เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 04-06-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is online now
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,116
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน 2564

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนน้อยในระยะนี้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังอ่อน

อนึ่ง พายุโซนร้อน "ฉอย-หวั่น" (CHOI-WAN) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีแนวโน้มการเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือ คาดว่าจะเคลื่อนเข้าสู่ตอนใต้ของเกาะไต้หวันในวันพรุ่งนี้ (4 มิ.ย. 64) โดยพายุนี้ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 27-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 3 ? 4 มิ.ย. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนน้อย และคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังอ่อน

ส่วนในช่วงวันที่ 5 - 9 มิ.ย. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 5 - 9 มิ.ย. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักไว้ด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 04-06-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is online now
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,116
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


โชว์ภาพจากโดรนสำรวจ "ปะการังฟอกขาว" ครั้งแรกของไทย!!

ดร.ธรณ์ นำทีมสำรวจปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาว โชว์ภาพถ่ายบริเวณ "หินต่อยหอย" ด้วยการใช้โดรน พร้อมนำข้อมูลไปใช้ต่อ ชี้เป็นเครื่องมือที่สุดยอดสำหรับทะเลไทย มีข้อดีมากมาย


หาดพลา จังหวัดระยอง : การสำรวจทางอากาศทำให้รู้ว่าแนวปะการังสำคัญมาก เพราะเป็นเขื่อนกันคลื่นกัดเซาะชายฝั่ง และเรือประมงพื้นบ้าน

หลังจากมีการแจ้งข่าวจากชาวประมงเรื่องปะการังฟอกขาวที่หาดพลา จังหวัดระยอง และมีการลงสำรวจพื้นที่พร้อมเก็บข้อมูลเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เมื่อวานนี้ (2มิถุนายน2564) ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเล และรองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Thon Thamrongnawasawat เล่าถึงการใช้โดรนในการสำรวจการเกิดปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวว่า การสำรวจปะการังฟอกขาวด้วยการใช้โดรนเป็นครั้งแรกของเมืองไทย โดยคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ /กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง / ปตท.สผ. สำเร็จเรียบร้อย ได้ผลดีมาก โดยสำรวจบริเวณที่เรียกว่า "หินต่อยหอย" คือแนวปะการังกลางน้ำใกล้เกาะมันใน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีปะการังดีที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง

โดยการสำรวจต้องวางแผนให้รอบคอบ เริ่มจากส่งโดรน "บินลาดตระเวน" ดูเขตที่อาจมีปะการังฟอกขาว ไปรอบพื้นที่ทั้งหมด เพราะโดรนที่ใช้มีแบตเตอรี่จำกัดประมาณ 20 นาที เมื่อได้พื้นที่เป้าหมายที่น่าสนใจ จึงส่งโดรนไปอีกครั้ง ครั้งนี้คือบริเวณในวงกลม และการส่งโดรนไป "สำรวจละเอียด" ต้องเลือกเวลาให้ใกล้น้ำลงต่ำสุดเท่าที่ได้

"ช่วงที่ผมไป น้ำขึ้นลงต่างกัน 1.7 เมตร หมายถึงปะการังที่เห็นปริ่มน้ำตอนเที่ยง หากมาผิดเวลาจะลึกท่วมหัวน้ำจะทำให้เรามองอะไรไม่ค่อยเห็น อีกทั้งจะใช้อินฟราเรดช่วยวิเคราะห์ก็ยาก เวลาจึงเป็นเรื่องสำคัญสุดๆ"

"เมื่อโดรนกลับไปอีกครั้ง ต้องถ่ายภาพทั้งแนวดิ่งและแนวเฉียง เนื่องจากช่วงนี้น้ำลงต่ำตอนเที่ยง/บ่ายโมง แสงสะท้อนเยอะ จากนั้นเราจะกำหนดจุดเพื่อการสำรวจภาคสนาม เดินดู/ดำน้ำ เรียกว่า Ground Truthing ระหว่างนั้นจะใช้โดรนลำใหญ่ทำ mapping รายละเอียดระดับ 2 เซนติเมตร เมื่อได้ข้อมูลทั้งหมด เราจะนำมาวิเคราะห์ ตามดูปะการังฟอกขาวได้เป๊ะๆ รวมถึงแผนที่แนวปะการังที่บอกปะการังได้ก้อนต่อก้อน"


เข้ามาใกล้ เป็นปะการังหลากสี นั่นคือการฟอกขาวระดับต่างๆ ส่วนใหญ่แค่ซีด มีโอกาสฟื้น

"โดรนมีศักยภาพสูงมาก นำไปใช้ได้มาก ทั้งสำรวจ ติดตาม ศึกษาวิจัย อนุรักษ์ ฯลฯ โดรนคือเครื่องมือที่สุดยอดสำหรับทะเลไทย ทะลวงข้อจำกัดหลายประการ โดยเฉพาะการประหยัดเวลา/คน/เงิน ในการสำรวจพื้นที่กว้างในช่วงเวลาสั้นๆ เช่น ปะการังฟอกขาว"

"อุปสรรคของ Drone Survey คือต้องใช้ประสบการณ์สูงมาก เพราะทะเลแปรเปลี่ยนตลอดเวลา ปัจจัยอากาศ/คลื่น/ลม/น้ำขึ้นน้ำลง ฯลฯ เราควบคุมไม่ได้ ต้องไปแก้ไขกันหน้างาน และเวลาที่ต้องทำให้ทันมีแค่ 2 ชั่วโมง พอน้ำขึ้นก็จบกัน เดือนหนึ่งลงต่ำจริง 2-3 วัน พลาดแล้วรอไปอีกเดือนได้เลย" ผศ.ดร.ธรณ์ ย้ำในตอนท้าย

ทั้งนี้ "ปะการังฟอกขาว" เกิดจากปะการังสูญเสียสาหร่ายเซลล์เดียวที่อาศัยอยู่ภายในเนื้อเยื่อ ชื่อว่า "ซูแซนเทลลี" (Zooxanthele) โดยปกติ เนื้อเยื่อของปะการังไม่ได้มีสีสันสวยงาม เป็นเพียงเนื้อเยื่อใสๆ เท่านั้น ส่วนที่เห็นเป็นสีสันมาจากสาหร่ายซูแซนเทลลีซึ่งจะทำหน้าที่สังเคราะห์แสง ให้ธาตุอาหารที่มีส่วนช่วยให้ปะการังเจริญเติบโต วงจรชีวิตของปะการังและสาหร่ายซูแซนเทลลีเป็นภาวะพึ่งพาอาศัยกัน หากอุณหภูมิน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นเพียง 1-2 องศาเซลเซียส นานติดต่อกันเป็นเวลา 3 สัปดาห์ อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปนี้ก็จะทำให้ปะการังเกิดความเครียด จนสาหร่ายที่คอยให้อาหารและสีสันเคลื่อนย้ายไปอยู่อาศัยที่อื่นเพื่อความอยู่รอด ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวตามมานั่นเอง แต่หากอุณหภูมิลดลง ปะการังก็อาจจะสามารถฟื้นฟูตัวเอง กลับมาเจริญเติบโตได้

นักวิจัยทางทะเลส่วนใหญ่ ให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว อาจจะเป็นดัชนีสำคัญในการชี้วัดว่า อุณหภูมิน้ำทะเลกำลังสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปกติน้ำทะเลในมหาสมุทรทุกแห่งทั่วโลกจะดูดซับความร้อนจากแสงอาทิตย์และสะท้อนออกไป อุณหภูมิของน้ำจึงน่าจะเป็นตัวชี้วัดสำคัญอย่างเป็นรูปธรรมว่า ภาวะโลกร้อนกำลังอยู่ในความรุนแรงระดับไหน นอกจากภาวะโลกร้อน ยังมีปัจจัยอื่นๆ เช่น ค่าความเค็มของน้ำทะเลที่เปลี่ยนไป หรือมลพิษที่เกิดจากแหล่งต่างๆ ก็ทำให้เกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวได้เช่นกัน

นักวิทยาศาสตร์เริ่มพบเห็นความผิดปกติของปะการังว่า มีการฟอกขาวเป็นวงกว้างทั่วมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งแต่ปีพ.ศ.2527 จากนั้น ก็เริ่มมีรายงานการพบในการเกิดปะการังฟอกขาวในมหาสมุทรทั่วโลก สำหรับประเทศไทยมีการพบเห็นปรากฏการณ์ฟอกขาวเมื่อราวปี2534 ปี2538 และปี2541 ซึ่งในปี 2541 ถูกบันทึกไว้ว่า เป็นปีที่มีปะการังฟอกขาวรุนแรง โดยเฉพาะในทะเลบริเวณอ่าวไทย บางพื้นที่พบว่ามีปะการังตายประมาณร้อยละ 80-90 แนวปะการังเป็นเสมือนพื้นที่ป่าสำคัญแห่งหนึ่งของมหาสมุทร เป็นแหล่งหากินของสัตว์น้ำนานาชนิด และจุดชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศในมหาสมุทรที่โยงใยถึงกันอย่างซับซ้อน หากป่าในมหาสมุทรถูกทำลายลง ย่อมส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ ไปถึงการดำรงชีวิตของสัตว์ทะเลอีกด้วย


https://mgronline.com/greeninnovatio.../9640000053499

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 05:06


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger