เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรรพชีวิตแห่งท้องทะเล

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 26-04-2011
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,158
Default ปลาสิงโต...ปลาสวยงามของเรา แต่น่ารังเกียจสำหรับเขา



ปลาสิงโต..........ปลาสวยงามของเรา แต่น่ารังเกียจสำหรับเขา






ปลาสิงโต....จัดเป็นปลาสวยงาม ที่สายชลชื่นชอบมาก ด้วยความที่ปลาชนิดนี้ดูสุภาพนุ่มนวล ชอบลอยตัวอยู่นิ่งๆแทบไม่เคลื่อนไหว ทำให้เราสามารถชื่นชมความงามของเขาได้อย่างง่ายดาย

อีกทั้งรูปลักษณ์ของปลาสิงโต ยังดูสวยแปลกตา ด้วยครีบยาวๆที่เหมือนขนนกที่กระจายและกรีดกรายออกไปรอบๆตัว ครีบและลำตัวมีลวดลายเป็นทางและจุด สีที่เห็นมีทั้งสีแดง สีน้ำตาล สีดำ และขาว ผสมผสานกันออกมาเป็นที่น่ามหัศจรรย์ ดวงตาที่กลมโตมีพู่ยาวงามเหมือนขนตานั้น ดูใสซื่อบริสุทธิ์ เมื่อยามครีบพองฟู ทำให้ดูเหมือนนักรบชาวป่าในแอฟริกา ที่ทั้งสง่างามและดูสงบเยือกเย็น...

__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : สัปดาห์ที่แล้ว เมื่อ 07:08
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 26-04-2011
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,158
Default





ในความเป็นจริง....ปลาสิงโต (Lionfish) เป็นปลาทะเลที่มีพิษ อยู่ในวงศ์ Scorpaenidae ซึ่งภาษาละตินหมายถึง "แมงป่อง" ส่วนในภาษาอังกฤษนั้น ใช้คำว่า "Scorpion Fish" (ปลาแมงป่อง) และ "Lion Fish" (ปลาสิงโต) ซึ่งปลาชนิดนี้ มีอยู่หลายสปีชีส์ ใน 2 จีนัส คือ Pterois และ Dendrochirus


ปลาสิงโต อาศัยอยู่ในทะเลแถบอินโด-แปซิฟิก แต่ปรากฏว่า ตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา มีผู้พบปลาสิงโตในแนวปะการังเขตอบอุ่นนอกชายฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรแอตแลนติก ทะเลแคริบเบียน และอ่าวเม็กซิโก ซึ่งไม่เคยปรากฎมาก่อน ทำให้นักวิทยาศาสตร์ เกิดความวิตกว่า ปลาชนิดนี้อาจจะเป็นอันตรายต่อปลาชนิดอื่น ที่มีความสำคัญในเชิงพาณิชย์ รวมทั้งปลาที่มีความจำเป็นต่อความสมบูรณ์ของแนวหินปะการัง


__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 17-11-2016 เมื่อ 18:58
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 26-04-2011
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,158
Default




ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวถึงความเป็นไปได้ที่ปลาสิงโตจากมหาสมุทรแปซิฟิกไปปรากฏในมหาสมุทร แอตแลนติก ว่า


"อาจเกิดจากเรือบรรทุกน้ำมัน เพราะขากลับ เรือบรรทุกน้ำมันแล่นเรือเปล่าไม่ได้ จึงสูบน้ำทะเลเข้าไปแทนที่น้ำมันเพื่อ ให้เรือทรงตัวอย่างสมดุล น้ำที่สูบเข้าไปอาจมีไข่ของปลาสิงโตขณะที่เป็นแพลงตอน เมื่อเรือเดินทางไปถึงอีกที่หนึ่ง หรือถึงที่หมายก็จะปล่อยน้ำออกไปและไข่ปลาสิงโตก็อาจจะเติบโตในทะเลแห่งใหม่"
__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 17-11-2016 เมื่อ 18:59
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 26-04-2011
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,158
Default




อาจารย์ธรณ์ยังกล่าวต่อไปว่า...

"แต่นักวิชาการทะเลไทยไม่ห่วงเรื่องปลาสิงโตระบาดเหมือนในมหาสมุทรแอตแลนติก ตรงกันข้าม น่าเป็นห่วงว่าปลาสิงโตในทะเลไทย จะสูญพันธุ์เพราะจำนวนลดน้อยลงมาก และต้องการการอนุรักษ์



ปัจจุบันนี้ สภาพแนวปะการังซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของปลาสิงโตถูกทำลาย จากการกระทำของมนุษย์ ที่สร้างท่าเรือ ชุมชนบุกรุก และภาวะโลกร้อนทำให้เกิดปะการังฟอกขาว รวมทั้งปลาสิงโตถูกจับไปขายในฐานะปลาตู้มากขึ้น


ในทะเลไทยมีปลาสิงโตไม่ต่ำกว่า 5-6 ชนิด อยู่ในแนวปะการัง ซึ่งพบในแนวปะการังในทะเลฝั่งอันดามันมากกว่าอ่าวไทย


อาหารของปลาสิงโต คือ ปลาและกุ้ง ด้วยความที่มีฟันละเอียดเหมือนปลาเก๋า มันจะฮุบเหยื่อทั้งตัวและย่อยในร่างกายของมันเอง


ส่วนการขยายพันธุ์ ปลาสิงโตออกลูกเป็นไข่และเป็นแพลงตอน กระทั่งโตเป็นลูกปลา ตอนมันยังเล็กๆ ลูกปลาสิงโตตกเป็นอาหารของปลาใหญ่ แต่พอมันโตแล้ว แม้แต่ฉลามก็ไม่กินมันเพราะมันมีพิษ"



---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หมายเหตุ: ข้อมูลจาก คอลัมน์ รู้ไปโม้ด น้าชาติ ประชาชื่น nachart@yahoo.com....ข่าวสดรายวัน ประจำวันที่วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7197

http://www.khaosod.co.th/view_news.p...dPQzB4TXc9PQ==
__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 17-11-2016 เมื่อ 19:01
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 26-04-2011
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,158
Default



คำพูดของอาจารย์ธรณ์ที่พูดว่า...."แม้แต่ฉลามก็ไม่กินมัน (ปลาสิงโต) เพราะมันมีพิษ" นั้น เห็นทีจะถูกลบล้าง ไปด้วยเรื่องราวและภาพข่าวจาก National Geographic ที่ได้แจ้งว่า

ในมหาสมุทรแอตแลนติก และทะเลแคริบเบียน.....


ด้วยความที่เกรงว่าปลาสิงโตจะแพร่พันธุ์มากมาย เพราะไม่มีศัตรูทางธรรมชาติ จนปลาสิงโตจะไปกินลูกปลาเศรษฐกิจทั้งหลายจนหมด ทำให้ชาวประมงและนักดำน้ำแถวๆนั้น โดยเฉพาะที่รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา และอุทยานทางทะเล Roatan Marine Park นอกชายฝั่ง Honduras ซึ่งอยู่ในเขตอเมริกากลาง ได้พากันตื่นตัว หาวิธีกำจัดปลาสิงโต ด้วยการใช้ฉมวกยิง และส่งเสริมให้นำเนื้อปลาสิงโตมาทำอาหารรับประทาน







ด้วยความคิดที่ว่า...หากมีความต้องการเนื้อปลาสิงโตมาก ก็จะทำให้มีการล่าปลาสิงโตมาขายมากขึ้น และปริมาณปลาสิงโตในทะเลก็น่าจะลดลงไปได้



แต่การส่งเสริมการบริโภคเนื้อปลาสิงโต ก็ยังไม่เป็นที่นิยม และอยู่ในปริมาณที่จำกัด....



ข้อมูลจาก....http://news.nationalgeographic.com/n...ecies-science/
__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 27-04-2011 เมื่อ 11:57
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #6  
เก่า 26-04-2011
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,158
Default



เมื่อทำให้คนหันมาบริโภคปลาสิงโต ไม่ค่อยจะได้ผลนัก จึงมีผู้คิดว่า น่าจะให้ "ฉลาม" เป็นผู้กำจัดปลาสิงโตในทะเล เพื่อรักษาสมดุลในระบบนิเวศจะดีกว่า


วิธีการก็คือ....ที่ Roatan Marine Park, Honduras มีนักดำน้ำที่คุ้นเคยกับฉลามในเขตอุทยานเป็นอย่างดี ได้จัดการ "สอน" ให้ฉลามล่าปลาสิงโตเป็นอาหาร





ถ่ายภาพโดย....Antonio Busiello ซึ่งได้อยู่เก็บภาพการให้ปลาสิงโตเป็นอาหารปลาฉลาม อยู่ที่อุทยานแห่งนี้ถึง 3 เดือน

__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 27-04-2011 เมื่อ 11:58
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #7  
เก่า 26-04-2011
Super_Srinuanray's Avatar
Super_Srinuanray Super_Srinuanray is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Deep Blue Sea
ข้อความ: 1,073
Default

โถๆๆๆๆๆ ปลาสิงโต ตัวน้อยของ snr รู้ไหมว่าเธอน่ะ เวลาเป็นนายและนางแบบน่ะ เก๋ที่สุดเลย สง่างามเหมือนคนที่สวมหัวโขน หรือ เวลาแสดงอุปรากรจีนเลย

อย่าไปกินเค้าเลยนะคะ ต้อนมาอยู่เมืองไทยก็ได้ นะนะ
__________________
Superb_Sri_Nuan.Ray ณ SOS
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #8  
เก่า 26-04-2011
Super_Srinuanray's Avatar
Super_Srinuanray Super_Srinuanray is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Deep Blue Sea
ข้อความ: 1,073
Default

แล้วคนเราก็ล่าฉลาม มากินซะ....
__________________
Superb_Sri_Nuan.Ray ณ SOS
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #9  
เก่า 07-05-2011
sea addict sea addict is offline
Member
 
วันที่สมัคร: Jul 2009
ข้อความ: 30
Default

ต่อกรณีนี้ผมเคยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับอาสาสมัครชาวแคนาดาที่สนใจจะทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการเป้นชนิดพันธุ์รุกรานของปลาสิงโตในทะเลแคริบเบียน

ซึ่งก็ต้องบอกก่อนว่าอันที่จริงในแคริบเบี่ยนนั้นไม่เพียงปลาสิงโตเท่านั้น เขามีสารพัดชนิดพันธุ์รุกรานอยุ่ในทะเล ปลาสิงโตนี่ก็เนื่องจากส่วนหนึ่งมาจากการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามแล้วเล็ดลอดลงทะเล และอีกส่วนหนึ่งมากจากน้ำอับเฉาเรือนั่นเอง

ผมลองถามเขาว่าคิดว่าเขายังขาดอะไรไปในทะเลแคริบเบี้ยน เขาตอบว่าปลากินเนื้อขนาดใหญ่ แต่ผมบอกให้เขากลับไปรีวิวเอกสารเกี่ยวกับปลากินเนื้อขนาดเล็ก และกลุ่มปลากินแพลงตอนซึ่งพบว่ามีน้อยเหลือเกินในแคริบเบี้ยน!

ปลาหรือสิ่งมีชีวิตในทะเลที่มีลักษณะพิเศษป้องกันตัวเองเมื่อโตเต็มวัยนั้น ผู้ล่าขนาดใหญ่จะมีผลต่อการควบคุมประชากรน้อยมาก ถ้าผมจะยกตัวอย่างของดาวหนาม หากมันจะระบาดถามว่าจะต้องใช้หอยสังข์แตรกี่ตัวในการกินมันและหอยสังข์แตรตัวหนึ่งจะกินดาวหนามได้กี่ตัวในหนึ่งวัน

ปลาสิงโตก็เช่นเดียวกัน มันเป็นปลาที่มีลักษณะพิเศษที่ปลาผู้ล่าขนาดใหญ่จะกินก็ลำบากวันๆหนึ่งจะกินได้ซักกี่ตัว สู้ไปหาตัวอื่นที่กินง่ายกว่าจะไม่ดีกว่ารึ

คีย์สำคัญคือสัตวทะเลส่วนใหญ่มักจะมีระยะวัยอ่อนที่เป็นแพลงก์ตอน และมีจำนวนมหาศาลจากการปล่อยเซล์สืบพันธ์แบบเผื่อตาย ซึ่งในช่วงนี้เป็นช่วงที่พวกมันไม่มีพิษมีภัย และมีขนาดเล็กทำให้ถูกกินได้ง่ายและกินได้ทีละมากๆจากกลุ่มปลาที่กินแพลงก์ตอน ดังนั้นปริมาณปลาที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหารจึงอาจเป็นตัวแปรหนึ่งที่ไปตัดวงจรการแพร่ระบาดซึ่งเมื่ออัตรารอดของตัวอ่อนเหลือน้อยจะเอาที่ไหนมาระบาดรุกรานเขาได้

ซึ่งบ้านเราโชคดีที่โครงสร้างประชาคมปลาที่อยู่ในแนวปะการังมักพบปลาที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร เป็นองค์ประกอบของประชากรอยู่ไม่น้อยกว่า 15% เสมอซึ่งก็เพียงพอที่จะควบคุมประชากรปลาและสัตว์อื่นๆไม่ให้เสียสมดุลย์ไป ในขณะที่แคริบเบียนวงจรนี้ได้สูญเสียไปโดยเกือบสมบูรณ์แล้ว จากการใช้ประโยชน์อย่างไม่มีขอบเขตหรือกฎเกณฑ์ หากจะมองว่าปลาสิงโตเป็นตัวรุกรานนั้นมันก็เป็นแค่เพียงปลายเหตุ แต่ต้นเหตุที่แท้จริงมาจากการที่พวกเขา(หลายๆประเทศ)ในทะเลแคริบเบี้ยนได้ทำการเบียดเบียนตนเองเป็นที่เรียบร้อยแล้วต่างหาก


บ้านเราเองหากวันหนึ่งมีสิ่งใดที่ทำให้เสียวงจรเหล่านี้ไปก็อาจเกิดเหตแบบนี้บ้างก็ได้ในซักวันหนึ่งหากยังมีการทำให้ปลาเสียนิสัย หรือการจับปลาในแนวปะการังแบบไม่บันยะบันยังก็อาจพบปัญหาอื่นๆตามมาอีกมากมาย

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย sea addict : 07-05-2011 เมื่อ 00:50
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #10  
เก่า 24-05-2011
หอยกะทิ's Avatar
หอยกะทิ หอยกะทิ is offline
Member
 
วันที่สมัคร: Jul 2009
ข้อความ: 80
Default

ฝึกฉลามไอเดียนะครับ
__________________
จงกลายเป็นวงๆๆ ปุ๋งๆๆๆๆๆ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 23:04


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger