เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 17-09-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 17 กันยายน 2565

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทย มีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนัก และมีลมกระโชกแรงบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนัก ลมกระโชกแรง และฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มในระยะนี้ไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 17 - 22 ก.ย. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศลาวตอนบนและเวียดนามตอนบน ส่งผลให้ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากและมีลมกระโชกแรงบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบน ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก ลมกระโชกแรง และฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ตลอดช่วง โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มในระยะนี้ไว้ด้วย สำหรับในช่วงวันที่ 17 - 22 ก.ย. 65 ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง


*********************************************************************************************************************************************************



ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 17 ? 21 กันยายน 2565)" ฉบับที่ 4 ลงวันที่ 17 กันยายน 2565

ในช่วงวันที่ 17 - 21 ก.ย. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศลาวและเวียดนามตอนบน ส่งผลทำให้ร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นกับ มีฝนตกหนักถึงหนักมาก และมีลมกระโชกแรงบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก ลมกระโชกแรง และฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มในระยะนี้ไว้ด้วย

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้


วันที่ 17 กันยายน 2565

ภาคเหนือ: จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน ตาก กำแพงเพชร พิจิตร และพิษณุโลก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดหนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู ขอนแก่น อุดรธานี สกลนคร นครพนม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี ราชบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี และตราด


ในช่วงวันที่ 18 - 19 กันยายน 2565

ภาคเหนือ: จังหวัดลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร และตาก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ยโสธร กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง และพังงา


ในช่วงวันที่ 20 - 21 กันยายน 2565

ภาคเหนือ: จังหวัดอุสุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร และตาก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดหนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม ยโสธร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี ราชบุรี ลพบุรี สระบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 17-09-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก อสมท.


16 ก.ย. ของทุกปีตรงกับวัน "โอโซนโลก"

องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้วันนี้เป็นวันที่สะท้อนให้เห็นถึงการลดลงของชั้นบรรยากาศโอโซน เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงการลดลงของชั้นบรรยากาศ และให้นานาประเทศได้ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมร่วมกัน



วันโอโซนโลกเกิดจากการที่นานาประเทศได้ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมจึงได้ร่วมกันจัดทำอนุสัญญาการป้องกันชั้นบรรยากาศโอโซน ขึ้นในปี ค.ศ. 1985 (พ.ศ. 2528) เรียกว่า "อนุสัญญาเวียนนา และพิธีสาร ว่าด้วยการเลิกใช้สารทำลายชั้นโอโซน" ขึ้น และ ในปี ค.ศ.1987 (พ.ศ. 2530) ได้จัดให้มีการลงนาม เรียกว่า "พิธีสารมอลทรีออล"

สาระสำคัญของอนุสัญญาเวียนนานับว่าเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่มุ่งมั่นในการ พิทักษ์ ชั้นโอโซน และ เป็นเครื่องมือทางกฎหมายข้อแรกที่กลายเป็นรูปแบบของการแก้ปัญหา สิ่งแวดล้อมร่วมกัน ปัจจุบันมีประเทศที่ร่วมให้สัตยาบันแล้วรวม 191 ประเทศพิธีสารมอนทรีออลกับการช่วยปกป้องมนุษยชาติ พิธีสารมอนทรีออล กำหนดให้ประเทศภาคีสมาชิก ลดและเลิกการผลิตและการใช้สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน โดยเป็นการลดในรูปแบบขั้นบันได เพื่อให้ไม่ให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อประเทศภาคีสมาชิกทั่วโลก

หากไม่มีพิธีสารมอนทรีออลฉบับนี้ ชั้นบรรยากาศโอโซนที่คอยช่วยกรองรังสียูวีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบน โลกจะถูกทำลายลง โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติได้ประเมินไว้ว่า หากพิธีสารมอนทรีออลไม่ได้ถูกจัดตั้งขึ้น จำนวนคนเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งผิวหนังในอีก 40 ปีข้างหน้าจะเพิ่มขึ้นสูงถึง 19 ล้านคนทั่ว โลก และ 130 ล้านคนจะเป็นโรคตาต้อกระจก แม้ว่าระยะเวลาดังกล่าวจะดูเหมือนค่อนข้างนาน แต่ด้วยการเจริญเติบโตทางอุตสาหกรรม สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนจะยิ่งถูกผลิตมากขึ้นและนำไปใช้ในปริมาณมาก ปฏิกิริยาการทำลายโอโซนก็จะยิ่งสูงขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้พิธีสารมอนทรีออลยังมีส่วนในการช่วย ชะลอปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศไปอีก 10 ปี กล่าวคือ หากไม่มีพิธีสารดังกล่าว โลกจะเผชิญกับปัญหาการแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศเร็วขึ้นอีก 10 ปี

สำหรับประเทศไทยได้ร่วมลงนามในพิธีสารนี้ เมื่อวันที่ 15 กันยายน ค.ศ.1988 (พ.ศ. 2531) และให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ.1989 (พ.ศ. 2532) มีผลบังคับใช้ต่อประเทศไทยเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ.1989 (พ.ศ. 2532)



โอโซนคืออะไร?

ชั้นโอโซน เป็นส่วนหนึ่งชั้นบรรยากาศของโลกที่ประกอบด้วยโอโซนในปริมาณมาก ชั้นโอโซนช่วยดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ประมาณ 97-99% ของรังสีทั้งหมดที่แผ่มายังโลก

โอโซนคือรูปแบบพิเศษของออกซิเจน ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ในชั้นของบรรยากาศชั้นบน ๆ ชั้นโอโซนนี้มีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อโลก

ชั้นโอโซนอยู่ห่างจากผิวโลก ประมาณ 20 ไมล์ โดยอยู่ในบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ ชั้นโอโซนจะช่วยป้องกันไม่ให้รังสีอุลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ส่องมาถึงโลกของเรา ดวงอาทิตย์ทำให้ชีวิตบนโลกดำรงอยู่ได้ ความอบอุ่นและพลังงานของดวงอาทิตย์ ส่งผลต่อดิน น้ำ อากาศ และสิ่งมีชีวิตทุกอย่าง แต่ดวงอาทิตย์ทำให้เกิดรังสีที่เป็นอันตรายต่อชีวิตด้วย ชั้นโอโซนมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะทำหน้าที่เป็นเกราะคุ้มกัน ปกป้องพืชและสัตว์จากรังสีที่เป็นอันตรายของดวงอาทิตย์

ดังนั้นเมื่อใดที่โอโซนบางลงเราก็ได้รับการปกป้องน้อยลงด้วย เราเรียกรังสีที่เป็นอันตรายจากดวงอาทิตย์ว่า อุลตราไวโอเลต อุลตราไวโอเลตเป็นรังสีที่ไม่สามารถมองเห็นได้ หากมีปริมาณน้อยรังสีอุลตราไวโอเลตจะปลอดภัยและมีประโยชน์ โดยช่วยให้ร่างกายของเราได้รับวิตามินอี แต่รังสีอุลตราไวโอเลตที่มากเกินไป เป็นสาเหตุที่ทำให้ผิวหนังของเราอักเสบเนื่องจากแพ้แดด

ปริมาณของรังสีอุลตราไวโอเลตจำนวนมาก อาจทำให้ผิวหนังเกิดอาการอักเสบรุนแรง เกิดโรคผิวหนังและปัญหาเกี่ยวกับดวงตา รังสีอุลตราไวโอเลตยัง ลดความสามารถของร่างกายมนุษย์ ในการต่อสู้กับโรคต่าง ๆ นอกจากนี้รังสีอุลตราไวโอเลตปริมาณมากยังทำลายพืชในไร่และต้นพืชเล็ก ๆ ในทะเลซึ่งเป็นอาหารของ ปลา หากต้องไปอยู่ท่ามกลางแสงแดด ควรทาครีมป้องกันผิว ครีมทาผิวเหล่านี้จะมีตัวเลขบอก ปริมาณการปกป้องผิวจากรังสีอุลตราไวโอเลตได้

ที่มา : สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 (ชลบุรี) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


https://www.mcot.net/view/hDUAAcOZ

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 17-09-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS


รู้หรือไม่ ?โลกร้อนกำลังเปลี่ยนพฤติกรรม สัตว์น้ำ ให้บ้าคลั่งมากขึ้น



รู้หรือไม่ ? งานวิจัยใหม่เผยให้เห็นพฤติกรรมของ สัตว์น้ำ นักล่าเริ่มหิวกระหายและกินเยอะขึ้นเกินความจำเป็น เนื่องจากอุณหภูมิน้ำในมหาสมุทรสูงขึ้น จากวิกฤตภาวะโลกร้อน

งานวิจัยใหม่ที่ได้ตีพิมพ์ลงวารสาร Science เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้เผยให้เห็นปัญหาประการหนึ่งที่นักวิทย์ไม่เคยคิดเลยว่ามันจะเกิดขึ้นได้ และมีหลักฐานการทดลองให้เป็นประจักษ์ ที่นักวิทย์พบว่า ปลานักล่าใต้ท้องทะเลมีความหิวกระหายมากขึ้น โดยเฉพาะนักล่าที่อยู่ในเขตน้ำที่อุ่นกว่าปกติ ซึ่งสิ่งนี้สร้างความกังวลหลายด้าน แต่ที่ต้องพึงระวังเลยคือ การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นอันตรายต่อ สัตว์น้ำ หลายชนิดที่อยู่ต่ำกว่าในห่วงโซ่อาหารของสัตว์นักล่า

Gail Ashton ผู้เขียนหลักในการศึกษานี้และเป็นนักนิเวศวิทยาทางทะเลที่ Smithsonian Environmental Research Center ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำการวิจัยเกี่ยวกับระบบนิเวศทางน้ำและบนบก กล่าวว่า ?เราจะต้องพบเจอกับการสูญเสียอีกมากมายแน่นอนจากเหตุการณ์นี้?

เหตุผลหลักที่ทำให้เกิดการล่าอย่างหิวกระหายเพิ่มขึ้นนี้ มาจากผู้ล่ามีกำลังเผาผลาญพลังงานมากขึ้น ยิ่งอุณหภูมิของน้ำสูงขึ้นเท่าไหร่ พวกมันก็ยิ่งต้องการพลังงานมากขึ้นเท่านั้น เพื่อให้พวกมันยังคงพลังงานเท่าเดิมและเพื่อความกระฉับกระเฉงในการดำรงชีวิตต่อไป สิ่งนี้เองจึงกระตุ้นให้ผู้ล่าออกหาอาหารมากขึ้น

ผลกระทบของภาวะโลกร้อนมีผลต่อสัตว์นักล่าไม่เหมือนกันในแต่ละน่านน้ำ เนื่องจากอุณหภูมิจะแตกต่างกันมากตามละติจูดต่าง ๆ โดยผู้เขียนเรียกสิ่งนี้ว่า ?ความเข้มของการล่า? จะมีการล่าต่ำในละติจูดที่สูงขึ้น (บริเวณขั้วโลก) และเด่นชัดกว่าในพื้นที่น้ำอุ่นที่ใกล้เส้นศูนย์สูตร แต่ในขณะที่ทะเลดูดซับความร้อนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง การล่าในละติจูดสูงก็จะเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน เช่น อาร์กติกที่ร้อนขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้มีการเข้าไปล่าอาหารมีมากขึ้น

การศึกษาใหม่นี้ได้ทำการสังเกตการล่าในบริเวณ 36 แห่งในชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติกตั้งแต่อะแลสกาไปจนถึงอเมริกาใต้ อุณหภูมิทางทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นเหล่านี้ส่งผลกระทบให้เกิดปัญหามากมาย เช่น ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น ธารน้ำแข็งในทวีปแอนตาร์กติกไม่เสถียร และระบบนิเวศทางทะเลที่กระจัดกระจาย ในขณะที่สารคดี Our Planet ของ David Attenborough จับภาพไว้อย่างชัดเจน ว่ามหาสมุทรที่อุ่นขึ้นได้ดึงสาหร่ายออกจากแนวปะการังและทำให้พวกมันเกิดการฟอกขาว

ประกอบกับงานวิจัยก่อนหน้านี้ ที่แสดงให้เห็นว่า ภาวะโลกร้อนมีอิทธิพลต่อวิธีการล่าที่นักล่าเดินทางข้ามมหาสมุทรเพื่อหาอาหาร โดยการสังเกตฉลามเสือ ซึ่งเรื่องนี้ได้ตีพิมพ์ลงในวารสารวิทยาศาสตร์ Global Change Biology เมื่อต้นปีที่ผ่านมา เผยให้เห็นรูปแบบที่น่าสนใจ คือ น่านน้ำใกล้ขั้วโลก (ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ) อุ่นขึ้นในอัตราที่เร็วกว่าปกติมาก สิ่งนี้ทำให้ฉลามเสือขยายขอบเขตการล่าและเคลื่อนตัวไปทางเหนือเส้นศูนย์สูตร ส่งผลโดยตรงต่อปริมาณและพื้นที่ที่ฉลามล่าและการกินอาหาร

หรือกล่าวคือ ฉลามเสือ เมื่อต้องการหาอาหารมากขึ้นเพื่อเผาผลาญร่างกายอันเนื่องมาจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น มันจะว่ายข้ามเขตแดนไปยังถิ่นอื่น ๆ ทำให้ปลาท้องถิ่นเริ่มหวาดกลัวการล่าของมัน เพิ่มความกดดันแก่สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เพิ่มระดับความกดดันในห่วงโซ่อาหารที่รองจากพวกมันมากขึ้นไปอีก

ทีมงานของ Ashton ไม่สามารถระบุสัตว์นักล่าเกือบทุกสายพันธุ์ที่มีความกระตือรือร้นมากขึ้นในการศึกษาเดี่ยวนี้ แต่ในอนาคต แอสตันและทีมของเธอวางแผนที่จะค้นคว้าว่าเหยื่อตัวใดได้รับผลกระทบจากนักล่าผู้หิวโหยเหล่านี้มากที่สุด

ยังเป็นที่ไม่แน่นอนว่า นักล่าที่ต้องการพลังงานเพิ่มและหิวกระหายเหล่านี้จะส่งผลกระทบทั้งต่อตัวผู้ล่าเองหรือต่อเหยื่อในระยะยาวมากขนาดไหน และอย่างไร เนื่องจากกิจกรรมของมนุษย์ยังเข้ามามีบทบาทอยู่เช่นกัน ยกตัวอย่าง อุตสาหกรรมการประมงที่ยังคงมุ่งเป้าล่าปลาผู้ล่า ซึ่งหมายความว่าบางภูมิภาคของมหาสมุทรยังคงปลอดภัยจากความกระหายเหล่านี้ ทั้งเหยื่อเองและจากภาวะโลกร้อน

แต่หลักฐานที่พบนี้ก็บ่งชี้ได้อย่างชัดเจนว่า อุณหภูมิน้ำที่สูงขึ้นมีผลต่อพฤติกรรมสัตว์ให้เปลี่ยนแปลงไปสู่ผู้ล่าบ้าคลั่งได้ง่าย ๆ โดยในมุมผู้เขียนเองมองเรื่องนี้ว่า การเกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้มีความจำเป็นที่เราต้องจับตาดูการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อย่างใกล้ชิดแม้จะดูเหมือนเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ในอนาคตหากยังเกิดต่อเรื่อย ๆ อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางด้านอาหารของมนุษย์ได้

มนุษย์อาจขาดแคลนอาหารทะเลเนื่องจากมีการล่ากันเองของสัตว์มากขึ้น สัตว์น้อยใหญ่ทางเศรษฐกิจอาจเริ่มเปลี่ยนทิศหรือพฤติกรรมเพื่อหลบซ่อนนักล่ามากขึ้น ตามสัญชาตญาณการปรับตัวทางธรรมชาติ ซึ่งจะสร้างความเสียหายต่อความไม่มั่นคงด้านอาหารของมนุษย์ และมีความรุนแรงเทียบเท่ากับการประมงเกินขนาดที่มนุษย์กำลังดำเนินการอยู่ในทุกวันนี้

ขอบคุณข้อมูล https://mashable.com/?/ocean-warming-predation-climate?


https://dxc.thaipbs.or.th/news/%e0%b...8%a4%e0%b8%95/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 11:30


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger