เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 18-10-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม 2563

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออก เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศกัมพูชา ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ยังคงมีกำลังแรง ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง โดยทะเลอันดามันคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดการเดินเรือในระยะนี้


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

เมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 18 - 19 ต.ค. 63 ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออก ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยยังคงกำลังแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มี ฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 20 - 23 ต.ค. 63 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออก ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (ช่วงวันที่ 17 ? 23 ต.ค. 63) ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีฝนลดลง โดยอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็นในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 18 - 19 ต.ค. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจาก ฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับชาวเรือในบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง โดยหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง




*********************************************************************************************************************************************************



ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง (พายุระดับ1) บริเวณประเทศกัมพูชา (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 17?18 ต.ค. 2563)" ฉบับที่ 8 ลงวันที่ 17 ตุลาคม 2563

เมื่อเวลา 05.00 น. ของวันนี้ (17 ต.ค. 63) พายุดีเปรสชัน (พายุระดับ 2) บริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง ได้เคลื่อนขึ้นฝั่งและอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง (พายุระดับ 1) บริเวณประเทศกัมพูชาแล้ว โดยจะทำให้บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง กับมีลมแรง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้

ในขณะที่ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคกลาง ภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออกเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศกัมพูชา ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยยังคงมีกำลังแรง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้

ในช่วงวันที่ 17 ตุลาคม 2563

ภาคเหนือ: จังหวัดกำแพงเพชร สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ และตาก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร มุกดาหาร

นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี

อ่างทอง สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี และนครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล


ในวันที่ 18 ตุลาคม 2563

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา และบุรีรัมย์

ภาคกลาง: จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี และนครปฐม

ภาคตะวันออก: จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง

ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกและภาคตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดการเดินเรือในระยะนี้






__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 18-10-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


เชื้อก่อโรคกับหอยแมลงภู่แกะ (ต้มสุก)



หอยแมลงภู่ เป็นหอยสองฝาที่นำไปปรุงเป็นอาหารได้หลายชนิด ที่นิยมเห็นจะเป็นเมนูหอยทอด แกงคั่วสับปะรดหอยแมลงภู่ หรือหากต้มสุกแล้วแกะเนื้อ ก็นิยมนำมาทานคู่กับน้ำจิ้มซีฟู้ดแซ่บๆ

สมัยก่อนคนขายมักเก็บหรืองมหอยกันตามแหล่งน้ำธรรมชาติ แต่เมื่อความต้องการเพิ่มขึ้น ก็เปลี่ยนมาเพาะเลี้ยงกันเป็นล่ำเป็นสันแบบระบบฟาร์ม จากลูกหอยจนถึงระยะที่จับขายได้ใช้ระยะเวลาเลี้ยงประมาณ 6-8 เดือน หอยแมลงภู่เป็นหอยที่มีรสชาติอร่อย หาซื้อได้ง่าย หากอยากทานเมนูหอยแมลงภู่ ปัจจุบันก็ไม่ยุ่งยาก แค่เดินเข้าตลาดนัด ก็จะเห็นหอยแมลงภู่ลวกทั้งเปลือกใส่ถุงพร้อมน้ำจิ้มรสแซ่บวางขาย หรือถ้าเดินเข้าร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เกต ก็มีหอยแมลงภู่ต้มสุกแกะเนื้อทั้งแบบแช่เย็น และแช่แข็ง วางขายหลากหลายยี่ห้อ เลือกซื้อกันได้ตามอัธยาศัย

สำหรับท่านที่ชอบทานหอยแมลงภู่ วันนี้ขอเตือนให้ระมัดระวังอันตรายที่อาจมีในหอยแมลงภู่กันสักนิด อันตรายที่ว่าคือ เชื้อก่อโรค วิบริโอ พาราฮิโมไลติคัส แฟนพันธุ์แท้ของคอลัมน์ "มันมากับอาหาร" คงพอจะทราบว่าเชื้อก่อโรคชนิดนี้ พบได้ในสิ่งแวดล้อมทั่วไปตามชายฝั่งทะเล และตามตะกอน โคลนตมในทะเล จึงมักพบเชื้อชนิดนี้ปนเปื้อนอยู่ในกุ้ง หอย ปู ปลา ที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหาร

หากเราทานกุ้ง หอย ปู ปลาดิบๆ หรือนำมาปรุงโดยให้ความร้อนไม่เพียงพอ เช่นสุกๆดิบๆ ก็อาจทำให้เราได้รับเชื้อชนิดนี้เข้าสู่ร่างกายได้ ทำให้เกิดอาหารเป็นพิษและเป็นสาเหตุของโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ มีอาการท้องเสีย เป็นตะคริวในช่องท้อง คลื่นเหียน วิงเวียน อาเจียน ปวดหัว มีไข้และหนาวสั่น สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างหอยแมลงภู่แกะ (ต้มสุก) แช่เย็นและแช่แข็ง จำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 5 ยี่ห้อ ที่วางขายในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เพื่อนำมาวิเคราะห์เชื้อ วิบริโอ พาราฮิโมไลติคัส ปนเปื้อน ผลปรากฏว่าหอยแมลงภู่แกะ (ต้มสุก) ทุกตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อนเลย อย่าลืมว่าควรนำมาปรุงให้สุกก่อนทานทุกครั้งและควรทานขณะร้อนๆ เพื่อความปลอดภัยและสบายท้อง.


https://www.thairath.co.th/lifestyle/food/1953529


*********************************************************************************************************************************************************


ญี่ปุ่นเตรียมปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะลงทะเล



ญี่ปุ่นเตรียมปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีผ่านการบำบัดแล้ว จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะที่ได้รับความเสียหายจากสึนามิเมื่อปี 54 ลงสู่ทะเล ท่ามกลางการคัดค้านจากนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

เมื่อ 16 ต.ค.63 สำนักข่าวบีบีซีรายงานอ้างสื่อในญี่ปุ่นหลายสำนัก เผย ทางการญี่ปุ่นเตรียมปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสี ที่ได้รับการบำบัดแล้วจำนวนกว่า 1 ล้านตันออกจากโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิชิ ที่จังหวัดฟุกุชิมะลงสู่ทะเล นับตั้งแต่โรงงานไฟฟ้าแห่งนี้ได้รับความเสียหายอย่างหนักจากสึนามิ หรือคลื่นยักษ์ที่ซัดถล่ม ภายหลังเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง เมื่อปี 2554

สื่อท้องถิ่นในญี่ปุ่น ทั้งนิกเคอิ และโยมิอุริ ชิมบุน เผยว่า การจะปล่อยน้ำออกจากโรงงานไฟฟ้าฟุกุชิมะนั้น เป็นประเด็นที่ก่อให้เกิดการถกเถียงมาหลายปี ซึ่งยังรวมถึงน้ำที่ใช้ในระบบหล่อเย็นของโรงไฟฟ้าที่ได้รับความเสียหายจากสึนามิด้วย โดยกลุ่มนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสัตว์น้ำทางทะเลได้คัดค้านความคิดในการจะปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีลงสู่ทะเล ทว่าถูกนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากแย้งว่ามีความเสี่ยงต่ำ

บีบีซีรายงานด้วยว่าสาเหตุที่ทำให้กำลังมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ เป็นเพราะขณะนี้พื้นที่ในการจัดเก็บน้ำกำลังจะหมดลง เนื่องจากน้ำใต้ดินและน้ำฝนทำให้ถังเก็บน้ำเต็มเร็วมากขึ้น ในขณะที่ปัญหาที่ยังหาทางแก้ไขไม่ได้คือ ขณะที่ไอโซโทปของกัมมันตรังสีส่วนใหญ่สามารถถูกขจัดออกจากน้ำได้ จากการใช้กระบวนการกรองน้ำที่มีความซับซ้อน แต่มีไอโซโทปกัมมันตรังสีหนึ่งชนิดที่เรียกว่า ?ทริเทียม? ไม่สามารถจะถูกขจัดออกจากน้ำได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเก็บน้ำไว้ในถังเก็บน้ำขนาดใหญ่ซึ่งจะเต็มในปี 2565

ด้านนายฮิโรชิ คาจิยะมา รมว.อุตสาหกรรมญี่ปุ่น กล่าวว่าขณะนี้ ทางการญี่ปุ่นยังไม่ได้มีการตัดสินใจเกี่ยวกับการปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีที่ได้รับการบำบัดแล้วลงสู่ทะเล แต่รัฐบาลก็มีแผนในเร็วๆ นี้ และเพื่อเป็นการป้องกันความล่าช้าที่จะเกิดขึ้นในกระบวนการต่างๆ ทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องตัดสินใจอย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้กลุ่มรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมได้พยายามคัดค้านการปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะลงสู่มหาสมุทร ขณะที่กลุ่มประมงได้ชี้ว่าถ้าปล่อยน้ำเหล่านี้ลงสู่ทะเลและมหาสมุทรจะทำให้บรรดาผู้บริโภคไม่ซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทะเลในภูมิภาคนี้ของญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม มีนักวิทยาศาสตร์บางคนกล่าวว่า การปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีที่ผ่านการบำบัดแล้วจะถูกเจือจางกับน้ำมหาศาลในมหาสมุทร และไอโซโทปทริเทียมก็มีความเสี่ยงต่ำต่อสุขภาพของมนุษย์และสัตว์น้ำในทะเล


https://www.thairath.co.th/news/foreign/1954619

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 15:40


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger