เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 07-08-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม 2564

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย เริ่มมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมายังคงมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

อนึ่ง พายุโซนร้อน "ลูปิต" บริเวณชายฝั่งตะวันออกของประเทศจีน กำลังเคลื่อนตัวสู่เกาะไต้หวันในวันนี้ (7 ส.ค. 64) พายุนี้ไม่มีผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากในระหว่างบ่ายถึงค่ำ อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 7 - 12 ส.ค. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมบริเวณทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง ในขณะที่ร่องมรสุมจะพาดผ่านประเทศเมียนมา ประเทศลาวและเวียดนามตอนบนในช่วงวันที่ 10 - 12 ส.ค. 64 ทำให้บริเวณประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในระยะนี้ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อนึ่ง พายุโซนร้อน ?ลูปิต?บริเวณชายฝั่งประเทศจีนตอนใต้ คาดว่าจะเคลื่อนตัวไปทางเกาะไต้หวันในช่วงวันที่ 7-8 ส.ค.64 พายุนี้ไม่มีผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย


*********************************************************************************************************************************************************



ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุโซนร้อน ลูปิต" ฉบับที่ 5 ลงวันที่ 07 สิงหาคม 2564

เมื่อเวลา 04.00 น. ของวันนี้ (7 ส.ค. 64) พายุโซนร้อน "ลูปิต" มีศูนย์กลางอยู่ที่บริเวณชายฝั่งตะวันออกประเทศจีน หรือที่ละติจูด 24.6 องศาเหนือ ลองจิจูด 119.6 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 75 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันออกอย่างช้าๆ คาดว่าจะเคลื่อนไปทางเกาะไต้หวันในวันนี้ (7 ส.ค. 64) พายุนี้ไม่มีผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 07-08-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default

ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด


12 ขวบสุดช็อก! ถูกฉลามกัดยับ 20 แผล โชคดีหนีขึ้นฝั่งทัน-ต้องเย็บ 42 เข็ม



12 ขวบสุดช็อก! ? วันที่ 6 ส.ค. มิร์เรอร์ รายงานเหตุระทึกกรณี ฉลาม โจมตีในสหรัฐอเมริกา หลังจากเด็กหญิงวัย 12 ปี ถูกฉลามกัดจนเป็นแผลฉกรรจ์ระหว่างเล่นน้ำอยู่ริมหาดโอเชียนซิตี รัฐแมรีแลนด์ แต่โชคดีที่ไม่โดนสัตว์นักล่าลากลงไปใต้น้ำ และรอดชีวิตมาได้อย่างหวุดหวิด

เหตุดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ 2 ส.ค.ที่ผ่านมา ด.ญ.จอร์แดน พรูชินสกี และครอบครัวกำลังพักผ่อนช่วงวันหยุดอยู่ที่ริมหาดโอเชียนซิตี ต่อมาจอร์แดนลงไปเล่นน้ำที่ความลึกประมาณหัวเข่า และว่ายเล่นไปมาแถวๆ หาด ก่อนรู้สึกเจ็บแปลๆ ที่ขา

"ฉันนึกว่าเป็นแมงดาทะเลว่ายกระแทกแถวหน้าแข้ง ฉันไม่ค่อยชอบสัตว์ทะเลเลยรีบวิ่งขึ้นฝั่ง แทบจะทันทีฉันก็พบว่าเลือดไหลเต็มไปหมด และมีแผลทั่วขาของฉัน" จอร์แดนเล่าถึงเหตุการณ์สยอง



ด้านนางเมลิสซา พรูชินสกี แม่ของจอร์แดน เปิดเผยว่ารีบวิ่งไปดูลูกสาวหลังขึ้นมาจากทะเลและมีเลือดนองเต็มขา ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ไลฟ์การ์ดเข้ามาช่วยเหลือ ส่วนนักท่องเที่ยวก็โทรศัพท์แจ้งเหตุฉุกเฉินให้

ไม่นานนักหน่วยแพทย์ฉุกเฉินก็รุดมาถึงจุดเกิดเหตุและพาเด็กหญิงไปส่งโรงพยาบาล ซึ่งหมอแผนกฉุกเฉินวินิจฉัยว่ารอยแผลกว่า 20 แห่งที่ขาของจอร์แดนเป็นรอยกัดของฉลาม โดยเด็กหญิงต้องเย็บแผลมากถึง 42 เข็ม แต่อาการไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต


https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6551020

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 07-08-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default

ขอบคุณข่าวจาก สำนักข่าวไทย


ไข่เต่ากระที่เกาะทะลุฟักต่อเนื่อง



ประจวบคีรีขันธ์ 6 ส.ค. ? กรมอุทยานแห่งชาติเผย ไข่เต่ากระที่แม่เต่าขึ้นมาวางไข่พื้นที่เกาะทะลุ อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์อย่างต่อเนื่อง ทยอยฟัก โดยอัตราการรอดสูง เป็นผลดีต่อการเพิ่มประชากรเต่ากระ ซึ่งเป็นสัตว์หายากที่ใกล้สูญพันธุ์

นายพิชัย วัชรวงษ์ไพบูลย์ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 สาขาเพชรบุรีกล่าวว่า ได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติอ่าวสยาม (เตรียมการ) ที่ลาดตระเวนการขึ้นวางไข่ของเต่ากระในพื้นที่เกาะทะลุ อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งพบร่องรอยการขึ้นวางไข่ของแม่เต่ากระอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่พบตัวแม่เต่ากระ ล่าสุดขึ้นวางไข่บริเวณอ่าวเทียน เจ้าหน้าที่จึงทำการขุดหลุมรังไข่ ทำการย้ายรังไปไว้ในที่ซึ่งปลอดภัยจากสัตว์ที่จะเข้ามากินไข่เต่าและน้ำทะเลที่อาจท่วมถึงในช่วงเวลาน้ำทะเลขึ้นสูง โดยนับเป็นรังที่ 20 มีจำนวนไข่สมบูรณ์ทั้งหมด 151 ฟอง วัดร่องรอยของพายได้ 75 เซนติเมตร ขนาดหลุมวางไข่ กว้าง 23 เซนติเมตร ลึก 41 เซนติเมตร

นอกจากนี้ ยังบันทึกการฟักของลูกเต่าซึ่งแม่เต่าขึ้นวางไข่ในเดือนมิถุนายน 2 รัง รวม 246 ตัว ระยะเวลาที่ใช้ในการฟักออกเป็นตัวเฉลี่ย 60 วัน อัตรารอดเฉลี่ย 96 % ซึ่งเจ้าหน้าที่มูลนิธิฟื้นฟูทรัพยากรทะเล สยามนำไปอนุบาลไว้ก่อนเพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติต่อไป



"เต่ากระ" เป็นสัตว์ทะเลหายาก มีสถานภาพเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 และอยู่ในIUCN Red List : CR คือเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ขั้นวิกฤติ รวมทั้งจัดอยู่ใน Appendix 1 ของอนุสัญญาไซเตส (CITES) .


https://tna.mcot.net/latest-news-753629

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 07-08-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default

ขอบคุณข่าวจาก GREENPEACE


สรุปสถานการณ์สภาพภูมิอากาศ "เรากำลังมาถึงจุดวิกฤต"

น้ำท่วมรุนแรง คลื่นความร้อน พายุไซโคลน ไฟป่า และปรากฎการณ์ Polar Vortex ในครึ่งปีแรกของปี 2564 นอกจากสถานการณ์โรคระบาดที่ย่ำแย่ สภาพอากาศที่รุนแรงสุดขั้วซึ่งเป็นผลจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศก็ทวีความรุนแรงยิ่งกว่าปีก่อนๆที่ผ่านมา สภาพอากาศที่รุนแรงแบบนี้เกิดคำถามว่าแล้วเรากำลังเดินไปสู่จุดไหนของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตอนนี้สภาพภูมิอากาศวิกฤตแค่ไหน?

ครึ่งปีที่ผ่านมาเราเผชิญกับภัยธรรมชาติจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศแบบไหนบ้าง?


โพลาร์ วอร์เท็กซ์ (Polar Vortex)

ในปีนี้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกต้องเผชิญกับโพลาร์ วอร์เท็กซ์ทำให้อากาศหนาวทุบสถิติ อุณหภูมิในกรุงโซลประเทศเกาหลีใต้ลดลงต่ำที่สุดในรอบ 35 ปี โดยสภาพอากาศตลอดทั้งคืนอยู่ที่ -18.6องศาเซลเซียส เป็นตัวเลขต่ำที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม พ.ศ.2529 ในขณะที่จีนก็ต้องเผชิญกับอากาศหนาวเย็นเช่นกัน ซึ่งอุณหภูมิในกรุงปักกิ่งลดลงแตะ -19 องศาเซลเซียส เป็นอุณหภูมิที่ต่ำที่สุดในรอบ 50 ปี นอกจากนี้ที่ญี่ปุ่นได้บันทึกสถิติความหนาของชั้นหิมะใหม่ หิมะที่ตกหนักนี้ทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตอย่างน้อย 13 ราย และมียานพาหนะกว่า 1,200 คัน ถูกฝังอยู่ใต้หิมะ สิ่งที่เกิดขึ้น นักวิทยาศาสตร์ได้ระบุว่าอุณหภูมิที่สูงขึ้นในขั้วโลกเหนือเป็นสาเหตุให้เกิดความหนาวจัดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ส่วนหนึ่งเกิดจากปรากฎการณ์ Polar Vortex เคลื่อนตัวมาทางใต้


อุณหภูมิในกรุงโซลประเทศเกาหลีใต้ลดลงต่ำที่สุดในรอบ 35 ปี โดยสภาพอากาศตลอดทั้งคืนอยู่ที่ -18.6องศาเซลเซียส เป็นตัวเลขต่ำที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม พ.ศ.2529

นอกจากคลื่นความหนาวที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออก อย่างเกาหลีใต้ จีน และญี่ปุ่นกำลังเผชิญอยู่ สเปนก็เป็นอีกประเทศที่ต้องเจอกับอากาศหนาวที่สุดรวมทั้งหิมะตกหนักเป็นสถิติใหม่ เมื่อวันที่ 8 มกราคมที่ผ่านมา สเปนได้รับผลกระทบจากพายุหิมะ Filomena เกิดคลื่นความหนาวและหิมะตกหนัก ทั้งนี้คลื่นความหนาวส่งผลกระทบกับเมืองอีกหลายเมืองในสเปนโดยเฉพาะกรุงมาดริดที่อุณหภูมิลดต่ำลงเหลือ -12 องศาเซลเซียส เป็นปรากฎการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1907


คลื่นความร้อนในรัสเซีย

แม้ว่าจะเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อว่า "หนาวมาก" ประเทศหนึ่งของโลก แต่เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา (2564)รัสเซียกลับต้องเจอคลื่นความร้อน โดยกรุงมอสโกมีอุณหภูมิสูงถึง 31.9 องศาเซลเซียส และพุ่งแตะ 33.6 องศาเซลเซียสในช่วงบ่าย ครั้งล่าสุดที่อุณหภูมิรัสเซียสูงขนาดนี้ต้องย้อนไปปีพ.ศ. 2460 หรือเกือบร้อยปีที่แล้ว ส่วนอุณหภูมิในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กวันที่ 21 มิถุนายน พุ่งแตะ 34.3 องศาเซลเซียส แซงหน้าเมืองทางใต้อย่างเอเธนส์ โรม มาดริด สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเครื่องยืนยันข้อสรุปของรายงาน Roshydromet Assesment (ในปี 2559) ที่ว่าอุณหภูมิของรัสเซียจะสูงขึ้นอย่างรุนแรง นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าในศตวรรษที่ 21 รัสเซียจะอยู่ในเขตที่อุณหภูมิจะสูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก


เหตุการณ์ฝนตกหนัก น้ำท่วมรุนแรง

ครึ่งปีที่ผ่านมา หลายภูมิภาคเจอกับภัยพิบัติฝนตกหนักและน้ำท่วมรุนแรง ตั้งแต่เหตุน้ำท่วมในออสเตรเลีย เบลเยียม เยอรมนี ลักแซมเบิร์ก อินเดีย จีน และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เป็นเรื่องน่าเศร้าเพราะในเหตุการณ์แต่ละครั้งเราต่างสูญเสียผู้คนไปหลายชีวิต หรือแม้กระทั่งในไทยที่จังหวัดชุมพร ก็ได้รับผลกระทบจากเหตุฝนตกหนักน้ำท่วมเช่นกัน ผลกระทบจากพายุโซนร้อน เจิมปากา พัดถล่มตำบลพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ฝนที่ตกหนักและน้ำป่าไหลหลาก ชุมชนต้องอพยพหนีออกจากพื้นที่ สร้างความเสียหายต่อบ้านเรือน ทรัพย์สินและสวนผลไม้ของชุมชน


เหตุการณ์น้ำท่วมหนักในทางตอนใต้ของกาลิมันตัน ? Putra / Greenpeace


เราอยู่ในจุดวิกฤต นี่คือภาวะฉุกเฉินสภาพภูมิอากาศ

จากข้อมูลขององค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสพหรัฐอเมริกา (US EPA) ระบุถึงผลการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ รายงานว่าเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วเช่น คลื่นความร้อน หรือพายุลูกใหญ่ มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นบ่อยและรุนแรงกว่าเดิม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ และสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนในระยะยาวจะส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม กลายเป็นภัยต่อชุมชนเช่นอาจทำให้มนุษย์มีโอกาสป่วยและเสียชีวิตมากขึ้น หรือทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเสียหายจำนวนมาก

ในรายงานจากกรีนพีซ เอเชียตะวันออก ได้วิเคราะห์ถึงความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากระดับอุณหภูมิที่สูงขึ้นสุดขั้วและปรากฎการณ์ฝนตกหนักในเขตปริมณฑลรอบกรุงปักกิ่ง ได้แก่ เซี่ยงไฮ้ และกวางโจว-เซินเจิ้น พบว่าเมืองที่มีความหนาแน่นสูงจะมีความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศสูงขึ้นตาม ขณะที่เขตชานเมืองที่มีชุมชนคนเมืองอาศัยอยู่จะมีระดับความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว รายงานระบุว่ากรุงปักกิ่งกำลังประสบภาวะอุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้นเฉียบพลัน โดยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยที่ระดับ 0.32 องศาเซลเซียสทุกๆ 10 ปี ส่วนเซี่ยงไฮ้เผชิญกับคลื่นความร้อนบ่อยครั้ง ผลลัพธ์จากรายงานแสดงให้เห็นว่าเมืองกวางโจว-เซินเจิ้น เผชิญกับคลื่นความร้อนตั้งแต่ปี 2504 ทั้งหมด 98 ครั้ง โดยตั้งแต่ปี 2541 จนถึงปัจจุบันเกิดขึ้น 73 ครั้ง


ภาพประชาชนพักผ่อนอยู่ใกล้กับจตุรัสเทียนอันเหมิน ในปี 2548 จีนเผชิญกับคลื่นความร้อนทำให้อุณหภูมิสูงถึง 42 องศาเซลเซียส ? Greenpeace / Natalie Behring


รู้จัก 'คำประกาศภาวะฉุกเฉินสภาพภูมิอากาศ'

คำประกาศภาวะฉุกเฉินสภาพภูมิอากาศ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Bio Science และลงนามโดยนักวิทยาศาสตร์ 11,258 คน จาก 153 ประเทศ คือเสียงเตือนที่ต้องรับฟัง แนวร่วมนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกประกาศพร้อมที่จะทำงานข้างเคียงกับผู้กำหนดนโยบายของรัฐบาลต่างๆ ในการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม (just transition)ไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนและเคารพความแตกต่างหลากหลาย คำประกาศภาวะฉุกเฉินสภาพภูมิอากาศนี่เองที่เป็นเหมือนเข็มทิศนำทางให้ภาครัฐ เอกชนและภาคสาธารณะเข้าใจสถานการณ์ความร้ายแรงของวิกฤตและให้ความสำคัญในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

ปัจจุบัน หลายประเทศได้ประกาศให้คำมั่นสัญญาที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อชะลอไม่ให้สภาพภูมิอากาศที่วิกฤตอยู่แล้ว เลวร้ายยิ่งกว่าเดิม อย่างไรก็ดีเรายังไม่เห็นถึงความจริงจังต่อประเด็นนี้มากพอ ไม่ต้องมองไปถึงประเทศที่อยู่ไกลออกไปเพราะเพียงแค่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้วเราก็ยังไม่เห็นความเคลื่อนไหวหรือแรงผลักดันในการแก้ไขปัญหานี้อย่างเป็นรูปธรรมเลย


การรณรงค์เพื่อสภาพภูมิอากาศของกลุ่มเยาวชนและกลุ่มคนทั่วไปในไทย เกิดขึ้นเมื่อปี 2562 เพื่อเรียกร้องให้รัฐลงมือแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ? Biel Calderon / Greenpeace

ก่อนหน้านี้โลกของเราร้อนขึ้น 1 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปัจจุบันโลกของเราก็เผชิญกับเหตุการณ์สภาพภูมิอากาศสุดขั้ว ที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และทุกอย่างอาจวิกฤตไปกว่านี้หากเราไม่สามารถรักษาอุณหภูมิโลกไว้ไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส

พายุหมุนเขตร้อนที่มีกำลังแรงมากขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นสัญญาณเตือนที่เด่นชัดถึงวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่เรากำลังเผชิญ สิ่งที่น่ากังวลคือเรากำลังจะเจอปัญหาเรื่อง "ความเป็นธรรมด้านสภาพภูมิอากาศ" มากขึ้น เราจะเห็นว่ากลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่แปรปรวนอย่างรุนแรงนี้คือกลุ่มผู้มีรายได้น้อย กลุ่มชายขอบ ซึ่งเป็นกลุ่มที่เข้าถึงทรัพยากรในการเอาตัวรอดจากวิกฤตดังกล่าวได้น้อยกว่ากลุ่มผู้มีรายได้สูงที่เข้าถึงทรัพยากรได้มากกว่า

ทั่วโลกกำลังตื่นตัว คนธรรมดาทั่วไปลุกขึ้นมาเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง เราย้ำเตือนผู้นำประเทศเกี่ยวกับระยะเวลาในการกู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศของโลก ซึ่งเราเหลือเวลาเพียงแค่ 10 ปีเท่านั้น

"ภาวะฉุกเฉินสภาพภูมิอากาศ" ไม่ใช่การสร้างความแตกตื่น แต่ทำให้คน "ตื่นรู้" ถึง "วิกฤตทางนิเวศวิทยา" ที่ผู้คนทั้งสังคมต้องเผชิญและหาทางออกร่วมกัน "ภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศ" ไม่เพียงเป็นยุทธศาสตร์ที่พิจารณาแนวโน้มอนาคตในระยะยาวและนโยบายแบบทางการ แต่รวมถึง "การลงมือทำเดี๋ยวนี้" ก่อนที่จะสายเกินไป เพื่อหลีกเลี่ยงหายนะภัยจากการล่มสลายของระบบสภาพภูมิอากาศ


https://www.greenpeace.org/thailand/...mid-year-2021/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 05:29


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger