เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 27-03-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม 2563

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในภาคเหนือ และภาคกลาง โดยมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัดไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 27 ? 31 มี.ค. 63 บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นโดยทั่วไป

หลังจากนั้นในวันที่ 1 เม. ย. 63 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกจะมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้น


ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด ตลอดช่วง ในวันที่ 1 เม. ย. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงไว้ด้วย









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 27-03-2020 เมื่อ 03:21
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 27-03-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


หนอนทะเลโบราณลึกลับถูกระบุสกุลใหม่


Credit : Anna Whitaker, et al.

มีซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลบางส่วนของหนอนทะเลถูกค้นพบในรัฐยูทาห์เมื่อปี พ.ศ.2512 ช่วงเวลานั้นนับว่ายากที่นักวิทยาศาสตร์ จะชี้ชัดข้อมูลเกี่ยวกับหนอนตัวนี้ เพราะซากฟอสซิลดังกล่าวเรียบผิดปกติ และชิ้นส่วนสำคัญของตัวหนอนก็หายไปโดยสิ้นเชิง เบื้องต้นนักวิจัยจัดให้หนอนลึกลับตัวนี้อยู่ในสกุล Palaeoscolex

แต่เมื่อเร็วๆนี้ สถาบันความหลากหลายทางชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยแคนซัส ในสหรัฐอเมริกา เผยว่า สามารถไขปริศนาหนอนลึกลับในสกุล Palaeoscolex หลังจากได้รับตัวอย่างของฟอสซิลหนอนโบราณนี้จากนักสะสม ซากดึกดำบรรพ์ชาวยูทาห์ ที่ค้นหาซากฟอสซิล

ในพื้นที่ทางธรณีวิทยาสเปนซ์ เชล (Spence Shale) อายุ 506 ล้านปี ในรัฐยูทาห์ ทีมวิจัยของมหาวิทยาลัย จึงวิเคราะห์ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดและอุปกรณ์วิเคราะห์ธาตุ

ผลการศึกษาพบว่าซากฟอสซิลหนอนตัวนี้ เป็นหนอนทะเลจากยุคแคมเบรียน และเป็นชนิดใหม่ ไม่เป็นที่รู้จักในทางวิทยาศาสตร์ ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคนซัสและทีมนักสะสมชาวยูทาห์จึงตั้งชื่อสกุลใหม่ให้กับหนอนชนิดนี้คือ Utahscolex โดยคิดว่ามันน่าจะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับหนอน priapulid ที่มีอยู่ในปัจจุบัน.


http://www.thairath.co.th/news/foreign/1804161

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 27-03-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


'ดร.ธรณ์' หวั่นขยะอันตราย "หน้ากากอนามัยตกทะเล" ชวนคนไทยทิ้งให้ถูกต้อง



เพจ Thon Thamrongnawasawat โดย ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล โพสต์แสดงความห่วงใยผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทะเลไทย เมื่อพบผลพวงจากไวรัสโควิด-19 ต่อท้องทะเลไทย จากการที่พบขยะหน้ากากอนามัยบนชายหาดเกาะพะลวย จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยทีมโตโน่ว่ายน้ำ กับ "โครงการ ONE MAN & THE SEA หนึ่งคนว่าย หลายคนช่วย" ขณะที่เก็บขยะบนชายหาดก่อนกลับบ้าน


โพสต์ ดร.ธรณ์ ระบุว่า

ทีมโตโน่ว่ายน้ำช่วยทะเลกำลังจะกลับบ้าน ก่อนกลับพวกเขาเก็บขยะบนชายหาดที่เกาะพะลวย พวกเขาเจอขยะทะเลชนิดใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน

ถึงตอนนี้พวกเราคนไทยใช้หน้ากากวันละนับล้านชิ้น นั่นคือเรื่องจำเป็น แต่ที่จำเป็นไม่แพ้กันคือการกำจัดให้ถูกต้อง

หน้ากากแบบใช้แล้วทิ้งเป็นขยะอันตราย ไม่ควรทิ้งแบบทั่วไป อยากให้พับแล้วรวบรวมใส่ถุงไว้ เขียนบอกบนถุงให้ชัดเจน "หน้ากาก ขยะอันตราย"

เมื่อรวมได้มากพอค่อยนำไปวางแยกไว้จากขยะอื่นเพื่อกำจัด
ผมยังอยากเสนอให้อาคารสำนักงานและที่ชุมชนอื่นๆ มีถังขยะรับหน้ากากพวกนี้โดยเฉพาะ เพื่อนำไปกำจัดพร้อมกัน ช่วยป้องกันหลุดรอดจากการทิ้งบ้านละถุงสองถุง

ช่วยกันคนละนิด เราใช้หน้ากากเพื่อความปลอดภัย แต่อย่าให้หน้ากากที่เราใช้ไปทำร้ายเพื่อนๆ ในทะเลในป่าของเรา

เมื่อไวรัสผ่านพ้นไป เราคงไม่อยากกลับไปเที่ยวทะเลที่เต็มไปด้วยขยะหน้ากาก...ใช่ไหมครับ




สำหรับโครงการ ONE MAN & THE SEA หนึ่งคนว่าย หลายคนช่วย นำทีมโดย "โตโน่-ภาคิน คำวิลัยศักดิ์" กัปตันโครงการกับภารกิจว่ายน้ำข้าม 12 เกาะ สุราษฎร์ธานี-สมุย รวมระยะทาง 82 กม. ตั้งแต่วันที่ 19 มี.ค. - 5 เม.ย. 63

เริ่มต้นจาก จ.สุราษฎร์ธานี บริเวณท่าเรือดอนสัก จากนั้นว่ายข้ามพิชิต 12 เกาะ ได้แก่ 1.เกาะริกัน, 2.เกาะนกเภา, 3.เกาะเหยี่ยว, 4.เกาะกา, 5.เกาะส้ม, 6.เกาะวัวตัวจิ๋ว, 7.เกาะเชือก, 8.เกาะทะลุ, 9. เกาะพะลวย, 10.เกาะค่างทัก, 11.เกาะมดแดง และ 12.เกาะสมุย

จุดหมายของโครงการนี้ อยู่ที่บริเวณฐานทัพเรือ เกาะสมุย แต่ก็จบได้แค่เกาะที่ 9 คือเกาะพะลวย ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอเกาะสมุย แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจแห่งหนึ่งของเมืองหอยใหญ่

นับเป็นอีกโครงการดีๆ ที่ต้องการปลุกจิตสำนึกให้คนไทยเห็นถึงความสำคัญของระบบนิเวศทางทะเล และเกิดการลงมือช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล ซึ่งในระหว่างว่ายน้ำ โครงการนี้ก็เปิดให้ผู้สนใจร่วมบริจาคเพื่อสมทบทุนจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์และเครื่องมือแพทย์ให้แก่สัตว์ทะเลและโรงพยาบาลริมชายฝั่ง และได้ยอดบริจาครวม 2,506,279 บาท (ณ วันที่ 24 มี.ค.2563)


https://mgronline.com/greeninnovatio.../9630000030979

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 27-03-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก แนวหน้า


สร้างรอยยิ้มในวันที่แย่!! 'พะยูน-เต่า-โลมาสีชมพู' โผล่โชว์ตัวที่ทะเลตรัง



26 มีนาคม 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดร.ธรณ์ ธำรงนาสวัสดิ์ รองอธิการบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อมชื่อดัง โพสต์ผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัว ระบุว่า "ข่าวดีสร้างยิ้มจากทะเลไทย กรมทะเลสำรวจสัตว์หายากที่ตรัง/กระบี่ทางอากาศ พบพะยูน เต่า และโลมาสีชมพูเพียบเลยครับ วันที่เจอมากสุดในตรัง พบพะยูนถึง 130 ตัว เย้ ! ที่สำคัญคือเป็นพะยูนแม่ลูกถึง 15 คู่ มาเรียมยิ้มแป้นอยู่บนฟ้าเลยฮะ ยังพบเต่าเยอะเลย วันที่มากสุดเจอ 100 ตัว โลมาหลังโหนก (โลมาสีชมพู) 32 ตัว และ...ฉลามวาฬ 1 ตัว ขนาดบินดูยังมองเห็น ไม่เยอะจริงไม่รู้จะว่าไงแล้ว เย้ๆๆ

กระบี่ก็เยี่ยมครับ วันเจอเยอะสุดมีพะยูน 9 ตัว เต่า 19 ตัว ที่สำคัญ นี่เป็นการสำรวจเฉพาะบางพื้นที่ ไม่ใช่ทั้งจังหวัด ซึ่งต้องมีมากกว่านี้แน่ บนบกพวกเราชาวมนุษย์กำลังลำบาก แต่ในทะเลแม่ลูกพะยูนและโลมายังใช้ชีวิตอย่างเริงร่า จึงอยากบอกเพื่อนธรณ์ว่าอดทนอีกสักหน่อยนะคนไทย อดทนและช่วยกัน สักวันมันจะผ่านพ้นไป และเราจะกลับไปสวัสดีโลกสีคราม กลับไปแย้มยิ้มให้แม่พะยูน ไปโบกมือเซย์ไฮป้าโลมา ที่กำลังออกลูกเต็มบ้านออกหลานเต็มทะเล สักวันเราจะกลับไปรักพวกเธอให้มากกว่าเดิมครับ ภาพ/ข้อมูล - กรมทรัพยากรทางทะเลฯ ขอบคุณที่ช่วยดูแลทะเลให้พวกเราในช่วงนี้ครับ ขอบคุณจริงๆ"


https://www.naewna.com/likesara/481978
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 27-03-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก PPTV


พบอื้อ! เต่า-พะยูน-โลมา- แหวกว่ายกลางทะเลอันดามันตอนล่าง

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สำรวจพื้นที่ จ.ตรัง และ จ.กระบี่ โดยพบพะยูน โลมา เต่า เป็นจำนวนมากในทะเลอันดามันตอนล่าง



เมื่อวันที่ 26 มี.ค.2563 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โพสต์ภาพบนเพจเฟซบุ๊กจากอากาศยานบินสำรวจ เผยให้เห็น พะยูนแม่ลูก โลมา และเต่าทะเล กำลังว่ายอยู่บนผิวน้ำ บริเวณในพื้นที่จังหวัดตรัง และจังหวัดกระบี่

โดยระบุว่า ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ทะเลอันดามันตอนล่าง ใช้อากาศยานบินสำรวจสัตว์ทะเลหายากในพื้นที่ จังหวัดตรัง และจังหวัดกระบี่ โดยเขต จังหวัดตรัง สำรวจพะยูนพื้นที่เกาะมุกดิ์-เกาะลิบง และหมู่เกาะใกล้เคียง คิดเป็นพื้นที่ 188 ตารางกิโลเมตร พบพะยูนจำนวนสูงสุดต่อวันในการสำรวจ 130 ตัว มีคู่แม่ลูก 15 คู่ โลมาหลังโหนก 32 ตัว เต่าทะเล 100 ตัว และฉลามวาฬ 1 ตัว



ทั้งนี้พะยูนอยู่เป็นฝูงประมาณ 20-50 ตัว บริเวณหน้าหาดมดตะนอย แหลมจุโหย และพบกระจายตัวเดี่ยว ๆ บริเวณอ่าวทุ่งจีน และหน้าเขาปาตูปูเต๊ะ ในพื้นที่เกาะลิบง ซึ่งสอดคล้องกับรอยกินหญ้าของพะยูน ซึ่งพบรอยกินเป็นจำนวนมากบริเวณหญ้าทะเลหน้าหาดมดตะนอย-แหลมจุโหย ในการบินสำรวจดูความหนาแน่นของรอยกินหญ้าทะเลช่วงน้ำลง ในพื้นที่ จังหวัดกระบี่ คิดเป็นพื้นที่ 125 ตารางกิโลเมตร (บริเวณพื้นที่เกาะศรีบอยา เกาะปู และหมู่เกาะใกล้เคียง) พบพะยูนจำนวนสูงสุดต่อวัน 9 ตัว มีคู่แม่ลูก 1 คู่ เต่าทะเล 19 ตัว


https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8...0%B8%99/122226
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #6  
เก่า 27-03-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก BBCThai


ไวรัสโคโรนา: สภาพอากาศร้อนชื้นฆ่าเชื้อไวรัส - หยุดยั้งการระบาดของโควิด-19 ได้จริงหรือ


สภาพอากาศร้อนชื้นทำให้ไวรัสโคโรนาแพร่กระจายตัวได้ยากกว่าสภาพอากาศที่เย็นและแห้ง Image copyrightGETTY IMAGES

ผู้คนจำนวนไม่น้อยเชื่อว่าสภาพอากาศแบบเขตร้อนเช่นในประเทศไทยและภูมิภาคใกล้เคียง เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การระบาดของโรคทางเดินหายใจโควิด-19 ไม่เป็นไปอย่างรุนแรงเช่นในแถบยุโรปและอเมริกาเหนือที่อยู่ในช่วงฤดูหนาวพอดี

ผลการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ล่าสุดก็มีอยู่หลายชิ้นที่สนับสนุนแนวความคิดนี้ ทำให้บรรดาประเทศในเขตหนาวพากันหวังว่า สถานการณ์ของโรคระบาดจะดีขึ้นเมื่อฤดูกาลที่อากาศอบอุ่นมาถึง แต่อย่างไรก็ตาม มีผู้เชี่ยวชาญออกมาเตือนว่าไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่อาจไม่ตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและฤดูกาล อย่างที่ใครหลายคนคาดหวังไว้


ทำไมอากาศร้อนชื้นยับยั้งไวรัสได้ดีกว่า

ผลการศึกษาในอดีตว่าด้วยไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไวรัสโรคซาร์สที่เป็นญาติใกล้ชิดกับไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งก่อโรคโควิด-19 ชี้ว่าไวรัสจำพวกนี้มีพฤติกรรมการแพร่ระบาดที่เปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล โดยในกรณีของสหราชอาณาจักรมักจะพบการระบาดรุนแรงขึ้นในช่วงเดือนธันวาคม - เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาวที่มีสภาพอากาศเย็นและแห้ง แบบแผนการระบาดเช่นนี้ยังเหมือนกับโรคไข้หวัดใหญ่หลายชนิดด้วย


แสงแดดช่วยให้เกิดการสังเคราะห์วิตามินดี (D) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย Image copyrightGETTY IMAGES

งานวิจัยล่าสุดของคณะแพทย์ชาวจีนที่เผยแพร่ในคลังเอกสารวิชาการออนไลน์ด้านแพทยศาสตร์ medRxiv.org ระบุว่าอุณหภูมิ ความเร็วลม และความชื้นสัมพัทธ์ในแต่ละพื้นที่ มีความเกี่ยวข้องกับอัตราการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่วนรายงานอีกชิ้นหนึ่งที่จัดทำโดยบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาด้านระบาดวิทยา Ausvet ก็ชี้ว่าบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงกว่าจะพบกรณีการติดเชื้อโรคโควิด-19 ต่ำกว่า

ด้านทีมนักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเซตส์ หรือเอ็มไอทีของสหรัฐฯ ตีพิมพ์บทความในวารสารออนไลน์ SSRN โดยเผยข้อมูลว่า 90% ของการติดเชื้อโรคโควิด-19 เกิดขึ้นในภูมิภาคที่มีอุณหภูมิ 3-17 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมบูรณ์ 4-9 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในขณะที่ประเทศซึ่งมีอุณหภูมิเฉลี่ย 18 องศาเซลเซียสขึ้นไป และมีความชื้นสัมบูรณ์สูงกว่า 9 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร จะมีจำนวนผู้ติดเชื้อน้อยกว่า 6% ของกรณีทั้งหมดทั่วโลก

แม้จะดูเหมือนว่าผลการวิจัยส่วนใหญ่ให้ความหวังกับผู้ที่รอคอยให้ช่วงฤดูร้อนมาถึง เพื่อที่สภาพอากาศอันอบอุ่นและชุ่มชื้นมากขึ้นจะขับไล่โรคระบาดให้หายไปโดยอัตโนมัติ แต่ผลการวิจัยเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาเบื้องต้นที่จัดทำขึ้นโดยใช้ข้อมูลในอดีตของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์อื่น ๆ มาเทียบเคียง รวมทั้งใช้แบบจำลองคอมพิวเตอร์ทำนายคาดการณ์ล่วงหน้า เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่ ยังเกิดขึ้นไม่นานพอที่จะบอกถึงความเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงฤดูกาลได้

อย่างไรก็ตาม มีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์บางส่วนที่อาจให้คำตอบได้ว่า เหตุใดสภาพอากาศแบบร้อนชื้นจึงทำให้ไวรัสโคโรนาแพร่กระจายตัวได้ยากกว่าสภาพอากาศที่เย็นและแห้ง


อากาศที่มีความชื้นสูง ทำให้อนุภาคไวรัสถูกห่อหุ้มด้วยละอองความชื้นและตกลงสู่พื้นอย่างรวดเร็ว Image copyrightGETTY IMAGES

ไวรัสโคโรนานั้นมีเปลือกหุ้มเป็นชั้นไขมัน ซึ่งทำให้ตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิได้มากกว่าไวรัสชนิดอื่น โดยในสภาพอากาศหนาวเย็นนั้น ไขมันที่เป็นเปลือกหุ้มจะจับตัวแข็งขึ้นกว่าเดิม ซึ่งจะช่วยปกป้องอนุภาคไวรัสขณะที่อยู่นอกร่างกายของสิ่งมีชีวิตได้ดีกว่า เมื่อเทียบกับการอยู่ในอากาศร้อนที่เปลือกไขมันจะถูกทำลาย

ยิ่งไวรัสสามารถคงสภาพเดิมในสิ่งแวดล้อมภายนอกได้นานขึ้นเท่าใด พวกมันก็ยิ่งมีโอกาสในการแพร่กระจายและทำให้ผู้คนติดเชื้อได้มากขึ้นเท่านั้น

เหตุผลสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ ฤดูหนาวของซีกโลกเหนือและตะวันตกมักขมุกขมัวไม่มีแดด ทำให้ผู้คนขาดวิตามินดี (D) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ นอกจากนี้อากาศที่เย็นและแห้งยังทำให้ปริมาณของเมือกเหนียวที่ร่างกายผลิตออกมาเคลือบเนื้อเยื่อปอดและทางเดินหายใจลดลง ทำให้ไม่สามารถป้องกันการโจมตีของไวรัสไปโดยปริยาย


ผู้คนในโลกตะวันตกไม่ควรจะฝากความหวังในการยับยั้งโรคระบาดไว้กับช่วงฤดูร้อนมากนัก Image copyrightGETTY IMAGES

ดร. วิลเลียม ชาฟฟ์เนอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อของมหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิลท์ในสหรัฐฯ บอกด้วยว่า "สภาพอากาศที่มีความชื้นสูง ทำให้อนุภาคไวรัสที่ล่องลอยในอากาศเพราะมีผู้ติดเชื้อไอหรือจามออกมา ถูกห่อหุ้มไว้ด้วยละอองความชื้นขนาดเล็กมาก ซึ่งละอองนี้จะถ่วงให้ไวรัสตกลงสู่พื้นอย่างรวดเร็ว ไม่ล่องลอยอยู่นานเหมือนในสภาพอากาศที่แห้งและนิ่งสนิทไม่มีการถ่ายเท ทำให้ไวรัสในสภาพอากาศชื้นแพร่กระจายได้ยากกว่า"


การระบาดใหญ่อาจทำให้โควิด-19 ไม่ขึ้นอยู่กับฤดูกาล

แม้จะมีปัจจัยหนุนมากมายที่ทำให้ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ไม่อาจแพร่ระบาดได้อย่างหนักในเขตร้อน แต่ประเทศไทยและเพื่อนบ้าน รวมทั้งผู้คนในโลกตะวันตกที่รอคอยฤดูร้อนมาถึงอย่างใจจดใจจ่อ ไม่ควรจะฝากความหวังในการยับยั้งโรคระบาดไว้กับสภาพอากาศมากนัก

ศ. ยาน อัลเบิร์ต ผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสจากสถาบันคาโรลินสกาของสวีเดน แสดงความเห็นในเรื่องนี้ว่า "แม้การระบาดวงกว้างของไวรัสโคโรนาส่วนใหญ่ในอดีตจะบรรเทาลงได้เอง และกลายเป็นการระบาดตามฤดูกาลไปในที่สุด แต่ไวรัสที่มีการระบาดใหญ่ทั่วโลก (pandemic) มักไม่เดินตามรอยของแบบแผนนี้เสมอไป ตัวอย่างเช่นการระบาดหนักของไข้หวัดใหญ่สเปนนั้นเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน ทั้งที่ไข้หวัดใหญ่ส่วนมากมักเกิดการระบาดในฤดูหนาว"

"สิ่งที่ยังเป็นคำถามอยู่ก็คือ ความอ่อนไหวของไวรัสโรคโควิด-19 ต่อฤดูกาลนั้น จะส่งผลต่อความสามารถในการแพร่ระบาดของมันระหว่างช่วงการระบาดใหญ่หรือไม่ เรื่องนี้เรายังไม่อาจรู้ได้แน่นอน"

"ความรุนแรงของการแพร่ระบาดไม่ได้ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศเพียงอย่างเดียว การที่ไวรัสติดต่อจากคนสู่คน ทำให้ปัจจัยทางฤดูกาลอย่างอื่นเช่นกิจกรรมของมนุษย์ก็มีผลสำคัญด้วย เช่นช่วงที่โรคหัดแพร่ระบาดหนักมักเป็นช่วงเปิดเทอมของบรรดาเด็กนักเรียน ส่วนการแพร่กระจายของเชื้อโรคโควิด-19 จากเมืองอู่ฮั่นไปยังมณฑลอื่น ๆ ของจีน ก็เกิดขึ้นในช่วงที่ผู้คนเดินทางกลับบ้านตอนเทศกาลตรุษจีน" ศ. อัลเบิร์ตกล่าว

นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งยังชี้ให้เห็นว่า กรณีการระบาดของโรคโควิด-19 ในกลุ่มประเทศเขตร้อนนั้น แม้จะเกิดขึ้นน้อยกว่าในเขตหนาว แต่ก็ยังมีการติดเชื้อเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก และเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่อาจไม่มีความอ่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพอากาศและฤดูกาลเท่าที่คาดหวังกันไว้

ผลการศึกษาของคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในสหรัฐฯ พบว่าอัตราการแพร่ระบาดลุกลามของโรคโควิด-19 ในพื้นที่อากาศเย็นและแห้งของจีนอย่างมณฑลจี๋หลินและมณฑลเฮยหลงเจียง มีความใกล้เคียงกับอัตราการแพร่ระบาดในเขตร้อนเช่นเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงและประเทศสิงคโปร์ ซึ่งข้อมูลนี้ชี้ให้เห็นว่า ลำพังสภาพอากาศร้อนชื้นเพียงอย่างเดียว อาจไม่สามารถยับยั้งหรือบรรเทาการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ได้


https://www.bbc.com/thai/international-52042630

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
เก่า 03-06-2021
M0llyLoly
ข้อความนี้ถูกลบโดย สายชล.
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 17:59


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger