร์รี แฮร์ริส อดีตผู้บัญชาการกองกำลังสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นแปซิฟิก เคยเปรียบการอ้างกรรมสิทธิ์ของจีนในทะเลจีนใต้ว่าเป็น "กำแพงทรายแห่งเมืองจีน" (Great Wall of Sand) ซึ่งหมายถึงแผนที่ "เส้นประ 9 เส้น" (nine-dash line) ที่จีนลากขึ้นมาบอกอาณาเขตของตนในทะเลจีนใต้

เส้นประดังกล่าวปรากฏครั้งแรกในแผนที่ของจีนเมื่อปี 1947 ครอบคลุมบริเวณที่อยู่ห่างจากมณฑลไหหลำทางใต้สุดของจีนไปทางใต้และทางตะวันออกหลายร้อยกิโลเมตร รัฐบาลจีนอ้างว่ากรรมสิทธิ์ของจีนในพื้นที่นี้มีประวัติศาสตร์ย้อนกลับไปนานหลายร้อยปี ตั้งแต่สมัยที่หมู่เกาะพาราเซลและหมู่เกาะสแปรตลีถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของจีน ขณะที่ไต้หวันก็อ้างกรรมสิทธิ์เหล่านี้เช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม มีการโต้แย้งว่าจีนไม่ได้อธิบายกรรมสิทธิ์ของจีนอย่างชัดเจนเพียงพอ และ "เส้นประ 9 เส้น" ที่ปรากฏอยู่บนแผนที่ของจีนล้อมรอบพื้นที่ทะเลจีนใต้เกือบทั้งหมด ไม่มีระยะพิกัดกำหนดไว้

นอกจากนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่า จีนอ้างกรรมสิทธิ์เฉพาะดินแดนที่เป็นแผ่นดินภายในขอบเขตเส้นประ 9 เส้น หรือรวมถึงน่านน้ำทั้งหมดในบริเวณนั้นด้วย


แผนที่พื้นที่พิพาททะเลจีนใต้

เวียดนามโต้แย้งการอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ของจีน โดยระบุว่าจีนไม่เคยมีอธิปไตยเหนือหมู่เกาะทั้งสองแห่งนี้ก่อนทศวรรษ 1940 เวียดนามบอกอีกด้วยว่า เคยปกครองหมู่เกาะพาราเซลและหมู่เกาะสแปรตลีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 และมีหลักฐานหลายอย่างพิสูจน์คำกล่าวอ้างนี้

ส่วนอีกประเทศที่อ้างกรรมสิทธิ์ในพื้นที่นี้คือฟิลิปปินส์ ซึ่งอ้างเรื่องภูมิศาสตร์ที่อยู่ใกล้กับหมู่เกาะสแปรตลีย์เป็นเหตุผลหลักในการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือพื้นที่บางส่วนของหมู่เกาะแห่งนี้

ทั้งฟิลิปปินส์และจีนต่างอ้างกรรมสิทธิ์เหนือสันทรายสการ์โบโรห์ ซึ่งอยู่ห่างจากฟิลิปปินส์ราว 160 กม. และห่างจากจีนราว 800 กม. จีนเรียกสันทรายนี้ว่า "เกาะหวงเหยียน"

ข้อพิพาทนี้ทำให้ฟิลิปปินส์ยื่นฟ้องต่อศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศในกรุงเฮกของเนเธอร์แลนด์ แต่จีนไม่ยอมรับกระบวนการอนุญาโตตุลาการ โดยศาลตัดสินให้ฟิลิปปินส์เป็นฝ่ายชนะเมื่อเดือน ก.ค. 2016

มาเลเซียและบรูไน ต่างอ้างกรรมสิทธิ์เหนือพื้นที่ในทะเลจีนใต้ที่ตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของแต่ละประเทศ ตามคำนิยามของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทางทะเล (United Nations Convention on the Law of the Sea - UNCLOS)

บูรไนไม่ได้อ้างกรรมสิทธิ์ในหมู่เกาะพิพาททั้ง 2 แห่ง แต่มาเลเซียอ้างกรรมสิทธิ์เหนือเกาะขนาดเล็กจำนวนหนึ่งในหมู่เกาะสแปรตลีด้วย

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จีนได้เร่งสร้างเกาะเทียมและฐานทัพทหารบนเกาะเหล่านี้ รวมทั้งลาดตระเวนทางทะเลเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของพื้นที่ในทะเลจีนใต้

ขณะที่สหรัฐฯ ได้อ้าง "เสรีภาพในการเดินเรือ" ในการส่งเรือและเครื่องบินทหารหลายลำเข้าไปใกล้บริเวณเกาะพิพาท เพื่อสร้างความมั่นใจว่า จะสามารถเข้าถึงเส้นทางการขนส่งสินค้าทั้งทางน้ำและทางอากาศที่สำคัญได้

บรรยากาศความตึงเครียดที่กำลังพอกพูนขึ้นระหว่างสองชาติมหาอำนาจนี้ อาจทำให้ทะเลจีนใต้กลายเป็นจุดของความขัดแย้งทางทหารที่รุนแรงซึ่งอาจส่งผลกระทบเป็นวงกว้างไปทั่วโลก


https://www.bbc.com/thai/international-56461377

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 11:15


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger