เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 10-07-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม 2564

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

มีร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่อง โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่งบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ตะวันตก ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 12 ก.ค. 64


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 10 ? 11 ก.ค. 64 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 15 ก.ค. 64 ร่องมรสุมที่พาดผ่านประเทศไทยมีกำลังอ่อนลง ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออก และภาคใต้ ในช่วงวันที่ 9 ? 12 ก.ค. 64 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 13 - 15 ก.ค. 64 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงประมาณ 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 10 - 11 ก.ค. 64 ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันดามันและอ่าวไทยตอนบนระมัดระวังในการเดินเรือ เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 12 ก.ค. 64












__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 10-07-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก โพสต์ทูเดย์


เผยคนไทยและเพื่อนบ้านนับล้านเสี่ยงเจอน้ำทะเลท่วมเร็วกว่าที่คิด



หลายพื้นที่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งไทยเผชิญกับความเสี่ยงจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นเร็วกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ โดยประชาชนนับล้านจะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม

ทีมนักวิจัยจากสถาบันวิจัย Deltares ของเนเธอร์แลนด์เผยผลการศึกษาการประเมินความสูงของภูมิประเทศโดยเทคโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียม LiDAR ซึ่งเป็นการวัดระยะจากระยะเวลาในการเดินทางของลำแสงเลเซอร์ในการเดินทางไปกลับระหว่างวัตถุเป้าหมายและเซ็นเซอร์ ซึ่งทำให้ได้ภาพถ่ายดาวเทียมที่มีความแม่นยำมากขึ้น

พบว่า ประเทศในแถบพื้นที่ราบลุ่มเสี่ยงต่อระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น และพื้นดินมีแนวโน้มที่จะจมเนื่องจากการทรุดตัว อาทิ ไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ซึ่งหมายความว่าประชาชนจำนวนมากในประเทศเหล่านี้อาจต้องเผชิญภัยพิบัติที่รุนแรงมากขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ซึ่งมีแนวโน้มเลวร้ายลงอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

อัลโยเชีย ฮูเยอร์ หนึ่งในผู้เขียนรายงานการวิจัยซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Nature Communications เผยว่า แบบจำลองระดับความสูงของพื้นดินที่ใช้เทคโนโลยีเรดาร์แบบเก่าไม่สามารถเจาะทะลุต้นไม้ได้อย่างเต็มที่ ทำให้ระดับความสูงของแผ่นดินที่ตรวจวัดได้สูงกว่าความเป็นจริงราว 1 เมตรหรือมากกว่านั้น นั่นหมายความว่าความเสี่ยงในการเกิดน้ำท่วมที่คำนวณด้วยวิธีนี้ต่ำเกินไป

ด้วยเหตุนี้ พื้นดินในอินโดนีเซียที่มีระดับความสูงของแผ่นดินต่ำกว่า 2 เมตรจากการตรวจวัดด้วย LiDAR จึงมีมากกว่าที่ประเมินด้วยเทคโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียมจากเรดาร์กระสวยอวกาศ (SRTM) ถึง 14 เท่า ส่วนของไทยมีมากกว่าถึง 5 เท่า ฟิลิปปินส์มีมากกว่า 7 เท่า

อย่างไรก็ดี นักวิจัยชี้ว่าตัวเลขเหล่านี้อาจแตกต่างกันไปในระดับท้องถิ่น ซึ่งข้อมูลที่แม่นยำมากขึ้นจะช่วยให้ทางการวางแผนลดความเสี่ยงจากน้ำท่วมได้ดียิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ทีมวิจัยประเมินว่า ขณะนี้ประชากร 157 ล้านคนในเขตร้อนของเอเชียอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีความสูงต่ำกว่า 2 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ซึ่งเป็นระดับที่มีการทำนายว่าจะได้รับผลกระทบหนักที่สุด และตัวเลขนี้จะเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดหากระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ทศวรรษข้างหน้านี้

คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) คาดว่าระดับน้ำทะเลจะเพิ่มขึ้น 0.8 เมตรภายในปี 2100 และเหตุการณ์น้ำท่วมรุนแรงที่เคยเกิดขึ้นทุกๆ 100 ปีอาจเกิดขึ้นทุกปีภายในสิ้นศตวรรษที่ 21 นี้

ภายใต้สมมติฐานว่าน้ำทะเลเพิ่มขึ้น 1 เมตร ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นภายในปี 2100 ชาวไทย 23 ล้านคน, ชาวเวียดนาม 38 ล้านคน และชาวอินโดนีเซีย 28 ล้านคนจะอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงที่น้ำจะท่วมชายฝั่งบ่อยขึ้น หรือเพิ่มขึ้นจากตัวเลขขณะนี้ถึง 21%

ผลกระทบอาจร้ายแรงในเมืองใหญ่ๆ ชุมชนชายฝั่ง และพื้นที่เกษตรกรรม โดยพื้นที่ขนาดใหญ่อาจไม่สามารถอาศัยอยู่ได้อีกหรือสูญเสียความอุดมสมบูรณ์

ขณะที่รายงานของ Greenpeace ซึ่งใช้ข้อมูลจากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของ Climate Central เพื่อคำนวณความเสียหายทางเศรษฐกิจของ 7 เมืองใหญ่ที่สุดของเอเชียอันเนื่องมาจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นในปี 2030 ประเมินว่า อาจเกิดความเสียหาย (เฉพาะในชุมชนเมือง) ราว 724,000 ล้านเหรียญสหรัฐในกรุงเทพฯ จาการ์ตา มะนิลา ไทเป โซล โตเกียว และฮ่องกง

โดย 96% ของจีดีพีของกรุงเทพฯ และชาวกรุง 10 ล้านคนจะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้


https://www.posttoday.com/world/657544

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 10-07-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก บ้านเมือง


อุทยานเฮ! "แม่เพรียง" ขึ้นวางไข่รังแรกของปีบนเกาะทะลุ



วันที่ 9 ก.ค. นายพิชัย วัชรวงษ์ไพบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 (สบอ.3) สาขาเพชรบุรี ได้รับรายงานจาก นายภัทร อินทรไพโรจน์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติอ่าวสยาม(เตรียมการ) ขณะร่วมกับเจ้าหน้าที่มูลนิธิฟื้นฟูทรัพยากรทะเลสยาม ลาดตระเวนและเฝ้าระวังการขึ้นวางไข่ของเต่าในพื้นที่เกาะทะลุ อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ อย่างต่อเนื่องกลางดึกที่ผ่านมา พบ "แม่เพรียง" เต่ากระหมายเลขไมโครชิพ 933076400505267 ขึ้นวางไข่บริเวณอ่าวเทียน เป็นรังที่ 1 ของปี 64 พิกัด 47 P 560322 E 1223940 N ซึ่งอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติอ่าวสยาม (เตรียมการ) ตรวจดูเต่าเบื้องต้นไม่พบร่องรอยบาดแผลที่เกิดจากเครื่องมือการทำประมงแต่อย่างใด

สำหรับ "แม่เพรียง" เต่ากระอายุประมาณ 10 ปีขึ้น มีความยาวลำตัว 83 ซม.ความกว้างลำตัว 76 ซม.ขนาดรอยพาย 75 ซม.ขึ้นวางไข่ขนาดหลุมความกว้าง 26 เซนติเมตร ความลึก 49 เซนติเมตร มีจำนวนไข่ทั้งหมด 173 ฟอง นับเป็นรังที่ 13 ของเต่าที่วางไข่บนเกาะทะลุ ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะทำการขุดหลุมรังไข่ ทำการย้ายไข่ไปไว้ในที่ซึ่งปลอดภัยจากสัตว์ที่จะเข้ามากินไข่เต่าและน้ำทะเลที่อาจท่วมถึงในช่วงเวลาน้ำทะเลขึ้นสูง

จากข้อมูลของมูลนิธิฟื้นฟูทรัพยากรทะเลสยาม พบเต่ากระขึ้นวางไข่ในพื้นที่เกาะทะลุ ซึ่งเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติเมื่อปี พ.ศ.2552 จนถึงปัจจุบันพบไปแล้ว 9 แม่ (ทั้งหมด 9 แม่ เป็นแม่เต่าที่เกิดตามธรรมชาติ ไม่มีแม่เต่าที่มาจากแหล่งอนุบาลฯแต่อย่างใด ซึ่งเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติอ่าวสยามได้เฝ้าระวังและเก็บข้อมูลตลอด 24 ชั่วโมง สำหรับ "เต่ากระ" ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Eretmochelys imbricata (Linnaeus, 1766) เป็นสัตว์ทะเลหายาก สถานภาพเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พรบ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 และจัดอยู่ใน Appendix 1 ของ


https://www.banmuang.co.th/news/region/241424

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 17:56


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger