เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 16-09-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,116
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 16 กันยายน 2565

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือและประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มในระยะนี้ไว้ด้วย

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 17 - 21 ก.ย. 65 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากและลมกระโชกแรงบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 15 - 16 ก.ย. 65 ร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนบน ประเทศลาวเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้

ส่วนในช่วงวันที่ 17 - 21 ก.ย. 65 ร่องมรสุมจะมีกำลังแรงขึ้นและเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทย ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ตลอดช่วง โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มในระยะนี้ไว้ด้วย สำหรับในช่วงวันที่ 17 - 21 ก.ย. 65 ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง



*********************************************************************************************************************************************************



ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย(มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 17 ? 21 กันยายน 2565)" ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 16 กันยายน 2565

ในช่วงวันที่ 17 - 21 ก.ย. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศลาวและเวียดนามตอนบน ส่งผลทำให้ร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักถึงหนักมาก และมีลมกระโชกแรงบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มในระยะนี้ไว้ด้วย

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้

วันที่ 17 กันยายน 2565

ภาคเหนือ: จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน ตาก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดหนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคตะวันออก: จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด


ในช่วงวันที่ 18 - 19 กันยายน 2565

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร และตาก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี ยโสธร ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี ลพบุรี สระบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี ระนอง และพังงา


ในช่วงวันที่ 20 - 21 กันยายน 2565

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร และตาก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ยโสธร กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา สมุทรสาคร รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด


สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง






__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 16-09-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,116
Default

ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS


วิจัยพบ เต่าทะเล ถูกสังหารมากกว่า 1.1 ล้านตัวในรอบ 30 ปี



ข้อมูลล่าสุดจากงานวิจัยซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Global Change Biology ระบุว่า เต่าทะเล มากกว่า 1.1 ล้านตัวถูกสังหารอย่างผิดกฎหมายในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา โดยนักวิจัยเผยว่าความต้องการนำเต่าไปทำสินค้าฟุ่มเฟือยเป็นปัจจัยผลักดันที่ทำให้เกิดการซื้อขายเต่ากระ และเต่าตนุทั่วโลก ตอกย้ำความจำเป็นในการยกระดับมาตรการคุ้มครองเต่า

นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Arizona State ประมาณการว่า เต่าทะเล ราว 44,000 ตัวใน 65 ประเทศทั่วโลกถูกฆ่าและนำไปใช้ประโยชน์อย่างผิดกฎหมายทุกปีตลอดทศวรรษที่ผ่านมา แม้จะมีกฎหมายคุ้มครองก็ตาม

Jesse Senko อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย Arizona State และผู้ร่วมเขียนงานวิจัยฉบับดังกล่าวระบุว่า แม้ว่าจำนวนเต่าที่ถูกสังหารตามรายงานจะสูงมาก แต่ยังไม่ได้สะท้อนจำนวนของเต่าที่ถูกฆ่าทั้งหมดอย่างแท้จริง เพราะการประเมินว่าเต่าถูกนำไปทำอะไรอย่างผิดกฎหมายนั้นมีขอบเขตที่กว้างมากและยากที่จะประเมินได้อย่างครบถ้วน

ดังนั้นในการวิจัยนี้ นักวิจัยจึงศึกษาวารสารทางวิชาการ รายงานในสื่อแบบสอบถาม และรายงานของสถาบันอนุรักษ์ต่างๆ จำนวนมากกว่า 209 ฉบับเพื่อระบุขอบข่ายการล่าเต่าอย่างผิดกฎหมาย โดยศึกษาการฆ่าเต่าเพื่อหวังเต่าทั้งตัว และเพียงเพื่ออวัยวะบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็น หัว หาง หรือกระดอง รวมถึงการลักลอบและพยายามค้าเต่าข้ามประเทศ

ทั้งนี้ เต่าทะเลมักถูกล่าเพื่อนำมาทำอาหาร ยาในการแพทย์แผนโบราณ และนำมาขายเป็นวัตถุโบราณ เครื่องประดับ หรือแม้กระทั่งอัญมณี องค์การสหประชาชาติระบุว่า การล่าและลักลอบค้าเต่าถือเป็นการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายที่มีมูลค่าทางตลาดสูงถึง 2.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี

Jesse Senko กล่าวว่า แม้ว่างานวิจัยจะพบหลักฐานยืนยันการลักลอบค้าเต่าจำนวนเกือบ 43,000 ตัวในช่วงระหว่างปี 2533 ถึง 2543 แต่ทั้งหมดนี้ก็น่าจะยังห่างไกลจากจำนวนที่แท้จริงอยู่มาก

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศมาดากัสการ์เป็นแหล่งยอดนิยมของการล่าเต่าทะเล โดยพบว่าส่วนใหญ่เวียดนามเป็นประเทศต้นทางของการลักลอบค้าเต่า มีจีนและญี่ปุ่นเป็นตลาดปลายทางที่นิยมผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากเต่า

Jesse Senko เห็นว่า ประเทศกำลังพัฒนาจะยังดำเนินกิจกรรมการลักลอบค้าเต่าต่อไปตราบใดที่ยังมีความต้องการนำเต่ามาทำสินค้าฟุ่มเฟือยจากประเทศที่มีรายได้มากกว่า

ประมาณ 95% ของเต่าที่ถูกล่ามาจากสองสายพันธุ์หลักๆ คือ เต่าตนุและเต่ากระ ทั้งนี้เป็นเพราะเต่าตนุมีเนื้อรสชาติอร่อย และเต่ากระมีกระดองที่สวยงาม โดยเต่าตนุได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ขณะที่เต่ากระขึ้นทะเบียนเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ขั้นวิกฤต

อย่างไรก็ตาม การวิจัยก็ยังพบด้านดีอยู่บ้าง กล่าวคือ พบการนำเต่าไปใช้อย่างผิดกฎหมายลดลง 28% ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา นักวิจัยเชื่อว่าตัวเลขที่ลดลงนี้เป็นผลมาจากการออกกฎหมายคุ้มครองเต่าที่เข้มงวดมากขึ้น

นอกจากนี้ งานวิจัยชิ้นนี้ยังเผยให้เห็นข้อมูลใหม่ที่ระบุถึงชนิดของเต่าที่ตกเป็นเป้าหมายและพื้นที่ของการล่า ซึ่งจะช่วยให้นักอนุรักษ์และนักกฎหมายทำงานเพื่อคุ้มครองประชากรเต่าได้ดียิ่งขึ้นในอนาคต ซึ่งนักวิจัยย้ำว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นสิ่งที่มีผลต่อการลักลอบค้าเต่าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะตราบใดที่ยังมีความต้องการจากประเทศที่ร่ำรวยกว่า การค้าเต่าจากประเทศที่ยากจนกว่าคงจะไม่มีทางหมดไปได้


https://dxc.thaipbs.or.th/news/%e0%b...8%b2%e0%b8%99/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 17:47


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger