เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 25-08-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 25 สิงหาคม 2563

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมาและลาวเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนลดลงในระยะนี้ ขอให้ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระวังอันตรายจากฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

เมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 25 - 27 ส.ค. 63 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ประกอบกับร่องมรสุมได้เลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศเมียนมา และประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง

ส่วนในช่วงวันที่ 28 - 30 ส.ค. 63 ร่องมรสุมจะเลื่อนพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 28 - 30 ส.ค. 63 ภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าว ระวังอันตรายจากฝนตกหนัก ฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ ในระยะนี้ไว้ด้วย









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 25-08-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


สร้างยาปฏิชีวนะจากโมเลกุลในปะการัง


(ภาพประกอบ Credit : Thomas Br?ck/TUM)

ประโยชน์สำคัญอย่างหนึ่งของแนวปะการัง ก็คือช่วยกักเก็บก๊าซเรือนกระจกและเป็นศูนย์รวมความหลากหลายทางชีวภาพ หากต้องการปกป้องแนวปะการังของโลก แนวทางหนึ่งก็คือเราก็ต้องสร้างผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ ซึ่งสร้างขึ้นจากห้องปฏิบัติ การเทคโนโลยีชีวภาพได้

ล่าสุด โธมัส บรึค นักวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีชีววิทยาสังเคราะห์ แวร์เนอร์ ซีเมนส์ แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งมิวนิก ในเยอรมนี เผยการวิจัยและผลิตสารออกฤทธิ์จากปะการังอ่อนที่ชื่อ Antillogorgia elisabethae ซึ่งมักพบในทะเลแคร์ริบเบียน มีลักษณะคล้ายขนนกทะเล บรึคเผยว่า เขาเคยพบปะการังชนิดนี้ขณะดำน้ำในทะเลแถบบาฮามาสเมื่อ 17 ปีก่อน การผลิตสารดังกล่าวจึงทำในห้องปฏิบัติการแบบที่ไม่ต้องอาศัยแนวปะการัง ทีมได้ค้นพบโมเลกุล erogorgiaene มีฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะ และจากการทดสอบเบื้องต้นชี้ให้เห็นว่าสารโมเลกุลนี้เหมาะสำหรับต่อสู้กับเชื้อวัณโรคที่ดื้อยาหลายชนิด

วิธีทางเทคโนโลยีชีวภาพที่ผลิตสารโมเลกุล erogorgiaene ดูเหมือนจะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ต้นทุนการผลิตก็ไม่แพง ทีมวิจัยยังวิจัยต่อเนื่องเพื่อค้นหาสารออกฤทธิ์จากปะการังอีกชนิดหนึ่ง โดยจะจำลองโมเลกุล erogorgiaene ให้เปลี่ยนเป็น pseudopteropsin ซึ่งสามารถยับยั้งการอักเสบเรื้อรัง และอาจเป็นทางเลือกในการรักษาโรครวมถึงควบคุมปฏิกิริยาการอักเสบที่มากเกินไป เช่น ในกรณีติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/1916405
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 25-08-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


นักวิชาการอวดโฉม! แม่ฉลามหูดำแห่งอ่าวมาหยา ชี้ทะเลไทยกลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง

นายจิระพงศ์ จีวรงคกุล นักวิชาการอิสระ ได้โพสต์ภาพ แม่ฉลามหูดำแห่งอ่าวมาหยา จังหวัดกระบี่ ระบุอ่าวมาหยากำลังจะมีเด็กๆฉลามชุดใหม่ในไม่ช้านี้ โซเชียลฯ ร่วมส่งกำลังใจอวยพร ขอให้แม่ฉลามและลูกน้อยแข็งแรงปลอดภัย พร้อมวอนให้ทุกคนช่วยกันอนุรักษ์ทะเลไทย



วันนี้ (24 ส.ค.) เฟซบุ๊ก "Jirapong Jeewarongkakul" หรือ นายจิระพงศ์ จีวรงคกุล นักวิชาการอิสระ ผู้จัดการฝ่ายมูลนิธิเอ็นไลฟ และที่ปรึกษากลุ่ม Reef Guardian Thailand ได้โพสต์ภาพฉลามหูดำแห่งอ่าวมาหยา จังหวัดกระบี่ โดยเผยรายละเอียดว่า "เธอกำลังจะเป็นแม่ จากร่องรอยฝากรักของพ่อเด็กบริเวณครีบหูและเหงือก พฤติกรรมการปลีกตัวจากฝูงออกมาอยู่อย่างโดดเดี่ยว และท้องที่เริ่มอวบอูมขึ้น บ่งชี้ว่าอ่าวมาหยากำลังจะมีเด็กๆชุดใหม่ในไม่ช้านี้ ภาพถ่ายจากบริเวณ Maya corner ด้านนอกอ่าวมาหยาโดย กฤษฎา ถีราวุฒิ"

ทั้งนี้ มีชาวเน็ตมากมายต่างเข้ามาชื่นชม และดีใจที่ท้องทะเลไทยกลับมาอุดมสมบูรณ์ และต่างวอนทุกคนให้ช่วยกันอนุรักษ์ฉลาม และทรัพยากรท้องทะเลไทย โดยโพสต์ดังกล่าวมียอดกดไลก์ถึง 150 ครั้งและแชร์ไปอีกกว่า 80 ครั้งด้วยกัน

อย่างไรก็ตาม ปลาฉลามครีบดำหรือปลาฉลามหูดำเป็นปลาฉลามชนิดหนึ่งมีรูปร่างเพรียวยาวปากกว้าง มีแถบดำที่ครีบหลัง ครีบไขมันครีบก้น และครีบหางตอนล่างเป็นที่มาของชื่อ กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหารมีนิสัยไม่ดุร้าย เมื่อเทียบกับปลาฉลามชนิดอื่นๆ นิยมอยู่รวมเป็นฝูงบริเวณใกล้ชายฝั่ง และอาจเข้ามาในบริเวณน้ำกร่อยหรือปากแม่น้ำ ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 2 เมตรตัวเมียตั้งท้องนาน 18 เดือน ออกลูกเป็นตัวครั้งละ 2-4 ตัว


https://mgronline.com/onlinesection/.../9630000086872


*********************************************************************************************************************************************************


ชวนจิตอาสา ร่วมเก็บขยะ "หาดฟรีดอม" จ.ภูเก็ต หลังเจอมรสุมทำขยะท่วม

เพจ ?ขยะมรสุม Monsoon Garbage Thailand? โพสต์รูปภาพสุดสลด ขยะเกลือนหาดฟรีดอม จ.ภูเก็ต ที่คาดว่ามาจากมรสุมพัดพาเข้าฝั่ง เชิญชวนจิตอาสาร่างกายแข็งแรงช่วยกับเก็บขยะทุกวันอาทิตย์ 2 รอบ บ่าย-เย็น



เมื่อวันที่ 23 ส.ค. เพจ "ขยะมรสุม" เผยภาพน่าสลดใจ เมื่อพบว่ามีกองขยะจำนวนมาก โดยที่ส่วนใหญ่จะเป็นขวดพลาสติด ลอยมาเกยฝั่งเป็นจำนวนมาก คาดว่าส่วนหนึ่งมาจากช่วงที่พายุเข้า ทางเพจจึงได้จัดกิจกรรมเชิญชวนจิตอาสา มาช่วนกันเก็บขยะจำนวนมากเหล่านี้ โดยได้ระบุข้อความว่า

"FREEDOM BEACH ภูเก็ต ขยะตกค้างมหาศาล ทางเพจขยะมรสุม จะจัดกิจกรรมลงเก็บขยะหาดฟรีด้อม ทุกวันอาทิตย์นะครับ เพราะตอนนี้ขยะสะสมเยอะมาก ต้องการกำลังเสริม จำนวนมาก ต้องลงไปทุกวันอาทิตย์ เวลาบ่ายโมง ตรงกับ 17.30 ก่อนมืดค่ำ แบกขยะขึ้นมาทิ้งด้านบน ขอคนร่างกายแข็งแรง (มาก) ปริมาณขยะให้ภาพบรรยาย มีน้องหมา ต้องการอาหาร ผอมโซ ต้องการคราด ต้องการกระสอบ ต้องการกำลังคน ใครอยากรู้ว่า เพจเราทำอะไร มาครับมาช่วยกัน ปกติไม่จัดกิจกรรมมานานแล้ว แต่งานนี้ยกเว้นครับ เกณฑ์กันมาเลย มีกี่คน งานช้างจริงๆ และจะมีกิจกรรมประจำทุกวันอาทิตย์ ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมด เคลียร์ขยะตกค้างออกให้หมด จัดทำจุดทิ้ง ให้ชัดเจน ที่อยากได้มากๆ คือ ห้องน้ำ ครับ สงสารนักท่องเที่ยว"

สำหรับ หาดฟรีดอม ไม่ได้เป็นหาดที่ติดกับถนน จำเป็นต้องเดินขึ้นเขาเข้าไปกว่า 2 กิโลเมตร ทำให้พื้นที่ดังกล่าวมีขยะถูกคลื่นพัดมาสะสมอยู่เป็นประจำ นอกจากจะมีขยะที่ต้องช่วยกันเก็บแล้ว ยังมีสุนัขสภาพผอมโซ ต้องการอาหารเช่นเดียวกัน


https://mgronline.com/onlinesection/.../9630000086679
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 25-08-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default

ขอบคุณข่าวจาก ประชาชาติธุรกิจ


คลิปชายใช้นิ้วจิ้มหัววาฬว่อน ชาวเน็ตหวั่นวาฬได้รับอันตราย


ภาพจาก เดลีเมล์

ว่อนเน็ต คลิปลูกจ้างพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำในจีน ใช้นิ้วจิ้มหัววาฬเรียกเสียงหัวเราะจากเด็ก ชาวเน็ตหวั่นวาฬได้รับอันตราย

วันที่ 24 สิงหาคม 2563 เดลีเมล์ รายงานว่า ขณะนี้ในโลกออนไลน์ปรากฏคลิป ชายคนหนึ่งใช้นิ้วจิ้มไปที่บริเวณหัวของวาฬเบลูกา อายุ 3 ปี เหตุเกิดที่ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำแห่งหนึ่ง ในเมืองเซินเจิ้น ทางตอนใต้ของจีน

เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ที่ผ่านมา โดยชายคนดังกล่าวได้นิ้วชี้จิ้ม และ ใช้มือกดสัมผัส ไปที่บริเวณหัวของวาฬ เพื่อทำให้เด็กที่มาชมเห็นว่าหัวของวาฬนั้นนุ่มเพียงใด

ชาย ซึ่งคาดว่าเป็นพนักงานของพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ กล่าวว่า เขาใช้เวลาทำความสนิทสนมกับเจ้าวาฬตัวนี้ ซึ่งมีชื่อว่า "ต้าไป๋" ทุกวัน

"ความสัมพันธ์ของเราเป็นไปด้วยดี แต่บางครั้งมันก็ดื้อ และพ่นน้ำใส่ผม" เขากล่าวและว่า ในคลิปวิดีโอที่ปรากฏในโลกออนไลน์ เขาได้สัมผัสที่หัวของมัน ซึ่งนิ่มมาก ก่อนที่มันจะยิ้มกว้างออกมาอย่างน่าเอ็นดู

"ผมคุยกับมันทุกวัน และ มันมักจะเคลื่อนไหวเพื่อตอบโต้ผม"

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนที่เห็นว่าคลิปนี้ "น่ารัก" บางคนพูดถึงการกระทำของหนุ่มในคลิปว่า อาจทำให้ลูกวาฬได้รับอันตราย เนื่องจากส่วนหัวของวาฬเบลูกา ซึ่งเรียกว่า "เมลอน" เป็นอวัยวะที่ใช้ควบคุมและเปลี่ยนคลื่นความถี่เสียงของพวกมัน

อวัยวะส่วนนี้จะนิ่ม เนื่องจากเต็มไปด้วยน้ำมันและสารคล้ายขี้ผึ้ง ขณะที่สมองของพวกมันจะได้รับการปกป้องอย่างดี อยู่ด้านหลังเมลอนและภายในกะโหลก


https://www.prachachat.net/world-news/news-510511

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 25-08-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default

ขอบคุณข่าวจาก BBCThai


การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: เขื่อนมีบทบาทสำคัญช่วยชะลอระดับน้ำทะเลเพิ่ม .................. โดย แมตต์ แม็กกราธ ผู้สื่อข่าวสิ่งแวดล้อม



ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา ธารน้ำแข็งที่กำลังละลาย และอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นของน้ำทะเลได้ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น

แต่การศึกษาใหม่นี้พบว่า เขื่อนต่าง ๆ เกือบจะช่วยยุติการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลในช่วงทศวรรษ 1970 ได้ เพราะได้ช่วยกักเก็บน้ำปริมาณมหาศาลไว้ไม่ให้ไหลลงสู่ทะเล

ถ้าไม่มีเขื่อนเหล่านี้ อัตราการเพิ่มขึ้นของน้ำทะเลอาจจะอยู่ที่ 12%

การวัดว่าระดับน้ำทะเลในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นมากแค่ไหน ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับนักวิทยาศาสตร์

จากข้อมูลเท่าที่มีอยู่ นักวิจัยพบว่าปริมาณน้ำที่ไหลลงสู่ทะเล กับปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้นในมหาสมุทรในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาแตกต่างกัน

ในงานวิจัยใหม่นี้ ผู้วิจัยได้ตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่มา และวิธีการวัด เพื่อให้มีการประเมินผลใหม่และแม่นยำมากขึ้น

นอกจากการละลายของธารน้ำแข็งและอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นของทะเลจากพลังงานความร้อนที่ถ่ายโอนสู่น้ำทะเลแล้ว นักวิจัยยังพบว่าแหล่งกักเก็บน้ำอย่างเช่น เขื่อนและอ่างเก็บน้ำมีบทบาทสำคัญต่อระดับน้ำทะเลตลอดช่วงเวลาดังกล่าว

ปัจจุบันมีเขื่อนขนาดใหญ่ราว 58,000 แห่งทั่วโลก เขื่อนหลายแห่งในจำนวนนี้สร้างขึ้นในช่วงกว่า 60 ปีที่ผ่านมา


เขื่อนเคอริบาบริเวณพรมแดนซิมบับเวและแซมเบีย เคยเป็นเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมื่อสร้างเสร็จ

ช่วงทศวรรษ 1950 ถึง 1970 มีการสร้างเขื่อนเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่หลายแห่งแล้วเสร็จในช่วงเวลานี้ รวมถึงเขื่อนเคอรีบา (Kariba Dam) ในซิมบับเว, เขื่อนบราตสก์ (Bratsk Dam) ในไซบีเรีย และเขื่อนอัสวาน (Aswan High Dam) ในอียิปต์

เมื่อมีการใช้งานเขื่อนยักษ์เหล่านี้อย่างเต็มที่ในช่วงทศวรรษ 1970 ทำให้ปริมาณน้ำมหาศาลถูกกักไว้ไม่ให้ไหลลงสู่ทะเล ช่วยชะลอการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลทั่วโลกลงได้

"น้ำที่ลดลงจำนวนมาก เป็นเพราะปริมาณน้ำที่ถูกกักเก็บไว้ตามเขื่อนต่าง ๆ ทำให้ [การเพิ่มขึ้นของ] ระดับน้ำทะเลเกือบจะหยุดชะงัก" ดร.โทมัส เฟรเดอริกเซอ จากห้องปฏิบัติแรงขับเคลื่อนไอพ่น (Jet Propulsion Laboratory) ของนาซ่า ในเมืองพาซาดีนา รัฐแคลิฟอร์เนีย กล่าว

"ดังนั้นด้วยการสร้างเขื่อน เราจึงเกือบจะหยุดการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลได้นานราว 10 ปี"


เขื่อนจำนวนมาก อย่างเช่นเขื่อนอิไทปู (Itaipu) ระหว่างปารากวัยกับบราซิล กักเก็บน้ำปริมาณมหาศาลไว้ผลิตไฟฟ้า

การศึกษาพบว่า ระดับน้ำทะเลโดยรวมเพิ่มขึ้นประมาณ 1.56 มิลลิเมตรต่อปี ระหว่างปี 1900 ถึง 2018

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาส่วนใหญ่ของศตวรรษที่ 20 เกิดจากการละลายของธารน้ำแข็ง จากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น

นักวิจัยเชื่อว่า ถ้าไม่มีเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ ระดับน้ำเลอาจจะเพิ่มขึ้นมากกว่านี้ 12% ในช่วงเวลานี้


เมื่อเกิดความผิดพลาดขึั้นกับเขื่อน อย่างเช่นเหตุการณ์ในรัฐมิชิแกน เขื่อนก็อาจจะสร้างความหายนะสำหรับสิ่งแวดล้อมและคนในพื้นที่ได้

อย่างไรก็ตาม เขื่อนกักเก็บน้ำเหล่านี้ เริ่มส่งผลลดน้อยลงในช่วงทศวรรษ 1990

ความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่เพิ่มมากขึ้น และการสร้างเขื่อนก็เริ่มลดลง

ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ อิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกยังได้ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น จากน้ำแข็งที่ละลายในกรีนแลนด์ ขณะที่อุณหภูมิของมหาสมุทรก็เพิ่มขึ้นจากพลังงานความร้อนที่ถ่ายโอนสู่ทะเลมากขึ้น

ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลเร่งตัวขึ้นในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา โดยปัจจุบันเพิ่มขึ้นที่ 3.55 มิลลิเมตรต่อปี

แล้วการสร้างเขื่อนเพิ่มขึ้นจะช่วยชะลอระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นได้หรือไม่

ก่อนหน้านี้ในปีนี้ คณะนักวิจัยได้เขียนงานวิจัยเกี่ยวกับ วิธีที่ยุโรปจะหลีกเลี่ยงผลกระทบที่รุนแรงที่สุดจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะลได้คือ การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ทั่วทะเลเหนือ

แต่ ดร.โทมัส เฟรเดอริกเซอ ไม่คิดว่าการสร้างเขื่อนเพิ่มขึ้นจะได้ผล

"หากมีการสร้างเขื่อนเพิ่มขึ้นอย่างเต็มที่แล้ว เราจะสามารถชะลอการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลได้ประมาณ 0.8 มิลลิเมตรต่อปี"

"แต่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นราว 4 มิลลิเมตรต่อปี"

"นั่นหมายความว่า คุณต้องสร้างเขื่อนเพิ่ม 5 เท่าจากจำนวนเขื่อนที่เราสร้างไว้แล้วในช่วงเวลานั้น เพื่อหยุดยั้งอัตราการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลในปัจจุบัน"

"ผมคิดว่า นั่นเป็นไปไม่ได้"

วิธีการที่ดีกว่าและถูกกว่าในความเห็นของเฟรเดอริกเซอ คือ การลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ให้เร็วขึ้นและมากขึ้นกว่าระดับปัจจุบัน

การศึกษานี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเนเจอร์ (Nature)


https://www.bbc.com/thai/international-53864916

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 13:37


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger