เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 26-08-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,204
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 26 สิงหาคม 2563

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมาและลาว เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนน้อยในระยะนี้


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

เมฆบางส่วน อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 26 - 27 ส.ค. 63 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ประกอบกับร่องมรสุมได้เลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศเมียนมา และประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง

ส่วนในช่วงวันที่ 28 - 31 ส.ค. 63 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 28 - 31 ส.ค. 63 ขอให้ประชาชนในบริเวณภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ระวังอันตรายจากฝนตกหนัก ฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากได้ ในระยะนี้ไว้ด้วย






__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 27-08-2020 เมื่อ 02:42
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 26-08-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,204
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


หวั่นกระทบพะยูน! พบ "หญ้าทะเล" เน่าตายเป็นบริเวณกว้างในเขตห้ามล่าฯ หมู่เกาะลิบง



ตรัง - พบ "หญ้าทะเล" เน่าตายเป็นบริเวณกว้าง โดยเฉพาะบริเวณหน้าเกาะนก-แหลมจุโหย ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง จ.ตรัง ทำให้สัตว์น้ำทะเลลดลงอย่างมาก หวั่นกระทบต่อ "พะยูน" และระบบนิเวศต่างๆ

ตัวแทนเครือข่ายประมงพื้นบ้านจังหวัดตรัง ร่วมกับเจ้าหน้าที่ส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจังหวัดตรัง นำโดย นายแสวง ขุนอาจ นางแช่ม เพ็ชรจันทร์ และนายสุเวทย์ เกตุแก้ว ร่วมลงพื้นที่ตรวจสอบ "แหล่งหญ้าทะเล" บริเวณหน้าแหลมจุโหย ภายในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง เพื่อตรวจสอบสภาพพื้นที่แหล่งหญ้าทะเลผืนใหญ่ และเป็นถิ่นอาศัยของพะยูนฝูงใหญ่ของ จ.ตรัง ที่มีประมาณ 180 ตัว หลังพบว่าหญ้าทะเลเน่าตายเป็นบริเวณกว้าง เพื่อตรวจจับพิกัดค่าจีพีเอสประมาณพื้นที่ความเสียหายที่ชัดเจน

โดยสาเหตุทางชาวบ้าน และเครือข่ายประมงพื้นบ้านจังหวัดตรัง เชื่อว่าเกิดจากการขุดลอกร่องน้ำบริเวณปากแม่น้ำตรังของกรมเจ้าท่า เพราะมีการนำตะกอนดินที่ได้จากการขุดลอกร่องน้ำไปทิ้งในทะเล ซึ่งอยู่ห่างจากจุดแหล่งหญ้าทะเลประมาณ 2-3 กิโลเมตร แต่ถูกกระแสคลื่นลมซัดเอาตะกอนดินดังกล่าวเข้ามาทับถม จนเป็นเหตุให้หญ้าทะเลเน่าตาย โล่งเตียนเป็นบริเวณกว้าง ทั้งนี้ เมื่อเข้าไปตรวจสอบดูใกล้ๆ และเดินย่ำ พบตะกอนดินซึ่งไม่มีหญ้า และมีแต่ตะกอนดินทับถมอย่างหนาแน่นจนเป็นดินโคลน โดยเฉพาะพื้นที่นับจากบริเวณหน้าเกาะนก-แหลมจุโหย เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง และสภาพปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างรุนแรงมาตั้งแต่ปี 2562 จนถึงปัจจุบัน

นายสุเวทย์ เกตุแก้ว และนางแช่ม เพ็ชรจันทร์ ตัวแทนชมรมประมงพื้นบ้านจังหวัดตรัง กล่าวว่า นับจากบริเวณเกาะนกมาถึงบริเวณแหลมจุโหย ชาวประมงพื้นบ้านทั้งจากเกาะมุก และเกาะลิบง เคยนำสภาพปัญหาดังกล่าวมาพูดคุยกันในการประชุมชมรมประมงพื้นบ้านจังหวัดตรัง มาตั้งแต่ปี 2561 ว่าถ้ามีการขุดลอกปากแม่น้ำตรัง และถ้ามีการขนย้ายตะกอนดินไปทิ้ง เชื่อว่าจะกระทบหญ้าทะเลอย่างแน่นอน แต่ไม่มีความคืบหน้าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จากนั้นเมื่อต้นปี 2562 ก็เริ่มพบตะกอนดินทับถมหญ้าทะเลบริเวณรอบนอกประมาณ 200 ไร่ แต่พอปลายปี 2562 พบว่าหญ้าทะเลเสียหายเป็นบริเวณกว้างมากยิ่งขึ้นจนถึงบริเวณนี้ จึงนำเข้าหารือในที่ประชุมชมรมประมงพื้นบ้านจังหวัดตรังอีกครั้ง และได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบเรื่องนี้ เพื่อให้มีหน้าที่โดยตรงในการดูแลหญ้าทะเล ซึ่งมีความสำคัญมากกับระบบนิเวศทางทะเล เพราะเป็นแหล่งวางไข่ แหล่งอนุบาลสัตว์น้ำทะเล และที่สำคัญ หญ้าทะเลเป็นอาหารของพะยูน

โดยเฉพาะในปีนี้ยิ่งพบหญ้าทะเลตายลามมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นความหายนะ เพราะมองออกไปเตียนโล่ง ไม่มีหญ้าทะเลเหลือ หรือทำสนามกอล์ฟได้เลย เชื่อว่าประมาณด้วยสายตาจะมีความเสียหายนับ 1,000 ไร่ ซึ่งหญ้าทะเลที่ตายดังกล่าวจะทำให้สัตว์น้ำทะเลสูญหาย ทั้งหอยหวาน หอยชักตีน ปูม้า กุ้ง ปลิงทะเล เพราะขณะนี้ชาวบ้านจับไม่ได้เลย โดยเฉพาะหอยชักตีน ที่ปกติในช่วงน้ำลดชาวบ้านจะออกมาเดินหาเก็บได้เป็นจำนวนมาก วันละนับ 10 กิโลกรัมต่อคน แต่ขณะนี้เหลือประมาณ 2-3 กิโลกรัมต่อคนเท่านั้น ส่วนสัตว์น้ำอื่นๆ ก็ร่อยหรอลงไปอย่างมากเช่นกัน ทำให้ชาวบ้านที่เคยหากินจากความอุดมสมบูรณ์ของทะเลได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก



นายแสวง ขุนอาจ อีกหนึ่งในตัวแทนชมรมประมงพื้นบ้านจังหวัดตรัง กล่าวว่า จากการลงพื้นที่มาตรวจสอบก่อนหน้านี้แล้ว 2 ครั้ง เชื่อว่าสาเหตุหลักของปัญหาหญ้าทะเลตายเป็นวงกว้างเกิดจาก 3 ปัจจัยคือ ปัญหาการขุดลอกร่องน้ำของกรมเจ้าท่า ปัญหากระแสน้ำที่เปลี่ยนทิศ และปัญหามลพิษทางน้ำ เช่น สารตะกั่ว สารปรอท สารไมโครพลาสติก ซึ่งเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นรุนแรงมากกับท้องทะเลตรัง จากที่เดิมเคยอุดมสมบูรณ์ด้วยหญ้าทะเล และสัตว์น้ำนานาชนิด ซึ่งในอนาคตอาจกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของพะยูนตรังที่มีอยู่เกือบ 200 ตัว และกระทบต่อแผนพะยูนแห่งชาติ ที่ทางจังหวัดพยายามจะผลักดันให้เกิดขึ้น เพราะการเกิดแผนพะยูนแห่งชาติภายใต้ทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์นั้น จะเป็นการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร อาชีพ และวิถีชีวิตชุมชน

จากนั้นคณะตัวแทนเครือข่ายประมงพื้นบ้านจังหวัดตรัง ร่วมกับเจ้าหน้าที่ส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจังหวัดตรัง ยังได้เดินทางไปตรวจสอบสภาพพื้นที่บริเวณอ่าวมดตะนอย-บ้านหาดยาว ต.เกาะลิบง ซึ่งอยู่ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบงเช่นกัน รวมทั้งเป็นพื้นที่ที่มีแหล่งหญ้าทะเลผืนใหญ่ และเป็นแหล่งหากินของพะยูนด้วย แต่พบว่าหญ้าทะเลยังคงอุดมสมบูรณ์สีเขียวเต็มพื้นที่ เนื่องจากตะกอนดินดังกล่าวพัดเข้ามาไม่ถึงพื้นที่แหล่งหญ้าทะเลด้านใน ทำให้ในช่วงน้ำทะเลลงชาวบ้านจะออกมาหาหอยกันเป็นจำนวนมาก เจ้าหน้าที่จึงได้จัดเก็บข้อมูล พร้อมกับค่าพิกัดจีพีเอสเพื่อนำไปศึกษาเปรียบเทียบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับแหล่งหญ้าทะเลที่อยู่บริเวณด้านนอกที่เสียหายดังกล่าว


https://mgronline.com/south/detail/9630000087088

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 26-08-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,204
Default

ขอบคุณข่าวจาก โพสต์ทูเดย์


โลกวิกฤต ทะเลขั้วโลกเหนือจะไร้น้ำแข็งภายในปี 2035

.
Photo by Steven C. AMSTRUP / POLAR BEARS INTERNATIONAL / AFP

แบบจำลองสภาพภูมิอากาศล่าสุดคาดการณ์อาร์กติกอาจปราศจากน้ำแข็งในทะเลภายในปีพ.ศ. 2578

ทีมนักวิจัยระหว่างประเทศที่นำโดยคณะสำรวจอาร์กติกของบริเตน (BAS) ได้สร้างแบบจำลองสภาพภูมิอากาศที่ทันสมัยซึ่งพัฒนาโดย Hadley Center ของสำนักงานอุตุนิยมวิทยาสหราชอาณาจักร จนสามารถประเมินทะเลอาร์กติกอาจจะปราศจากน้ำแข็งภายในปี 2035 หรือพ.ศ. 2578 หรือในอีก 15 ปีข้างหน้า

สาเหตุมาจากผลกระทบของแสงแดดในฤดูใบไม้ผลิที่รุนแรงขึ้นจนทำให้เกิดน้ำแข็งละลายเป็นละลายจำนวบนพืดน้ำแข็ง ซึ่งทั้งแสงแดดที่รุนแรงและน้ำที่ขังในน้ำแข็งจะเร่งให้แผ่นน้ำแข็งละลายเร็วขึ้น

ตามปกติแล้วน้ำแข็งที่มีสีขาวจะสะท้อนแสงอารทิตย์ได้มาก แต่เมื่อโลกร้อนขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้ผิวหน้าน้ำแข็งละลายจนเริ่มเสื่อมสภาพการสะท้อนแสงอาทิตย์ทำให้โลกร้อนขึ้น เมื่อโลกร้อนขึ้นน้ำแข็งบยิ่งละลายมากขึ้น เป็นวงจรอุบาทว์ที่ยากจะแก้ไข

ทีมวิจัยทำการประเมินโดยสร้างแบบจำลองสถานการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในช่วงระหว่างที่โลกเคยเกิดภาวะโลกร้อนและช่วงที่โลกเกิยุคน้ำแข็ง (เรียกว่ายุค interglacial) ยุค interglacial ครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นเมื่อ 127,000 ปีก่อน และในตอนนี้นับตั้งแต่สิ้นสุดยุค interglacial ครั้งสุดท้ายเวลาได้ผ่านมาแล้ว 11,700 ปี


https://www.posttoday.com/world/631423#cxrecs_s
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 26-08-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,204
Default

ขอบคุณข่าวจาก แนวหน้า


วิกฤตหนัก! หญ้าทะเลตรังเน่าตายเป็นบริเวณกว้าง หวั่นกระทบสัตว์น้ำสูญพันธุ์



25 สิงหาคม 2563 ตัวแทนเครือข่ายประมงพื้นบ้านจังหวัดตรัง ร่วมกับเจ้าหน้าที่ส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จ.ตรัง นำโดยนายแสวง ขุนอาจ นางแช่ม เพ็ชรจันทร์ และนายสุเวทย์ เกตุแก้ว ร่วมลงพื้นที่ตรวจสอบแหล่งหญ้าทะเลบริเวณหน้าแหลมจุโหย ภายในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง เพื่อตรวจสอบสภาพพื้นที่แหล่งหญ้าทะเลผืนใหญ่ และเป็นถิ่นอาศัยของพะยูนฝูงใหญ่ของจังหวัดตรังที่มีประมาณ 180 ตัว หลังพบว่าหญ้าทะเลเน่าตายเป็นบริเวณกว้าง เพื่อตรวจจับพิกัดค่าจีพีเอส ประมาณพื้นที่ความเสียหายที่ชัดเจน โดยสาเหตุทางชาวบ้านและเครือข่าวประมงพื้นบ้านจังหวัดตรังเชื่อว่าเกิดจากการขุดลอกร่องน้ำบริเวณปากแม่น้ำตรัง ของกรมเจ้าท่า

เพราะมีการนำตะกอนดินที่ได้จากการขุดลอกร่องน้ำไปทิ้งในทะเล ซึ่งอยู่ห่างจากจุดแหล่งหญ้าทะเลประมาณ 2 - 3 กม. แต่ถูกกระแสคลื่นลมซัดเอาตะกอนดินดังกล่าวเข้ามาทับถม จนเป็นเหตุให้หญ้าทะเลเน่าตายจนโล่งเตียนเป็นบริเวณกว้างตามภาพที่ปรากฏ เมื่อเข้าไปตรวจสอบดูใกล้ๆและเดินย่ำพบตะกอนดิน ซึ่งไม่มีหญ้าพบมีแต่ตะกอนดินทับถมอย่างหนาแน่น จนเป็นดินโคลน โดยเฉพาะพื้นที่นับจากบริเวณหน้าเกาะนก แหลมจุโหย เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง โดยสภาพปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างรุนแรงตั้งแต่ปี 2562 - 2563 ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ได้ตรวจจับพิกัดจีพีเอสพื้นที่ เพื่อนำไปคำนวณพื้นที่ความเสียหาย

นายสุเวทย์ เกตุแก้ว และนางแช่ม เพ็ชรจันทร์ ตัวแทนชมรมประมงพื้นบ้านจังหวัดตรัง กล่าวว่า นับจากบริเวณเกาะนก มาถึงบริเวณแหลมจุโหย ชาวประมงพื้นบ้านทั้งจากเกาะมุกด์และเกาะลิบง เคยนำสภาพปัญหาดังกล่าวมาพูดคุยกันในการประชุมชมรมประมงพื้นบ้านจังหวัดตรังมาตั้งแต่ปี 2561 ว่าถ้ามีการขุดลอกปากแม่น้ำตรัง ถ้ามีการขนย้ายตะกอนดินไปทิ้ง เชื่อว่าจะกระทบหญ้าทะเลอย่างแน่นอน แต่ไม่มีความคืบหน้าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจากนั้นเมื่อต้นปี 2562 ก็เริ่มพบตะกอนดินทับถมหญ้าทะเลบริเวณรอบนอกประมาณ 200 ไร่ แต่พอปลายปี 2562 พบว่าหญ้าทะเลเสียหายเป็นบริเวณกว้างมากยิ่งขึ้นจนถึงบริเวณนี้ จึงนำเข้าหารือในที่ประชุมชมรมประมงพื้นบ้านจังหวัดตรังอีกครั้ง

"จึงมีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบเรื่องนี้ ให้มีหน้าที่โดยตรงในการดูแลหญ้าทะเล ซึ่งมีความสำคัญมากกับระบบนิเวศทางทะเล เพราะเป็นแหล่งวางไข่ แหล่งอนุบาลสัตว์น้ำทะเล และที่สำคัญหญ้าทะเลเป็นอาหารของพะยูน โดยปี 2563 ยิ่งพบหญ้าทะเลตายลามมากขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นความหายนะ มองออกไปเตียนโล่งไม่มีหญ้าทะเลเหลือ ทำสนามก๊อฟได้เลย เชื่อว่าประมาณด้วยสายตาเสียหายนับ 1,000 ไร่"

ซึ่งหญ้าทะเลตายดังกล่าว ทำสัตว์น้ำทะเลสูญหาย ทั้งหอยหวาน หอยชักตีน ปูม้า กุ้ง ปลิงทะเล ไม่เหลือขณะนี้ชาวบ้านจับไม่ได้เลย อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านที่ออกมาเดินหาหอยชักตีนในช่วงน้ำลด ต่างบอกยืนยันเช่นกันว่า ในบริเวณดังกล่าวสัตว์น้ำทะเลหายาก ทั้งไม่กุ้ง หอย ปู ปลา อย่างหอยชักตีนปกติในช่วงน้ำลดชาวบ้านจะออกมาเดินหาเก็บได้เป็นจำนวนมากวันละนับ 10 กิโลกรัมต่อคน แต่ขณะนี้เหลือประมาณ 2-3 กิโลกรัมต่อคน ส่วนสัตว์น้ำอื่นๆก็เช่นกัน ร่อยหรอลงไปอย่างมาก ทำชาวบ้านที่เคยหากินจากความอุดมสมบูรณ์ของทะเลได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก



นายแสวง ขุนอาจ กล่าวว่า จากการลงพื้นที่มาตรวจสอบก่อนหน้านี้แล้ว 2 ครั้ง เชื่อสาเหตุหลักของปัญหาเกิดจาก 3 ปัจจัย คือ ปัญหาการขุดลอกร่องน้ำของกรมเจ้าท่า กระแสน้ำที่เปลี่ยนทิศ และมลพิษทางน้ำ เช่น สารตะกั่ว สารปรอท สารไมโครพลาสติก ซึ่งเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นรุนแรงมากกับท้องทะเลตรัง ที่เดิมเคยอุดมสมบูรณ์ด้วยหญ้าทะเลและสัตว์น้ำนานาชนิด ในอนาคตอาจกระทบกับชีวิตความเป็นอยู่ของพะยูนตรังที่มีอยู่เกือบ 200 ตัว และกระทบกับแผนพะยูนแห่งชาติที่ทางจังหวัดพยายามจะผลักดันให้เกิดขึ้น เพราะการเกิดแผนพะยูนแห่งชาติภายใต้ทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์นั้น จะเป็นการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร สัตว์ทะเลหายาก อาชีพและวิถีชีวิตชุมชนต่อไป แต่ปัญหาที่เกิดรุนแรงมาก เมื่อสำรวจในวันนี้แล้ว จะต้องเร่งนำเข้าที่ประชุมเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาต่อไป

จากนั้นคณะได้เดินทางไปตรวจสอบสภาพพื้นที่บริเวณอ่าวมดตะนอย ? บ้านหาดยาว ต.เกาะลิบง ซึ่งอยู่ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบงเช่นกัน และเป็นพื้นที่ที่มีแหล่งหญ้าทะเลผืนใหญ่ และเป็นแหล่งหากินของพะยูนด้วย พบว่า หญ้าทะเลคงอุดมสมบูรณ์สีเขียวเต็มพื้นที่ เนื่องจากตะกอนดินดังกล่าวพัดเข้ามาไม่ถึงพื้นที่แหล่งหญ้าทะเลด้านใน ทำให้ในช่วงน้ำทะเลลง ชาวบ้านออกมาหาหอยกันเป็นจำนวนมาก เจ้าหน้าที่จึงได้จัดเก็บข้อมูล พร้อมกับค่าพิกัดจีพีเอส เพื่อนำไปศึกษาเปรียบเทียบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับแหล่งหญ้าทะเลที่อยู่บริเวณด้านนอกที่เสียหายดังกล่าว


https://www.naewna.com/likesara/514032

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 16:09


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger